วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคมีอธิบายดังนี้

รณา หมายถึง กิเลส อันเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

อรณะ หมายถึง ไม่มีกิเลส


ขอเชิญอ่านข้อความอรรถกถาอรณวิหารดังนี้

คำว่า อรณวิหาเร - ในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก

ได้แก่ วิหารธรรมมีกิเลสไปปราศแล้ว. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายมีราคะ

เป็นต้น ย่อมรุกราน บดขยี้ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ราคาทิ-

กิเลสนั้น จึงชื่อว่า รณา ผู้เบียดเบียน, อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมร้องไห้คร่ำครวญร่ำไรด้วยราคาที่กิเลสเหล่านั้น ฉะนั้น ราคาทิ-

กิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่า รณา - กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญ,

วิหารธรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง ท่านได้กล่าวไว้แล้ว, รณะคือกิเลสเป็นเหตุให้

สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญไม่มีแก่ธรรมนี้ ฉะนั้น ธรรมนี้ จึงชื่อว่า อรณะ,

พระอริยบุคคลย่อมนำธรรมอันเป็นข้าศึกออกได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น

ธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิหาระ นำธรรมที่เป็นข้าศึกออก. อรณธรรม

นั้น ก็ชื่อว่าวิหารธรรม.

ผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานอยู่เนื่องๆ ปัญญา ย่อมค่อยๆเจริญขึ้นตามลำดับ

รวมทั้งกุศลธรรมอื่น เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สติ สมาธิ ก็ย่อมเจริญขึ้นเช่นกัน

เมื่อปัญญาสมบูรณ์ขึ้นแทงตลอดในนามธรรมและรูปธรรม เป็นวิปัสสนาญาณ

ตามลำดับจนถึงขึ้นอริยมรรค เป็นพระโสดาบัน และเมื่อเจริญยิ่งขึ้นอีกทำให้อริยะ

มรรคสูงขึ้นเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลำดับการพัฒนา

จิตสูงสุดคือเพื่อความเป็นพระอรหันต์



ถ้า "ขัดเกลาอกุศลธรรม" ออกไปได้ มากเท่าไร

ก็ลด "ช่องว่าง" ระหว่างบุคคล ออกไปได้ มากเท่านั้น



เหตุคือ "การประจักษ์ในลักษณะ" ของสภาพธรรม

ที่ปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง

ว่าแท้จริงแล้ว

เป็นเพียง นามธรรม หรือ รูปธรรม เท่านั้น

เป็นสภาพธรรม เสมอกันทั้งหมด.

.
.
.

ถึงแม้ว่าใครจะมี "อกุศลธรรม" มากเท่าไร.....ก็ไม่ใช่ "เขา"

แต่เป็นเพียง "อกุศลธรรม" เท่านั้น

ที่เป็นผล จากการสะสมอกุศลธรรมนั้นๆ มามาก

จนกระทั่ง ล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา

แล้วปรากฏให้ทราบได้.

.
.
.

เพราะฉะนั้น...เมื่อ "สติ"

ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมต่างๆมากขึ้น

ความเป็นเรา...ความเป็นเขา...ความเป็นใครๆ

ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงๆ.

.
.
.

เพราะทราบว่า...เป็นเพียงสภาพธรรม

ที่เป็นนามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้น

ช่องว่างที่เคยมี...ความไม่เสมอกัน ว่า

เป็นเขา เป็นเรา ก็ค่อยๆลด น้อยลงๆ.

.
.
.

เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้

ด้วยความเข้าใจอย่างนี้

จึงเป็นเหตุ เป็น ปัจจัย

ให้ขณะที่กำลังคิดถึงบุคคลอื่น

หรือขณะที่แสดงออก ต่อบุคคลอื่น

ทั้งทางกาย ทางวาจา

ก็ย่อมเป็นไป...ด้วยความเมตตา

เพราะ กุศลธรรม ขัดเกลา อกุศลธรรม ให้เบาบางลง.

.
.
.

ที่เคยคิดว่า เป็นเรา เป็นเขา เป็นใครๆนั้น

แท้จริงคือ สภาพธรรมที่เป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม

เกิดขึ้น แล้วดับไป สืบต่อกันตลอดเวลา

ตามเหตุ ตามปัจจัย เท่านั้นเอง.

.
.
.

"รู้" ได้ด้วย "เหตุ"

คือ "สติ" ระลึกตรงลักษณะ

ของสภาพธรรมนั้นๆ

และ "ปัญญา" รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ

ตรงขณะที่สติระลึก

ว่าเป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม

ที่เกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัย

ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งก็คือ

"การอบรมเจริญสติปัฏฐาน"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานเรื่อยเจื้อย...

เหตุคือ "การประจักษ์ในลักษณะ" ของสภาพธรรม
ที่ปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง
ว่าแท้จริงแล้ว
เป็นเพียง นามธรรม หรือ รูปธรรม เท่านั้น
เป็นสภาพธรรม เสมอกันทั้งหมด.

เพราะฉะนั้น...เมื่อ "สติ"
ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมต่างๆมากขึ้น
ความเป็นเรา...ความเป็นเขา...ความเป็นใครๆ
ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงๆ.

"รู้" ได้ด้วย "เหตุ"
คือ "สติ" ระลึกตรงลักษณะ
ของสภาพธรรมนั้นๆ
และ "ปัญญา" รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ
ตรงขณะที่สติระลึก
ว่าเป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม
ที่เกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัย
ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน
--------------------------------

การตรึกวิตกตามนามรูป โดยเชื่อในสิ่งที่เล่าเรียนกันมา ว่าสิ่งที่เห็นสิ่งที่รู้ เป็นบัญญัติ และคอยตามดูลักษณะของนามรูป ว่า เป็นสติ ย่อมไม่อาจละจางคลายจากความฟุ้ง โดยเจตนาได้

สิ่งสมมติ ไม่มีหรอก บัญญัติ เพียงไว้เรียกขาน ซึ่งบัญญัตินั้นก็ไม่ใช่สมมติหรอก สิ่งที่ปรากฏ มีแต่ จริง ทุกอย่างที่ปรากฏ มีแต่จริง จริงโดย ลักษณะ จริงโดยเหตุปัจจัย แ่ต่ ความวิปัลลาสแห่งทิฏฐิ ตัณหา จึงเกิดความยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์

พระพุทธองค์ ทรงไม่ขัดแย้งโลก ไม่เคยสอนเรื่องโลกียธรรมทั้งหลาย เป็นสิ่งสมมติ
ปรมัตถธรรม ของพระองค์ เป็นปรมัตถ์ เพราะ เป็นการปฏิบัติ เพื่อ มรรค ผล นิพพาน ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรอก
สมมติญาณ มีอยู่ เป็นญาณที่รู้แจ้งว่า บุคคลทั้งหลายไม่อาจบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะไม่รู้แจ้งในอริยสััจจ์ 4
การมัวแต่คอยดู คอยพิจารณา กามสัญญา ไม่ละไม่คลาย เพียงเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ ย่อมไม่อาจละำิกิเลสได้ กิเลส ละได้ ด้วยอรหัตมรรค ซึ่งเป็นการปฏิบัติด้วยความเข้าใจในเหตุปัจจัย

บุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ไม่อาจกำหนดสติเป็นเอกเทศ
สิ่งที่ทำคือ ทำจิตให้เป็นกุศล ด้วยการ รักษาศีล มีสัมมาสมาธิ และเจริญภาวนา
สติเจตสิก ปรากฏพร้อมขึ้น อยู่แล้วในกุศลจิตทุกดวง
การปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นการเจริญ อริยมรรค 8 นั่นเอง โดยสักแต่่ว่ามีกาย เวทนา จิต ธรรมเป็นที่ระลึกที่อาศัย

ปฏิบัติธรรม เพื่อละกิเลส พิจารณาถึงเหตุ หรือ มูลของกุศล และอกุศล ทำกุศลให้ปรากฏ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร