วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 22:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




879.jpg
879.jpg [ 144.65 KiB | เปิดดู 1750 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

ฐานิยปูชา
ปฏิบัติศีล ๕ ได้อะไร
ศีล ๕ นี้ ถ้าใครปฏิบัติได้
๑. ได้บำเพ็ญอภัยทาน
๒. ทำให้จิตเกิดความเมตตาปรานี
๓. ได้ความรัก
๔. ป้องกันไม่ให้เกิดมีการฆ่ากัน
๕. ปรับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์

เมื่อเรามีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี ความเป็นมนุษย์ของเราก็สมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็ปกติ ในเมื่อกาย วาจา ปกติ ใจก็พลอยปกติไปด้วย
เมื่อเราไม่ฆ่าใคร ใครหนอจะมาฆ่าเรา เมื่อเราไม่ประทุษร้ายใคร ใครหนอจะมาประทุษร้ายเรา เราเคารพในสิทธิเสรีภาพของมวลมนุษย์ด้วยกัน คนอื่นก็ต้องเคารพต่อเรา

รู้ให้ทัน
สมาธินี่เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ
หลับตาก็ทำได้ ลืมตาก็ทำได้ นอนก็ทำได้
เพียงเราไม่นึกอะไร บริกรรมภาวนาในใจ
เราก็กำหนดไว้ที่ใจว่า
รู้อะไรแล้วก็ตาม
จะตามรู้ให้มันทัน
ความคิด คิดอะไรขึ้นมารู้ทัน รู้ให้ทัน
เราทำอะไรก็ให้ทันการกระทำของเรา
คิดอะไรก็ให้ทันความคิดของเรา
พูดอะไรให้ทันคำพูดของเรา
ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
อันนี้เป็นการทำสมาธิ ไม่ต้องบริกรรมภาวนาอะไรก็ได้
สำคัญอยู่ที่การทำสติ
สมาธินอกหลักพระพุทธศาสนา
สมาธินอกหลักพระพุทธศาสนายิ่งทำได้มากเท่าไร
ก็ยิ่งอวดกล้าอวดเก่ง มีทิฏฐิมานะ
กิเลสยิ่งตัวใหญ่ตัวโตขึ้นมา

ถ้าหากว่าท่านเคยได้อ่านประวัติของพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านอาจารย์มั่นได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานในตอนต้น ท่านก็ได้ศึกษาตามลัทธิกรรมฐานโบราณ ทีนี้การศึกษาตามลัทธิกรรมฐานโบราณนั้น ท่านทำตามรูปแบบของหลักวิชาการนั้นๆ เรียกว่า เรียนธรรม ซึ่งสุดแท้แต่ครูบาอาจารย์ท่านจะประสิทธิ์ประสาทสั่งสอนมาอย่างไร

วิธีการก็มีการขึ้นครูกรรมฐานแล้วก็ภาวนาไปเป็นขั้นตอน ในเมื่อทำจิตสงบลงไปได้แล้ว ก็รู้สึกว่าทำอะไรก็ได้ เช่น จะทำเครื่องรางของขลัง ก็ขลัง อยากรู้จิตใจของผู้อื่นก็รู้ได้ อยากจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ก็รู้ได้
แต่เมื่อมาสังเกตดูแล้ว ยิ่งรู้ยิ่งเก่ง ตัวกิเลสทิฏฐิมานะ ความทะนงตัวมันก็ยิ่งมากขึ้นทุกทีๆ คือว่าไม่เป็นไปเพื่อความหมดกิเลส อันนี้คือหลักฐานสมาธิในลัทธินอกพระพุทธศาสนา ยิ่งบำเพ็ญเก่งเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มกิเลสหนักขึ้นเท่านั้น
เพราะฉะนั้น สมาธิอันนี้จึงไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อการสร้างกิเลส แต่ สมาธิที่จะดำเนินไปเพื่อความหมดกิเลสอย่างจริงจังนั้นต้องขึ้นต้นด้วยศีล

ศีล ๕ ปิดประตูนรก

เมื่อเรามีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์
แม้เราจะยังทำสมาธิภาวนาไม่เป็น
ก็ได้ชื่อว่าตัดบาปตัดกรรมให้หมดสิ้นไปแล้ว

เมื่อเรามีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์
กายของเราก็สงบ ศีลสงบจากการทำบาป
วาจาของเราก็สงบ คือสงบในการพูดในทางที่เป็นบาป
แม้จิตของเรายังคิดที่จะทำบาป
แต่เราไม่ละเมิดล่วงเกินศีล ๕
บาปกรรมอะไรก็ไม่เกิดขึ้น

เมื่อเรามีคุณงามความดีพอกพูนมากขึ้นๆ กำลังของศีลมีพลังแก่กล้าขึ้น กายเป็นปกติ วาจาเป็นปกติ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยส่งหนุนให้จิตใจของเราเกิดความเป็นปกติ

เมื่อความปกติเริ่มเกิดขึ้นที่ใจของเรา ความคิดจะฆ่า เบียดเบียน ข่มเหงหรือรังแกก็น้อยลงหรือหมดไปไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ประกันความปลอดภัยของเราได้ว่าเราจะไม่ต้องตกนรก

รู้ให้ถูก
ความรู้ความเห็นอันใด
แม้จะรู้เห็นในสมาธิภาวนา
เห็นนรกเห็นสวรรค์
เห็นภาพนิมิตต่างๆ
โดยที่สุดแม้จะรู้วาระจิตของคนอื่น
ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่วิเศษวิโส
แต่สิ่งที่วิเศษวิโสที่ควรจะยึดเป็นหลัก
คือการรู้จิตของตนเอง
รู้กายของตนเอง

รู้กาย คือรู้ธรรมชาติของร่างกายว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
ส่วนความรู้ที่จำเป็นที่สำคัญที่สุด ก็คือรู้จิตรู้ใจของเราเอง
ว่าปัจจุบันนี้สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร
เศร้าหมองหรือผ่องใส
มีกิเลสตัวไหน (โลภ โกรธ หลง) อยู่ในใจของเราบ้าง
เมื่อเรารู้ความจริงของตัวเราแล้ว
เราจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเรา

ตามรู้ความคิด
ให้ทำสติกำหนดรู้ลงที่จิต คอยจ้องดูว่าความคิดอะไรจะเกิดขึ้น พอมีความคิดอะไรเกิดขึ้น เราทำสติตามรู้ รู้ตามไปเรื่อย จิตมันจะคิดเรื่องดีเรื่องชั่วสารพัดสารเพอะไรก็แล้วแต่ ปล่อยให้มันคิดไป แต่หน้าที่ของเราทำสติตามรู้อย่างเดียว จะคิดเรื่องบุญเรื่องบาปเรื่องกุศลอกุศลอะไรไม่สำคัญ ให้กำหนดเอาความคิดอันนั้นแหละเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เช่นเดียวกับใจที่เราหาเรื่องมาพิจารณา
คนที่ปกติคิดมาก แต่ถ้าทำสติตามรู้ความคิดได้ การปฏิบัติจะรู้สึกสะดวกกว่าบุคคลผู้ซึ่งไม่ค่อยจะมีความคิด เพราะโดยปกติจิตของเราคิดอยู่แล้ว เราเพียงแต่ว่าทำสติกำหนดตามรู้มันเรื่อยไป เมื่อสติตามรู้ความคิดทันแล้วความสงบจะเกิดขึ้น เมื่อความสงบเกิดขึ้นแล้ว ก็มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง เช่นเดียวกับการบริกรรมภาวนาได้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ๕ ที่บริบูรณ์แล้ว ท่านใดบริบูรณ์ เอาไปเลย ผู้มองเห็นนิพานขั้นต้น
อนุโมทนาสาธุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร