วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา เรียนถามท่านผู้รู้ทั้งหลาย เหตุใดพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น
สาธุขอโมทนาครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะความจริงเป็นเช่นนั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ



ภิกษุผู้เถระหลายรูป อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.

เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า

" ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. "


ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา. แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้.

ลำดับนั้นเอง ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมืองโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่องแล้ว ย่อมสามารถแสดงธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญ และสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด.

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะก็เก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสีครั้งนั้น ผมออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ทางวิหารแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้. เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะผมว่า

" ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยงฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้ "

ผมนั้นได้มีความคิดว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนั้นว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้นในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธในนิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นอะไรเล่าเป็นตนของเรา. แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครหนอ จะแสดงธรรมแก่เราโดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้.

อาวุโส ผมนั้นได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ อยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมืองโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและยกย่อง ย่อมสามารถแสดงธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญ และสามารถจะแสดงธรรมแก่เราโดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด ขอท่านพระอานนท์ จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์ จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์ จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.

:b42: ท่านพระอานนท์กล่าวว่า แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผมก็ดีใจด้วยท่านพระฉันนะ ทั้งได้รำพึงกันมาแต่แรก ท่านพระฉันนะได้กระทำข้อนั้นให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำลายความดื้อดึงได้แล้ว ท่านพระฉันนะ ท่านจงเงี่ยโสตลงฟัง ท่านเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.

ลำดับนั้นความปีติและความปราโมทย์อย่างโอฬาร ก็บังเกิดมีแก่ท่านพระฉันนะ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า
เราเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.

อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า

" ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑.

ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี.
เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย.

ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.

ดูกรกัจจานะส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี.

    ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. "

ฉ. ดูกรท่านอานนท์ ท่านเหล่าใด มีการกล่าวสอนอย่างนี้ ท่านเหล่านั้น เป็นผู้อนุเคราะห์มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.

จบ สูตรที่ ๘.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา เรียนถามท่านผู้รู้ทั้งหลาย เหตุใดพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น
สาธุขอโมทนาครับ :b8:

:b8: :b8:
เพราะสัจธรรมความจริงเขาเป็นอย่างนั้น แม้ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราก็สามารถพิสูจน์รู้ได้ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่าอนัตตา
อนัตตา ตามศัพท์แปลว่าไม่ใช่ตัวตน เมื่อไม่เป็นตัวตนแก่นสารก็ย่อมจะยึดถือเอาเป็นเจ้าของไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้
เบื้องต้นขอให้แปลว่าบังคับบัญชาไม่ได้ไว้ก่อนเพราะจะง่ายในการพิสูจน์ธรรม พิสูจน์ อนัตตา
จากนั้นเราก็มาพิสูจน์ซิว่า ตั้งแต่หัวถึงเท้าเรานี่มีอะไรที่เราสามารถบังคับให้เป็นได้ดั่งใจหรือไม่ ผมอย่ายาวนะ หนังอย่าเหี่ยวนะ เจ็บๆจงหายเดี๋ยวนี้ สบาย อยู่กับฉันนานๆ หู จงอย่าได้ยินเสียง ทั้งหมดที่ว่านี้ทำได้ไหม ถ้าทำไม่ได้ บังคับไม่ได้ นี่ก็คงจะพอทำให้เข้าใจคำว่า สัพเพธัมมา อนัตตาได้บ้างนะครับ แต่ความที่จะยอมรับอนัตตาแล้วปล่อยวางความเห็นผิดว่าเป็นอัตา ตัวกู ของกู นี้คงต้องฝึกฝนกันอยู่อีกนานครับ
:b8: ร ก ร น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้นสัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัตว์ทั้งปวง (รวมมนุษย์ เทวดา มาร พรหม เปรต อสุรกาย สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน )

ประกอบขึ้นจาก นามรูป

นาม มีลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อย่างรวดเร็วกว่าสิ่งใดๆ กว่าความถี่ใดๆ อยู่ตลอดเวลา
รูป มีลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อม และดับไป อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

ทั้งรูป และนาม มีอาการมีแล้วหายไป มีแล้วหายไป สืบต่อกันเป็นสันตติ

ทั้งรูปและนาม ต่างเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ในการเกิดดับ

ไม่มีใครที่จะไปบังคับบัญชา อาการต่างๆ เหล่านี้ได้เลย

นี่จึงเรียกว่า เป็นอนัตตา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เพราะทรงเห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวง
ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น
ล้วนอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดปรากฏ
ล้วนดำเนินไปตามเหตุปัจจัย
ล้วนดับไปตามเหตุปัจจัย
ไม่มีธรรมใดๆที่เกิดปรากฏแล้วไม่ดับ
ไม่มีธรรมใดๆที่เที่ยงแท้ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่ปรวนแปร...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: การระลึกรู้เท่าทันธรรมทั้งหลายทั้งปวง
หลังจากได้ผัสสะกับธรรมทั้งหลายทั้งปวง
โดยน้อมนำคำสอนของพระพุทธองค์มาเตือนสติ
ย่อมจะทำให้เกิดความสะดุดฉุดยั้ง เวทนา ตัณหาให้ชะลอตัวลง
ธรรมบางธรรมอาจจะสลัดทิ้งปล่อยวางได้ทันทีเลย
ธรรมบางธรรมอาจจะสลัดทิ้งลงไม่ได้ทันทีทันใด แต่ก็จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดความประมาทได้

หรือแม้แต่เมื่อได้เผลอหลุดเลยไปถึงภพ ชาติ ได้เสวยทุกข์เต็มปากเต็มคำ
แต่เมื่อได้หวลระลึกนึกถึง"สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ขึ้นมาเมื่อใด
ก็ย่อมจะทำให้เกิดความละปล่อยวาง สลัดทิ้งทุกข์ที่เกิดปรากฏอยู่นั้นลงไปได้ :b8:


การได้เห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
นับว่าเป็นการเห็นที่ประเสริฐยิ่งกว่าการได้เห็นสิ่งใดๆทั้งหลายทั้งมวล

:b45: การได้มีชีวิตอยู่ที่ยืนยาวนานแต่ไม่เคยเห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
เทียบไม่ได้กับการมีชีวิตอยู่แม้นเพียงแค่ระยะเวลาอันน้อยนิด
แต่ได้เห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัส :b45:


:b42: พระองค์ถึงทรงตรัสว่า การได้เห็นความเกิดดับของธรรม เห็นการเกิดดับของขันธ์ห้า
ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ยิ่งกว่าเรื่องอื่นใดๆทั้งหลายทั้งมวล :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป เป็นธรรมดา ..............ธรรมนั้นคือ สังขาร

ธรรมที่ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ มีแต่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ...ธรรมนั้นคือ นิพพาน

แต่ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน

สัพเพธัมมา อนัตตา

ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ธรรมทั้งเป็นสังขาร และไม่ใช่สังขาร

ไม่มีใคร สามารถ ไปบังคับบัญชา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ได้เลย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 08:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ สัพเพ ธรรมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วเราจะพึงพาธรรมได้อย่างไร?
เพราะท่านสอนให้ละ ปล่อย วาง อนัตตา สาธุ :b10: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อัตตาหิ อัตตโน นาโถ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อ สัพเพ ธรรมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วเราจะพึงพาธรรมได้อย่างไร?
เพราะท่านสอนให้ละ ปล่อย วาง อนัตตา สาธุ



:b45: เมื่อเห็นธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาอย่างหมดสิ้นความลังเลสังสัยแล้ว
ก็จะรู้เองว่า จะอยู่กับธรรมทั้งหลายทั้งปวงอย่างไร
จะต้องปฏิบัติกับธรรมทั้งหลายทั้งปวงอย่างไร

ทั้งสิ่งที่ถูกพึ่ง และสิ่งที่เข้าไปพึ่ง สุดท้ายแล้วจะรวมเป็นหนึ่งเดียว
จึงไม่มีอะไรที่จะต้องพึ่งอะไร
เพราะทั้งสิ่งที่เข้าไปพึ่ง และสิ่งที่ถูกพึ่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนัตตาเหมือนกัน
ไม่มีตัวตนอะไรที่จะบังคับตัวตนอะไรๆได้
ไม่มีตัวตนอะไรๆที่จะต้องพึงพาอะไรๆ.


เพราะความไม่รู้ จึงเกิดธรรมแสวงหา
เมื่อมีการแสวงหา จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดธรรมพึ่งพาเพื่อนำไปสู่ธรรมที่ปรารถนา

เพราะความได้รู้ ได้เห็น จนหมดสิ้นความสงสัย ว่าที่สุดแล้วไม่มีอะไรๆที่จะต้องแสวงหาให้ได้มา
ดั่งนั้นความปรารถนา การแสวงหา จึงสิ้นสุดลง
เมื่อความปรารถนา การแสวงหาสิ้นสุดลง
ธรรมที่ใช้อาศัยพึ่งพาก็หมดความจำเป็น... :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 17:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ แต่ก็ยังไม่กระจ่าง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอบคุณครับ แต่ก็ยังไม่กระจ่าง



:b45: ทิ้งธรรมที่อยากอย่างกระจ่าง ลงไปให้ได้...ลองดู อย่าไปสนใจมัน :b45:


เพราะความอยากกระจ่าง ก็สักว่าเป็นธรรมอนัตตาอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่อัตตาตัวตนแต่อย่างใด เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มีแล้วหายไป
อย่าไปยึดถือว่าความรู้สึกอยากกระจ่างนั้นเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา

ให้มองสักแต่ว่าเป็นเพียงอารมณ์อารมณ์หนึ่งเช่นนั้นเอง
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีแล้วก็หายไป ไม่ตั้งอยู่นาน...


เพราะอะไรถึงทำให้เกิดความอยากที่จะกระจ่าง
อะไรผัสสะกับอะไร
ตั้งสติ-สมาธิ ให้ดี แล้ววิตกวิจารโยนิโสระลึกนึกย้อนให้ดีๆ
เพราะเหตุอะไรๆ ถึงทำให้เกิดกระทู้นี้ขึ้นมา....


:b45: เพราะผัสสะนั้นเทียว เพราะอายตะนะนั้นเทียว เพราะเวทนานั้นเทียว เพราะตัณหานั้นเทียว
ถึงทำให้ธรรมความอยากกระจ่างเกิดมีขึ้นมา
หากปราศจากผัสสะเสียแล้ว
ธรรมความอยากกระจ่างก็ไม่อาจที่จะเกิดมีขึ้นมาได้ :b45:


...ไม่มีตัวตนคนที่อยากกระจ่างแต่อย่างใด
ทุกสิ่งที่ปรากฏเป็นสภาพสภาวะธรรมล้วนๆทั้งสิ้น...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร