วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 18:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ของผู้แสดงธรรม ๕ อย่าง

เมื่อเราตั้งจิตได้ดังนี้ เราจึงเหมาะที่จะเป็นผู้แสดงธรรม ธรรมะที่แสดงไปนั้น

จัดว่าเป็นธรรมทาน



ธรรมเทสกธรรม ๕
(ธรรมของนักเทศน์, องค์แห่งธรรมกถึก, ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ)


๑. อนุปุพฺพิกถํ กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก
มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ


๒. ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น
โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่าง ๆ ตามแนวเหตุผล

๓. อนุทยตํ ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา

๔. น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน

๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม
แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น


ขออนุโมทนาทุกท่านที่อยู่ในเว็บบอร์ด ที่แสดงธรรมเป็นธรรมทานครับ

:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักสาราณียธรรม

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ดังนี้

1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา นั่นคือ
การอยู่ด้วยกันด้วยการกระทำดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทำ
ร้ายกัน มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกัน เพื่อความผาสุขของมวลมนุษย์ เป็นต้น


2. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา คือใช้หลักการพูด ว่า กล่าว
เพื่อสร้างสรรค์ เติมเต็มให้กันและกัน ในส่วนที่ดีงาม ไม่พูดเพื่อหวังเอาชนะกันทางวาทะ
ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางคำพูด



3. เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา คือการไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกัน
มีความปรารถนาให้เขาได้ในสิ่งที่ดี ๆ ยิ่ง ขึ้นไป มีจิตเมตตาต่อกัน เป็นต้น


4. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตรตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆ
ให้แก่เพื่อนมนุษย์รวมตลอดถึงการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
ไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบมวลมนุษย์ เป็นต้น


5. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กับมติสากลหรือหลักการนั้นอันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเนื้อเชื่อใจกัน


6. มีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่
การอยู่ร่วมกันจะต้องยอมรับในกฎกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติ
ของสังคมโลก ไม่เอารัดเอาเปรียบกันหรือข่มเหงกีดกันผู้อื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง
และสังคมที่ตนอาศัยอยู่ด้วย


........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2007, 11:39
โพสต์: 85

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การยกตนข่มท่าน สำคัญตนหมายว่าเหนือกว่าผู้อื่น

ไม่รู้ในเว็บเรามีรึปล่าวนะครับ
............


พอดีไปเจอที่เว็บหนึ่ง ตรงนี้ครับ อ่านดี ขอลอกมาให้พวกเราอ่านกัน

เป็นความเห็นที่เขาโพสไว้ในเว็บนี้ ดีมาก ๆ


http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=7823&PHPSESSID=220c031fcb6aebf1f1f3f243a85db7b8

การยกตนข่มท่าน สำคัญตนหมายว่าเหนือกว่าผู้อื่น ...

...
การเพ่งโทษผู้อื่น และการอวดรู้ เป็นกิเลสหรือเปล่าครับ




ผมเป็นคนหนึ่งที่มีตระกูลสูง การศึกษาดีระดับหนึ่ง (แพทย์ ) แต่ผมจะละมานะทุกครั้งที่

ไปวัด ไปปฏิบัติธรรม ไปที่มูลนิธิฯ ไม่รังเกียจที่จะขัดถานให้พระ และไม่เคยบอกใครว่าผมเป็น

ใคร ลูกของใคร ทำงานอะไร เพื่อจะสางมานะในตัวด้วยอุบายหนึ่ง แต่ผมเกิดธรรมสังเวชในผู้

ที่ อ้าง ว่าตัวไปปฏิบัติธรรม ซึ่งยังคงไม่เข้าใจว่าปฏิบัติธรรมคืออะไร ในเมื่อธรรมเกิด

อยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกวัน ยังมีพฤติกรรมบางอย่าง ที่เด็กวัยหลังอย่างผมเห็น คือ





1. ยกตนข่มท่านอ้างว่ารู้ ธรรมมาก พูดได้ทุกข้ออรรถ พูดได้ทุกคาถา สำคัญว่าตนรู้ธรรมมาก

แต่ลืมคิดไปว่าตนเป็นเจ้ามานะ ทำตัวเป็นสัจจกะนิครนถ์นาฏบุตร



2. เบียดเบียนเพื่อนผู้ประพฤติธรรมด้วยวาจา สร้างวจีกรรม แรงกล้าไปด้วยอุปกิเลส ชื่อ สารัม

ภะ คือคิดแข่งดีผู้อื่น ไม่ได้ให้ธรรมแก่เขา ด้วยเมตตา เพื่อให้เขารู้ แต่หมายที่จะทำผู้อื่นว่า

โง่ รู้ธรรมไม่เท่าตน ประหารผู้อื่นด้วยวาทะ



3. เพ่งโทษพระภิกษุ บุตรแห่งพระตถาคต รูปนั้น รูปนี้ ทั้ง ๆ ที่ศีลก็ไม่ได้ถือเท่าท่าน อ้างตัว

ว่ารู้อภิธรรมมากกว่าท่าน ทั้ง ๆ ที่บทสรรเสริญพระ ธรรมคุณ ก็ว่า ปัจจังตังเว ทิตตัพโพ

วิญญูหิติ แล้วเราเป็นใคร ที่จะไปรู้ว่า ท่านตรัสเป็นพระอริยบุคคลแล้วหรือยัง




4. พฤติกรรมที่เป็นบางคน (ส่วนน้อย ) ในwebboardนี้ ที่ผมเห็นและสังเวช คือ คอยหาคำผิด

หรือ ข้อผิดพลาดของผู้อื่นเล็ก ๆ น้อย ๆ (การเพ่งโทษ )แล้วมาทับถม ยิ้มเยาะ ด้วยสำคัญ

ตัวหมายว่ารู้มากกว่าเขา ไม่ได้เป็นไปด้วยเมตตา แต่เป็นไปด้วยกิเลส บางรายร้ายหนัก ถึง

ขนาดใช้ วาจาส่อเสียดเขา ทั้ง ๆ ที่มันก็เป็นอกุศลธรรม 10 ซึ่งแม้แต่ศีลก็ยังวิรัติไม่ได้

แล้วจะมาอ้างว่ามีปัญญาฉะนั้นหรือ ? ทั้ง ๆ ที่ผมก็เป็นผู้รู้ธรรมขั้นต้น แต่ผมก็จะไม่เบียด

เบียนผู้อื่นด้วยวิธีแบบนี้



ต้องขอกราบอภัยต่อสหายธรรมท่านอื่น ที่น้องใหม่ ( ทั้ง ๆ ที่ผมก็เป็นผู้รู้ธรรมขั้นต้น

แต่ผมก็จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวิธีการแบบนี้ ) อย่างผม ใช้กระดานข่าวตรงนี้ เพื่อแจ้งความ

รู้สึกบางอย่าง ที่ผมสังเกตในกิริยาของบางคน ทั้ง ๆ ที่คนส่วนใหญ่ในนี้ก็เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ

ชอบ ให้ธรรมทานผู้อื่นด้วยกรุณา ก็ยังมิวาย มีกาในฝูงหงส์ แต่ที่ผมได้ตักเตือน ทำไปด้วย

เมตตาเป็นที่ตั้ง หวังในใจให้ผู้ที่ทำเช่นนี้ ลด ละ เลิก แต่จะ โอปนยิโก หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของ

แต่ละบุคคล บัณฑิต ย่อมน้อมธรรมเข้ามาใส่ตัว ว่าอะไรควร ไม่ควร แต่ผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส

ย่อมน้อมนำไปเป็นกิเลสที่ตนบ่มเพาะไว้ ย่อมกำเริบหนัก

สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=3568&Z=4022&pagebreak=0

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น

ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น

อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิของตนนั้น
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ.



สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท เป็นคู่ปรับย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล

สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้วย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด.


[๒๗๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัย อาศัยด้วยดี พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงสิ่งอื่น คือ
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค. ความทะเลาะกัน ความหมายมั่น
ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้าย เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน. อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำที่
ไม่มีน้ำมีนวล เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน. สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว คือ พูด แสดง แถลง
ซึ่งคำคัดค้านกัน ความทะเลาะ คำหมายมั่นกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาทกัน คำมุ่งร้ายกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน.

ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ
ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้าน
ตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 31 ม.ค. 2010, 22:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว คัดค้านให้ตกไป
ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา.


ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย ความยินดีและความ
ยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว
พึงงดเว้นการค้านกัน เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b16: :b8: :b16:

ขอบคุณทุกความเห็นค่ะ....เย็น เย็น...

:b16: :b8: :b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.........

ผู้แสดงธรรม ผู้บอกธรรม ผู้เขียนธรรมเพื่อประกาศออกไป

ย่อมได้อานิสงส์ ตามที่ตั้งใจแล


ส่วนใด ข้อความใด ขณะใด.............

แสดงธรรม เพื่อลาภ ย่อมได้ลาภ

แสดงธรรม เพื่อยศ ย่อมได้ยศ

แสดงธรรม เพื่อ สรรเสริญ ย่อมได้สรรเสริญ

แสดงธรรมเพื่อความสุข ย่อมได้ความสุข


แสดงธรรม เพื่อ ให้คนอื่นได้รู้ว่า ตนรู้ธรรม ก็ได้อานิสงส์ คือ คนอื่นได้รู้

แสดงธรรมเพื่อยกตนข่มท่าน ก็ได้การยกตนข่มท่าน




แสดงธรรม เพื่อธรรม ก็ได้อานิสงส์อย่างสูงสูด


การแสดงธรรมอันใด ที่เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด

ไม่เกี่ยวข้องด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เพื่อความบริบูรณ์แห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ

การแสดงธรรมอันนั้น เป็นสุดยอดของการแสดงธรรม


.....
งมงาย

.....


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร