วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 08:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. นิปปปัญจปัญหา ๕๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีนิปปปัญจะเป็นที่มายินดี มีความยินดีในนิปปปัญจธรรมไม่มีเครื่องเนิ่นช้า' ดังนี้. นิปปปัญจะนั้นเป็นไฉน คือ ธรรมพวกไร?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร โสดาปัตติผลก็ชื่อนิปปปัญจะสกทาคามิผลก็ชื่อ
นิปปปัญจะ อนาคามิผลก็ชื่อนิปปปัญจะ อรหัตตผลก็ชื่อนิปปปัญจะ ธรรมไม่มีเครื่องเนิ่นช้า."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าโสดาปัตติผลก็ชื่อนิปปปัญจะสกทาคามิผลก็ชื่อ
นิปปปัญจะ อนาคามิผลก็ชื่อนิปปปัญจะ อรหัตตผลก็ชื่อนิปปปัญจะไซร้, ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมแสดงขึ้น ย่อมไต่ถาม พระสูตร เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตก ชาตก อัพภูตธรรม
เวทัลละ ยังกังวลอยู่ด้วยนวกรรม คือ การให้ด้วย การบูชาด้วย เพื่อประโยชน์อะไร? ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ชื่อว่ากระทำอยู่ซึ่งกรรม ที่พระชินห้ามไว้แล้ว ไม่ใช่หรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น ย่อมแสดงขึ้น ย่อมไต่ถามพระสูตร เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตก ชาตก อัพภูตธรรม เวทัลละ ยังกังวลอยู่ด้วยนวกรรม คือ การให้ด้วย การบูชาด้วย, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่ากระทำความเพียรเพื่อจะถึงซึ่งนิปปปัญจธรรม ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยสภาพ มีวาสนาเคยอบรมมาแล้ว, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีนิปปปัญจธรรมโดยขณะแห่งจิตอันเดียว. ฝ่ายว่าภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้มีธุลี คือ กิเสลในนัยน์ตา คือ ปัญญามาก, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิปปปัญจธรรม ด้วยประโยคทั้งหลายเหล่านี้. เปรียบเหมือนบุรุษปลูกพืชลงในนาแล้วเก็บข้าวเปลือก ด้วยความเพียรตามกำลังของตน เว้นแล้วจากรั้วเป็นเครื่องป้องกัน, บุรุษอีกคนหนึ่งปลูกพืชลงในนาแล้วเข้าไปสู่ป่า ตัดไม้แห้งด้วย กิ่งไม้ด้วย เรียวหนามด้วย กระทำรั้วแล้วจึงเก็บข้าวเปลือก, ความแสวงหาของบุรุษนั้น ด้วยกั้นรั้วในนานั้น เพื่อประโยชน์แก่ข้าวเปลือก ฉันใด;
ขอถวายพระพร ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยสภาวะ มีวาสนาเคย
อบรมแล้ว, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มีเครื่องเนิ่นช้าออกแล้วโดยขณะแห่งจิตอันหนึ่ง เหมือนบุรุษเว้นความกั้นด้วยรั้วเสีย เก็บข้าวเปลือก; ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้มีธุลี คือ กิเสลในนัยน์ตา คือ ปัญญาใหญ่หลวง, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้มีเครื่องเนิ่นช้าออกแล้ว ด้วยประโยคทั้งหลายเหล่านี้ เหมือนบุรุษกระทำความกั้นด้วยรั้วแล้ว เก็บข้าวเปลือก ฉันนั้นนั้นเทียวแล.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนช่อแห่งผลไม้ พึงมีที่ยอมแห่งต้นมะม่วงใหญ่, ถ้าว่า ในที่นั้นผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มาแล้ว พึงนำผลแห่งต้นมะม่วงนั้นไปได้, ในที่นั้น ฝ่ายบุคคลผู้ไม่มีฤทธิ์ ตัดไม้แห้งและเถาวัลย์ ผูกให้เป็นพะองแล้วขึ้นสู่ต้นมะม่วงนั้นโดยพะองนั้นนำผลไปได้, จึงควรแสวงหานั้นเพื่อเอาแต่ผล ฉันใด;บุคคลทั้งหลายเหล่าใดนั้น บริสุทธิ์แล้วโดยสภาวะ มีวาสนาอบรมแล้วในปางก่อน, บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าออกแล้วโดยขณะแห่งจิตอันหนึ่ง เหมือนบุคคลมีฤทธิ์ที่นำผลมะม่วงไปได้นั้น; ฝ่ายว่า ภิกษุทั้งหลายใดนั้น เป็นผู้มีธุลี คือ กิเสลในนัยน์ตา คือ ปัญญาใหญ่หลวง, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยประโยคนี้ เหมือนบุรุษนำผลแห่งมะม่วงไปโดยพะอง ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้กระทำความต้องการ คือแสวงหาทรัพย์คนหนึ่งคนเดียวทีเดียว เข้าไปใกล้เจ้านายแล้วยังทรัพย์นั้นให้สำเร็จได้, คนหนึ่งเป็นผู้มีทรัพย์ ยังบริษัทให้เจริญแล้วด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ ยังทรัพย์นั้นให้สำเร็จด้วยบริษัท, ความแสวงหาด้วยบริษัทในทรัพย์นั้นของบุรุษนั้น อันใด ความแสวงหาบริษัทนั้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ ฉันใด;บุคคลทั้งหลายเหล่าใดนั้น บริสุทธิ์แล้วโดยสภาวะ มีวาสนาอบรมมาแล้วในปางก่อน, บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในอภิญญาทั้งหลายหก โดยขณะแห่งจิตอันหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งกระทำซึ่งอันยังทรัพย์ให้สำเร็จ; ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นใด มีธุลี คือ กิเลสในนัยน์ตา คือ ปัญญาใหญ่หลวง, ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมยังทรัพย์ คือ สามัญญคุณให้สำเร็จเฉพาะด้วยประโยคทั้งหลายเหล่านี้ เปรียบเหมือนบุรุษกระทำซึ่งอันยังทรัพย์ให้สำเร็จด้วยบริษัท.
ขอถวายพระพร แม้อุทเทสเป็นของมีอุปการมาก แม้ปริปุจฉาเป็นของมีอุปการมาก แม้
นวกรรมเป็นของมีอุปการมาก แม้การให้เป็นของมีอุปการมาก แม้การบูชาเป็นของมีอุปการมาก ในกิจที่ควรกระทำทั้งหลายเหล่านั้น ๆ.
ขอถวายพระพร บุรุษผู้จะเป็นข้าราชการกระทำแล้วซึ่งราชกิจด้วยชนผู้เป็นราชบริษัททั้งหลาย คือ อมาตย์ราชภัฏกรมวังผู้รักษาพระทวารและราชองครักษ์, ครั้นเมื่อกิจควรกระทำยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ราชบุรุษทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้มีอุปการแก่บุรุษข้าราชการนั้นฉันใด; แม้อุทเทส ปริปุจฉา นวกรรม การให้และการบูชาล้วนเป็นของมีอุปการมาก ในกิจควรกระทำทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น. ถ้าว่า ชนทั้งหลวงทั้งปวง พึงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยอภิชาติไซร้, กิจอันผู้พร่ำสอนจะพึงกระทำไม่พึงมี; ก็เพราะเหตุใดแล กิจอันผู้พร่ำสอนจะพึงกระทำด้วยการฟังมีอยู่. พระเถระสารีบุตรผู้มีกุศลมูลสั่งสมแล้ว สิ้นอสงไขยและกัปป์อันนับไม่ได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งที่สุดแห่งปัญญา, แม้พระเถระสารีบุตรนั้นเว้นจากการฟัง ไม่อาจแล้วเพื่อจะพึงอาสวักขัย.
ขอถวายพระพร เพราะเหตุนั้น การฟังชื่อมีอุปการมาก, แม้อุทเทสแม้ปริปุจฉามีอุปการมาก ก็เหมือนกัน, เพราะเหตุนั้น อุทเทสปริปุจฉาจึงเป็นนิปปปัญจธรรม มีเครื่องเนิ่นช้าออกแล้วเป็นอสังขตะ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป้นเจ้าเพ่งดีแล้วข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. คิหิอรหัตตปัญหา ๕๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'บุคคลเป็นคฤหัสถ์บรรลุพระอรหัตแล้ว มีคติสอง คือ: พระอรหันต์นั้นบวชบ้าง ปรินิพพานบ้าง ในวันนั้นทีเดียว, วันนั้น อันพระอรหันต์นั้นไม่อาจเพื่อจะก้าวเกินได้."
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระอรหันต์นั้นไม่พึงได้อาจารย์หรืออุปัชฌาย์ หรือบาตรและจีวรในวันนั้น, พระอรหันต์นั้น พึงบวชเองหรือพึงล่วงวัน หรือพระอรหันต์อื่นบางรูป เป็นผู้มีฤทธิ์ พึงมาแล้วยังพระอรหันต์นั้นให้บวชบ้างหรือหนอ หรือพระอรหันต์นั้น พึงปรินิพพาน.
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระอรหันต์นั้นไม่พึงบวชเอง เมื่อบวชเอง ย่อมต้องเถยยสังวาส; อนึ่ง ท่านไม่ล่วงวัน ความที่พระอรหันต์องค์อื่นจะมาจะมีหรือไม่มี พระอรหันต์นั้นย่อมดับเสียในวันนั้นทีเดียว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าอย่างนั้น ความที่พระอรหัตมีอยู่ เป็นกิจอันพระอรหันต์นั้นไม่ละแล้ว ความนำชีวิตไป ย่อมมีแก่พระอรหันต์ผู้มีธรรมอันถึงทับแล้วด้วยเหตุไรเล่า?"
ถ. "ขอถวายพระพร เพศแห่งคฤหัสถ์บรรลุพระอรหัตในเพศอันไม่เสมอ ย่อมบวชบ้าง ย่อมปรินิพพานบ้าง ในวันนั้นทีเดียว เพราะความที่เพศเป้นของทุรพล; ส่วนนั้นไม่ใช่โทษของพระอรหัต โทษนั้นเป็นโทษของเพศแห่งคฤหัสถ์ เพราะความที่เพศเป็นของทุรพล. เปรียบเหมือนโภชนะเป็นของเลี้ยงอายุของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นของรักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไว้ ย่อมผลาญชีวิตแห่งบุคคล ผู้มีกระเพาะอาหารไม่ปกติ เพราะไม่ช่วยย่อยแห่งไฟเผาอาหารซึ่งอ่อนและทรามกำลัง, โทษนั้นไม่ใช่โทษของโภชนะ โทษนั้นเป็นโทษของกระเพาะ เพราะมีไฟธาตุอ่อนกำลังฉันใด; คฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตในเพศอันไม่เสมอ ย่อมบวชบ้าง ย่อมปรินิพพานบ้าง ในวันนั้นทีเดียว เพราะความทุรพลด้วยเพศ, โทษนั้นไม่ใช่โทษของพระอรหัต โทษนั้นเป็นโทษของเพศแห่งคฤหัสถ์ เพราะความเป็นเพศทุรพล ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนเส้นหญ้าอันน้อย ครั้นเมื่อหินเป็นของหนักอันบุคคลวางไว้ข้างบนแล้ว หญ้านั้นย่อมแหลกตกไป เพราะความที่แห่งหญ้าเป็นของทุรพล ฉันใด, คฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่อาจเพื่อจะทรงพระอรหัตไว้ด้วยเพศนั้น ย่อมบวชบ้าง ย่อมปรินิพพานบ้าง ในวันนั้นทีเดียว ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษไม่มีกำลังเป็นผู้ทุรพล มีชาติอันเลย มีบุญน้อย ได้ราชสมบัติใหญ่ ย่อมตกต่ำเสื่อมถอยโดยขณะไม่อาจเพื่อจะทรงความเป็นอิสระไว้ได้ ฉันใด; คฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่อาจเพื่อจะทรงพระอรหัตไว้ด้วยเพศนั้นได้ ฉันนั้นนั่นเทียวแล, เพราะเหตุนั้น คฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมบวชบ้าง ย่อมปรินิพพานบ้าง ในวันนั้นทีเดียว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. โลมกัสสปปัญหา ๕๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 'เราได้เกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อนทีเดียวได้เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย' ดังนี้. และพระโพธิสัตว์เป็นฤษีชื่อ โลมกัสสป ได้เห็นนางจันทวดีกัญญา ฆ่าสัตว์ทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียว บูชามหายัญชื่อว่าวาชเปยยะ. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'เราเป็นมนุษย์ในกาลก่อนทีเดียว เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้, ถ้ากระนั้น คำว่า 'ฤษีชื่อโลมกัสสป ฆ่าสัตว์ทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียวบูชามหายัญชื่อวาชเปยยะ' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าฤษีชื่อโลมกัสสป ฆ่าสัตว์ทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียว บูชามหายัญชื่อ วาชเปยยะ, ถ้าอย่างนั้น คำทีว่า 'เราเกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อนเทียว ได้เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'เราเกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อนเทียว ได้เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย' ดังนี้, และฤษีชื่อโลมกัสสปฆ่าสัตว์ทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียว บูชามหายัญชื่อวาชเปยยะ; ก็แหละมหายัญนั้นอันฤษีชื่อโลมกัสสปนั้นมีสัญญาวิปลาศแล้ว บูชาแล้วด้วยอำนาจแห่งราคะ จะเป็นผู้มีเจนาเป็นปกติอยู่บูชาแล้วหามิได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บุคคลทั้งหลายแปดเหล่านี้ ย่อมฆ่าสัตว์, บุคคลทั้งหลายแปด เป็นไฉน: บุคคลทั้งหลายแปด คือ บุคคลกำหนัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งราคะ บุคคลอันโทสะประทุษร้านแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งราคะ บุคคลอันโทสะประทุษร้ายแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งโทสะ บุคคลหลงแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ ด้วยอำนาจแห่งโมหะ บุคคลมีมานะ ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งมานะ บุคคลโลภแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งความโลภบุคคลไม่มีทรัพย์น้อยหนึ่ง ย่อมฆ่าสัตว์เพื่อประโยชน์แก่การเลี้ยงชีวิตบุคคลพาลย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งความไม่รู้ เพราะเหตุมีสหายเป็นพาล พระมหากษัตริย์ย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย บุคคลทั้งหลายแปดเหล่านี้ ย่อมฆ่าสัตว์. มหายัญเป็นปกติทีเดียว อันพระโพธิสัตว์ทำแล้ว.
ถ. "ขอถวายพระพร มหายัญโดยปกติทีเดียว อันพระโพธิสัตว์ทำแล้ว หามิได้. ถ้าว่าพระโพธิสัตว์พึงน้อมลงไปโดยความเป็นปกติเพื่อจะบูชามหายัญไซร้, พระโพธิสัตว์ไม่พึงกล่าวคาถาว่า 'เราไม่พึงปรารถนาแผ่นดินซึ่งมีสมุทรเป็นเครื่องล้อม คือ มีทะเลล้อมอยู่รอบ ดุจกุณฑลซึ่งพันไว้ด้วยเถาวัลย์ดำ พร้อมด้วยนินทา, แน่ะสัยหะ ท่านจงรู้อย่างนี้.'
ขอถวายพระพร พระโพธิสัตว์มีวาทะอย่างนี้ พอเห็นนางราชกัญญาชื่อจันทวดี เป็นผู้มีสัญญาผิด มีจิตฟุ้งซ่าน กำหนัดแล้ว, ครั้นมีสัญญาผิดแล้ว เป็นผู้อากูลและอากูล ด่วนและด่วน บูชามหายัญชื่อว่า วาชเปยยะ เป็นที่ฆ่าสัตว์ของเลี้ยงและสั่งสมเลือดในคอใหญ่ด้วยจิตฟุ้งซ่านแล้ว และวิงเวียนแล้ว และมัวเมาแล้วนั้น. เปรียบเหมือนคนบ้า มีจิตฟุ้งซ่านแล้ว เหยียบไฟรุ่งเรืองแล้วบ้าง จับอสรพิษอันกำเริบแล้วบ้าง เข้าไปใกล้ช้างซับมันแล้วบ้าง ไม่เห็นฝั่งแล่นไปสู่สมุทรบ้าง ย่อมขยำคูถบ้าง ย่อมลงบ่อคูถบ้าง ย่อมขึ้นไปสู่ที่มีหนามบ้าง ย่อมโดดในเหวบ้าง ย่อมกินอสุจิบ้าง เป็นคนเปลือยเที่ยวไปกลางถนนบ้าง ย่อมทำกิริยาไม่ควรทำมากอย่าง แม้อื่นบ้างฉันใด; พระโพธิสัตว์พอเห็นนางราชกัญญาชื่อ จันทวดี เป็นผู้มีสัญญาผิด มีจิตฟุ้งซ่าน, ครั้นมีสัญญาผิดแล้วเป็นผู้อากูลและอากูล ด่วนและด่วน, บูชามหายัญชื่อ วาชเปยยะ เป็นที่ฆ่าสัตว์ของเลี้ยงและสั่งสมเลือดในคอใหญ่ ๆ ด้วยจิตฟุ้งซ่านแล้ว และวิงเวียนแล้ว และมัวเมาแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร บาปอันบุคคลมีจิตฟุ้งซ่านแล้ว ทำแล้ว ซึ่งจะเป็นมหาสาวัชชะเป็นไปกับด้วยโทษใหญ่ แม้ในทิฏฐธรรมหามิได้จะเป็นมหาสาวัชชะ แม้โดยวิบากในสัมปรายะก็หาไม่. ในโลกนี้ใคร ๆ เป็นบ้า พึงต้องอาชญาประหารชีวิต บรมบพิตรจะทรงวางอาชญาอะไรแก่เขา?"
ร. "อาชญาอะไร จักพึงมีแกคนบ้าเล่า, พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ายังราชบุรุษทั้งหลายให้โบยแล้วจึงนำคนบ้านั้นออกเสีย, ความให้ราชบุรุษโบยนำออกเสียนั่นแหละ เป็นอาชญาของคนบ้านั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้พระราชอาชญา เพราะความผิดของคนบ้าไม่มี, เพราะเหตุนั้น เมื่อความผิดอันคนบ้าแม้ทำแล้ว ย่อมไม่มีโทษ คนบ้าเป็นสเตกิจโฉ. ฤษีชื่อโลมกัสสปมีสัญญาผิด มีจิตฟุ้งซ่านแล้ว กำหนัดแล้ว พร้อมด้วยการเห็นนางราชกัญญาชื่อ จันทวดี, ครั้นเป็นผู้มีสัญญาผิดแล้ว มีความกระสับกระส่ายฟุ้งซ่านแล้ว อากูลและอากูล ด่วนและด่วน บูชามหายัญชื่อ วาชเปยยะ เป็นที่ฆ่าสัตว์ของเลี้ยงและสั่งสมเลือดในคอใหญ่ ๆ ด้วยจิตฟุ้งซ่าน และวิงเวียนแล้ว และมัวเมาแล้วนั้น. ก็และพระโพธิสัตว์นั้นมีจิตเป็นปกติกลับได้สติในกาลใด, บวชแล้วอีก ยังอภิญญาทั้งหลายห้าให้เกิดแล้วเป็นผู้เข้าไปสู่พรหมโลกนั่นเทียว ในกาลนั้น."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๕. ฉันททันตโชติปาลอารัพภปัญหา ๕๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'พญาฉัททันต์คชสารจับนายพรานได้ด้วยคิดว่าเราจักฆ่ามันเสีย ได้เห็นผ้ากาสาวะเป็นธงของฤษีทั้งหลายแล้ว สัญญาได้เกิดขึ้นแล้วแก่พญาคชสารอันทุกข์ถูกต้องแล้วว่า ธงพระอรหันต์มีรูปแห่งบุคคลอันสัตบุรุษทั้งหลายไม่พึงฆ่า' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'มาณพชื่อโชติปาละ ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป ด้วยวาจาทั้งหลายอันหยาบเป็นของแห่งอสัตบุรุษโดยวาทะว่า คนโล้น โดยวาทะว่า สมณะ' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระโพธิสัตว์เป็นดิรัจฉานยังบูชาผ้ากาสาวะยิ่ง, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'โชติปาละมาณพ ด่าบริภาษ พระผุ้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ด้วยวาจาทั้งหลายอันหยาบ เป็นของแห่งอสัตบุรุษโดยวาทะว่า คนโล้น โดยวาทะว่า สมณะ' ดังนี้ นั้นเ ป็นผิด. ถ้าว่า โชติปาละมาณพ ด่าบริภาษ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ด้วยวาจาทั้งหลายอันหยาบ เป็นของแห่งอสัตบุรุษ โดยวาทะว่า คนโล้น โดยวาทะว่า สมณะ, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ผ้ากาสาวะอันพญาฉัททันต์คชสารบูชาแล้ว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ถ้าว่า พระโพธิสัตว์เป็นสัตว์ดิรัจฉานเสวยเวทนาอันหยาบคายเผ็ดร้อนอยู่ ยังบูชาผ้ากาสาวะที่นายพรานนุ่งแล้ว, พระโพธิสัตว์เป็นมนุษย์มีญาณแก่กล้ามีปัญญาเครื่องตรัสรู้แก่กล้าแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป ผู้ทรงทศพลญาณเป็นอัครอาจารย์ในโลก มีแสงสว่างมีวาหนึ่งเป็นประมาณ รุ่งเรืองแล้ว ผู้บวรสูงสุด ทรงคลุมแล้วซึ่งผ้ากาสาวะอันงามประเสริฐแล้ว ทำไมจึงไม่บูชาเล่า? ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'พญาฉัททันต์
คชสารจับนายพรานได้ คิดว่า เราจักฆ่ามันเสีย ได้เห็นผ้ากาสาวะเป็นธงของฤษีทั้งหลายแล้ว สัญญาได้เกิดขึ้นแล้วแก่พญาฉัททันต์คชสาร อันทุกข์ถูกต้องแล้วว่า ธงของพระอรหันต์ มีรูปแห่งบุคคลอันสัตบุรุษทั้งหลายไม่พึงฆ่า" ดังนี้.
อนึ่ง มาณพชื่อโชติปาละ ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป ด้วยวาจาทั้งหลายอันหยาบเป็นของแห่งอสัตบุรุษ โดยวาทะว่า คนโล้น โดยวาทะว่า สมณะ. ความด่าและบริภาษนั้นเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งชาติและตระกูล. โชติปาละมาณพ เกิดแล้วในตระกูกลไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสแล้ว, มารดาและบิดาทั้งหลาย พี่น้องหญิงและพี่น้องชายทั้งหลาย ทาสีและทาสและเด็กและมนุษย์บริวารทั้งหลาย แห่งโชติปาละมาณพนั้น มีพรหมเป็นเทวดา เป็นผู้หนักในพรหมเป็นผู้เคารพต่อพรหม, ชนทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้นเหล่านั้น คิดว่า 'พราหมณ์ทั้งหลายอย่างเดียว เป็นผู้สูงสุด ประเสริฐ' ดังนี้ ติเตียนเกลียดบรรพชิตทั้งหลาย นอกจากพราหมณ์. โชติปาละมาณพ ฟังคำนั้นของชนทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้นเหล่านั้น อันนายช่างหม้อชื่อฆฎีการเรียกมาแล้ว เพื่อจะเผ้าพระศาสดา จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า 'ประโยชน์อะไรของท่านด้วยสมณะโล้นอ้นท่านเห็นแล้วเล่า?'
พระถวายพระพร อมฤตรสมากระทบพิษแล้วกลายเป็นของขมฉันใด, อนึ่ง น้ำเย็นมากระทบไฟกลายเป็นน้ำร้อน ฉันใด, โชติปาละมาณพเกิดในตระกูลไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสแล้ว, โชติปาละมาณพนั้นเป็นผู้มืดแล้วด้วยอำนาจตระกูลและชาติ จึงด่าแล้ว บริภาษแล้ว ซึ่งพระตถาคต ฉันนั้นนั่นแล. กองแห่งไฟใหญ่รุ่งเรืองแล้ว ชัชวาลแล้วเป็นไปกับด้วยแสงสว่าง มากระทบน้ำแล้วมีแสงสว่างและเตโชธาตุอันน้ำนั้นเข้าไปขจัดแล้ว เป็นของเย็น เป็นของดำ ย่อมเป็นของเช่นกับด้วยผลย่างทรายอันสุกงอมแล้ว ฉันใด, โชติปาละมาณพเป็นผู้มีบุญ มีศรัทธา มีแสงสว่าง อันไพบูลย์ด้วยญาณ เกิดแล้วในตระกูลไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสแล้ว, โชติปาละมาณพนั้น เป็นคนบอดด้วยอำนาจแห่งตระกูล ด่าบริภาษพระตถาคตแล้ว, ครั้นเข้าไปใกล้พระตถาคตแล้ว รู้ทั่วถึงซึ่งคุณแห่งพระพุทธเจ้า เป็นผู้ราวกะเด็กบวชแล้วในพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า ยังอภิญญาทั้งหลายด้วย สมาบัติทั้งหลายด้วย ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้เป็นผู้เข้าไปสู่พรหมโลกแล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ร่วมเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารวัดป่าเมตตาปัญญาพุทธคุณ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
โทร. 082-4964261


เนื่องด้วยวัดมงคลโคธาวาส มีวัตถุประสงค์จะบูรณะอุโบสถ จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา...
http://www.luangporpan.com/



เชิญรวมทำบุญวางศิลาฤกษ์มณฆปเจดีย์วิหารหลวงพ่อศุข
วันที่ 12 สิงหาคม 2555 เวลา 08.00-11.00 น
องค์ประธานว่างศิลาฤกษ์
พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงพ่อนัย พระครูสถิตบวรธรรม
วัดป่าบ้านหนองฮาง
http://www.wbml.org/web2555/



ขอเชิญร่่่วมสั่งสมบุญเป็นเจ้าภาพอาสนะสำหรับปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
โทร.0810234935


12 ส.ค.ร่วมเป็นเจ้าภาพหล่อพระพุทธชินสีห์ พระสุก พระใส หล่อพระ 3 องค์ในงานเดียว
085-118-3675


ขอเชิญร่วมสร้างเสนาสนะให้กับที่พักสงฆ์ในชนบท
084-418-1428


ด่วน!!!ขอเชิิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหาจุลกฐิน ปี๕๕ เททองสร้างหลวงปู่สมเด็จโต
๐๘ ๒๓๕๘ ๕๖๐๙


ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ สมเด็จองค์ปฐม ๔ ศอก และ ๘ ศอก
โทร. 084 977 3339


เชิญร่วมทอดกฐินสร้างพระพุทธเมตตา ประดิษฐาน ณ อุโบสถทรงเจดีย์พุทธคยา(จำลอง) www.watnonggai.com
081-7656469



23 กองบุญ ถวาย 3 พระอริยเจ้า
083-1260937


เชิญร่วมทำบุญผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กอง วัดกู่แก้วดอนเรือง
อ.ลี้ จ.ลำพูน วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕



ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๕๕ ณ วัดพระธาตุแสงรุ้ง
โทร ๐๘๐-๗๙๑-๕๔๘๒


ร่วมสร้างพระมหาเจดีย์
http://www.watthamsaengdham.com/



ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

ณ วัดยานนาวา สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑ ของกรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ที่ 24-25-26 สิงหาคม 2555

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณปวริศา 089-1645733 พระครูโกศลวิบูลกิจ 084-1342837



ขอเชิญร่วมบุญปกป้องเครือข่ายวิทยุเสียงธรรมของหลวงตามหาบัว
http://www.luangta.com/


กราบหลวงปู่สุภา กันตสีโล หรือร่วมทำบุญกับหลวงปู่
0862279555


ขอเชิญร่วมถวายสังฆทานและเจริญกรรมฐานกับพระอาจาย์สิงห์วัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่
รัตนา084-640-1363

ขอเชิญฟังบรรยายธรรมจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ขอเชิญฟังบรรยายธรรมจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ในวันพุธที่ 15 สิงหาคม 2555 เวลา 12.00 - 13.30 น. ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่ 08 1517 4400


เนื่องจากทางวัดภูปะปัง ซึ่งเป้นวัดที่หลวงปู่อาจ อาทิโตท่านจำวัดอยู่นั้น ต้องการที่จะบูรณะศาลาจึงมีความต้องการปัจจัยในการจัดหาวัสดุมาต่อเติมและซ่อมแซม


ร่วมเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์ เลี้ยงลูกสุกรป่า จำนวน 100 ตัว
ลูกหมูป่าหาผู้อุปการะนำไปเลี้ยงดูหรือร่วมบริจาค ค่ายา ค่าอาหาร

ติดต่อ พระสมุห์วิชัย วิชโย 081-557-5257



ร่วมด้วยช่วยกันสร้างกระท่อมให้เด็กยากไร้ในชนบท
ธนาคารกรุงไทย สาขา ถนนเพชรเจริญ เพชรบูรณ์
เลขที่ 643-0-23054-6
ชื่อ พระจักรี อตฺตทนฺโต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2012, 13:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2012, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ฆฏีการปัญหาที่ ๕๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการ ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา ตั้งอยู่แล้วตลอดไตรมาสทั้งปวง และฝนไม่รั่วได้' ดังนี้. และทรงภาสิตแล้วอีกว่า 'กุฎีของพระตถาคตทรงพระนามว่ากัสสป ฝนรั่วได้.' พระผู้เป็นเจ้านาคเสนกุฎีของพระตถาคตผู้มีกุศลมูลอันหนาขึ้นแล้วอย่างนี้ รั่วได้ เพื่อเหตุอะไร? ธรรมดาอานุภาพของพระตถาคตอันบัณฑิตพึงปรารถนา. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าโรงของนางช่างหม้อชื่อฆฏีการอันฝนรั่วไม่ได้ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา ตั้งอยู่แล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'กุฎีของพระตถาคตอันฝนรั่วได้' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่ากุฎีของพระ
ตถาคตอันฝนรั่วได้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการอันฝนรั่วไม่ได้ มีอากาศเป็นหลังคา' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
ถ. ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการ ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา ตั้งอยู่แล้วตลอดไตรมาสทั้งหวง และฝนได้รั่วได้' ดังนี้. และทรงภาสิตแล้วอีกว่า 'กุฎีของพระตถาคตทรงพระนามว่า กัสสปฝนรั่วได้' ดังนี้.
ขอถวายพระพร นายช่างหม้อชื่อฆฏีการเป็นคนมีศีล มีธรรมอันงาม มีกุศลมูลอันหนาหนักแล้ว เลี้ยงมารดาและบิดาทั้งหลายแก่แล้ว เป็นผู้บอดอยู่, ชนทั้งหลายไม่บอกกล่าวแล้วเทียว นำหญ้าในเรือนของนายช่างหม้อนั้น ลับหลังของนายช่างหม้อไปมุงกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, นายช่างหม้อชื่อฆฏีการนั้น กลับได้ปีติอันไม่หวั่นไหวแล้ว ไม่เขยื้อนแล้ว ตั้งมั่นด้วยดีแล้ว ไพบูลย์แล้ว ไม่มีวัตถุอันใดเสมอ เพราะอันนำหญ้านั้นไป และยังโสมนัสยิ่งอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ให้เกิดขึ้นแล้วว่า 'โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เป็นผู้สูงสุดในโลก เป็นผู้คุ้นเคยด้วยดีแล้ว' ดังนี้ เพราะเหตุนั้น วิบากเป็นไปในทิฏฐธรรมเกิดขึ้นแล้ว แก่นายช่างหม้อชื่อฆฏีการนั้น. พระตถาคตย่อมไม่หวั่นไหว เพราะวิการเท่านั้นเลย. พญาเขาชื่อสิเนรุ ย่อมไม่หวั่นไหวไม่กระเทือน เพราะลมมีแสนมิใช่แสนเดียวประหารบ้าง, สาครอันบวรประเสริฐทรงน้ำใหญ่ไว้ ย่อมไม่เต็ม ย่อมไม่วิการ แม้ด้วยแสนแห่งคงคาใหญ่ มีร้อนแห่งนหุตมิใช่ร้อยเดียว ฉันใด; พระตถาคตย่อมไม่เขยื้อนเพราะวิการมีประมาณเท่านั้น ฉันนั้นนั่นเทียว. กุฎีของพระตถาคตอันฝนรั่วได้ ด้วยเหตุใด เหตุนั้นเป็นไปแล้ว ด้วยความไหวตามแก่หมู่แห่งชนใหญ่. พระตถาคตทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นอำนาจแห่งประโยชน์ทั้งหลายสองเหล่านี้ ไม่ส้องเสพปัจจัยที่พระองค์นิรมิตแล้วเอง ด้วยทรงดำริว่า 'พระศาสดานี้เป็นทักขิเณยยบุคคลอันเลิศ' ดังนี้ เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายถวายแล้วซึ่งปัจจัยแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพ้นจากทุคติทั้งปวง; บุคคลทั้งหลายอื่นอย่าพึงติเตียนว่า 'พระตถาคตทั้งหลายแสดงปาฏิหาริย์ แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพ' ดังนี้. พระตถาคตทั้งหลายทรงพิจารณาเห็นอำนาจแห่งประโยชน์สองประการเหล่านี้ ย่อมไม่ส้องเสพปัจจัยที่พระองค์นิรมิตแล้วเอง. ถ้าว่า ท้าวสักกะหรือพรหมหรือพระองค์เอง พึงกระทำกุฎีนั้นให้ฝนรั่วไม่ได้ เหตุนั้นเป็นสาวัชชะเป็นไปกับโทษอันบุคคลพึงเว้น เหตุนั้นนั่นแล เป็นไปกับด้วยโทษ เป็นไปกับด้วยนิคคหะว่า 'พระตถาคตทั้งหลาย กระทำกรรมอันหยาบยังโลกให้หลงพร้อม ย่อมกระทำกรรมอันบุคคลกระทำยิ่งแล้ว.' เพราะเหตุนั้น เหตุนั้นอันพระตถาคตทั้งหลายพึงเว้น. พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ขอพัสดุ. พระตถาคตทั้งหลายย่อมเป็นบุคคลไม่ควรบริภาษเพราะไม่ขอพัสดุนั้น."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. ภควโต ราชปัญหา ๕๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ควรเพื่อยาจกจะพึงขอ' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อน เสละ เราเป็นพระราชา' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อน เสละ เราเป็นพระราชา' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่า พระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ดูก่อน เสละ เราเป็นพระราชา' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ก็พระตถาคตพึงเป็นกษัตริย์บ้าง พึงเป็นพราหมณ์บ้าง, ในชาติเดียวเป็นได้สองวรรณะ ย่อมไม่มี. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อน เสละ เราเป็นพระราชา' ดังนี้. พระตถาคตเป็นพราหมณ์ด้วย เป็นพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะเหตุไร เหตุในข้อนั้นมีอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตเป็นพราหมณ์ด้วย เป็นพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะเหตุไร? เหตุนั้นเป็นอย่างไรเล่า?"
ถ. "ขอถวายพระพร ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศลทั้งปวง อันพระตถาคตลอยเสียแล้ว ละเสียแล้ว ไปปราศแล้ว ถึงความฉิบหายแล้ว อันพระตถาคตเลิกถอนแล้ว สิ้นไปแล้ว ถึงความสิ้นไปแล้ว ดับไปแล้ว เข้าไประงับแล้ว, เพราะฉะนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่า เป็นพราหมณ์. ธรรมดาว่าพราหมณ์ ล่วงแล้วซึ่งทางแห่งความสงสัย เป็นความสงสัยมีส่วนมิใช่อันเดียว, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงแล้วซึ่งความสงสัย ทางแห่งความสงสัยมีส่วนมิใช่อันเดียว, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. ธรรมดาว่าพราหมณ์ ออกแล้วจากภพและคติและกำเนิดทั้งปวง พ้นวิเศษแล้วจากมลทินและละออง เป็นผู้ไม่มีสหาย, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ออกไปแล้วจากภพและคติและกำเนิดทั้งปวงพ้นวิเศษแล้วจากมลทินและละออง คือ กิเลส เป็นผู้ไม่มีสหาย, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. ธรรมดาว่าพราหมณ์เป็นผู้เลิศประเสริฐสุด น่าเลือกสรร บวร มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ดังทิพย์มาก, แม้พระมีพระภาคเจ้าเป็นผู้เลิศประเสริฐสุด น่าเลือกสรร บวร มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ดังทิพย์มาก, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. ธรรมดาว่าพราหมณ์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความเรียน และให้ผู้อื่นเรียน และการให้ และการรับ และความทรมาน และความสำรวม และความนิยม และความสั่งสอนมีแต่ปางก่อน และประเวณีในวงศ์, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความเรียน และให้ผู้อื่นเรียน และการให้ และการรับ และความทรมาน และความสำรวม และความนิยม และความสั่งสอน และประเวณีในวงศ์ เป็นอาจิณของพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ธรรมดาว่าพราหมณ์เป็นผู้เพ่งด้วยสุขวิหารอันประเสริฐและฌาน, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เพ่งด้วยสุขวิหารอันประเสริฐและฌาน, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์. ธรรมดาว่าพราหมณ์ย่อมรู้ความเป็นไปแห่งอภิชาติและความเที่ยวไปเนือง ๆ ในภพน้อยและภพใหญ่ และคติทั้งปวง, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมรู้ความเป็นไปแห่งอภิชาติ และความท่องไปเนือง ๆ ในภพน้อยและภพใหญ่ และคติทั้งปวง. แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์.
ขอถวายพระพร ชื่อว่าพราหมณ์ ดังนี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่น ไม่ใช่พระนามอันมารดากระทำ ไม่ใช่พระนามอันบิดากระทำ ไม่ใช่พระนามอันพี่น้องชายกระทำ มิใช่พระนามอันพี่น้องหญิงกระทำ มิใช่พระนามอันมิตรและอมาตย์ทั้งหลายกระทำ มิใช่พระนามอันญาติสาโลหิตกระทำ มิใช่พระนามอันสมณะและ
พราหมณ์ทั้งหลายกระทำ ไม่ใช่พระนามอันเทวดาทั้งหลายกระทำแล้ว. พระนามนั้นมีในที่สุดแห่งวิโมกข์ เป็นพระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว, พระนามว่า พราหมณ์ ดังนี้ นั้นเป็นสัจฉิกาบัญญัติเพราะเหตุมาตรว่าได้เฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว พร้อมด้วยอันขจัดมารและเสนาแห่งมาร ลอยแล้วซึ่งธรรมทั้งหลายเป็นบาปเป็นอกุศล เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ได้เฉพาะสัพพัญญุตญาณที่โคนแห่งไม้โพธิทีเดียว. เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพราหมณ์."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคต อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นพระราชา เพราะเหตุไรเล่า?"
ถ. "ขอถวายพระพร บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งให้ทำความเป็นพระราชาสั่งสอนโลก บุคคลผู้นั้นชื่อพระราชา, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทำความเป็นพระราชาโดยธรรมในหมื่นแห่งโลกธาตุ สั่งสอนโลกกับทั้งเทวดากับทั้งมารกับทั้งพรหม หมู่สัตว์กับทั้งสมณะและพราหมณ์, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าพระราชา. ธรรมเนียมพระราชา ย่อมครอบงำหมู่ชนและมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ยังหมู่แห่งญาติให้เพลิดเพลิน ยังหมู่แห่งบุคคลมิใช่มิตรให้โศกเศร้ายกขึ้นซึ่งเศวตฉัตรอันขาวปราศจากมลทิน มีคันเป็นสาระมั่น ประดับแล้วด้วยร้อยแห่งซี่ไม่พร่อง นำไปซึ่งยศและสิริใหญ่ ๆ, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมารและเสนาแห่งมาร ผู้ปฏิบัติผิดแล้วให้โศกเศร้า ยังเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบแล้วให้เพลิดเพลิน ยกเศวตฉัตรอันขาวและปราศจากมลทิน คือ วิมุตติเลิศประเสริฐ มีคันเป็นสาระมั่น คือ ขันตี ประดับแล้วด้วยซี่ร้อยหนึ่ง คือ ญาณอันประเสริฐ นำยศและสิริใหญ่ๆ ในหมื่นแห่งโลกธาตุ, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าพระราชา. ธรรมเนียมพระราชาต้องเป็นที่ควรถวายบังคมของชนผู้เข้าไปใกล้แล้ว และถึงพร้อมแล้วทั้งหลายมาก, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรไหว้ยิ่งของเทพดาและมนุษย์ผู้เข้าไปใกล้แล้ว และถึงพร้อมแล้วทั้งหลายมาก, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าว่าพระราชา. ธรรมเนียมพระราชาเลื่อมใสแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งทำให้พอพระหฤทัย จึงพระราชทานพร อันบุคคลนั้นปรารถนาแล้ว ให้เอิบอิ่มตามประสงค์, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเลื่อมใสแล้วแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งให้ทรงยินดีด้วยกายด้วยวาจาด้วยใจ ประทานความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เป็นพระไม่มีพรอื่นจะยิ่งกว่าอันบุคคลนั้นปรารถนาแล้ว ให้เอิบอิ่มตามความใคร่อันประเสริฐไม่เหลือ, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าพระราชา. ธรรมเนียมพระราชาย่อมติเตียนบุคคลล่วงพระอาณาให้เสื่อม ย่อมกำจัดผู้ล่วงซึ่งอาญานั้น, ผู้ล่วงอาณาในศาสนาอันประเสริฐ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้อันบัณฑิตดูหมิ่นดูแคลนแล้ว ติเตียนแล้วโดยความเป็นอลัชชี และเป็นผู้เก้อ เว้นไปจากศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว, แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าพระราชา. อนึ่ง ธรรมเนียมพระราชา แสดงธรรมและอธรรมด้วยความสั่งสอน ประเวณีของพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย ผู้สถิตในธรรมแต่ปางก่อนแล้ว จึงให้กระทำความเป็นพระราชาโดยธรรม อันชนและมนุษย์ทั้งหลายทะเยอทะยานรักใคร่ ปรารถนาแล้วย่อมสถาปนาวงศ์แห่งตระกูลของพระราชาไว้ยืนนาน ด้วยกำลังแห่งคุณแห่งธรรม, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมและอธรรมด้วยพร่ำสั่งสอน ประเวณีของสยัมภูพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนเมื่อสั่งสอนโลกโดยธรรม อันเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายทะเยอทะยานรักใคร่ปรารถนาแล้ว ยังศาสนาให้เป็นไปสิ้นกาลนาน ด้วยกำลังแห่งคุณแห่งธรรม แม้เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอัน
บัณฑิตย่อมกล่าวว่าพระราชา. พระตถาคตพึงเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นพระราชาบ้าง ด้วยเหตุใด เหตุนั้น มีประการมิใช่อย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุผู้ฉลาดด้วยดี แม้จะพรรณนาไปตลอดกัลป์หนึ่ง พึงยังเหตุนั้นให้ถึงพร้อม คือให้จบไม่ได้, ประโยชน์อะไรด้วยกล่าวเหตุมากเกินบรมบพิตรพึงรับเหตุที่อาตมภาพย่อพอสมควร."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๘. ทวินนัง พุทธานัง โลเก นุปปัชชนปัญหา ๕๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์ พึงเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกันในโลกธาตุอันเดียว ด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่ใช่เป็นที่ตั้งไม่ใช่โอกาส เหตุนั้นอันบุคคลย่อมไม่ได้."
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตทั้งหลายแม้ทั้งปวง แม้เมื่อทรงแสดง ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลาย มีในฝักฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้สามสิบเจ็ด ก็เมื่อตรัส ย่อมตรัสอริยสัจทั้งหลายสี่ ก็เมื่อให้ศึกษาย่อมให้ศึกษาในสิกขาทั้งหลายสาม ก็เมื่อพร่ำสอน ย่อมพร่ำสอนเพื่อความปฏิบัติในความไม่ประมาท.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าเทศนาของพระตถาคตทั้งหลายแม้ทั้งปวงอย่างเดียวกัน กถาก็อย่างเดียวกัน สิกขาก็อย่างเดียวกัน ความพร่ำสอนก็อย่างเดียวกัน พระตถาคตทั้งหลายสองพระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน, เพราะเหตุไร พระตถาคตสององค์จึงไม่เกิดในคราวเดียวกันเล่า? โลกนี้มีแสงสว่างเกิดแล้ว ด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียวก่อน, ถ้าว่าพระพุทธเจ้าที่สองพึงมี โลกนี้พึงมีแสงสว่างเกิดแล้วเกินประมาณ ด้วยแสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสอง, และพระตถาคตทั้งหลายสอง เมื่อจะกล่าวสอน พึงกล่าวสอนง่าย. เมื่อจะพร่ำสอน พึงพร่ำสอนง่าย. พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า ๆ พึงสิ้นความสงสัยอย่างไรเล่า?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงพระพุทธเจ้าไว้ได้แต่พระองค์เดียว ย่อมทรงคุณของพระตถาคตไว้ได้แต่พระองค์เดียว; ถ้าว่าพระพุทธเจ้าที่สอง พึงเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ พึงทรงไว้มิได้ พึงเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอนไป พึงทรุดลง พึงกวัดแกว่ง พึ่งเรี่ยราย พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
เปรียบเหมือนเรือที่ข้ามได้แต่คนเดียว ครั้นเมื่อบุรุษคนเดียวขึ้นแล้วพอดี, ถ้าว่าบุรุษที่สองพึงมาไซร้ เป็นผู้เช่นนั้นโดยอายุ และวรรณ และวัยและประมาณ โดยอวัยวะใหญ่น้อยผอมและอ้วน, บุรุษนั้นพึงขึ้นสูเรือนั้น, เรือนั้นจะพึงทรงกายของบุรุษทั้งสองไว้ได้หรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า เรือนั้นพึงเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอียง พึงเพียบลง พึงกวัดแกว่ง พึงเรี่ยราย พึงกระจัดกระจาย เข้าถึงความคงอยู่ไม่ได้ พึงจมลงในน้ำ."
ถ. "ขอถวายพระพร เรือนั้นพึงทรงบุรุษสองคนไว้ไม่ได้ จมลงในน้ำ ฉันใด, หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ได้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตไว้ได้แต่พระองค์เดียว ถ้าพระพุทธเจ้าที่สอง พึงเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ พึงทรงไว้ไม่ได้ พึงเขยื้อนและหวั่นไหวและเอนและทรุดลงและกวัดแกว่ง และเรี่ยราย และกระจัดกระจายไป พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ พึงบริโภคโภชนะตามต้องการเพียงไร บุรุษนั้นยังโภชนะที่ชอบใจให้เต็มยิ่งเพียงคอ อิ่มแล้วชุ่มแล้วบริบูรณ์แล้วไม่มีระหว่าง เป็นผู้แข็งดังไม้เท้าก้มไม่ลง พึงบริโภคโภชนะเท่านั้นอีกนั่นเทียว, บุรุษนั้นพึงมีสุขบ้างหรือหนอ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า บุรุษนั้นพึงบริโภคคราวเดียวเทียวตาย"
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนี้ ฉันใด, หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงพระพุทธเจ้าไว้ได้แต่พระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตไว้ได้แต่พระองค์เดียว, ถ้าพระพุทธเจ้าที่สอง พึงเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ พึงทรงไว้ไม่ได้ พึงเขยื้อนหวั่นไหว เอนทรุดลง และกวัดแกว่งเรี่ยรายกระจัดกระจาย เข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเทียว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แผ่นดินย่อมเขยื้อนด้วยหนักธรรมเกินหรือหนอแล?"
ถ. "ขอถวายพระพร เกวียนทั้งหลายสอง เต็มแล้วด้วยรัตนะเสมอขอบ, บุคคลทั้งหลายขนรัตนะแต่เกวียนเล่มหนึ่ง บรรทุกในเกวียนเล่มหนึ่ง, เกวียนนั้นพึงทรงรัตนะแห่งเกวียนทั้งหลาย แม้สองได้หรือไม่?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า แม้ดุมของเกวียนนั้นพึงแยก แม้กำทั้งหลายของเกวียนนั่นพึงทำลาย แม้กงของเวียนนั้นพึงตกลง แม้เพลาของเกวียนนั้นพึงทำลาย."
ถ. "ขอถวายพระพร เกวียนย่อมทำลายด้วยหนักรัตนะเกินหรือหนอแล?"
ร. "อย่างนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร เกวียนย่อมทำลายด้วยหนักรัตนะเกินฉันใด, แผ่นดินย่อมเขยื้อนด้วยหนักธรรมเกิน ฉันนั้นนั่นเทียว. เออก็เหตุนี้อันอาตมภาพสวดแล้ว เพื่อจะแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะอันเดียวกัน ด้วยเหตุใด บรมบพิตรจงฟังเหตุนั้นอย่างอื่นซึ่งมีรูปยิ่งยิ่งในข้อนั้น.
ขอถวายพระพร ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสององค์ พึงเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน, ความวิวาทพึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นว่า 'พระพุทธเจ้าของท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย' ดังนี้ บริษัททั้งหลายพึงเกิดเป็นสองฝ่าย. เปรียบเหมือนความวิวาท พึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของมหาอมาตย์สองคนผู้มีกำลังว่า 'อมาตย์ของท่านทั้งหลาย อมาตย์ของเราทั้งหลาย' ดังนี้ บริษัทย่อมเกิดเป็นสองฝ่าย ฉันใด; ถ้าว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึงเกิดขึ้นในขณะอันเดียวกัน ความวิวาทพึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นว่า 'พระพุทธเจ้าของท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย' ดังนี้ บริษัททั้งหลายพึงเป็นสองฝ่ายเกิดขึ้น. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ความเกิดวิวาทนี้เป็นเหตุนั้น อันหนึ่งก่อน. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุนั้น แม้อื่นอีกยิ่งขึ้นไป: ถ้าว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์พึงเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน, คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าผู้เลิศ' ดังนี้ นั้นพึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุด' นั้นพึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุด' นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าผู้วิเศษ' นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าเป็นสูงสุด' นั้น' พึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าผู้บวรนั้น' พึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีใครเสมอ' ดังนี้ นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าไม่มีใครเสมอ' ดังนี้ นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีใครเปรียบ' นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีส่วนเปรียบ' นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีส่วนเปรียบ' นั้นพึงเป็นคำผิด. คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีบุคคลเปรียบ' นั้นพึงเป็นคำผิด. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสองพระองค์ ไม่เกิดขึ้นในขณะอันเดียวกันด้วยเหตุใด บรมบพิตรจงรับเหตุนี้และว่าเป็นเหตุนั้นโดยเนื้อความก่อน. ก็แหละพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในโลกอันใด ความที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้วองค์เดียวนั้น เป็นปกติโดยสภาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว, เพราะเหตุไร? ความที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้วองค์เดียวนั้น เป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความที่คุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญูเป็นของใหญ่.
ขอถวายพระพร สิ่งใดแม้อื่นเป็นของใหญ่ในโลก สิ่งนั้นเป็นของอสันเดียวเท่านั้น: แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั่นแผ่นเดียวเท่านั้น;สาครเป็นของใหญ่ สาครนั้นย่อมเป็นสาครเดียวเท่านั้น; พญาเขาสิเนารุเป็นของใหญ่ พญาเขาสิเนรุนั้นลูกเดียวเท่านั้น; อากาศเป็นของใหญ่ อากาศนั้นอากาศเดียวเท่านั้น; ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ ท้าวสักกะนั้นผู้เดียวเท่านั้น; มารผู้เป็นใหญ่ มารนั้นผู้เดียวเท่านั้น;มหาพรหมผู้เป็นใหญ่ มหาพรหมนั้นผู้เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ใหญ่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นองค์เดียวเท่านั้นในโลก แผ่นดินเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในโลกใด โอกาสของแผ่นดินเป็นต้นอื่น ในโลกนั้นย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวนั่นเทียว ย่อมเกิดขึ้นในโลก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว ด้วยเหตุทั้งหลายเครื่องอุปมา, แม้บุคลไม่ฉลาดได้ฟังข้อแก้ปัญหานั้น พึงชอบใจ, จะป่วยกล่าวอะไรเล่า บุคคลผู้มีปัญญาใหญ่หลวง เช่นข้าพเจ้าจักไม่ชอบใจ; ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. คิหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติปัญหา ๕๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาค แม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ ของคฤหัสถ์บ้าง ของบรรพชิตบ้าง, ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้วเป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ มีสัมมาปฏิบัติเป็นเหตุ' ดังนี้.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าคฤหัสถ์นุ่งขาวบริโภคกามครอบครองที่เป็นที่นอน มีความคับแคบด้วยลูกและเมีย เสวยอยู่ซึ่งจันทน์ในเมืองกาสี ทรงระเบียบและของหอมและเครื่องลูบไล้อยู่ ยินดีเงินและทองอยู่ ผูกเกล้าอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ ปฏิบัติชอบแล้ว ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์, แม้บรรพชิตเป็นผู้โล้น นุ่งผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยน้ำฝาด เข้าอาศัยบิณฑาหารแห่งบุคคลอื่น ผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลขันธ์ทั้งหลายสี่โดยชอบ สมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายร้อยห้าสิบ ประพฤติอยู่ในธุดงคคุณทั้งหลายสิบสามไม่เหลือปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์.
พระผู้เป็นเจ้า ในข้อนั้นใครจะวิเศษกว่ากัน คฤหัสถ์หรือบรรพชิตกรรม คือ ความเพียร ย่อมเป็นของไม่มีผล บรรพชาไม่มีผล ความรักษาสิกขาบทเป็นหมัน ความสมาทานคุณธรรมกำจัดกิเลสเป็นของเปล่า;ประโยชน์อะไรด้วยความประพฤติตามเป็นทุกข์ในบรรพชานั้นสุขอันบุคคลพึงได้โดยง่ายทีเดียวไม่ใช่หรือ?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ ของคฤหัสถ์บ้าง ของบรรพชิตบ้าง, คฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ มีสัมมาปฏิบัติเป็นเหตุ.' ข้อนั้นสมอย่างนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วทีเดียว เป็นผู้ประเสริฐสุด. แม้บรรพชิตมาคิดเสียว่า 'เราเป็นบรรพชิต' ดังนี้แล้ว ไม่พึงปฏิบัติโดยชอบ, บรรพชิตนั้นเป็นผู้ห่างเหินจากความเป็นสมณะเทียว เป็นผู้ห่างเหินจากความเป็นพราหมณ์เทียว;จะป่วยกล่าวอะไรถึงคฤหัสถ์ที่นุ่งผ้าขาว. แม้คฤหัสถ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ได้ แม้บรรพชิตเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมเป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ได้. เออก็ บรรพชิตเทียว เป็นอิสระ เป็นอธิบดีของสามัญ, บรรพชามีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ คุณของบรรพชาอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้.
เปรียบเหมือนราคาของแก้วมณี ซึ่งให้ความสมประสงค์อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณด้วยทรัพย์ได้ว่า 'มูลค่าของแก้วมณีมีประมาณเท่านี้ ๆ' ดังนี้ ฉันใด; บรรพชามีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ คุณของบรรพชาอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้ ฉันนั้น.
อีกประการหนึ่ง เปรียบด้วยคลื่นในมหาสมุทร อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณว่า 'คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทรเท่านี้' ดังนี้ ฉันใด; บรรพชามีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ คุณทั้งหลายของบรรพชาอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้ ฉันนั้น. กิจอันใดอันหนึ่งของบรรพชิต ที่บรรพชิตจำต้องกระทำ กิจทั้งปวงนั้นย่อมสำเร็จฉับพลันไม่ช้า; ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? บรรพชิตมีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้วิเวกแล้ว เป็นผู้ไม่คลุกคลีแล้ว เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาลัย เป็นผู้ไม่มีเรือนเป็นที่กำหนด มีศีลบริบูรณ์แล้ว มีอาจาระเป็นไปเพื่อสัลเลข เป็นผู้ฉลาดในความปฏิบัติกำจัดกิเลส; เพราะเหตุนั้น กิจอันใดอันหนึ่งของบรรพชิต ที่บรรพชิตจะต้องกระทำ กิจทั้งปวงนั้น ย่อมสำเร็จฉับพลันไม่ช้า. เปรียบเหมือนลูกศรที่ไม่มีปมเรียบขัดดีแล้ว ตรง ปราศมลทิน อันบุคคลยิงถนัดดีแล้ว ย่อมแล่นสะดวก ฉะนั้น."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2012, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


วรรคที่เจ็ด
๑. หีนายวัตตนปัญหา ๕๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระศาสนาของพระตถาคตนี้ เป็นของใหญ่ เป็นสาระน่าเลือกสรร ประเสริฐสุดบวรไม่มีเครื่องเปรียบ บริสุทธิ์แล้ว ปราศจากมลทิน เป็นของขาวไม่มีโทษ, ไม่ควรแล้วเพื่อจะยังคฤหัสถ์มีประมาณเท่านั้นให้บรรพชา, ควรจะแนะนำคฤหัสถ์ไปในผลอันเดียวนั่นเทียว คฤหัสถ์นั้นไม่หวนกลับในกาลใด พึงให้บวชในกาลนั้น; ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? ชนชั่วเหล่านี้บวชแล้ว ในพระศาสนานั้นซึ่งหมดจดวิเศษแล้วก่อน ย่อมเวียนมาเพื่อความกลับคืนเป็นคนเลว, เพราะความกลับของชนทั้งหลายเหล่านั้นมหาชนนี้ ย่อมคิดผิดอย่างนี้ว่า 'ชนทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมกลับคืนจากศาสนาใด ศาสนานั้นของพระสมณโคดมจักเป็นของเปล่าหนอ.' เหตุนี้เป็นเหตุในบรรพชานั้น."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร อุปมาเหมือนสระมีน้ำเต็มเปี่ยม น้ำสะอาดปราศจากมลทิน เย็น, ถ้าว่าผู้ใดผู้หนึ่งเศร้าหมองแล้ว มีตัวเปื้อนด้วยมลทินและเปือกตม ไปสู่สระน้ำแล้วไม่อาบ เป็นผู้เศร้าหมองอยู่นั่นเองกลับมา, ในสองอย่างนั้น มหาชนพึงติเตียนอย่างไหน จะพึงติเตียนบุคคลมีตนเศร้าหมองแล้ว หรือว่าควรจะติเตียนสระ?"
ร. "มหาชนควรจะติเตียนบุคคลผู้เศร้าหมองซิ พระผู้เป็นเจ้าบุคคลนี้ไปถึงสระแล้วหาอาบไม่ กลับเป็นคนเศร้าหมองกลับมาแล้วทำไมสระจึงจักให้บุคคลไม่อยากจะอาบนี้อาบได้เล่า, สระจะมีโทษอะไร."
ถ. "สระไม่มีโทษ ฉันใด; พระตถาคตทรงสร้างสระ คือ พระสัทธรรมอันประเสริฐ เต็มเปี่ยมแล้วด้วยน้ำ คือ วิมุตติอันประเสริฐด้วยทรงดำริว่า "บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เศร้าหมองแล้วด้วยมลทิน คือ กิเลส มีเจตนา มีปัญญาเครื่องรู้ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จักอาบลอยกิเลสทั้งปวงในสระ คือ พระสัทธรรมอันประเสริฐนี้;" ถ้าว่าบุคคลไร ๆ ไปถึงสระ คือ พระสัทธรรมอันประเสริฐนั้นแล้วไม่อาบแล้ว ทั้งกิเลสเทียวคืนกลับมา เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, มหาชนจักติเตียนบุคคลนั้นนั่นเทียวว่า 'บุคคลนี้บรรพชาแล้วในพระชินศาสนา ไม่ได้ที่ตั้งอาศัยในศาสนานั้น เวียนมาแล้วเพื่อความเป็นคนเลว, พระชินศาสนาจักยังบุคคลผู้ไม่ปฏิบัตินี้ให้หมดจดเองอย่างไรได้ พระชินศาสนาจะมีโทษอะไร พระชินศาสนาไม่มีโทษอะไร ฉันนั้นแล.'
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษมีพยาธิอย่างยิ่งเป็นไข้หนักเห็นหมอผู้เชือดลูกศร ผู้ฉลาดในโรคนิทาน มีเวชกรรมสำเร็จแล้วเป็นนิตย์ ไม่เปล่าแล้ว ไม่ยังหมอนั้นให้เยียวยารักษา พึงเป็นคนทั้งพยาธิกลับคืนมา, ในบุคคลสองนั้น ควรมหาชนจะติเตียนคนไหน ควรจะติเตียนคนไข้ หรือควรจะติเตียนหมอ ประการไร?"
ร. "ควรจะติเตียนคนไข้ซิ พระผู้เป็นเจ้า บุคคลไข้นี้เห็นหมอผู้เชือดลูกศร ผู้ฉลาดในโลกนิทาน ผู้มีเวชกรรมสำเร็จแล้ว เป็นนิตย์ไม่เปล่าแล้ว มิได้ให้หมอนั้นเยียวยารักษาให้หายพยาธิ เป็นคนทั้งพยาธิกลับมาแล้ว หมอจักเยียวยาคนไข้นี้ผู้ไม่ปรารถนาจะให้เยียวยารักษาเองอะไรได้ โทษอะไรของหมอเล่า พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร โทษของหมอไม่มี ฉันใด, พระตถาคตทรงเก็บโอสถ คือ อมฤตอันสามารถแล้ว ในอันจะให้พยาธิ คือ กิเลสทั้งสิ้นเข้าไประงับสิ้นเชิง ไว้ในผอบ คือ ภายในพระศาสนา ด้วยทรงดำริว่า 'บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันพยาธิ คือ กิเลสเบียดเบียนแล้ว ยังมีเจตนาอยู่ มีปัญญาเครื่องรู้ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นจักดื่มโอสถ คือ อมฤตนี้แล้ว ให้พยาธิ คือ กิเลสทั้งปวงเข้าไประงับสูญหายไป' ดังนี้; ถ้าว่าใคร ๆ ไม่ดื่มโอสถ คือ อมฤตนั้นแล้ว เป็นผู้ทั้งกิเลสทีเดียว กลับคืนมาแล้ว เวียนมาแล้ว เพื่อความเป็นคนเลว, มหาชนควรจักติเตียนบุคคลนั้นทีเดียวว่า 'บุคคลนี้บรรพชาแล้วในพระชินศาสนา ไม่ได้ที่ตั้งอาศัยในพระศาสนานั้นแล้ว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, พระชินศาสนาจักให้บุคคลผู้ไม่ปฏิบัตินั้น หมดจดบริสุทธิ์ไปเอง อะไรได้, พระชินศาสนาจะมีโทษอะไรเล่า พระศาสนาไม่มีโทษฉันนั้น.'
อีกประการหนึ่ง อุปมาเหมือนบุรุษที่หิวไหถึงที่เลี้ยงด้วยภัตรของบุคคลผู้มีบุญใหญ่แล้ว ไม่บริโภคภัตรนั้น เป็นคนหิวกลับมา, ในสองอย่างนั้น. ควรมหาชนจะติเตียนอย่างไหน จะติเตียนบุรุษผู้หิวมาหรือควรจะติเตียนบุญภัตรประการไร?"
ร. "ควรมหาชนจะติเตียนบุรุษผู้หิวว่า 'บุรุษนี้อันความหิวเบียดเบียนแล้ว ได้บุญภัตรแล้วไม่บริโภค หิวกลับมาแล้ว โภชนะจักเข้าปากของบุรุษนี้ ผู้ไม่บริโภคอะไรได้, โทษแห่งโภชนะอะไรเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร โภชนะไม่มีโทษ ฉันใด, พระตถาคตทรงเก็บโภชนะ คือ กายคตาสติ อร่อยอย่างยิ่ง ประเสริฐละเอียดบวรอย่างยิ่ง เป็นอมฤตประณีตไว้ในภายในผอบ คือ พระศาสนา ด้วยทรงดำริว่า 'บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีภายในลำบากแล้วด้วยกิเลส มีใจอันตัณหาครอบงำแล้ว เป็นไปกับด้วยเจตนา มีปัญญาเครื่องรู้ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จักบริโภคโภชนะนี้แล้ว จักนำตัณหาทั้งปวงในกาม และรูปภพ และอรูปภพ ทั้งหลายออกเสียได้' ดังนี้; ถ้าว่าใคร ๆ ไม่บริโภคโภชนะนั้น เป็นผู้อาศัยตัณหาเทียว คืนกลับมาแล้ว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ควรมหาชนจะติเตียนบุคคลนั้นนั่นเทียวได้ว่า 'บุคคลนี้บวชแล้วในพระชินศาสนา ไม่ได้ที่ตั้งอาศัยในพระศาสนานั้น เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว พระชินศาสนาจักยังบุคคลผู้ไม่ปฏิบัตินี้ ให้บริสุทธิ์หมดจดเองอะไรได้ โทษของพระชินศาสนาอะไรเล่า? พระชินศาสนาไม่มีโทษ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ถ้าว่า พระตถาคตพึงยังบุคคลอันอาจารย์ แนะนำแล้วในผลส่วนหนึ่ง แต่ยังเป็นคฤหัสถ์ทีเดียวให้บรรพชา, บรรพชานี้ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อละกิเลส หรือไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่ออบรมวิสุทธิความหมดจดวิเศษ, กิจที่จะต้องกระทำในบรรพชาไม่มี.
เปรียบเหมือนบุรุษให้คนขุดสระ ด้วยการงานหลายร้อยแล้วจึงประกาศในบริษัทให้ได้ยินเนือง ๆ อย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญทั้งหลายท่านทั้งหลายใคร ๆ เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว อย่าลงสระนี้, ท่านทั้งหลายจงลอยธุลีและเหงื่อไคลแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว เกลี้ยงปราศจากมลทินแล้ว จงลงสระนี้; เออก็ กิจที่จะพึงกระทำด้วยสระนั้นพึงมีแก่บุรุษทั้งหลายผู้มีธุลีและเงื่อไคลอันลอยแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ขัดเกลี้ยงแล้ว ไม่มีมลทินเหล่านั้นบ้างหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า บุรุษทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงเข้าไปใกล้สระนั้น เพื่อประโยชน์แก่กิจใด กิจนั้นอันบุรุษทั้งหลายเหล่านั้นกระทำเสร็จแล้วในที่อื่นนั่นเทียว, ประโยชน์อะไรด้วยสระนั้นแก่บุรุษทั้งหลายเหล่านั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าว่า พระตถาคตยังบุคคลอันอาจารย์แนะนำแล้วในผลส่วนหนึ่ง แต่ยังเป็นคฤหัสถ์ทีเดียวให้บวชแล้ว, กิจที่จะต้องกระทำในบรรพชานั้น อันชนทั้งหลายเหล่านั้นกระทำเสร็จแล้วนั่นเทียว ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล.
อีกประการหนึ่งเหมือนหมอผู้เชือดลูกศร บริโภคคัตรดังฤดีโดยสภาวะ ผู้ทรงไว้ซึ่งบทแห่งมนต์อันตฟังแล้ว ไม่ต้องตรึก เป็นผู้ฉลาดในโรคนิทาน เป็นผู้มีกรรมอันสำเร็จแล้วเป็นนิตย์ ไม่เปล่ารวบรวมเภสัชเป็นเครื่องระงับโรคทั้งปวง แล้วจึงประกาศในบริษัทให้ได้ยินเนือง ๆ อย่างนี้ว่า 'ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายใคร ๆ จงอย่าเข้ามาในสำนักของเราทั้งพยาธิ และท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีพยาธิ ผู้ไม่มีโรค เข้ามาในสำนักของเรา,' เออก็ กิจที่จะต้องกระทำด้วยหมอนั้น พึงมีแก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่มีพยาธิผู้ไม่มีโรค บริบูรณ์แล้ว สบายใจอยู่ เหล่านั้นบ้างหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ชนทั้งหลายเหล่านั้นจะพึงเข้าไปใกล้หมอผู้เชือดลูกศรนั้น เพื่อประโยชน์แก่กิจอันใด กิจอันชนทั้งหลายเหล่านั้นกระทำเสร็จแล้วในที่อื่นนั่นเทียว, ประโยชน์อะไรด้วยหมอนั้นแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตถ้าพึงยังบุคลอันอาจารย์แนะนำแล้วในผลส่วนหนึ่ง แต่ยังเป็นคฤหัสถ์ทีเดียวให้บวชแล้ว, กิจที่จะต้องกระทำในบรรพชานั้น อันชนทั้งหลายเหล่านั้นกระทำเสร็จแล้วนั่นเทียว ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นเล่าฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษไร ๆ ให้ตกแต่งแล้วซึ่งโภชนะมีร้อยแห่งหม้อมิใช่ร้อยเดียว ประกาศให้ได้ยินเนือง ๆ ในบริษัทอย่างนี้ว่า 'ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายใคร ๆ ผู้หิวแล้ว จงอย่าเข้ามาสู่ที่เป็นที่เลี้ยงนี้ของเราเลย ท่านทั้งหลายผู้บริโภคดีแล้ว เบื่อแล้ว อิ่มแล้ว ชุ่มแล้ว บริบูรณ์แล้ว จงเข้าไปสู่ที่เป็นที่เลี้ยงนี้ของเรา' เออก็ กิจที่จะต้องกระทำด้วยโภชนะนั้น จะพึงมีแก่ชนทั้งหลายผู้บริโภคแล้ว เบื่อแล้ว อิ่มแล้ว ชุ่มแล้ว บริบูรณ์แล้ว บ้างหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า ชนทั้งหลายเหล่านั้น 'พึงเข้าไปใกล้ที่เป็นที่เลี้ยงนั้น เพื่อประโยชน์แก่กิจใด กิจนั้นอันชนทั้งหลายเหล่านั้น กระทำเสร็จแล้วในที่อื่นนั่นเทียว, ประโยชน์อะไรด้วยที่เป็นที่เลี้ยงนั้นแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายเหล่านั้นไม่ต้องการที่เป็นที่เลี้ยงนั้น ฉันใด, ถ้าพระตถาคตยังบุคคลอันอาจารย์แนะนำแล้วในผลส่วนหนึ่ง แต่ยังเป็นคฤหัสถ์ให้บวชแล้ว, กิจที่จะต้องกระทำในบรรพชานั้น อันชนทั้งหลายเหล่านั้นกระทำเสร็จแล้วนั่นเทียว ประโยชน์อะไรเล่าด้วยบรรพชา แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขอถวายพระพร เออก็ ชนทั้งหลายเหล่าใด เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ชนทั้งหลายเหล่านั้น ได้ชื่อว่าแสดงคุณทั้งหลายอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ห้าประการ ของพระศาสนา ของพระชินพระพุทธเจ้า; แสดงคุณห้าเป็นไฉน: คือแสดงความที่ศาสนาเป็นของใหญ่โดยภูมิหนึ่ง คือ แสดงความที่ศาสนาเป็นของบริสุทธิ์แล้วปราศจากมลทินหนึ่ง คือ แสดงความที่ศาสนาเป็นที่ไม่อยู่ร่วมด้วยชนบาปทั้งหลายหนึ่ง คือแสดงความที่ศาสนาเป็นของอันบุคคลแทงตลอดโดยากหนึ่ง คือ แสดงความที่ศาสนาเป็นของอันบุคคลพึงระวังและรักษามากหนึ่ง.
ได้ชื่อว่าแสดงความที่ศาสนาเป็นของใหญ่โดยภูมิอย่างไร? ขอถวายพระพร บุรุษไม่มีทรัพย์ มีชาติเลว ไม่มีคุณวิเศษ เสื่อมแล้วจากความรู้ ได้เฉพาะแล้วซึ่งราชสมบัติใหญ่ เมื่อกาลไม่นาน
ย่อมตกต่ำ ย่อมกระจัดกระจาย ย่อมเสื่อมจากยศ ย่อมไม่อาจเพื่อจะทรงความเป็นอิสสระไว้ได้, ซึ่งเป็นอย่างนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ซึ่งเป็นอย่างนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ซึ่งเป็นอย่างนั้น เพราะความเป็นอิสสระเป็นของใหญ่ ฉันใด; บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่มีคุณวิเศษ มีบุญไม่ได้กระทำไว้แล้ว เสื่อมแล้วจากความรู้ ย่อมบรรพชาในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้ชำนะแล้ว บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ไม่อาจเพื่อจะทรงไว้ซึ่งบรรพชานั้น อันบวรสูงสุด เมื่อกาลไม่นานนั่นเทียว ตกขจัดเสื่อมจากพระชินศาสนาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ไม่อาจเพื่อจะทรงพระชินศาสนา, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่ภูมิของพระชินศาสนาเป็นของใหญ่ ฉันนั้นนั่นแล. ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าแสดงความที่ศาสนาเป็นของใหญ่โดยภูมิอย่างนี้.
ได้ชื่อว่าแสดงความที่ศาสนาเป็นของบริสุทธิ์แล้ว ปราศจากมลทินอย่างไร? อุปมาเหมือนน้ำเรี่ยรายอยู่บนใบบัว ย่อมกลิ้ง ย่อมขจัดไป ย่อมเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่เข่าไปทาใบบัวนั้นได้, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่ใบบัวเป็นของบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน ฉันใด: ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้โอ่อวด เป็นผู้โกง เป็นผู้ลวง เป็นผู้คด เป็นผู้มีทิฏฐิไม่เสมอ บวชในพระชินศาสนา ชนทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อกาลไม่นาน ย่อมเรี่ยรายคลาดไป กระจัดกระจายไปจากศาสนาอันบริสุทธิ์แล้ว และปราศจากมลทินและไม่มีเสี้ยนหนาม และขาวประเสริฐบวร ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่เข้าไปทาอยู่ได้ ย่อมเวียนไปเพื่อความเป็นคนเลว' ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะพระชินศาสนาเป็นของบริสุทธิ์แล้ว และเป็นของปราศจากมลทิน ฉันนั้นนั่นแล. ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแสดงความที่ศาสนาเป็นของบริสุทธิ์และปราศจากมลทิน ด้วยประการอย่างนี้.
ได้ชื่อว่าแสดงความที่พระศาสนา เป็นของไม่อยู่ร่วมด้วยชนบาปทั้งหลายอย่างไร? ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนมหาสมุทร ย่อมไม่อยู่ร่มด้วยทรากศพที่ตายแล้ว ทรากศพใดที่ตายแล้วในมหาสมุทร มหาสมุทรนั้น ย่อมนำทรากศพนั้นเข้าไปสู่ฝั่งฉับพลันนั่นเทียว หรือซัดขึ้นบนบก, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่มหาสมุทรเป็นพิภพของมหาภูตทั้งหลาย ฉันใด: ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นบาป ไม่มีกิริยา มีความเพียรย่อหย่อนท้อถอยแล้ว เศร้าหมองแล้ว เป็นมนุษย์ทุรชนบวชนในพระชินศาสนา ชนทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อกาลไม่นานทีเดียว ออกแล้วจากพระชินศาสนาเป็นพิภพของมหาภูต คือ พระชีณาสพอรหันต์ ผู้ปราศจากมลทินแล้วอยู่ร่วมไม่ได้ ย่อมเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะพระชินศาสนาไม่เป็นที่อยู่ร่วมด้วยชนบาปทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล. ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมแสดงความที่พระชินศาสนาไม่เป็นที่อยู่ร่วมด้วยชนบาปทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้.
ได้ชื่อว่าแสดงความที่พระศาสนา มีความแทงตลอดโดย
ยากอย่างไร? ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนคนยิงลูกศร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ฉลาดไม่ศึกษา ไม่มีศิลปศาสตร์ เสื่อมแล้วจากความรู้ ไม่อาจเพื่อจะยิงปลายแห่งขนทราย ย่อมคลาด ย่อมหลีกไป, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่แห่งปลายแห่งขนทรายละเอียดสุขุม มีความยิงได้โดยยาก ฉันใด; ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญาทรามเซ่อและมึนตึง หลงแล้ว มีคติเงื่อง บวชนในพระชินศาสนา ชนทั้งหลายเหล่านั้น ไม่อาจเพื่อจะแทงตลอด สัจจะทั้งสี่อันละเอียดสุขุมอย่างยิ่งนั้น เคลื่อนแล้ว หลีกไปแล้ว จากพระชินศาสนาเมื่อกาลไม่นานทีเดียว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ซึ่งเป็นอย่างนี้มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่สัจจะทั้งหลายเป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง และมีความแทงตลอดโดยยาก ฉันนั้นนั่นแล. ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแสดงความที่พระศาสนามีความแทงตลอดโดยยาก ด้วยประการอย่างนี้.
ได้ชื่อว่าแสดงความที่พระศาสนา เป็นของต้องระวังและรักษามากอย่างไร? ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษบางคนนั่นเทียวเข้าไปแล้วสู่ภูมิเป็นที่รบใหญ่ อันเสนาแห่งพระราชาองค์อื่นแวดล้อมแล้วโดยรอบ โดยทิศใหญ่น้อยทั้งหลาย เห็นชนมีหอกในมือเข้าไปใกล้แล้วถอยหลังกลับหนีไป, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้เพราะความกลัวแต่การรักษาหน้าแห่งการรบ มีอย่างมาก ฉันใด; พาลชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กระทำบาป เป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว เป็นผู้ไม่มีหิริ เป็นผู้ไม่มีกิริยา เป็นผู้ไม่มีขันติ เป็นผู้โยกโคลงคลอนแคลนแล้ว บวชในพระชินศาสนา พาลชนทั้งหลายเหล่านั้น ไม่อาจเพื่อจะรักษาสิกขาบทมีอย่างมาก ถอยหลับหนีไปเมื่อกาลไม่นานทีเดียวย่อมเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่พระชินศาสนาเป็นของมีความสำรวมมีอย่างมาก เป็นของต้องรักษา ฉันนั้นนั่นแล. ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมแสดงความที่พระชินศาสนาเป็นของมีความสำรวมมีอย่างมาก และเป็นของต้องรักษา ด้วยประการอย่างนี้.
ขอถวายพระพร ดอกไม้ทั้งหลายในพุ่มดอกมะลิ แม้เป็น
ของอดม เกิดบนบก เป็นดอกไม้อันกิมิชาติเจาะแล้ว หน่อทั้งหลายเหล่านั้นเหี่ยวแล้ว ร่วงไปในระหว่างนั้นเทียว, แต่พุ่มแห่งมะลิก็ไม่ชื่อว่าเป็นของอันบุคคลดูหมิ่นแล้ว เพราะดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้นร่วงไปแล้ว, ดอกไม้ทั้งหลายเหล่าใด ที่คงเหลืออยู่ในพุ่มแห่งมะลินั้น ดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมฟุ้งทั่วไปยังทิศใหญ่น้อย ด้วยกลิ่นโดยชอบ ฉันใด; ชนทั้งหลายเหล่าใดนั้น บรรพชาแล้วในพระชินศาสนา เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, เว้นแล้วจากวรรณและกลิ่น มีอาการเหนื่อยหน่ายแล้วเป็นปกติ ไม่พอเพื่อความไพบูลย์ในพระชินศาสนา, แต่พระชินศาสนาก็ไม่ชื่อว่าเป็นของอันบัณฑิตดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่ชนทั้งหลายเหล่านั้นเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดที่คงเหลืออยู่ในพระชินศาสนานั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมฟุ้งไปยังโลกกับทั้งเทพดาด้วยกลิ่นศีลอันประเสริฐ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกประการหนึ่ง สาลีชาติชื่อกรุมพกะเกิดขึ้นแล้วในระหว่างแม้แห่งข้าวสาลีไม่มีโรคมีสีแดง ย่อมฉิบหายไปในระหว่างนั้นเทียว, แต่สาลีแดงก็ไม่มีชื่อว่าเป็นของอันบุคคลดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่สาลีชาติชื่อกรุมพกะนั้นฉิบหายไปแล้ว, ข้าวสาลีทั้งหลายเหล่าใด ที่คงเหลืออยู่ในข้าวสาลีแดงนั้น ข้าวสาลีทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นราชูปโภค ฉันใด; ชนทั้งหลายเหล่าใดนั้น บวชในพระชินศาสนาแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ชนทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนสาลีชาติชื่อกรุมพกะในระหว่างแห่งข้าวสาลีแดง ไม่เจริญแล้ว ไม่ถึงแล้วซึ่งความไพบูลย์ในพระชินศาสนา ย่อมเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวในระหว่างนั้นเทียว, แต่พระชินศาสนาก็ไม่เชื่อว่าเป็นของอันบัณฑิตดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด คงเหลืออยู่ในพระชินศาสนานั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้สมควรแก่พระอรหัตฉันนั้นนั่นแล. เหมือนเอกเทศแห่งแก้วมณีแม้เป็นของให้ซึ่งความสมประสงค์ เป็นของหยาบเกิดขึ้น, แต่แก้วมณีก็ไม่ชื่อว่าเป็นของอันบุคคลดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่เอกเทศอันหยาบเกิดขึ้นแล้วในแก้วมณีนั้น, ส่วนใดที่เป็นของบริสุทธิ์แห่งแก้วมณีนั้น ส่วนนั้นเป็นของกระทำความร่าเริงแก่มหาชน ฉันใด; ชนทั้งหลายเหล่าใดนั้น บรรพชาแล้วในพระชินศาสนา เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ชนทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้หยาบดังกะเทาะไม้ในพระชินศาสนา, แต่พระชินศาสนาก็ไม่ชื่อว่าเป็นของอันบัณฑิตดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เวียนมาแล้วเพื่อความเป็นคนเลว, ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด คงเหลืออยู่ในพระชินศาสนานั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ยังความร่าเริงให้เกิดขึ้นแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายฉันนั้นนั่นแล.
อนึ่ง เอกเทศแห่งจันทน์แดง แม้ถึงพร้อมแล้วด้วยชาติเป็นของผุมีกลิ่นน้อย, แต่จันทน์แดงไม่ชื่อว่าเป็นของอันบุคคลดูหมิ่นแล้ว เพราะเอกเทศที่ผุนั้น, ส่วนใดที่เป็นของไม่ผุ เป็นของมีกลิ่นดี ส่วนนั้นย่อมอบหอมฟุ้งออกไปโดยรอบ ฉันใด; ชนทั้งหลายเหล่าใด บรรพชาในพระชินศาสนาแล้ว เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ชนทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเหมือนส่วนที่ผุในระหว่างแห่งแก่นแห่งจันทน์แดง อันบุคคลพึงทิ้งเสีย ในพระชินศาสนา, แต่พระชินศาสนาก็ไม่ชื่อว่าเป็นของอันบัณฑิตดูหมิ่นแล้ว เพราะความที่บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว, ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ที่คงเหลืออยู่ในพระชินศาสนานั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมชโลทาโลกกับทั้งเทพดา ด้วยกลิ่นจันทน์แดง คือ ศีล อันประเสริฐ."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระชินศาสนาไม่มีโทษด้วยเหตุอันสมควรนั้น ๆ ด้วยเหตุสมอ้างนั้น ๆ พระผู้เป็นเจ้าให้ถึงแล้ว พระชินศาสนาพระผู้เป็นเจ้าแสดงแล้ว ด้วยความเป็นของประเสริฐสุด, แม้ชนทั้งหลายที่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวอย่างนั้น ย่อมส่องความที่พระชินศาสนาเป็นของประเสริฐสุดทีเดียว."

๒. อรหโตกายิกเจตสิกเวทนาปัญหา ๖๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้าย่อมกล่าวว่า 'พระอรหันต์เสวยเวทนาเป็นไปในกายส่วนเดียว ไม่เสวยเวทนาเป็นไปในจิต' ดังนี้. จิตของพระอรหันต์อาศัยกายใดเป็นไป พระอรหันต์ไม่เป็นอิสสระ ไม่เป็นเจ้าของ ไม่ยังอำนาจให้เป็นไปในกายนั้นได้หรือหนอแล?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อที่พระอรหันต์นั้นไม่เป็น
อิสสระไม่เป็นเจ้าของ ไม่เป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในกายซึ่งเป็นไปตามจิตของตน ไม่สมควรแล้วแล, แม้นกอาศัยในรังใดก่อน นกนั้นย่อมอยู่เป็นอิสสระ เป็นเจ้าของ เป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในรังนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ธรรมทั้งหลายสิบเหล่านี้ประจำกาย ย่อมแล่นไปตาม ย่อมครอบงำกายทุก ๆ ภพ, ธรรมสิบประการเหล่าไหน: คือเย็น ร้อน ความอยากข้าว ความระหายน้ำ อุจจาระ ปัสสาวะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความแก่ ความเจ็บ ความตาย.
ขอถวายพระพร ธรรมสิบประการเหล่านี้แลประจำกาย ย่อมแล่นไปตาม ย่อมครอบงำกายทุก ๆ ภพ พระอรหันต์ไม่เป็นอิสสระไม่เป็นเจ้าของ ไม่เป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในธรรมทั้งหลายสิบประการเหล่านี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน อำนาจหรือความเป็นใหญ่ไม่เป็นไปในกายของพระอรหันต์ด้วยเหตุไร? พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด."
ถ. "สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งอาศัยแผ่นดิน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง อาศัยแผ่นดินเที่ยวไปอยู่ สำเร็จความเป็นอยู่, ขอถวายพระพร อาณาหรือความเป็นอิสสระ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นไปในแผ่นดินบ้างหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร จิตของพระอรหันต์อาศัยกายเป็นไป, ก็แต่ว่าอาณาหรือความเป็นอิสสระไม่เป็นไปในกาย ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปุถุชนเสวยเวทนาทั้งในกายทั้งในจิต เพราะเหตุไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร ปุถุชนเสวยเวทนาทั้งในกายทั้งในจิตเพราะความที่จิตไม่ได้อบรมแล้ว. มหาบพิตร โคหิวแล้ว อันความอยากรบกวนแล้ว อันเจ้าของพึงล่ามไว้ ด้วยหญ้าน้อย ๆ หรือด้วยเครือเขาทุรพลไม่มีกำลัง, เมื่อใด โคนั้นกำเริบแล้ว เมื่อนั้น โคนั้นย่อมหลีกไปกับด้วยหญ้าและเครือเขาที่ล่ามไว้แล้วนั้น ฉันใด; บรมบพิตรเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ทำจิตของบุคคลผู้มีจิตไม่ได้อบรมแล้วให้กำเริบได้, จิตกำเริบแล้ว ย่อมคู้เข้าซึ่งกาย เหยียดออกซึ่งกายย่อมทำซึ่งความกลิ้งกลับ ฉันนั้นนั่นเทียวแล, ปุถุชนนั้นมีจิตไม่ได้อบรมแล้ว ย่อมสะดุ้งย่อมร้อง ย่อมร้องยิ่ง นำมาซึ่งความเป็นผู้ขลาดโดยแท้. เหตุนี้เป็นเหตุในข้อที่ปุถุชนต้องเสวยเวทนาทั้งในกายทั้งในจิตนี้."
ร. "พระอรหันต์ย่อมเสวยเวทนาส่วนเดียว แต่ในกาย ไม่เสวยเวทนาเป็นไปในจิต ด้วยเหตุใด เหตุนั้นเป็นอย่างไร."
ถ. "บรมบพิตร จิตของพระอรหันต์ อันพระอรหันต์ได้อบรมแล้ว ได้อบรมดีแล้ว ทรมานแล้ว ได้ทรมานดีแล้ว เชื่อฟังแล้ว ทำตามคำ, พระอรหันต์นั้นเป็นผู้อันเวทนาเป็นทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมถือมั่นว่า เป็นอนิจจัง ย่อมล่ามไว้ซึ่งจิตในเสาคือสมาธิ, จิตนั้นของพระอรหันต์นั้น อันพระอรหันต์นั้นล่ามไว้แล้วที่เสาคือสมาธิแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ย่อมไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตตั้งมั่นแล้ว ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว, แต่ว่ากายของท่านย่อมคู้เข้า เหยียดออก กลิ้งเกลือก เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนาวิการ. นี้เป็นเหตุในข้อที่พระอรหันต์เสวยเวทนาที่เป็นไปในกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาที่เป็นไปในจิตนี้."
ร. "พระนาคเสน ผู้เจริญ เมื่อกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตย่อมไม่กระสับกระส่ายด้วยเหตุใด เหตุชื่อนั้นเป็นของอัศจรรย์ในโลก, พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด."
ถ. "บรมบพิตร เมื่อต้นไม้ใหญ่ ๆ ถึงพร้อมแล้วด้วยลำต้นกิ่งและใบ เมื่อประชุมพร้อมแห่งกำลังลม กิ่งย่อมไหว, แม้ลำต้นของต้นไม้ใหญ่นั้นย่อมไหวด้วยหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "บรมบพิตร พระอรหันต์อันเวทนาเป็นทุกข์ถูกต้องแล้วย่อมถือเอาให้เป็นอารมณ์ว่า เป็นอนิจจังมั่น เขาไปผูกล่ามจิตไว้ในหลักคือสมาธิ, จิตนั้นของพระอรหันต์นั้น อันพระอรหันต์ผูกล่ามไว้แล้วในหลักคือสมาธิแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ย่อมไม่กระสับกระส่ายย่อมเป็นจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นจิตไม่ฟุ้งซ่านแล้ว. กายของพระอรหันต์นั้นคู้เข้า เหยียดออก กลิ้งเกลือกไปมา เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนาวิการ, ส่วนจิตของพระอรหันต์นั้นไม่หวั่นไหว ไม่กระสับกระส่ายเหมือนลำต้นไม้ใหญ่ ฉะนั้น."
ร. "น่าอัศจรรย์ละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน น่าพิศวงละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความแสดงธรรมเป็นไปในกาลทั้งปวง เห็นปานฉะนี้อันข้าพเจ้าไม่เคยเห็นแล้ว."

๓. อภิสมยันตรายกรปัญหา ๖๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในศาสนานี้คฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเป็นผู้ต้องปาราชิกแล้ว, คฤหัสถ์นั้นพึงบวชโดยสมัยอื่น, บุคคลนั้นไม่รู้แม้ด้วยตนว่า 'เราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ต้องปาราชิกแล้ว,' ทั้งบุคคลอื่นไร ๆ ไม่บอก แม้แก่บุคคลนั้นว่า 'ท่านเป็นคฤหัสถ์ต้องปาราชิกแล้ว,' ก็ถ้าบุคคลนั้นปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น,ธรรมาภิสมัยความตรัสรู้ธรรม พึงมีแก่บุคคลนั้นบ้างหรือ?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ธรรมาภิสมัยไม่มีแก่บุคคลนั้น."
ร. "เพราะเหตุไร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สิ่งใดเป็นเหตุแห่งธรรมาภิสมัย ของบุคคลนั้น สิ่งนั้นอันบุคคลนั้นเลิกถอนเสียแล้ว, เพราะเหตุนั้น ธรรมาภิสมัยจึงไม่มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ความรำคาญย่อมมีแก่บุคคลที่รู้ เมื่อความรำคาญมีอยู่, ความห้ามธรรมาภิสมัยย่อมมี, เมื่อจิตอันธรรมดาห้ามแล้ว ธรรมาภิสมัยย่อมไม่มี.' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็เมื่อบุคคลนั้นไม่รู้อยู่ไม่มีความรำคาญเกิดแล้วมีจิตสงบแล้วอยู่ ธรรมาภิสมัยย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุไร? ปัญหานั้นเป็นไปโดยอาการไม่เสมอ ๆ พระผู้เป็นเจ้าจงคิดแล้วจึงวิสัชนา."
ถ. "ขอถวายพระพร พืชอันให้ผลเป็นสาระ อันบุคคลหมักแล้วดี ย่อมขึ้นในนาอันเตียน อันบุคคลไถดีแล้ว มีเทือกดีหรือไม่?"
ร. "ขึ้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร พืชนั้นนั่นเทียว พึงขึ้นในพื้นศิลาบนเขาเป็นแท่งทึบหรือ?"





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 07:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 13:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. onion onion onion

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจา."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็พืชนั้นนั่นเทียว ย่อมขึ้นในเทือกเพื่อเหตุอะไร, ย่อมไม่ขึ้นเหนือหลังศิลาบนภูเขาเป็นแท่งทึบ เพื่อเหตุอะไร?"
ร. "เหตุในศิลาเป็นแท่งทึบ เพื่อจะงอกของพืชนั้น ย่อมไม่มี, พืชย่อมไม่ขึ้น โดยไม่มีแห่งเหตุ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร พืชนั้นย่อมขึ้นในเทือก ย่อมไม่ขึ้นในพื้นศิลาบนภูเขาเป็นแท่งทึบ ฉันใด, ธรรมาภิสมัย พึงมีแก่บุคลนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นอันบุคคลนั้นเลิกถอนเสียแล้ว, ธรรมาภิสมัยย่อมไม่มีโดยไม่มีแห่งเหตุ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกประการหนึ่ง ท่อนไม้ ก้อนดิน ไม้ค้อนและตะบองทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่งอันตั้งอยู่ได้ในแผ่นดิน, ท่อนไม้ก้อนดินไม้ค้อนและตะบองทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมเข้าถึงซึ่งอันตั้งอยู่ในอากาศได้หรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ท่อนไม้ก้อนดิน และไม้ค้อน และตะบองทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่งอันตั้งอยู่ได้ ในแผ่นดินอย่างเดียวด้วยเหตุใด อะไรเป็นเหตุนั้น ในความตั้งอยู่ได้นั้น, ตั้งอยู่ในอากาศไม่ได้เพราะเหตุไร?"
ร. "เหตุในอากาศ เพื่อความอาศัยตั้งอยู่แห่งท่อนไม้ ก้อนดิน ไม้ค้อน และตะบองทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี, ท่อนไม้ ก้อนดิน ไม้ค้อนและตะบองทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่ในอากาศไม่ได้โดยไม่มีแห่งเหตุ."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, เหตุแห่งอภิสมัยความตรัสรู้ของบุคคลนั้น อันโทษนั้นเลิกถอนเสียแล้ว, ครั้นเมื่อเลิกถอนเหตุเสียอภิสมัยย่อมไม่มี โดยอันไม่มีแห่งเหตุ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง ไฟย่อมชัชวาลโพลงได้แต่บนบก, เพลิงนั้นย่อมชัชวาลโพลงได้ในน้ำด้วยหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า เหตุในน้ำเพื่อความที่ไฟจะโพลงขึ้นไม่มี, ไฟย่อมไม่โพลงขึ้นโดยไม่มีแห่งเหตุ."
ถ. "ขอถวายพระพร เหตุในน้ำเพื่อความที่ไฟจะโพลงขึ้นไม่มี ไฟย่อมไม่โพลงขึ้นโดยไม่มีแห่งเหตุ ฉันใด, เหตุแห่งอภิสมัยของบุคคลนั้น อันโทษนั้นเลิกถอนเสียแล้ว, เมื่อเลิกถอนเหตุเสีย ธรรมาธิสมัยความตรัสรู้ธรรมย่อมไม่มี โดยอันไม่มีแห่งเหตุ ฉันนั้นนั่นเทียว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ท่านจงคิดเนื้อความนั่นแม้อีก, จิตตสัญญัตติ ความเข้าใจในปัญหานั้น ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้าว่า 'เมื่อความรำคาญไม่มี ความห้ามมรรคและผลและสวรรค์ ย่อมมีแก่บุคคลเมื่อไม่รู้' ดังนี้; เพราะฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้ข้าพเจ้าหมายรู้ด้วยเหตุเถิด?"
ถ. "ขอถวายพระพร เออก็ ยาพิษกล้าเกิน อันบุคคลแม้ไม่รู้เคี้ยวกินแล้ว ย่อมผลาญชีวิตเสียหรือไม่?"
ร. "ย่อมผลาญซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร บาปอันบุคคลแม้เมื่อไม่รู้กระทำแล้ว ย่อมกระทำอันตายแก่อภิสมัย ฉันนั้นนั่นเทียว. เออก็ ไฟย่อมเผาบุคคลไม่รู้แล้วเหยียบไปหรือไม่?"
ร. "ย่อมเผาซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร ไฟย่อมเผาบุคคลไม่รู้แล้วเหยียบไป ฉันใด, บาปอันบุคคลแม้เมื่อไม่รู้กระทำแล้ว เป็นกรรมกระทำอันตรายแก่อภิสมัย ฉันนั้นนั่นเทียวแล. เออก็ อสรพิษกัดบุคคลไม่รู้แล้ว ย่อมผลาญชีวิตเสียหรือไม่?"
ร. "ย่อมผลาญซิ."
ถ. "อสรพิษกัดบุคคลไม่รู้แล้ว ย่อมผลาญชีวิตเสีย ฉันใด, บาปอันบุคลแม้เมื่อไม่รู้กระทำแล้ว ย่อมเป็นกรรมกระทำอันตรายแห่อภิสมัย ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ขอถวายพระพร พระเจ้ากาลิงคราชสมณะโกลัญญะ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยรัตนะเจ็ด ทรงรัตนะคชาธารเสด็จไปเพื่อจะทอดพระเนตรตระกูล แม้เมื่อไม่รู้ ไม่อาจแล้วเพื่อจะเสด็จโดยเบื้องบนแห่งโพธิมัณฑะประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งญาณชื่อโพธิ. บาปอันบุคคลแม้เมื่อไม่รู้กระทำแล้ว ย่อมเป็นกรรมกระทำอันตรายแก่อภิสมัย ด้วยเหตุใด เรื่องพระเจากาลิงคราชนี้ เป็นเหตุนั้นในความที่บาปอันผู้ไม่รู้กระทำแล้ว เป็นกรรมกระทำอันตายแก่อภิสมัยนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เหตุเป็นชินภาสิตอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะคัดค้าน, เนื้อความนั่นแหละ เป็นเนื้อความของชินภาสิตนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. สมณทุสสีลคีหิทุสสีลปัญหา ๖๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสนอ คฤหัสถ์ทุศีลอย่างหนึ่ง สมณะทุศีลอย่างหนึ่ง ใครจะวิเศษกว่ากัน อะไรเป็นเครื่องทำให้ต่างกัน; คฤหัสถ์ทุศีล และสมณะทุศีลทั้งสองแม้เหล่านั้น มีคติเสมอ ๆ กัน, วิบากแม้ของชนทั้งหลายสองเป็นผลเสมอ ๆ กันหรือว่าเหตุหน่อยหนึ่งเป็นเครื่องกระทำต่างกันมีอยู่?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร คุณทั้งหลายสิบประการเหล่านี้ ของสมณะทุศีลเหลือเกินโดยวิเศษกว่าคฤหัสถ์ทุศีล, สมณะทุศีลนั้น ย่อมยังทักขิณาให้หมดจดวิเศษยิ่งกว่า ด้วยเหตุทั้งหลายสิบประการด้วย. คุณทั้งหลายสิบของสมณะทุศีลเกินโดยวิเศษกว่าคฤหัสถ์ทุศีลเป็นไฉน:
ขอถวายพระพร ในโลกนี้ สมณะทุศีลเป็นไปกับด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้าหนึ่ง, เป็นไปกับด้วยความเคารพในพระธรรมหนึ่ง, เป็นไปกับด้วยความเคารพในพระสงฆ์หนึ่ง, เป็นไปกับด้วยความเคารพในสพรหมจารีทั้งหลายหนึ่ง, ย่อมพยายามพากเพียรในอุทเทส และปริปุจฉาหนึ่ง, ย่อมเป็นผู้มีการฟังมากหนึ่ง, สมณะทุศีลแม้มีศีลทำลายแล้ว ไปแล้วในบริษัทย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอากัปปกิริยาเรียบร้อยหนึ่ง, ย่อมรักษากายิกะและเจตสิกะไว้ เพราะกลับแต่ความติเตียนหนึ่ง, จิตของสมณะทุศีลนั้น เป็นจิตมีหน้าเฉพาะต่อความเพียรหนึ่ง, ย่อมเข้าไปถึงความเป็นผู้เสวยด้วยภิกษุหนึ่ง. สมณะทุศีลแม้เมื่อกระทำบาปย่อมซ่อนประพฤติ. เหมือนสตรีเป็นไปด้วยสามี ซ่อนประพฤติกรรมอันลามก โดยอัธยาจารอันบุคคลพึงกระทำในที่ลับ ฉันใด, สมณะทุศีล แม้เมื่อกระทำบาปย่อมซ่อนประพฤติ ฉันนั้นนั่นเทียวแล. คุณทั้งหลายสิบประการ ของสมณะทุศีลเหล่านี้แล เหลือเกินโดยวิเศษกว่าคฤหัสถ์ทุศีล.
สมณะทุศีลย่อมยังทักขิณาให้หมดจดวิเศษยิ่ง ด้วยเหตุทั้งหลายสิบประการ เป็นไฉน: คือ สมณะทุศีลยังทักขิณาให้หมดจดพิเศษ แม้เพราะความเป็นผู้ทรงเกราะอันบุคคลพึงฆ่าไม่ได้บ้าง, เพราะทรงเพศของบุคคลโล้น มีความเป็นผู้เสมอด้วยฤษีบ้าง, เพราะความเป็นผู้เพิ่มเติมประชุมสงฆ์บ้าง, เพราะเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสมณะบ้าง, เพราะความเป็นผู้อยู่ในเรือนเป็นที่กำหนดมีปธานเป็นที่อาศัยบ้าง, เพราะความแสวงหาทรัพย์ ในพระชินศาสานาบ้าง, เพราะแสดงพระธรรมประเสริฐบ้าง, เพราะความเป็นผู้มีประทีป คือ ธรรมและคติในธรรม เป็นที่ถึงในเบื้องหน้าบ้าง เพราะความเป้นผู้มีทิฐิตรงโดยส่วนเดียวว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ ดังนี้บ้าง, เพราะสมาทานอุโบสถบ้าง. สมณะผู้ทุศีลย่อมยังทักขิณาให้หมดจดวิเศษยิ่งด้วยเหตุทั้งหลายสิบประการเหล่านี้แล.
ขอถวายพระพร สมณะทุศีลแม้เป็นผู้วิบัติแล้ว ย่อมยังทักขิณาของทายกทั้งหลายให้หมดจดพิเศษได้. เหมือนน้ำแม้ขุ่น ย่อมนำเลนและตม และละออง และไคลให้ปราศจากกายได้ ฉันใด, สมณะทุศีลแม้วิบัติแล้ว ย่อมยังทักขิณาของทายกทั้งหลายให้หมดจดพิเศษได้ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง น้ำร้อน แม้อันบุคคลต้มเดือดแล้ว ย่อมยังกองแห่งไฟใหญ่อันโพลงอยู่ให้ดับได้ ฉันใด, สมณะทุศีลแม้วิบัติแล้ว ย่อมยังทักขิณาของทายกทั้งหลายให้หมดจดวิเศษได้ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง โภชนะแม้ปราศจากรส ย่อมนำความเป็นผู้ทุรพลเพราะความหิวให้ปราศได้ ฉันใด, สมณะทุศีลแม้เป็นผู้วิบัติแล้วย่อมยังทักขิณาของทายกทั้งหลายให้หมดจดวิเศษได้ ฉันนั้นนั่นเทียวแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเทพดา ได้ทรงภาสิตแม้พระพุทธพจน์นี้ไว้ในเวยยากรณ์ ชื่อทักขิณาวิภังค์ ในมัชฌิมนิกายอันประเสริฐ ดังพระราชลัญจกรว่า 'คฤหัสถ์ใดเป็นผู้มีศีลได้โภคะโดยธรรม เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสด้วยดีแล้ว เมื่อเชื่อผลแห่งกรรมอันยิ่ง ย่อมให้ทานในบุคคลทุศีลทั้งหลาย, ทักขิณานั้น ของคฤหัสถ์นั้น ย่อมหมดจดโดยวิเศษเพราะทายก ดังนี้."
ร. "เหตุน่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เหตุน่าพิศวงพระผู้เป็นเจ้านาคเสน, ข้าพเจ้าได้ถามปัญหาประมาณเท่านั้น, พระผู้เป็นเจ้าเมื่อแสดงด้วยเหตุทั้งหลายเป็นเครื่องอุปมา ได้กระทำปัญหานั้น ดังมีอมฤตเป็นรสหวาน เป็นของควรฟัง. เหมือนคนเครื่องหรือศิษย์ของคนเครื่องได้มังสะประมาณเท่านั้น ให้ถึงพร้อมด้วยสัมภาระทั้งหลายมีอย่างต่าง ๆ กระทำให้เป็นราชูปโภค ฉันใด, พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าได้ถามปัญหาประมาณเท่านั้น, พระผู้เป็นเจ้าแสดงแล้วด้วยเหตุทั้งหลายเป็นเครื่องอุปมา ได้กระทำปัญหานั้นให้เป็นธรรมมีอมฤตเป็นดังรสหวาน เป็นของควรฟังแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล."

๕. อุทกสัตตชีวปัญหา ๖๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน น้ำนี้อันบุคคลให้ร้อนอยู่ในไฟ ย่อมประพฤติซึ่งเสียงดังปี๊ป ย่อมร้องเสียงดังฉี่ฉี่ ย่อมร้องมีอย่างมาก; พระผู้เป็นเจ้านาคเสน น้ำมีชีวิต น้ำเล่นอะไร จึงร้องหรือหนอ หรือว่าน้ำอันวัตถุอื่นเบียดเบียนแล้วย่อมร้อง?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร น้ำย่อมไม่มีชีวิตเลย สภาพผู้เป็นอยู่หรือสัตว์ย่อมไม่มีในน้ำ; ก็แต่ว่าน้ำย่อมประพฤติเสียงดังปี๊ป ประพฤติเสียงดังฉี่ฉี่ ย่อมร้องมีอย่างมาก เพราะความที่กำลังแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เดียรถีย์ทั้งหลายบางพวก ในโลกนี้คิดแล้วว่าน้ำมีชีวิต ห้ามแล้วซึ่งน้ำเย็น ยังน้ำให้ร้อนแล้ว บริโภคน้ำซึ่งทำให้เป็นของหลากไปเพราะความดัดแปลง เดียรถีย์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมติเตียน ย่อมดูหมิ่นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายว่า 'สมณะศากยบุตรทั้งหลาย ย่อมเบียดเบียนของเป็นอยู่ มีอินทรีย์เป็นอันเดียว' ดังนี้; พระผู้เป็นเจ้า จงบรรเทาความติเตียน ความดูหมิ่น ของเดียรถีย์ทั้งหลายเหล่านั้น จงกำจัดสระสางให้ความติเตียน ความดูหมิ่นนั้นของเดียรถีย์เหล่านั้นให้สิ้นไป."
ถ. "ขอถวายพระพร น้ำย่อมไม่มีชีวิต สภาพผู้เป็นหรือสัตว์ในน้ำย่อมไม่มี; เออก็ น้ำประพฤติเสียงดังปี๊ป ประพฤติเสียงดังฉี่ฉี่ร้องหลายอย่าง เพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่.
ขอถวายพระพร น้ำขังอยู่ในบึง และสระใหญ่ และสระน้อย และเหมือง และลำธาร และซอก และบ่อ และที่ลุ่ม และสระบัว ย่อมหมดไป ย่อมถึงความสิ้นไป เพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งลมและแดดเป็นของใหญ่, น้ำในบึงเป็นต้นเหล่านั้น ประพฤติเสียงดังปี๊ป ประพฤติเสียงดังฉี่ฉี่ ย่อมร้องหลายอย่างด้วยหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าน้ำพึงมีชีวิตไซร้ น้ำในที่ทั้งหลายมีบึงเป็นต้นแม้เหล่านั้นพึงร้อง.
ขอถวายพระพร ด้วยเหตุแม้นี้ บรมบพิตรจงทรงทรงว่า 'สภาพผู้เป็นหรือสัตว์ในน้ำย่อมไม่มี, น้ำประพฤติเสียงดังปี๊ป ประพฤติเสียงฉี่ฉี่ย่อมร้องหลายอย่าง เพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่' ดังนี้.
ขอถวายพระพร บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุยิ่งแม้อื่นอีก: สภาพผู้เป็นหรือสัตว์ในน้ำย่อมไม่มี, น้ำย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่. ก็น้ำเจือพร้อมแล้วด้วยข้าวสารทั้งหลาย ตั้งอยู่ในภาชนะเป็นของอันบุคคลปิดไว้แล้ว อันบุคคลยังไม่ตั้งไว้แล้วเหนือเตา, น้ำในภาชนะนั้นย่อมร้องด้วยหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า น้ำนักเป็นของไม่กระเพื่อม สงบเรียบร้อยอยู่."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็น้ำนั้นนั่นแหละ ตั้งอยู่ในภาชนะอันบุคคลยังไฟให้โพลงขึ้นแล้ว ตั้งไว้เหนือเตาแล้ว, น้ำในภาชนะนั้นเป็นของไม่กระเพื่อม สงบเรียบร้อยอยู่หรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า น้ำนั้นย่อมกระเพื่อม ย่อมกำเริบขุ่นมัว เป็นน้ำมีคลื่นเกิดแล้ว ย่อมไปในเบื้องบนและเบื้องต่ำ ยังทิศและทิศต่าง ๆ ย่อมขึ้น ย่อมส่ายไปข้าง ๆ เป็นของมีระเบียบแห่งฟอง."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็น้ำตั้งอยู่โดยปกตินั้น ย่อมไม่กระเพื่อมสงบเรียบร้อยอยู่ เพราะเหตุไร, ก็แหละน้ำนั้นไปในไฟแล้ว ย่อมกระเพื่อม ย่อมกำเริบ ย่อมขุ่นมัว ย่อมเป็นน้ำมีคลื่นเกิดแล้ว ย่อมไปในเบื้องบนและเบื้องต่ำ ยังทิศและทิศต่าง ๆ มีระเบียบแห่งฟองเพราะเหตุไร?"
ร. "น้ำตั้งอยู่โดยปกติ ย่อมไม่กระเพื่อมซิ พระผู้เป็นเจ้าล ส่วนน้ำไปแล้วในไฟ ย่อมประพฤติเสียปี๊ป ย่อมประพฤติเสียดังฉี่ฉี่ ย่อมร้องหลายอย่าง เพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่?"
ถ. "ขอถวายพระพร ด้วยเหตุแม้นี้ บรมบพิตรจงทรงทรงว่า 'สภาพผู้เป็นอยู่หรือสัตว์ในน้ำย่อมไม่มี, น้ำร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่."
ขอถวายพระพร บรมบพิตร จงทรงสดับเหตุยิ่งแม้อื่นอีก: สภาพผู้เป็นอยู่หรือสัตว์ในน้ำย่อมไม่มี น้ำร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่ น้ำนั้นเป็นของขังอยู่ในหม้อแห่งน้ำอันบุคคลปิดไว้เสียแล้ว มีอยู่ทุก ๆ เรือนหรือ?"
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร น้ำนั้นกระเพื่อมกำเริบขุ่นมัว เป็นน้ำมีคลื่นเกิดแล้ว ย่อมไปในเบื้องบนและเบื้องต่ำ ยังทิศและทิศต่าง ย่อมกระฉอกขั้น ย่อมส่ายไปข้างซ้ายข้างขวามีระเบียบแห่งฟองด้วยหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า น้ำนั้นเป็นของไม่กระเพื่อม และตั้งอยู่โดยปกติ เป็นของขังอยู่ในหม้อแห่งน้ำ."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บรมบพิตร เคยทรงสดับแล้วหรือว่า 'น้ำในมหาสมุทร ย่อมกระเพื่อม ย่อมกำเริบ ย่อมขุ่นมัว เป็นน้ำมีคลื่นเกิดแล้ว ย่อมไปในเบื้องบนและเบื้องต่ำ ยังทิศและทิศต่าง ๆย่อมกระฉอกขึ้น ย่อมกระฉอกไปข้างซ้ายข้างขวา มีระเบียบแห่งฟองน้ำเท้อขึ้นแล้ว ย่อมพระหารที่ฝั่งน้ำ ย่อมร้องหลายอย่าง."
ร. "คำนั้นข้าพเจ้าเคยฟังด้วย เคยเห็นด้วย, น้ำในมหาสมุทรพลุ่งขึ้นแล้วในอากาศ ร้อยศอกบ้าง สองร้อยศอกบ้าง."
ถ. "ขอถวายพระพร น้ำอยู่ในหม้อแห่งน้ำ ย่อมไม่กระเพื่อมย่อมไม่ร้องเพราะเหตุไร, ส่วนน้ำในมหาสมุทรย่อมกระเพื่อม ย่อมร้องเพราะเหตุไร?"
ร. "น้ำในมหาสมุทร ย่อมกระเพื่อม ย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแหล่งลมเป็นของใหญ่ พระผู้เป็นเจ้า, น้ำอยู่ในหม้อแห่งน้ำ อันตรายทั้งหลายบางเหล่าไม่กระทบแล้ว ย่อมไม่กระเพื่อม ย่อมไม่ร้อง."
ถ. "ขอถวายพระพร น้ำในมหาสมุทร ย่อมกระเพื่อม ย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งลมเป็นของใหญ่ ฉันใด, น้ำย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่ ฉันนั้นแล. หุ่นแห่งกลองแห้งแล้ว ชนทั้งหลายย่อมขึงด้วยหนังแห่งโคแห้งแล้วไม่ใช่หรือ?"
ร. "อย่างนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สภาพผู้เป็นอยู่หรือสัตว์ในกลองมีอยู่หรือ?"
ร. "ไม่มีเลย พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร กลองย่อมร้องเพราะเหตุอะไร?"
ร. "กลองย่อมร้องเพราะความเพียรของสตรีบ้าง ของบุรุษบ้าง สมควรแก่กลองนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร กลองย่อมร้องเพราะความเพียรสมควรแก่กลองนั้น ของสตรีบ้าง ของบุรุษบ้าง ฉันใด, น้ำย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่ ฉันนั้นแล. ด้วยเหตุแม้นี้ บรมบพิตรจงทรงทราบว่า 'สภาพผู้เป็นหรือสัตว์ ในน้ำไม่มี, น้ำย่อมร้องเพราะความที่เรี่ยวแรงแห่งความร้อนพร้อมแต่ไฟเป็นของใหญ่.' เหตุอันบรมบพิตรพึงตรัสถามแม้แก่อาตมภาพก่อนปัญหานั้นอาตมภาพวินิจฉัยดีแล้วอย่างนี้.
ขอถวายพระพร น้ำอันบุคคลต้มอยู่ด้วยภาชนะทั้งหลายแม้ทั้งปวงย่อมร้อง หรือว่าน้ำอันบุคคลต้มอยู่ด้วยภาชนะทั้งหลายบางชนิดนั่นเทียวย่อมร้อง?"
ร. "น้ำอันบุคคลต้มอยู่ด้วยภาชนะทั้งหลายแม้ทั้งปวง ย่อมร้องหามิได้, น้ำอันบุคคลต้มอยู่ด้วยภาชนะทั้งหลายบางชนิดนั่นเทียวย่อมร้อง."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น บรมบพิตรละสมัยลัทธิของพระองค์เสีย เป็นผู้กลับมาสู่วิสัยของอาตมภาพ, สภาพผู้เป็นอยู่หรือสัตว์ในน้ำไม่มี; ถ้าว่าน้ำอันบุคคลต้มอยู่ด้วยภาชนะทั้งหลายแม้ทั้งปวงพึงร้อง น้ำนี้ควรแล้วเพื่อจะกล่าวว่ามีชีวิต.
ขอถวายพระพร น้ำไม่เป็นสองแผนกคือ น้ำใดที่ร้องได้ น้ำนั้นมีชีวิต น้ำใดที่ร้องไม่ได้ น้ำนั้นไม่มีชีวิต. ถ้าว่าน้ำพึงเป็นอูยู่ไซร้ เมื่อคชสารใหญ่ทั้งหลายมีกายสูงขึ้นแล้ว ซับมันแล้ว เอางวงสูบขึ้นแล้วใส่ในปากให้เข้าไปยังท้อง น้ำนั้นแม้ที่แทรกอยู่ในระหว่างแห่งฟันแห่งคชสารใหญ่ทั้งหลายนั้น พึงร้อง. เรือใหญ่ทั้งหลายแม้มีร้อยแห่งศอกเป็นประมาณ เป็นของหนัก บรรทุกของหนัก บริบูรณ์ด้วยภาระมิใช่แสนเดียว ย่อมเที่ยวไปในมหาสมุทร, น้ำแม้อันเรือใหญ่ทั้งหลายเหล่านั้นแทรกอยู่ พึงร้อง. ปลาทั้งหลายมีกายประมาณร้อยโยชน์ มิใช่ปลาเดียว ใหญ่ ๆ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
ติมิรปิงคละ จมลงแล้วในภายใน อาศัยอยู่ในมหาสมุทร เพราะความที่มหาสมุทรนั้นเป็นที่อาศัยอยู่ ท่อแห่งน้ำใหญ่ ย่อมชำระ ย่อมเป่าด้วย, น้ำแทรกอยู่ในระหว่างแห่งฟันบ้าง ในระหว่างแห่งท้องบ้าง แม้แห่งปลาทั้งหลายเหล่านั้น พึงร้อง. ก็น้ำอันเครื่องเบียดเบียนทั้งหลายใหญ่ ๆ มีอย่างนี้เป็นรูป ๆ เบียดเบียนแล้ว ย่อมไม่ร้อง เพราะเหตุใด, แม้เพราะเหตุนั้น บรมบพิตรจงทรงไว้ซึ่งปัญหานั้นอย่างนี้ว่า 'สภาพผู้เป็นหรือสัตว์ในน้ำ ย่อมไม่มี' ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาควรแก้ไข พระผู้เป็นเจ้าจำแนกแล้ว ด้วยวาจาเครื่องจำแนกอันเหมาะเจาะ.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แก้วมณีใหญ่มีค่ามากมาถึงช่างแก้วมณีผู้เป็นอาจารย์ฉลาดเฉียบแหลมได้ศึกษาแล้ว พึงได้เกียรติคุณสรรเสริญชมเชย, หรือแก้วมุกดามาถึงช่างแก้วมุกดา, หรือผ้าอย่างดีมาถึงช่างทำผ้า, หรือแก่นจันทน์แดงมาถึงช่างปรุงเครื่องหอม พึงได้เกียรติคุณสรรเสริญชมเชย ฉันใด; ปัญหาควรแก้ไข พระผู้เป็นเจ้าจำแนกแล้วด้วยวาจาเครื่องจำแนกอันเหมาะเจาะ ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๖. โลกนัตถิภาวปัญหา ๖๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏในโลก, พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏ, พระสาวกของพระตถาคตทั้งหลายย่อมปรากฏ, พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายย่อมปรากฏ, พระเจ้าประเทศราชทั้งหลายย่อมปรากฏ, เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ, ชนที่มีทรัพย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ, ชนที่ไม่มีทรัพย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ, ชนที่ไปดีทั้งหลายย่อมปรากฏ, ชนที่ไปชั่วทั้งหลายย่อมปรากฏ, อิตถีลิงค์เป็นชัดแก่บุรุษปรากฏมี, ปุริสลิงค์เป็นชัดแก่สตรีก็ปรากฏ, กรรมอันบุคคลกระทำดีและกระทำชั่วแล้วย่อมปรากฏ, สัตว์ทั้งหลายผู้เสวยวิบากแห่งกรรมที่เป็นบุญและเป็นบาปทั้งหลายปรากฏอยู่, สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอัณฑชะเกิดแต่ฟองเป็น ชลาพุชะ เป็นสังเสทชะ เป็นอุปปติกะก็มีอยู่ในโลก, สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า สองเท้า สี่เท้า เท้ามากมีอยู่, ยักษ์ทั้งหลาย ผีเสื้อทั้งหลาย กุมภัณฑ์ทั้งหลาย อสูรทั้งหลาย ทานพทั้งหลายคนธรรพ์ทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย ปีศาจทั้งหลาย มีอยู่ในโลก, กินนรทั้งหลาย งูใหญ่ทั้งหลาย นาคทั้งหลาย สุบรรณทั้งหลาย ผู้สำเร็จทั้งหลาย วิทยาธรทั้งหลาย ย่อมมีอยู่, ช้างทั้งหลาย ม้าทั้งหลาย วัวทั้งหลาย ควายทั้งหลาย อูฐทั้งหลาย ลาทั้งหลาย แพะทั้งหลาย เจียมทั้งหลาย เนื้อทั้งหลาย สุกรทั้งหลาย สีหะทั้งหลาย เสือโคร่งทั้งหลาย เสือเหลืองทั้งหลาย หมีทั้งหลาย สุนัขป่าทั้งหลาย เสือแผ้วทั้งหลาย สุนัขทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ล้วนมีอยู่, นกทั้งหลายมีอย่างมากมีอยู่, ทองคำ เงิน แก้วมุกดา แก้ว มณี สังข์ แก้วศิลา แก้วประพาฬ แก้วทับทิม แก้วลาย แก้วไพฑูรย์ เพชร แก้วผลึก กาลโลหะ ตามพะโลหะ วัฏฏโลหะ กังสะโลหะ มีอยู่, ผ้าโขมะ ผ้าโกไสย ผ้ากัปปาสิกะ ผ้าสาณะ ผ้าภังคะ ผ้ากัมพล มีอยู่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวแดง ข้าวฟ่าง ข้าวกับแก้ ลูกเดือย ข้าวละมาน ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา ถั่วดำ ล้วนมีอยู่, กลิ่นแห่งราก กลิ่นแห่งแก่น กลิ่นแห่งกะพี้ กลิ่นแห่งเปลือก กลิ่นแห่งใบ กลิ่นแห่งดอก กลิ่นแห่งผล กลิ่นแห่งข้อ ล้วนมีอยู่, หญ้า และเครือเขา และกอไม้ และต้นไม้ และไม้ตายทราก และไม้เป็นเจ้าแห่งป่า และแม่น้ำ และภูเขา และสมุทร และปลา และเต่าทั้งหลาย ล้วนมีอยู่, สิ่งทั้งปวง มีอยู่ในโลก. สิ่งใดไม่มีในโลก พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวสิ่งนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด พระผู้เป็นเจ้า."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร สิ่งสามอย่างเหล่านี้ ย่อมไม่มีในโลก, สิ่งสามอย่าง คือ: สัตว์ที่มีเจตนาก็ดี ที่ไม่มีเจตนาก็ดี เป็นสัตว์ไม่แก่และไม่ตาย ย่อมไม่มีในโลก, ความที่สังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง ย่อมไม่มีในโลก, ความเข้าไปค้นได้ว่าสัตว์โดยปรมัตถ์ย่อมไม่มีในโลก. ขอถวายพระพร ของสามอย่างเหล่านี้ ย่อมไม่มีในโลก."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. สติสัมโมสปัญหา ๖๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความหลงลืมสติของพระอรหันต์มีหรือ?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระอรหันต์ทั้งหลายปราศจากความหลงลืมสติแล ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ก็พระอรหันต์ต้องอาบัติหรือไม่?"
ถ. "ขอถวายพระพร ต้องซิ."
ร. "ต้องเพราะวัตถุอะไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร ต้องเพราะทำกุฎี, ต้องเพราะสัญจริต, ต้องเพราะความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล, ต้องเพราะความสำคัญในภิกษุผู้ห้ามข้าวแล้วว่าเป็นผู้ยังไม่ได้ห้ามข้าวแล้ว, ต้องเพราะสำคัญในภัตรเป็นอนติริตตะว่าเป็นอติริตตะ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ย่อมต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลายนั้น ย่อมต้องด้วยอาการทั้งหลายสอง คือ ต้องด้วยความไม่เอื้อเฟื้อบ้าง คือ ต้องด้วยความไม่รู้บ้าง.' อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อมีแก่พระอรหันต์บ้างหรือ พระผู้เป็นเจ้า พระอรหันต์ต้องอาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อไรเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร หามีไม่?"
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระอรหันต์ต้องอาบัติ, แต่
อนาทริยะของพระอรหันต์ไม่มี, ถ้าอย่างนั้น ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ย่อมมี ละซิ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ความหลงลืมสติของพระอรหันต์ ย่อมไม่มี, ก็แต่ว่าพระอรหันต์ย่อมต้องอาบัติ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงยังข้าพเจ้าให้ทราบด้วยเหตุ อะไรเป็นเหตุในความต้องนั้น?"
ถ. "ขอถวายพระพร กิเลสทั้งหลายสองประการเหล่านี้ คือ:โลกวัชชะหนึ่ง ปัณณัตติวัชชะหนึ่ง. โลกวัชชะเป็นไฉน: กรรมบถทั้งหลายที่เป็นอกุศลสิบประการ ประชุมแห่งกรรมบถเป็นอกุศลนี้ บัณฑิตย่อมกล่าวว่าโลกวัชชะ. ปัณณัตติวัชชะเป็นไฉน: กรรมอันใดไม่เหมาะ ไม่ควรแก่สมณะทั้งหลาย แต่เป็นอนวัชชะไม่มีโทษของคฤหัสถ์ทั้งหลายมีอยู่ในโลก, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ให้เป็นเขตแดนอันสาวกทั้งหลายพึงล่วงไม่ได้ ตราบเท่าสิ้นชีพเพราะกรรมนั้น.
ขอถวายพระพร วิกาลโภชน์เป็นอนวัชชะไม่มีโทษของโลก, วิกาลโภชน์นั้นเป็นสาวัชชะมีโทษในพระชินศาสนา; ความกระทำภูตคามให้กำเริบเป็นอนวัชชะของโลก, ความกระทำภูตคามให้กำเริบนั้นเป็นสาวัชชะในพระชินศาสนา, การรื่นเริงเล่นน้ำเป็นอนวัชชะของโลก, การรื่นเริงเล่นน้ำนั้นเป็นสาวัชชะในชินศาสนา; กรรมทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ เป็นสาวัชชะในพระชินศาสนา; วัชชะนี้อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นปัณณัตติวัชชะ. กิเลสใดเป็นโลกวัชชะ พระขีณาสพไม่พอเพื่อจะประพฤติล่วงกิเลสนั้น, กิเลสใดที่เป็ฯปัณณัตติวัชชะ พระขีณาสพต้องกิเลสนั้นเพราะเไม่รู้.
ขอถวายพระพร การที่จะรู้กิเลสทั้งปวงมิใช่วิสัยของพระอรหันต์บางองค์, กำลังที่จะรู้กิเลสทั้งปวงย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์โดยแท้ แม้ชื่อแม้โคตรแห่งสตรีบุรุษทั้งหลายอันพระอรหันต์ไม่รู้แล้ว, แม้ทางเดินในแผ่นดินอันพระอรหันต์นั้นยังไม่รู้สิ้นแล้ว; พระอรหันต์บางองค์พึงรู้ได้แต่วิมุตติอย่างเดียว, พระอรหันต์ที่ได้อภิญญาหกประการ พึงรู้ได้เฉพาะวิสัยของตน. พระตถาคตผู้สัพพัญญูเท่านั้น ย่อมรู้กิเลสทั้งปวง."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 13:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. นิพพานอัตถิภาวปัญหา ๖๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน สัตว์ทั้งหลายเกิดแต่แกรรม ย่อมปรากฏในโลก, สัตว์ทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ย่อมปรากฏ, สัตว์ทั้งหลายเกิดแต่อุตุ ย่อมปรากฏ, สิ่งใดที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่อุตุ จงกล่าวสิ่งนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ของทั้งหลายสองเหล่านี้ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่อุตุในโลก, ของทั้งหลายสองเป็นไฉน: ของทั้งหลายสอง คือ อากาศไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่อุตุ, พระนิพพานไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่อุตุ.
ขอถวายพระพร ของสองประการเหล่านี้ ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่อุตุแล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้าจงอย่าหลู่ซึ่งพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว, ไม่รู้แล้วจงอย่าพยากรณ์ปัญหาเลย."
ถ. "ขอถวายพระพร อาตมภาพกล่าวปัญหาอะไร, พระองค์จึงรับสั่งกะอาตมภาพอย่างนี้ว่า 'พระผู้เป็นเจ้าจงอย่าหลู่ซึ่งพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว ไม่รู้แล้วจงอย่าพยากรณ์ปัญหาเลย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน การที่กล่าวว่า 'อากาศไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่ฤดู' ดังนี้ นี้ควรแล้วก่อน. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็มรรคเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่สาวกทั้งหลาย ด้วยเหตุทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียว, ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้า กล่าวอย่างนี้ว่า 'พระนิพพานไม่เกิดแต่เหตุ ดังนี้."
ถ. "ขอถวายพระพร มรรคเพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่สาวกทั้งหลาย ด้วยเหตุทั้งหลายมิใช่ร้อยเดียวจริง, ก็แต่เหตุเพื่อความถือมั่นนิพพานอันพระองค์ไม่ตรัสแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในที่นี้ เราทั้งหลายจากที่มืดเข้าไปสู่ที่มืดกว่า, จากไพรเข้าไปสู่ไพรที่ทึบกว่า, จากชัฏเข้าไปสู่ชัฏที่รกกว่า, ชอบกล เหตุเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีอยู่ แต่เหตุเพื่อความถือมั่นธรรม คือ นิพพานนั้นย่อมไม่มี พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า เหตุเพื่อกระทำนิพพานให้แจ้งมีอยู่ไซร้, ถ้าอย่างนั้น เหตุเพื่อถือมั่นพระนิพพานอันบัณฑิตพึงปรารถนา.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เหมือนบิดาของบุตรมีอยู่, เพราะเหตุนั้น บิดาแม้ของบิดาอันบัณฑิตพึงปรารถนา ฉันใด; อนึ่ง อาจารย์ของอันเตวาสิกมีอยู่, เพราะเหตุนั้น อาจารย์แม้ของอาจารย์ อันบัณฑิตพึงปรารถนา ฉันใด; อนึ่ง พืชของหน่อมีอยู่, เพราะเหตุนั้น พืชแม้ของพืชอันบัณฑิตพึงปรารถนา ฉันใด;
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าเหตุเพื่อทำนิพพานให้แจ้งมีอยู่ไซร้, ถ้าอย่างนั้น เหตุแม้เพื่อความถือมั่นพระนิพพานอันบัณฑิตพึงปรารถนาฉันนั้นนั่นแล. เหมือนกับว่า ครั้นเมื่อยอดแห่งต้นไม้ หรือเครือเขามีอยู่ เพราะเหตุนั้น แม้ท่ามกลางก็มีอยู่ โคนก็มีอยู่ ฉันใด, ถ้าเหตุเพื่อความกระทำนิพพานให้แจ้งมีอยู่, ถ้าอย่างนั้น เหตุเพื่อความถือมั่นนิพพานอันบัณฑิตพึงปรารถนา ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ถ. "ขอถวายพระพร พระนิพพานอันใคร ๆ ไม่พึงถือมั่น, เพราะฉะนั้น เหตุเพื่อความถือมั่นพระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เชิญพระผู้เป็นเจ้าแสดงเหตุ ยังข้าพเจ้าให้ทราบด้วยเหตุ, ข้าพเจ้าพึงทราบอย่างไรว่า 'เหตุเพื่อกระทำนิพพานให้แจ้งมีอยู่ เหตุเพื่อความยึดมั่นพระนิพพานไม่มี."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น บรมบพิตรจงตั้งพระกรรณทรงสดับโดยเคารพ จงสดับให้สำเร็จประโยชน์เถิด, อาตมภาพจักกล่าวเหตุในข้อนั้น.
ขอถวายพระพร บุรุษพึงอาจเพื่อจะเข้าไปใกล้ราชบรรพตชื่อหิมวันต์ แต่ที่นี้ ด้วยกำลังอันมีอยู่โดยปกติหรือ?"
ร. "อาจซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บุรุษนั้นอาจเพื่อจะนำราชบรรพตชื่อหิมวันต์ มาในที่นี้ ด้วยกำลังโดยปกติหรือ?"
ร. "ไม่พึงอาจเลย พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. ขอถวายพระพร มรรคเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าอาจเพื่อจะตรัส เหตุเพื่อความถือมั่นพระนิพพานนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่อาจเพื่อจะทรงแสดง ฉันนั้นนั่นแล.
ขอถวายพระพร บุรุษพึงอาจเพื่อจะข้ามมหาสมุทรด้วยเรือถึงฝั่งโน้น ด้วยกำลังอันมีอยู่โดยปกติหรือ?"
ร. "อาจซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร บุรุษนั้นอาจเพื่อจะนำฝั่งโน้นของมหาสมุทรมาในที่นี้ ด้วยกำลังอันมีอยู่โดยปกติหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร มรรคเพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าอาจเพื่อจะตรัส เหตุเพื่อความยึดมั่นพระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่อาจเพื่อจะทรงแสดง ฉันนั้นนั่นเทียวแล; ซึ่งเป็นอย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ? ซึ่งเป็นอย่างนี้ เพราะความที่ธรรมเป็นอสังขตะ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระนิพพานเป็นอสังขตะหรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระนิพพานเป็นอสังขตะ พระนิพพานอันปัจจัยเหล่าไร ๆ กระทำไม่ได้แล้ว พระนิพพานเป็นธรรมชาติ อันใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า พระนิพพานเกิดขึ้นแล้ว หรือว่าพระนิพพานนั้นไม่เกิดขึ้นแล้ว หรือว่าพระนิพพานนั้นเป็นของควรให้เกิดขึ้น หรือว่าพระนิพพานนั้น เป็นอดีต หรือว่าพระนิพพานนั้น เป็นอนาคต หรือว่าพระนิพพานนั้น เป็นปัจจุบัน หรือว่าพระนิพพานนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ หรือว่านิพพานนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยโสด หรือว่านิพพานนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ หรือว่านิพพานนั้น อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา หรือว่านิพพานนั้นอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยกาย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าพระนิพพานนั้น ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ไม่เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ไม่เป็นธรรมควรจะให้เกิดขึ้น ไม่เป็นอดีต ไม่เป็นอนาคต ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นธรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ไม่เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยโสตไม่เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้แจ้วด้วยฆานะ ไม่เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ไม่เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยกาย, พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าอ้างพระนิพพานไม่มีเป็นธรรมดา, นิพพานย่อมไม่มี."
ถ. "ขอถวายพระพร พระนิพพานมีอยู่, พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ, พระอริยสาวกปฏิบัติแล้วชอบ ย่อมเห็นพระนิพพานด้วยใจ อันหมดจดวิเศษแล้ว ประณีตตรง ไม่มีกิเลสเครื่องกั้น ไม่มีอามิส."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็พระนิพพานนั้นเช่นไร พระนิพพานไรเล่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงแสดง ด้วยเหตุเครื่องอุปมาทั้งหลาย, พระนิพพานมีอยู่เป็นธรรมดา อันบัณฑิตพึงแสดงด้วยเหตุเครื่องอุปมาทั้งหลาย ด้วยประการใด ๆ ขอพระผู้เป็นเจ้ายังข้าพเจ้าให้ทราบ ด้วยเหตุทั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ."
ถ. "ขอถวายพระพร ชื่อว่าลมมีหรือ?"
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร เชิญบรมบพิตรทรงแสดงลมโดยวรรณหรือโดยสัณฐาน หรือละเอียดหรือหยาบ หรือยาวหรือสั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ลมใคร ๆ ไม่อาจแสดงได้, ลมนั้นย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความถือเอาด้วยมือหรือ หรือความขยำ, เออก็ แต่ลมมีอยู่."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าว่าลมอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ได้, ถ้าอย่างนั้นลมไม่มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าทราบอยู่ ซึมทราบ ณ หฤทัยของข้าพเจ้าว่า 'ลมมีอยู่,' ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าย่อมไม่อาจเพื่อจะชี้ลมได้."
ถ. "ขอถวายพระพร นิพพานมีอยู่, ก็แต่ว่า ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อชี้โดยวรรณ หรือโดยสัณฐาน ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้ออุปมา พระผู้เป็นเจ้าแสดงดีแล้ว, เหตุพระผู้เป็นเจ้าแสดงออกดีแล้ว, ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. กัมมชากัมมชปัญหา ๖๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ สัตว์เหล่าไหน เป็นผู้เกิดแต่กรรม สัตว์เหล่าไหน เป็นผู้เกิดแต่เหตุ สัตว์เหล่าไหน เป็นผู้เกิดแต่ฤดู, สัตว์เหล่าไหน ไม่เกิดแต่กรรม สัตว์เหล่าไหน ไม่เกิดแต่เหตุ สัตว์เหล่าไหน ไม่เกิดแต่ฤดู?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นไปกับด้วยเจตนา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น เกิดแต่กรรม, ไฟด้วย พืชทั้งหลายทั้งปวงด้วย เป็นของเกิดแต่เหตุ, แผ่นดินด้วยภูเขาด้วย น้ำด้วย ลมด้วย ของทั้งปวงเหล่านั้น เป็นของเกิดแต่ฤดู, อากาศด้วย นิพพานด้วย สองสิ่งนี้ ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่ฤดู.
ขอถวายพระพร ก็นิพพานอันใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า เกิดแต่กรรมหรือว่าเกิดแต่เหตุ หรือว่าเกิดแต่ฤดู หรือว่าของเกิดขึ้นแล้ว หรือเป็นของยังไม่เกิดขึ้นแล้ว หรือว่าเป็นของควรให้เกิดขึ้น หรือว่าเป็นอดีต หรือว่าเป็นอนาคต หรือว่าเป็นปัจจุบัน หรือว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ หรือว่าเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยโสต หรือว่าเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ หรือว่าเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้ด้วยฆานะ หรือว่าเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา หรือว่าเป็นธรรมชาติอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยกาย.
ขอถวายพระพร พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใด ด้วยญาณเป็นของหมดจดพิเศษแล้ว พระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาน่ารื่นรมย์ พระผู้เป็นเจ้าวินิจฉัยดีแล้ว สิ้นสงสัยเป็นไปแล้วส่วนเดียว วิมัติพระผู้เป็นเจ้าตัดเสียแล้ว เพราะมากระทบพระผู้เป็นเจ้า อันบวรกว่าเจ้าคณะอันประเสริฐ."


วรรคที่แปด
๑. ยักขมรณภาวปัญหา ๖๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ชื่อยักษ์ทั้งหลายมีในโลกหรือ?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ชื่อยักษ์ทั้งหลายมีอยู่ในโลก."
ร. "ก็ยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเคลื่อนจากกำเนิดนั้นหรือพระผู้เป็นเจ้า?"
ถ. "ขอถวายพระพร ยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็เคลื่อนจากกำเนิดนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็สรีระแห่งยักษ์ทั้งหลาย ที่ตายแล้วเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏ, แม้กลิ่นแห่งทรากศพ ย่อมไม่ฟุ้งไปหรือ?"
ถ. "สรีระยักษ์ทั้งหลายที่ตายแล้ว อันใคร ๆ ย่อมเห็น, แม้กลิ่นแห่งทรากศพแห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมฟุ้งไป. สรีระแห่งยักษ์ทั้งหลายที่ตายแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งตั๊กแตนบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งหนอนบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งมดแดงบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งบุ้งบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศงูบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งแมลงป่องบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งตะขาบบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งนกบ้าง ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งเนื้อบ้าง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็ใครอื่นนอกจากบัณฑิต ผู้มีความรู้เช่นพระผู้เป็นเจ้า อันข้าพเจ้าถามแล้ว ซึ่งปัญหาอันนี้ จะพึงวิสัชนาได้."

๒. สกขาบทอปัญญาปนปัญหา ๖๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน อาจารย์ทั้งหลายแต่ปางก่อน ของหมอผู้เยียวยาทั้งหลายเหล่าใดนั้นได้มีแล้ว; อาจารย์ทั้งหลาย คือ: อาจารย์ชื่อ นารท หนึ่ง อาจารย์ชื่อ ธรรมมันตรี หนึ่ง อาจารย์ชื่อ อังคีรส หนึ่ง อาจารย์ชื่อ กปิละ หนึ่ง อาจารย์ชื่อ กัณฑรัคคิกามะ หนึ่ง อาจารย์ชื่อ อตุละ หนึ่ง อาจารย์ชื่อ ปุพพกัจจายนะ หนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งปวง รู้แล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งโรคด้วย โรคนิทานด้วย สภาวะด้วย สมุฏฐานด้วย ความเยียวยาด้วยกิริยาด้วย ความรักษาสำเร็จและไม่สำเร็จแล้วด้วย ทั้งปวงนั้นไม่มีส่วนเหลือ คราวเดียวทีเดียวว่า 'โรคทั้งหลายประมาณเท่านี้ จักเกิดขึ้นในกายนี้' จึงกระทำแล้วซึ่งความถือเอาเป็นหมวดโดยคราวอันเดียวผูกแล้วซึ่งด้าย. อาจารย์ทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ไม่ใช่สัพพัญญู. แต่พระตถาคตเป็นสัพพัญญู ทราบทราบกิริยาอนาคตด้วยพุทธญาณว่า 'สิกขาบทมีประมาณเท่านี้ จกเป็นสิกขาบทอันพระพุทธเจ้าพึงทรงบัญญัติ เพราะวัตถุชื่อมีประมาณเท่านี้' พระตถาคตทรงกำหนดได้แล้วไม่บัญญัติสิกขาบทโดยส่วนไม่เหลือเพื่อเหตุอะไร? ครั้นเมื่อวัตถุเกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว ครั้นเมื่อความถอยยศปรากฏแล้ว ครั้นเมื่อโทษเป็นไปพิสดารแล้ว เป็นไปกว้างขวางแล้ว ครั้นเมื่อมนุษย์โพนทนาอยู่ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายแล้ว ในกาลนั้น ๆ.
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ความบัญญัติสิกขาบทนั้น อันพระตถาคตทรงทราบแล้วว่า 'ในสมัยนี้ สิกขาบทร้อยห้าสิบถ้วน จักเป็นสิกขาบทอันพระพุทธเจ้าพึงบัญญัติ ในมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้,' เออก็ ความปริวิตกอย่างนี้ได้มีแล้วแด่พระตถาคตว่า 'ถ้าว่า เราพระตถาคตจักบัญญัติสิกขาบทร้อยห้าสิบถ้วน โดยคราวเดียวไซร้, มหาชนจักถึงความสะดุ้งว่า 'ในศาสนานี้ ต้องรักษามาก, การที่จะบวชในศาสนาของพระสมณโคดมกระทำได้ยากหนอแล' ชนทั้งหลายแม้ผู้ใคร่เพื่อจะบวช จักไม่บวช, ชนทั้งหลายจักไม่เชื่อคำของพระตถาคตด้วย, มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อไม่เชื่อจักเป็นผู้ไปสู่อบาย; ครั้นเมื่อวัตถุเกิดขึ้นแล้วและเกิดแล้ว เราจักขอแล้วเพื่อจะแสดงธรรมครั้นเมื่อโทษปรากฏแล้ว จึงจักบัญญัติสิกขาบท."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อปริวิตกอย่างนี้ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ความปริวิตกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย น่าพิศวง, พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตใหญ่เพียงไรเล่า; พระผู้เป็นเจ่านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สมอย่างนั้น, ประโยชน์นั้นอันพระตถาคตแสดงออกดีแล้ว, ความสะดุ้งพร้อม พึงเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะฟังว่า 'ในศาสนานี้ต้องรักษามาก,' แม้บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงบวชในพระชินศาสนา, ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. สุริยโรคภาวปัญหา ๗๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระอาทิตย์นี้ย่อมร้อนกล้าสิ้นกาลทั้งปวงหรือว่าร้อนอ่อนสิ้นกาลบางครั้ง?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระอาทิตย์ย่อมร้อนกล้าสิ้นกาลทั้งปวง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระอาทิตย์ร้อนกล้าสิ้นกาลทั้งปวง, ก็พระอาทิตย์ย่อมร้อนกล้าในกาลบางที ย่อมร้อนน้อยในกาลบางที เพราะเหตุอะไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร โรคทั้งหลายเหล่านี้ของพระอาทิตย์มีสี่, พระอาทิตย์อันโรคอันใดอันหนึ่งเบียดเบียนแล้ว ย่อมร้อนน้อย โรคสี่อย่างคือ: หมอกเป็นโรคของพระอาทิตย์ พระอาทิตย์อันหมอกนั้นเบียดเบียนแล้ว ย่อมร้อนน้อย; น้ำค้างเป็นโรคของพระอาทิตย์ พระอาทิตย์อันน้ำค้างนั้นเบียดเบียนแล้ว ย่อมร้อนน้อย; เมฆเป็นโรคของพระอาทิตย์ พระอาทิตย์อันเฆมนั้นเบียดเบียนแล้ว ย่อมร้อนน้อย; ราหูเป็นโรคของพระอาทิตย์ พระอาทิตย์อันราหูนั้นเบียดเบียนแล้ว ย่อมร้อนน้อย."
ขอถวายพระพร โรคทั้งหลายของพระอาทิตย์สี่ประการเหล่านี้แล, บรรดาโรคทั้งหลายสี่ประการเหล่านั้น พระอาทิตย์อันโรคอันใดอันหนึ่งเบียดเบียนแล้วย่อมร้อนน้อย."
ร. "น่าอัศจรรย์นัก พระผู้เป็นเจ้านาคเสน น่าพิศวง พระผู้เป็นเจ้านาคเสน, โรคจักเกิดขึ้น แม้แก่พระอาทิตย์ถึงพร้อมแล้วด้วยไฟ, จะป่วยกล่าวอะไร โรคชาตินั้นจักไม่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น; พระผู้เป็นเจ้า ความจำแนกนั้นของบุคคลอื่น เว้นจากบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องรู้เช่นพระผู้เป็นเจ้าไม่มี."

๔. สุริยตัปปภาวปัญหา ๗๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระอาทิตย์ย่อมร้อนกล้าในเหมันตฤดู ในคิมหฤดูไม่ร้อนกล้าเหมือนอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ธุลีและหมอกไม่เข้ากระทบแล้วในคิมหฤดู, ละอองทั้งหลายกำเริบแล้วเพราะลม, ฟุ้งไปในอากาศหมอกทั้งหลายเป็นของหนาในอากาศ และลมใหญ่พัดเหลือประมาณ; อากูลต่าง ๆ ทั้งปวงเหล่านั้นประมวลมาแล้วเสมอ ย่อมปิดรัศมีพระอาทิตย์เสีย; เพราะเหตุนั้น ในคิมหฤดูพระอาทิตย์ย่อมร้อนน้อย.
ขอถวายพระพร แผ่นดินในเบื้องใต้เป็นของเย็น ในเหมันตฤดู, มหาเมฆในเบื้องบนเป็นของปรากฏแล้ว ธุลีและหมอกเป็นของสงบแล้ว, และละอองละเอียด ๆ ย่อมเที่ยวไปในอากาศ อากาศปราศจากมลทินแล้วด้วย ลมในอากาศย่อมพัดไปอ่อน ๆ ด้วย; รัศมีของพระอาทิตย์ทั้งหลายเป็นของสะอาด เพราะความเว้นโทษเหล่านั้น, ความร้อนของพระอาทิตย์พ้นพิเศษแล้วจากเครื่องกระทบ ย่อมร้อนเกินเปรียบ, พระอาทิตย์ย่อมร้อนกล้าในเหมันตฤดู ในคิมหฤดูย่อมไม่ร้อนอย่างนั้น เพราะเหตุอันใด ข้อนี้เป็นเหตุอันนั้นในความร้อนกล้าและร้อนอ่อนนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระอาทิตย์พ้นแล้วจากความจัญไรทั้งปวงย่อมร้อนกล้า, พระอาทิตย์ประกอบด้วยเครื่องเศร้าหมองมีเมฆเป็นต้นย่อมไม่ร้อนกล้า."

๕. เวสสันตรปัญหา ๗๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระโพธิสัตว์ทั้งหมดย่อมให้บุตรและภริยา หรือว่าพระโอรสและพระเทวี อันพระราชาเวสสันดรเท่านั้นทรงบริจาคแล้ว?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระโพธิสัตว์ทั้งปวง ย่อมให้บุตรและภริยา ไม่แต่พระราชาเวสสันดรองค์เดียวเท่านั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า เออก็ พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมให้โดยความอำนวยตามแห่งบุตรและภริยานั้นหรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ภริยาอำนวยตาม ก็แต่ทารกทั้งหลายคร่ำครวญแล้ว เพราะความเป็นผู้ยังเล็ก; ถ้าทารกเหล่านั้น พึงรู้โดยความเป็นประโยชน์ก็จะอนุโมทนา จะไม่รำพันเพ้อ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน กิจที่ยากอันพระโพธิสัตว์กระทำแล้วคือ พระโพธิสัตว์นั้น ได้ให้บุตรทั้งหลาย อันเกิดแต่อกเป็นที่รักของตนแก่พราหมณ์ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นทาส. กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่สองแม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ พระโพธิสัตว์เห็นบุตรทั้งหลาย อันเกิดแต่อกเป็นที่รักของตนยังเล็กอยู่ อันพราหมณ์นั้นผูกด้วยเถาวัลย์แล้วหวดด้วยเถาวัลย์ก็เพิกเฉยได้ กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่สามแม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ พระโพธิสัตว์นั้น ผูกทารกทั้งหลายซึ่งหลุดจากเครื่องผูกด้วยกำลังของตน ถึงความครั่นคร้ามแล้วด้วยเถาวัลย์ได้ให้แล้วอีกทีเดียว. กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่สี่แม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ ครั้นเมื่อทารกทั้งหลายรำพันเพ้อว่า 'พระบิดา พราหมณ์นี้เป็นยักษ์ นำหม่อมฉันไปเพื่อจะเคี้ยวกิน' พระโพธิสัตว์นั้น ก็ไม่ได้ตรัสปลอบว่า 'พ่ออย่ากลัวเลย.' กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่ห้าแม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ ชาลีกุมารกันแสงฟุบอยู่ที่พระบาท ทูลวิงวอนว่า 'อย่าเลย พระบิดา ขอพระองค์ให้นางกัณหาชินา อยู่เถิด หม่อมฉันผู้เดียวจะไปด้วยยักษ์, ยักษ์จงเคี้ยวกินหม่อมฉัน' แม้อย่างนั้น พระโพธิสัตว์ก็ไม่ทรงยอมรับ. กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่หกแม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ เมื่อชาลีกุมารบ่นรำพันว่า 'พระบิดา พระหฤทัยของพระองค์แข็งเสมอหินแท้ ๆ , เพราะว่าพระองค์ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันทั้งสองถึงแล้วซึ่งทุกข์ ยักษ์นำหม่อมฉันทั้งสองไปในป่าใหญ่อันไม่มีมนุษย์ ก็ไม่ตรัสห้าม' พระโพธิสัตว์นั้น ก็ไม่ได้กระทำความการุญ. กิจที่กระทำยากกว่านั้นที่เจ็ดแม้นี้ อันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว คือ ครั้นเมื่อทารกทั้งหลายอันพราหมณ์นำไปลับแล้ว หทัยแห่งพระโพธิสัตว์ผู้กรอบเกรียมพรั่นพรึงนั้น ไม่แตกโดยร้อยภาค หรือพันภาค; ประโยชน์อะไรด้วยมนุษย์ผู้อยากได้บุญ ยังบุคคลอื่นให้ถึงทุกข์, มนุษย์ผู้อยากได้บุญ ควรจะให้ตนเองเป็นทานมิใช่หรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เพราะความที่กิจซึ่งกระทำยากเป็นของอันพระโพธิสัตว์กระทำแล้ว กิตติศัพท์ของพระโพธิสัตว์ฟุ้งไปแล้วในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดหมื่นโลกธาตุ, เทวดาย่อมสรรเสริญตลอดเทวพิภพ อสูรทั้งหลายย่อมสรรเสริญตลอดอสูรพิภพ ครุฑทั้งหลายย่อมสรรเสริญตลอดครุฑพิภพ นาคทั้งหลายย่อมสรรเสริญตลอดนาคพิภพ ยักษ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญตลอดยักษพิภพ; สืบ ๆ มาโดยลำดับ กิตติศัพท์ของพระโพธิสัตว์นั้น มาถึงสมัยลัทธิของเราทั้งหลาย ณ กาลบัดนี้, เราทั้งหลายนั่งสรรเสริญค่อนได้ถึงทานนั้นว่า 'การบริจาคบุตรและภริยาเป็นอันพระโพธิสัตว์ให้ดีแล้วหรือให้ชั่วแล้ว.'
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์นั้นแล ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาละเอียดรู้วิเศษรู้แจ้ง ย่อมให้เนือง ๆ ซึ่งคุณสิบประการ, คุณสิบประการเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้ไม่โลภหนึ่ง ความเป็นผู้ไม่มีอาลัยหนึ่ง ความบริจาคหนึ่ง ความละหนึ่ง ความเป็นผู้ไม่เวียนมาหนึ่ง ความเป็นผู้สุขุมหนึ่ง ความเป็นผู้ใหญ่หนึ่ง ความเป็นผู้อันบุคคลรู้ตามโดยยากหนึ่ง ความเป็นผู้อันบุคคลได้โดยยากหนึ่ง ความเป็นผู้มีธรรมรู้แล้วหาผู้อื่นเช่นเดียวกันไม่ได้หนึ่ง; กิตติศัพท์นี้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาละเอียดรู้วิเศษรู้แจ้ง ย่อมให้เนือง ๆ ซึ่งคุณสิบประการเหล่านี้แล."
ร. "พระนาคเสนผู้เจริญ บุคคลใดยังผู้อื่นให้ลำบากแล้วให้ทาน, ทานนั้นของบุคคลนั้น มีสุขเป็นวิบาก ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสวรรค์บ้างหรือหนอ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เหตุอะไรอันบรมบพิตรจะพึงตรัส"
ร. "เชิญเถิด ขอพระผู้เป็นเจ้าอ้างเหตุ."
ถ. "ขอถวายพระพร สมณะหรือพราหมณ์ไร ๆ ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลมีธรรมอันงาม, หรือถึงพยาธิอันใดอันหนึ่ง; ผู้ใดผู้หนึ่งใคร่ต่อบุญ จึงให้สมณพราหมณ์นั้นขึ้นสู่ยาน แล้วส่งให้ถึงประเทศที่ปรารถนา; สุขหน่อยหนึ่ง มีกรรมนั้นเป็นเหตุ พึงเกิดแก่บุรุษนั้น กรรมนั้นให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสวรรค์ได้บ้างหรือหนอ?"
ร. "ได้ซิ อะไรที่พระผู้เป็นเจ้าจะพึงกล่าวเล่า, บุรุษนั้นพึงได้ยาน คือ ช้าง ยาน คือ ม้า ยาน คือ รถ ยานสำหรับไปในทางบก ยานสำหรับไปในทางน้ำ ยานสำหรับกันฝน หรือยาน คือ มนุษย์, ยานอันสมควรแก่บุรุษนั้น ยานอันเหมาะแก่บุรุษนั้น พึงเกิดทุกภพ ๆ, อนึ่ง ความสุขทั้งหลายอันสมควรแก่บุรุษนั้น พึงเกิดแก่เขา ๆ พึงไปสู่สุคติแต่สุคติ, เพราะผลอันหลั่งไหลมาแต่กรรมนั้นนั่นเทียว บุรุษนั้นพึงขึ้นสู่ยานสำเร็จด้วยฤทธิ์ ให้ถึงนคร คือ นิพพานอันตนปรารถนาแล้ว."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น ทานที่บุรุษนั้นให้แล้วด้วยอันยังบุคคลอื่นให้ลำบาก เป็นของมีสุขเป็นวิบาก ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสวรรค์.
ขอถวายพระพร บุรุษนั้นยังชนทั้งหลายผู้เนื่องด้วยกำลังให้ลำบากแล้ว เสวยสุขเห็นปานนี้ ด้วยทานไรเล่า.
ขอถวายพระพร บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: พระราชาองค์ใดองค์หนึ่งในโลกนี้ ทรงบริจาคทานด้วยการให้เก็บซึ่งธรรมิกพลีจากชนบท แล้วยังพระราชอาชญาให้เป็นไป, พระราชานั้น พึงเสวยสุขหน่อยหนึ่งด้วยเหตุนั้น ทานนั้นให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสวรรค์บ้างหรือหนอแล?"
ร. "ได้ซิ ใครจะพึงกล่าวค้าน, พระราชานั้น พึงได้สุขตั้งแสนเป็นอเนกด้วยเหตุนั้น คือ เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชาทั้งหลาย เป็นเทพดายิ่งกว่าเทพดาทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย เป็นสมณะยิ่งกว่าสมณะทั้งหลาย เป็นพราหมณ์ยิ่งกว่าพราหมณ์ทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ยิ่งกว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น ทานที่พระราชานั้นทรงบริจาคแล้ว ด้วยการให้ผู้อื่นลำบาก เป็นของมีสุขเป็นวิบาก ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสวรรค์ซิ. ขอถวายพระพร พระราชานั้นเสวยสุขเพราะยศอันยิ่งเห็นปานนี้ด้วยวิบากแห่งทานที่พระองค์บีบคั้นชนบทด้วยพลีแล้ว ทรงบริจาคแล้วไรเล่า."
ร. "ทานยิ่งอันพระเวสสันดรราชฤษีทรงบริจาคแล้ว คือ เธอได้พระราชทานพระเทวีของพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นภริยาแห่งชนอื่น. ได้พระราชทานพระโอรสทั้งหลายของพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นทาสแห่งพราหมณ์. ขึ้นชื่อว่า ทานยิ่ง อันนักปราชญ์ ทั้งหลายนินทาแล้ว ติเตียนแล้วในโลก. เปรียบเหมือนเพลาแห่งเกวียนย่อมหักด้วยภาระยิ่ง เรือย่อมจบด้วยภาระยิ่ง โภชนะย่อมน้อมไปสู่ความไม่เสมอด้วยบริโภคยิ่ง ข้าวเปลือกย่อมฉิบหายด้วยฝนยิ่ง บุคคลย่อมถึงความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ด้วยการให้ยิ่ง วัตถุทั้งปวงย่อมไหม้ด้วยความร้อนยิ่ง บุคคลเป็นบ้าด้วยความกำหนัดยิ่ง บุคคลถูกฆ่าด้วยความประทุษร้ายยิ่ง บุคคลย่อมถึงความพินาศด้วยความหลงยิ่ง บุคคลย่อมเข้าถึงความถูกจับว่าเป็นโจรด้วยความโลภยิ่ง บุคคลย่อมผิดด้วยพูดพล่ามนัก แม่น้ำย่อมท่วมด้วยอันเต็มยิ่ง อสนีบาตย่อมตกด้วยลมยิ่ง ข้าวสุกย่อมล้นด้วยไฟยิ่ง บุคคลย่อมไม่เป็นอยู่นาน ด้วยความกล้าหาญเกินนัก; ขึ้นชื่อว่า ทานยิ่ง อันนักปราชญ์ทั้งหลายนินทาแล้ว ติเตียนแล้วในโลก ฉันนั้นนั่นแล. ทานยิ่งอันพระราชาเวสสันดรทรงบริจาคแล้ว ผลหน่อยหนึ่งอันบุคคลไม่พึงปรารถนาในทานยิ่งนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ทานยิ่งอันนักปราชญ์ทั้งหลายพรรณนาชมเชยสรรเสริญแล้วในโลก, ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ให้ทานเช่นใดเช่นหนึ่ง, ชนผู้ให้ทานยิ่ง ย่อมถึงความสรรเสริญในโลก. รากไม้ในป่าเป็นราวกะทิพย์ที่บุคคลถือเอาแล้ว ด้วยความเป็นของน่าเลือกสรรยิ่ง อันบุคคลนั้นจะไม่ให้แก่ชนทั้งหลายอื่นผู้ยืนอยู่แล้วในหัตถบาสบ้างหรือ? ยาเป็นของกำจัดความเบียดเบียน กระทำที่สุดแห่งโรคทั้งหลาย ด้วยความที่แห่งยาเป็นของเกิดยิ่ง ไฟย่อมไหม้ด้วยความโพลงยิ่ง น้ำย่อมยังไฟให้ดับด้วยความเป็นของเย็นยิ่ง ดอกบัวย่อมไม่ติดเปื้อนด้วยน้ำและเปือกตม ด้วยความที่แห่งดอกบัวเป็นของหมดจดยิ่ง แก้วมณีให้ผลอันบุคคลพึงปรารถนา ด้วยความที่แห่งแก้วมณีมีคุณยิ่ง เพชรย่อมตัดแก้วมณี แก้วมุกดาและแก้วผลึก ด้วยความเป็นของคมยิ่ง แผ่นดินย่อมทรงไว้ ซึ่งคนและนาคเนื้อนกทั้งหลาย ซึ่งน้ำและศิลาภูเขาต้นไม้ทั้งหลาย ด้วยความเป็นของใหญ่ยิ่ง สมุทรมิได้เต็มล้น ด้วยความเป็นของใหญ่ยิ่ง เขาสิเนรุเป็นของไม่หวั่นไหวด้วยความเป็นของหนักยิ่ง อากาศไม่มีที่สุด ด้วยความเป็นของกว้างยิ่ง พระอาทิตย์กำจัดเสียซึ่งหมอก ด้วยความเป็นของสว่างยิ่ง ราชสีห์เป็นสัตว์มีความกลัวไปปราศแล้ว ด้วยความเป็นสัตว์มีชาติยิ่ง คนปล้ำย่อมยกขึ้นซึ่งคนปล้ำคู่ต่อสู้ได้โดยพลัน ด้วยความเป็นผู้มีกำลังยิ่งพระราชาเป็นอธิบดี ด้วยความเป็นผู้มีบุญยิ่ง ภิกษุเป็นผู้อันนาคและยักษ์มนุษย์เทพดาทั้งหลายพึงนมัสการ ด้วยความเป็นผู้มีศีลยิ่ง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่มีใคร ๆ เปรียบ ด้วยความที่พระองค์เป็นผู้เลิศยิ่งฉันใด; ชื่อทานยิ่ง อันนักปราชญ์ทั้งหลายพรรณนา ชมเชยสรรเสริญแล้วในโลก, ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ให้ทานเช่นใดเช่นหนึ่ง, ชนผู้ให้ทานยิ่ง ย่อมถึงความสรรเสริญในโลก ฉันนั้นนั่นเทียวแล. พระราชาเวสสันดรเป็นผู้อันบัณฑิตทั้งหลายพรรณนา ชมเชยสรรเสริญบูชายกย่องแล้ว ด้วยทานยิ่งในหมื่นโลกธาตุ ด้วยทานยิ่งนั้นนั่นแล พระราชาเวสสันดรจึงเป็นผู้ตรัสรู้แล้วเลิศในโลกทั้งเทวโลก ณ กาลนี้. ครั้นเมื่อทักขิเณายยบุคคลมาถึงเข้าแล้ว ทานที่ควรตั้งไว้ไม่ควรให้ มีอยู่ในโลกหรือ ขอถวายพระพร?"
ร. "ทานทั้งหลายสิบเหล่านี้ มิใช่ของสมมติว่าทานในโลกมีอยู่, บุคคลใดให้ทานทั้งหลายเหล่านั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มักไปอบาย; ทานทั้งหลายสิบเป็นไฉน? ทาน คือ น้ำเมา บุคคลใดให้ทานนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มักไปอบาย;ทาน คือ มหรสพ ทาน คือ สตรีทาน คือ โคผู้ ทาน คือ จิตรกรรม ทาน คือ ศัสตรา ทาน คือ ยาพิษ ทาน คือ เครื่องจำ ทาน คือ ไก่และสุกร ทาน คือ การโกงด้วยอันชั่งและโกงด้วยอันนับ มิใช่ของสมมติว่าทานในโลก บุคคลใดให้ทานนั้น บุคคลนั้นมักไปอบาย. ทานทั้งหลายสิบเหล่านี้แล มิใช่ของสมมติว่าทานในโลก, บุคคลใดย่อมให้ทานทั้งหลายเหล่านั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มักไปอบาย."
ถ. "ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่ได้ทูลถามทานซึ่งมิใช่ของสมมติว่าทานนั้น. อาตภาพทูลถามถึงทานนี้ต่างหากว่า ครั้นเมื่อทักขิเณยยบุคคลมาถึงเข้าแล้ว ทานซึ่งควรตั้งไว้ไม่ควรให้ มีอยุ่ในโลกหรือ?"
ร. "ครั้นเมื่อทักขิเณยยบุคคลมาถึงเข้าแล้ว ทานซึ่งควรตั้งไว้ไม่ควรให้ ไม่มีในโลก; ครั้นเมื่อความเลื่อมใสแห่งจิตเกิดขึ้นแล้ว ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมให้โภชนะแก่ทักขิเณยยบุคคล บางพวกให้วัตถุเครื่องปกปิด บางพวกให้ที่นอน บางพวกให้ที่พักอาศัย บางพวกให้เครื่องลาดและผ้าสำหรับห่ม บางพวกให้ทาสและทาสี บางพวกให้นาและที่ดิน บางพวกให้สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บางพวกให้ ร้อย พัน แสน กหาปณะ บางพวกให้ราชสมบัติใหญ่ บางพวกแม้ชีวิตก็ย่อมให้."



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 10:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าว่าบุคคลทั้งหลายบางพวก แม้ชีวิตก็ย่อมให้, เพราะเหตุไร ครั้นพระโอรสและพระเทวี อันพระเวสสันดรก็ทรงบริจาคดีแล้ว บรมบพิตรจึงยังพระเวสสันดรผู้ทานบดีหนักยิ่ง ให้ไปรอบแล้วเล่า?"
ขอถวายพระพร ปกติของโลก ความสั่งสมของโลก มีอยู่บ้างหรือว่า 'บิดาเป็นหนี้เขา หรือทำการอาศัยเลี้ยงชีพ ย่อมได้เพื่อเพาะปลูกหรือซื้อขายซึ่งบุตร?"
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า บิดาเป็นหนี้เขา หรือทำการอาศัยเลี้ยงชีพ ย่อมได้เพื่อจะเพาะปลูกหรือซื้อขายซึ่งบุตร."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าว่าบิดาเป็นหนี้เขา หรือทำการอาศัยเลี้ยงชีพ ย่อมได้เพื่อจะเพาะปลูกหรือซื้อขายซึ่งบุตร, พระเวสสันดรเมื่อยังไม่ได้สัพพัญญุตญาณ เป็นผู้วุ่นวายแล้ว ถึงทุกข์แล้ว จึงได้เพาะปลูกและซื้อขายซึ่งพระโอรสและพระเทวี เพื่ออันได้เฉพาะซึ่งทรัพย์ คือ ธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้น ทานที่พระเวสสันดรทรงบริจาคแล้วนั่นแล เป็นอันทรงบริจาคแล้ว, กิจที่พระเวสสันดรทรงทำแล้วนั่นแล เป็นอันทรงทำแล้ว.
ขอถวายพระพร ก็บรมบพิตรไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระเวสสันดรผู้ทานบดีด้วยทานนั้นเพื่ออะไร?"
ร. "ข้าพเจ้าไม่ติเตียนทานของพระเวสสันดรผู้ทานบดีดอก, ก็แต่พระเวสสันดรควรจะทรงบริจาคพระองค์แทนพระโอรสและพระเทวีแก่ผู้ขอทั้งหลาย."
ถ. "ข้อซึ่งพระเวสสันดร พึงทรงบริจาคพระองค์ท่านแทนพระโอรสและพระเทวีแก่ผู้ขอทั้งหลาย เป็นกิจอันสัตบุรุษไม่ควรทำเลย; อันที่จริง ข้อซึ่งพระเวสสันดรทรงบริจาคพระโอรสและพระเทวีนั้น แก่ผู้ขอทั้งหลาย เป็นกิจของสัตบุรุษทั้งหลาย.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง พึงให้นำน้ำควรดื่มมา บุคคลใดให้โภชนะแก่บุรุษนั้น บุคคลนั้นน่าจะเป็นผู้กระทำกิจของบุรุษนั้นบ้างหรือ ขอถวายพระพร?"
ร. "ไม่เป็นอย่างนั้นเลย บุคคลนั้นให้สิ่งที่เขาให้นำมา จึงจะเป็นผู้มีชื่อว่ากระทำกิจของเขา."
ถ. "ครั้นเมื่อพราหมณ์ทูลขอพระโอรสและพระเทวี พระเวสสันดรจึงพระราชทานพระโอรสและพระเทวี ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร หากว่าพราหมณ์พึงทูลขอพระสรีระแห่งพระเวสสันดร, เธอก็คงไม่ทรงรักษาพระองค์ท่านไว้ และคงไม่ทรงหวาดหวั่น ไม่ทรงยินดี, พระสรีระที่พระราชทานแล้วแก่พราหมณ์นั้นคงเป็นอันทรงบริจาคแล้วแท้.
ขอถวายพระพร หากว่าใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระเวสสันดรผู้ทานบดีทูลขอด้วยคำว่า 'ขอพระองค์ท่าน พึงเข้าถึงซึ่งความเป็นทาสแห่งข้าพระองค์,' พระสรีระที่พระราชทานแล้วแก่ผู้ขอนั้น พึงเป็นของที่ทรงบริจาคแล้วแท้, เธอพระราชทานแล้วไม่ทรงเดือดร้อน. เพราะกายของพระเวสสันดรเป็นของทั่วไปแก่สัตว์เป็นอันมาก เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อสุก เป็นของทั่วไปแก่สัตว์เป็นอันมาก.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนต้นไม้เผล็ดดอกออกผลแล้ว เป็นของทั่วไปแก่นกต่าง ๆ ฉันใด, พระกายของพระเวสสันดรเป็นของทั่วไปแก่สัตว์เป็นอันมาก ฉันนั้นแล. เพราะเหตุไร? เพราะว่าพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า "เมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้ จักถึงสัมมาสัมโพธิญาณ."
ขอถวายพระพร บุรุษไม่มีทรัพย์ ต้องการด้วยทรัพย์ เที่ยวแสวงหาทรัพย์ ย่อมไปสู่ทางที่ถึงทรัพย์ ทางที่เป็นหลักฐานแห่งทรัพย์ ทางที่จะได้บำเหน็จเครื่องยินดี, ย่อมกระทำการค้าขายในทางน้ำทางบก ย่อมยินดีทรัพย์ด้วยกายวาจาใจ ย่อมพยายามเพื่อได้เฉพาะซึ่งทรัพย์ฉันใด; พระเวสสันดรผู้ทานบดี ผู้ไม่มีทรัพย์ ทรงบริจาคของควรสงวน ทาสีทาส ยานพาหนะ สมบัติทั้งสิ้น พระโอรส พระเทวี และพระองค์เอง แก่ผู้ขอทั้งหลาย เพื่ออันได้เฉพาะซึ่งรัตนะ คือ สัพพัญญุตญาณโดยความเป็นทรัพย์แห่งพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสวงหาสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเดียว ฉันนั้นนั่นแล.
ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง อมาตย์อยากได้ตรา ทรัพย์ควรสงวนเงินทองอันใดอันหนึ่ง เป็นเหตุให้ได้ตรามีอยู่ในเรือน ให้ของนั้นทั้งหมดแล้ว พยายามเพื่ออันได้เฉพาะซึ่งตรา ฉันใด; พระเวสสันดรผู้ทานบดี ทรงบริจาคทรัพย์เป็นภายนอกภายในนั้นทั้งสิ้น และทรงบริจาคแม้พระชนมชีพ ก็ย่อมแสวงหาสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเดียวฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง ความปริวิตกอย่างนี้ได้มีแล้วแด่พระเวสสันดรผู้ทานบดีว่า 'พราหมณ์นั่นย่อมขอสิ่งใด เราเมื่อให้สิ่งนั้นนั่นแหละแก่พราหมณ์นั้น จึงเป็นผู้ชื่อว่ากระทำกิจแห่งผู้ขอ,' พระเวสสันดรนั้น จึงได้พระราชทานพระโอรสและพระเทวีแก่พราหมณ์นั้น ด้วยประการอย่างนี้.
ขอถวายพระพร พระเวสสันดรผู้ทานบดี ไม่ได้พระราชทานพระโอรสและพระเทวีแก่พราหมณ์ ด้วยความที่พระโอรสและพระเทวีเป็นที่เกลียดชังเลย ไม่ได้พระราชทานพระโอรสและพระเทวี ด้วยความเป็นผู้ไม่อยากทรงเห็น ไม่ได้พระราชทานพระโอรสและพระเทวี ด้วยทรงพึงว่า 'บุตรและภริยาของเรามากเกิน เราไม่สามารถจะเลี้ยงดูเขา' และจะทรงระอา จึงพระราชทานพระโอรสและพระเทวี ด้วยความเป็นผู้ทรงปรารถนาจะนำออกเสีย ด้วยทรงรำพึงว่า 'บุตรและภริยาไม่เป็นที่รักแห่งเรา' ก็หาไม่; เมื่อเป็นเช่นนี้แล พระเวสสันดรได้ทรงสละบุตรทานอันบวร เป็นของอันบุคคลไม่พึงชั่ง เป็นของไพบูล ไม่มีทานอื่นจะยิ่งกว่า มีราคาสูง เป็นของที่ยังใจให้เจริญเป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตเห็นปานนี้แก่พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เพราะความที่แห่งรัตนะ คือ สัพพัญญุตญาณอย่างเดียวเป็นที่รัก.
ขอถวายพระพร แม้คำนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เทพดาล่วงเทพดาทรงภาสิตแล้ว ในจริยาปิฎกว่า:-
"บุตรทั้งสอง ไม่เป็นที่เกลียดชังแห่งเรา, นางมัทรีเทวี ก็ไม่
พึงเป็นที่เกลียดชังแห่งเรา, สัพพัญญุตญาณ เป็นที่รักของเรา,
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้ให้บุตรและภริยาเป็นที่รักของเรา."
ขอถวายพระพร บรรดาพระโอรสและพระเทวีนั้น พระเวสสันดรทรงสละบุตรทานแล้วเสด็จเข้าสู่บรรณศาลาบรรทม, ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแล้วแด่เธอ ผู้ถึงแล้วซึ่งความทุกข์ เพราะความรักยิ่ง, หทัยวัตถุของเธอเป็นของเร่าร้อน, ในเมื่อพระนาสิกของเธอไม่พอ เธอจึงทรงระบายลมอัสสาสะปัสสาสะซึ่งเร่าร้อนด้วยพระโอฐ, พระอัสสุของเธอกลายเป็นธารพระโลหิต ไหลออกแล้วแต่พระเนตรทั้งสอง. พระเวสสันดรได้ทรงสละบุตรทานแก่พราหมณ์โดยยาก ด้วยทรงดำริว่า 'หนทางทานของเรา อย่าฉิบหายเสียเลย.'
อีกประการหนึ่ง พระเวสสันดรได้ทรงสละพระโอรสทั้งสองแก่พราหมณ์ อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ทั้งสอง, ประโยชน์ทั้งสองเป็นไฉน? คือ เธอทรงดำริว่า 'หนทางทานของเรา จักไม่เป็นของเสื่อมรอบประการหนึ่ง, ในเมื่อลูกน้อยทั้งสองของเราถึงแล้วซึ่งความลำบากด้วยรากไม้ผลไม้ในป่า พระอัยกาจักทรงเปลื้องเหตุ แต่ความลำบากนี้เสีย ประการหนึ่ง.' แท้จริง พระเวสสันดรย่อมทรงทราบว่า 'ทารกทั้งสองของเรา อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส, และพระอัยกาจักทรงไถ่ทารกทั้งสองนี้, เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลับไปพระนคร จักมีแม้แก่เราทั้งหลาย.' พระเวสสันดรได้พระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่พราหมณ์ อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ทั้งสองนี้แล.
ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง พระเวสสันดรทรงทราบอยู่ว่า 'พราหมณ์นี้แล เป็นคนแก่เจริญวัย เป็นผู้ใหญ่ทุรพล เป็นคนหลังโกง มีไม้เท้าจ้องไปข้างหน้า มีอายุสิ้นแล้ว มีบุญน้อย, พราหมณ์นี้ จะไม่สามารถเพื่อจะใช้สอยทารกทั้งสองนี้ ด้วยความใช้สอยอย่างทาส.' ก็บุรุษพึงอาจหรือ? เพื่อจะถือเอาซึ่งพระจันทร์และพระอาทิตย์นี้ ผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ โดยกำลังเป็นปกติ แล้วเก็บไว้ในกระบุงหรือในหีบกระทำไม่ให้มีรัศมี แล้วใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างภาชนะ."
ร. "ไม่อาจเลย."
ถ. "ขอถวายพระพร พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดร ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระจันทร์และพระอาทิตย์ในโลกนี้ อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: อันใคร ๆ ไม่อาจพันแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเป็นของงาม มีชาติเป็นแก้วแปดเหลี่ยม อันกระทำบริกรรมดีแล้ว ยาวได้สี่ศอก กว้างเท่าดุมเกวียนด้วยผ้าเก่าแล้ว เก็บไว้ในตะกร้าแล้ว ใช้สอยด้วยความใช้สอยอย่างเครื่องลับศัสตรา ฉันใด; พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดร ผู้มีส่วนเปรียบด้วยแก้วมณีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิในโลก อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: พญาช้างผู้ประเสริฐตระกูลอุโบสถ มีมันแตกทั่วโดยส่วนสาม มีอวัยวะทั้งปวงขาว มีอวัยวะตั้งลงเฉพาะเจ็ด สูงแปดศอก ส่วนยาวใหญ่เก้าศอก นำมาซึ่งความเลื่อมใสน่าดู อันใคร ๆ ไม่อาจปิดด้วยกระด้งหรือขัน เช่นลูกโคอันใคร ๆ ไม่อาจขังรักษาไว้ในศอกฉะนั้น ฉันใด; พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดร ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพญาช้าง ตระกูลอุโบสถในโลก อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
บรมบพิตรจงทรงฟังเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: พญาเขาหิมพานต์ซึ่งสูงห้าร้อยโยชน์ ยาวและกว้างสามพันโยชน์ในอากาศ ประดับด้วยยอดแปดหมื่นสี่พัน เป็นแดนเกิดก่อนแห่งแม่น้ำใหญ่ห้าร้อย เป็นที่อยู่แห่งหมู่ภูตใหญ่ ทรงไว้ซึ่งของหอมมีอย่างต่าง ๆ ประดับพร้อมด้วยร้อยแห่งโอสถทิพย์ สูงปรากฏราวกะวลาหกในอากาศ ฉันใด; พระโอรสทั้งสองของพระเวสสันดร ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพญาเขาหิมพานต์ในโลก อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
บรมบพิตรจงทรงสดับเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: กองไฟใหญ่โพลิงอยู่เบื้องบนยอดเขา ย่อมปรากฏในที่ไกล ฉันใด, พระเวสสันดรผู้ราวกะกองไฟใหญ่โพลงอยู่บนยอดเขา ปรากฏในที่ไกล ฉันนั้นนั่นแล, พระโอรสทั้งสองของเธออันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส.
บรมบพิตรจงทรงสดับเหตุอันยิ่งแม้อื่นอีก: ในเมื่อลมพัดตรงพัดไปอยู่ในสมัยดอกนาคบานในหิมวันตบรรพต กลิ่นดอกไม้ย่อมฟุ้งไปสิ้นสิบโยชน์สิบสองโยชน์ ฉันใด, เออก็ กิตติศัพท์ของพระเวสสันดรระบือไปแล้ว และกลิ่นคือศีลอันประเสริฐของเธอฟุ้งไปแล้ว ในพิภพแห่งเทวดา อสูร ครุฑ คนธรรพ์ ยักษ์ รากษส มโหรคะ กินนร และพระอินทร์อันเป็นระหว่างนั้น โดยพันโยชน์ จนถึงอกนิฏฐพิภพ, ด้วยเหตุนั้น พระโอรสทั้งสองของเธอ อันใคร ๆ ไม่อาจใช้สอยด้วยการใช้สอยอย่างทาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร พระชาลีกุมารอันพระเวสสันดรผู้พระบิดาทรงพร่ำสอนแล้วว่า "แน่ะพ่อ พระอัยยกาของเจ้าเมื่อจะพระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ไถ่เจ้าทั้งสองไว้ จงพระราชทานทองคำพันตำลึงแล้วไถ่เจ้าไว้, เมื่อไถ่นางกัณหาชินา จงพระราชทานสวิญญาณกทรัพย์อย่างละร้อย คือทาสร้อยหนึ่ง ทาสีร้อยหนึ่ง ช้างร้อยหนึ่ง ม้าร้อยหนึ่ง โคนมร้อยหนึ่ง โคผู้ร้อยหนึ่ง ทองคำร้อยหนึ่ง แล้วไถ่ไว้; หากว่าพระอัยยกาของเจ้า ทรงรับเจ้าทั้งสองไว้เปล่าแต่มือพราหมณ์ด้วยพระราชอาชญาหรือพระกำลัง, เจ้าทั้งสองอย่าทำตามพระกระแสแห่งพระอัยยกาเลย, แต่จงไปกับพราหมณ์" ทรงพร่ำสอนอย่างนี้แล้วส่งไป. แต่นั้นพระชาลีกุมารเสด็จไปแล้วเป็นผู้อันพระอัยยกาตรัสถามแล้วได้กราบทูลว่า "พระบิดาได้พระราชทานกระหม่อมฉัน ผู้มีราคาพันตำลึงทองคำแก่พราหมณ์, อนึ่ง พระราชทานนางกัณหาชินาแก่พราหมณ์ ด้วยร้อยแห่งช้างฉะนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาดีแล้วข่ายคือความเห็น พระผู้เป็นเจ้าทำลายดีแล้ว, ปรัปปวาททั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าย่ำยีดีแล้ว, สมัยลัทธิของตนพระผู้เป็นเจ้าสำแดงดีแล้ว, พยัญชนะพระผู้เป็นเจ้าชำระดีแล้ว, เนื้อความพระผู้เป็นเจ้าจำแนกดีแล้วข้อวิสัชนานั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับองอย่างนั้น."

๖. ทุกกรการิกปัญหา ๗๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระโพธิสัตว์ทั้งสิ้น ย่อมกระทำกิจที่กระทำยาก หรือว่ากิจที่กระทำยากอันพระโพธิสัตว์พระนาคโคดมเท่านั้นทรงกระแล้ว?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร กิจที่กระทำยากย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์ทั้งปวง, พระโคดมโพธิสัตว์เท่านั้น ได้ทรงกระทำกิจที่กระยาก."
ร. "ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ ความมีประมาณต่างกันระหว่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีละซิ."
ถ. "ขอถวายพระ ความมีประมาณต่างกันด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีโดยเหตุที่ตั้งสี่ประการ, เหตุที่ตั้งสี่ประการเป็นไฉน? คือ ความมีประมาณต่าง คือ ตระกูลหนึ่ง ความมีประมาณต่างคือกาลยืดยาวหนึ่ง ความมีประมาณต่างคืออายุหนึ่ง ความมีประมาณต่าง คือประมาณหนึ่ง. ความมีประมาณต่างกันระหว่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีโดยเหตุที่ตั้งสี่ประการเหล่านี้แล.
ขอถวายพระพร ก็แต่ความมีประมาณต่างกัน เพราะรูปศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความเป็นผู้ไม่ครั่นคร้าม สี่อย่าง กำลังแห่งพระตถาคตสิบประการ ญาณที่ไม่ทั่วไปหกประการพุทธญาณสิบสี่อย่าง พุทธธรรมดาสิบแปดประการ และพุทธธรรมดาทั้งสิ้น ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งปวง, พระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวงเป็นผู้เสมอเหมือนกัน โดยพุทธธรรมดาทั้งหลาย."
ร. "ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นผู้เสมอเหมือนกัน โดยพุทธธรรมดาทั้งหลาย, เพราะเหตุไร กิจที่กระทำยากอันพระโคดมโพธิสัตว์ต้องทรงกระทำแล้ว?"
ถ. "ในเมื่อโพธิญาณยังไม่แก่กล้า พระโคดมโพธิสัตว์จึงออกแล้วเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่, เมื่อพระโคดมโพธิสัตว์จะอบรมญาณซึ่งยังไม่แก่กล้าให้แก่กล้า จึงต้องทรงกระทำกิจที่กระทำยาก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุไร ในเมื่อพระโพธิญาณยังไม่แก่กล้า พระโพธิสัตว์จึงต้องออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่? ควรจะรอให้ญาณแก่กล้าเสียก่อน ครั้นญาณแก่กล้าแล้วจึงออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ไม่ใช่หรือ?"
ถ. "ขอถวายพระ พระโพธิสัตว์เห็นเรือน คือ สตรีเป็นของวิปริต เป็นผู้มีความเดือดร้อน, เมื่อเธอมีความเดือดร้อน ความไม่สบายจิตย่อมเกิดขึ้น เทวบุตรผู้เป็นไปในหมู่มารองค์ใดองค์หนึ่งเห็นจิตไม่สบายของเธอเกิดขึ้น จึงคิดว่า 'กาลนี้เป็นกาลเพื่อจะบรรเทาจิตไม่สบายของเธอ' แล้วจึงสถิตในอากาศได้กล่าวคำอย่างนี้ว่า 'แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ๆ ท่านอย่าเป็นผู้กระสันขึ้นเลย ในวันที่เจ็ดแต่วันนี้ จักรรัตนะเป็นทิพย์มีกำพันหนึ่ง พร้อมด้วยกงพร้อมด้วยดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จักปรากฏแก่ท่าน, อนึ่ง รัตนะทั้งหลายที่ไปแล้วในปฐพีหรือตั้งอยู่ในอากาศ จักตั้งขึ้นเองแก่ท่าน, ราชอาณาจักรจักเป็นไปโดยมุขเดียว ในทวีปใหญ่ทั้งสี่มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร, และบุตรทั้งหลายของท่านพันกว่า เป็นผู้แกล้วกล้า จักเป็นผู้ย่ำยีเสียซึ่งเสนาแห่งผู้อื่น, ท่านผู้เกลื่อนกล่นด้วยบุตรเหล่านั้น เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะเจ็ด จักพร่ำสอนประชุมชนทั้งสี่ทวีป.
ขอถวายพระพร หลาวเหล็กร้อนพร้อมตลอดวันซึ่งร้อนในที่ทั้งปวง พึงเข้าไปสู่ช่องหู ฉันใด, คำนั้นเข้าไปแล้วสู่ช่องโสตแห่งพระโพธิสัตว์ ฉันนั้นนั่นเทียว, ด้วยเหตุนั้น เธอกระสันขึ้นแล้วโดยปกติกลัวแล้ว วุ่นวายแล้ว ถึงความสลดแล้วยิ่งกว่าประมาณ เพราะคำแห่งเทพดานั้น. เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุด กำลังโพลงอยู่ อันบุคคลเผาเข้าด้วยไม้แห้งอย่างอื่น พึงโพลงยิ่งกว่าประมาณ.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนมหาปฐพี ซึ่งชุ่มอยู่แล้วโดยปกติ มีหญ้าเขียวเกิดแล้ว มีน้ำอันบุคคลรดแล้ว เกิดเป็นโคลน ครั้นเมื่อมหาเมฆเป็นไปแล้ว พึงเป็นโคลนยิ่งกว่าประมาณอีกนั่นเทียว."
ร. "พระนาคเสน เออก็ ถ้าว่าจักรรัตนะเป็นทิพย์ พึงเกิดแก่พระโพธิสัตว์ในวันที่เจ็ด พระโพธิสัตว์พึงกลับเพราะจักรรัตนะเป็นทิพย์เกิดแล้วหรือหนอ?"
ถ. "ขอถวายพระพร จักรรัตนะเป็นทิพย์ ไม่พึงเกิดแก่พระโพธิสัตว์ในวันที่เจ็ดเลย, ก็แต่คำนั้น อันเทวดานั้นกล่าวแล้วเท็จ เพื่อประโยชน์แก่อันเล้าโลม. แม้ถ้าว่าจักรรัตนะเป็นทิพย์ พึงเกิดในวันที่เจ็ดจริง พระโพธิสัตว์ก็หากลับไม่. เพราะเหตุอะไร? เพราะว่าพระโพธิสัตว์ได้ถือไว้มั่น ว่าเป็นของไม่เที่ยง ได้ถือไว้มั่น ว่าเป็นทุกข์ ว่าเป็นอนัตตา ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งอุปาทาน.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนน้ำ ย่อมเข้าไปสู่แม่น้ำคงคา แต่สระอโนดาต ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทรแต่แม่น้ำคงคา ย่อมเข้าไปสู่ช่องบาดาลแต่มหาสมุทร, เออก็ น้ำนั้นซึ่งไปแล้วในช่องบาดาล พึงเข้าสู่มหาสมุทร พึงเข้าไปสู่แม่น้ำคงคาแต่มหาสมุทร พึงเข้าไปสู่สระอโนดาต แต่แม่น้ำคงคาอีกหรือหนอ?"
ร. "ไม่พึงเข้าไปเลย."
ถ. "ขอถวายพระพร กุศลอันพระโพธิสัตว์อบรมให้แก่กล้าแล้วสิ้นสื่อสงไขยกับแสนกัปป์ เพราะเหตุแห่งภพนี้, พระโพธิสัตว์นี้นั้นมีภพมีในที่สุดถึงแล้ว โพธิญาณของเธอแก่กล้าแล้ว เธอจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวง เป็นบุคคลเลิศในโลกโดยหกปี ฉันนั้นนั่นเทียวแล, เออก็ พระโพธิสัตว์จะพึงกลับ เพราะเหตุแห่งจักรรัตนะหรือ ขอถวายพระพร?"
ร. "ไม่ถึงกลับละซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง แผ่นดินใหญ่ทั้งป่าทั้งเขาพึงกลับกลายได้, ก็แต่พระโพธิสัตว์ ไม่ถึงสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไม่พึงกลับเลย. มหาสมุทรทรงไว้ซึ่งน้ำอันบุคคลนับไม่ได้ยังต้องแห้งเหมือนน้ำในรอยเท้าโค ฉะนั้น, ก็แต่พระโพธิสัตว์ไม่ถึงสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ไม่พึงกลับเลย. ภูเขาสิเนรุอันเป็นพญาเขา พึงแตกร้อยเสี่ยงหรือพันเสี่ยง. ก็แต่พระโพธิสัตว์ไม่ถึงสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ไม่พึงกลับเลย. พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งดาว พึงตากราวกะก้อนดินในแผ่นดินฉะนั้น, ก็แต่พระโพธิสัตว์ไม่ถึงสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ไม่พึงกลับเลย, อากาศคงฉิบหายเช่นเสื่อลำแพน ฉะนั้น, ก็แต่พระโพธิสัตว์ไม่พึงสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ไม่พึงกลับเลย. เพราะเหตุไร? เพราะความที่แห่งเครื่องผูกทั้งปวง เป็นอันพระโพธิสัตว์นั้นทำลายเสียแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เครื่องผูกทั้งหลายในโลกมีเท่าไร?"
ถ. "เครื่องผูกทั้งหลายสิบอย่างเหล่านี้มีอยู่ในโลก ขอถวายพระพร, สัตว์ทั้งหลายอันเครื่องผูกเหล่าไรเล่าผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ออกผนวช, ถึงออกก็กลับลาผนวช. เครื่องผูกสิบเหล่าไหน? คือ มารดาเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, บิดาเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, ภริยาเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, บุตรทั้งหลายเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, ญาติทั้งหลายเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, มิตรทั้งหลายเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, ทรัพย์เป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, ลาภสักการเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, อิสริยยศเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง, กามคุณห้าเป็นเครื่องผูกในโลกประการหนึ่ง. เครื่องผูกสิบเหล่านี้แลมีอยู่ในโลก, เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้มิให้ออกผนวช ถึงออกแล้วก็กลับลาผนวช. เครื่องผูกทั้งสิบประการเหล่านี้ ได้ตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำลายแล้ว. เพราะเหตุนั้นพระโพธิสัตว์จึงไม่กลับ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าเมื่อจิตไม่ยินดีเกิดขึ้นแล้ว เพราะคำแห่งเทพดา เมื่อโพธิญาณยังไม่แก่กล้า พระโพธิสัตว์ออกแล้วเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่, ประโยชน์อะไรจะพึงมีแก่พระโพธิสัตว์นั้นด้วยกิจที่กระทำยากอันท่านกระทำแล้ว, พระโพธิสัตว์ควรจะรอความแก่กล้าแห่งญาณ ด้วยสิ่งที่เป็นเครื่องเลี้ยงทั้งปวงไม่ใช่หรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ก็บุคคลสิบเหล่านี้แล เป็นผู้อันเขาดูหมิ่นดูถูกต้องอับอายขายหน้า ถูกเสียดแทง ถูกติเตียน ถูกสบประมาณ ไม่มีใครยำเกรง มีอยู่ในโลก, บุคคลสิบเหล่าไหน? คือ หญิงหม้ายหนึ่ง, บุคคลผู้อ่อนแอไม่มีกำลังหนึ่ง, บุคคลไม่มีมิตรและญาติหนึ่ง, บุคคลกิจจุหนึ่ง, บุคคลผู้ไม่อยู่ในสกุลที่เคารพหนึ่ง, บุคคลมีมิตรเลวทรามหนึ่ง, บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์หนึ่ง, บุคคลผู้มีมรรยาทเลวหนึ่ง, บุคคลผู้เสื่อมจากการงานหนึ่ง, บุคคลผู้คลายความเพียรหนึ่ง; บุคคลสืบจำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้อันเขาดูหมิ่นดูถูก ต้องอับอายขายหน้า ถูกเสียดแทง ถูกติเตียน ถูกสบประมาทไม่มีใครยำเกรง มีอยู่ในโลก. เมื่อพระโพธิสัตว์ระลึกถึงฐานะสิบเหล่านี้แล จึงได้เกิดความสำคัญอย่างนี้ว่า 'เราอย่าพึงเป็นผู้เสื่อมจากการงาน อย่าพึงเป็นผู้คลายความเพียร อย่าพึงเป็นผู้อันเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายติเตียน, ไฉนหนอเราพึงเป็นเจ้าจองแห่งการงาน พึงเป็นผู้แข็งขันในการงาน พึงเป็นผู้ปรารภการงานเป็นใหญ่ พึงเป็นผู้มีการงานเป็นปกติ พึงเป็นผู้ควรแก่ธุระ คือ การงาน พึงเป็นผู้มีการงานเป็นที่อยู่ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่.' ขอถวายพระพร พระโพธิสัตว์จะทรงยังญาณให้แก่กล้าจึงได้ทรงกระทำกิจที่กระทำได้ด้วยยาก ด้วยประการฉะนี้แล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เมื่อพระโพธิสัตว์กระทำกิจที่กระทำด้วยยาก ได้กล่าวอย่างนี้ว่า 'เราไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนะวิเศษด้วยกิจที่กระทำได้ยากเผ็ดร้อนนี้เลย, หนทางอื่นเพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้จะพึงมีหรือหนอแล.' ก็ความลืมสติเพราะปรารภหนทาง ได้มีแล้วแก่พระโพธิสัตว์ในสมัยนั้นบ้างหรือหนอ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ก็ธรรมยี่สิบห้าประการเหล่านี้แล เป็นเครื่องกระทำจิตให้อ่อนแอ จิตอันธรรมยี่สิบห้าประการกระทำให้อ่อนแอแล้ว ย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ธรรมยี่สิบห้าประการเป็นไฉน? คือ ความโกรธหนึ่ง ความผูกโกรธหนึ่ง ความลบหลู่คุณท่านหนึ่ง ความตีเสมอท่านหนึ่ง ความริษยาหนึ่ง ความตระหนี่หนึ่ง ความปิดบังโทษตนไว้หนึ่ง ความอวดตัวหนึ่ง ความกระด้างดื้อดึงหนึ่ง ความแข่งดีหนึ่ง ความถือตัวหนึ่ง ความดูหมิ่นท่านหนึ่ง ความมัวเมาหนึ่ง ความเลินเล่อหนึ่ง ความง่วงเหงาหาวนอนหนึ่ง ความเพลินหนึ่ง ความเกียจคร้านหนึ่ง ความเป็นผู้มีชนบาปเป็นมิตรหนึ่ง รูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ความอยากข้าวอยากน้ำหนึ่ง ความไม่สบายใจหนึ่ง เป็นธรรมกระทำจิตให้อ่อนแอ จิตอันธรรมยี่สิบห้าประการเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทำให้อ่อนแอแล้ว ย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ความอยากข้าวและอยากน้ำ ครอบงำแล้วซึ่งกายแห่งพระโพธิสัตว์, เมื่อกายอันความอยากข้าวอยากน้ำครอบงำแล้ว จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
พระโพธิสัตว์ ได้แสวงหาความตรัสรู้อริยสัจทั้งสี่ในชาตินั้น ๆ สิ้นสี่อสงไขยกับแสนกัปป์. ความลืมสติเพราะปรารภหนทาง จักมีแก่พระโพธิสัตว์นั้น ในชาติเป็นที่ตรัสรู้ ในภพนี้ในภายหลังทำไม?
ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง คุณชาตสักว่าความสำคัญเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ว่า 'มรรคาอื่นเพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ จะพึงมีหรือหนอแล.' ในกาลก่อนพระโพธิสัตว์เมื่อประทับอยู่องค์เดียวได้ทรงนั่งขัดสมาธิบนที่บรรทมอันมีสิริ ภายใต้ร่มไม้หว้า เพราะการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแห่งศักยราชผู้พระชนก สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงเข้าปฐมฌานมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พร้อมทั้งวิตกวิจารอยู่. ฯลฯ เพราะดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งหลายในกาลก่อน เพราะละเสียซึ่งสุข เพราะละเสียซึ่งทุกข์เข้าจตุตถฌานซึ่งไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีความที่แห่งสติเป้นของบริสุทธิ์เพราะความเพิกเฉยอยู่."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้นว่า พระโพธิสัตว์จะทรงยังญาณให้แก่กล้าจึงได้กระทำกิจที่กระทำโดยยาก."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญสร้าง"พระพุทธรูปคู่เมืองสระแก้ว"
ปางสรงน้ำฝน สูง ๑๖.๑๐๓๖ เมตร หรือ ๒,๕๓๖ กระเบียด
ณ อุทธยานพุทธมณฑลสระแก้ว ต.ท่าเกษม อ.เมือง จ.สระแก้ว
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๑๙ น.

ธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชี - กองทุนสร้างพระพุทธรูปประจำจังหวัดสระแก้ว
เลขที : 236 - 0 - 41557 - 3




เจอเกี่ยวกับสถานที่ของวัดได้ทรุดโทรมไปมากเนื่องจากการเข้ามาทำลายของลิง ซึ่งทางเจ้าอาวาสอยากได้ปัจจัยศรัทธาจากญาติโยมที่ต้องการบำรุงบูรณะตึกอาคารใหม่แต่ยังขาดปัจจัยพระเกษม จิตุจิธาโน รักษาการเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาหมากฮ่อ บ้านไทเจริญ ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย 089-0531824



ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างองค์พญานาคราชคู่บารมีประดิษฐานกลางหนองน้ำโบราณ
087-6599995


จึงขอเรียนเชิญท่านที่นับถือในองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ที่ชอบท่องเที่ยวเยี่ยมชมโบราณสถานและวัดวาอารามที่เก่าแก่และ ศักดิ์สิทธิ์ มาร่วมบูรณะและร่วมทำบุญ ณ วัดดอนแก้วไตรรัตนารามได้ ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาในปีนี้จำนวน 3 รูป สามเณร 7 รูป เด็กวัด 2 คน แม่ครัว 1 คน (บางวันอาหารไม่พอ ต้องให้แม่ครัวช่วยทำ) และขอเชิญร่วมบริจาคทุนทรัพย์เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนโรงเรียน บ้านนามนด้วย (053-460-060 โรงเรียนบ้านนามน)


ขอเชิญผู้มิตศรทธาซื้อที่ดินถวายวัดเขาถ้ำ(ถ้ำดาวราย)
ธ.กรุงไทยสาขาปราณบุรี
บัญชีชื่อวัดถ้ำดาวราย(ที่ดิน)
เลขที่บัญชี716-0-18034-8
หากต้องการใบอนุโมทนาบัตรกรุณาแฟ็กใบโอนเงินพร้อมชื่อนามสกุลมาที่032-623-053




**เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างรูปเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดร**
084-7996763


เชิญร่วมบุญปิดทององค์พระศิวะและท่านท้าวเวสสุวรรณ
081-9981552


ขอเชิญร่วมบุญ เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรอบอุโบสถ วัดทุ่งตลิ่งชัน จ.สุพรรณบุรี
โทร 085-1922001



ขอเชิญร่วมบุญสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ๑๓ องค์ กับ "ครูบาเหนือชัย โฆสิโต"
083-0833133


เชิญกัลยาณมิตรทุกท่านร่วมสร้างมหาบารมี
เพื่อสมทบทุนสร้างเครื่องทรงพระแก้วขาว
087-185-1964



ร่วมสร้างบันไดปูนขึ้นสู่ยอดภูน้อย150 ขั้นยอดภูเขา
0877233310


ขอเชิญร่วมหล่อสมเด้จพระพุทธเจ้าองค์ปฐมเนื้อทองคำและรูปเหมือนหลวงปู่แผ้วตามรูปนี้ครับ ณ.วัดสระพัง กำแพงแสน นครปฐม


มุงหลังคาพระอโสถวัดสีหะลำดวน
080- 4846592


ขอเชิญเป็นเจ้าภาพร่วมสร้างอาคารปฏิบัติธรรมและหลวงพ่อปานองค์ใหญ่
ณ วัดปานประสิทธาราม(วัดปีกกา) ต. คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ๐๘๗ ๖๑๓ ๗๗๑๖



เชิญร่วมทำบุญก่อสร้าง ศาลาสัมพุทโธ (อรหันต์ 8 ทิศ)
0857205479



โครงการบูรณะก่อสร้าง 8 โครงการ ณ วัดปันเสา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

1. โครงการสร้างวิหาร เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณร และศรัทธาประชาชน


2. โครงการสร้างอาคารปฏิบัติธรรม และอาคารพักรับรองสำหรับฆราวาส เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของคณะสงฆ์ และคณะศรัทธา รวมทั้งใช้เป็นสถานที่ฉันภัตตราหารเช้า เพล และใช้ในการพักผ่อนของคณะศรัทธาประชาชนที่เดินทางมาที่วัด รวมถึงใช้เป็นสถานที่พักของประชาชนที่มาเฝ้าญาติที่โรงพยาบาล แต่ไม่มีเงินสำหรับเช่าที่พัก


3. โครงการสร้างอาคารที่พักรับรองพระสงฆ์อาคันตุกะอาพาธ สำหรับเพื่อใช้รับรองพระสงฆ์ที่เดินทางมารอรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล และมาเยี่ยมญาติ


4. โครงการสร้างอาคารที่พักสำหรับพระสงฆ์ สามเณร ที่จำพรรษาที่วัดปันเสา เพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับพระภิกษุ สามเณร โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร


5. ศาลาบาตร (วิหารคต) ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุอริยบุคคลในสยามแผ่นดิน และแผ่นดินล้านนา และใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญ เป็นสถานที่แบ่งเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส สร้างด้วยไม้สัก


6. ห้องน้ำ ห้องสุขา สำหรับให้เป็นที่ปลดทุกข์ สรงน้ำ ของพระภิกษุ สามเณร และประชาชนที่เดินทางมาบำเพ็ญบุญที่วัด



7. อาคารสำนักงาน และกุฏิเจ้าอาวาส สำหรับใช้เป็นสถานที่ติดต่อประสานงานภายในวัด และใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระเถระ และคณะศรัทธาประชาชนที่มาร่วมบุญ


8 .หอพระไตรปิฎก และหอประวัติศาสตร์วัดปันเสา ใช้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกและโบราณวัตถุที่ค้นพบภายในวัดปันเสา และใช้เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของวัด



สอบถามรายละเอียดร่วมทำบุญได้ที่
ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเสา (พันเสา)
ภายในศูนย์มาลาเรีย เขต 2 จ.เชียงใหม่
ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร 053-289155 www.watpansao.in.th




เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก ณ วัดแปลงห้า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะแก่ผู้คนทั่วไปที่มาท่องเที่ยวทะเลสาปดอยเต่าและเป็นถาวรวัตถุประดิษฐานไว้ในพระพุทธศาสนาของไทยให้อยู่ตลอดไป




เชิญร่วมทอดผ้าป่าสามคีสมทบทุนสร้างศูนย์บฎิบัติธรรม ท้าวศรีสุทโธนาคราช
089-8355136


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี สำนักปฎิบัติธรรมป่าห้วยภู
089-997-7591


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดประสิทธิเวช คลอง 15 อ.องครักษ์ จ.นครนายก วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 12.00 น. เพื่อจะรวบรวมจตุปัจจัยก่อสร้างซุ้มประตู และกำแพง วัดประสิทธิเวช

เรื่อง พระพุทธโอวาท ก่อนปรินิพพาน โดย อาจารย์ วศิน อินทสระ ที่ชาวพุทธ ควรฟัง อย่างยิ่ง
เชิญ รับฟัง ได้ ที่ เว็บไซต์ http://www.th1.netii.net/index.php/2012-07-01-06-58-05


เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดพิมพ์หนังสือมหัศจรรย์แห่งสังฆทาน หรือสังฆทานตามแนวพระไตรปิฎก พิมพ์ครั้งที่ 2
อ่านรายละเอียด ได้ที่ เว็บไซต์ http://www.th1.netii.net/index.php/2012-06-26-14-01-53




ร่วมบุญ "กองทุนส่งเสริมการศึกษาพระภิกษุ-สามเณร จ.นราธิวาส "
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคสมทบมูลนิธิฯ ได้ ณ ที่ทำการมูลนิธิฯ หรือผ่านบัญชีเงินฝาก
ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลากลางจังหวัดนราธิวาส
ชื่อบัญชี "กองทุนส่งเสริมการศึกษาพระภิกษุ-สามเณร จังหวัดนราธิวาส"
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 980-8-09265-9



เชิญเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือประวัติสมเด็จสุก ไก่เถื่อน และธรรมะ(ปกแข็ง)
โทร. 084-651-7023



ร่วมบุญหลวงปู่ทวดยืนมั่งคง
________________________________________
ส่งธนานัติมาร่วมทำบุญ ได้ที่วัดเลย ส่ง พระใบฏีกาเทียนชัย สุภัทโท วัดแม่ตะไคร้ ตู้ปณ.38 สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130 สั่งจ่ายพระใบฎีกาเทียนชัย หรือโอนเข้าบัญชี ธ.ไทยพานิชย์ 841 - 208519 - 9 สาขาสันกำแพง



ขอเชิญร่วมงานครบรอบคล้ายวันละสังขาร
พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
ณ.วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
วันพุธที่ ๑๕ ถึงวันศุกร์ ที่๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕



โครงการถวายน้ำปานะ 99 วัด
0815682612


ร่วมบุญโรงทานเนื่องในวันทำบุญวันระลึกวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
กำหนดการ
วันที่ ๗ ต.ค. เวลา ๐๘.๐๐ น. ทําพิธีบวงสรวง ขอขมาพระรัตนตรัย จากนั้นรับสังฆทาน
งานทำบุญวันที่ระลึกวันคล้ายวันเกิดพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ที่บ้านสายลม มีเจ้าภาพตั้งร้านเลี้ยงอาหาร


ขอเชิญร่วมบุญ ถวายรถ วีแชร์ แก่พระอาพาธโรคอัมพาธ
โทร . ๐๘๕-๖๐๔๔๘๔๙



ช่วยลูกแมวเพิ่งเกิด(แม่แมวโดนวางยาเสียชีวิต)
ติดต่อ0814931427


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2012, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร