วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2012, 16:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงเห็นทุกข์ของมนุษย์จึงหาวิธีการให้พ้นทุกข์ โดยหาวิธีปฏิบัติ และต้นเหตุแห่งทุกข์
ทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดจากความโลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา ตัณหาก่อให้เกิดทุกข์ตามมา แต่ความโลภ โกรธ หลง นั้นเกิดมาจาก ความไม่รู้ ความเชื่อ ความหลง หรืออวิชา แต่สิ่งเหล่านี้ มีต้นตอมาจากความ "ไม่เที่ยง" หรือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" / "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา นี่แหละธรรมอันยิ่งใหญ่
ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 03:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ประตูทางออกสู่นิพพาน_resize.jpg
ประตูทางออกสู่นิพพาน_resize.jpg [ 42.81 KiB | เปิดดู 4555 ครั้ง ]
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
พระพุทธเจ้าทรงเห็นทุกข์ของมนุษย์จึงหาวิธีการให้พ้นทุกข์ โดยหาวิธีปฏิบัติ และต้นเหตุแห่งทุกข์
ทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดจากความโลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา ตัณหาก่อให้เกิดทุกข์ตามมา แต่ความโลภ โกรธ หลง นั้นเกิดมาจาก ความไม่รู้ ความเชื่อ ความหลง หรืออวิชา แต่สิ่งเหล่านี้ มีต้นตอมาจากความ "ไม่เที่ยง" หรือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" / "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา นี่แหละธรรมอันยิ่งใหญ่

[color=#800000]ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ
[/color]

smiley
คุณไม่เที่ยง สรุปเองได้ดีและถูกต้องแล้วตามตัวหนังสือที่คาดหนาไว้ แต่มาลงท้ายสรุปเอาตามความเห็นของตนเองที่ยึดไว้แน่นว่า "ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ"

พระไตรลักษณ์นั้นยิ่งใหญ่ทั้ง 3 คำ แต่ไปใหญ่ที่สุดคือรวมลงที่คำว่า "อนัตตา" ดังคำสรุปของพระพุทธองค์ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา"

คุณไม่เที่ยง เกิดดับ ได้รู้หรือยังว่า ประตูทางเข้าสู่พระนิพพานนั้นมี 3 ประตู ไม่ใช่ประตูเดียวคือเส้นทาง อนิจจังอย่างที่คุณเข้าใจ

ผู้ที่เห็นอนิจจังชัดแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวางความยึดถือในธาตุขันธ์ ตัวตน ข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นอนิจจัง เรียกว่าอนิมิตตะวิโมกข์ หรือ อนิมิตตะนิพาน

ผู้ปฏิบัติบางท่าน เห็นทุกขัง ชัด แล้วละความเห็นผิดยึดผิดว่ากายใจนี้เป็นเรา เข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นทุุกขัง เรียกว่าอัปนิหิตตะวิโมกข์ หรือ อัปนิหิตตะนิพพาน

ส่วนผู้ปฏิบัติที่เห็นอนัตตาชัดแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวางความยึดถือในธาตุขันธ์ ตัวตน ข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นอนัตตา เรียกว่า สุญญตวิโมกข์หรือ สุญญตะนิพพาน


ดูภาพประกอบ
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 04:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
"ไม่เที่ยง" หรือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" / "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา นี่แหละธรรมอันยิ่งใหญ่
ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ [/color]


คุณ"ไม่เที่ยง"กำลังเอาสมมุติบัญญัติมาละเลงปรมัตถ์จนเละ
คุณเล่นเอาสภาวะไตรลักษณ์มาพูดแบบคนที่ไม่เคยเห็นสภาวะนั้น
แต่ไม่สำคัญเท่ากับการพูดแบบขาดความเข้าใจภาษาและบัญญัติที่ใช้

ถ้าพูดถึงสภาวะไตรลักษณ์ ใครบอกคุณว่า สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งสิ่งนั้นเป็นอนัตตา มันคนละเรื่องแล้วครับ

จะอธิบายสภาวะไตรลักษณ์ให้ฟัง ไตรลักษณะคือการที่เราไปรู้สภาวะ
หรืออารมณ์ๆหนึ่ง มันมีอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปให้เห็น
ด้วยอาการนี้ มันมีลักษณะในตัวของมันว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน
และบังคับไม่ได้
ลักษณะทั้งสามมีเหตุปัจจัยมาจาก การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

ที่คุณว่า"สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์มันผิด
และสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตามันก็ผิด

คุณสมบัติของ อนิจัง ทุกขังและอนัตตา มันเป็นเอกเทศไม่ได้ขึ้นต่อกัน
แต่ทั้งสามมีเหตุปัจจัยมาจากสภาวะเดียวกัน คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ดังนั้นต้องกล่าวว่า...
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็น ความไม่เที่ยง
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็น ความทุกข์
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็น อนัตตา บังคับไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 09:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
พระพุทธเจ้าทรงเห็นทุกข์ของมนุษย์จึงหาวิธีการให้พ้นทุกข์ โดยหาวิธีปฏิบัติ และต้นเหตุแห่งทุกข์
ทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดจากความโลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา ตัณหาก่อให้เกิดทุกข์ตามมา แต่ความโลภ โกรธ หลง นั้นเกิดมาจาก ความไม่รู้ ความเชื่อ ความหลง หรืออวิชา แต่สิ่งเหล่านี้ มีต้นตอมาจากความ "ไม่เที่ยง" หรือ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" / "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา นี่แหละธรรมอันยิ่งใหญ่

[color=#800000]ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ
[/color]

smiley
คุณไม่เที่ยง สรุปเองได้ดีและถูกต้องแล้วตามตัวหนังสือที่คาดหนาไว้ แต่มาลงท้ายสรุปเอาตามความเห็นของตนเองที่ยึดไว้แน่นว่า "ธรรมะทั้งหลายสรุปอยู่ที่ "ความไม่เที่ยง" แค่นี้เองหรือ"

พระไตรลักษณ์นั้นยิ่งใหญ่ทั้ง 3 คำ แต่ไปใหญ่ที่สุดคือรวมลงที่คำว่า "อนัตตา" ดังคำสรุปของพระพุทธองค์ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา"

คุณไม่เที่ยง เกิดดับ ได้รู้หรือยังว่า ประตูทางเข้าสู่พระนิพพานนั้นมี 3 ประตู ไม่ใช่ประตูเดียวคือเส้นทาง อนิจจังอย่างที่คุณเข้าใจ

ผู้ที่เห็นอนิจจังชัดแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวางความยึดถือในธาตุขันธ์ ตัวตน ข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นอนิจจัง เรียกว่าอนิมิตตะวิโมกข์ หรือ อนิมิตตะนิพาน

ผู้ปฏิบัติบางท่าน เห็นทุกขัง ชัด แล้วละความเห็นผิดยึดผิดว่ากายใจนี้เป็นเรา เข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นทุุกขัง เรียกว่าอัปนิหิตตะวิโมกข์ หรือ อัปนิหิตตะนิพพาน

ส่วนผู้ปฏิบัติที่เห็นอนัตตาชัดแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวางความยึดถือในธาตุขันธ์ ตัวตน ข้าถึงอนัตตาแล้วเข้าสู่พระนิพพานโดยประตูเส้นอนัตตา เรียกว่า สุญญตวิโมกข์หรือ สุญญตะนิพพาน


ดูภาพประกอบ
:b8:



ใช่ครับ สุดท้ายก็ไม่มีตัวตน (อนัตตา)
เราไปยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน สิ่งเหล่านี้เป็น " ปรมัตถธรรม "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2012, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://media.watnapahpong.org/video/KKM62BO7DA3N/พุทธวจนบรรยาย-ณ-ชมรมคนรู้ใจ-วันที่-14-ธค-2554

ลองเข้าไปศึกษา น๊ะจ๊ะ

จริง ๆ การบรรยายธรรมของพระอาจารย์
ดูจะตอบคำถามที่ท่านมักตั้งคำถามกระจ่างทุกแง่เลย

:b12: :b12: :b12:

สภาวะธรรมที่ ไม่เกิด - ไม่ดับ น่ะจ๊ะ

และยังมีในเรื่อง
การบริโภคกามคุณทั้ง ๕ อย่างไม่มีโทษ

:b12: :b12: :b12:

คำพระศาสดาชัดเจนทุกคำ
มีความหมายบ่งบอกถึงความถูกต้อง
ลักษณะนี้จึงเป็นข้อความที่มีความหมายลึก ความหมายซึ๊ง
เป็นชั้นโลกุตระ

นะจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:

:b48: :b41: :b41: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2012, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://media.watnapahpong.org/video/KOOKM4S78SG3/ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม-18-ธค-2554

ส่วนชุดนี้ ในช่วงต้น ๆ จะมีการกล่าวถึง การเจริญอนิจจสัญญา

Quote Tipitaka:
๑๐. สัญญาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
[๒๖๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ
ภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า)
ทุกชนิด แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กาม
ราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ รูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ
อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จับ
ปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้น
เหมือนกันแล.

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วงเหล่านั้น มะม่วง
เหล่าใดเนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของหลุดไปตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด.
อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอนทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด
น้อมไปที่ยอด ประชุมลงที่ยอด ยอด ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด.
อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่า
เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฉันนั้นเหมือน
กันแล.

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่า
เลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือน
กันแล.

[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มี
กลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้เสด็จไปตาม
(คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้
น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง แสงดาวทั้งหมดนั้น
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงพระจันทร์ แสงพระจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าแสงดาว
เหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์
ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศทั่วไป
แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง
ได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้
ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร? กระทำให้
มากแล้วอย่างไร? จึงครอบงำกามราคะทั้งปวง ฯลฯ ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด. อนิจจ-
*สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดแห่งรูปดังนี้
ความดับแห่งรูปดังนี้. เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนขึ้น
ซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะ
ทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด.
จบ สูตรที่ ๑๐.

จบ ปุปผวรรคที่ ๕.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2012, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2012, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่าง
เราโดนไล่ออกจากงาน ทำให้เราก็ความทุกข์ เกิดความเครียด
ถ้าเราฝึกวิัปัสสนาภาวนาเห็นสรรพสิ่งไม่เที่ยง เราก็จะไม่ทุกข์เพราะเราเห็นความไม่เที่ยง เกิดดับ
การงานของเรา็ก็ไม่มั่นคง เดี๋ยวดี เดี่ยวไม่ดี เดี๋ยวเงินเดือนขึ้น เดี๋ยวเงินเดือนลด เดี๋ยวบริษัทเจริญ เดี๋ยวตกต่ำ ขาดทุน เดี๋ยวทำอย่างหนึ่ง ไม่ว่ามั่นคงขนาดไหนสุดท้ายต้องเกษียณ พิการทำงานไม่ได้บ้าง
บริษัทปิดกิจการบ้าง ไม่มีสิ่งไหนคงทนถาวร หรือไม่เสื่อม นี่แหละ ความไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับไป ตามเหตุและปัจจัย ไม่มีสิ่งไหนเกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญเกิดขึ้น นี่แหละการดับเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง
และได้ผลอันสั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ เข้าฌานตามป่าตามเขา ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวรอบโลก ตกปลา นี่เป็นเพียงการดับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้นพิสูจน์ได้เลย ทางไหนดับทุกข์ไม่ได้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เป็นศาสนาอื่น หรือ ปรับปรุง หรือ บิดเบียนคำสอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2012, 15:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ยกตัวอย่าง
เราโดนไล่ออกจากงาน ทำให้เราก็ความทุกข์ เกิดความเครียด
ถ้าเราฝึกวิัปัสสนาภาวนาเห็นสรรพสิ่งไม่เที่ยง เราก็จะไม่ทุกข์เพราะเราเห็นความไม่เที่ยง เกิดดับ
การงานของเรา็ก็ไม่มั่นคง เดี๋ยวดี เดี่ยวไม่ดี เดี๋ยวเงินเดือนขึ้น เดี๋ยวเงินเดือนลด เดี๋ยวบริษัทเจริญ เดี๋ยวตกต่ำ ขาดทุน เดี๋ยวทำอย่างหนึ่ง ไม่ว่ามั่นคงขนาดไหนสุดท้ายต้องเกษียณ พิการทำงานไม่ได้บ้าง
บริษัทปิดกิจการบ้าง ไม่มีสิ่งไหนคงทนถาวร หรือไม่เสื่อม นี่แหละ ความไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับไป ตามเหตุและปัจจัย ไม่มีสิ่งไหนเกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญเกิดขึ้น นี่แหละการดับเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง
และได้ผลอันสั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ เข้าฌานตามป่าตามเขา ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวรอบโลก ตกปลา นี่เป็นเพียงการดับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้นพิสูจน์ได้เลย ทางไหนดับทุกข์ไม่ได้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เป็นศาสนาอื่น หรือ ปรับปรุง หรือ บิดเบียนคำสอน


:b1: พระพุทธองค์กล่าวพระสูตรนี้

Quote Tipitaka:
๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.


:b16: :b16: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 ม.ค. 2012, 15:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2012, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
โรหิตัสสวรรคที่ ๕
สมาธิสูตร

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนา
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
*สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
@๑. ความสำคัญหมายว่ากลางวัน
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า

ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า
ข้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ

จบสูตรที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2012, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ยกตัวอย่าง
เราโดนไล่ออกจากงาน ทำให้เราก็ความทุกข์ เกิดความเครียด
ถ้าเราฝึกวิัปัสสนาภาวนาเห็นสรรพสิ่งไม่เที่ยง เราก็จะไม่ทุกข์เพราะเราเห็นความไม่เที่ยง เกิดดับ
การงานของเรา็ก็ไม่มั่นคง เดี๋ยวดี เดี่ยวไม่ดี เดี๋ยวเงินเดือนขึ้น เดี๋ยวเงินเดือนลด เดี๋ยวบริษัทเจริญ เดี๋ยวตกต่ำ ขาดทุน เดี๋ยวทำอย่างหนึ่ง ไม่ว่ามั่นคงขนาดไหนสุดท้ายต้องเกษียณ พิการทำงานไม่ได้บ้าง
บริษัทปิดกิจการบ้าง ไม่มีสิ่งไหนคงทนถาวร หรือไม่เสื่อม นี่แหละ ความไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับไป ตามเหตุและปัจจัย ไม่มีสิ่งไหนเกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญเกิดขึ้น นี่แหละการดับเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง

อันนี้คือปัญญา คือธรรมอันยิ่งใหญ่ นี่คือการดับทุกข์หรือครับ ???

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
และได้ผลอันสั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ เข้าฌานตามป่าตามเขา ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวรอบโลก ตกปลา นี่เป็นเพียงการดับทุกข์ชั่วคราวเท่านั้นพิสูจน์ได้เลย ทางไหนดับทุกข์ไม่ได้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เป็นศาสนาอื่น หรือ ปรับปรุง หรือ บิดเบียนคำสอน

ฟังธรรมจากหลวงปู่ช่า

รูปภาพ
:b8: :b8: :b8:


อ้างคำพูด:
ขอให้อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน

นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็ จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน

อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง

ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยามหรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร