วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 09:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 20:38
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ภาพพระประธานในศาลาปฏิบัติธรรม
_re.jpg
_re.jpg [ 46.48 KiB | เปิดดู 4534 ครั้ง ]
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน, ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ, สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุพรรณบุรี แห่งที่ ๕ วัดไทรงามธรรมธราราม ต. ดอนมะสังข์ อ. เมืองสุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี

เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติกัมมัฏฐาน สงบ สัปปายะ มีพื้นที่เกือบ ๑๐๐ ไร่ พรรษาที่ผ่านมา มีพระภิกษุ จำพรรา 81 รูป สามเณร 1 รูป อุบาสิกา ( แม่ชี ) อยู่ประจำ 79 ท่าน

* ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจ เข้าปฏิบัติธรรมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร โดย หลวงพ่อธมฺมธโร ภิกฺขุ

วิธีกำหนดอานาปานสติ
เบื้องต้น คือ ให้นักปฏิบัติธรรมนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ เมื่อนั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งใจสูดลมหายใจเข้าให้เต็มท้อง เมื่อลมหายใจเข้าไปอยู่จนเต็มแล้วให้ตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก หรือใต้เพดานทั้งสองข้าง เมื่อตั้งสติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฯลฯ

การปฏิบัติในอิริยาบถนั่ง
การยกมือขึ้น-ลงเป็นจังหวะ ขณะยกขึ้น-ลง ให้ขยับนิ้วมือ (จากออกและงับเข้า)
กำหนดสัมปะชัญญะคือความรู้สึกวุ๊บ ๆๆ ที่ปลายนิ้วมือกระทบกัน ยกขึ้น-ลงช้า ๆ ค่อย ๆ ขึ้น ฯลฯ

วิธีฝึกอิริยาบถเดิน
ยกเท้าขึ้นให้เสมอ ๆ กัน เสือกเท้าไปตรง ๆ ไม่แบะเท้า ไม่ลงส้นเท้า ไม่จิกปลายเท้า
1. ขณะยกเท้าขึ้นจากพื้นให้กำหนดความรู้สึกที่ใต้ฝ่าเท้ายกเท้าขึ้น เมื่อยกเท้าขึ้น ให้ยกเสมอ ๆ กัน ไม่ยกส้นก่อน ไม่ยกปลายเท้าก่อน.
2. ขณะเสือกเท้าไปข้างหน้า ให้กำหนดความรู้สึกที่ปลายนิ้วเท้าทั้ง 5 เสือกเท้าไปเสมอ ๆ กัน ฯลฯ

การปฏิบัติในอิริยาบถยืน
ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่ฝ่าเท้าทั้งสอง จิตของเราวางเป็นกลาง แล้วมาสังเกตหรือสำเหนียกดูที่ใต้ฝ่าเท้าทั้งสอง จะมีความรู้สึกเต้นตุ๊บ ๆ มีอาการร้อน ๆ ตอนใหม่เราจะมีความร้อนมาก แต่เราอย่าไปยึดถือวางจิตให้เป็นกลางให้สังเกตุที่ความร้อนและในความร้อนนั้น มีลักษณะคล้าย ๆกับหัวใจเต้นแต่ไม่ใช่ การกำหนดจับดูกายสัมผัส ระหว่างเนื้อสัมผัสกับพื้นอย่างเดียวการนั่งสมาธิ จะเห็นความเกิดดับเหมือนกัน เมื่อเรายืนนานเกิดเวทนากล้าจัดเราไม่ต้องขยับเท้าออก แต่ให้มายกมือเป็นการย้ายอารมณ์ เมื่อจับความรู้สึกที่มือชัด ๆ ที่เท้านั้ก็จะจางหายไปชั่วคราว แล้วให้มากำหนดดูความรู้สึกต่อไป การกำหนดจิตดูในมโนสัมผัส เมื่อเกิดดับที่ฝ่าเท้าชัดให้สังเกตุต่อไป จะเห็นความรู้สึกวิ่งขึ้นมาเบื้องบนจนถึงหน้าอกในมโนสัมผัส ก็เกิดการเต้นสั่นสะเทือนในหัวใจ มีอาการอย่างเดียวกับที่ฐานแรก มีอาการเสียว ๆ แปล๊บ ๆ ที่ในหัวใจ เรียกว่าเกิดมโนสัมผัส คือการกระทบทางใจเกิดขึ้น เพราะเป็นอายตนะข้างใน เป็นที่รวมของอายตนะ ฯลฯ

การปฏิบัติในอิริยาบถนอน
การกำหนดดูการเกิดดับของกายวิญาณ (ความรู้สึกภายในกาย) ให้กำหนดดูเป็นจุด ๆ เช่นศรีษะสัมผัสหมอน หรือหลังสัมผัสพื้น หรือส่วนไหนก็ได้ แต่ต้องตั้งสติกำหนดเป็นจุด ในจุดใดจุดหนึ่ง
การกำหนดการเกิดดับของมโนสัมผัส ฯลฯ

การกำหนดอิริยาบถย่อย
ขณะเสือกมือไปจะจับแก้วน้ำ กำหนดที่ปลายนิ้วมือ เมื่อถูกแก้วกำหนดขณะสัมผัสกับมือ ดูความเกิดดับของกายวิญญาณ หรือจะกำหนดที่มือสัมผัสกับวัตถุ ฯลฯ

คติธรรมหลวงพ่อธมฺมธโร
"สติปัฏฐานสี่ดีที่หนึ่งอย่าพึงว่าน้อย
ดีกว่าร้อยภาษิตปริศนา
เหมือนเกลือดีมีนิดหน่อยน้อยราคา
ยังมีค่ากว่าน้ำเค็มเต็มทะเล"

"นั่งไม่รู้ไม่ชี้ดีนักรู้จักใช้
คิดอะไรวางทิ้งนั่งนิ่งเฉย
ตัดเรื่องเปลื้องทุกข์สุขเสบย
ยกมือให้เคยลองดูจะรู้ดี"

สนใจศึกษา ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.watsai.net
และ http://www.watsai.net/eng/index.php

ที่มา : http://www.watsai.net

.....................................................
ต้องเวียนเกิด เวียนตาย ตามบุญบาป
เมื่อไหร่ทราบ ธรรมแท้ ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตาย สบายครัน
มีเท่านั้น ใครหาพบ จบกันเอย

วาทะท่านพุทธทาส
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ขอบคุณสำหรับการแนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 20:38
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: พระนาคเสโนภิกขุ (รูปที่ ๓ นับจากด้านซ้าย)
.jpg
.jpg [ 34.16 KiB | เปิดดู 4357 ครั้ง ]
คำปรารภของพระนาคเสโนภิกขุ

(คัดลอกมาจากคำปรารภ ของ หนังสือทางไปพระนิพพาน โดยพระครูภาวนานุศาสก์ ของ สวนพุทธธรรม วัดชายนา)

ข้าพเจ้าเคยเข้าไปหาพระอาจารย์ธมฺมธโร ที่วัดราชนัดดาเมื่อ ๗ ปีก่อนโน้น (๒๕๐๖) แต่เวลานั้นข้าพเจ้ายังไม่ค่อยจะรู้ภาษาไทยเท่าไรนัก จึงไม่ได้สนทนาธรรม เพียงแต่ไปดู ๆ ความเป็นอยู่ของท่าน และชมสามเณรน้อย ๆ ที่แสดงธรรมเก่ง ซึ่งท่านได้พาไปในคราวนั้น อย่างไรก็ตามที่ข้าพเจ้าเข้าไปหาท่านคราวนั้น จับหลักสอนของท่านได้ ๒ อย่าง คือ ท่านสอนตามแนววิปัสสนานี้อย่างหนึ่ง และสอนยกมืออีกอย่างหนึ่ง พอข้าพเจ้ากลับไปวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นวัดที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ก็ค้นมหาสติปัฏฐานสูตรดูว่า ในสูตรนั้นท่านกล่าวถึงวิธียกมือหรือไม่ ก็จับความได้ว่า ในสัมปชัญญะปัพพะ ท่านสอนให้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้าเหยียดอวัยวะออก รวมถึงการยกมือด้วย ข้าพเจ้าก็เริ่มยกมือดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนั้นยังไม่รู้จักวิธียกมืออย่างถูกต้องละเอียดตามที่ท่านสอน ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงยกมือทั้ง ๒ ข้างพร้อมกันอย่างช้า ๆ เข้าหากันบ้างให้ออกจากกันบ้าง และผลก็คือรู้สึกว่า มือทั้ง ๒ ข้างมันเคลื่อนที่ไม่เหมือนกัน และนอกจากนั้นยังปรากฏว่า ก่อนที่มันจะเคลื่อนมันเกิดอะไรขึ้นในมือ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า ที่มือทั้ง ๒ ข้างมันเคลื่อนที่พร้อมกันไม่ได้นั้น เห็นจะเป็นเพราะจิตมันทำงานอย่างหนึ่งในขณะนั้น เข้าตำราตามที่เคยเรียนมาและคิดต่อไปว่า ที่เกิดอะไรขึ้นในมือนั้นเห็นจะเป็นลมกระมัง คือลมที่เขาเรียกว่า “จิตฺตชวาโย” แต่ตอนนั้นคิดว่า ที่รู้สึกอย่างนั้นเป็นเพราะอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวเองกระมัง จึงให้ลูกศิษย์วัดทำดูบ้าง ปรากฏว่าเขารู้สึกเหมือนกัน จึงเกิดศรัทธาว่า เออ!อาจารย์ที่สอนยกมือนั้น (ตอนนั้นไม่รู้จักชื่อ) เห็นจะมีเคล็ดลับอะไรอยู่ก็เลยยกมือกันทุกคืนเวลาจะนอน แต่ปรากฏว่ายกมือนานไม่ได้เพราะเหนื่อย จึงพยายามกระดิกนิ้วมือบ้างนิ้วเท้าบ้าง แต่มันก็รู้สึกเป็นการหนัก ก็เลยคิดว่าควรจะเคลื่อนที่อะไรสักอย่างหนึ่งในร่างกายนี้ที่ง่ายกว่า คืนหนึ่งคิดขึ้นว่าเคลื่อนปากเห็นจะง่ายกว่า คืนนั้นจึงกำหนดการเคลื่อนปาก เคลื่อนไปเคลื่อนมา กำหนดสติไปเรื่อย ๆ แล้วสะดุ้งลุกขึ้นจากเตียง เพราะเมื่อกำหนดอยู่นั้น ปรากฏว่าตัวเองเป็นผี เป็นซากศพ ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าไม่กล้าทำอย่างนั้นอีก เพราะกลัวมันจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ และตอนนั้นอธิษฐานว่า จะต้องพบอาจารย์ที่สอนยกมือนั้นสักวันหนึ่ง เพราะแน่ใจว่าอาจารย์ที่สอนยกมือนั้นคงมีอะไรแน่

ปีที่แล้ว (๒๕๑๒) ข้าพเจ้าไปร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่มาเลเซีย ไปแทนอาจารย์พุทธทาส เพื่ออ่านปาฐกถาของท่านในที่ประชุม เพราะท่านไม่ไปเนื่องจากไม่สบายตอนกลับกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟได้พบอุบาสกคนหนึ่งบนรถไฟและได้ข่าวจากอุบาสกคนนั้นว่า สัปดาห์นี้ ที่วัดชายนามีสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย พอข้าพเจ้าทราบอย่างนี้ก็ลงสถานีรถไฟทุ่งสงไปวัดชายนาโดยตรง ทั้ง ๆ ที่ซื้อตั๋วไว้ถึงกรุงเทพฯ

ในการประชุมสัมมนาคราวนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจฟังทุก ๆ พระอาจารย์ที่บรรยายวิธีปฏิบัติของตน ๆ แต่ข้าพเจ้าฟังพระอาจารย์ธมฺมธโร เป็นพิเศษ พูดในที่ประชุมก็ฟัง และพูดนอกประชุมก็ฟัง คือตอนที่ท่านสนทนากับญาติโยม จับความได้ว่าท่านพูดจากประสบการณ์ของท่านเอง ไม่ได้พูดจากตำราเหมือนอย่างบางท่านพูด ข้าพเจ้าเข้าใจในคำพูดท่าน เพราะเคยมีประสบการณ์มาบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว

อนึ่งตอนนั้นข้าพเจ้าพยายามฟังการสนทนา ในระหว่างลูกศิษย์ของพระอาจารย์ธมฺมธโรด้วย เพราะถือว่าความประพฤติของบุตร หรือบุตรี เป็นกระจกเงาแสดงความประพฤติของบิดา มารดา และรู้ว่าอาจารย์ดีไม่ดี เก่งหรือไม่เก่งแค่ไหนก็ดูที่ลูกศิษย์ได้ ระหว่างนั้นข้าพเจ้าได้ฟังคำพูดของอุบาสิกาคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวจีนสนทนากับเพื่อน ๆ ว่า “ดิฉันบอกลูก ๆ หลาน ๆ ว่าที่จมูกมัน เกิดดับ ๆ อยู่เสมอ แต่พวกเธอไม่เชื่อ” พอข้าพเจ้าฟังอย่างนี้ก็เกิดแปลกใจ และเกิดสังเวชว่า เออ!คนแก่อย่างนี้อ่านภาษาก็ไม่ออก พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัด ยังรู้ธรรมะขั้นนี้ พิจารณาตัวเองว่าเรานี้เป็น น.ธ.เอก เป็นศาสนศาสตร์บัณฑิตเป็นเปรียญ ๔ แต่ยังสู้อุบาสิกานี้ไม่ได้ นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ ตอนที่ตรัสไว้ว่า ผู้ที่ไม่เห็นการเกิดดับ อัสสาทะ อาทินวะ และนิสสรณะของอายตนะทั้งภายใน และอายตนะภายนอกยังเป็นผู้ห่างไกลจากพระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้าก็มีศรัทธามากยิ่งขึ้น ในวิธีการสอนของพระอาจารย์ธมฺมธโร และคิดว่าท่านเป็นผู้ทรงธรรมสมตามชื่อของท่าน แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นยังไม่คิดลงมือที่จะปฏิบัติจริงจัง เพราะยังติดงานนี้งานนั้นอีกมาก แต่พระอาจารย์ธมฺมธโร และอุบาสิกาวรรณี วีรวรรณโณ ชวนให้ข้าพเจ้าอยู่วัดชายนาปฏิบัติสัก ๑๕ วัน พอปฏิบัติไปก็รู้อะไรมากขึ้น จึงตัดสินใจว่าจะเข้าพรรษาที่วัดชายนา ปีที่แล้วปฏิบัติไปเห็นผลเป็นที่พอใจ ปีนี้จึงเข้าพรรษาที่ ๒ ที่วัดชายนา เพื่อจะพยายามให้จบหลักสูตรของพระอาจารย์ธมฺมธโร แล้วจะนำเอาวิธีปฏิบัติตามแนว สติปัฏฐานนี้ กลับไปสู่ประเทศอินเดียซึ่งเป็นต้นศาสนาบ้าง

ข้าพเจ้าเห็นตามที่ปฏิบัติมา และตามที่ใช้เหตุผลอย่างถูกต้อง ว่าวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามที่พระอาจารย์ธมฺมธโรสอนนั้นเป็นวิธีที่ถูกต้อง และได้ผลอย่างที่ตนเองพิสูจน์แล้วทีเดียว แต่ตามที่ข้าพเจ้าสังเกต การสัมมนาที่วัดชายนาคราวที่แล้ว (๒๕๑๒) เป็นที่น่าเสียดายว่าอาจารย์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยจะเห็นด้วย หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่เข้าใจในวิธีปฏิบัติของพระอาจารย์ธมฺมธโร หรือบางคนไม่อยากจะเข้าใจด้วย ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะท่านไม่มีปริญญา หรือเปรียญทางโลกและไม่มียศถาบรรดาศักดิ์กระมัง เพราะคนสมัยนี้เขาติดปริญญาหรือยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นโฆสัปปมณิกากัน ไม่ใช่ธัมมัปปามาณิกา นอกจากนั้นเห็นจะเป็นเพราะสำนวนพูดของท่านไม่เหมือนคนอื่นนั้นแหละ เขาก็เลยว่าท่านเอาง่าย ๆ ท่านสอนไม่ถูก แต่ถ้าผู้ใดไม่มีอคติแล้ว ไม่ติดอาจารย์ ไม่ติดตำรา โดยเฉพาะอรรถกถาหรือฎีกาแล้ว จะเห็นได้ว่าท่านสอนถูกต้องตามตำราและข้อความบางอย่างที่ไม่มีในตำรานั้นก็ไม่ผิดพุทธพจน์ ข้าพเจ้าเห็นว่า สำนวนบางอย่างของท่านที่คนติดตำรา (คืออรรถกถา) อาจจะไม่คอยฟังได้สนิทก็คือ ความหมายของคำว่าสัมปชัญญะอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือความหมายของคำว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สำหรับข้าพเจ้าเองถ้ามีใครถามว่า ท่านซาบซึ้งคำสอนหรืออรรถาธิบายของท่านอาจารย์ธมฺมธโรที่ตรงไหน ข้าพเจ้าจะตอบว่า ซาบซึ้งในอรรถาธิบายของคำว่า สัมปชัญญะ ที่ท่านว่าเป็นความรู้สึกสิ่งที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖ และซาบซึ้งในอรรถาธิบายของคำว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมนั้นว่า หมายถึงขันธ์ ๕ นั่นแหละ

โดยเฉพาะอย่างที่ ๒ นี้ บุคคลที่ติดตำราไม่ยอมเชื่อ แต่ข้าพเจ้าขอกล่าวอย่างหนักแน่นว่า คำอธิบายกายในเป็นต้นนี้ไม่ผิดพุทธพจน์เลย แต่ผิดอรรถกถาจริง ซึ่งไม่ใช่พุทธพจน์ คำกล่าวของอรรถกถาว่า กายนอกคือกายผู้อื่น กายในคือกายตนเองนั้น ซึ่งเป็นคำที่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเลย ไม่มีสูตรที่พระองค์ตรัสอย่างนี้ แต่คนทั่ว ๆ ไปแยกไม่ออกว่า อย่างไหนเป็นพุทธพจน์อย่างไหนเป็นคำของอรรถกถา เมื่อเห็นว่าเป็นคำบาลีแล้ว ก็เป็นอันว่าเป็นพุทธพจน์ทั้งนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเขาไม่เข้าใจความหมาย กายใน เป็นต้นนี้ เพราะสมัยนี้เราเรียนอรรถกถามากกว่าพุทธพจน์ เป็นที่แปลกใจว่าแม้แต่เปรียญ ๔ ประโยค ยังไม่รู้จักหนังสือในพระไตรปิฎกว่ามีกี่เล่มก็ยังมี เช่นข้าพเจ้าเคยสนทนากับเจ้าคุณองค์หนึ่งเป็นเปรียญ ๙ และระหว่างสนทนานั้น ข้าพเจ้าอ้างถึงคัมภีร์จุลลนิทเทส ท่านก็ถามว่าเป็นคัมภีร์อะไร อันนี้แสดงว่าเราไม่ค่อยได้เรียนพุทธพจน์กันโดยตรง เรียนอรรถกถาเป็นส่วนใหญ่ เช่น ป.ธ. ๒-๓ เรียนอรรถกถาธรรมบท ป.ธ. ๔-๕ เรียนอรรถกถาหรือฎีกามงคลสูตร ป.ธ. ๖-๗ เรียนสมันตปาสาทิกา ป.ธ. ๘ เรียนวิสุทธิมรรคปกรณ์วิเลสไม่ใช่พุทธพจน์โดยตรง ป.ธ. ๙ เรียนฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านจะเห็นได้ว่าในหลักสูตรเปรียญ ๙ นี้ ไม่มีการเรียน ฎีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย สุตตนิบาต อุทาน เป็นต้น ซึ่งล้วนมาจาก พุทธพจน์ ข้าพเจ้าสังเกตว่าพระที่เทศน์ทั่วไปและที่สอนกันนั้น เทศน์สอนกันตามอรรถกถา ๖๐-๗๐ เปอร์เซ็นต์ พุทธพจน์มีเพียง ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และแยกไม่ได้ว่าไหนเป็นพุทธพจน์ ไหนเป็นสำนวนอรรถกถา จึงไม่เข้าใจในอรรถรสของพุทธพจน์ ข้าพเจ้าขอแนะนำผู้สนใจทั้งหลายว่า เมื่อท่านอ่านสูตรใดสูตรหนึ่ง และไม่เข้าใจในอรรถรสของพุทธพจน์ ข้าพเจ้าขอแนะนำผู้สนใจทั้งหลาย เมื่อท่านอ่านสูตรใดสูตรหนึ่งและไม่เข้าใจในอรรถรสของสูตรนั้น ควรจะหาสูตรอื่นมาประกอบแก้ความหมายของสูตรนั้น ไม่ใช่หาอรรถกถา เพราะอรรถกถาไม่ถูกเสมอไป ไม่ใช่พุทธพจน์ เช่นผู้ใดไม่เข้าใจว่ากายในเป็นต้นนี้หมายถึงอะไร ก็ควรจะหาคำอธิบายในสูตรอื่นมาประกอบ ไม่ใช่หาอรรถกถาแล้วก็ติดอยู่แค่ในนั้น ผู้ใดใช้วิธีค้นคว้าโดยวิธีนี้ ข้าพเจ้าแน่ใจว่าจะซาบซึ้งในอรรถาธิบายของคำสอนของพระอาจารย์ธมฺมธโร ที่จริงข้าพเจ้าอยากจะอ้างสูตรต่าง ๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่า คำอธิบายว่า สัมปชัญญะ และกายในเป็นต้นนี้ เป็นคำอธิบายถูกต้อง ตามที่พระอาจารย์ธมฺมธโรอธิบาย แต่คำปรารภนี้ยาวเหยียดเสียแล้ว ข้าพเจ้าดำริไว้แล้วว่า จะต้องเขียนอีกเล่มหนึ่งต่างหากในภายหลังเมื่อมีโอกาส ใครสนใจก็รอไว้ก่อน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะถ้าเราเข้าใจแม้แต่ความหมายของคำว่า สัมปชัญญะ แล้ว เราจะเข้าใจเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา จะมีบทบริกรรมไม่ได้ ถ้ามีบทบริกรรมแล้วมันจะไม่เป็นวิปัสสนา มันจะเป็นสมถะมากกว่า

ในที่สุดข้าพเจ้าขอยุติคำปรารภไว้เท่านี้ก่อน โดยหวังว่าถ้าผู้ใดยังไม่เห็นสนิทกับวิธีปฏิบัติ ตามแนวที่กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้แล้ว อย่าเพิ่งคัดค้านหรือวิจารณ์ ต้องปฏิบัติดูก่อนแล้วจะรู้เองไม่ต้องเชื่อใคร หรือถ้ายังไม่ปฏิบัติดู ก็ควรอ่านพระสูตรให้จบก่อน แล้วจึงอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งหนึ่ง จึงจะรู้ความหมาย จะคลี่คลายความสงสัยได้อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียว.


นาคเสโน ภิกขุ

ที่มา http://www.watsai.net/webb/view.php?No=176

.....................................................
ต้องเวียนเกิด เวียนตาย ตามบุญบาป
เมื่อไหร่ทราบ ธรรมแท้ ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตาย สบายครัน
มีเท่านั้น ใครหาพบ จบกันเอย

วาทะท่านพุทธทาส
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร