วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 07:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 03:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2010, 01:17
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


cool ผมชอบที่จะปฏิบัติธรรมนะครับ ชอบเจริญสติ ผมชอบความสงบไม่อยากวุ่นวาย :b8:
ผมรู้ว่าสักวันผมต้องตายและก็เอาอะไรไปไม่ได้ เกิดมาตัวเปล่า ไปตัวเปล่า
แต่ ไหนๆผมก็ได้เกิดมาทั้งทีแล้ว ผมไม่อยากใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ผมอยากจะทำสิ่งที่ดีสิ่งที่ยิ่งใหญ่(แม้ไม่ง่าย)
ผมรู้ว่าตัวเองรักสัตว์ ชอบทำบุญ ชอบช่วยเหลือคน ผมเป็นสุขมากที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น พอนั้งสมาธิผมก็รู้สึกสงบสุข จนอยากปล่อยว่างเป้าหมายซะ แล้วใช้ชีวิตธรรมดาเหมือนคนทั้วไป แล้วทุกครั้งที่ผมปล่อยว่าง ใจหนึ่งก็จะแย้งขึ้นมาทันทีเลยว่า ไม่ได้! เราจะปล่อยวางตอนนี้ไม่ได้ เรายังมีเป้าหมาย ถ้าประสบความสำเร็จมากพอ เราจะช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกมาก

สำหรับตัวผม ผมตัดสินใจว่า งั้นทำทางโลกให้สำเร็จก่อนแล้วกัน(พร้อมทำทาน รักษาศีล ฝึกสติไปด้วย) พอถึงเป้าหมายได้แล้วค่อย มาฝึกปล่อยวางทุกสิ่ง

ถ้าเป็นเพื่อนๆหละ ครับ ถ้าเพื่อนๆเป็นหมออยู่แล้ว มีเงินเดือนมากมาย ไม่มีอะไรต้องกังวลอะไรอีกแล้วเกี่ยวกับชีวิต แค่ใช้ชีวิตอย่างสบายๆและปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆเพื่อละว่างสิ่งต่างๆ หรือ เพื่อนๆจะพยายามมากขึ้นที่จะเรียนต่อ ศึกษาหาความรู้ ลงทุน พยายามหาเงินให้มากๆ พยายามกับชีวิตให้เต็มที่ เพื่อจะได้ทำประโยชน์ให้มากขึ้น ให้คุ้มค่ากับที่เกิดมาเป็นมนุษย์
เพื่อนๆจะเลือกทางไหนครับ(ระหว่าง ตัดช่องน้อยแต่พอตัวทำเฉพาะที่ทำได้ หรือ จะวิ่งเข้าหาทุขเพื่อหวังว่าสักวันขึ้นเราจะทำประโยชน์ได้มากขึ้น(ไม่มีอะไรรับรองว่าจะสำเร็จ)) และ เพราะอะไรครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับทุกท่าน smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พรุ่งนี้ กับชาติหน้า ไม่รู้ว่าอะไรมาถึงก่อน

ขันธ์5(นามรูป) เกิดดับในกายเราดุจเครื่องจักร ทำงานไม่มีเวลาหยุดพัก มานานแสนนาน
ก็เหมือน หัวใจที่มันเต้น เราไม่ได้สั่งมัน แต่มันเต้นเองของมัน
เมื่อหัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน เราตาย
แต่ขันธ์5(นามรูป) ซึ่งไม่ใช่เรา ซึ่งเราบังคับบัญชาไม่ได้ ยังคงเกิดดับ เป็นไปในวัฏฏสงสารต่อไป
โดยอาศัยกายอื่น ต่อไป

พระพุทธเจ้าบอกว่า ตัณหาซึ่งประกอบกับจิต นั่นเอง พาให้เป็นไป

ตัณหา มันทำให้เกิดอุปาทาน ทำให้มีภพ
เมื่อมีภพ นามรูป ก็มีที่ไปเกิด มีที่ไปอยู่

หาก ดับตัณหา เสียได้ ไม่มีภพ ที่ไหนๆ อีกต่อไป
เมื่อ จุติจิต(จิตสุดท้ายขณะตาย)มาถึง ก็หมด สถานที่ที่จะไปสืบต่อ
นามรูป ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ก็ตรงจุติจิตของพระอรหันต์นี่เอง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ปล่อยวาง ไม่เท่ากับไม่สนโลกนะครับ
ท่านก็ทำหน้าที่ทางโลกไปตามปกตินั่นแหละครับ
แล้วใช้เวลาว่างซักวันละ 30นาที ถึง 1 ชม. คงไม่มากเกินไป (ปกติคนเราใช้เวลาไร้สาระมากกว่านั้นอยู่แล้ว)
ในการสมถะวิปัสสนาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่(ละอัตตา)
(วิธีปฏิบัติหากจะอ้างจากพระไตรปิฏกก็สามารถค้นได้ไม่ยากครับ
จะเริ่มจากฝึกอานาปานสติเป็นพื้นก่อนก็ได้ พอชำนาญแล้วก็เริ่มทำการวิปัสสนาตามที่ถนัดครับ)

เพราะตัวอัตตาที่เป็นอุปทานที่คนเราหลงไปยึดเป็นเหตุแห่งทุกข์
หากท่านรู้เท่าทันมัน หรือละวางมันได้บางส่วนความทุกข์ที่เคยมีย่อมลดลง
การมองโลกของท่านย่อมเปลี่ยนไป โดยที่ท่านไม่ต้องหนีโลกไปไหนครับ อยู่กับมันเหมือนเดิมนั่นแหละ
ผลที่ได้แน่ๆคือความสงบที่มีมากขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......ทุกอย่าง มันแล้วแต่เหตุ ปัจจัย ที่สร้างสมมาแต่อดีต
......ทุกอย่าง เลยปล่อยวางไม่ได้ง่าย เพราะ..โลภะ
......จะเป็นทางโลก หรือ ทางธรรม สามารถดำเนินไปด้วยกันได้
......ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันนั้น เข้ากับยุคปัจจุบันนี้
.......ยุคแห่ง การบริโภคมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องกั้นการเจริญธรรม
.......คำว่า"ปล่อยวาง" ดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ง่ายดังที่คิด
......เพราะคำว่า"ปล่อยวาง"นี่แหละ ที่พระพุทธศาสนาเรา เน้นสอน
......ธรรมทั้งหลาย การปฏิบัติทั้งหลาย มันก็รวมอยู่ที่การปล่อยวาง
.....ถ้าเพียร พยายาม ก็ใกล้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์
......อย่ากลัวเลยว่าท่านจะปล่อยวางได้เร็ว แล้ว ทางโลกจะไม่เสร็จกิจ
......แม้พระสงฆ์ ท่านก็ช่วยโลกได้ โดยปราศจากโภคทรัพย์ หรือ ทุนใดๆ
......พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่องโลกให้สว่างทางปัญญามาช้านาน
......นี่...ทรัพย์ทางธรรม ทางปัญญา กับทรัพย์ทางโลก มันต่างกัน
.......เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำทั้ง 2ทางค่ะ เท่าที่ทำได้ และไม่เป็นทุกข์
เราสามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้โดยที่ทำงานทางโลกไปด้วย
ไม่รู้ความตายจะมาถึงเราเมื่อไหร่
คิดว่าหากได้เห็นความจริงและถึงขั้นที่ไม่ยึดได้คือความคุ้มค่าที่ได้เกิดเป็นมนุษย์
และหากเราช่วยตัวเองรอดในทางธรรมแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นได้มากเหมือนกันค่ะ

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ยึดอะไร ก็ทุกข์จากอันนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 06 ต.ค. 2010, 12:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะคุณGuzbell

พระพุทธะทรงตรัสว่า "ทุกการยึดมั่นถือมั่น มีค่าเป็นความทุกข์เสมอ" การพาตนเองเข้าไปเกี่ยว
ข้องกับสิ่งใด ๆ ย่อมเป็นทุกข์ไม่มากก็น้อย คุณลองส่องดูใจของตัวเองสิคะ ว่าคุณรู้สึก "พอ"
หรือยังในสิ่งที่คุณมีอยู่ ถ้ารู้สึกพอ และพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ชีวิตย่อมเป็นสุขทั้งหลับและตื่น
การพัฒนาปัญญาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ซึ่งมนุษย์สามารถพัฒนาให้เข้าถึงปัญญาได้ 3 ระดับ

ปัญญาระดับที่ 1)สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง การอ่าน
ปัญญาระดับที่ 2)จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิด พิจารณา วิเคราะห์ วิจัย เป็นต้น
ปัญญาระดับที่ 3)ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ และพัฒนา
จิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง

ปัญญาระดับที่ 1 และ 2 เป็นปัญญาทางโลกที่มนุษย์นิยมพัฒนาและศึกษาเล่าเรียนกัน
ปัญญาระดับที่ 3 เป็นปัญญาสูงสุดทางธรรมที่เข้าถึงเหตุผล หรือความจริงที่อยู่เหนือระบบประสาทสัมผัส
จิตที่พัฒนาดีแล้วสามารถตรวจวัดได้ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท
1.1ความรู้สูงสุดที่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับการเวียนตายเวียนเกิด ยังไม่สามารถนำพาชีวิตให้พ้นไป
จากความทุกข์ซึ่งเกิดจากการพัฒนาจิตตามแบบ "สมถภาวนา" หรือเรียกว่า "อภิญญา 5"
1.2ความรู้สูงสุดที่เข้าถึงความจริงแท้ของสรรพสิ่งที่เป็นเหตุให้สัตว์ต้องเวียนตายเวียนเกิด
อยู่ในภพต่าง ๆ ของวัฏสงสารหรือเรียกว่า "วิปัสสนาญาณระดับมรรค"

คุณลองพิจารณาดูนะคะว่าต้องการพัฒนาปัญญาระดับใด...แต่ครูบาอาจารย์สั่งสอนว่าถ้าใช้ปัญญา
ในทางโลกส่องนำทางชีวิต....ชีวิตอาจจะนำไปสู่ความวิบัติได้....

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาคำว่า ปล่อยวาง ให้เข้าใจ หากเข้าใจคลุมเครือไม่ชัดเจนแล้ว จะเหมือนปล่อยวางในศาสนาเชน ดูเขาปล่อยวาง

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=118.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก หาใช่เป็นกามไม่ ราคะที่เกิดจากความคิดของคนต่างหากเป็นกาม

อารมณ์ วิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมดำรงอยู่ตามสภาพของมันอย่างนั้นเอง ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึง

ขจัดแต่เพียงตัวความอยาก (ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์วิจิตรเหล่านั้น คือมิใช่กำจัดอารมณ์วิจิตร”

(องฺ.ฉกฺก.22/334/460)

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=518.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร