วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 22:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นดังนี้ว่า

ปัญญามีสองประเภท

หนึ่งปัญญาในพุทธศาสนา คือความรู้แจ้งในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ คือธรรมเครื่องออกจากทุกข์รู้แล้วดับทุกข์ได้จริง

สองปัญญานอกพุทธศาสนา คือความรู้ทั่วไปในโลก ที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดความพัวพันในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ในผลแห่งทุกข์


การคิดที่เรียกว่าปัญญาคือ การคิดที่ประกอบไปด้วยความรู้ในพุทธศาสนา เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เพื่อรู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เมื่อรู้แล้วดับทุกข์ได้จริง


การคิดที่ไม่เรียกว่าปัญญาคือ ความคิดทั่วไปที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดความพัวพันในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ในผลแห่งทุกข์ทั้งมวล

:b41: :b45:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:

การคิดที่เรียกว่าปัญญาคือ การคิดที่ประกอบไปด้วยความรู้ในพุทธศาสนา เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เพื่อรู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เมื่อรู้แล้วดับทุกข์ได้จริง

:b41: :b45:

สาธุ... :b8: :b8: :b8:

คิดให้เห็น...ทุกข์....
คิดให้เห็น....เหตุให้เกิดทุกข์....
คิดให้เห็น....ความดับทุกข์....
คิดให้เห็น...ทางเพื่อความดับทุกข์...

เป็นการคิดอย่างมีปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 08:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ขณะจิต เขียน:

การคิดที่เรียกว่าปัญญาคือ การคิดที่ประกอบไปด้วยความรู้ในพุทธศาสนา เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เพื่อรู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เมื่อรู้แล้วดับทุกข์ได้จริง

:b41: :b45:

สาธุ... :b8: :b8: :b8:

คิดให้เห็น...ทุกข์....
คิดให้เห็น....เหตุให้เกิดทุกข์....
คิดให้เห็น....ความดับทุกข์....
คิดให้เห็น...ทางเพื่อความดับทุกข์...

เป็นการคิดอย่างมีปัญญา

:b12:
คุณกบ ก็เป็นผู้มีความเห็นตรงคิดตรงดีมากเมื่อชี้ลงที่อริยสัจทั้ง 4 ประการ นี่เป็นสัมมาโดยแท้และกระชับลัดสั้น ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
:b8:


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ

- โลกียปัญญา
- โลกุตรปัญญา

การคิดที่เรียกว่า ปัญญา คือ การคิดแบบ โยนิโสมนสิการ
การคิดที่ไม่เรียกว่า ปัญญา คือ การคิดแบบ อโยนิโสมนสิการ

ความเห็นอีกแบบ ขอโมทนากับทุกท่านครับ สาธุ .. :b8:

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 17:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://media.watnapahpong.org/video/NG156RGMUWS4/สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์-4-กพ-2555

เทศน์ชุดนี้ มีการกล่าวถึงปัญญาด้วย

:b48: :b48: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:


เอาเป็นว่าให้เจ้าของกระทู้คิดน่าจะดีกว่า ดังน๊้

ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้ความเข้าใจชัดเจน, ความรู้ความเข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง ดู ไตรสิกขา, สิกขา (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎกฯ)

ไตรสิกขา หมายถึง สิกขา ๓, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

อธิศีล สิกขา หมายถึง การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา), เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล

อธิจิตตสิกขา หมายถึง การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิตในให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ

อธิปัญญาสิกขา หมายถึง การศึกษาในอธิปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์ (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา
(คัดลอกมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:


สวัสดีค่ะ คุณให้ทาง

การจะคิดให้มีปัญญาได้ ต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยค่ะ ปัญญาเกิดขึ้นมาเองไม่ได้
เหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่ปัญญาได้ต้องเกิดจากการฝึกอบรมที่เรียกว่า ไตรสิกขา
หรือเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

องค์พระศาสดาทรงวางหลักไตรสิกขาไว้เพื่อพัฒนาทั้งด้านกายและใจเพื่อนำไปสู่ปัญญา

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดไปแล้ว เมื่อลองทำตามที่คิดแล้วเกิดประโยชน์ตามมา เรียกว่า คิดแบบมีปัญญา
ในทางกลับกัน คิดไปแล้วเมื่อทำไป เกิดโทษตามมา เรียกว่าคิดแบบไม่มีปัญญา

ปัญญาแบบแรก ได้จาก สุ จิ ปุ ลิ และสุงขึ้นไปอีก ทางพุทธเรียก ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มีไว้
แก้ทุกข์ ดับทุกข์ ภาวนาเกิดปัญญาเอากิเลสออกจากตัวเองได้ เนื่องด้วยจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง
:b40: :b44:


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ สำหรับทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:


คิดอย่างมีปัญญา ก็คือคิดตรงต่อธรรม ตรงต่อความจริง ไม่เป็นไปกับกิเลส

ขอสังเกตุอย่างหนึ่งคือ ถ้าคิดที่ประกอบด้วยปัญญา กุศลย่อมเจริญขึ้น อกุศลก็เสื่อมไป
ถ้าคิดไม่ประกอบด้วยปัญญา กุศลเสื่อมไป อกุศลเจริญขึ้น ดังนี้ครับ


โพสต์ เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 07:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1776_resize.JPG
GEDC1776_resize.JPG [ 76.05 KiB | เปิดดู 4756 ครั้ง ]
ให้ทาง เขียน:
คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:

onion
ความคิด เป็นปัญญาในกลุ่มจินตมยปัญญา ซึ่งเป็น 1 ในปัญญาทั้ง 3 กลุ่มทางพุทธศาสนา
ความคิดที่เป็นปัญญานั้นมีหลักจำง่ายๆ ให้อิง ทางสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 ไว้
เรื่องความคิดเกี่่ยวกับมรรคข้อที่ 2 คือสัมมาสังกัปปะ แปลว่า ดำริชอบ หรือ คิดถูกต้อง ความคิดถูกต้องนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้อย่างชัดเจนว่า
คิดออกจากกาม (ความยินดี ในผัสสะทั้ง 6)
คิดออกจากความพยาบาท (ความยินร้าย ในผัสสะทั้ง 6)
คิดในการที่จะอยู่อย่างไม่เบียดเบียน (ความอยู่ด้วยปกติหรือ อุเบกขา)

ความคิดที่ไม่เรียกว่าปัญญา คือความคิดอื่นที่นอกเหนือไปจาก ความคิดถูกต้องในมรรค 8 ครับ

:b27: :b8:
โพสต์ เมื่อ: 13 ก.พ. 2012, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
คิดอย่างไรเรียกว่าปัญญาและคิดอย่างไรไม่เรียกปัญญา :b8:

วิตก...เป็นความคิดนึก
ทิฏฐิ..ความคิดความเห็น
ปัญญา...ความคิดพินิจพิจารณา

สามอย่างข้างต้น ...มีคำสามัญเรียกว่า ความคิด ซึ่งต้องแยกแยะด้วยการอธิบายพ่วงท้ายว่า
ความคิดนั้น มีลักษณะอย่างไร

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร