วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 21:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อปฎิบัติสู่ความสำเร็จ ฟังให้มากๆ จนเข้าใจว่าอะไรคืออะไร ขอย้ำ อริยสัจ4 ทำความเข้าใจให้หนัก 1ทุกข์กำหนดรู้ให้ได้ว่ามันน่ากลัวที่สุด ไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว เบื่อแล้วไม่เอาแล้ว 2 สมุทัย ควรละ อะไรที่เป็นกิเลสเราละมันเลยไม่ทำ ไม่สนใจมัน ทุกสิ่งเอาพออยู่ได้ อย่าให้เกิน อะไรบางอย่างไม่ทำก็ไม่ตาย คอยใช้สติพิจารณา ไม่มีใครได้อะไร เราก็ไม่มี ไปให้มันทำไม กิเลสทั้งนั้น 3นิโรธ ควรทำให้แจ้ง นิโรธเป็นผลของมรรค ตรึกให้รู้ถึงถึงความดับ ที่จริงแล้วความดับมีตั้งแต่เราละสมุทัยแล้ว แต่เป็นความดับชั่วคราว เพราะสมุทัยเป็นเหตุของการดับทุกข์ เมือดับเหตุก็กิดผลคือความดับ 4มรรคคือทางปฎิเพื่อให้แจ้งนิโรธถาวร (ดับกิเลสสิ้นเชิง)เริ่มจากสัมมาทิฎิฐิ(ความเห็นถูก) ฯลฯ ที่นี้มาดูก่อนว่าอะไรที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
1วาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ก็ไม่กล่าววาจานั้น

2คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าวคำนั้น

3คำใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตก็ไม่กล่าวคำนั้น

4คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ทั้งนี้เพราะตถาคตมีความอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย”
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสนั้นต้องเป็นจริงมีประโยชน์ถึงตรัส ที่นี้เรามาเริ่มปฎิบัติกัน อานาปานสติเป็นพระสูตรที่พระองค์ทรงตรัสไว้ อานาปานสติสามารถทำให้วิมุติ จิตหลุดพ้น จากอ่สาวะกิเลสได้ดูในlinkนี้ครับ อานาปานสติที่ไหนก็ได้http://nkgen.com/37.htm และอะไรเป็นไปเพื่อความสำเร็จ1 อธิฐานความเพียร
ภิกษุ ท ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี)ในการทำ ความเพียร. ภิกษุ ท ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการ อธิษฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ ภิกษุ ท ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็น สิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท. ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้; ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.
2 เครื่องประกแบความเพียร
ชาคริยานุโยค คือส่วนประกอบของความเพียร ภิกษุ ท ! ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม (กิเลสที่กั้นจิต) ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์(คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก. ภิกษุ ท ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็น เครื่องตื่น.
ทั้งสองอย่างนี้แหละครับเป็นธรรมที่จะทำให้เราสำเร็จ (อานาปานสติรวมทุกอย่างหมดจบตรงนี้)
หวังว่าคำกล่าวที่ผมเขียนมานี้จะมีประโยชน์แก่สหายธรรมทุกท่านไม่มากน้อยนะครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 13 ก.ค. 2012, 08:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 08:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
สรุปได้ดี....แต่มีที่น่าห่วงนิดหนึ่งครับ ....ตรงนี้

"2 สมุทัย กำหนดละ อะไรที่เป็นกิเลสเราละมันเลยไม่ทำ ไม่สนใจมัน ทุกสิ่งเอาพออยู่ได้ อย่าให้เกิน อะไรบางอย่างไม่ทำก็ไม่ตาย คอยใช้สติพิจารณา ไม่มีใครได้อะไร เราก็ไม่มี ไปให้มันทำไม กิเลสทั้งนั้น"

สมุทัย ....กำหนดละ.......คำนี้ ไม่ถูกต้องตามธรรมครับ...เพราะเรากำหนดละ...คือคิดแล้วรู้แล้วสั่งให้ละเสียจริงๆไม่ได้.....พระบรมศาสดาทรงตรัสแนะนำแค่ว่า ..."สมุทัย ควรละ"...ไม่ใช่กำหนดละ เพราะมีเหตุผลอันละเอียดอ่อนซ่อนอยู่ให้เราค้นหาให้พบด้วยตนเอง

การละสมุทัยจักเกิดได้เมื่อสติปัญญาได้พบเห็นความจริงได้รู้ว่าความเห็นผิดยึดผิด เป็นเหตุสำคัญที่สุด
เพราะความเห็นผิดยึดผิด(เพราะไม่รู้)จึงทำให้เกิดลูกหลานบริวารของมันตามมาคือที่เราเรียกว่า ...
กิเลส 1,500 ตัณหา 108 ....


ถ้าเราไปเพียรสู้หรือเพียรละ กิเลส ตัณหา นั้นเป็นการต่อสู้ที่ผิดจุด ผิดประเด็น เปรียบเหมือนนักยิงเป้า ที่ไม่เล็งยิงตรงกลางเป้าที่มีคะแนนเยอะที่สุด แต่ไพล่ไปเล็งยิงที่ขอบเป้าที่มีคะแนนน้อย มันจะเป็นการ เหนื่อย หนัก และนาน ที่จะไปสู้กับ กิเลสตั้ง 1,500 ตัณหาตั้ง 108 ตัว
:b10:
ลองสังเกต พิจารณา ดูใหม่นะครับ ว่าสมุทัยที่แท้จริงคืออะไร?.....
:b31:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2012, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:
สรุปได้ดี....แต่มีที่น่าห่วงนิดหนึ่งครับ ....ตรงนี้

"2 สมุทัย กำหนดละ อะไรที่เป็นกิเลสเราละมันเลยไม่ทำ ไม่สนใจมัน ทุกสิ่งเอาพออยู่ได้ อย่าให้เกิน อะไรบางอย่างไม่ทำก็ไม่ตาย คอยใช้สติพิจารณา ไม่มีใครได้อะไร เราก็ไม่มี ไปให้มันทำไม กิเลสทั้งนั้น"

สมุทัย ....กำหนดละ.......คำนี้ ไม่ถูกต้องตามธรรมครับ...เพราะเรากำหนดละ...คือคิดแล้วรู้แล้วสั่งให้ละเสียจริงๆไม่ได้.....พระบรมศาสดาทรงตรัสแนะนำแค่ว่า ..."สมุทัย ควรละ"...ไม่ใช่กำหนดละ เพราะมีเหตุผลอันละเอียดอ่อนซ่อนอยู่ให้เราค้นหาให้พบด้วยตนเอง

การละสมุทัยจักเกิดได้เมื่อสติปัญญาได้พบเห็นความจริงได้รู้ว่าความเห็นผิดยึดผิด เป็นเหตุสำคัญที่สุด
เพราะความเห็นผิดยึดผิด(เพราะไม่รู้)จึงทำให้เกิดลูกหลานบริวารของมันตามมาคือที่เราเรียกว่า ...
กิเลส 1,500 ตัณหา 108 ....


ถ้าเราไปเพียรสู้หรือเพียรละ กิเลส ตัณหา นั้นเป็นการต่อสู้ที่ผิดจุด ผิดประเด็น เปรียบเหมือนนักยิงเป้า ที่ไม่เล็งยิงตรงกลางเป้าที่มีคะแนนเยอะที่สุด แต่ไพล่ไปเล็งยิงที่ขอบเป้าที่มีคะแนนน้อย มันจะเป็นการ เหนื่อย หนัก และนาน ที่จะไปสู้กับ กิเลสตั้ง 1,500 ตัณหาตั้ง 108 ตัว
:b10:
ลองสังเกต พิจารณา ดูใหม่นะครับ ว่าสมุทัยที่แท้จริงคืออะไร?.....
:b31:
:b4: :b4:
ถูกต้องครับคุณอโศกะ ผมเขียนผิด ทำไมต้องละ เพราะนำมาซึ่งโทษด้วยเหตุผล 4 ประการ ครับตัณหา คือ สภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการที่เป็นโลภะ เพราะมีตัณหา จึงมีความทุกข์ประการต่างๆ
1.ทำให้เกิดทุกข์ คือ เพราะอาศัยตัณหา จึงทำให้เกิดทุกข์ใจ ปรารถนาแล้วไม่ได้
2.เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีตัณหา จึงทำให้เกิดทุกข์ทางกายและใจ เพราะเมื่อมี
ตัณหาก็ต้องมีการเกิด เมื่อมีการเกิดก็มีร่างกาย มีขันธ์ 5 ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์กาย
และใจนานับประการครับ
3.ประกอบสัตว์ไว้ในสังสารทุกข์ เพราะมีตัณหา มีกิเลส ก็ไม่สามารถพ้นจากการเกิดได้
เลยก็ต้องเกิดวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ไม่ให้
พ้นจากการเกิด จากสังสารวัฏฏ์ครับ
4. ขังอยู่ในเรือนจำคือสังสารทุกข์ เพราะมีกิเลส คือ ตัณหา จึงต้องเกิดตาย ไม่สามารถ
ออกจากสังสาวรวัฏฏ์ที่เรีกยกว่า คุก เพราะขังสัตว์ไว้ไม่ให้ออกจากการเกิดและตาย
ได้ คุกอันละมุนละไม ที่ดูน่าเพลิดเพลิน แต่ถูกขังไว้โดยไม่รู้ตัว อันมีเหตุมาจาก
ตัณหาและกิเลสประการต่าง ๆ ครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 19:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
asoka เขียน:
:b27:
สรุปได้ดี....แต่มีที่น่าห่วงนิดหนึ่งครับ ....ตรงนี้

"2 สมุทัย กำหนดละ อะไรที่เป็นกิเลสเราละมันเลยไม่ทำ ไม่สนใจมัน ทุกสิ่งเอาพออยู่ได้ อย่าให้เกิน อะไรบางอย่างไม่ทำก็ไม่ตาย คอยใช้สติพิจารณา ไม่มีใครได้อะไร เราก็ไม่มี ไปให้มันทำไม กิเลสทั้งนั้น"

สมุทัย ....กำหนดละ.......คำนี้ ไม่ถูกต้องตามธรรมครับ...เพราะเรากำหนดละ...คือคิดแล้วรู้แล้วสั่งให้ละเสียจริงๆไม่ได้.....พระบรมศาสดาทรงตรัสแนะนำแค่ว่า ..."สมุทัย ควรละ"...ไม่ใช่กำหนดละ เพราะมีเหตุผลอันละเอียดอ่อนซ่อนอยู่ให้เราค้นหาให้พบด้วยตนเอง

การละสมุทัยจักเกิดได้เมื่อสติปัญญาได้พบเห็นความจริงได้รู้ว่าความเห็นผิดยึดผิด เป็นเหตุสำคัญที่สุด
เพราะความเห็นผิดยึดผิด(เพราะไม่รู้)จึงทำให้เกิดลูกหลานบริวารของมันตามมาคือที่เราเรียกว่า ...
กิเลส 1,500 ตัณหา 108 ....


ถ้าเราไปเพียรสู้หรือเพียรละ กิเลส ตัณหา นั้นเป็นการต่อสู้ที่ผิดจุด ผิดประเด็น เปรียบเหมือนนักยิงเป้า ที่ไม่เล็งยิงตรงกลางเป้าที่มีคะแนนเยอะที่สุด แต่ไพล่ไปเล็งยิงที่ขอบเป้าที่มีคะแนนน้อย มันจะเป็นการ เหนื่อย หนัก และนาน ที่จะไปสู้กับ กิเลสตั้ง 1,500 ตัณหาตั้ง 108 ตัว
:b10:
ลองสังเกต พิจารณา ดูใหม่นะครับ ว่าสมุทัยที่แท้จริงคืออะไร?.....
:b31:
:b4: :b4:
ถูกต้องครับคุณอโศกะ ผมเขียนผิด ทำไมต้องละ เพราะนำมาซึ่งโทษด้วยเหตุผล 4 ประการ ครับตัณหา คือ สภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการที่เป็นโลภะ เพราะมีตัณหา จึงมีความทุกข์ประการต่างๆ
1.ทำให้เกิดทุกข์ คือ เพราะอาศัยตัณหา จึงทำให้เกิดทุกข์ใจ ปรารถนาแล้วไม่ได้
2.เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีตัณหา จึงทำให้เกิดทุกข์ทางกายและใจ เพราะเมื่อมี
ตัณหาก็ต้องมีการเกิด เมื่อมีการเกิดก็มีร่างกาย มีขันธ์ 5 ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์กาย
และใจนานับประการครับ
3.ประกอบสัตว์ไว้ในสังสารทุกข์ เพราะมีตัณหา มีกิเลส ก็ไม่สามารถพ้นจากการเกิดได้
เลยก็ต้องเกิดวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ไม่ให้
พ้นจากการเกิด จากสังสารวัฏฏ์ครับ
4. ขังอยู่ในเรือนจำคือสังสารทุกข์ เพราะมีกิเลส คือ ตัณหา จึงต้องเกิดตาย ไม่สามารถ
ออกจากสังสาวรวัฏฏ์ที่เรีกยกว่า คุก เพราะขังสัตว์ไว้ไม่ให้ออกจากการเกิดและตาย
ได้ คุกอันละมุนละไม ที่ดูน่าเพลิดเพลิน แต่ถูกขังไว้โดยไม่รู้ตัว อันมีเหตุมาจาก
ตัณหาและกิเลสประการต่าง ๆ ครับ

onion
อย่าเอาตื้นแค่ตัณหาตามตัวหนังสือ......ต้องใช้ปัญญา...สติ...สมาธิ ค้น ล้วงให้ลึกเลยตัณหาลงไปอีกชั้นหนึ่งจึงจะพบสมุทัยที่แท้จริง

สังเกตดูให้ดีซิครับว่า มรรคที่ 1 คือโสดาปัตติมรรค ไม่ได้ตัด ตัณหา นะครับ...ตัดอะไรล่ะครับที่เป็นประเด็นสำคัญ

อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราค้นลึกลงไปจากตัณหาได้ง่าย ก็คือเพียงแต่ตั้งคำถามๆตัวเองว่า

ตัณหา...แปลว่า...ความอยาก ถามว่า.........ใคร?อยาก......ตอบให้ได้ถูกต้องก็จะเจอกับสมุทัยตัวจริงที่เป็นต้นเหง้าของอวิชชา ตัวต้นของปฏิจจสมุปบาททันที

onion
:b4: :b4: :b4:
:b31: :b31: :b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุ ผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ
ที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
ที่จะพึง ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

:b8: :b8: :b8:

ศึกษา ปฏิจจสมุปบาท ก็จะเข้าใจขึ้น นะครับท่าน bigtoo พระพุทธองค์ก็ทรงเน้นให้ศึกษาเยอะๆนะครับ เพราะเอามาใช้ดูวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ครับ อริยสัจจ์4 สมถะวิปัสสนา สติปัฏฐาน4 และธรรมทั้งปวง อยู่ในนั้นทั้งหมดนะครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุ ผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ
ที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่
ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี
ที่จะพึง ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

:b8: :b8: :b8: :b8:
สัมมาวายามะ....ดี..ดี...นี้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2012, 22:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ตัณหา...แปลว่า...ความอยาก ถามว่า.........ใคร?อยาก......ตอบให้ได้ถูกต้องก็จะเจอกับสมุทัยตัวจริงที่เป็นต้นเหง้าของอวิชชา ตัวต้นของปฏิจจสมุปบาททันที[/b]
onion
:b4: :b4: :b4:
:b31: :b31: :b31:


:b12: :b12: :b12: เห็นบางท่าน...เห็นว่ากายมีดีกว่าเห็นว่าจิตมี...ซะอีกนะ...แล้วยกพระพุทธพจน์อันที่แปลเป็นไทยแล้ว....มาให้ดูด้วย

:b9:

เอางัยดี....อะไรที่อยาก
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 07:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
ตัณหา...แปลว่า...ความอยาก ถามว่า.........ใคร?อยาก......ตอบให้ได้ถูกต้องก็จะเจอกับสมุทัยตัวจริงที่เป็นต้นเหง้าของอวิชชา ตัวต้นของปฏิจจสมุปบาททันที[/b]
onion
:b4: :b4: :b4:
:b31: :b31: :b31:


:b12: :b12: :b12: เห็นบางท่าน...เห็นว่ากายมีดีกว่าเห็นว่าจิตมี...ซะอีกนะ...แล้วยกพระพุทธพจน์อันที่แปลเป็นไทยแล้ว....มาให้ดูด้วย

:b9:

เอางัยดี....อะไรที่อยาก
:b1:

cool
อย่าคิดมากซิครับ คุณกบ ......ตอบแบบลูกทุ่ง หรือเด็กเลี้ยงควายตามทุ่งนาเขาตอบ หรือจะลองไปถามป้าคำลุงมีที่อยู่แถวข้างบ้านก็ได้ว่า "เวลาอยากขึ้นมาในใจเนียะ "ใครอยาก" แล้วลองฟังคำตอบเขาดูนะครับ จะได้คำตอบแบบเว้าซื่อๆทันทีเลย แต่บางคนจะตอบแบบ 2 ชั้น ต้องถามจนถึงที่สุดแล้วก็จะพบความจริงอย่างสามัญของสำนึกของมนุษย์ทุกคนครับ
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 07:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
ตัณหา...แปลว่า...ความอยาก ถามว่า.........ใคร?อยาก......ตอบให้ได้ถูกต้องก็จะเจอกับสมุทัยตัวจริงที่เป็นต้นเหง้าของอวิชชา ตัวต้นของปฏิจจสมุปบาททันที[/b]
onion
:b4: :b4: :b4:
:b31: :b31: :b31:


:b12: :b12: :b12: เห็นบางท่าน...เห็นว่ากายมีดีกว่าเห็นว่าจิตมี...ซะอีกนะ...แล้วยกพระพุทธพจน์อันที่แปลเป็นไทยแล้ว....มาให้ดูด้วย

:b9:

เอางัยดี....อะไรที่อยาก
:b1:

cool
อย่าคิดมากซิครับ คุณกบ ......ตอบแบบลูกทุ่ง หรือเด็กเลี้ยงควายตามทุ่งนาเขาตอบ หรือจะลองไปถามป้าคำลุงมีที่อยู่แถวข้างบ้านก็ได้ว่า "เวลาอยากขึ้นมาในใจเนียะ "ใครอยาก" แล้วลองฟังคำตอบเขาดูนะครับ จะได้คำตอบแบบเว้าซื่อๆทันทีเลย แต่บางคนจะตอบแบบ 2 ชั้น ต้องถามจนถึงที่สุดแล้วก็จะพบความจริงอย่างสามัญของสำนึกของมนุษย์ทุกคนครับ
:b12: :b12: :b12:


มันอยู่ที่ว่า เราจะเป็น ปุถุชนผู้ไม่เคยสดับฟังคำของตถาคต หรือเราจะเป็น ภิกษุ ผู้สดับฟัง และปฎิบัติ ตามคำของ ตถาคต นะครับ

และการพูดคุย ก็ต้องแยกระหว่างการพูด โดยสมมุติ ในสมมุติ หรือ สมมุติ ในปรมัต นะครับ ผู้ที่ไม่เข้าใจก้จะ งง แล้วก็เถียงกันอีก
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร