วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 20:39
โพสต์: 53

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




image001.jpg
image001.jpg [ 146.64 KiB | เปิดดู 3207 ครั้ง ]
พุทธศาสนาเราเป็นศาสนาที่มีจุดหมายปลายทาง
และเป็นจุดหมายปลายทางในแบบสิ้นสุดการเดินทาง


การเดินทางของแต่ละคนมีความต่างกัน
ตามลักษณะความสามารถในการออกเดิน
แบ่งเป็นภาพรวมคร่าวๆที่สุด คือ
เดินช้าอย่างเป็นทุกข์
เดินช้าอย่างเป็นสุข
เดินเร็วอย่างเป็นทุกข์
เดินเร็วอย่างเป็นสุข


เดินช้าอย่างเป็นทุกข์
คือคนที่อ้วนอุ้ยอ้ายด้วยกิเลสต่างๆ
โลภกิน โลภกาม
โกรธง่ายหายช้า
ขี้บ่น ห่อเหี่ยว ขี้เกียจ
ฟุ้งซ่านจัด เพ่งโทษคนอื่น
หมดเวลาไปกับการเทียบเขาเทียบเราอย่างน่าใจหาย
เต็มไปด้วยความสงสัยไม่แน่ใจนานัปการ
แต่ขณะเดียวกันก็อยากเสวยสวรรค์
อยากไปให้ถึงนิพพานในเร็ววัน
ชั่วขณะที่นึกอยาก ก็ระทมทุกข์
เพราะรู้สึกคล้ายมีม่านหมอกหนาเตอะขัดขวาง
ผ่านไปไม่ได้เสียที ก็คร่ำครวญ พร่ำโอด
เรียกหาใครมาอุ้ม
และด่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ถ้าไม่ช่วยแบบทันใจ
พร้อมจะกระทืบเรือเก่าให้ล่มจม
ในทันทีที่ขึ้นเรือใหม่ได้ถนัดเท้า
แต่ข้อดีคือยังเดิน ดีกว่าไม่เดินเลย


เดินช้าอย่างเป็นสุข
คือคนที่ตัวเบาด้วยความมีกิเลสน้อย
และไม่คาดหวังจะถึงจุดหมายปลายทางในเร็ววัน
ยังพอใจ ยังมีความสุขตามอัตภาพ
ไม่โทษฟ้าโทษดิน ไม่หวังหาทางลัด
มีความเข้าใจเฉพาะตน
ว่าเพราะไม่ประกอบเหตุให้เดินเร็ว
ตนจึงยังกระต้วมกระเตี้ยมไม่ค่อยถึงไหนเสียที
ข้อดีคือเดินไปเรื่อย
เทียบตนในวันนี้กับตนในวันวาร
ไม่เสียเวลาเปรียบเทียบว่าตนด้อยกว่าหรือเหนือกว่าใครบ้าง
จึงไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้ตนเองและผู้อื่น


เดินเร็วอย่างเป็นทุกข์
คือคนที่สร้างเหตุปัจจัยในการเดินทางไว้ดีพร้อม
แต่ขณะเดียวกันก็ใจร้อน
คิดถึงจุดหมายมากกว่าก้าวในปัจจุบัน
พวกนี้ใจถึง ตัดเหตุแห่งความเนิ่นช้าออกไปได้มาก
เช่น สละเรือนออกบวช
หรือเอาเวลาพักผ่อนจากหน้าที่การงานมานั่งสมาธิเดินจงกรม
ไม่วอกแวกกับเครื่องยั่วยวนใจทั้งหลาย
ไม่สนใจเทียบเขาเทียบเรากับชาวบ้าน
แต่ทุกก้าวที่ออกเดิน เล็งแลร่ำไปว่าเมื่อไหร่จะถึง
ระหว่างเดินทางจึงรุ่มร้อน ไม่ใช่รื่นรมย์


เดินเร็วอย่างเป็นสุข
คือคนที่มีความ "เข้าใจ" อย่างสมบูรณ์
ว่าคนเดินเร็วเขาตัดอุปสรรคอะไรออกไปบ้าง
ต้องเสียสละความชอบใจเฉพาะตนอันใดออกไปก่อน
ต้องประกอบความเพียรรู้กายใจกันแบบไหน
ถึงจะเป็นไปได้จริงเฉพาะตน
เมื่อใดเกิดความว้าวุ่นอยากถึงปลายทางเร็วๆ
ก็เอามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ
ว่าอยากไปก็ทุกข์เปล่า
ทุกข์มีให้เห็นว่าไม่เที่ยง กินเวลามากบ้าง น้อยบ้าง
ไม่ใช่มีให้คิดว่าจะหายทุกข์เดี๋ยวนี้ได้อย่างไร


ชาวพุทธที่ไม่ออกเดินทางเลย มีมากที่สุด
ชาวพุทธที่เดินช้าอย่างเป็นทุกข์ มีมากรองลงมา
ส่วนชาวพุทธที่เดินเร็วอย่างเป็นสุข มีน้อยเท่าน้อย


สำหรับคนอยู่วัด
ความเข้าใจตัวเดียว ทำให้กลายเป็นคนเดินเร็วอย่างเป็นสุขได้
ส่วนคนอยู่บ้าน
การรู้จักทำใจ จะช่วยให้เดินช้าอย่างเป็นสุขได้เหมือนกันครับ


ดังตฤณ
สิงหาคม ๕๓

นิตยสารธรรมะใกล้ตัวฉบับที่ ๑๐๐ ประจำวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๓

.....................................................
สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับจิตของเรา ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้

..................ไม่มีใครทำให้คนทุกคนรักเราได้.....................
.......อาจจะมีคนชอบในตัวเรา10คน แต่ก็มีคนเกลียดเรา100คน........
...............แคร์คนที่แคร์เรา ไม่แคร์คนที่ไม่แคร์เรา..............
..............มีมิตรแท้เพียงหนึ่ง ดีกว่ามีเพื่อนกินเป็น100.............
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ ปุถุชนที่จะเป็นพระอริยะบุคล ควรเดินอย่างทางสายกลางคือไม่เคร่งเคลียดหรือย่อหย่อนเกินไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นจริงด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ :b8:

บางคน รู้ได้ช้า (ทันธาภิญญา) เพราะอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มีกำลังอ่อน

บางคน รู้ได้เร็ว (ขิปปาภิญญา) เพราะอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มีกำลังกล้า

บางคน ปฏิบัติได้ลำบาก (ทุกขาปฏิปทา) เพราะมีกิเลสหนา ต้องฝ่าแนวทุกข์ออกไปด้วยการพิจารณาของไม่งาม ไม่น่ายินดี เพื่อให้จิตคลายจากความยินดียินร้าย (อภิชฌา โทมนัส) เพื่อการหลุดพ้น

บางคน ปฏิบัติได้สะดวก (สุขาปฏิปทา) เพราะมีกิเลสบาง คือผู้ปฏิบัติที่ได้ฌาน มีสุขสงบในฌาน ใช้จิตที่ประกอบไปด้วยสติเจตสิกที่บริสุทธิ์ในฌาน (จิตผู้รู้, เอกัคคตาจิต) ในการรู้แจ้งในสามัญลักษณะ เพื่อการหลุดพ้น

ดังนั้น ในแง่ประโยชน์ของการปฏิบัติแล้ว

(๑) ถ้าต้องการมีความก้าวหน้าในธรรมเร็ว ต้องหมั่นบ่มเพาะให้อินทรีย์ ๕ มีกำลังกล้าแข็ง (และเสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ศรัทธา & ปัญญา และ วิริยะ & สมาธิ โดยมีกำลังของสติเป็นตัวกลาง)

(๒) ถ้าต้องการปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทา ต้องเจริญสมถะให้ได้ถึงฌาน ๔

หรือถ้ามีกิเลสมาก (ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ไม่ทำให้ได้ฌานด้วย) คงต้องเจริญกรรมฐานแนว "ทุกขาปฏิปทา" ที่ "พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง" ตามพระไตรปิฎกแล้วละครับ :b5: :b2: :b1:

เจริญในธรรมครับ :b8:

(อ้างอิงจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฏิปทาวรรค http://www.84000.org/tipitaka/read/?21/161-163/200-204)

(๑) ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ (ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา)
ก) เป็นผู้มีมีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
ค) อินทรีย์ ๕ (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์) อ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า

(๒) ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ (ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา)
ก) เป็นผู้มีมีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
ค) อินทรีย์ ๕ แก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน

(๓) ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ (สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา)
ก) ไม่เป็นผู้มีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) ได้ฌาน 4 และเสวยสุขในฌาน
ค) อินทรีย์ ๕ อ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า

(๔) ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ (สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา)
ก) ไม่เป็นผู้มีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) ได้ฌาน 4 และเสวยสุขในฌาน
ค) อินทรีย์ ๕ แก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร