วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สัปปุริสธรรม ๗
ธรรมของสัตบุรุษเรียก สัปปุริสธรรม มี ๗ อย่าง คือ

๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์.
๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ทุกข์ เป็นผลแห่งเหตุอันนี้
๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้และคุณธรรมเพียงเท่านี้ ๆ แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร.
๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยชอบและรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอสมควร.
๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล เวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้นๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดย่างนี้ เป็นต้น.
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือก บุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดีไม่ควรคบ เป็นต้น.

อะไรเรียกว่าสัปปุริสธรรม ?
คุณธรรมของสัตบุรุษ หรือ คนดี เรียกว่า สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม แปลว่าอย่างไรได้บ้าง ข้อไหนเป็นสำคัญ ?
แปลว่าธรรมของสัตบุรุษก็ได้,ธรรมซึ่งทำบุคคลให้เป็นสัตบุรุษก็ได้
หรือแปลตามโวหารสามัญว่า สมบัติของผู้ดีก็ได้.
ข้อที่ ๑ สำคัญ คือ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุจะดับก็เพราะดับเหตุก่อนผู้รู้จักเหตุ ย่อมอาจคาดผลข้างหน้าได้ถูก จะปฏิบัติกิจการก็ไม่ผิดพลาด.

สัตบุรุษ กับ อสัตบุรุษ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ?
ต่างกัน คือ
สัตบุรุษ เป็นผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจา ใจ เป็นผู้สงบระงับ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม มีความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักประชุมชน และรู้จักเลือกคบบุคคล
ส่วนอสัตบุรุษ ย่อมมีลักษณะตรงกันข้าม

ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ หมายความว่าอย่างไร ?
หมายความว่า เมื่อเห็นเหตุเข้าแล้ว อาจคาดผลข้างหน้าได้ถูก เช่น รู้สิ่งสุจริตเป็นเหตุแห่งสุข ทุจริตเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นต้น.

อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล หมายความว่าอย่างไร พร้อมตัวอย่าง ?
หมายความว่า เมื่อประสบเข้าแล้วอาจสาวหาเหตุในหนหลังได้ เช่น รู้ว่าลาภยศ สรรเสริญ เป็นผลมาจากเหตุที่ดี คือ สุจริต รู้ว่า เสื่อมลาภ เสื่อมยศถูกนินทา เป็นผลมีมาจากเหตุที่ชั่ว คือ ทุจริต.

บุคคลเข้าใจเหตุ มีประโยชน์แก่ตนอย่างไร ?
มีประโยชน์แก่ตน คือ บุคคลผู้เข้าใจเหตุ ย่อมปฏิบัติไม่ผิดพลาด สามารถที่จะทำกิจการให้ลุล่วงผลิตผลสมด้วยความมุ่งหมายทั้งเป็นทางให้เกิดอุตสาหะในหน้าที่การงาน ด้วยเล็งเห็นผลข้างหน้าประจักษ์ชัด.

บุคคลผู้เข้าใจผล มีประโยชน์แก่ตนอย่างไร ?
มีประโยชน์แก่ตน คือ บุคคลผู้เข้าใจผล ก็อาจที่จะรักษาตนไม่ให้ตื่นหรือหวาดกลัว ทั้งเป็นทางให้ใช้ปัญญาสอดส่องเพื่อสาวหาเหตุในหนหลัง.

อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึงอย่างไร ?
หมายถึง รู้จักฐานะตน แล้วประพฤติตนให้สมกับฐานะนั้น ๆ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ตั้งใจทำหน้าที่ผู้ใหญ่ เช่น โอบอ้อมอารีสงเคราะห์ผู้น้อย เป็นต้น.

มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายความว่าอย่างไร ?
หมายความว่า จะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ก็ให้รู้จักพอประมาณพอดี พองาม ไม่มากไม่น้อยพอเหมาะพอดี.

กาลัญญุตา หมายความว่าอย่างไร อธิบายอย่างไร ?
หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักกำหนดจดจำว่า กาลเวลาไหนควรปฏิบัติกรณียกิจอันใด แล้วปฏิบัติให้ตรงต่อเวลานั้น ไม่ช้าเกินกาล ไม่ด่วนเกินควร เป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ เมื่อถึงคราวที่ควรทำ ก็ไม่ทำหรือด่วนทำเสียแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลา เช่นนี้ ก็จะคลาดจากประโยชน์ที่ควรได้ ควรถึง.

ปริสัญญุตา แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร ?
แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
หมายความว่า เมื่อเข้าไปหา หรือ การดำเนินให้ผู้นั้นไม่เขอะเขิน ในเวลาเมื่อเข้าสมาคมกลมเกลียวแก่ประชุมชนทุกชั้น คือ เข้าไหนเข้าได้องอาจและฉลาดในการปฏิสันถาร.

ปุคคลปโรปรัญญุตา แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร ?
แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักบุคคลว่าเป็นผู้ยิ่งหรือผู้หย่อน
หมายความว่า ความรู้จักเลือกว่า นี้เป็นผู้ยิ่งคือ ดี นี้เป็นผู้หย่อนคือ ไม่ดี คบเฉพาะกับคนดี ไม่คบคนไม่ดี ปฏิปทาให้ประพฤติเว้นการคบคนชั่ว ตั้งใจคบแต่คนดี จึงจะเป็นคนดี สมดังพระบาลีว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนใด ก็เป็นเช่นกับคนนั้นสุขทุกข์ ความเจริญ หรือหายนะ มีมาจากการเสพคุ้นเป็นปัจจัยทั้งนั้น.

สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง (นัยต้น) ข้อไหนเป็นสำคัญ เพราะเหตุไร ?
ข้อ ๑ เป็นสำคัญ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์. เพราะว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ จะดับก็เพราะดับเหตุก่อน ผู้รู้จักเหตุอาจคาดผลข้างหน้าถูก จะปฏิบัติกิจการก็ไม่ผิดพลาด.

บุคคลเข้าไหนเข้าได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมข้อไหน ?
เพราะตั้งอยู่ในสัปปุริสธรรม ข้อที่ ๖ คือ ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น.

กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลมีประโยชน์อย่างไร ?
มีประโยชน์ที่จะประกอบกิจธุระให้เหมาะแก่เวลา และเป็นข้อสำคัญในอันกระทำการงานนั้น ๆ ให้ทันสมัย ไม่เป็นผู้งมงายล่วงกาล ทำตนเป็นคนเจริญทันโลก มีวิสัยทัศน์.

คนที่ถูกตำหนิว่า ไม่รู้จักกาล ได้แก่คนเช่นไร ?
ได้แก่ คนที่ไม่รู้จักกาลเวลา เช่น กิจบางอย่างต้องรีบทำให้เสร็จ มัวชักช้าอยู่ กิจบางอย่างต้องทำทีหลังเวลาจึงจะดี แต่รีบทำเสียก่อนกาลเวลาที่ควรทำกิจนี้ แต่เอากิจอื่นมาทำ หรือเวลาที่ควรทำกิจอื่นแต่เอากิจนี้มาทำ เหล่านี้ ชื่อว่าไม่รู้จักกาล

ผู้มีธัมมัญญุตา จะได้รับประโยชน์อะไร เกิดจากธรรมนั้น ?
ได้รับประโยชน์ สามารถจะห้ามความประพฤติของตน ไม่ให้หันเหไปในทางที่ชั่ว ประกอบตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะเหตุความรู้ดี รู้ชั่ว.

ผู้มีอัตตัญญุตา จะได้รับประโยชน์อะไร เกิดจากธรรมนั้น ?
ได้รับประโยชน์ คือ เป็นผู้คงที่ ไม่แสดงอาการขึ้นลงโดยการประสบผลที่ดีและผลที่ชั่วเป็นเครื่องสะกิดใจให้รู้ตัวว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเนื่องมาจากเหตุทั้งนั้น.

ในสัปปุริสธรรมคำว่า ธรรม อัตถะ แปลว่าอย่างไร หมายถึงอะไร ?
ธรรม แปลว่า เหตุ อัตถะ แปลว่า ผล
อัตถะ แปลว่า เนื้อความ
ธรรม หมายถึง ความรู้จักหัวข้อธรรม หัวข้อวินัย อันเป็นเหตุแห่งความสุข และแห่งความทุกข์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร