วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 09:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 22:58
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Picture 054_resize.jpg
Picture 054_resize.jpg [ 148.03 KiB | เปิดดู 2944 ครั้ง ]
ขั้นตอนการปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
ภาวนามยปัญญาของผู้เขียน เห็นว่าขั้นตอนการลงมือปฏิบัติธรรมน่าจะมี 8 ขั้นตอนคือ
1. หมั่นสังเกตพิจารณา สภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งตนเองและบุคคลรอบข้าง ให้รู้และตระหนักว่า มันช่างเต็มไปด้วยความทุกข์นานาประการ ยอมรับเสียว่า เราคนหนึ่งก็เป็นทุกข์เหมือนกันกับเขาเราจะทำอย่างไรจึงจะบรรเทาทุกข์หรือพ้นทุกข์ไปเสีย
2. ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า เราจะพยายาม หาหนทางที่จะให้พ้นไปเสียจากทุกข์ให้จงได้
3. เริ่มลงมือศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยการอ่านการฟัง การถามและการแสวงหาครูอาจารย์ที่รู้จริงเห็นจริงปฏิบัติได้จริงในเรื่องเหล่านี้ หรือสนใจปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง
4. ลงมือศึกษาเรื่องการรักษาศีลของบุคคลต่างๆ ทั้งฝ่ายฆราวาสและนักบวช ให้รู้จักศีลหยาบ ศีลกลาง ศีลละเอียด ว่ารักษาได้อย่างไรแนวทางเป็นอย่างไร
5. ลงมือรักษาศีลแปดให้บริสุทธิ์ พร้อมกับทำความเพียร เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาให้ต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดวรรคขาดตอน สติ ปัญญาจะเจริญขึ้นจนกลายเป็นภาวนามยปัญญาหรือเกิดฌานเกิดญาณขึ้น ก็จะเห็นอัศจรรย์จากการบำเพ็ญจิต สติปัญญาศรัทธาความเพียรก็จะแก่กล้าขึ้นเป็นลำดับ จนรู้ธรรมเห็นธรรมเข้าใจธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นลำดับขึ้นไป
6. เมื่อทำสมาธิให้จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคตา คือมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้แล้ว (จิตหยุดอยู่เรื่องเดียว) ให้พิจารณาสภาวธรรมต่างๆ ที่อยู่รอบตัวหรือที่มาสัมผัสที่จิต แล้วโยงเรื่องนั้นๆ เข้าหาอริยสัจสี่ คือพิจารณาว่าเรื่องที่มาสัมผัสนั้นๆ มีสภาพเป็นทุกข์หรือเป็นสุขอย่างไร คนปกติหลงใหลไปกับเรื่องนั้นอย่างไรบ้าง สาเหตุของมันเพราะอะไรและสุดท้ายของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เมื่อรู้สมุทัยของเรื่องนั้นชัดเจนแล้ว ให้กำหนดดูนิโรธของเรื่องนั้นๆ ให้รู้ชัดว่าควรจะทำอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับเรามากที่สุด ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติต่อเรื่องนั้นๆ ควรจะเป็นอย่างไร อะไรควรจะได้ลงมือทำทันที อะไรควรจะต้องเตรียมการเตรียมอุปกรณ์ไว้ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติต่อจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่ปรากฏในนิโรธ โดยพิจารณาเข้าสู่มรรคองค์แปด คือสัมมาทิฐิในเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไร ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มรรคญาณก็จะเกิดขึ้น เมื่อมรรคญาณเจริญเต็มที่ก็จะรู้แนวทางในการบรรเทาทุกข์ที่มีอยู่เป็นอยู่ รู้แนวทางป้องกันทุกข์ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น โดยรู้จักระมัดระวัง มิให้ตนเองหลงกระทำเหตุของทุกข์ชนิดนั้นๆ เพิ่มขึ้นไปอีก พิจารณาบ่อยๆ วันละเรื่องสองเรื่อง วันแล้ววันเล่า หลายครั้งหลายวันเข้า สติปัญญาก็จะแก่กล้าขึ้นๆ เป็นภาวนามยปัญญาตัดกิเลส ละกิเลสได้ สักวันหนึ่งก็จะเห็นที่สุดของการศึกษาทางธรรม ได้เป็นเจ้าของมรรคผลเป็นลำดับขึ้นไป จนถึงนิพพานในที่สุด
7. เมื่อรู้ธรรมเห็นธรรมบรรลุธรรมแล้ว ให้กำหนดดูวิธีรักษาคุณธรรมที่รู้แล้วเห็นแล้วมีแล้ว มิให้เสื่อมหรือเศร้าหมอง พร้อมทั้งเพียรพิจารณาให้รู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุธรรมในลำดับที่สูงขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งการศึกษา คือเห็นวิมุตติและวิมุตติญาณทัสนะ คือเห็นสภาวะของความหมดจดจากกิเลส และรู้ว่าตนเองหมดจดจากกิเลสแล้ว นั่นคือบรรลุถึงความเป็นอเสกบุคคล คือไม่ต้องศึกษาอีกแล้ว เสวยผลของการศึกษาทางธรรมเป็นวิมุตติสุข นิพพานัง ปรมัง สุขขัง หรือ เตสัง วูปสโม สุขโข จะรู้ชัดเห็นชัดด้วยตนเอง
8. ทรงไว้และสงเคราะห์ ทรงไว้คือ รักษาคุณธรรมที่รู้แล้วเห็นแล้วมีแล้วไว้ไม่ให้เสื่อมหรือเศร้าหมอง โดยเคารพในความไม่ประมาทตลอดเวลา คือไม่ดูถูกดูหมิ่น เลินเล่อละเลย ในศีลในวัตรของตนเอง ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ส่วนสังเคราะห์นั้น เมื่อตนเองรู้แล้วเห็นแล้วพ้นแล้วจากวัฏฏสงสาร ให้เมตตาแก่กุลบุตรลูกหลานผู้เกิดมาสุดท้ายภายหลัง ถ้าเขาสนใจอยากรู้ตามเห็นตามก็กรุณาเขาหน่อย คือช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติให้แก่เขา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ของพุทธศาสนา และชาวโลกผู้มีความเชื่อความเลื่อมใส

จากหนังสือวัฏฏสงสารกับมรรคผลนิพพาน
โดยพิทักษ์ธรรม
.................................................................................................................................................................
ผิดพลาดประการใดกับผู้หนึ่งผู้ใด กระผมก็ขอ ให้อย่าเป็นเวรเป็นกรรม แก่กันและกันเลยครับ
ผิดถูกอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นเรื่องที่วิญญูชนจะต้องใคร่ครวญพิจารณาเองคับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ เพิ่มความรู้หน่อยครับ การทำสมาธิวิปัสสนา เราต้องปรับความสมดุล ของสติ,อินทรีย์,ปัญญาให้เสมอกันด้วยครับ แต่สติมีมากไม่เป็นไร ที่สำคัญคืออินทรีย์ ๖กับปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาที่นำมาบอกกันค่ะ ของจุฬาภินันท์ปัญญาบอกว่าขออธิษฐานมาแต่ชาติอดีตว่าขอเข้าถึงธรรม เมื่อถึงเวลาที่กรรมกำหนดก็ลุกขึ้นมาถือศีลทำสมาธิเอง แล้วก็รอจนถึงเวลาที่กรรมกำหนดอีกเช่นกันว่าเมื่อไหร่ปัญญาจะมา สรุปแล้วเป็นที่กรรมค่ะ คำอธิษฐานศักดิ์สิทธิ์มีศีลมีสมาธิพร้อมแล้วอธิษฐานยังไงก็เป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร