วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 21:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามเรื่องศีลไปแล้ว ก็ขอเรียนถามให้ครบเลยนะค่ะว่า
สมาธิ กับ ปัญญา เกี่ยวข้องกันอย่างไรค่ะ สาธุคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หากขาดสมาธิก็ไร้ปัญญา

หากขาดปัญญก็ไร้สมาธิ

นั่นแล

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ = ตั้งใจมั่น
ปัญญา = ความคิด

สมาธิ หนุน ปัญญา
ปัญญา หนุน สมาธิ

เรียกว่า วิปัสนาหรือภาวนามยปัญญา ยอดของปัญญาในศาสนาพุทธ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ดอกรัก เมื่อ 22 พ.ค. 2010, 17:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุคะ สองท่านให้ความหมายสั้น ๆ ขอบคุณค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มให้อย่างหนึ่งครับ คือสติ เมื่อมีปัญญา มีสมาธิ ก็ต้องมีสติด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียนถามเรื่องศีลไปแล้ว ก็ขอเรียนถามให้ครบเลยนะค่ะว่า
สมาธิ กับ ปัญญา เกี่ยวข้องกันอย่างไรค่ะ สาธุคะ


ศีล สมาธิ ปัญญา สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันภายในขอบเขตของตน ต่างเป็นเหตุปัจจัยกันและกัน

เป็นขั้นเป็นขั้นไป

ศีลก็มีขอบเขตของมัน สมาธิก็มีขอบเขตของมัน ตัวอย่างในวิสุทธิ 7 ท่านเปรียบเหมือนรถ 7 ผลัด

ศีลกล่าวไปแล้วทั้งทั้งสองด้านคือด้านสังคมวงกว้าง และด้านวงแคบเข้ามาที่ภายในตัวบุคคลแต่ละคนๆเอง

สำคัญทั้งหมด มิใช่สำคัญแต่ด้านบุคคล ด้านสังคมก็สำคัญ ตัวอย่าง เมื่อสังคมไร้ศีล มีการการละเมิด

ศีลกันอย่างกว้างขวางรุนแรง เราเองซึ่งอยู่ละแวกนั้น ชุมชนนั้น จะนั่งฝึกจิตทำใจให้เป็นปกติได้อย่างไร

มองง่ายๆ สมมุติ ตนเองกำลังฝึกอมรบสมาธิอยู่ มีโจรมาปล้น เราจะนั่งพองหนอ ยุบหนอ พุทโธๆ

สัมมาอรหัง ๆ เป็นต้น อยู่ได้ไหม ฯลฯ นี่คือของศีลที่ทุกคนในสังคมพึงมีพึงปฏิบัติร่วมกัน

เพื่อความสงบสุขของสังคม

เมื่อคนในสังคมมีศีลหรือประพฤติตามศีล มนุษย์ในสังคมนั้นก็ง่ายที่ฝึกอบรมตนให้มีคุณธรรมที่สูงขึ้นไป

จนถึงสมาธิและปัญญา เป็นต้นได้สะดวกขึ้น

ด้านภายในบุคคลเอง หากไปล่วงละเมิดศีลมาคือไปฆ่าคนตาย เราจะไปนั่งหลับตาอบรมจิต พุทโธๆ

พองหนอ ยุบหนอ อยู่ได้ไหม กลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะมาลากคอเข้าคุก

หรือ ไปปล้นชิงทรัพย์เข้ามา (ละเมิดศีลข้อ 2) ก็ทำนองเดียวกัน เช่น ไปลักทรัพย์เขามา จะนั่งหลับตาฝึก

สมาธิอยู่ได้ไหม

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียนถามเรื่องศีลไปแล้ว ก็ขอเรียนถามให้ครบเลยนะค่ะว่า
สมาธิ กับ ปัญญา เกี่ยวข้องกันอย่างไรค่ะ



หลักมีว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ (เพื่อกันและกันไป)

ติ่งต่างให้เห็นภาพ :b32:

สมมุติว่า เราจะเดินทางขึ้นเหนือไปเชียงราย แบ่งระยะทางเป็นสามขั้น

ช่วงแรก เราปั่นจักรยานไป ช่วงที่สองขี่มอไซ ช่วงสุดท้ายนั่งรถยนต์

ขี่จักรเทียบได้กับศีล มอร์เตอร์ไซต์เทียบได้กับสมาธิ รถยนต์เทียบได้กับปัญญา


รูปภาพ

เริ่มต้นเดินทางระยะที่หนึ่ง :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค. 2010, 13:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รอระยะที่สอง-สามอยู่นะค่ะ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล (= จักรยาน) ไปต่อไม่ไหว หมดเขตที่นครสวรรค์ :b23: :b22:

รูปภาพ

ก็ส่งต่อให้สมาธิ (= มอไซ) :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ (= ขับมอไซไป) ถึงลำปาง หมดเขตสมาธิ (กำลังของมอร์เตอร์ไซต์ส่งถึงแค่นี้)

รูปภาพ

ก็ต่อด้วยรถยนต์อีกทอดหนึ่ง :b23:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1_original.jpg
1_original.jpg [ 86.14 KiB | เปิดดู 4226 ครั้ง ]
เข้าเชียงรายแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




kingmengrai.jpg
kingmengrai.jpg [ 35.11 KiB | เปิดดู 4215 ครั้ง ]
นั่นคือสัญลักษณ์ของเชียงราย

สรุปเป็นว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ ต่างก็อาศัยกันและกันพาให้ถึงจุดหมายดังอุปมา

อุปไมยนั่น

แต่...ยังมีข้อสังเกต คือการเดินทางต้องฝันฝ่าอุปสรรคต่างๆในระหว่างกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง

บางคนท้อถอยเสียในระหว่างทางหันหลังกลับ บางคนทนต่อความยากไม่ไหวเสียชีวิตในระหว่างทางก็มี ฯลฯ

การเดินทางทางจิตหรือการฝึกฝนอบรมตนเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ก็เช่นกันต้องฝันฝ่าอุปสรรคต่างๆนานา

เช่นความเกียจคร้าน เป็นต้น

บางคนก็ติดอยู่ขั้นศีล คือมองเห็นศีลมีผลสำเร็จในตัวเอง

บ้างก็หลงพัวพันในนิมิตหมายแห่งสมาธิติดสุขที่ประณีต ไม่ผ่านทะลุถึงปัญญา หรือทะลุถึงปัญญาได้แล้ว

แต่ก็ยังเทินปัญญาไว้อยู่ จึงไม่เป็นอิสระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็น จุดเริ่มและจุดหมายสูงสุดของไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ชัดเจน พึงศึกษาพุทธพจน์ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย

แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดภัย ไม่มีภัย ก็แล เรือหรือสะพานสำหรับข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี บุรุษนั้นจึงดำริว่า

ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่งข้างนี้น่าหวาดระแวง...ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้และใบไม้

มาผูกเป็นแพแล้วอาศัยแพนั้นพยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี”

“คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้นเขาได้ข้ามไปขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว

ก็มีความดำริว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...จึงข้ามมาถึงฝั่งนี้โดยสวัสดี ถ้ากระไร

เราควรยกแพนี้ขึ้นเทินบนศีรษะหรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นอย่างไร ?

บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าเป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้นหรือไม่”


(ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ไม่ถูก พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า)


“บุรุษนั้น ทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว

มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่

ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา บุรุษผู้นั้น กระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น

นี้ฉันใด”


“ธรรม ก็อุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น

เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย

จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า”


“ภิกษุทั้งหลาย ทิฐิที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่

เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลายจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมอันมีอุปมา

เหมือนแพ ที่เราแสดงแล้วเพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ”

(ม.มู.12/445/479)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค. 2010, 15:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-343-1181794836.jpg
post-343-1181794836.jpg [ 51.07 KiB | เปิดดู 4170 ครั้ง ]
ดังกล่าวเพื่อให้เห็นจุดหมายของพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์ทุกคนจะ

ก้าวไปให้ถึงภาวะจิตที่บริสุทธิ์เช่นนั้น เพราะสติปัญญาของมนุษย์แตกต่างกัน ดังที่พระพุทธเจ้าเล็งเห็นว่า

เหมือนบัว 4 เหล่า คือ



1.พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว

เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

2.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝน

เพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป

(วิปัจจิตัญญู)

3.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่ม

อยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้

ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆโผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

4.พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็น มิจฉาทิฏฐิ แม้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาด

ศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือน ดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม รังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา

อีกด้วย ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานได้อีก (ปทปรมะ)


พระพุทธองค์ ทรงเปรียบคน บนโลกนี้
เหมือนบัวสี่ เหล่าแจ้ง แถลงไข
หนึ่งพวกบาน เหนือน้ำ เลิศล้ำใจ
ท่านเปรียบได้ ดังคนที่ มีปัญญา

จะสอนชี้ สิ่งใด เข้าใจแจ้ง
ไม่ต้องแจง เหตุผล ค้นปัญหา
สามารถเข้า ใจซึ้ง ถึงปัญญา
ไม่ต้องมา สอนลาก ให้มากกล

เหล่าที่สอง มองเปรียบ ให้เทียบย้อน
เป็นบัวซ้อน พร้อมจะบาน ไม่นานผล
อยู่ปริ่มน้ำ คอยคำสอน สะท้อนตน
เปรียบดั่งคน พร้อมเข้าใจ ในถ้อยธรรม

ไม่ต้องย้ำ สอนมากมาย พอหมายรู้
ต้องมีครู คอยชุบ อุปถัมภ์
แนะแนวเหตุ แนวผล และกลกรรม
ก็รู้จำ รู้จด เป็นบทเรียน

เหล่าที่สาม ต่ำมาหน่อย ด้อยสติ
ท่านดำริ เปรียบคน ที่ค้นเขียน
ต้องอาศัย แรงลาก ให้พากเพียร
ต้องหมั่นเรียน หมั่นสอน สะท้อนใจ

ต้องสอนย้ำ นำพา ปัญญาสู่
ถึงจะรู้ ความแจ้ง แถลงไข
ต้องกระหนาบ เกลาขัด ฝึกหัดไป
จึงจะได้ ปัญญา เข้ามาทอน

ส่วนเหล่าสี่ ที่สุด มนุษย์แล้ว
ไม่เอาแนว ใดย้ำ ในคำสอน
ไม่สามารถ เรียนจด ในบทตอน
คือพวกนอน เกลือกตม เกินชมใจ

รังแต่เน่า ทับถม สุดชมหา
ให้เต่าปลา เคี้ยวสิ้น กินอาศัย
ยากจะมี ช่องแยก แตกกอไป
ทิ้งเน่าใน ธารา ไม่น่าชม

http://www.com-th.net/webboard/index.php?topic=78771.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค. 2010, 18:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณแก้วกัลยาพิจาณาบทความนี้เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะเห็นความสัมพันธ์ขององค์ธรรม

พร้อมกับเข้าใจเรื่องอุปมาอุปไมยยิ่งขึ้นด้วย



การจัดขั้นตอนของไตรสิกขา สัมพันธ์กับการทำงานขององค์มรรคอย่างไร

อาจเห็นชัดขึ้นได้ด้วยข้ออุปมา เปรียบเหมือนว่า ชายคนหนึ่งขับรถยนต์เดินทางไกลอันยาวนานจากหมู่บ้าน

ชนบทที่ราบชายป่าแห่งหนึ่ง ผ่านเทือกเขาใหญ่สลักซับซ้อน ไปสู่จุดหมายในใจกลางมหานครที่คับแคบ

จอแจ ทางแบ่งได้เป็น 3 ช่วงตอน คือ

ช่วงแรกเป็นทางในชนบทยาวไกลแต่เป็นที่ราบ

ช่วงกลางอยู่บนเทือกเขา ทางลัดเลาะเลียบไปตามไหล่เขาและหุบเหว มีที่คดเคี้ยวสูงชันมากมาย

น่าหวาดเสียวหวั่นกลัวอันตราย


ช่วงที่สาม เป็นทางในมหานครเต็มไปด้วยถนนหนทางตรอกซอกซอยน้อยใหญ่ ตึกรามคับคั่ง ผู้คนพลุกพล่าน

จอแจน่าหลงทาง ผู้ไม่ชำนาญยากที่จะค้นหาที่หมาย

ชายผู้นี้ ไม่เคยขับรถมาก่อน เขาเริ่มฝึกด้วยกาลงมือเดินทางจริงโดยหวังว่าทางยาวไกลมาก กว่าจะถึงที่หมาย

เขาก็จะขับรถได้ชำนาญ

สำหรับช่วงที่หนึ่ง ชายผู้นี้ต้องฝึกมือเท้าใช้กลไกอุปกรณ์การขับรถให้ชำนาญ ระมัดระวังหลบหลีกพื้นถนน

ที่ไม่แน่นและหลุมบ่อต่างๆ จุดรวมงานของเขาในช่วงนี้มีอยู่เพียงระวังรักษาปากติ คือคุมให้การเคลื่อนไหว

ของรถเป็นไปด้วยดี ถ้าถนนราบเรียบดี เขาเองก็ถนัดใช้อุปกรณ์ต่างๆดีแล้ว รถก็คงแล่นตลอดไปโดยสะดวก

สบาย

สำหรับช่วงที่สอง ชายผู้นั้นต้องใช้กำลังแรงและความระมัดระวังมาก คุมรถตามที่โค้งเลี้ยวไหล่เขาและเลียบ

ของหุบเหว ต้องคอยผ่อนและเร่งรถเวลาขึ้นลงทางที่ลาดชัน และทรงตัวให้ดี จุดรวมงานในช่วงนี้ของเขาคือ

ความเข็มแข็ง การบังคับควบคุม ความมีสติตื่นตัวเต็มที่ตลอดเวลา และมีความแน่วแน่


ถามว่า ตอนนี้เขาไม่ต้องระวังการใช้กลไกอุปกรณ์และคอยหลบที่หลุมบ่อและพื้นถนนที่ไม่แน่นหรือ

ตอบว่า ความระวังในเรื่องเหล่านี้ ต้องมีอยู่ด้วยแล้วในตัว และยิ่งสำคัญกว่าช่วงที่หนึ่งด้วยซ้ำไป แต่ถึง

ตอนนี้เรื่องเหล่านี้ไม่ต้องพูดถึงแล้ว เพราะถ้าถึงตอนนี้เขายังใช้กลไกอุปกรณ์ไม่ชำนาญ หรือถนนขรุขระนัก

เป็นหลุมเป็นบ่อไม่แน่น สิ่งที่เขาควรจะใส่ใจพิเศษในตอนนี้ก็คือ ขอบถนน เส้นแนว โค้งเลี้ยวและความเอียง

เท ลาดชัน ต่างหาก

นอกจากนี้แล้ว การเดินทางช่วงที่สองจะผ่านไปได้หรือไม่ได้ ยังอาจมีเหตุอื่นอีก เช่น เมื่อเขาผ่านช่วงที่หนึ่ง

มาถึงช่วงที่สอง พอเห็นลักษณะของทางช่วงที่สองแล้ว เกิดความหวาดหวั่น ใจไม่สู้ อาจหยุดเลิกอยู่แค่นั้น

หรือหันหลังกลับ หรือขับขึ้นมาแล้ว แต่พลาดตกเหวเสียในระหว่าง (เหมือนผู้บำเพ็ญสมาธิเสียจริตหรือปฏิบัติ

ผิดเขวออกนอกทางไป) หรือติดใจทัศนียภาพอันสวยงาม ณ จุดต่างๆ เลยหยุดจอดรถลงชื่นชมเพลินอยู่

ณ ที่นั้นเอง (เหมือนผู้ติดใจฌานสมาบัติเป็นต้น)

สำหรับช่วงที่สาม ถนนหนทางตรอกซอกซอย ทางแยก อาคารสถานที่ สิ่งประดับประดา เครื่องหมาย

สัญญาณ แผ่นป้ายบอกถนน ซอย สถานที่ ยานพาหนะอื่นๆ และผู้คนสัญจรมากมายลานตาไปหมด

ชายผู้นั้นจะต้องตาไว และรู้เข้าใจเครื่องหมายสัญญาณต่างๆ อ่านข้อความที่บอกตำแหน่งแห่งที่เป็นได้

และรู้จักกำหนดที่เลี้ยวแยกเป็นต้นได้ดี มีเชาว์มีไหวพริบตัดสินใจได้รวดเร็วแม่นยำ จุดรวมงานของเขาในช่วง

นี้คือ การไม่หลง

ทางช่วงที่หนึ่ง บนที่ราบ ซึ่งเน้นการระวังรักษาการเคลื่อนไหวให้เป็นปกติ เทียบได้กับศีล

ทางช่วงที่สอง บนเทือกเขา ซึ่งเน้นความเข้มแข็งบังคับควบคุมตื่นตัวแน่วแน่ เทียบได้กับสมาธิ

ทางช่วงที่สามในมหานคร ซึ่งเน้นความรู้ไวไม่หลง เทียบได้กับปัญญา


จะเห็นว่าแม้ทุกช่วงจะเน้นต่างกัน แต่ก็มีองค์ประกอบทั่วไปของทางเหมือนๆกันโดยตลอดนี้เป็นการ

มองอย่างกว้างที่สุด เพื่อให้เห็นภาพรวม


ส่วนในการฝึกอบรมหรือปฏิบัติจริง ลำดับขั้นตอนอย่างนี้ดำเนินไปได้เรื่อยๆ เหมือนเป็นขั้นตอนย่อยซ้อนอยู่

ในขั้นตอนใหญ่ คล้ายกับทางหลวงสายยาวที่มีช่วงทางราบเรียบ ช่วงทางโค้ง ช่วงทางซับซ้อน ช่วงเรียบ

ช่วงโค้งชัน ช่วงซับซ้อน ฯลฯ ย่อยๆซ้อนอยู่ ในระหว่าง และความเป็นเช่นนี้ก็เป็นข้อยืนยันถึงการประสาน

ขานรับกัน ระหว่างระบบการฝึกจากข้างนอกของไตรสิกขา กับการทำหน้าที่แห่งองค์ธรรมภายในของมรรค

คือ เมื่อประพฤติมีศีล ใจก็มีสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ การคิดก็ได้ปัญญา พอได้ปัญญาก็กลายเป็นสัมมาทิฐิ

องค์แรกของมรรค สัมมาทิฐิก็ส่งทอดแก่สัมมาสังกัปปะๆ ก็นำทางแก่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

และสัมมาอาชีวะ ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างองค์มรรค กลายเป็นการช่วยให้เกิดศีลแล้วสืบทอดต่อๆกัน

ไปอีก พร้อมกับทำให้คุณภาพทั้งของการฝึกอบรมและทั้งขององค์ธรรมทั้งหลายประณีตเข้มแข็งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ


วงจรย่อยของไตรสิกขาอย่างนี้ มองคร่าวๆ จะเห็นเป็นเหมือนการฝึก 3 ส่วนที่ดำเนินควบเคียงไปด้วยกันตลอด

เวลา

ดังตัวอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวถึงการฝึกเจริญอานาปานสิต คือกำหนดลมหายใจเข้าออก จับสาระได้

ว่า ขณะที่ฝึกอยู่นั้น สังวรคือการควบคุมกิริยาอาการให้อยู่ในภาวะถนัดหรือเหมาะดีที่สุดแก่งาน

เป็นอธิสีลสิกขา (= ศีล)

การทำจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่กับงานคืออารมณ์ที่กำหนด เป็นอธิจิตตสิกขา (= สมาธิ)

การใช้ปัญญา หรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในเวลานั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา (=ปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร