วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 01:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 14:32
โพสต์: 874

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันอ่านหนังสือการทำสมาธิมาหลายเล่ม แต่ก็นั่งได้ไม่นาน บางครั้งเหมือนหายใจไม่ออก อึดอัด บางครั้งนั่งไป นั่งไปหลับ แต่พอมาอ่านเจอ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียนเลยอยากลองให้ผู้หัดทำใหม่ลองนำไปลองทำดูคะ เพื่อถูกจริต
Download โปรดมาที่นี้ http://www.buddhayanando.com/book/book02.pdf หรือ
http://www.buddhayanando.com/index.p...age=index&id=5


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 14:32
โพสต์: 874

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำอีก web คะ http://www.watsomphanas.com/index.php?l ... Id=5372391


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี คุณ นนนน
อืมม์ อ่านว่าอะไรครับ
"นนนน"
อนุโมทนา ครับที่สนใจในธรรม

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้




ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



คำว่า สติ ในข้อความว่า....มีสติในกาลทุกเมื่อ...คือสัมมาสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน

เราจะไปแยก การเจริญสติ เป็น

1.การเจริญสติแบบไม่เคลื่อนไหว หรือ เป็นการเจริญสติตามรูปแบบ

และ

2.การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว หรือ เป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน



แต่ ในสมัยพุทธกาล

ท่านก็จัดให้รวมกันอยู่ใน กายานุปัสสนา แห่งสติปัฏฐาน
แต่อยู่กัน คนล่ะบรรพ



เพียงแต่ อานาปานสตินั้น ที่แสดงในพระสูตรนั้น ท่านแสดงในอิริยาบถ นั่งคู้บัลลังค์...และในลักษณะ กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว....

ส่วน การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว หรือ เป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน นั้น ...ก็เป็นดัง ชื่อที่ถูกเรียก



ขออนุญาต

นำลักษณะ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว หรือ เป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ที่แสดงไว้โดยตรงในระดับพระสูตร มาลงประกอบกระทู้น่ะครับ


[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ
เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด
ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอิริยาปถบรรพ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ
ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน
การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง
การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง
ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี
อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบสัมปชัญญบรรพ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทธรรมของพระสุปฏิปันโน มาเสนอเพิ่ม

ในเรื่อง ความสำคัญของ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว หรือ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน




โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


อีกอันหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อเราหยุดทำกรรมฐานแล้ว เมื่อเราเลิกทำกรรมฐานแล้ว จิตที่ไม่ฉลาด ก็จะเลิกไปเลย ไม่มีความรู้สึกนึกคิด

ในการทำงานของเรา ความเป็นจริงนั้น เมื่อเราจะออกจากสมาธิ เรา ก็รู้จักว่าเราออก ออกมาแล้ววางเป็นปกติไว้ ให้มีความรู้สึก มีสติติดต่อกันเสมอ ไม่ใช่ว่าเรา จะทำความสงบเฉพาะเวลานั่งสมาธิ

เพราะว่าสมาธิคือ ความตั้งใจมั่น เราเดินอยู่เราก็ทำใจเราให้มั่น ให้มีอารมณ์มั่นเสมอ มีสติสัมปชัญญะอยู่ต่อไปเสมอ ออกจากที่นั่งแล้ว หูเราได้ยินเสียง ตาเห็นรูปที่เราเดินไป นั่งรถไปก็ตามเถอะให้รูสึก มีอะไรที่มันชอบใจหรือไม่ชอบใจ เกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้สึกว่า อันนี้มันไม่แน่ อันนี้มันไม่เที่ยง ตลอดเวลาอย่างนั้น จิตใจจะสงบปกติ

เมื่อจิตสงบเช่นนี้แล้ว เราจะต้องเอาจิตอันนี้พิจารณาอารมณ์ เช่นว่า รูปร่างกายทั้งหมดนี้ก็ต้องพิจารณา พิจารณาเมื่อไรก็ได้ เรานั่งสมาธิก็ได้ เราอยู่บ้านก็ได้ เราทำงานอยู่ก็ได้ อะไรๆ เราก็ทำได้ เรานั่งพิจารณาอยู่เสมอ แม้เห็นต้นไม้ เห็นใบไม้ที่มันร่วงมาอย่างนี้ เราเดินไปจะเห็นใบไม้มันร่วงลงมา อย่างนี้ อันนี้มันไม่แน่เหมือนกัน ใบไม้เหมือนกับเรานั่นแหละ เมื่อมันแก่มาแล้วมันก็ร่วงไป เราก็เหมือนกันอย่างนั้น คนโน้นก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน นี่เรียกว่า ยกขึ้นสู่วิปัสสนา จะมีการพิจารณาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ทั้งการยืน การเดิน การนั่ง การนอน มีสติติดต่อกันเรื่อย สม่ำเสมอ นี่เรียกว่า การฝึกกรรมฐานที่ถูกต้อง เราต้องสะกดรอยติดตามอยู่เสมอ

เราทำกันอยู่บัดนี้ วันนี้หนึ่งทุ่มมาทำสมาธิกันอย่างนี้ นั่งได้ชั่วโมงหนึ่งแล้วก็หยุดกัน ใจก็เลยหยุด แล้วก็ไม่พิจารณาอะไรเลย อย่างนี้ไม่ได้ การหยุดการกระทำนี้ หยุดแต่พิธีกรรมเฉยๆ แต่ความรู้ สึกติดต่อกันเสมอไปเรื่อยนะ

อาตมาเคยให้ความเห็นบ่อยว่า ถ้าทำไม่ติดต่อกันเหมือนหยดน้ำ เหมือนหยดน้ำเราทำไม่ติดต่อกัน ก็เหมือนหยดน้ำเพราะว่าเรามีสติไม่สม่ำเสมอกัน การกระทำนั้นไม่ใช่อย่างอื่นทำ จิตทำไม่ใช่ร่างกายทำ จิตเป็นผู้ทำ จิตเป็นผู้ปฏิบัติ ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ จิตเราก็รู้สมาธิ จิตเป็นคนทำการปฏิบัตินั้นให้เราเห็นในจิตของเราเช่นนั้น

เมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะทำความรู้ในจิตของเราไว้สม่ำเสมอ เมื่อเราจะยืนก็ตาม จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ตาม ให้ความรู้สึกเรามันมีอยู่อย่างนั้น เหมือนน้ำที่มันเป็นหยดๆ อย่างนี้มันไม่ติดต่อกัน ถ้าเราทำสติให้มันติดต่อกันเช่นนั้น มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้นมันจะเป็นสายน้ำตลอดเวลา มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้อารมณ์สม่ำเสมออยู่ทุกเมื่อ ความผิดเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ถูกเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ความสงบ เกิดขึ้นมาก็รู้อยู่ทุกเมื่อ วุ่นวายเกิดทุกอย่างก็รู้ เรียกว่ามีสติอยู่ สังวรอยู่ สำรวมอยู่สม่ำเสมออย่างนี้

จะ อยู่ที่ไหนก็เป็นอยู่อย่างนั้น ถ้าทำจิตอย่างนี้ การทำภาวนานั่นจะเร็วมาก ดีมาก เกิดเร็ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต นำเสนออีกบทธรรมหนึ่ง ที่แสดงถึงความสำคัญของ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน



สติปัฏฐาน ๔

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน



การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

แม้ที่สุด ปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควร เริ่ม และ รีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภท แต่ต้นมือ

เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
อนุโมทนาสาธุการ คุณตรงประเด็น
กับพุทธวัจน์ที่ยกมาให้ฟังนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม
มันผู้นี้ ถามแล้ว แล้วลืม ว่ามันถามอะไร
แล้ว มัน ก็เอา ข้า่งมาแถ
เพราะมัน ใช้ คำว่้า มัน กับบุคคล

มันผู้นี้ ถือว่า "มัน" เป็นคำไม่หยาบคาย

มันเที่ยว ด่า เที่ยวพาล เหมือน สัตว์ผู้มีเล็บงาม แต่ สัญญาวิปลาส

โดยไร้ ความสำนีก แม้แต่น้อย ว่า มัน ผิด

แล้ว ก็มีผู้สนับสนุน การใช้ "มัน" ว่า ไม่หยาบคาย ใน ลานธรรมจักร

ชอบไม๊ คำ ว่า "มัน" :b4: :b12: :b17: :b17: :b17:

สมแล้วต่อผู้มีคนเรียก มัน ว่า "watchDOG" :b29: :b29: :b29:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ๊ะ นี่ก็มี
สงสัยจะเครียดจริงๆ พระไตรปิฏกไปไหนแล้วล่ะ
รู้จักเอามาใช้ประโยชน์อะไรได้มั่งมั๊ยเนียะ

พูดจาย้ำคิดย้ำทำอย่างกับหุ่นยนต์
แถมป่วนกระทู้มั่วชาวบ้านไปหมด

กำจริงๆ มาพลากท่าเอาปูนนี้เนาะ
อุตห์ส่าติ๋มหนีบขรึม act ทรงภูมิอยู่ตั้งนาน
สร้าง brand มาตั้งนาน
พังไม่มีเหลือซะแล้ว :b32:

เน่าแล้วนะ ชื่อ เช่นนั้น นี่น่ะ
ขายโฆษณาก็มไ่มีใครซื้อแล้ว
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ชาติไม่ยอมนะ จะกัดให้กระจุยเลย

อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ขอขอบคุณ คุณน้องชาติสยาม ที่ช่วยมาเป็น "watchdog"


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ชาติสยาม เขียน:
เรื่องเปลืองตัว ชาติลุยให้



เมื่อ อยาก ลุย ก็ ลุยให้ตลอด เพราะ ลานธรรมจักร ยอมให้มีอภิสิทธิ์ ชนที่จะใช้คำหยาบคายใดๆ กับผู้ใดก็ได้ แม้แต่ คำว่า "มัน" ก็สามารถใช้เรียกใคร ก็ได้

อยากลุยแบบนี้ สบายมาก

อยากสนุกแบบนี้สบายมาก

ชื่นชม การกัดใครๆ แบบนี้ ก็ทำให้ตลอด

ไม่ต้องห่วงว่า จะไม่มีใครร่วมสนุก

จนกว่า จะยอมรับ ผิด ว่า ใช้คำพูดไม่สมควร ในการเรียกบุคคล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แหม :b32:
ว่าก็ไม่ได้ว่าคุณนี่นะ เรียกก็ไม่ได้เรียกคุณ
ถามนิดเถอะ เดือดร้อนอะไำรล่ะ
มาทำต่อมศีลธรรมแตกบิดเบือนประเด็นน่ะสิ :b32:

ทำมาต่อมศีลธรรมจัด ยอมรับไม่ได้ มาพูดคำว่ามัน
นู่นไปดูตัวเองนู่น เอาคำคำพูดพระไตรปิฏกมาเที่ยวใช้ด่าชาวบ้าน
อย่างคุณนี่ ผมอยากจะด่ามาเลย แต่หาคำที่จะมาด่าไม่ได้เลย
คำด่าหยาบๆคายๆแค่ไหนยังเอามาใช้ด่าคุณไม่ได้เลยนะ มันแย่ขนาดนั้น



มัน..! เป็น .. "เช่นนั้น..." นั่นแหละ
มันคือเช่นนั้น............เอง

ฮ้าฮา. :b29: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 19 ก.ย. 2009, 17:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ชาติสยาม เขียน:
ก็เพราะมันอ่านหนังสือไม่แตกอย่างนี้แหละ


ผู้ที่ยอมรับว่าเจตนาเป็นอย่างนั้นจริง
อ้างคำพูด:
ชาติสยาม เขียน:
เพิ่งจะสะดุดเอาคำเล็กๆ อย่างคำว่า "มัน" เอาตอนเนีียะ

เผื่อไม่ทราบนะ ผมไม่เคยแอบด่าใครนะ
ด่าก็ด่าตรงๆ เลย ผมด่าแสกหน้าผากทุกครั้งนะ
เพิ่งจะมีคูณเนียะ มานั่งตีความ สะดุดเอาคำเล็กเล๊กกก


จนกว่า จะยอมรับ ผิด ว่า ใช้คำพูดไม่สมควร ในการเรียกบุคคล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร