วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


และปรึกษาหารือกันเสมอ ผู้มีปัญหาจำเพาะตน ก็เรียนศึกษา
อาจารย์ตามจุดที่สงสัยในโอกาสอันควร เมื่อท่านชี้แจงให้ฟังเป็นที่
เข้าใจแล้วก็นำไปปฏิบัติ พยายามทำความรู้ความเห็นและการปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามแนวทางที่ท่านแนะนำแล้ว ถ้ามีข้อข้องใจในวาระ
ต่อไปก็เรียนศึกษาท่านอีก นักปฏิบัติรูปอื่นก็ปฏิบัติโดยทำนอง
เดียวกันในเวลาเกิดข้อข้องใจขึ้นมา ไม่ให้เก็บความสงสัยนั้น ๆ
หมักหมมเอาไว้ ซึ่งเป็นการชักช้าต่อทางดำเนิน หรืออาจเป็นภัย
แก่ตนเองได้ เพราะเป็นทางไม่เคยเดิน ซึ่งอาจมีผิดพลาดได้โดย
เจ้าตัวไม่รู้ คณะปฏิบัติท่านถือกันอย่างนี้ ใครมีอะไรก็เปิดเผยต่อครู
อาจารย์หรือหมู่เพื่อนที่เห็นว่าจะพอแก้ไขความสงสัยได้
ในวงปฏิบัติท่านอยู่ร่วมกันด้วยความหวังพึ่งกันจริง ๆ
ไม่สักแต่อยู่ ความเกี่ยวเนื่องในการเป็นอยู่ระหว่างกันและกัน ท่าน
มีความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกต่อกันมาก นับแต่อาจารย์
ลงมาถึงเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน มีความเคารพรักกันมาก เมื่อมี
สิ่งจะควรปรึกษาปรารภกัน ต่างหวังความรู้ความเข้าใจต่อกันจริง ๆ
โดยไม่มีทิฐิมานะใด ๆ แฝงอยู่ การอยู่ร่วมกันจึงเป็นความร่มเย็น
ผาสุก ไม่ค่อยมีเรื่องราวเกิดขึ้นในวงปฏิบัติ ความพร้อมเพรียง
สามัคคีกัน ความเมตตาเฉลี่ยเผื่อแผ่กันด้วยสังคหวัตถุและ
อรรถธรรมต่าง ๆ ความยอมตนต่อกัน นับว่าท่านปฏิบัติได้ดีเป็น
ที่น่าเลื่อมใส ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยมีความเคารพกันตามอายุพรรษาและ
คุณธรรม ไม่มีอาการจองหองพองตัว มีแต่ความอ่อนน้อมถ่อมตน
เจียมตัวอันเป็นมรรยาทดีงามต่อกันเป็นนิสัย อยู่ร่วมกันด้วยความ
หวังพึ่งสุขพึ่งทุกข์พึ่งเป็นพึ่งตายกันจริง ๆ ประหนึ่งเป็นอวัยวะอัน
เดียวกันปัจจัยสี่ที่เกิดขึ้นมีมากน้อยภายในวัด ท่านจัดการเฉลี่ย
เผื่อแผ่ให้ทั่วถึงพระภิกษุสามเณรทั่วทั้งวัด นอกจากสิ่งของมีน้อย
ไม่สามารถแจกจ่ายให้ทั่วถึง ก็แจกให้เฉพาะท่านที่จำเป็นไปก่อน
เมื่อเกิดมีขึ้นทีหลังค่อยพิจารณากันต่อไปตามความจำเป็นของผู้ที่จะ
ควรได้รับก่อนแลหลัง และพยายามแจกจ่ายให้ทั่วถึงตามปัจจัยสี่มี
มากน้อย สิ่งของที่มีผู้ถวาย พระเถระที่เป็นหัวหน้า จะต้องเรียก
พระในวัดมาจัดการแจกแบ่งให้ทั่วถึงพระเณรด้วยใจเมตตา ราวกับ
เป็นลูกในหัวอกของท่านเองจริง ๆ ความรักสงสารพระเณรตลอด
การวางตัว ท่านทำเหมือนพ่อแม่กับลูกปฏิบัติต่อกัน เป็นแต่ท่าน
ไม่นำกิริยาโลกของพ่อแม่กับลูกที่อาจมีการหยอกเล่นกัน ตาม
ประสาของความรักสงสารกันมาใช้ในวงศาสนาเท่านั้น
การดูแลสอดส่องมรรยาทอัธยาศัยของพระเณรในปกครอง
และการแนะนำสั่งสอนตักเตือนว่ากล่าว ท่านถือเป็นกิจสำคัญ
ประจำหน้าที่ไม่ให้บกพร่องตลอดไป แม้พระเณรในปกครองก็กลัว
อาจารย์มาก เคารพมาก รักมาก เลื่อมใสมากพอ ๆ กัน ทางฝ่าย
อาจารย์ก็เมตตารักสงวนมากเช่นกัน ใครผิดต้องเรียกมาว่ากล่าว
สั่งสอนและดุด่าโดยไม่มีการเกรงใจใด ๆ เลย เพราะถือเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันอย่างสนิท ชนิดแยกไม่ออกด้วยกันทั้งสองฝ่าย การ
ปกครองจึงง่ายเพราะต่างฝ่ายต่างเป็นธรรมด้วยกัน การทำผิดด้วย
เจตนานั้นคณะปฏิบัติถือกันมาก แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไม่เป็นที่
ไว้วางใจครูอาจารย์และหมู่เพื่อนเลย นอกจากระบายรายนั้นออก
เสีย หมู่คณะจึงจะมีความสงบสุข ที่ท่านแสดงความรังเกียจผู้ทำผิด
ด้วยเจตนานั้นเป็นความชอบธรรมแล้ว เพราะคนเราเมื่อผิดด้วย
เจตนา แม้ในเรื่องเพียงเล็กน้อย ก็คงเพื่อเรื่องใหญ่ในวาระต่อไปอย่างไม่สงสัย ที่ท่านพยายามตัดต้นเพลิงเสียแต่ต้นมือ จึงเป็น
สามีจิกรรมที่ควรเห็นด้วย
การประชุมฟังการอบรม ในพรรษาโดยมากเจ็ดวันต่อครั้ง
ดังที่เขียนไว้ในประวัติท่านพระอาจารย์มั่น วันธรรมดาท่านผู้ใด
มีข้อข้องใจจะไปเรียนถามท่านก็ได้ตามโอกาสที่ท่านว่าง เวลาพัก
อยู่ในสำนัก ท่านต่างองค์ต่างหาที่เหมาะสมในป่านอกวัดเป็นที่
เดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาตามอัธยาศัยทั้งกลางวันกลางคืน
หลายรายเวลานอกพรรษาท่านชอบออกไปแขวนกลดอยู่ห่าง ๆ
จากสำนักเพื่อสะดวกแก่ความเพียร แต่เวลาปัดกวาดลานวัดและทำ
กิจต่าง ๆ ตลอดการบิณฑบาตการขบฉัน ท่านมารวมกับหมู่คณะ
เป็นปกติ การเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาของท่าน ไม่มีกำหนด
เวลาตายตัวว่าต้องทำเวลาใดเท่านั้น พอว่างเมื่อไรท่านก็ทำของ
ท่านเมื่อนั้น
การกำหนดเดินหรือนั่งทำความเพียรนานเท่าไรก็เช่นกัน
ไม่มีกำหนดตายตัว บางองค์ท่านเดินจงกรมแต่หัวค่ำจนสว่างก็มี ใน
บางคืนเดิน ๒, ๓, ๔, ๕ ชั่วโมงก็มี ๖, ๗ ชั่วโมงก็มี การนั่ง
สำหรับผู้ฝึกหัดใหม่ นั่งได้ราวชั่วโมงและค่อยเขยิบขึ้นไปเรื่อย ๆ
ตามความชำนาญและความสามารถทางจิตใจ ผู้ที่เคยนั่งอยู่แล้ว
ก็นั่งได้นาน ยิ่งจิตมีภูมิสมาธิหรือปัญญาด้วยแล้วก็ยิ่งนั่งได้นาน
ครั้งหนึ่ง ๆ ตั้ง ๓, ๔ ชั่วโมงบ้าง ๕, ๖ ชั่วโมงบ้าง ๗, ๘ ชั่วโมง
บ้าง นั่งได้ตลอดรุ่งบ้าง การเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาครั้งละ
๓, ๔, ๕ ชั่วโมงสำหรับท่านที่เคยทำมาเป็นประจำแล้ว ท่านถือ
เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ไม่มีการเจ็บปวดเมื่อยขบอะไรเลย เพราะการ
เดินหรือการนั่งก็เพื่อปฏิบัติต่อจิตใจโดยเฉพาะ และมีความสนใจต่องานทางใจ มากกว่าจะมาสนใจกังวลกับความเจ็บปวดต่าง ๆ ของ
ร่างกาย ฉะนั้น เวทนาทางกายจึงไม่ค่อยรบกวนท่านเหมือนนั่ง
ธรรมดาไม่ได้ภาวนา
ท่านที่มีภูมิจิตสูงทางสมาธิ เวลาเข้าที่ภาวนา พอจิตรวมลง
แล้ว พักอยู่เป็นเวลาตั้งหลาย ๆ ชั่วโมงจึงถอนขึ้นมา เช่นนี้เวทนา
ไม่มีมารบกวนได้ ถ้าจิตยังไม่ถอนขึ้นมาตราบใด เวทนาก็ยังไม่เกิด
อยู่ตราบนั้น ด้วยเหตุนี้การเดินหรือการนั่งของผู้มีภูมิจิตกับผู้ยังไม่มี
ภูมิจิตจึงต่างกันอยู่มาก ในบุคคลคน ๆ เดียวกันนั่นแล เดินจงกรม
หรือนั่งสมาธิทั้งที่จิตยังไม่มีภูมิธรรมอะไรเลย กับเวลาจิตมีภูมิธรรม
แล้วยังต่างกันอยู่มากมาย เช่น เวลาฝึกหัดใหม่ ๆ เดินหรือนั่ง
เพียงชั่วโมงเดียวก็แย่อยู่แล้ว พอจิตมีภูมิธรรมแล้ว เดินหรือนั่ง
ตั้งหลาย ๆ ชั่วโมงก็ไม่มีเวทนามารบกวน จึงทำให้เห็นได้ชัดว่า
เรื่องใหญ่ขึ้นอยู่กับใจมากกว่ากาย อีกประการหนึ่ง อากาศพอเย็น
สบายหรือมีฝนพรำเล็กน้อย ทำให้ร่างกายสบาย จิตใจปลอดโปร่งดี
ขณะเข้าที่ภาวนา จิตจะผิดปกติกว่าเดิมทั้งทางสมาธิและทางปัญญา
คือ จิตจะลงได้เร็วและพักอยู่ได้นานจึงจะถอนขึ้นมา ขณะจิตถอน
ขึ้นมาร่างกายจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่ไหนเลย ใจจึงสำคัญในตัวคน
ท่านทำความเพียร ท่านทำอย่างเอาจริงเอาจัง ตั้งหน้าต่อ
งานในหน้าที่อันเดียว ไม่มีอะไรมายุ่งเกี่ยว ความเพียรจึงสืบต่อกัน
ทั้งเหตุแลผลกลมกลืนไปโดยสม่ำเสมอ ความเจริญทางใจก็ปรากฏ
ชัดขึ้นทุกระยะ จะเป็นสมาธิก็ทราบชัดว่าจิตลงได้ละเอียดลออ
ทางปัญญาก็ทราบชัดว่า มีความแยบคายไปทุกระยะที่เกี่ยวข้องกับ
อารมณ์ เครื่องพิจารณาใจก็ค่อย ๆ ผุดโผล่ขึ้นจากเปือกตมคือ
กิเลสชนิดต่าง ๆ โดยลำดับ เหมือนพระอาทิตย์อุทัยขึ้นจากพื้นพิภพส่องแสงสว่างมาสู่โลกฉะนั้น ผลเหล่านี้แลทำให้ท่านนักปฏิบัติ
ทั้งหลายเพลินในความเพียรจนลืมมืดลืมสว่าง ลืมวันคืนเดือนปี
นาทีโมง เพราะความไม่สนใจคำนึง สิ่งที่จดจ่อต่อเนื่องอยู่ตลอด
เวลา ก็คือความเพียรกับสติปัญญา ที่จะนำชัยชนะมาสู่ตนอยู่
ทุกระยะที่บำเพ็ญ เห็นความพ้นทุกข์ปรากฏอยู่กับใจดวงกำลังถูก
เวิกจอกแหนคือกิเลสชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมออกด้วยสติปัญญา
ไม่ขาดวรรคขาดตอน นั่งอยู่ก็เวิก ยืนอยู่ก็เวิก เดินอยู่ก็เวิก
นอนอยู่ก็เวิก เว้นแต่หลับ พอตื่นนอนขึ้นมาก็เตรียมเวิกจอกแหน
คือกิเลสออกจากใจเท่านั้น เป็นกิจที่จำเป็นคู่กับชีวิตท่านจริง ๆ
บรรดาครูอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมา ก่อนจะได้มาเป็นอาจารย์
สั่งสอนประชาชน รู้สึกมีความเข้มแข็งบึกบึนและได้รับความทุกข์
ลำบากจากการฝึกทรมานคล้ายคลึงกัน ทั้งที่ล่วงไปแล้วและยังมีชีวิต
อยู่ ฉะนั้นผู้มีความมุ่งหวังต่อธรรมดังที่ท่านรู้เห็นและแสดงให้ฟัง
จึงไม่ควรปฏิบัติลัดคิวเอาตามใจชอบแบบที่โลกเขาทำกันได้ผล ควร
ทราบว่าธรรมกับโลกผิดกันมาก ถ้าไม่เดินตามแบบที่ท่านพาดำเนิน
มา แต่จะเอาความสะดวกเข้าว่าแบบลัดคิวให้เป็นธรรมสมัยใหม่
ขึ้นมาในใจนั้น น่าจะไม่มีหวัง เพราะธรรมมิได้เป็นไปตามสมัย
เก่าและใหม่ แต่ธรรมก็คือธรรม โลกก็คือโลกมาดั้งเดิมมิได้
เปลี่ยนแปลง การปฏิบัติธรรมจึงควรดำเนินตามเหตุที่เหมาะสม
ผลที่พึงหวังจึงจะมีทางเกิดได้
การจะดัดแปลงธรรมเอาตามชอบใจ ไม่คำนึงดูความควร
หรือไม่ควร จึงเป็นเหมือนการปฏิบัติแบบลัดคิว ส่วนผลที่มุ่งหวังจะ
เป็นความขาดคิวหรือตกรอบไปใช้ไม่ได้จะเกิดความเสียใจ และเหมา
เอาว่าตนทำรอดตายไม่ได้รับผลเท่าที่ควร ไม่ทำเสียดีกว่า คำว่า“ดีกว่า” ด้วยการไม่ทำ เพราะความเข้าใจผิด ก็จะกลายเป็นพิษ
เผาตนไปนาน กลายเป็นผิดสองซ้ำย้ำสองหน ซึ่งล้วนเป็นการ
ทำลายตนให้เสียไปเปล่า เพราะความมักง่ายชอบปฏิบัติแบบลัดคิว
จึงขอเตือนไว้พอเป็นข้อคิดว่า ธรรมเป็นธรรมชาติที่มีกฎ
เกณฑ์ทั้งฝ่ายเหตุฝ่ายผล ผู้บำเพ็ญธรรมเพื่อหวังประโยชน์และ
ความเป็นสิริมงคลแก่ตน จึงควรสังเกตวิธีปฏิบัติด้วยดี ไม่เห็นแก่ได้
แก่การกระทำอันเป็นลักษณะแผลง ๆ แฝงเข้ามาในวงการปฏิบัติ
เนื่องจากความเป็นคนสมัยใหม่ และอยากดังเป็นตัวจักรพาหมุน
ให้ผิดทาง ปราชญ์ที่ท่านปฏิบัติและรู้เห็นมาก่อนจึงเลือกเฟ้นแล้ว
เฟ้นเล่าด้วยปัญญาอันแหลมหลัก กว่าจะนำธรรมออกในนาม
สวากขาตธรรมว่าตรัสไว้ชอบแล้ว ถูกต้องสมบูรณ์เต็มที่แล้ว
เหมาะสมแก่กาลสถานที่และสมัยธรรมนิยมเต็มที่แล้ว สมบูรณ์ทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะ ถือเอาใจความก็ว่า สมบูรณ์เต็มที่แล้วทั้งเหตุ
และผล ควรแก่การปฏิบัติตามไม่มีเคลือบแคลงสงสัย
ผลที่จะพึงได้รับก็ไม่มีอะไรอื่นนอกจากความสุขความสมหวัง
ไปโดยลำดับ นับแต่ขั้นกัลยาณธรรมถึงขั้นอริยธรรม ถ้าเป็นนาม
ของผู้ได้รับผลก็เป็นกัลยาณชนและอริยชนไปตามลำดับ จนถึง
อรหันตบุคคล ไม่มีบกพร่องทางคุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติเป็น
มัชฌิมา ผู้ปฏิบัติเป็นมัชฌิมาตามหลักธรรมมีแสดงไว้ว่าศีล
สมาธิ ปัญญา คือ กาลที่ควรมีศีลก็ควรสนใจในศีล กาลที่ควรมี
สมาธิความสงบใจก็ควรสนใจในการทำสมาธิให้เกิด กาลที่ควร
มีปัญญาก็ควรเจริญปัญญาให้เกิด ไม่ส่งเสริมหรือลบล้างส่วน
ใดส่วนหนึ่งให้เสียไป อันเป็นการลบล้างตนให้เสียไปในขณะ
เดียวกัน เพราะศีล สมาธิ ปัญญาเป็นธรรมสมบัติเกี่ยวเนื่องกันที่ผู้ปฏิบัติจะควรสนใจเสมอกันตามกาลเวลาที่ควรจะเจริญในธรรม
ใดเวลาใด ไม่เป็นสิ่งที่ควรผลักออกหรือคัดเลือกเอาตามชอบใจ อัน
เป็นความเห็นผิด
เนื่องจากธรรมทั้งนี้มิใช่สมบัติต่างชนิดกัน โดยเป็นกองเงิน
กองทอง และกองเพชรนิลจินดา ว่าตนชอบสิ่งนั้นไม่ชอบสิ่งนี้แล้ว
ตัดออก แต่เพราะศีล สมาธิ ปัญญาเป็นคุณธรรมเกี่ยวเนื่องกันกับ
การปฏิบัติของผู้ต้องการคุณธรรมนั้น ๆ จะควรปฏิบัติให้กลมกลืน
กันไปตามความจำเป็นของศีล สมาธิ ปัญญาแต่ละประเภท คือศีล
นั้นเป็นพื้นของผู้มีศีลที่รักษาอยู่ประจำ ส่วนสมาธิกับปัญญานั้นจะ
ควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม เพื่อกำลังจะได้เพิ่มขึ้นเป็นคู่เคียง
กันไปไม่ให้บกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง การปฏิบัติต่อธรรมทั้งสอง
ประเภทนี้มีดังนี้ คือ ถ้าสมาธิยังไม่มีเลย ก็ควรพยายามให้มีขึ้น
ด้วยการบริกรรมภาวนาหรือวิธีใดที่ถูกกับจริตนิสัยซึ่งควรจะ
ทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ถ้ามีบ้างแล้วก็ควรเจริญวิปัสสนาปัญญา
ไปด้วยกัน ตามโอกาสที่สมาธิถอนขึ้นมาและมีกำลังพอควรแล้ว
การพิจารณาทางปัญญานั้นควรแยกแยะธาตุขันธ์ มีรูป
ขันธ์เป็นต้น ออกพิจารณาโดยอนุโลมปฏิโลมถอยหน้าถอยหลัง
กลับไปมา โดยทางปฏิกูลหรือทางไตรลักษณ์ จนมีความชำนิ
ชำนาญคล่องแคล่ว อันดับต่อไปก็พักจิตโดยทางสมาธิดังที่เคย
ทำมา อย่างนี้เรียกว่าการบำเพ็ญสมาธิและปัญญาให้เป็นไป
โดยสม่ำเสมอ ไม่หย่อนในธรรมนั้นยิ่งในธรรมนี้ เพราะสมาธิ
กับปัญญาทั้งสองนี้เป็นธรรมพยุงจิตให้เจริญขึ้นโดยลำดับไม่มีวัน
เสื่อมคลาย ผู้บำเพ็ญจึงควรสนใจทั้งสองอย่างให้สม่ำเสมอกันแต่ต้น
จนอวสานแห่งการบำเพ็ญเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มิใช่ธรรมล้าสมัยและมิใช่
ธรรมเลยสมัย แต่เป็นธรรมที่เหมาะกับทุกยุคทุกสมัยตลอดมาและ
ตลอดไปเป็นอนันตกาล ไม่มีกาลสถานที่และบุคคลมาบังคับให้
ธรรมเหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมที่เหมาะกับ
กิเลสทุกประเภทที่มีอยู่ในใจสัตว์ไม่มีสิ่งใดยิ่งไปกว่า ผู้ปฏิบัติจึงควร
ทำให้เหมาะสมกับธรรมที่จะนำไปแก้กิเลสชนิดต่าง ๆ ให้หลุดลอย
ไปจากใจเป็นพัก ๆ คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นธรรมที่
แหลมคมยิ่งในศาสนา ที่ใช้เป็นเครื่องมือแก้กิเลสทุกประเภทให้
หมดสิ้นไป ไม่มีกิเลสตัวใดเหนืออำนาจธรรมนี้ไปได้ และธรรม
ทั้งสามนี้เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน จะแยกเอาแต่ธรรมใดธรรมหนึ่งไป
แก้กิเลสให้สิ้นไปโดยสิ้นเชิงย่อมไม่ได้ ต้องพร้อมองค์กัน
การเขียนปฏิปทาของพระธุดงค์ รู้สึกสับสนวกเวียน ทำให้
ท่านผู้อ่านเวียนศีรษะไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการปฏิบัติของท่านมี
หลายแขนง และรวมคำว่าปฏิปทาของพระธุดงค์ไว้ด้วย จึงได้แยก
ออกแสดงเป็นแขนง ๆ ของแต่ละท่านที่ฝึกทรมานตน เพียงการอยู่
ป่าของท่านก็ยังเขียนไม่จบ จำต้องพักไว้เขียนเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
กันไปก่อน แล้วค่อยวกมาเขียนต่ออีก จึงขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วย
ที่เรื่องหนึ่ง ๆ ควรจะจบแต่ก็ยังจบไม่ได้ดังที่เรียนแล้ว
บัดนี้จะเริ่มเรื่องการฝึกทรมานตนโดยวิธีต่าง ๆ ของท่าน
ต่อไปอีก คือท่านที่ทรมานตนด้วยวิธีใดรู้สึกว่าได้กำลังใจกว่าวิธี
อื่น ๆ ท่านก็สนใจทรมานวิธีนั้นต่อไปไม่ลดละ จนเป็นที่แน่ใจว่า
จิตไม่แสดงอาการพยศอีก เวลาไปอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวเป็น
ความรู้สึกธรรมดาเหมือนสถานที่ทั่ว ๆ ไป แล้วท่านถึงจะหยุดการ
ทรมานแบบนั้น และบำเพ็ญไปตามปกติธรรมดา



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกจิตทรมานใจ ถ้าฝึกได้แล้วต้องเป็นแบบนี้ คือ อยู่
ไหนก็สบาย ไม่รบกวนตัวเองด้วยเรื่องต่าง ๆ มีเรื่องกลัวเสือกลัวผี
เป็นต้น แต่เมื่อทรมานได้แล้ว แม้จิตไม่แสดงความกลัวเหมือน
แต่ก่อนก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นที่สะดวกใจเพราะสถานที่เช่นไร ท่าน
มักจะชอบอยู่ในสถานที่เช่นนั้นเป็นปกตินิสัยตลอดไป ไม่ค่อยผิด
กับครั้งพุทธกาลที่พระสาวกท่านชอบอยู่ตามนิสัยอะไรนัก เช่น
องค์ชอบอยู่ป่าอยู่เขา ท่านก็อยู่ของท่านไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุขัย
ดังพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นตัวอย่าง
เมื่อถึงกาลจะนิพพานแล้วค่อยออกจากป่าจากเขา มาเฝ้า
พระศาสดาและทูลลาเข้าสู่นิพพาน จนพระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อย
ทั้งหลายในสำนักพระศาสดาที่ไม่เคยเห็นองค์ท่าน ซึ่งครองผ้าที่
ย้อมด้วยดินแดงเพราะไม่มีสีกรักหรือสีแก่นขนุนจะย้อม เนื่องจาก
อยู่ในป่าลึกอันรกชัฏ พากันสงสัยนึกว่าขรัวตาบริโภคมาจากที่ไหน
จึงทูลถามพระพุทธเจ้าตามความรู้สึกของตน ๆ ว่าพระพุทธเจ้าข้า
ขรัวตาองค์นี้มาจากที่ไหน ดูสีผ้าแล้วน่ากลัวจริง แดงเหมือนกะย้อม
ด้วยเลือดอะไรไม่ทราบ พระองค์ทรงเห็นอาการไม่ดีของพระหนุ่ม
เณรน้อยทั้งหลายที่แสดงอาการสงสัยไม่เคารพท่าน จึงรับสั่งทันทีว่า
นี่แลคือพระอัญญาโกณฑัญญะพี่ชายของเธอทั้งหลาย ซึ่งบรรลุ
ธรรมก่อนใคร ๆ ทั้งหมดในบรรดาสาวกของเราตถาคต จงพากันจำ
พี่ชายของเธอทั้งหลายไว้แต่บัดนี้เป็นต้นไป
พระอัญญาโกณฑัญญะเธอเป็นพระอรหันต์แต่ต้นศาสนา
ของเราตถาคต และปฏิบัติตนเป็นสามีจิกรรมตลอดมา โดยชอบอยู่
ในป่าในเขาเป็นประจำนิสัย ไม่ชอบพลุกพล่านวุ่นวายด้วยฝูงชน
บัดนี้สังขารของเธอชราภาพหมดทางเยียวยา เธอจึงออกจากป่ามาเฝ้าและลาเราตถาคตเพื่อเข้าสู่นิพพานในไม่ช้านี้ สาวกที่ชอบอยู่ป่า
อยู่เขามีนิสัยดังพระอัญญาโกณฑัญญะลูกเราตถาคตนี้หายาก พวก
เธอทั้งหลายจงจำไว้ว่า ที่ไปจากเราตถาคตตะกี้นี้คือพระอัญญา
โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นลูกหัวปีของเราตถาคต และเป็นพี่ชายใหญ่ของ
เธอทั้งหลายนั้นเอง มิใช่พระขรัวตามาจากที่ไหนดังที่เธอทั้งหลาย
สงสัยกัน
พอพระพุทธเจ้าทรงชี้แจงเหตุผลของพระอัญญาโกณฑัญญะ
ให้ฟัง พระหนุ่มเณรน้อยทั้งหลายเกิดความเสียใจ เห็นโทษที่
กล่าววาจาไม่สมควรต่อท่านต่อพระศาสดาโดยมิได้สำนึกอะไรก่อน
และเกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะมาก
ทั้งด้วยความเสียดายที่ท่านได้จากไปเสียก่อนที่จะรู้จักเรื่องท่าน
ได้ดีจากพระศาสดา เรื่องที่ยกมากับเรื่องพระธุดงค์ที่ท่านปฏิบัติ
ดำเนินตามท่านอาจารย์มั่น ในการชอบอยู่ป่าอยู่เขาตามนิสัยนั้น
มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ผิดกันก็พระอัญญาโกณฑัญญะท่านเป็น
พระอรหันต์ทราบกันทั่วแดนพุทธศาสนิก แต่ท่านที่ดำเนินตาม
ท่านอาจารย์มั่นเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ท่านจะเป็นพระอะไรบ้าง จะมี
ส่วนอย่างท่านบ้าง หรือมีแต่ “ปุถุ” ล้วน ๆ ผู้เขียนทราบไม่ได้ จึง
เรียนไว้เท่าที่ความสามารถอำนวย
ส่วนท่านที่ทั้งฝึกทรมานตนด้วยการอยู่ป่าอยู่เขา และ
ทรมานตนด้วยวิธีผ่อนอาหาร ท่านก็ผ่อนของท่านไปเรื่อย ๆ คำว่า
ผ่อนนั้นคือ ท่านฉันแต่น้อย มิได้ฉันตามความต้องการของธาตุ
หรือด้วยอำนาจตัณหาที่อาจมีแทรกขึ้นมาได้ในบางเวลา เช่น ฉัน
เพียง ๗๐% บ้าง ๖๐% บ้าง ๕๐% บ้าง ๔๐% บ้าง ตามที่
เห็นควร หรืออาจเพิ่มขึ้น ผ่อนลงบ้างในบางโอกาส ท่านพยายามผ่อนของท่านไปเรื่อย หรืออาจถือเป็นปฏิปทาคู่เคียงกันไปกับวิธี
บำเพ็ญทั้งหลายเป็นเวลานาน เช่น เป็นเดือน ๆ หรือหลาย ๆ
เดือนก็ได้ ตามแต่สะดวกในการปฏิบัติจิตตภาวนาและธาตุขันธ์ให้
พอเป็นไป ไม่เกิดโรคภัยและไม่เกิดความหิวโหยอ่อนเพลียจนเกินไป
ท่านก็พยายามพยุงความเพียรของท่านไปจนกว่าธาตุขันธ์จะแสดง
ปฏิกิริยา หรือจิตใจดีขึ้นโดยไม่ต้องฝึกทรมานวิธีนี้เข้าช่วย ก็ดำเนิน
ไปได้ด้วยความราบรื่นสม่ำเสมอ ท่านอาจงดการผ่อนอาหารไปก็ได้
ทั้งนี้ก็แล้วแต่กรณีไม่แน่นอนตายตัวนัก
เท่าที่ทราบมา ท่านเคยได้กำลังใจจากวิธีใด ท่านมักจะ
ยึดวิธีนั้นไว้ไม่ยอมปล่อยวางไปเสียอย่างเดียว แม้มีกำลังใจสูง
ขนาดไหนท่านก็มักจะมีลวดลายไปในทางที่เคยดำเนินมาอยู่
เสมอ ราวกับท่านเห็นคุณและระลึกถึงวิธีนั้นอยู่เสมอด้วยความ
สำนึกตน ถ้าเป็นคนก็เรียกว่ารู้บุญคุณต่อผู้ที่เคยทำคุณแก่ตน ถ้า
เป็นธรรมก็คงระลึกถึงคุณของธรรมที่เคยให้คุณแก่ตน ดังพระองค์
ทรงกราบไหว้พระธรรมเป็นตัวอย่าง
การผ่อนอาหารฉันแต่น้อย ทำให้ร่างกายทุกส่วนเบา
กำลังก็ลดน้อยลงไม่ทับจิต การภาวนาก็สะดวกและสงบได้เร็ว
กว่าธรรมดาที่ไม่ได้ผ่อน (สำหรับรายที่ถูกกับจริต) การภาวนา
ในเวลาผ่อนอาหาร ใจไม่ค่อยมีทีได้ทีเสียเกี่ยวกับความสงบ ผิดกับ
ปกติที่ไม่ได้ผ่อนซึ่งกำลังอยู่ในขั้นฝึกหัด ขณะผ่อนอาหารเวลาเดิน
จงกรมก็สะดวก นั่งสมาธิก็สบาย กลางคืนกลางวันภาวนามักได้ผล
พอ ๆ กัน ซึ่งตามปกติเดินจงกรมนั่งสมาธิในเวลากลางคืนอันเป็น
เวลาที่ธาตุละเอียด มักจะดีกว่ากลางวันอยู่เสมอ ส่วนผู้ชอบผ่อน
อาหารก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ถ้าอดไปหลายวันความรู้สึกหิวโหยอ่อนเพลียจะมีมาก ส่วนจิตมักละเอียดยิ่งกว่าการผ่อนอาหาร
อยู่มาก ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญามีความคล่องแคล่วกว่ากัน
การอดท่านมักจะอดแต่น้อยไปหามาก คือแรกก็อดเป็น
การทดลองดูเพียง ๒-๓ วันบ้าง ๔-๕ วันบ้าง พอเห็นได้ว่า
ผลทางการภาวนาดี ก็ขยับขึ้นไปอีกเป็นครั้งละ ๖-๗ วันบ้าง
๘-๙ วันบ้าง ในระหว่างที่กำลังอดก็ภาวนาไปและสังเกตจิต
และธาตุขันธ์ไปด้วย ถ้าเห็นว่าทุกส่วนยังดีก็อดไปบ้าง ฉันบ้าง
สลับกันไป จนกลายเป็นอดครั้งละหลาย ๆ วันขึ้นไปเรื่อย ๆ คือ
ครั้งละ ๑๔-๑๕ วันบ้าง ๑๖-๑๗ วันบ้าง จนถึงเดือนก็มีใน
บางราย ขณะที่กำลังอดอาหารนั้น ถ้าธาตุรู้สึกอ่อนเพลียมาก ท่าน
ก็ฉันนมบ้างเป็นบางวันระหว่างที่อด สำหรับรายที่ถูกกับนิสัยย่อม
ได้ประโยชน์หลายอย่าง คือ ความง่วงเหงาหาวนอนนับแต่สองคืน
ล่วงไปแล้วไม่ค่อยมี ยิ่งหลายคืนล่วงไปเท่าไร ความง่วงไม่รบกวน
เลย นั่งอยู่ที่ไหนกายก็เที่ยงตรงอยู่ตลอดเวลาเหมือนหัวตอ ไม่มี
อาการสัปหงกงกงันใด ๆ ทั้งสิ้น สติดีไม่ค่อยเผลอ นานวันไป
เท่าไรสติยิ่งดีไม่ค่อยเผลอเลย จิตคิดเรื่องอะไรขึ้นมาสติรู้ทันแทบ
ทุกระยะหรือทุกระยะ โดยมิได้เข้มงวดกวดขันว่าจะพยายามไม่ให้
เผลอสติ แต่ก็เป็นไปได้เอง
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการอดอาหารก็เพื่อความเพียร และ
ตั้งสติเรื่อยมานับแต่วันเริ่มแรกอดก็เป็นได้ สติจึงไม่ค่อยเผลอใน
ระยะแรกอด และไม่เผลอสติเวลาอดไปหลายวัน การภาวนารู้สึกว่า
สะดวกคล่องแคล่วไปเสียทุกอย่าง ทั้งด้านสมาธิและปัญญา เมื่อ
ต้องการให้จิตพักลงในสมาธิ ก็ลงได้ตามใจหวัง เวลาต้องการ
พิจารณาทางปัญญาหลังจากจิตถอนขึ้นมาจากสมาธิแล้ว ก็เป็นปัญญาอย่างคล่องแคล่วไปโดยลำดับ ไม่อืดอาดเนือยนายดังที่
พิจารณาในเวลาปกติ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีสติอยู่กับตัว ไม่ค่อย
เผลอไปกับอะไรง่าย ๆ พิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ก็รวดเร็วทันใจ
และเข้าใจแจ่มแจ้งได้เร็วผิดธรรมดา ร่างกายก็ไม่ค่อยขัดที่นั่น
เจ็บปวดที่นี่ และเบาผิดปกติ จิตก็มักเห็นภัยได้ง่าย ไม่ค่อยฝืน
ความจริงและดื้อดึงนักเหมือนที่เคยเป็น
ผู้อยู่ในขั้นสมาธิก็อยู่ด้วยความสงบในอิริยาบถต่าง ๆ ผู้อยู่
ในขั้นปัญญาก็อยู่ด้วยการใคร่ครวญไตร่ตรองกรองเหตุกรองผล
ไปตามสิ่งที่มาสัมผัสชนิดต่าง ๆ ไม่มีประมาณ จิตเพลินต่อการ
พิจารณาในธรรมทั้งหลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าราวกับฉัน
อาหารอยู่โดยปกติ ถ้ารู้สึกเมื่อยหิวอ่อนเพลียก็ต่อเมื่อจิตถอนออก
จากสมาธิ หรือจิตพักจากการพิจารณาและเวลาออกเปลี่ยน
อิริยาบถจึงจะรู้สึกตอนนั้น เวลาจิตเข้าสมาธิและกำลังพิจารณา
ธรรมทั้งหลายอยู่ ไม่รู้สึกหิวหรืออ่อนเพลียเลย เนื่องจากจิตเพลิน
ต่อสมาธิและปัญญา ไม่สนใจกับธาตุขันธ์ เวทนาทางกายจึงเป็น
เหมือนไม่มีในเวลานั้น
พอถึงวันกำหนดจะฉัน ระหว่างจิตกับขันธ์เกิดทะเลาะ
ไม่ลงรอยกัน ฝ่ายธาตุขันธ์ก็ว่าอ่อนเพลียต้องการอาหารเครื่อง
เยียวยาพอประทังชีวิต ฝ่ายจิตก็ว่าขณะอดอาหารภาวนาดี จิตใจ
สงบผ่องใส ไม่กังวลวุ่นวายกับสิ่งใด ๆ พอฉันแล้วภาวนาไม่ดี
อิ่มแล้วคิดถึงแต่หมอนแทนที่จะคิดถึงอรรถถึงธรรมเหมือนเวลาอด
จึงไม่อยากฉัน เพราะเวลาฉันแล้วภาวนาไม่เป็นท่า แทนที่กายมี
กำลังแล้วจะดี ระหว่างจิตกับขันธ์ทะเลาะกันอย่างนี้แล เจ้าของต้อง
ตัดสินให้อดบ้างอิ่มบ้างนั่นแลดี จิตก็ได้ประโยชน์ กายก็รู้จักอดทนเสียบ้าง ไม่ปรนปรือจนเกินไปซึ่งเป็นทางของสัตว์เดียรัจฉาน มีแต่
กินกับนอน การอดมากก็ทนไม่ไหว กายต้องแตก การอิ่มมากก็
ขี้เกียจวิ่งหาแต่หมอน แทนที่จะวิ่งหาอรรถหาธรรมเหมือนเวลาอด
การอดอาหารมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้แล
เวลาที่กำลังอดเป็นเวลาที่เร่งความเพียรเต็มที่ในอิริยาบถ
ต่าง ๆ การหลับนอนมีน้อย หลับงีบเดียวก็พอกับความต้องการ
ของธาตุโดยไม่มีความโงกง่วงอีกเลย สำหรับรายที่ถูกกับจริต ทำให้
เห็นทันตาทั้งด้านสมาธิและปัญญา ความหิวจัดจะมีเฉพาะสอง
สามวันแรก พอเลยไปหลายวันแล้วความหิวก็เบาลง แต่ความ
อ่อนเพลียค่อยเพิ่มขึ้น จิตก็มีความละเอียดแยบคายไปโดยลำดับ
ตามวันที่อด ดังนั้นถึงวันจะฉันจึงทำให้เสียดาย อยากจะอดต่อไป
แต่ธาตุขันธ์รู้สึกเต็มทน ต้องผ่อนให้เขาบ้าง ไม่เช่นนั้นทำงาน
ไม่ตลอดสาย ธาตุขันธ์จะทลายไปก่อนกิเลส จำต้องเยียวยากันไป
ถ้าจะทำตามใจ กายคงไปไม่รอดแน่ แต่ถ้าจะปล่อยตามร่างกายที่
เขาต้องการ ใจก็คงไม่ได้ดื่มธรรมตามความมุ่งหมายเท่าที่ควรจะได้
การอดอาหารได้ผลประจักษ์ทั้งสมาธิและปัญญา จึงทำให้
ระลึกถึงพระพุทธองค์เวลาทรงทำทุกรกิริยาไม่เสวยพระกระยาหาร
ด้วยทรงมุ่งความตรัสรู้ธรรมจากการทรงอดโดยถ่ายเดียวไม่ทรง
บำเพ็ญเพียรทางใจ จึงไม่ทรงปรากฏผลในเวลานั้น แต่พอมาเสวย
ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำไปถวายแล้ว ในคืนวันนั้นเอง ซึ่งแม้
เสวยแล้วก็ตาม แต่พระอาการทุกส่วนแห่งพระกายยังผ่องใสและ
เบาหวิวอยู่ พอทรงเจริญอานาปานสติอันเป็นความเพียรทางใจ
จึงทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้ในราตรีวันนั้น ผลทางพระกายที่เกี่ยวกับ
การทรงอดพระกระยาหารจึงเข้าใจว่ามีส่วนช่วยทางพระทัยอยู่บ้างไม่ทับใจจนเกินไปในเวลานั้น แม้พระองค์จะทรงตำหนิว่าการอด
อาหารมิใช่ทางตรัสรู้นั้น คงมิได้หมายการอดเพื่อความเพียรทางใจ
ด้วย น่าจะหมายการอดเพื่อตรัสรู้ล้วนๆ จึงผิดทาง
เพราะการตรัสรู้หรือบรรลุธรรมต้องหมายถึงใจเป็นสำคัญ
มิได้หมายถึงกายแต่อย่างใดเลย เนื่องจากกิเลสมีอยู่ที่ใจอย่างเดียว
มิได้อยู่ที่กาย ส่วนกายเป็นปัจจัยเครื่องหนุนกิเลสให้กำเริบรุนแรงได้
นั้นมีทางเป็นได้ เช่น เวลาธาตุมีกำลังเต็มที่ จะแสดงให้ใจที่อบรม
มาด้วยดีแล้วรู้ทันทีว่าขันธ์กำเริบ ถ้ามีกิเลสอยู่ในใจด้วยแล้วก็ต้อง
ฉุดลากกันไปใหญ่ ดีไม่ดีตามไม่ทันเสียด้วยและพากันจมปลักไปเลย
จนโผล่ขึ้นจากปลักในเวลาพอตัวแล้วถึงจะทราบถ้าสังเกต แต่ถ้า
ไม่สังเกตก็ไม่มีทางทราบได้ตลอดไป ปล่อยให้กิเลสและธาตุขันธ์
พาไป แบบถึงไหนถึงนั่นแล กิเลสกับกายมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างนี้
แต่ลำพังขันธ์ล้วน ๆ ก็ไม่เป็นภัยแก่จิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว
ดังนั้นการอดอาหารจึงมีส่วนดีแก่จิตตภาวนาอยู่ไม่น้อยใน
บางนิสัย ท่านจึงมิได้ห้ามไม่ให้อดอาหารไว้โดยเด็ดขาดที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการภาวนาอยู่ด้วย จะเห็นได้จากพระวินัยบางข้อที่ว่า
ด้วยการอดอาหารว่า ภิกษุที่อดอาหารเพื่อการอวดโลก เป็น
อาบัติทุกครั้งที่อด และทุกประโยคที่เคลื่อนไหวเพื่อการโอ้อวด
แต่ถ้าอดเพื่อความเพียรทางใจแล้วอดเถิด เราตถาคตอนุญาต
ดังนี้ ทั้งนี้พระองค์อาจทรงมองเห็นสาระของการอดเพื่อความ
เพียรทางใจอยู่บ้าง ซึ่งอาจเหมาะกับจริตเป็นบางราย จึงทรง
อนุญาต ไม่ทรงห้ามไปเสียทีเดียว ส่วนรายที่ไม่เกี่ยวกับนิสัย แม้
ขืนอดก็คงไม่เกิดประโยชน์เช่นเดียวกับกรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตของ
นักภาวนาฉะนั้น จึงเป็นทำนองว่าลางเนื้อชอบลางยาเป็นราย ๆ ไปเท่าที่สังเกตดู ท่านที่ถูกจริตกับการอดอาหารรู้สึกมีมากแม้
ปัจจุบันนี้ จึงเรียนไว้ในที่นี้บ้างพอเป็นข้อคิด เฉพาะวัดป่าบ้านตาด
ซึ่งเป็นวัดของผู้เขียนเองยังมีพระท่านชอบอดอาหารกันบ่อยและมี
มากรายด้วยกัน แทบทั้งวัดที่ผลัดเปลี่ยนกันอดเสมอมานับแต่เริ่ม
สร้างวัดมาจนบัดนี้ ทั้งแล้งทั้งฝน ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา
แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้อดอาหารอยู่ในวัดเช่นกัน พระฝรั่งอังกฤษไม่
เลือกหน้า ชอบอดกันทั้งนั้น โดยท่านให้เหตุผลว่า เวลาอดอาหาร
แล้วภาวนาดีกว่าไม่อด จึงต้องอดบ่อย ๆ ซึ่งเป็นความสมัครใจของ
แต่ละท่าน มิได้มีการบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด พระฝรั่งก็อดอาหาร
เก่งเหมือนพระไทยและอดได้ทีละหลาย ๆ วันจึงฉันเสียวันสองวัน
แล้วก็อดต่อไปอีก บางองค์อดได้ถึง ๑๔-๑๕ วันก็มี นับว่าท่าน
อดทนอยู่มาก บางองค์ก็อดได้ราว ๙-๑๐ วัน ท่านอดได้เช่นเดียว
กับพระไทยเรา
ท่านบอกว่าขณะอดอาหาร จิตไม่ค่อยดิ้นรนกวัดแกว่ง
บังคับง่ายกว่าปกติที่ไม่ได้อด ทั้งจิตก็สงบเย็นดีและสม่ำเสมอ
ไม่วอกแวกคลอนแคลนอย่างง่ายดาย จึงทำให้อยากอดบ่อย ๆ
เพื่อจิตจะได้ก้าวหน้าเร็วเท่าที่ควร ดังนี้จึงน่าสงสารและอนุโมทนา
กับท่านที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมาบวชในพระพุทธศาสนา มา
จำศีลภาวนาด้วยความอดอยากกันดาร ข้าวปลาอาหารก็ไม่ค่อยฉัน
ทั้งจากบ้านจากเมืองจากบิดามารดาวงศาคณาญาติเป็นเวลานานปี
ไม่ค่อยบ่นว่าคิดถึงบ้านคิดถึงเมือง คิดถึงหมู่เพื่อนญาติวงศ์พงศ์พันธุ์
ที่เคยอยู่อาศัยใกล้ชิดสนิทสนมมาแต่ก่อนเลย นับว่าท่านบวชมา
เพื่อแสวงหาธรรมความเจริญจริง ๆ สมเป็นชาติที่ฉลาดมาดั้งเดิม
ไม่เคยแสดงความเย่อหยิ่งถือตัวให้ปรากฏเลย มีแต่ความอ่อนน้อม


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและและที่ผ่านมาได้ทำบุญทอดผ้าป่าสร้างพระอุโบสถและพระประธานที่วัดตะโกโคก ต.ตาจั่น อ.คง จ.นครราชสีมา ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ศูนย์ปฏิบัติธรรมชำระจิต บารมีธรรม 641/1 ม. 6 ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
โทรศัพท์ 086 - 5432000 | แฟ๊กซ์ 038 - 745-457
E-mail : mail@paramidhamma.com
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน เข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ในวันที่ 7 - 11 มีนาคม 2555 จำนวน 4 คืน 5 วัน โดยพระอาจารย์มหาเฉลิม ชนะพันธ์ วัดนาคปรก หลักสูตร สติปัฏฐาน-พองยุบ เนื่องในโอกาสวันมาฆะบูชาไปสร้างบารมีให้ตัวเองนะ


โครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ณ บ้านไรวา ตารางปฏิบัติธรรมปี 2555 ในเดือน พฤษภาคมวันที่ 9-15 และเดือนตุลาคมวันที่ 19-25

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์โครงการประชุมวิชาการ เกี่ยวกับธรรมะ เรื่อง จิตประภัสสรกับการคลอดธรรมชาติ: สู่ครอบครัวที่เข้มแข็ง ในวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ โรงแรม เทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี เป็นการนำธรรมะเข้ามาใช้ในการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเราได้รับเกียรติจากคุณแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุด แห่งเสถียรธรรมสถาน มาเป็นวิทยากร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ขอเชิญ



ขอเชิญทำบุญทอดผ้าป่าสร้างพระอุโบสถและพระประธานที่วัดตะโกโคก ต.ตาจั่น อ.คง จ.นครราชสีมา
โทร.0879609571


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร