วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 16:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิ (ถ้าไม่มีปัญญาประกอบ) เป็นเพียงการระงับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น หรือหนีทุกข์ หรือฝึกจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านเท่านั้น
ไม่สามารถเกิดปัญญาเอามาใช้ดับทุกข์ได้ ถ้าเรามีปัญญาก็จะสามารถดับทุกข์ในชีวิตเราได้ทั้งหมด
โดยการวิปัสสนา เพื่อให้เห็นความจริงของชีวิตปัญญาก็จะเกิดขึ้นเอง เราก็จะดับทุกข์ที่เกิดกับตัวเราได้เอง
โดยอัตโนมัติ ศีลก็จะเกิดขึ้นเองสิ่งชั่วทั้งหลายเราก็จะละได้เอง เราก็จะมีแต่ให้ มีแต่ทำดี ทำบุญ สมาธิหรือความสุขถาวรก็จะเกิดขึ้น (ปัญญา ศีล สมาธิ) วิปัสสนาทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เกิดปัญญาดับทุกข์ได้
แต่ปัจจุบันนี้มีคนนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติผิดกัน คือ นำผลที่เกิดจากความโลภ โกรธ หลง ไปปฏิบัติกัน ยกตัวอย่าง ศีลข้อที่ 2 ห้ามลักทรัพย์(ผล) สาเหตุของการลักทรัพย์ คือความโลภ (เหตุ)
ให้เราไปดับที่เหตุของการลักทรัพย์ไม่ใช่ดับที่ผลโดยไปดับที่ความโลภของเราเองโดยการวิัปัสสนาว่าเงิน ทอง ทรัยพ์ ไม่เที่ยง เกิดดับ สุดท้ายก็แตกสลาย หายไป ตายไปก็ไม่ได้เอาไปด้วย
แม้แต่ตัวเราเอง เราก็จะหยุดความโลภของเราได้เราก็จะไม่ลักทรัพย์


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 02 พ.ย. 2011, 08:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา
ล้วนมีความจำเป็นต่อการดับทุกข์
สมาธิก็มีประโยชน์ เป็นก้าวต่อที่นำไปสู่ปัญญา
เป็นภาวนมยปัญญา ที่เป็นปัญญาขั้นสูง

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงค์มาก
สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่ เป็นธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งครับ
สมถะและวิปัสสนาจึงเป็นทางพ้นทุกข์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าไม่ทำก็ไม่หลุด
เพี้ยน
กระทูค้านคำสอนพระพุทธเจ้าเยี่ยงนี้ควรจะลบๆออกไปซะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มรรค คือ ทาง

สัมมาสมาธิ .................................. อยู่ในมรรคแปด

อย่าลืมว่า สัมมาสมาธิ ก็คือ ทางพ้นทุกข์ประการหนึ่ง

ทางพ้นทุกข์ คือ มรรคแปด
มรรคแปด ว่าโดยย่อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

มรรคแปด ต้องบริบูรณ์ จึงจะพ้นทุกข์ได้

ศีลบริสุทธิ์อย่างเดียว ไม่พ้นทุกข์ได้
สมาธิล้วนๆ ไม่พ้นทุกข์ได้
ปัญญา......................................ผม พูดต่อไม่ได้


ความรู้ยังไม่ถึงครับ จนปัญญาที่จะยืนยัน ว่า

ปัญญา อย่างเดียวทำให้พ้นทุกข็ได้หรือไม่ได้

แต่เอาตามตรรกะ แล้ว มรรคต้องครบองค์แปด

ได้ยินมาอย่างนั้น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 08:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิคือผลของการบรรลุมรรคผล คือ ความสงบ หรือสุขถาวร ปราศจากความโลภ โกรธ หลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สมาธิคือผลของการบรรลุมรรคผล คือ ความสงบ หรือสุขถาวร ปราศจากความโลภ โกรธ หลง





สมาธิไม่ใช่สุขถาวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2011, 19:29
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครใคร่ถูกจริตยังไงก็ทำยังงั้น พระอรหันต์บางรูปบรรลุธรรมตอนตีลังกา
บ้างก็ด้วยคำเพียงสองสามคำ แต่บ้างก็ด้วยการบำเพ็ญหนักมากแล้วจึงวาง
ดั่งพระพุทธเจ้าท่านผู้ค้นพบทางหมดทุกข์ ท่านเองก็ต้องลองผิดถูกผ่านประสบการณ์ความเข้าใจมามาก
จนตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง สิ่งเหล่านั้นทำให้ท่านเป็นสรรพัญญู เข้าใจโปรดได้หมดหลากหลายจริต
(แต่ตามเวรกรรมของสาวกที่ติดมาด้วย เพราะท่านเองก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนบรรลุได้
ไม่งั้นท่านคงทำอย่างไม่ลังเล)

อย่าลัด อย่าตัดตอนเพียงเพราะความคิดตรรกะ
จะทำให้ไม่มีประสบการณ์ และกลวงไป ไม่ได้วางจริงด้วยใจ พอถึงเวลาเจอสิ่งกระตุ้นก็ไปสนองมันอีก

ท่านที่บรรลุได้ด้วยกรรมฐานบางท่านถึงกับพูดว่าไม่ต้องไปใ้มันหรอกปัญญา
ใช้ก็มีแต่ฟุ้ง มาเจริญสติ สมาธิดีกว่า

เช่้นกับพระอรหันต์ที่ท่านบรรลุได้ด้วยความเข้าใจ ก็จะบอกสอนในแนวทางของท่านไป
และไม่ให้ยึดติดกับกรรมฐาน ให้มาวิปัสสนาเลย

แต่สุดท้ายแล้วทุกท่านก็ต้องเจริญทั้งหมดไม่ใช่เอนไปทางใดทางหนึ่งจนอีกทางไม่เหลือ อย่างที่ท่านว่าไว้ว่าเป็ทางสายกลาง มันอยู่ตรงกลางระหว่างทุกสิ่งอย่างแต่รวมกันเป็นหนึ่ง ส่วนใครใคร่จะมีถนัดอะไรเป็นพิเศษตามจริตลุล่วงได้ค่อยว่ากันไป

พระอรหันต์บรรลุด้วยปัญญาท่านก็มีสมาธิ
พระอรหันต์บรรลุด้วยสมาธิท่านก็มีปัญญา
ใช่ท่านไม่เต็มเต็งมีซะแต่ทางใดทางหนึ่ง

ใช่ว่ามีฉลาดๆ หลงไปว่ามันเป็นปัญญา
แต่ไม่เอาศีัลเลยนี่ก็ไม่ได้ จะเป็นคนดีทางโลกยังไม่ได้เลย

อย่างที่พอย้ำได้ วิธีไหนถ้าถูกจริตและไม่เลวก็เจริญวิธีนั้นไป
อย่าบอกว่าใครผิดใครถูก ความเป็นห่วงกันก็ประเสริฐดีแล้ว
ธรรมะไม่มีถอยหลัง หลงผิดก็เป็นโอกาสหาทางออก

แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ต่างจากที่ต้องหาไซ้ส์รองเท้าใส่พอดีจึงเดินสะดวก
ไม่ต่างจากต้องหาแว่นสายตาพอดีตัวจึงมองเห็นชัด

ขอเชียร์ให้ทำมรรคผลแจ้งกันได้โดยเร็วทุกท่านครับ
ขอเพียงมั่นใจว่ามรรคผลมีจริง อย่าเพิ่งไปสนใจหรอกว่ามันเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านเลี่ยงจะกล่าวไว้นั้นประเสริฐแล้ว มุ่งไปเพียงอย่างเพียงอย่างเดียว ตามทางที่ท่านชี้นำไว้ให้ อย่าข้ามขั้นถึงมั่นใจ

เพราะจะไม่มีประสบกาณ์


ตนอิ่มแล้วประเสริฐแล้ว ย่อมต้องแบ่งความอิ่มและประเสริฐนั้นให้ผู้อื่นได้

สาธุธรรมทุกท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
มรรค คือ ทาง

สัมมาสมาธิ .................................. อยู่ในมรรคแปด

อย่าลืมว่า สัมมาสมาธิ ก็คือ ทางพ้นทุกข์ประการหนึ่ง

ทางพ้นทุกข์ คือ มรรคแปด
มรรคแปด ว่าโดยย่อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

มรรคแปด ต้องบริบูรณ์ จึงจะพ้นทุกข์ได้

ศีลบริสุทธิ์อย่างเดียว ไม่พ้นทุกข์ได้
สมาธิล้วนๆ ไม่พ้นทุกข์ได้
ปัญญา......................................ผม พูดต่อไม่ได้


ความรู้ยังไม่ถึงครับ จนปัญญาที่จะยืนยัน ว่า

ปัญญา อย่างเดียวทำให้พ้นทุกข็ได้หรือไม่ได้

แต่เอาตามตรรกะ แล้ว มรรคต้องครบองค์แปด

ได้ยินมาอย่างนั้น


เห็นด้วยกับคุณโกวิท2552 ค่ะขอเสริมนิดนึง
ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกันอิงอาศัยกันตามหลักของเหตุปัจจัย
ดังนั้นจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้...
..ศีลเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ
..สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญา

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปััสสนาพิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 จะนำไปสู่ปัญญา (วิชชา รู้เห็นความจริงของโลกและชีวิต รู้ผิดรู้ชอบ ชั่วดี) ปัญญานำไปสู่ศีลมีศีลเกิดขึ้นเอง ทำให้เกิดสมาธิ สมาธินำไปสู่ความสงบ (นิพพาน)
นี้คืิอองค์ธรรมที่ถูกต้อง ปัญญา ศีล สมาธิ
1.เว้นจากการทำชั่ว (ปัญญา รู้ิผิดชอบ ชั่วดี) 2. ทำความดี (ศีล) 3. ความจิตใจให้สงบ (สมาธิ)
แต่ปัจจุบันนี้เรียงองค์ธรรมไม่ถูกต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ไปรักษาศีลก่อน ศีลไม่ใช่ต้นเหตุแห่งทุกข์ การผิดศีลคือ ผลของการรู้ไม่เท่าทันสิ่งที่มากระทบตัวเราทางอินทรีย์ 6 ทำให้เราผิดศีล
เราต้องหาสาเหตุของการผิดศีล (ตามกฎเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ) สาเหตุของทุกข์ทั้งปวงมาจากสิ่งที่มากระทบอินทรีย์ 6 ของเรานั้นเองแล้วเรา เกิดความรู้สึิก จดจำ ปรุงแต่ง และรับรู้ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ดังนั้นเราต้องดับตรงอินทรีย์ 6 ไม่ให้เลยไปถึงเวทนาถ้าเิลยไปถึงเวทนากระบวนการต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น
การวิปัสสนาเท่านั้นที่จะดับทุกข์ได้ พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 แล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้น (วิชชา) ศีลก็เกิดกับตัวเรา สมาธิก็เกิดขึ้น ความสงบก็ตามมา (เราต้องการความสงบ ปราศจาก โลภ โกรธ หลง) ถ้าหากไปรักษาศีล ต่อไปไปนั้งสมาธิสุดท้ายก็ไปติดตรงสมาธิสมาธิคือความสงบเท่านั้นจะนำไปสู่ปัญญาไม่ได้ ที่พระอริยบุคคลไปนั่งสมาธิคือท่านทำสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา (สัมมาสมาธิ) แต่เราไม่มีัปัญญาแต่ไปนั่งทำสมาธิมันก็ไม่สามารถดับทุกข์ได้ แค่เพียงติดความสงบ หรือหลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น เป็นฤาษีตามป่าตามเขา ยกตัวอย่าง หากเราเลิกทำสมาธิแล้วกลับบ้านไปโดนคนอื่นด่าก็โกรธ หรือไม่พอใจเขาไปทำร้ายเขา เป็นต้น นี้หรือเรียกว่าการดับทุกข์ การดับข์ทุกไม่ใช่การปลง,ไม่สนใจ,เฉยๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยกตัวอย่าง หากเราเลิกทำสมาธิแล้วกลับบ้านไปโดนคนอื่นด่าก็โกรธ
หรือไม่พอใจเขาไปทำร้ายเขา เป็นต้น นี้หรือเรียกว่าการดับทุกข์



ในขณะที่กำลังโดนด่า
หากไม่อาศัยสมาธิ ไม่อาศัยความสงบ ระงับยับยั้งความคิดที่กำลังผุดปุดๆอยู่นั้น
ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะถูกอนิฏฐารมณ์ฉุดกระชากลากถูไป

ปัญญาที่จะใช้ต่อสู่กับคำด่า หากไม่มีสมาธิเป็นกำลังหนุนแล้ว
น่าจะเอาไม่อยู่ครับ

เหมือนผนังกระสอบทราย ผนังน้ำลาย ที่ไม่มีฐานที่มั่นคงแข็งแรง
ไม่อาจต้านทานกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากได้...

ผนังเขื่อนไม่ได้ขยับตัวเคลื่อนไหวในการต่อสู้กับแรงดันของกระแสน้ำแต่อย่างใด
ยิ่งนิ่ง ยิ่งกล้าแกร่ง

มีแต่ผนังเขื่อนที่ขยับตัวเคลื่อนไหวได้นั้นแหละ ที่ไม่อาจที่ต่อต้านกระแสน้ำได้


:b45: เมื่อต้านน้ำอยู่แล้ว การควบคุมน้ำไม่ใช่ปัญหาแล้ว :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่พระอริยบุคคลไปนั่งสมาธิคือท่านทำสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา (สัมมาสมาธิ)
แต่เราไม่มีัปัญญา แต่ไปนั่งทำสมาธิมันก็ไม่สามารถดับทุกข์ได้
แค่เพียงติดความสงบ หรือหลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น เป็นฤาษีตามป่าตามเขา



พระอริยบุคคล ก่อนที่ท่านจะเป็นพระอริยบุคคล
ท่านก็เป็นปุถุชนเหมือนกับเราเช่นกัน

ท่านก็อาศัยความวิเวก อาศัยสมาธิ เป็นบาทฐานเบื้องต้นเช่นกัน
นั่นโค่นไม้ นั่นเรือนว่าง ฯลฯ

ต่อจากสัมมาสมาธิคือสัมมาญาณ
ต่อจากสัมมาญาณคือสัมมาวิมุตติ


สัมมาสมาธิ ท่านอธิบายถึงความสุขอันเกิดจากการทำสมาธิ(ฌานทั้งสี่)
และฌานทั้งสี่นั้น ไม่ว่าจะเป็นฌานหรือสมาธิระดับขั้นไหนก็ตาม
ทุกระดับขั้นสามารถใช้เป็นบาทฐานเข้าสู่สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ ได้ทั้งนั้น...

ฌาน1 ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป
ฌาน2 ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป
ฌาน3 ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป
ฌาน4 ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป

สติ ปัญญา ความรู้ใดๆทั้งหลาย ไม่ใช่อัตตาตัวตน
ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

อย่ามองที่ติดความสงบเพียงอย่างเดียว ที่เป็นเครื่องขวางกันมรรคผล
ปัญญาความรู้ก็เช่นกัน หากยึดติดขึ้นมา ก็เป็นเครื่องขวางกันมรรคผลได้เช่นกัน ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การทำสมาธิ (ถ้าไม่มีปัญญาประกอบ) เป็นเพียงการระงับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น หรือหนีทุกข์ หรือฝึกจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านเท่านั้น
ไม่สามารถเกิดปัญญาเอามาใช้ดับทุกข์ได้


การฝึกสมาธิ ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้ผู้ฝึกหลุดพ้นหรือนิพพาน อีกทั้งบรรลุอรหัต์ก็หาไม่
หากมีผู้คิดเช่นนั้น แสดงว่าเข้าใจผิดๆกันมานานแล้ว

จุดประสงค์ของการฝึกสมาธิ ก็เพื่อฝึกใจให้มีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็จะทำอะไรอย่างรอบคอบ
มีสติอยู่ตอลดเวลา คิดพิจารณาก่อนทำเสมอ รู้จักมองและวิเคราะห์อะไรได้อย่างชัดเจน
และถูกต้อง ฯลฯ อันจะส่งผลให้ความผิดพลาดน้อยลง หรือหมดไป นี่เรียกว่า

"เมื่อมีสมาธิ สติก็ตามมา ปัญญาจึงเกิด"

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 10:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เราต้องหาสาเหตุของการผิดศีล (ตามกฎเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ)


ก็เพราะ มีศีล :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 11:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่องธรรม เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การทำสมาธิ (ถ้าไม่มีปัญญาประกอบ) เป็นเพียงการระงับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น หรือหนีทุกข์ หรือฝึกจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านเท่านั้น
ไม่สามารถเกิดปัญญาเอามาใช้ดับทุกข์ได้


การฝึกสมาธิ ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้ผู้ฝึกหลุดพ้นหรือนิพพาน อีกทั้งบรรลุอรหัต์ก็หาไม่
หากมีผู้คิดเช่นนั้น แสดงว่าเข้าใจผิดๆกันมานานแล้ว

จุดประสงค์ของการฝึกสมาธิ ก็เพื่อฝึกใจให้มีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็จะทำอะไรอย่างรอบคอบ
มีสติอยู่ตอลดเวลา คิดพิจารณาก่อนทำเสมอ รู้จักมองและวิเคราะห์อะไรได้อย่างชัดเจน
และถูกต้อง ฯลฯ อันจะส่งผลให้ความผิดพลาดน้อยลง หรือหมดไป นี่เรียกว่า

"เมื่อมีสมาธิ สติก็ตามมา ปัญญาจึงเกิด"


ความหมายของ "ปัญญา" ของท่านคือ ปัญญาในการแก้ปัญหาทางโลกใช่หรือไม่
แต่ปัญญาทางธรรม คือปัญญาที่ใช้ดับทุกข์ได้
ใช่แล้วการฝึกสมาธิ คือไม่ให้จิตเราฟุ้งซ่าน ทำให้อะไรอย่างรอบคอบละเอียด
ส่วนสติมีอยู่ในตัวเราทุกคนอยู่แล้วเราใช้มันตลอดเวลาสติทำหน้าที่ดึงสัญญาที่เราสะสมไว้ หากเรามีข้อมูลสร้างทุกข์อยู่ในใจ (อวิชชา) เราสติก็ดึงข้อมูลสร้างทุกข์เราก็จะคิด ทำ แต่อกุศล
แต่ถ้าเรามีข้อมูลสร้างสุข (ปัญญาในการดับทุกข์) สติก็ดึงข้อมูลนี้ออกมาดับสิ่งที่มากระทบเราทางอินทรีย์ 6 ได้ เหมือนเราอ่านตัวหนังสือภาษาจีนหากเราไม่เคยเรียนภาษาจีนเลย สติก็ไม่สามารถดึงเอาสัญญาที่เป็นตัวอักษรจีนมารับสัมผัสทางตาได้เราก็จะไม่รู้ เพราะเราไม่มีสัญญาภาษาจีน

ตัวของเราประกอบด้วยขันธ์ 5 รูป >เวทนา> สัญญา> สังขาร> วิญญาณ
ถ้าหากสัญญา(ข้อมูล) ของเราถูกสะสมไว้อย่างไรเราก็จะคิด และรู้อย่างนั้นและทำอย่างนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร