วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 11:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิปัสสนูปกิเลส หมายถึง ความเศร้าหมองของวิปัสสนา ข้อความในพระไตร-

ปิฎกและอรรถกถาท่านแสดงว่า ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนถึงระดับสัมมสนญาณและอุท-

ยัพพยญาณ เมื่ออุทยัพพยญาณดับไปแล้ว กิเลสที่ยังไม่ได้ดับเป็นสมุทจเฉทก็ทำให้

เกิดความพอใจใน วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โอภาส ญาณ ปีติ สุข

เป็นต้น นี้เรียกว่า ความเศร้าหมองของวิปัสสนา สำหรับขณะทั่วๆ ไปผู้ที่ยังมีกิเลส มี

เครื่องเศร้าหมองของจิต (อุปกิเลส) เกิดเป็นปกติอยู่แล้ว

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิปัสสนูปกิเลสอาจจะเกิดขึ้นได้ บุคคลนั้นต้องเริ่มจากเกิดจากการอบรมปัญญา

ขั้นการฟังด้วยความเข้าใจถูกก่อน จนปัญญาถึงระดับวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูป-

กิเลสจึงเกิดขึ้นได้ (แต่ไมได้หมายความว่า วิปัสสนูปกิเลสเกิดจากความเห็นถูก

แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกก่อนจึงจะถึงระดับวิปัสสนาญาณ) ดังนั้น หากยัง

ไม่เข้าใจหนทางที่ถูกต้องแม้ขั้นการฟัง ก็อาจสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็น

วิปัสสนูปกิเลส ก็ถูกกิเลสหลอกอีก ไม่พ้นไปจากความไม่รู้ ดังนั้นปัญญาเริ่มต้น

จึงควรเข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร

สัมมสนญานเป็นวิปัสนาญาณที่เจือด้วยความคิดอยู่ ถึงแม้จะประจักษ์ในเรื่อง

รูป-นามแล้ว ที่สำคัญเราคิดเรื่องอะไรก็ขอให้รู้ว่าคิดครับ เพราะความคิดเป็นต้นเหตุของ

ความสงสัยและความสงสัยเป็นเหตุให้เราคิดหาคำตอบโดยวิธีการต่างๆ หรือแม้กระทั่ง

คิดว่าบรรลุธรรมแล้วถ้าเรารู้ไม่ทันก็จะสมมุติให้ตัวเองอยู่ขั้นนี้ อยู่ขั้นนั้น เป็นโน่นเป็นนี่

การตัดสินความรู้เป็นเรื่องของสติปัญญาเขาทำหน้าที่ ไม่มีเราเป็นผู้ตัดสิน ก็แล้วแต่จะ

ใส่ชื่อใส่สมมุติว่าอะไรมันก็เป็นแค่สมมุติ ถ้าติดสมมุติก็ยังเป็นวิปัสสนูปกิเลส แต่แท้

จริงแล้ว ทั้งความคิด และความสงสัย ก็เป็นธรรมะ

ผิดถูกประการใดแล้วแต่ท่านผู้รู้จะพิจารณา ขออนุโมทนา


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 16:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิปัสสนูปกิเลส หมายถึง ความเศร้าหมองของวิปัสสนา ข้อความในพระไตร-

ปิฎกและอรรถกถาท่านแสดงว่า ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนถึงระดับสัมมสนญาณและอุท-

ยัพพยญาณ เมื่ออุทยัพพยญาณดับไปแล้ว กิเลสที่ยังไม่ได้ดับเป็นสมุทจเฉทก็ทำให้

เป็นส่ิงทีุ่ถูกต้องอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติ (จริงๆ)

พึงสำเนียกไว้ในใจได้เลยว่า ต้องพบ เจอ กันทุกคน ไม่เว้น แล้วแต่ใครจะมีปัญญา เห็น ไตรลักษณ์ ในขณะที่เกิดอุทยัพยญาณนั้น เอง ได้ก่อนกัน เพราะการเห็นไตรลักษณ์หลังจากที่เห็นอุทยัพยญาณแล้วนั่นเอง เป็นตัวแก้ วิปัสสนูกิเลส ถ้าไม่เข้าใจหรือไม่มีครูบาอาจารย์ สั่งสอน ส่วนใหญ่ ก็จะติดกันเพียงความรู้เท่านี้เอง คิดสำคัญมั่นหมายว่า เรา เห็น อุทยัพยญาณแล้ว หรือสำเร็จแล้ว หรือแม้กระทั่งคิดว่า รู้จักอารมณ์พระอริยะว่าเป็นอย่างไร นี่คือ อาการติดวิปัสสนูทั้งสิน

เพราะฉะนั้น ต้องระวังอย่างที่สุดใจ ในขณะกำลังดำเนินวิปัสสนาอย่าได้ ละการพิจารณา พระไตรลักษณ์ทุกครั้งที่พิจารณาเสร็จสิ้นไป


แต่สำหรับนักวิเคราะห์ หาเหตุผล ไม่ต้องกังวลใจ เพราะ สิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดกับท่านแน่นอน

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิปัสสนูปนกิเลส ไม่ใช่พระพุทธพจน์



ในสมัยพุทธกาล มีแนวทางสู่ที่สุดแห่งทุกข์ อยู่๔ แนวทางหลัก


“๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)…”


ธรรมุจธัจจ์ ในข้อที่๔ นี้เอง ที่อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล ท่านบัญญัติศัพท์เรียกเสียใหม่ว่า วิปัสสนูปนกิเลส


ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส จากพระสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือ ด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ




(ปล...

สังเกตุ คำว่า ด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง...

ซึ่ง นี่ บ่งชี้ว่า การบรรลุอรหัตตผล อาจจะผ่านเพียงทางใดทางหนึ่งใน๔แนวทาง เช่น แนวทางที่๑แนวทางเดียวได้ .....โดยไม่จำเป็นว่า ผู้บรรลุอรหัตตผล ต้องผ่านแนวทางที่๔ด้วยทุกคน.

ซึ่ง ตรงจุดนี้ ผมเคยเห็นผู้ที่ศึกษาจากคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล เคยกล่าวไว้ว่า วิปัสสนูปนกิเลส จะต้องบังเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาทุกท่าน ?? . โดยต้องไม่ลืมว่า ทั้ง๔แนวทางนี้ ไม่มีแนวทางไหนที่ปราศจากการเจริญวิปัสสนาเลย สักแต่ว่า จะเจริญวิปัสสนาก่อนสมถะ พร้อมสมถะ หรือ ตามหลังสมถะ.

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวด้วยว่า ถ้าเจริญวิปัสสนาโดยตรงโดยไม่เจริญสมถะมาก่อนเลย จะไม่เกิดวิปัสสนูปนกิเลส....

ฟังๆดู เหมือนว่า อะไรๆที่ไม่ดี ต้อง"เป็นเพราะสมถะ". ทั้งๆที่ ชื่อก็บอกว่า เป็นวิปัสสนูปนกิเลส แท้ๆ)




มีคำอธิบายเพิ่มเติม จาก หนังสือพุทธธรรม

เกี่ยวกับ แนวทางที่๔ มีคำแปล ที่ถอดออกมาจากพระสูตร ในหน้า 327 ดังนี้

“อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ , (แต่ครั้น)ถึงคราวเหมาะที่ จิตตั้งแน่วแน่สงบสนิทลงได้ภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป)...”

และ ในหน้า329

"ข้อที่๔ ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ เกิดมีโอกาส (แสงสว่าง) ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) สุข อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือศรัทธาแก่กล้า) ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี) อุปัฏฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่) อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันตี (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาสเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม (คือ เข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่าน เป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่ามีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาสเป็นต้นซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย..."



แนวทางที่๔นี้ ก็คือ การเจริญอริยมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้าสมถะ เช่นกัน....
แต่ แทนที่ จะเป็น การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา ) แล้ว ปรากฏเอกัคคตาจิตสัมมาสมาธิตามมา..... กลับเกิดการตื่นธรรม และ เขวออกไปเสียก่อน.
และ ต้องแก้ไข จึงบรรลุมรรคผล ในเวลาต่อมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร