วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา(ไม่ไช่ตน)ทำใมเรารู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยตนและมีปัญหาเรื่องตนมากเหลือเกิน

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 19:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใดยังไม่เห็นธรรมทั้งหลายว่า มิใช่ตัวมิใช่ตน เมื่อนั้นย่อมเห็นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นของๆเรา ต่อเมื่อมาเห็นธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ โดยความมิใช่ตัวมิใช่ตน เมื่อนั้นแหละ ความมิใช่ตัวมิใช่ตนจึงจะเกิดขึ้นด้วยญาณปัญญาอันรู้พร้อม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ว่าเป็นอนัตตา รู้แบบอนุโลม ผลที่ตามมาก็ยังอัตตาอย่างเต็มเปี่ยม
แต่ถ้ารู้แบบปัจจักขญาณ อัตตาก็เบาลงจางลงขาดลงตามลำดับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะเรายังไม่ใช่พระอรหันต์

s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b8.jpg
b8.jpg [ 49.99 KiB | เปิดดู 7539 ครั้ง ]
ขณะจิต เขียน:
เมื่อสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา(ไม่ไช่ตน)ทำใมเรารู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยตนและมีปัญหาเรื่องตนมากเหลือเกิน

:b8:
เพราะความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา เป็นอัตตา ตัวตน ของตนยังมีอยู่เต็มหัวใจ
จะพ้นหรือหมดปัญหาได้ต้องทำลายความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกูนี้ให้หมดไปจากจิตใจให้ได้เสียก่อน


จะทำอย่างไรจึงจะถึงความหมดกู

ก็ต้องค้นหาความเห็นผิดว่าเป็นตัวกูของกูให้เจอ

ค้นหาอย่างไร

ก็ต้องเ้อาปัญญา สติ สมาธิ มาช่วยกันค้นหา

ค้นหาที่ไหน

ค้นหาในทุกขสัจจะที่ปรากฏชัด ณ ปัจจุบันขณะจิต จึงจะพบ

อัตตาหรือสักกายทิฐิ เป็นสมุทัยหรือเหตุแรกที่สำคัญต้องเอาออกให้ได้ก่อน

หลังจากนั้นจึงค่อยมาค้นหาและเอามานะทิฐิออกให้หมดเกลี้ยง แล้วปัญหาทั้งปวงก็จะหมดสิ้น

กระบวนการค้นหานี้เป็นไปตามหลักอริยสัจ 4 และมรรค 8 อันจะนำไปถึงที่สุดแห่งปัญญาคือ อนัตตา

:b8: ขอให้มีความสุขและเจริญในธรรมทุกท่านเทอญ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัวกูของกู


ขอที่มาที่ไปด้วยครับคำนี้ว่าทำไมคนชอบใช้คำนี้จัง ทำไมไม่ใช้ตัวเราของเราครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
ตัวกูของกู


ขอที่มาที่ไปด้วยครับคำนี้ว่าทำไมคนชอบใช้คำนี้จัง ทำไมไม่ใช้ตัวเราของเราครับ


ผมอ่านเจอบ่อยๆในหนังสือท่านพุทธทาสครับ ผมว่าคำมันแรงโดนใจดี :b12:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ขณะจิต เขียน:
เมื่อสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา(ไม่ไช่ตน)ทำใมเรารู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยตนและมีปัญหาเรื่องตนมากเหลือเกิน

:b8:
เพราะความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา เป็นอัตตา ตัวตน ของตนยังมีอยู่เต็มหัวใจ
จะพ้นหรือหมดปัญหาได้ต้องทำลายความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกูนี้ให้หมดไปจากจิตใจให้ได้เสียก่อน


จะทำอย่างไรจึงจะถึงความหมดกู

ก็ต้องค้นหาความเห็นผิดว่าเป็นตัวกูของกูให้เจอ

ค้นหาอย่างไร

ก็ต้องเ้อาปัญญา สติ สมาธิ มาช่วยกันค้นหา

ค้นหาที่ไหน

ค้นหาในทุกขสัจจะที่ปรากฏชัด ณ ปัจจุบันขณะจิต จึงจะพบ

อัตตาหรือสักกายทิฐิ เป็นสมุทัยหรือเหตุแรกที่สำคัญต้องเอาออกให้ได้ก่อน

หลังจากนั้นจึงค่อยมาค้นหาและเอามานะทิฐิออกให้หมดเกลี้ยง แล้วปัญหาทั้งปวงก็จะหมดสิ้น

กระบวนการค้นหานี้เป็นไปตามหลักอริยสัจ 4 และมรรค 8 อันจะนำไปถึงที่สุดแห่งปัญญาคือ อนัตตา

:b8: ขอให้มีความสุขและเจริญในธรรมทุกท่านเทอญ


ขอบพระคุณท่านasokaครับ :b8:
แล้วตัวอัตตาแสนร้ายนี้ไปหลบอยู่ที่ไหนเวลาคนหลับหรือคนตายก็หายไป
แต่พอเกิดมาใหม่หรือตอนตื่นมันคืนมามีฤทธิทุกทีสิน่า หรือว่ามันอยู่มาคู่คนเราเป็นส่วนหนึ่ง สังเกตดูบ่อยๆว่ายิ่งตอนขันธ์ห้าทำงานเต็มที่(แบบขาดสติ)มันยิ่งมีกำลัง ถ้าเผลอพลั้งง่วงหงาวหาวนอนกับอ่อนกำลังลงไม่ค่อยมีเท่าไหร่ แต่บางทีซ้ำร้ายไปวาดลวดลายในฝันอีกแน่ะ :b13:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 22:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b13.jpg
b13.jpg [ 48.9 KiB | เปิดดู 7482 ครั้ง ]
:b27: เรียนคุณ Student ครับ

ตัวกูของกู

ขอที่มาที่ไปด้วยครับคำนี้ว่าทำไมคนชอบใช้คำนี้จัง ทำไมไม่ใช้ตัวเราของเราครับ
:b10:

คำว่า "กู" เป็นเอกพจน์

คำว่า "เรา" เป็นพหูพจน์ คือหมายถึงคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป คนไทยสมัยนี้ไม่ได้เรียนไวยากรณ์ไทยจึงใช้ภาษาผิดๆกันมาโดยตลอด

วิชาวิปัสสนาภาวนาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบมีเป้าประสงค์แรกคือ ทำลาย "กู" (สักกายทิฐิ กูตัวพี่ ดูคุณสมบัติของพระโสดาบันข้อแรก) ขั้นที่ 2 - 3 - 4 เป็นกระบวนการทำลาย "มานะทิฐิ" (กู ตัวน้อง)

หมดกู ทั้งตัวพี่ตัวน้อง ก็หมดกิจ

เพราะฉนั้นการค้นหา เรา กับการค้นหา กู จึงมีผลต่างกันมาก
ค้นหา เรา จะไม่พบผู้ก่อการร้ายตัวจริง การภาวนาในปัจจุบัน จึงหาคนบรรลุธรรมได้ยากและมีน้อย
เพราะสู้กันไม่ตรงประเด็น เล็งและยิงปืนไม่ตรงกลางเป้าซึ่งมีคะแนนเต็ม สิบ จึงเปลืองกระสุนและเสียเวลา หลงเป้ากันไปมาก กว่ารู้ตัวกระสุนก็หมดแมกกาซีนกันไปเสียก่อน

อุปมาอย่างนี้ไปอุปมัยกันเอาเองนะครับ ใครตีความแตกก็เมตตามาเล่าสู่กันฟังบ้างก็แล้วกันครับ
ขอบคุณ สาธุ

:b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b22.jpg
b22.jpg [ 44.46 KiB | เปิดดู 7479 ครั้ง ]
:b8: เจริญสุข เจริญธรรมครับคุณขณะจิต

ขอบพระคุณท่านasokaครับ
แล้วตัวอัตตาแสนร้ายนี้ไปหลบอยู่ที่ไหนเวลาคนหลับหรือคนตายก็หายไป แต่พอเกิดมาใหม่หรือตอนตื่นมันคืนมามีฤทธิทุกทีสิน่า หรือว่ามันอยู่มาคู่คนเราเป็นส่วนหนึ่ง สังเกตดูบ่อยๆว่ายิ่งตอนขันธ์ห้าทำงานเต็มที่(แบบขาดสติ)มันยิ่งมีกำลัง ถ้าเผลอพลั้งง่วงหงาวหาวนอนกับอ่อนกำลังลงไม่ค่อยมีเท่าไหร่ แต่บางทีซ้ำร้ายไปวาดลวดลายในฝันอีกแน่ะ



โมหะ อวิชชา เป็นที่หลบของอัตตา เหมือนความมืด ปิดบังความจริง
คุณขณะจิตจะทำให้ความมืดหายไปได้อย่างไร คงนึกออกนะครับ

"นัตถิ ปัญญา สมาอาภา" แสงสว่างอื่นใดเสมอด้วยปัญญาเป็นไม่มี

ปัญญา เป็นแสงสว่างอันเลิศ ที่จะมาขับไล่ความมืด คือ อวิชชาในใจให้หมดสิ้นไป
การภาวนา จึงพึงควรเอาปัญญามานำหน้า แล้วให้สติ สมาธิ เป็นกองหนุน จึงจะพากาย ใจ ออกพ้นจากความมืดมิดแห่งอวิชชาไปได้

อย่าหลงผิดเอา สติ สมาธิไปนำหน้า เพราะนั่นเป็นวิชาของพราหมณ์ มิใช่พุทธ ลองวิเคราะห์ วิจัยกันดูให้ดี ปัญญานำหน้ามาก่อนเสมอมิใช่หรือ แม้ในมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางสายกลางอันประเสริฐ พระพุทธบิดาก็ทรง ยกปัญญามรรค 2 ข้อมานำหน้า ตามหลังมาด้วย ศีลมรรคและสมาธิมรรค

พึงตีความนัยในเรื่องนี้ให้แตกฉาน จึงจะทำการได้สำเร็จตามรอยพระบรมศาสดา
เอวัง

:b53:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8: เจริญสุข เจริญธรรมครับคุณขณะจิต

อย่าหลงผิดเอา สติ สมาธิไปนำหน้า เพราะนั่นเป็นวิชาของพราหมณ์ มิใช่พุทธ ลองวิเคราะห์ วิจัยกันดูให้ดี ปัญญานำหน้ามาก่อนเสมอมิใช่หรือ แม้ในมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางสายกลางอันประเสริฐ พระพุทธบิดาก็ทรง ยกปัญญามรรค 2 ข้อมานำหน้า ตามหลังมาด้วย ศีลมรรคและสมาธิมรรค

พึงตีความนัยในเรื่องนี้ให้แตกฉาน จึงจะทำการได้สำเร็จตามรอยพระบรมศาสดา
:b53:


:b20: โอ้ ปิ๊งครับสำหรับคำแนะนำนี้ ผมต้องยกการปฎิบัติ เป็นการเจริญสติ-ปัญญาหรือเจริญปัญญา-สติควบคู่กันคือเมื่อมีสติรู้ตัวแล้วก็ใช้ปํญญาพิจารณาพร้อมกัน ปัจุบันก็ใช้อยู่แต่ว่าอาจน้อยไปจึงทำให้ตึงเครียดบ้าง สาธุ สาธุ สาธุ :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
ตัวกูของกู


ขอที่มาที่ไปด้วยครับคำนี้ว่าทำไมคนชอบใช้คำนี้จัง ทำไมไม่ใช้ตัวเราของเราครับ



ต้องขออภัยครับ อ่านผ่านมาพอดี คำถามตรงนี้ดีมากเลย ถามถึที่มาขอตัวกูของกู

จริงๆแล้วใช้คำว่าตัวเราของเราก็เพราะดี เหตุที่ใช้ตัวกูของกู คงมาจากสำนวนการบรรยาธรรมของพระ
ในสมัยก่อน อาจจะใช้คำว่าตัวกูของกูก็ได้ บางสมัยก็ใช้คำว่ากูได้อย่างไม่ติดขัดและไม่น่าเกลียด

ประเด็นที่มาของคำนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่หลายแห่ง ต้องดูที่ฉบับบาลีด้วยจึงจะแจ้งใจ

คำว่าตัวกูหรือของกู ตรงกับสำนวนทางบาลีว่า มมายิต แปลความว่า

ความเป็นสัตว์และสังขารอันบุคคลถือเอาว่าของเรา(ของกู) ก็ได้ หรือแปลว่า
ความเป็นขันธ์ห้าอันบุคคลถือเอาว่าของเรา(ของกู) ก็ได้ เป็นต้น

พอนำมาเข้าสำนวนโวหารไทยแท้ เลยกลายมาเป็น ตัวกู ของกู

ตัวอย่างที่ปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับบาลี เมื่อเข้าตามลักษณะการแต่งบาลี รูปคำศัพท์จะเปลี่ยนเล็กน้อย

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐ

อาสชฺชมานา วิจรนฺติ โลเก
สทา สตา หิตฺวา มมายิตานิ

ชนเหล่าใดไม่เกี่ยวข้อง มีสติทุกเมื่อ ละนามรูป
ที่คนพาลถือว่าเป็นของเราได้แล้ว เที่ยวไปในโลก

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐ

เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ
อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ ฯ

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
ได้รู้แจ้งแล้วเที่ยวไปอยู่ ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้ว
พึงละทุกข์ คือ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะในอัตภาพนี้เสีย ฯ

น่าจะมาจากคำประมาณนี้ครับ
ท่านใดรู้ ก็ช่วยเพิ่มเติมหน่อยครับ เป็นประโยชน์ดี

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๙. ราธสูตร
ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไร
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้
และในสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระ
อรหันต์ทั้งหลาย.

.................................................................

คัดลอกข้อความมาบางส่วน จาก
ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนาพระราชชัยกวี
(ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)
ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)
ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๔

ทีนี้ข้อที่ว่าเป็น โรคทางวิญญาณนั้นคืออย่างไร แล้วจะรักษากันด้วยธรรมะกำมือเดียวอย่างไรนั้น จะวินิจฉัยกันต่อไป

คำ “โรคทางวิญญาณ” นั้น ก็คือโรคที่มีเชื้ออยู่ที่ ความรู้สึกว่าตัวเรา ว่าของเรา หรือว่า ตัวกู หรือ ของกู นั่นเอง ที่มีอยู่ในใจ ประจำอยู่ที่ใจ เป็นเชื้อโรคอยู่แล้ว ก็เบิกบานออกมาเป็นความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู แล้วก็ทำไปตามอำนาจความเห็นแก่ตัว มันจึงเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้เดือดร้อนกันทั้งตัวเองและผู้อื่น นี่คืออาการของโรคทางวิญญาณ มันเป็นอยู่ภายใน ฉะนั้น ให้เรียกกันเพื่อจำง่ายๆ ว่า โรคตัวกู-ของกู จะดีกว่า ง่ายกว่า

พวกเรามีโรค “ตัวกู-ของกู” กันอยู่ทุกคน แล้วก็รับเชื้อนี้เพิ่มเติมเข้ามาทุกคราวที่เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวหนัง และคิดในใจ ตามประสาคนที่ไม่รู้ เขาเรียกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ๖ อย่าง คู่กันกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ๖ อย่างด้วยเหมือนกัน คือว่ามีการรับเชื้อหรือสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เป็นโรคนี้ ที่ปรุงแต่งให้เป็นโรคนี้อยู่ทุกคราวที่มีการ เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ฯลฯ

เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้จัก เชื้อ คือ ความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่า “อุปาทาน” อุปาทานแปลว่า ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นมี ๒ อย่าง คือ ยึดมั่นว่าเรา และ ยึดมั่นว่าของเรา

ยึดมั่นว่าเรา นั้น คือรู้สึกว่า เราเป็นเรา เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นลูกผู้ชายแพ้ใครไม่ได้ อะไรทำนองนี้ นี่เรียกว่าเรา

ทีนี้ ของเรา คือว่า นั่นของเรา นั่นของที่เรารักที่เราชอบ แม้เกลียด ก็ถือว่าเป็นศัตรูของเรา นี่เรียกว่าเป็นของเรา

ถ้าอย่างบาลี ก็เรียกว่า “อัตตา” นี่คือตัวเรา “อัตนียา” นี่คือของเรา ถ้าเรียกกว้างออกไป อย่างที่เรียกให้ทุกแขนงของปรัชญาในอินเดีย เขาเรียกว่า อหังการ นี้คือตัวเรา มมังการ นี้คือของเรา อหังการ แปลว่า ทำความรู้สึกว่าเรา เพราะคำว่าอหังการ แปลว่าเรา และ มมังการ แปลว่า ทำความรู้สึกว่าของเรา เพราะคำว่า มะมะ แปลว่า ของเรา

ความรู้สึกเป็นอหังการ มมังการ นี้คือตัวอันตรายที่ร้ายกาจที่สุด หรือตัวสิ่งที่เป็นพิษที่ร้ายกาจที่สุด ซึ่งเราเรียกว่า โรคในทางวิญญาณ ในที่นี้ ซึ่งทุกแขนงของปรัชญา หรือธรรมะในอินเดียครั้งพุทธกาล ต้องการจะกวาดล้างสิ่งนี้ด้วยกันทั้งนั้น แม้จะเป็นลัทธิอื่นนอกไปจากพุทธศาสนา ก็ต้องการจะกวาดล้างสิ่งที่เรียกว่า อหังการ และ มมังการ นี้ทั้งนั้น มันมาผิดกันตรงที่ว่า ถ้ากวาดล้างสิ่งนี้ออกไปแล้ว เขาเรียกมันใหม่ว่า ตัวตนที่แท้จริง อาตมันบริสุทธิ์ ที่ต้องการ ส่วนพุทธศาสนาเราไม่ยอมเรียกว่า ตัวตนที่บริสุทธิ์ หรืออาตมันที่ต้องการ เพราะไม่ต้องการที่จะยึดถือตัวตนหรือของตนอะไรขึ้นมาอีก เลยจัดเป็นความว่างที่สุด ที่เรียกว่า นิพพาน อย่างในบทที่ว่า นิพพานํ ปรมํ สุญญํ ซึ่งแปลว่า ว่างที่สุดนั่นและคือนิพพาน ก็แปลว่า ว่างจากตัวกู ว่างจากของกู โดยเด็ดขาด โดยประการทั้งปวง ไม่เหลือเยื่อใย นั่นแหละคือนิพพาน หรือความหายจากโรคทางวิญญาณ

ในเรื่องความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู นี้ มันมีความลับมาก ถ้าไม่สนใจจริงๆ แล้วก็เข้าใจไม่ได้ ว่ามันเป็นตัวการของความทุกข์ หรือเป็นตัวการของโรคทางวิญญาณ

สิ่งที่เรียกว่าอัตตาหรือตัวตนนี้ มันก็ตรงกับคำว่า Ego ในภาษาลาตินที่รู้จักกันดี ถ้าความรู้สึกที่เห็นแก่ตัวตนเกิดขึ้น เราก็เรียกว่า Egoism เพราะว่าถ้ารู้สึกว่า มีตัวเราแล้ว มันก็ต้องคลอดความรู้สึกว่า ของเรา นี้ตามออกมาด้วยเป็นธรรมดา ช่วยไม่ได้

Ego ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องแปลว่า Soul คือ อัตตา และมันก็ตรงกับภาษากรีกว่า Kentricon ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Centre คำว่า Kentricon นี้ตรงกับคำว่า Centre ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า ศูนย์กลาง เมื่อ Ego และ Kentricon คือสิ่งๆ เดียวกันแล้ว Soul อัตตานี้ก็เป็นสิ่งที่ถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของสิ่งที่มีชีวิต เป็น Nucleus ที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถแยกเอาออกไปได้ หรือไม่สามารถละเว้นจากสิ่งนี้ได้ สำหรับคนธรรมดา

จึงเป็นอันว่า ทุกคนที่เป็นปุถุชน จะต้องมีความรู้สึกที่เป็น Egoism อยู่เป็นประจำ แม้ไม่แสดงออกมาให้เห็นชัดตลอดเวลาก็จริง แต่ก็จะแสดงออกมาทุกคราวที่เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวหนัง หรือคิดนึกอะไรขึ้นในใจ ฉะนั้นทุกคราวที่มันเกิดเต็มรูปขึ้นมาเป็นความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู ให้ถือว่าเป็นโรคโดยสมบูรณ์แล้ว จะโดยอาศัยการเห็นรูป หรือฟังเสียง หรือดมกลิ่น หรือลิ้มรส หรืออะไรก็ตาม ถ้าในขณะนั้นเกิดความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู แล้วละก็ ก็ถือว่าเป็นโรคโดยสมบูรณ์ คือมันเกิดความรู้สึกที่เห็นแก่ตัวจัดขึ้นมา

ตอนนี้เราไม่เรียกว่า Egoism แล้ว แต่เราจะเรียกว่า Selfishness หรืออะไรทำนองนั้น คือมันเป็น Egoism ที่เดือดพล่านและน้อมไปในทางต่ำ หรือผิด หรือข้างที่เห็นแก่ตัวจนไม่ดูหน้าใคร คือไม่เห็นแก่ผู้อื่น ฉะนั้นมันจึงทำอะไรไปข้างเห็นแก่ตัวหมด เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ปรารภตัวเองหมด นี้คืออาการของโรค แสดงออกมาเป็น Selfishness แล้วมันก็ทำอันตรายผู้อื่น และรวมทั้งตัวเองด้วย คือเป็นอันตรายแก่โลกมากที่สุด

ที่โลกเราลำบากยุ่งยากอยู่เดี๋ยวนี้ มันก็ไม่มีอะไรนอกไปจากสิ่งที่เรียกว่า Selfishness ของแต่ละคน ของแต่ละฝ่ายที่คุมกันเป็นพวกๆ อยู่ในโลกเวลานี้ การที่ต้องรบกันอย่างที่ไม่อยากจะรบก็จำต้องรบกันนี้ มันก็เพราะบังคับสิ่งนี้ไม่ได้ หรือทนต่ออำนาจของสิ่งนี้ไม่ได้ มันจึงเกิดเป็นโรคขึ้นมา

โลกนี้มันตั้งขึ้นมาได้ คือมันรับเชื้อเข้ามาแล้วก่อเป็นโรคขึ้นมาได้ ก็เพราะว่าทุกคนไม่รู้จัก สิ่งที่เป็นเครื่องต้านทานโรค กล่าวคือ หัวใจของพุทธศาสนา

เดี๋ยวนี้อาตมาได้กล่าวคำว่า “หัวใจของพระพุทธศาสนา” ขอให้เข้าใจคำว่าหัวใจของพุทธศาสนาต่อไป

http://www.songpak16.com/Budhatas/bdd-01-01.htm
......................................................................................................

http://whatami.net/-View.php?N=113
ลองพิจารณาที่ท่านกรัชกายตอบดูแล้วกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2011, 07:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-02.JPG
Image-02.JPG [ 17.46 KiB | เปิดดู 7435 ครั้ง ]
:b35: :b8: สาธุอนุโมทนากับคุณ FLAME ที่ยกข้อธรรมของหลวงพ่อพุทธทาสมาแสดง ทำให้เข้าใจเรื่องของอัตตา ตัวกู ของกู กันมากขึ้น

ส่วนเหตุผลที่อ้างมาจากการแปลพระไตรปิฎกของกัลยาณมิตรอีกท่านหนึ่งนั้นก็น่าอนุโมทนา

การจะตัดสินว่าจะใช้คำว่า กู หรือ เรา นั้น คงต้อง เอาสติ ปัญญาเข้าไปสัมผัสสภาวะจริงๆในใจ แล้วพิจารณาเอาเองด้วยปัจจัตตังของแต่ละท่าน แต่ละคน

บัญญัติภาษาที่ดีและถูกต้องนั้นย่อมจะมีปรมัตถสภาวะรองรับ
อย่างเรื่อง กู กับ เรา ลองช่วยกันพิจารณาและวิจารณ์กันต่อไปเพื่อให้เกิดความแตกฉานและยุติธรรมกันเถิด

อีกประการหนึ่งที่อยากนำเสนอให้สังเกต คือ

ความนิยม ค่านิยม ความเคยชินใช้ของสังคม บางทีก็ทำให้ภาษาหรือสมมุติบัญญัติผิดเพี้ยนไปจากสภาวะจริงๆได้มากเหมือนกันนะครับ

:b10:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2011, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
บัญญัติภาษาที่ดีและถูกต้องนั้นย่อมจะมีปรมัตถสภาวะรองรับ
อย่างเรื่อง กู กับ เรา ลองช่วยกันพิจารณาและวิจารณ์กันต่อไปเพื่อให้เกิดความแตกฉานและยุติธรรมกันเถิด
อีกประการหนึ่งที่อยากนำเสนอให้สังเกต คือ
ความนิยม ค่านิยม ความเคยชินใช้ของสังคม บางทีก็ทำให้ภาษาหรือสมมุติบัญญัติผิดเพี้ยนไปจากสภาวะจริงๆได้มากเหมือนกันนะครับ[/b]
:b10:


คำว่า กู ของกู ตัวกู อะไรๆที่ลงท้ายด้วย กู ตามท้องถนนรถยังมีสติ๊กเกอร์ว่า อะไรๆก็กู :b12:

ถ้าใช้คำนี้ ดูเหมือนจะชัดเจนกว่า ในแง่การมองปรากฏการณ์ของ อัตตา อุปาทาน ฯลฯ ที่ตัวเองมีอยู่ ยึด
ถืออยู่ คำว่าเรา ตัวเรา ของเรา อาจมองไปหมายถึงองค์ประกอบภายนอกของตัวเองก็เป็นได้
ท่านผู้สอนผู้บอกผู้แนะนำจึงใช้คำว่า กู มาสื่อ

ในสมัยพุทธกาล หากเป็นภาษามคธจะใช้คำว่า อหํ แปลว่า กู หรือ ฉัน ข้า และ มม ของกู ของฉัน ของ
ข้า เป็นต้น

เมื่อภาษามีหลักการว่า ภาษาเป็นของชาติใด ภาษาใด ก็มีสำเนียงได้ครบแก่ชาตนั้นภาษานั้น
ไม่บกพร่องเลย ทั้งไม่ทำเนื้อความให้เสียไป

มาถึงตอนนี้ เข้าใจยิ่งไปอีกว่า ภาษาที่สื่อในการสอนหรือใช้ มีความสำคัญมาก ในการจะยกคำสอนจาก
ภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทย

ด้วยความนับถือครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร