วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2012, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ปฐวีสันธารกปัญหา ๔๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พูดอยู่ว่า 'แผ่นดินอันใหญ่นี้ตั้ง
อยู่บนน้ำ, น้ำตั้งอยู่บนลม, ลมตั้งอยู่บนอากาศ;' แม้ข้อนี้ ข้าพเจ้ายังไม่เชื่อ."
พระเถรเจ้าจับธรมกรกจุ่มน้ำยกขึ้น อธิบายให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระ
ราชหฤทัยว่า "น้ำนี้ลมอุ้มไว้ ฉันใด แม้น้ำนั้นลมก็อุ้มไว้ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๘. นิโรธนิพพานปัญหา ๔๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า นิพพาน คือ นิโรธหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร นิพพาน คือ นิโรธ."
ร. "นิพาน คือ นิโรธอย่างไร ?"
ถ. "บุถุชนคนเขลาทั้งหลายทั้งปวง ยินดีเพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ใน
อายตนะภายในภายนอก อันกระแสตัณฆาพัดให้ลอยไปอยู่, อาตมภาพจึง
กล่าวว่า 'ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสก ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปมายาส
ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้.' ส่วนอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่ยินดีเพลิดเพลิน
หมกหมุ่นอยู่ในอายตนะภายในภายนอก, เมื่อท่านไม่ยินดีเพิลดเพลินหมกมุ่น
เช่นนั้น ตัณหา คือ ความทะยานอยากย่อมดับไป, เพราะตัณหาดับไป
อุปาทาน คือ การถือมั่นก็ดับไป, เพราะอุปาทานดับ ภพ คือ กรรมก็ดับไป,
เพราะภพดับ ชาติ คือ ความเกิดก็ดับไป, เพราะชาติดับ ชรา คือ ความแก่
มรณะ คือ ความตาย โสก คือ ความแห้งใจ ปริเทวะ คือ ความร่ำไรรำพัน
ทุกข์ คือ ความเจ็บกาย โทมนัส คือ ความเสียใจ อุปายาส คือ ความคับใจก็
ย่อมดับไป, ความดับแห่งกองทุกข์สิ้นเชิงนั้น ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนี้.
นิพพาน คือ นิโรธด้วยประการอย่างนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๙. นิพพานลภนปัญหา ๔๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนทั้งหลายย่อมได้นิพพานหมด
ทุกคนหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "คนทั้งหลายได้นิพพานหมดทุกคนหามิได้, ยก
ไว้แต่ผู้ใดปฏิบัติชอบ รู้เฉพาะธรรมที่ควรรู้เฉพาะ คือ กำหนดรู้ ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้
แจ้ง, ผู้นั้นย่อมได้นิพพาน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๐. นิพพานสุขภาวชานนปัญหา ๔๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดไม่ได้นิพพาน ผู้นั้นรู้หรือว่า
'นิพพานเป็นสุข."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร รู้ได้."
ร. "รู้ได้อย่างไร ?"
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน: มือและเท้าของผู้ใดไม่
ขาด ผู้นั้นจะรู้ได้หรือว่า 'การถูกตัดมือเท้าเป็นเหตุแห่งทุกข์."
ร. "รู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "รู้ได้อย่างไร ?"
ร. "ได้ฟังเสียงครางของคนอื่น ผู้มีมือเท้าอันขาดแล้ว ก็รู้ได้ซิพระผู้เป็น
เจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ผู้ใดไม่ได้นิพพาน ได้ฟังเสียงของคนที่เห็นนิพพาน ก็
รู้ได้ว่า 'นิพพานเป็นสุข ' ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."


วรรคที่ห้า
๑. พุทธอัตถินัตถิภาวปัญหา ๔๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่ได้เห็น."
ร. "เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้เห็น พระอาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้าได้เห็น
หรือไม่ ?"
ถ. "อาจารย์ของอาตมภาพก็ไม่เห็น."
ร. "ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้ามิไม่มีหรือ ?"
ถ. "พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำอูหานทีที่ป่าหิมพานต์หรือไม่
?"
ร. "ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น."
ถ. "เมื่อพระองค์ไม่ได้ทอดพระนครเห็นพระราชบิดาของพระองค์ได้
ทอดพระเนตรเห็นหรือไม่ ?"
ร. "พระราชบิดาของข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห็น."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น แม่น้ำอูหานทีมิไม่มีหรือ ?"
ร. "มีอยู่, แต่ข้าพเจ้าและบิดาของข้าพเจ้าไม่ได้เห็น."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, อาตมภาพและอาจารย์ของอาตมภาพก็ไม่ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนฉะนั้น, แต่พระผู้มีพระภาคมีอยู่จริง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๒. พุทธานุตตรภาวปัญหา ๕๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไป
ได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ทำไมจึงทราบได้ว่า 'พระ
พุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้."
ถ. "พระองค์จะทรงดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: คนที่ยังไม่เห็น
มหาสมุทรเลย จะรู้ได้หรือว่า มหาสมุทรใหญ่ลึกเหลือที่จะนับยากที่จะหยั่ง
ถึง, แม่น้ำใหญ่ทั้งห้า คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหีไหลลงไปสู่มหาสมุทร
ไม่ขาดสาย, มหาสมุทรนั้นก็ไม่ปรากฏที่จะบกพร่อง หรือเต็มขึ้นกว่าเก่า ดัง
นี้."
ร. "เขาต้องรู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ถึงอาตมภาพได้เห็นพระอรหันตสาวกที่ปรินิพพาน
แล้ว ก็รู้ได้ว่า 'พระผู้มีพระภาคไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้' เหมือนฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๓. พุทธอนุตตรภาวชานนปัญหา ๕๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ประชุมชนอื่น ๆ จะสามารถรู้ได้
หรือไม่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร เขาสามารถจะรู้ได้."
ร. "รู้ได้อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เรื่องเคยมีแล้ว พระเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อ ติสสะ เป็นอาจารย์
หนังสือ, เธอทำกาลกิริยาล่วงไปหลายปีแล้ว กิตติศัพท์ของเธอยังปรากฏอยู่
เพราะอะไร ?"
ร. "เพราะลายมือนะซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็ชื่อว่า ได้เห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้า เหมือนฉะนั้น, เพราะว่าพระธรรมเป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
แล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๔. ธัมมทิฏฐปัญหา ๕๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ได้เห็นพระธรรมหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร สาวกทั้งหลายต้องประพฤติ
ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า ตามพระบัญญัติของพระพุทธเจ้า จนสิ้น
ชีวิต."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๕. นจสังกมติปฏิสันธหนปัญหา ๕๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณไม่เลื่อนไป ก็แต่
ปฏิสนธิได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "ข้อนั้นอย่างไร ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่ง จะจุดไฟจากดวงไฟ, ดวงไฟเลื่อนไป
จากดวงไฟหรือ ?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณย่อมไม่เลื่อนไป ก็แต่ปฏิสนธิใดเหมือน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ทรง
เรียนแต่คำโศลก (คำโคลง) บางอย่าง ในสำนักแห่งอาจารย์ผู้สอนให้แต่คำ
โศลก."
ร. "จำได้."
ถ. "คำโศลกเลื่อนไปจากอาจารย์หรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณย่อมไม่เลื่อนไป ก็แต่ปฏิสนธิได้เหมือน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๖. เวทคูปัญหา ๕๔

พระราชาตรัสถามว่า "เจตภูตมีอยู่หรือ พระผู้เป็นเจ้า ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร เจตภูตไม่มีโดยพระปรมัตถ์."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๗. อิมัมหากายาอัญญกายสังกมนปัญหา ๕๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สภาพอันใดอันหนึ่งที่เลื่อนออก
จากกายนี้แล้ว ไปสู่กายอื่นมีอยู่หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร ไม่มีเลย."
ร. "ถ้าว่าไม่มี สัตว์จักพ้นจากบาปกรรมได้มิใช่หรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าสัตว์ไม่ต้องปฏิสนธิ ก็พ้นจากบาปกรรมได้;
เพราะเหตุใดเล่า สัตว์ยังต้องปฏิสนธิอยู่, เพราะเหตุนั้น จึงยังไม่พ้นจาก
บาปกรรมได้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่ง จะลักมะม่วงของบุรุษอีกคนหนึ่ง เขา
จะต้องโทษหรือไม่ ?"
ร. "ต้องซิ พระผู้เป็นเจ้า"
ถ. "เขาไม่ได้ลักมะม่วงที่บุรุษนั้นเพาะไว้ ทำไมจึงต้องโทษเล่า ?"
ร. "มะม่วงที่บุรุษลักนั้น อาศัยมะม่วงที่เพาะ จึงได้บังเกิดเพราะเหตุ
นั้น เขาจึงต้องโทษ."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, บุคคลทำกรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ด้วยนามรูปนี้. นาม
รูปอื่นย่อมปฏิสนธิด้วยกรรมอันนั้น, เพราะเหตุนั้น สัตว์จึงไม่พ้นจาก
บาปกรรมได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ช่างฉลาดจริง ๆ."

๘. กัมมผลอัตถิภาวปัญหา ๕๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็
ตาม ที่นามรูปอันนี้ทำแล้ว, กรรมเหล่านั้นจะอยู่ที่ไหน ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "กรรมเหล่านั้นต้องติดตามไป เหมือนกะเงาติด
ตามตัวไปฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าจะสามารถชี้กรรมเหล่านั้นว่า 'อยู่ที่นี่ หรือที่นี่' ได้
หรือ ?"
ถ. "อาตมภาพไม่สามารถ."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: ต้นไม้เหล่าใดยัง
ไม่ออกผล พระองค์จะทรงสามารถชี้ผลของต้นไม้เหล่านั้นว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี่'
ได้หรือ ?"
ร. "ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ถึงอาตมภาพก็ไม่สามารถที่จะชี้กรรมเหล่านั้นได้ว่า
'อยู่ที่นี่หรือที่นี่' เหมือนฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๙. อุปัชชนชานนปัญหาที่ ๕๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สัตว์ใดจะบังเกิด สัตว์นั้นจะรู้ได้
หรือว่า 'เราจักบังเกิด' ดังนี้."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า ชาวนาหว่านพืชลงในแผ่นดินแล้ว เมื่อฝนตกดี
ย่อมรู้ได้ว่า 'ธัญญชาติทั้งหลายจักออกรวง' ดังนี้ หรือไม่ ?"
ร. "เขารู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สัตว์ที่จะบังเกิดก็รู้ได้ว่า 'เราจักบังเกิด' ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๐. พุทธนิทัสสนปัญหาที่ ๕๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระพุทธเจ้ามีหรือ พระผู้เป็นเจ้า ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร มีอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าสามารถจะชี้ได้หรือว่า 'พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี้ หรือที่นี้."
ถ. "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ดับ
หมดสิ้นเชื้อไม่มีเหลือ), อาตมภาพไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: เปลวแห่งกองไฟ
อันใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ดับไปแล้ว พระองค์จะทรงสามารถชี้ได้หรือว่า 'อยู่ที่นี้
หรือที่นี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: เปลวแห่งกองไฟ
อันใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ดับไปแล้ว พระองค์จะทรงสามารถชี้ได้หรือว่า 'อยู่ที่นี้
หรือที่นี้."
ร. "ไม่สามารถเลย เพราะว่าเปลวไฟนั้นดับแล้ว ถึงความไม่มีบัญญัติ
เสียแล้ว."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาติ, ใคร ๆ ไม่สามารถจะชี้ได้ว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี้' ดัง
นี้. ก็แต่ว่าสามารถจะชี้ได้ด้วยธรรมกาย, เพราะว่าพระธรรม พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงไว้แล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."


วรรคที่หก
๑. กายอัปปิยปัญหา ๕๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า กายเป็นที่รักของบรรพชิตทั้ง
หลายหรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร กายซึ่งจะเป็นที่รักของ
บรรพชิตทั่งหลายหามิได้."
ร. "เมื่อไม่มีความรัก เหตุไฉนบรรพชิตทั้งหลายจึงต้องทะนุบำรุง ต้อง
หวงกันเล่า ?"
ถ. "เมื่อพระองค์เสด็จไปสู่งานพระราชสงคราม บางคราวเคยต้อง
อาวุธของข้าศึกบ้างหรือไม่ ?"
ร. "เคยบ้าง."
ถ. "แผลที่ต้องอาวุธนั้น พระองค์ทรงพอกยาสำหรับพอก ทรงทาน้ำมัน
ทรงพันไว้ด้วยผ้าเนื้อละเอียดมิใช่หรือ ?"
ร. "อย่างนั้น."
ถ. "แผลเป็นที่รักของพระองค์หรือ, จึงต้องทรงทำอย่างนั้น ?"
ร. "หามิได้ เพราะว่าข้าพเจ้าทำไว้อย่างนั้น ก็เพื่อจะให้เนื้องอกขึ้นดัง
เก่า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, กายไม่เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย, ก็แต่ว่า
บรรพชิตทั้งหลายซึ่งไม่หมกมุ่นทะนุบำรุงกายไว้ ก็เพื่อจะอนุเคราะห์แก่
พรหมจรรย์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. เออก็ กายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบ
ประดุจแผล, เหตุนั้น บรรพชิตทั้งหลายไม่หมกมุ่นทะนุบำรุงกายเหมือนรักษา
แผล, ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า 'กายนี้มีทวารเก้า มีแผลอัน
ใหญ่ มีหนังอันสดปกปิดไว้ คายของโสโครกออกโดยรอบ ไม่สะอาดมีกลิ่น
เหม็น' ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2012, 08:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2012, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สัมปัตตกาลปัญหา ๖๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรู้อะไรหมด ทรง
เห็นอะไรหมด มิใช่หรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "เมื่อเป็นอย่างนั้น เหตุไฉนพระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
สาวกทั้งหลายโดยลำดับ."
ถ. "หมอผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้รู้จักยาในแผ่นดินนี้หมด มีอยู่บ้างหรือ ?"
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "หมอนั้น ต่อเมื่อถึงกาลจึงให้คนไข้ดื่มยา หรือยังไม่ทันถึงกาล ก็ให้
ดื่ม."
ร. "ต่อถึงกาล จึงให้ดื่ม ยังไม่ถึงกาล ก็ยังไม่ให้ดื่ม."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อะไรหมด ทรงเห็นอะไร
หมด ยังไม่ถึงกาล ก็ยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย, ต่อถึงกาล
แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เป็นพระบัญญัติที่ไม่ควรจะล่วงตลอดชีพไว้
แก่สาวกทั่งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๓. ทวัตติงสมหาปุริสลักขณปัญหา ๖๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าประกอบด้วย มหา
ปุริสลักษณะสามสิบสอง รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระพรรณดุจทอง
มีพระฉวีดุจทอง มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่งหรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "พระพุทธมารดาและพระพุทธบิดาทั้งหลาย ประกอบด้วย มหา
ปุริสลักษณะสามสิบสอง รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระพรรณดุจทอง
มีพระฉวีดุจทอง มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง เหมือนพระองค์หรือ ?"
ถ. "หามิได้."
ร. "ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น คำว่า 'พระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาปุริส
ลักษณะสามสิบสอง รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระพรรณดุจทอง มี
พระฉวีดุจทอง มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง' ดังนี้ นี้จะชอบหรือ; พระผู้เป็นเจ้า
เพราะธรรมดาบุตรฝ่ายข้างมารดา ก็คล้ายมารดา บุตรข้างฝ่ายบิดา ก็คล้าย
บิดา."
ถ. "บัวบางอย่างมีกลีบร้อยหนึ่ง มีหรือไม่ ?"
ร. "มีซิ."
ถ. "บัวนั้นเกิดที่ไหน ?"
ร. "เกิดในเปือกตมแช่อยู่ในน้ำ."
ถ. "บัวนั้น มีสี มีกลิ่น มีรส เหมือนดังเปือกตมหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "ถ้าเช่นนั้น บัวนั้นมีสี มีกลิ่น มีรส เหมือนน้ำหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ
สามสิบสอง รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระพรรณดุจทอง มีพระฉวี
ดุจทอง มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง, ส่วนพระพุทธมารดาและพระพุทธบิดา
ของพระองค์ มิได้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะสามสามสิบ และมิได้รุ่งเรือง
ด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ หามีพระพรรณและพระฉวีดุจทองไม่ และหามีพระ
รัศมีประมาณวาหนึ่งไม่ ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๔. พรหมจารีปัญหา ๖๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าทรงประพฤติอย่าง
พรหมหรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้ามิเป็นศิษย์ของพรหมหรือ ?"
ถ. "ช้างพระที่นั่งของพระองค์มีมิใช่หรือ ?"
ร. "มีซิ."
ถ. "ช้างพระที่นั่งนั้น บางคราวเคยร้อยเสียงดังดุจนกกะเรียนบ้างมิใช่
หรือ ?"
ร. "เคยบ้าง พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ก็ถ้าอย่างนั้น ช้างมิเป็นศิษย์ของนกกะเรียนหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "พรหมเป็นผู้มีความรู้ หรือเป็นผู้หาความรู้มิได้ ?"
ร. "เป็นผู้มีความรู้ซิ."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น พรหมเป็นศิษย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๕. อุปสัมปันนปัญหา ๖๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า อุปสัมปทาดีหรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า อุปสัมปทาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีหรือไม่ ?"
ถ. "พระผู้มีพระภาคเจ้าอุปสมบทที่โคนแห่งต้นโพธิ์ พร้อมกันกับเวลา
ที่พระองค์ตรัสรู้สัพพัญญุตญาณ, อุปสัมปทาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่คนอื่น
ให้ เหมือนพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เป็นพระบัญญัติ ไม่ควรล่วงตลอด
ชีพไว้แก่พระสาวกทั้งหลายมิได้มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๖. อัสสุปัญหา ๖๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้หนึ่งมารดาตายแล้วร้องไห้, ผู้
หนึ่งร้องไห้เพราะความรักในธรรม, น้ำตาของคนทั่งสองที่ร้องไห้อยู่ น้ำตาของ
ใครเป็นเภสัช ของใครหาเป็นเภสัชไม่."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร น้ำตาของคนหนึ่งขุ่น
ร้อน เพราะราคะโทสะโมหะ, น้ำของคนหนึ่งใสเย็น เพราะปิติดโสมนัส; น้ำตา
เย็นนั่นแหละเป็นเภสัช, น้ำตาขุ่นนั่นแหละหาเป็นเภสัชไม่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๗. รสปฏิสังเวทีปัญหา ๖๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนที่ยังมีราคะกับคนที่ปราศจาก
ราคะแล้วต่างกันอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร ผู้หนึ่งยังหมกมุ่น ผู้หนึ่ง
ไม่หมกมุ่น."
ร. "ข้อที่ว่าหมกมุ่นและไม่หมกมุ่นนั้นอย่างไร ?"
ถ. "คือ คนหนึ่งยังมีความต้องการ, ผู้หนึ่งไม่มีความต้องการ."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ว่า 'บุคคลที่ยังมีราคะและบุคคล
ที่ปราศจากราคะแล้ว ย่อมปรารถนาแต่ของเคี้ยวของกินที่ดีด้วยกันหมดทุก
คน ไม่มีใครปรารถนาของเลว."
ถ. "บุคคลที่ยังไม่ปราศจากราคะ บริโภคโภชนะ ทั้งรู้สึกรส ทั้งรู้สึก
ความกำหนัดในรส, ส่วนบุคคลที่ปราศจากราคะแล้ว บริโภคโภชนะ รู้สึกแต่
รส หารู้สึกความกำหนัดในรสไม่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๘. ปัญญายปติฏฐานปัญหา ๖๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ปัญญาอยู่ที่ไหน ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร มิได้อยู่ที่ไหน."
ร. "ก็ถ้าอย่างนั้น ปัญญามิได้มีหรือ ?"
ถ. "ลมอยู่ที่ไหน ?"
ร. "มิได้อยู่ที่ไหน."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น ลมมิไม่มีหรือ ?"
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๙. สังสารปัญหา ๖๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า
'สงสาร ๆ' ดังนี้นั้น, สงสารนั้นคืออย่างไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร บุคคลเกิดแล้วในที่นี้
ตายแล้วในที่นี้, ตายแล้วในที่นี้ เกิดขึ้นในที่อื่น เกิดแล้วในที่นั้น ตายแล้วในที่
นั้นแหละ. ตายแล้วในที่นั้น เกิดขึ้นในที่อื่น, ความเกิด ๆ ตาย ๆ นี้แหละชื่อว่า
สงสาร."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนบุรุษคนหนึ่งได้บริโภคมะม่วงอันสุกแล้ว เพาะเมล็ดไว้,
หน่อแตกจากเมล็ดนั้นเกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่จนถึงเผล็ดผล, บุรุษนั้นได้
บริโภคอีก แล้วก็เพาะเมล็ดไว้, หน่อแตกจากเมล็ดนั้นเกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่
จนถึงเผล็ดผลเป็นลำดับ ๆ มาดังนี้, ที่สุดของต้นมะม่วงทั้งหลายนั้นมิได้
ปรากฏด้วยประการดังนี้ ข้อนี้ฉันใด; บุคคลเกิดแล้วในที่นี้ ตายในที่นี้, ตาย
แล้วในที่นี้ เกิดขึ้นในที่อื่น เกิดแล้วในที่นั้น ตายในที่นั้นแหละ, ตายแล้วในที่
นั้น เกิดขึ้นในที่อื่น. ความเกิด ๆ ตาย ๆ นี้แหละชื่อว่าสงสาร ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๐. จิรกตสารณปัยหา ๖๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า บุคคลจะระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
และสิ่งที่ทำไว้นาน ๆ ได้ด้วยอะไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร ระลึกได้ด้วยสติ."
ร. "ระลึกได้ด้วยจิต มิได้ระลึกได้ด้วยสติมิใช่หรือ ?"
ถ. "พระองค์ทรงระลึกถึงราชกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พระองค์ได้ทรง
ทำไว้แล้วลืมเสีย ได้บ้างหรือ ?"
ร. "ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ในสมัยนั้น พระองค์ไม่มีจิตหรือ ?"
ร. "ในสมัยนั้น มิใช่ว่าข้าพเจ้าจะไม่มีจิตหามิได้ แต่ในสมัยนั้นไม่มี
สติ."
ถ. "ก็เมื่ออย่างนั้น เหตุไรพระองค์จึงตรัสว่า 'ระลึกได้ด้วยจิต, มิได้
ระลึกได้ด้วยสติเล่า ?"
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๑. สติอภิชานนปัญหา ๖๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ความระลึกทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้น
แต่ความรู้เองหรือต่อผู้อื่นเตือนจึงจะเกิด."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร เกิดแต่ความรู้เองบ้าง
ต่อผู้อื่นเตือนจึงเกิดขึ้นบ้าง."
ร. "ความระลึกทั้งปวง ต้องมีเพราะความรู้เอง มีเพราะผู้อื่นเตือนหามิ
ได้."
ถ. "ถ้าว่าไม่มีเพราะผู้อื่นเตือนจริงดังนั้น กิจที่จะควรทำด้วยการงาน
ด้วยศิลปะ ด้วยวิทยามิไม่มีหรือ, บุคคลผู้เป็นอาจารย์มิไม่มีประโยชน์อะไร
หรือ; เพราะเหตุใด สติมีอยู่เพราะผู้อื่นเตือน เพราะเหตุนั้น กิจที่จะควรทำด้วย
การงาน ด้วยศิลปะ ด้วยวิทยาของผู้มีศิลปะจึงมี, และจึงต้องการอาจารย์ทั้ง
หลาย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."


วรรคที่เจ็ด
๑. สติอาการปัญหา ๗๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สติย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการเท่าไร
?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร สติย่อมเกิดขึ้นด้วย
อาการสิบหกอย่าง คือ: เกิดขึ้นแก่ผู้รู้บ้าง เกิดขึ้นเพราะความเตือนบ้าง เกิด
ขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยนิมิตอันสำคัญบ้าง เกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์บ้าง เกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์บ้าง
เกิดขึ้นเพราะนิมิตอันเหมือนกันบ้าง เกิดขึ้นเพราะนิมิตอันผิดกันบ้าง เกิดขึ้น
เพราะลักษณะบ้าง เกิดขึ้นเพราะความระลึกบ้าง เกิดขึ้นเพราะความสังเกต
บ้าง เกิดขึ้นเพราะความนับบ้าง เกิดขึ้นเพราะความจำบ้าง เกิดขึ้นเพราะ
ภาวนาบ้าง เกิดขึ้นเพราะแก้ตำรับออกดูบ้าง เกิดขึ้นเพราะความเก็บไว้บ้าง
เกิดขึ้นเพราะความเคยพบบ้าง.
สติเกิดขึ้นแก่ผู้รู้อย่างไร ? ท่านผู้รู้ทั้งหลายผู้ระลึกชาติได้ เช่น พระ
อานนท์และอุบาสิกาขุชชุตตราหรือท่านผู้อื่น ย่อมระลึกชาติได้, สติเกิดขึ้นแก่
ท่านผู้รู้อย่างนี้."
สติเกิดขึ้นเพราะความเตือนอย่างไร ? ผู้มีสติฟั่นเฟือนโดยปกติผู้อื่น
เตือนให้ระลึกได้, สติเกิดขึ้นเพราะความเตือนอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยนิมิตอันสำคัญอย่างไร เมื่อใดได้
อภิเษกในสมบัติก็ดี ได้บรรลุโสดาปัตติผลก็ดี เมื่อนั้นสติกำหนดจำก็เกิดขึ้น.
สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยนิมิตอันสำคัญอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างไร ? คนได้
ความสุขในที่ใด ก็ระลึกถึงที่นั้นว่า 'เราได้ความสุขในที่โน้น,' สติเกิดขึ้นเพราะ
วิญญาณอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณ อาศัยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างไร ? คนได้
ความทุกข์ในที่ใด ก็ระลึกถึงที่นั้นว่า 'เราเคยได้ความทุกข์ในที่ที่โน้น,' สติย่อม
เกิดเพราะวิญญาณอาศัยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่เหมือนกันอย่างไร ? ได้เห็นคนที่คล้ายกันแล้ว
ระลึกถึงมารดาก็ดี บิดาก็ดี พี่ชายน้องชายก็ดี พี่หญิงน้องหญิงก็ดี, ได้เห็นอูฐ
ก็ดี โคก็ดี ลาก็ดี ที่คล้ายกันแล้ว ระลึกถึงสัตว์เช่นนั้นตัวอื่น, สติเกิดขึ้นเพราะ
นิมิตที่เหมือนกันอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่ไม่เหมือนกันอย่างไร ? ระลึกได้ว่า 'สีของสัตว์
ตัวโน้น เช่นนี้, เสียงของคนโน้น เช่นนี้, กลิ่นรสสัมผัสของวัตถุโน้น เช่นนี้ ๆ,
สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่ไม่เหมือนกันอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะลักษณะอย่างไร ? เจ้าของเห็นโคของตัวแล้วรู้ได้จำได้
เพราะตำหนิ เพราะลักษณะ, สติเกิดขึ้นเพราะลักษณะอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะความระลึกอย่างไร ? ผู้มีสติฟั่นเฟือนโดยปกติ ผู้อื่น
เตือนว่า 'ระลึกดูเถิด ๆ' ดังนี้ ให้ระลึกได้บ่อย ๆ, สติเกิดขึ้นเพราะความระลึก
อย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะความสังเกตอย่างไร ? เพราะเราได้เคยเรียนหนังสือรู้
ได้ว่า 'ต่ออักษรตัวนี้.' จะต้องเขียนอักษรตัวนั้น', สติเกิดขึ้นเพราะความสังเกต
อย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะความนับอย่างไร ? เพราะเคยได้เรียนความนับผู้นับ
จึงนับได้มาก, สติเกิดขึ้นเพราะความนับอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะความจำอย่างไร ? เพราะได้เคยเรียนความจำ ผู้จำจึง
จำได้มาก, สติเกิดขึ้นเพราะความจำอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะภาวนาอย่างไร ? ภิกษุในศาสนานี้ ระลึกถึงขันธ
สันดานที่ตนอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายอย่างต่าง ๆ กัน คือ ระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ
บ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปป์ (คือ กัปป์ที่เสื่อม) เป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัปป์ (คือ กัปป์ที่เจริญ) เป็นอันมากบ้าง ว่าในที่โน้น เราได้เป็นผู้
มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นมีที่สุดอายุเท่านั้น ครั้นเลื่อนไปจากที่นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในที่
โน้น แม้ในที่นั้น เราได้เป็นผู้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีพรรณอย่างนั้น มี
อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีที่สุดอายุเท่านั้น ครั้นเลื่อนไป
จากนั้นแล้ว มาเกิดขึ้นในที่นี้, ท่านระลึกขันธสันดานที่ตนเคยอาศัยอยู่ในกาล
ก่อนหลายอย่างต่าง ๆ กัน พร้อมทั้งอาการและเพศพรรณฉะนี้, สติเกิดขึ้น
เพราะภาวนาอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะแก้ตำรับออกดูอย่างไร ? เหมือนพระเจ้าแผ่นดินทรง
ระลึกถึงพระราชกำหนดสำหรับปกครองแผ่นดิน ตรัสสั่งให้นำคัมภีร์ที่จารึก
พระราชบัญญัติมาทอดพระเนตรแล้ว ทรงระลึกพระราชกำหนดข้อนั้นได้, สติ
เกิดขึ้นเพราะแก้ตำรับออกดูอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะความเก็บไว้อย่างไร ? ได้เห็นของที่เก็บไว้แล้ว ระลึก
ขึ้นได้, สติเกิดขึ้นเพราะความเก็บไว้อย่างนี้.
สติเกิดขึ้นเพราะเคยพบอย่างไร ? เพราะได้เห็น ระลึกถึงรูปได้ เพราะ
ได้ฟัง ระลึกถึงเสียงได้ เพราะได้ดม ระลึกถึงกลิ่นได้ เพราะได้ชิม ระลึกถึงรส
ได้ เพราะได้ถูกต้อง ระลึกถึงสัมผัสได้ เพราะได้รู้แจ้ง ระลึกถึงธัมมารมณ์ได้,
สติเกิดขึ้นเพราะเคยพบอย่างนี้.
สติเกิดขึ้นด้วยอาการสิบหกอย่างเหล่านี้แล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๒. วัสสสตปัญหา ๗๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ผู้ใดทำอกุศล กรรม
ถึงร้อยปี ในเวลาจะตาย กลับได้สติระลึกถึงพุทธคุณดวงเดียว ผู้นั้นจะเกิดขึ้น
ในเทวดา;' ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่เชื่อ. อนึ่ง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'คนจะเกิดใน
นรกเพราะทำปาณาติบาตคราวเดียว;' แม้ข้อนี้ข้าพเจ้าก็ไม่เชื่อ."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "พระองค์จะทรงสำคัญเห็นความนั้นเป็นไฉน:
ศิลาแม้เล็กนอกจากอยู่ในเรือ จะลอยน้ำได้หรือไม่ ?"
ร. "ลอยไม่ได้."
ถ. "ศิลาแม้ร้อยเกวียน บรรทุกลงในเรือแล้ว จะลอยน้ำได้หรือไม่ ?"
ร. "ลอยได้ซิ."
ถ. "กุศลกรรมทั้งหลาย ควรเห็นเหมือนเรือ ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๓. อนาคตปัญหา ๗๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พยายามเพื่อจะละทุกข์ที่ล่วงไป
แล้วหรือ ?"
ถ. "หามิได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พยายามเพื่อจะละทุกข์ที่ยังไม่มาถึงหรือ ?"
ถ. "หามิได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พยายามเพื่อจะละทุกข์ที่เกิดขึ้นบัดนี้หรือ ?"
ถ. "หามิได้."
ร. "ถ้าว่าพระผู้เป็นเจ้า มิได้พยายามเพื่อจะละทุกข์ที่ล่วงไปแล้ว ที่ยัง
ไม่มาถึง ที่เกิดขึ้นบัดนี้, ถ้าเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าพยายามเพื่อประโยชน์อะไร
เล่า ?"
ถ. "อาตมภาพ พยายามเพื่อประโยชน์ว่า 'ทำอย่างไรหนอทุกข์นี้จะพึง
ดับไปด้วย ทุกข์อื่นจะไม่พึงเกิดขึ้นด้วย."
ร. "ทุกข์ที่ยังไม่มาถึงมีหรือ พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ไม่มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าก็ฉลาดเหลือเกิน จึงพยายามเพื่อจะละทุกข์ซึ่งไม่มี
อยู่."
ถ. "ขอถวายพระพร พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นปฏิปักษ์ข้าศึกปัจจามิตร
เคยยกมาประชิดพระนครมีบ้างหรือ ?"
ร. "มีบ้าง."
ถ. "พระองค์ตรัสสั่งให้ขุดคู ก่อกำแพง ปักเสาระเนียด ถมเชิงเทิน รวบ
รวมเสบียงอาหารในเวลานั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้ ของเหล่านั้นต้องตระเตรียมไว้ก่อน."
ถ. "พระองค์หัดทรงช้าง ทรงม้า ทรงรถ ทรงธนู ทรงพระแสงในเวลา
นั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้ ต้องหัดไว้ก่อน."
ถ. "การที่ทำดังนั้น เพื่อประโยชน์อะไร ?"
ร. "เพื่อประโยชน์จะกันภัยที่ยังไม่มาถึง."
ถ. "ภัยที่ยังไม่มาถึงมีหรือ ขอถวายพระพร ?"
ร. "ไม่มี."
ถ. "พระองค์ก็ฉลาดเหมือนกัน จึงตระเตรียมเพื่อจะกันภัยที่ยังไม่มา
ถึง."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญเห็นความนั้นเป็นไฉน: เมื่อใด พระองค์ทรง
ระหาย เมื่อนั้น จึงตรัสสั่งให้ขุดสระ ด้วยพระราชประสงค์จะเสวยน้ำ ดังนั้น
หรือ ?"
ร. "หามิได้ ต้องตระเตรียมไว้ก่อน."
ถ. "เพื่อประโยชน์อะไร ?"
ร. "เพื่อประโยชน์จะกันความระหายที่ยังไม่มาถึง."
ถ. "ความระหายที่ยังไม่มาถึงมีหรือ ขอถวายพระพร ?"
ร. "ไม่มี."
ถ. "พระองค์ก็ฉลาดเหลือเกิน จึงตระเตรียมเพื่อประโยชน์จะกันความ
ระหายที่ยังไม่มาถึง."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญเห็นความนั้นเป็นไฉน: เมื่อใด พระองค์ทรง
หิวอยากจะเสวยพระอาหาร เมื่อนั้น จึงตรัสสั่งให้ไถนา หว่านข้าวสาลี ด้วย
พระราชประสงค์จะเสวยพระอาหาร ดังนั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้ ต้องตระเตรียมไว้ก่อน."
ถ. "เพื่อประโยชน์อะไร ?"
ร. "เพื่อประโยชน์จะกันความหิวที่ยังไม่มาถึง."
ถ. "ความหิวที่ยังไม่มาถึงมีหรือ ขอถวายพระพร ?"
ร. "ไม่มี."
ถ. "พระองค์ก็ฉลาดเหลือเกิน จึงได้ตระเตรียมเพื่อจะกันความหิวที่ยัง
ไม่มาถึง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2012, 10:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2012, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ทูรพรหมโลกปัญหา ๗๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พรหมโลก แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ไกลมาก ศิลาประมาณเท่าเรือน มียอด
ตกจากพรหมโลกนั้นแล้ว วันหนึ่งกันคืนหนึ่ง ตกลงมาได้สี่หมื่นแปดพันโยชน์
ต่อล่วงสี่เดือนจึงจะตกถึงพื้นแผ่นดิน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความแกล้วกล้าในจิต
อันตรธานในชมพูทวีปแล้ว ไปปรากฏในพรหมโลกในทันใดเหมือนบุรุษมี
กำลังเหยียดแขนที่คู้ไปแล้ว หรือคู้แขนที่เหยียดไว้แล้ว ฉะนั้น;' คำนี้ ข้าพเจ้า
ไม่เชื่อว่าจะไปตลอดหลายร้อยโยชน์ได้เร็วเกิน ดังนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ชาติภูมิของพระองค์อยู่ที่ไหน ?"
ร. "ข้าพเจ้าเกิดที่เกาะชื่อ อลสันทะ."
ถ. "เกาะ อลสันทะ แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "ประมาณสองร้อยโยชน์."
ถ. "พระองค์ทรงจำได้บ้างหรือไม่ว่า ทรงทำราชกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในที่นั้นแล้วทรงระลึกถึง."
ร. "ระลึกอยู่บ้าง."
ถ. "พระองค์เสด็จไปได้ประมาณสองร้อยโยชน์เร็วนัก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๕. พรหมโลกกัสมีรปัญหา ๗๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนตาย ณ ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดใน
พรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกัสมีระ (แคชเมียร) ใครจะเกิดช้ากว่า ใคร
จะเกิดเร็วกว่า."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "เท่ากัน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระนครที่พระองค์ประสูติอยู่ที่ไหน."
ร. "ข้าพเจ้าเกิดที่ กลสิคาม."
ถ. "กลสิคาม แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "ประมาณสองร้อยโยชน์."
ถ. "ประเทศกัสมีระ แต่ที่นี้ไปไกลเท่าไร ?"
ร. "สิบสองโยชน์."
ถ. "ขอเชิญพระองค์ทรงนึกถึง กลสิคาม."
ร. "นึกแล้ว."
ถ. "ขอพระองค์ทรงนึกถึงประเทศกัสมีระ."
ร. "นึกแล้ว."
ถ. "ที่ตำบลไหนทรงระลึกได้ช้า ที่ตำบลไหนทรงระลึกได้เร็ว ?"
ร. "เท่ากัน."
ถ. "พระองค์ทรงระลึกที่สองตำบลนั้น ได้เท่ากัน ฉันใด, คนตายแล้ว
ณ ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดในพรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกันมีระ คนทั้งสอง
นั้นเกิดพร้อมกัน ฉันนั้น."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญเห็นความนั้นเป็นไฉน: นกสองตัวบินไปใน
อากาศ, ตัวหนึ่งจับที่ต้นไม้สูง ตัวหนึ่งจับที่ต้นไม้ต่ำ นกสองตัวนั้นจับพร้อม
กัน เงาของตัวไหนจะปรากฏ ณ พื้นก่อน เงาของตัวไหนจะปรากฏทีหลัง ?"
ร. "พร้อมกัน."
ถ. "เงาของนกสองตัวปรากฏ ณ พื้นพร้อมกัน ฉันใด, คนตายแล้ว ณ
ที่นี้ ผู้หนึ่งไปเกิดในพรหมโลก ผู้หนึ่งไปเกิดในประเทศกัสมีระ คนทั้งสองนั้น
เกิดพร้อมกัน ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๖. ปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตปัญหา ๗๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักถามถึงเหตุทันด่วน:
สัตว์ผู้จะไปสู่ปรโลก ไปด้วยสีไหน คือ ด้วยสีเขียว หรือสีแดง หรือสีเหลือง
หรือสีขาว หรือสีแสด หรือสีปภัสสร, ก็หรือว่า ไปด้วยเพศช้าง เพศม้า หรือ
ด้วยรูปรถ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "มหาบพิตร ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคหาได้
ทรงบัญญัติไว้ไม่, ข้อนั้น มิได้มีในพระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าว่า พระสมณโคดมมิได้ทรงบัญญัติไว้, ใครจะรู้ได้
อย่างว่า 'สัตว์จะไปสู่ปรโลกนั้นหรือมิได้ไป,' อาชีวกใดจักกล่าวว่า 'โลกนี้ไม่มี
โลกอื่นไม่มี สัตว์มิได้ไปปรโลก' ดังนี้ คำของอาชีวกนั้น เป็นจริงอย่างนั้นหรือ,
อาชีวกนั้น เป็นอาจารย์ผู้ฉลาดหรือ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร มหาบพิตร ทรงสดับคำของอาตมภาพหรือ ?"
ร. "ฟังซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร คำของอาตมภาพหลุดออกจากปากแล้วไปเข้า
พระกรรณของมหาบพิตรนั้น เมื่อในระหว่างทาง ก็มิได้ทำการอะไรหรือ
มหาบพิตรทรงเห็นเป็นสีเขียว สีเหลือง ฯลฯ ที่ยอดไม้บ้าง ?"
ร. "ไม่เห็น พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ถ้าไม่ทรงเห็น, คำของอาตมภาพคงไม่ได้เข้าพระกรรณ
มหาบพิตร,มหาบพิตรรับสั่งเหลวไหล."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าหาได้พูดเหลวไหลไม่, คำพูดของพระผู้เป็น
เจ้า แม้จะไม่ปรากฏว่าเขียวหรือเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ก็ได้มาเข้าหู
ข้าพเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, สัตว์เมื่อไปสู่ปรโลก แม้จะไม่ปรากฏ
ว่า เขียวหรือเหลืองในระหว่างทางก็จริง ถึงกระนั้น สัตว์ก็ได้ไปปรโลกจริง
เหมือนคำพูดที่ไปเข้าหู ฉะนั้น."
ร. "อัศจรรย์แปลกประหลาดจริงพระผู้เป็นเจ้า, ขอพระผู้เป็นเจ้าจง
เสวยราชสมบัติอันใหญ่หลวง ในสกลชมพูทวีปเถิด. พระผู้เป็นเจ้า ขันธ์ห้านี้
ไม่ไปสู่ปรโลกด้วย และมิได้ทำกรรม ก็เกิดขึ้นได้ด้วย, เมื่อเป็นเช่นนี้ สงสาร ก็
ต้องไม่มี."
ถ. "ขอถวายพระพร มหาบพิตร จะให้ทำนาหรือ ?"
ร. "ทำซิ พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักทำนา จะให้หว่านข้าวสาลี."
ถ. "ข้าวสาลีของมหาบพิตรที่ขึ้นในแผ่นดินแล้วออกรวงที่ยอด, ข้าว
สาลีนั้น คนไม่ได้ปลูก จักออกรวงที่ยอดได้หรือ ?"
ร. "จริงอยู่ ข้าวสาลีนั้น ต้องปลูกลงที่แผ่นดิน จึงจะออกรวงที่ยอดได้,
หรือคนไม่ได้ทำ จักออกรวงที่ยอดก็ไม่ได้."
ถ. "ถ้าเช่นนั้น ข้าวสาลีก็ไม่มี ขอถวายพระพร."
ร. "มีซิ พระผู้เป็นเจ้า, ถ้าว่า ข้าวสาลีที่ปลูกลงที่แผ่นดินจะพึงออกรวง
ที่ยอด, ข้าวสาลีก็ต้องสำเร็จผลที่ยอด; ถ้าข้าวสาลีจะพึงออกรวงได้เองโดยไม่
ต้องเพาะปลูก, ทรัพย์ คือ ข้าวสาลีจะต้องเกิดขึ้นได้เอง จะต้องทำขวัญตนเอง
ละซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ถ้าว่า ขันธ์ห้านี้จะพึงไปสู่ปรโลก
ด้วยไซร้, คนตาบอด จะต้องเป็นคนตาบอดอยู่ร่ำไป, คนใบ้ จะต้องเป็นคนใบ้
อยู่ร่ำไป, จะต้องทำบุญเอาประโยชน์อะไร; ถ้าว่า ขันธ์ห้านี้ไม่ต้องมีกรรมที่ได้
ทำไว้ ก็เกิดขึ้นได้, สัตว์จะต้องไปนรก เพราะอกุศลกรรม ข้อนี้ ก็ฉันนั้น."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า ดวงไฟที่บุคคลจุดต่อกันไป จะพึงเลื่อนไปติดดวง
อื่น หรือเลื่อนไปยังเปลวไฟอื่น จะว่าดวงไฟนั้นเกิดขึ้นเอง โดยมิได้อาศัยจุด
ต่อกันหรือ ?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, เปลวไฟเลื่อนไปได้ หรือดวงไฟก็ต่อกับดวง
ไฟอื่นให้เกิดแสงสว่างหรือเปลวได้, จะว่าไม่ได้อาศัยจุดต่อกันแล้ว เกิดขึ้นเอง
ไม่ได้เลย."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ขันธ์ห้านี้ ก็ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่, จะ
เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้อาศัยกรรมที่ทำไว้ ก็หาได้ไม่ ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า เวทนาขันธ์ไปสู่ปรโลกหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าเวทนาขันธ์ไปสู่ปรโลกไซร้, สัตว์ทั้งหลายผู้
เสวยเวทนาในเบญจขันธ์นี้เอง เป็นตัวเวทนาขันธ์ที่ไปสู่ปรโลกหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "เพราะเหตุนั้น มหาบพิตรจงทรงทราบว่า "เวทนาขันธ์มิได้ไปสู่ปร
โลก."
ร. "ขอพระผู้เป้นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "ขอถวายพระพร กระจกเงาของมหาบพิตรมีหรือ."
ร. "มี พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "มหาบพิตร โปรดหยิบตั้งไว้เบื้องพระพักตร์."
ร. "ตั้งเสร็จแล้ว."
ถ. "ขอถวายพระพร พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ของ
มหาบพิตร ปรากฏในกระจกเงานี้, หรือว่า มหาบพิตรทรงจัดสรรขึ้นใหม่ ?"
ร. "ที่ปรากฏในกระจกเป็นตา หู จมูก ฟัน ของข้าพเจ้าทั้งนั้น."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ของ
มหาบพิตรหลุดถอนออกไป มหาบพิตรกลายเป็นคนบอดเป็นคนหนวกไปหรือ
?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, เงาอาศัยตัวข้าพเจ้าไปปรากฏในกระจก,
ข้าพเจ้าไม่ได้ทำ ก็หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, ขันธ์ห้านี้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่, ทั้งจะ
เกิดขึ้นเองโดยมิได้ทำกรรม ก็หาได้ไม่, สัตว์อาศัยเบญจขันธ์นี้เอง ปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา ด้วยกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ตนได้ทำไว้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๗. มาตุกุจฉิปฏิสันธิปัญหา ๗๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิในครรภ์
มารดา ไปปฏิสนธิโดยทวารไหน ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ทวารสำหรับปฏิสนธิไม่มี ขอถวายพระ
พร."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "หีบแก้ว ของมหาบพิตร มีอยู่หรือ"
ร. "มี พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอมหาบพิตร ทรงคิดเข้าในหีบแก้ว."
ร. "คิดแล้ว."
ถ. "พระจิตของมหาบพิตร เมื่อไปในหีบแล้ว ไปโดยทวารไหน ?"
ร. "ไม่ต้องอาศัยทวาร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน, สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา ไม่ต้องอาศัยทวาร เหมือนพระจิตของมหาบพิตรคิดเข้าสู่หีบแก้ว
ฉะนั้น."
ร. "อัศจรรย์แปลกประหลาดจริงพระผู้เป็นเจ้า, พระผู้เป็นเจ้าแก้
ปัญหาเปรียบเทียบไพเราะยิ่งนัก; พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ, หากว่าพระ
พุทธเจ้ายังทรงอยู่ พระองค์จะพึงประทานสาธุการเป็นแน่."

๘. สัตตโพชฌังคปัญหา ๗๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า โพชฌงค์มีเท่าไร ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร มีเจ็ด."
ร. "พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์เท่าไร พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อย่างเดียว ขอถวายพระพร."
ร. "เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนจึงกล่าวว่าโพชฌงค์เจ็ดเล่า พระผู้เป็นเจ้า
?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริเห็นความ ข้อนี้เป็น
ไฉน: ดาบอันสอดอยู่ในฝัก มือไม่ได้จับไว้ ยังจักอาจตัดให้ขาดได้หรือ ?"
ร. "ไม่ได้เลย."
ถ. "เว้นจากธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เสียแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ แต่โดย
ลำพังโพชฌงค์หกไม่ได้ เหมือนกันฉันนั้นแล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๙. ปาปปุญญพหุตรปัญหา ๗๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า บุญก็ดี บาปก็ดี อย่างไหนจะมี
มากกว่า"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร บุญแหละมีมากกว่า
บาปมีน้อย."
ร. "เพราะเหตุอะไร ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เมื่อคนกระทำบาป ย่อมได้ความร้อนใจว่า 'เราได้
กระทำบาปไว้' ดังนี้, เหตุฉะนั้น บาปจึงไม่เจริญ. เมื่อคนกระทำบุญ ย่อมไม่
ได้คนเดือดร้อนใจ, เมื่อไม่เดือดร้อนใจ ปราโมทย์ก็ย่อมเกิด, เมื่อใจเบิกบาน
ปิติก็ย่อมเกิด, เมื่ออิ่มใจ ใจคอก็สงบ, ครั้นมีใจคอสงบแล้ว ก็ย่อมได้เสวยสุข,
เมื่อมีสุข จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ, ครั้นมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ย่อมรู้ชัดตาม
เป็นแล้วอย่างไร, เพราะเหตุนั้น บุญจึงเจริญ. บุรุษผู้ถูกตัดมือเท้าแล้ว ได้
ถวายดอกอุบลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนึ่งแล้ว จักไม่ไปสู่วินิบาตตลอด
กาลยืดยาว มีประมาณถึงเก้าสิบเอ็ดกัปป์: แม้เพราะเหตุนี้แล ขอถวายพระ
พร อาตมภาพจึงกล่าวว่า บุญมีมากกว่า บาปมีน้อย ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๐. ชานอชานปัญหา ๗๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนผู้รู้อยู่ กระทำบาปกรรม และ
คนผู้ไม่รู้อยู่ กระทำบาปกรรม บาปของใครมากกว่า ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ผู้ใดไม่รู้อยู่ กระทำบาปกรรม บาปของผู้
นั้นมากกว่า ขอถวายพระพร."
ร. "ถ้าอย่างนั้น ราชบุตรก็ดี ราชมหาอมาตย์ก็ดี ของข้าพเจ้าผู้ไม่รู้
กระทำความผิดลง ข้าพเจ้ามิต้องลงโทษแก่เขาทวีคูณหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริความข้อนี้เป็นไฉน: ผู้
หนึ่งรู้อยู่และอีกผู้หนึ่งไม่รู้อยู่ ทั้งสองคนนั้น จะพึงจับก้อนเหล็กที่ไฟเผาให้
ร้อนโชนเป็นเปลว คนไหนจะถูกลวกหนักกว่า ?"
ร. "คนผู้ไม่รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ผู้ใดไม่รู้ กระทำบาปกรรม บาปของผู้นั้นมากกว่า เหมือนกันฉะนั้น
แล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๑. อุตตรกุรุปัญหา ๘๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ใคร ๆ จะพึงสามารถไปสู่อุตตรกุ
รุทวีปก็ดี สู่พรหมโลกก็ดี สู่ทวีปอื่นก็ดี กับทั้งกาย คือประชุมแห่งธาตุสี่อันนี้ มี
บ้างหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร มีอยู่."
ร. "ไปได้อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์ทรงจำได้อยู่บ้างหรือว่า พระองค์เคยทรง
กระโดดขึ้นได้จากพื้นแผ่นดินนี้ คืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง."
ร. "จำได้อยู่ ข้าพเจ้ากระโดดขึ้นถึงแปดศอกก็ได้."
ถ. "พระองค์ทรงกระโดดอย่างไร จึงขึ้นไปได้ถึงแปดศอกก็ได้."
ร. "ข้าพเจ้าทำจิตให้เกิดขึ้นก่อนว่า 'ข้าพเจ้าจักขึ้นไปให้ถึงนั้น,' กาย
ของข้าพเจ้าก็เบาขึ้นพร้อมกับจิตอันเกิดขึ้น."
ถ. "ขอถวายพระพร พระภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้มีอำนาจทางจิต
ยกกายขึ้นรวมไว้ในจิตแล้ว ย่อมไปสู่เวหาสได้ด้วยอำนาจแห่งจิตเหมือนกัน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๒. ทีฆอัฏฐิกปัญหา ๘๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'กระดูกที่ยาวถึงร้อย
โยชน์ก็มี' ดังนี้, แต่ต้นไม้ยังไม่มีถึงร้อยโยชน์ กระดูกที่ยาวถึงร้อยโยชน์จักมี
แต่ไหน."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร พระองค์จักทรงพระราช
ดำริความข้อนี้เป็นไฉน: พระองค์เคยได้ทรงสดับอยู่หรือว่าปลาในพระ
มหาสมุทรยาวถึงห้าร้อยโยชน์ก็มี."
ร. "เคยได้ฟังอยู่."
ถ. "กระดูกของปลาที่ยาวห้าร้อยโยชน์ จักยาวถึงร้อยโยชน์มิใช่หรือ
ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๓. อัสสาสปัสสาสปัญหา ๘๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า 'อาจกระทำลม
อัสสาสะปัสสาสะให้สงบได้' ดังนี้มิใช่หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลรับว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "อาจอย่างไรนะ พระผู้เป็นเจ้า ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระราชดำริความข้อนี้เป็นไฉน:
พระองค์เคยได้ทรงฟังใคร ๆ นอนกรนบ้างหรือเปล่า ?"
ร. "เคยได้ฟัง."
ถ. "ขอถวายพระพร เสียงนั้นของคนมีกายไม่ได้อบรมแล้ว มีศีลไม่ได้
อบรมแล้ว มีจิตไม่ได้อบรมแล้ว มีปัญญาไม่ได้อบรมแล้ว เมื่อกายพลิก
ตะแคงยังสงบแล้ว, ไฉนลมอัสสาสะปัสสาสะของท่านผู้มีกายได้อบรมแล้ว มี
ศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรมแล้ว บรรลุจตุตถฌาน
แล้ว จักไม่สงบเล่า."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."






เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2012, 12:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔. สมุททปัญหา ๘๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คำที่เรียกกันว่าทะเล ๆ ดังนี้ ด้วย
เหตุไร จึงเรียกน้ำว่าทะเล ดังนี้."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร น้ำมีประมาณเท่าใด รส
เค็มก็มีประมาณเพียงเท่านั้น, รสเค็มมีประมาณเพียงเท่าใด น้ำก็มีประมา
เพียงเท่านั้น, เหตุฉะนั้น จึงได้เรียกกันว่าทะเล ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุไร ทะเลจึงมีรสเป็นอัน
เดียว คือ มีรสเค็ม."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "เพราะเหตุตั้งขังอยู่นาน ขอถวายพระ
พร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๕. สุขุมเฉทนปัญหา ๘๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า บุคคลอาจตัดของทั้งปวงที่สุขุม
ได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "อะไรที่ชื่อว่าของทั้งปวงที่สุขุมนะ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ธรรมชื่อว่าของสุขุมกว่าของทั้งปวง แต่ธรรมเป็น
สภาพสุขุมล้วนหามิได้, คำว่า สุขุมก็ดี หยาบก็ดี เป็นชื่อสำหรับเรียกธรรมทั้ง
หลาย, ของอันใดอันหนึ่งอันบุคคลจะพึงตัด บุคคลย่อมตัดของนั้นได้หมดด้วย
ปัญญา, เครื่องตัดรองปัญญาลงไปมิได้มี."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๖. ปัญญาวิเสสปัญหา ๘๕
พระราชาตรัสถามว่า “ พระผู้เป็นเจ้า ปัญญาอยู่ที่ไหน ?”
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า “ ปัญญาหาได้อยู่ที่ไหน ๆ ไม่”
ร. “ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็ไม่มีนะซิ”
ถ. “ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรงหมายเนื้อความข้อนั้นเป็นไฉน :ลมอยู่ที่ไหน ?”
ร. “ลมหาได้อยู่ที่ไหน ๆ ไม่.”
ถ. “ถ้าอย่างนั้น ลมก็ไม่มีนะซิ”
ร. “ พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ”

๑๗. วิญญาณาทินานัตถภาวปัญหา ๘๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ธรรมเหล่านี้ คือ วิญญาณก็ดี
ปัญญาก็ดี เจตภูตก็ดี มีอรรถก็ต่างกัน มีพยัญชนะก็ต่างกัน หรือว่ามีอรรถ
เป็นอันเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะ."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร วิญญาณมีอันรู้แจ้งเป็น
ลักษณะ ปัญญามีอันรู้ทั่วถึงเป็นลักษณะ เจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปค้นหาไม่ได้
โดยพระปรมัตถ์."
ร. "ถ้าว่าเจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปค้นหาไม่ได้ โดยพระปรมัตถ์, เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ใครเล่าเห็นรูปด้วยนัยน์ตา ฟังเสียงด้วยหู สูบกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าเจตภูตเห็นรูปด้วยนัยน์ตา ฯลฯ รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ, เจตภูตนั้น เมื่อทวาร คือ จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย เพิก
ถอนขึ้นเสียให้สิ้นแล้ว จะมิหันหน้าออกภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่
เห็นรูป ฟังเสียง สูบกลิ่น ลิ้มรส ต้องโผฏฐัพพะชัดเจนดีขึ้นกว่าหรือ."
ร. "หามิได้."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น เจตภูตอันบัณฑิตเข้าไปหาไม่ได้ โดยพระปรมัตถ์นะซิ
ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

๑๘. อรูปววัตถภาวทุกกรปัญหา ๘๗

พระเถรเจ้ากล่าวขึ้นว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
กระทำการที่กระทำได้ยากนัก."
พระราชาตรัสถามว่า "การอะไร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "พระองค์ตรัสจำแนกอรูปธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านี้
ที่เป็นไปในอารมณ์อันเดียวกันว่า นี้ผัสสะ นี้เวทนา นี้สัญญา นี้เจตนา นี้จิต
ดังนี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่งหยั่งลงสู่มหาสมุทร
ด้วยเรือแล้ว กอบเอาน้ำขึ้นมาด้วยอุ้งมือแล้ว ชิมรสด้วยลิ้นแล้ว เขาจะพึงรู้ได้
หรือว่า 'นี้น้ำแห่งน้ำแม่คงคา นี้น้ำแห่งแม่น้ำยมุนา นี้น้ำแห่งแม่น้ำอจิรวดี นี้
น้ำแห่งแม่น้ำสรภู นี้น้ำแห่งแม่น้ำมหี' ดังนี้ ฉันใด."
ร. "ยากที่จะรู้ได้."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการที่กระทำได้
ยากกว่านั้น คือ ตรัสจำแนกอรูปธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านี้ ที่
เป็นไปในอารมณ์อันเดียวกันว่า นี้ผัสสะ ฯลฯ นี้จิต ดังนี้."
พระราชาทรงอนุโมทนาว่า "ชอบละ."

๑๙. ทุกกรปัญหา ๘๘

พระเถรเจ้าทูลถามว่า "ขอถวายพระพร พระองค์ทรงทราบอยู่หรือ
เดี๋ยวนี้เวลาเท่าไรแล้ว ?"
พระราชาตรัสบอกว่า "ทราบอยู่ เดี๋ยวนี้ประถมยามล่วงไปแล้วกำลัง
เป็นมัชฌิมยาม, เจ้าพนักงานตามคบสว่าง และสั่งให้ประโคมแตรสี่คัน, พวก
ข้าราชการจักกลับไปจากพระลาน."
พวกโยนกอมาตย์กราบทูลว่า "ขอเดชะ ภิกษุรูปนี้เป็นบัณฑิตแท้."
พระราชาตรัสตอบว่า "เออ พนาย พระเถรเจ้าเป็นบัณฑิตแท้, ถ้า
อาจารย์จะพึงเป็นเหมือนท่าน และอันเตวาสิกจะพึงเป็นเหมือนเราไม่ช้าอันเต
วาสิกจะพึงเป็นบัณฑิตรู้ธรรมทั่วถึง."
พระราชาทรงพระปราโมทย์ ด้วยปัญหาพยากรณ์ของพระนาคเสนเถร
เจ้าแล้ว ทรงถวายผ้ากัมพลราคาแสนกระษาปณ์ให้ครองแล้ว ตรัสปวารณา
ว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะแต่งภัตตาหารไว้
ถวายพระผู้เป็นเจ้าร้อยแปดภาค และสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็ฯกัปปิยะอันมีในวังนี้
ข้าพเจ้าปวารณาด้วยสิ่งนั้น."
ถ. "อย่าเลย ขอถวายพระพร อาตมภาพพอเลี้ยงชีพได้."
ร. "ข้าพเจ้าก็ทราบอยู่ว่า 'พระผู้เป็นเจ้าพอเลี้ยงชีพได้' ก็แต่ขอพระผู้
เป็นเจ้าจงรักษาตนด้วย, จงรักษาข้าพเจ้าไว้ด้วย; พระผู้เป็นเจ้าจะรักษาตน
อย่างไร: ความครหาของผู้อื่นจะพึงมีมาว่า 'พระนาคเสนกระทำมิลินทราชา
ให้เลื่อมใสได้แล้ว แต่ก็ไม่ได้อะไรสักหน่อย' ดังนี้, เหตุฉะนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้า
จงรักษาตนให้พ้นปรัปปวาทอย่างนี้; พระผู้เป็นเจ้าจะรักษาข้าพเจ้าอย่างไร:
คำครหาของผู้อื่นจะพึงมีมาว่า 'มิลินทราชาเลื่อมใสแล้ว แต่หากระทำอาการ
ของผู้เลื่อมใสไม่' ดังนี้, เหตุฉะนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรักษาข้าพเจ้าให้พ้น
จากปรัปปวาทอย่างนี้."
ถ. "ขอถวายพระพร อย่างนั้นเอาเป็นได้กัน."
ร. "มีอุปมาว่า ราชสีห์อันเป็นพญาเนื้อ แม้ต้องขังอยู่ในกรงทอง ก็หัน
หน้าออกอย่างเดียว ฉันใด, ถึงว่าข้าพเจ้าอยู่ครองเรือนก็จริง แต่ก็อยู่หันหน้า
ออกนอกเป็นนิตย์ ฉันนั้น; ถ้าข้าพเจ้าจะพึงออกบวชบ้าง ก็คงจะมีชีวิตอยู่ได้
ไม่นาน เพราะศัตรูของข้าพเจ้ามีมาก."
ลำดับนั้น พระนาคเสนผู้มีอายุ ครั้นถวายวิสัชนาปัญหาแก่พระเจ้ามิ
ลินท์เสร็จแล้ว ลุกจากอาสน์กลับไปสู่สังฆาราม. และเมื่อพระเถรเจ้าหลีกไป
แล้วไม่ช้า ท้าวเธอทรงพระอนุสรถึงปัญหาที่พระองค์ได้ตรัสถามแล้วเป็นอย่าง
ไร และพระเถรเจ้าถวายวิสัชนาแล้วเป็นอย่างไร. แต่นั้นทรงพระราชดำริเห็น
ว่า "พระองค์ตรัสถามชอบแล้วทุกข้อ และพระเถรเจ้าก็ได้ถวายวิสัชนาชอบ
แล้วทุกข้อ." ฝ่ายพระนาคเสนเถรเจ้า ก็คำนึงถึงและดำริเห็นเหมือนกันเช่น
นั้น. ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้วถึงเวลาเช้า พระเถรเจ้าครองผ้าตามสมณวัตรแล้ว
ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์แห่งพระเจ้ามิลินท์ นั่งบนอาสน์ที่แต่ง
ถวาย. ขณะนั้น ท้าวเธอถวายนมัสการแก่พระเถรเจ้าแล้ว เสด็จพระประทับ ณ
ที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว ตรัสแก่พระเถรเจ้าว่า "ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้ดำริเห็น
ว่า 'ข้าพเจ้าดีใจว่า ได้ถามปัญหากะพระผู้เป็นเจ้าแล้วนอนหลับตลอดราตรี
ซึ่งยังเหลืออยู่นั้น, ขอพระเป็นผู้เจ้าอย่าได้เห็นดังนี้เลย; ข้าพเจ้าได้คำนึงถึง
ปัญหาที่ข้าพเจ้าได้ถามเป็นอย่างไร และพระผู้เป็นเจ้าได้วิสัชนาแล้วเป็น
อย่างไร ตลอดราตรีซึ่งยังเหลืออยู่นั้น; เห็นว่าข้าพเจ้าได้ถามชอบแล้วทุกข้อ
และพระผู้เป็นเจ้าก็ได้วิสัชนาชอบแล้วทุกข้อ." แม้พระเถรเจ้าก็ถวายพระพร
ว่า "ขอถวายพระพร ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระราชดำริเห็นว่า 'อาตมภาพดี
ใจว่า ได้ถวายวิสัชนาปัญหาแก่พระองค์แล้ว กระทำราตรีซึ่งยังเหลืออยู่นั้นให้
ล่วงไปด้วยความโสมนัสนั้น, ขอพระองค์อย่าได้ทรงเห็นดังนั้นเลย' อาตมภาพ
ก็ได้คำนึงถึงปัญหาที่พระองค์ได้ตรัสถามเป็นอย่างไร และอาตมภาพได้ถวาย
วิสัชนาเป็นอย่างไร ตลอดราตรีซึ่งยังเหลืออยู่นั้น; เห็นว่าพระองค์ตรัสถาม
ชอบแล้วทุกข้อ และอาตมภาพก็ได้ถวายวิสัชนาชอบแล้วทุกข้อ เหมือนกัน."
พระมหานาคทั้งสองนั้นต่างอนุโมทนาสุภาสิตของกันและกัน ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
ปุจฉาวิสัชนา มิลินทปัญหา จบ.


ปรารภเมณฑกปัญหา


พระเจ้ามิลินท์ผู้ช่างตรัส ทรงสันทัดในการเถียงปัญหา ทรงพระ
ปัญญาล่วงสามัญชน มีพระปรีชาญาณลบล้น เห็นแจ้งในเหตุผลเสด็จเข้าไป
หาพระนาคเสนเถรเจ้า เพื่อความแตกฉานแห่งพระปรีชาเสด็จอยู่ในฉายาที่
เป็นร่มเงาของพระเถรเจ้า เฝ้าตรัสถามปัญหา ได้พระปัญญาแตกฉาน ทรง
พระไตรปิฎกธรรมแล้ว ในส่วนแห่งราตรีวันหนึ่ง เสด็จอยู่ ณ ที่สงัด ทรง
พิจารณาถึงนวังคสัตถุศาสนา คือ พระพุทธวจนะมีองค์เก้าประการ ทรงพระ
ญาณเล็งเห็นเมณฑกปัญหา คือ ปริศนาสองเงื่อนดุจเขาแกะ ซึ่งวิสัชนาแก้ได้
เป็นอันยาก และประกอบไปด้วยอุบายเครื่องจะยดโทษขึ้นกล่าวได้ อันมีใน
พระศาสนาของสมเด็จพระธรรมราชา ที่ทรงภาสิตไว้โดยบรรยายก็มี ทรง
หมายภาสิตไว้ก็มีทรงภาสิตไว้ตามสภาพก็ดี. เพราะไม่รู้แจ้งอรรถาธิบายแห่ง
ภาสิตทั้งหลายในเมณฑกปัญหาที่สมเด็จพระชินพุทธเจ้าทรงภาสิตไว้นั้น ใน
อนาคตกาลไกล จักมีความเข้าใจผิดในเมณฑกปัญหานั้นแล้วเถียงกันขึ้น.
เอาเถิดเราจักให้พระธรรมกถึกเลื่อมใสเห็นชอบด้วยแล้ว จักอาราธนาให้ตัด
สินเมณฑกปัญหาทั้งหลายเสีย, ในอนาคตกาล ชนทั้งหลายจักได้แสดงตาม
ทางที่ท่านได้แก้ไว้แล้วนั้น.
ครั้นราตรีสว่าง อรุณขึ้นแล้ว ทรงสนานพระเศียรเกล้าแล้วทรงประณม
พระหัตถ์เหนือพระเศียร ทรงพระอนุสรถึงสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ทั้ง
อดีต อนาคต ปัจจุบันแล้ว ทรงสมาทานพรตบทแปดประการ โดยทรงพระราช
ปณิธานตั้งพระราชหฤทัยว่า "เราจักสมาทานองคคุณแปดประการ บำเพ็ญ
ตบะธรรม คือ จำศีลให้ถ้วนเจ็ดวัน ข้างหน้าแต่วันนี้ไป, ครั้นบำเพ็ญตบะธรรม
ครบกำหนดนั้นแล้ว จักอาราธนาพระอาจารย์ให้เต็มใจแล้ว จักถามเมณฑก
ปัญหาท่าน."
ขณะนั้น ท้ายเธอทรงผลัดคู่พระภูษากาสาวพัสตร์ ทรงสวมลองพระ
สกอันโล้นไว้บนพระเศียร ถือเพศมุนีแล้ว ทรงสมาทานองคคุณแปดประการ
ดังต่อไปนี้ ถ้วนเจ็ดวันนี้.
๑. เราจะหยุดว่าราชการ
๒. เราจะไม่ยังจิตอันประกอบด้วยราคะให้เกิดขึ้น
๓. เราจะไม่ยังจิตยังประกอบด้วยโทสะให้เกิดขึ้น
๔. เราจะไม่ยังจิตอันประกอบด้วยโมหะให้เกิดขึ้น
๕. เราจะเป็นผู้ประพฤติสุภาพ แม้แก่พวกบุรุษชนซึ่งเป็นทาสกรรมกร
๖. เราจักรักษากายกรรมและวจีกรรม ให้บริสุทธิ์ปราศจากโทษ
๗. เราจะรักษาอายตนะทั้งหกไม่ให้มีส่วนเหลือ
๘. เราจะตั้งจิตไว้ในเมตตาภาวนา
ครั้นทรงสมาทานองคคุณแปดประการเหล่านี้แล้ว ทรงตั้งพระหฤทัยอยู่ใน
องคคุณแปดประการนั้นอย่างเดียว ไม่เสด็จออกข้างนอกถ้วนเจ็ดวันแล้ว ใน
วันที่แปด พอเวลาราตรีสว่างแล้ว รีบเสวยพระกระยาหารแต่เช้าแล้ว เสด็จเข้า
ไปหาพระนาคเสนเถรเจ้า มีดวงพระเนตรอันทอดลง ตรัสแต่พอประมาณ มี
พระอิริยาบถสงบเสงี่ยม มีพระหฤทัยแน่วไม่ส่ายไปส่ายมา ทรงพระปราโมทย์
เบิกบานพระราชหฤทัย สดใสชุ่มชื่นแล้วเป็นอย่างยิ่ง ทรงถวายนมัสการแทบ
บาทของพระเถรเจ้า ด้วยพระเศียรเกล้าแล้ว เสด็จยืน ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่งแล้ว ตรัสดังนี้:-
"พระผู้เป็นเจ้า ข้อความบางเรื่องที่ข้าพเจ้าจะต้องหารือกับพระผู้เป็น
เจ้ามีอยู่. ใคร ๆ อื่นไม่ควรปรารถนาให้มาเป็นที่สามในข้อความเรื่องนั้นเข้า
ด้วย, ปัญหานั้นจะต้องถามได้แต่ในป่าอันเป็นโอกาสว่างสงัดประกอบด้วย
องค์แปดประการ เป็นสมณสารูป, ในที่นั้น ข้าพเจ้าไม่ต้องกระทำให้เป็นข้อที่
จะต้องปกปิด ไม่ต้องกระทำให้เป็นข้อลี้ลับซึ่งจะต้องซ่อนเร้น, เมื่อความหารือ
กันด้วยความประสงค์อันดีมีอยู่ ข้าพเจ้าก็คงจะฟังความลับได้. ความข้อนั้น
ควรพิจารณาเห็นโดยข้ออุปมา. เหมือนอะไรเล่า ? เหมือนอย่างมหาปฐพี เมื่อ
การจะต้องผั่งมีอยู่ ก็ควรเป็นที่ผั่ง ฉันใด, ข้อนี้ก็ฉันนั้น."
เสด็จเข้าไปสู่ป่าอันสงัดกับพระอาจารย์แล้ว ตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้า
บุรุษในโลกผู้จะใคร่หารือการณ์ ควรเว้นสถานแปดตำบลเสีย บุรุษผู้เป็นวิญญู
ขน ไม่หารือข้อความในสถานเหล่านั้น, สถานแปดตำบลนั้นเป็นไฉน สถาน
แปดตำบลนั้น คือ :
๑. สถานที่ไม่สม่ำเสมอ ควรเว้นเสีย
๒. สถานที่มีภัย ควรเว้นเสีย
๓. สถานที่ลมพัดจัด ควรเว้นเสีย
๔. สถานที่มีของกำบัง ควรเว้นเสีย
๕. เทวสถาน ควรเว้นเสีย
๖. ทางเปลี่ยว ควรเว้นเสีย
๗. ตะพานที่เดินข้าม ควรเว้นเสีย
๘. ท่าน้ำ ควรเว้นเสีย
สถานแปดตำบลนี้ควรเว้นเสีย."
พระเถรเจ้าทูลถามว่า "มีโทษอะไร ในสถานแปดตำบลนั้น ขอถวาย
พระพร.
ร. "ข้อความที่หารือกันในสถานที่ไม่สม่ำเสมอ ย่อมแพร่งพรายเซ็งแซ่
อื้อฉาวไม่มีดี; ในสถานที่มีภัย ใจย่อมหวาด คนหวาด พิจารณาเห็นความได้
ถูกต้องหามิได้: ในสถานที่ลมพัดจัดนัก เสียงฟังไม่ถนัด: ในสถานที่มีของ
กำบัง คนทั้งหลายไปแอบฟังความได้: ข้อความที่หารือกันในเทวสถาน กาย
เป็นหนักไป: ข้อความที่หารือกันในทางเปลี่ยวเป็นของเสียเปล่า: ที่ตะพาน
เขย่าอยู่เพราะฝีเท้า; ที่ท่าน้ำ ข่าวย่อมปรากฏทั่วไป."
พระราชาตรัสต่อไปว่า "บุคคลแปดจำพวกเหล่านี้ ใครหารือด้วยย่อม
กระทำข้อความที่หารือด้วยให้เสีย, บุคคลแปดจำพวกนั้นเป็นไฉน ?
๑. คนราคจริต
๒. คนโทสจริต
๓. คนโมหจริต
๔. คนมานจริต
๕. คนโลภ
๖. คนเกียจคร้าน
๗. คนมีความคิดแต่อย่างเดียว
๘. คนพาล
บุคคลแปดจำพวกเหล่านี้ ย่อมกระทำข้อความที่หารือด้วยให้เสีย."
ถ. "เขามีโทษอะไร."
ร. "คนราคจริต ย่อมกระทำข้อความที่หารือด้วยให้เสีย ด้วยอำนาจ
ราคะ, คนโทสจริต ด้วยอำนาจโทสะ, คนโมหจริต ด้วยอำนาจโมหะ, คนมาน
จริต ด้วยอำนาจมานะ, คนโลภ ด้วยอำนาจความโลภ, คนเกียจค้าน ด้วย
อำนาจความเกียจคร้าน, คนมีความคิดแต่อย่างเดียวด้วยอำนาจความเป็น
คนมีความคิดแต่อย่างเดียว, คนพาล ด้วยอำนาจความเป็นพาล."
พระราชาตรัสต่อไปว่า "บุคคลเก้าจำพวกเหล่านี้ ย่อมเปิดความลับที่
หารือด้วย หาปิดไว้ไม่, บุคคลเก้าจำพวกนั้นเป็นไฉน?
๑. คนราคจริต
๒. คนโทสจริต
๓. คนโมหจริต
๔. คนขลาด
๕. คนหนักในอามิส
๖. สตรี
๗. คนขี้เมา
๘. บัณเฑาะก์
๙. เด็กเล็ก ๆ."
ถ. "เขามีโทษอะไร."
ร. "คนราคจริต ย่อมเปิดความลับที่หารือด้วย ไม่ปิดไว้ ด้วยอำนาจ
ราคะ, คนโทสจริต ด้วยอำนาจโทสะ, คนโมหจริต ด้วยอำนาจโมหะ, คนขลาด
ด้วยอำนาจความกลัว, คนหนักในอามิส ด้วยเหตุแห่งอามิส, สตรี ด้วยความ
เป็นคนอ่อนความคิด, คนขี้เมา ด้วยความเป็นคนโลเลในสุรา, บัณเฑาะก์
ด้วยความเป็นคนไม่อยู่ในฝ่ายอันเดียว, เด็กเล็ก ๆ ด้วยความเป็นผู้มักคลอน
แคลน."



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ขอกราบเรียนเชิญ พี่น้องญาติธรรมผู้มีจิตศรัทธาในการสร้างบุญบารมี
ร่วมทำบุญหล่อพระพุทธรูปทองคำ กับหลวงปู่ทองโต เทพโลกอุดร
สำนักสงฆ์ถ้ำน้ำตาดสุวรรณกัลยาธรรม ต.ทับถุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี

กำหนดการ

วันที่ 11 สิงหาคม 2555
06.00 น. รวมทองคำลงเตาเผา
15.19 น. ร่วมเทหลอมพระพุทธรูปทองคำ 9 องค์

วันที่ 12 สิงหาคม 2555
ร่วมทุบบล็อกพระพุทธรูปทองคำ 9 องค์ (ประสูติ)

เชิญร่วมทำบุญโดยการโอนเงินมาที่

ธ.กสิกรไทย สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา
ชื่อบัญชี นางสาวรัติยา คงเนียม
เลขที่บัญชี 433-2-45841-3
กรุณาแจ้งรายนามผู้ร่วมทำบุญมาที่
rattiya_ku@hotmail.com หรือ
แจ้งทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 090-3748398
ภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2555 เพื่อรวบรวมยอดเงินนำส่งหลวงปู่ต่อไป


ขอเชิญร่วมบุญ "หล่อหลวงพ่อเพชรและรูปเหมือนองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร 4 สค.55 นี้
ณ วัดป่าเขาน้อย
อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

กำหนดการ
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เวลา 18.00 น. สวดพุทธมนต์เย็น

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เวลา 07.00 น. พระสงฆ์บิณฑบาต
เวลา 08.00 น. ฉันภัตตาหาร
เวลา 14.39 น. เริ่มเททองรูปหล่อหลวงพ่อเพชร และรูปหล่อเหมือนองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร ทางวัดแจกพระผง
หลวงปู่จันทา ถาวโร ที่มีส่วนผสมอังคารธาตุองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร จึงเรียนมาเพื่อศิษยานุศิษย์ทราบ




หลวงพ่อหนูอินทร์ กาฬสินธุ์ สร้างพระมหามณฑป
________________________________________
โทร.๐๘-๑๒๖๓-๖๗๗๘



ขอเชิญร่วมสร้างสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรฺหมฺรํงสี) องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
081-334-6375


ร่วมบุญคืนชีวิตให้วัดป่าปิยมิตรชื่อวัดป่า แต่อยู่แถวๆ สัตหีบนี่เอง
นายณัฐภูเบศร์ เมธีรัตน์วราการ
เลขที่บัญชี 796-216387-3
สาขาย่อยนิคมอุตรสาหกรรมอมตะนคร
ออมทรัพย์ ไทยพาณิชย์</O >
<O

เชิญร่วมบุญหล่อพระประทานพร
________________________________________
โทร 089-679-5227<O



เชิญท่านทานบดีทุกๆท่านร่วมสร้างกุฏิสงฆ์ของวัดปากเหมือง อ.สารภี
จ.เชียงใหม่ ซึ่งสร้างจำนวน 7 ห้อง บนเนื้อที่ 200 ตารางเมตรซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงก่อสร้างมุงหลังคา จึงเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาสร้างบุญกุศลในโอกาสนี้ ตามรายการเจ้าภาพ
1.เจ้าภาพกระเบื่องมุงหลังคา ตารางเมตรละ 500 บาท
2.เจ้าภาพกระเบื้องมุงหลัง แผ่นละ 100 บาท
3.เจ้าภาพระบบไฟฟ้า แสงสว่าง จุดละ 3,000 บาท
4.เจ้าภาพห้องน้ำ สุขา ปลดทุกข์ ห้องละ 10,000 บาท
หรือท่านจะร่วมบริจาคตามกำลังศรัทธา
ร่วมบุญได้ที่ วัดปากเหมือง ต.ขัวมุง อ.สารภี เชียงใหม่
โทร.081-9981552


เชิญทำบุญกระเบื้องมุงหลังคาศาลาการเปรียญ วัดตานีนรสโมสร จ.ปัตตานี


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพจัดซื้อโครงเหล็กหลังคาไม้ตะเคียน 108 ต้น
0870817791


ขอเชิญร่วมบุญสร้างถนน ณ สำนักสงฆ์พระธาตุอรัญวาส(ดอยวังเฮือ) อ.เมือง จ.ลำปาง
โทร. 081-821-6583


เรียนเชิญ ร่วมบุญ สร้างองค์ปฐมทรงเครื่องจักรพรรดิ์ ทดแทนคุณ ทั้งแผ่นดิน
087 830 5418


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระหลวงพ่อโต (องค์ขาว) ที่บ้านป่าจี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน

ร่วมวางศิลาฤกษ์ และเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อคง ณ วัดคงสวัสดิ์วัฒนาราม จ.ชัยนาท
โทร. 089-8563135


เชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างเจดีย์มหาบูรพาจารย์
http://www.watkoksaard.com/index.php/20 ... 1-08-52-29


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสร้างพระเจดีย์เทวธรรมและจัดซื้อที่ดิน 28 กค. 55
หรือสามารถส่งปัจจัยร่วมบุญได้ที่
บัญชีธนาคารกสิกรไทยสาขาร้อยเอ็ด
ชื่อบัญชี : กองทุนสร้างพระเจดีย์เทวธรรม
หมายเลขบัญชี : 329-249-5829
<O </O


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ประจำปี ๒๕๕๕
เพื่อสมทบทุนสร้างหอพระแก้วไม้สัก กุฏิกัมฐาน
ปรับแต่งภูมิทัศน์ รอบรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ระหว่างวันที่ ๓ – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๐๗๐๐ เป็นต้นไป



ร่วมทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
โทร. 034-324-544

เปลี่ยนของเหลือใช้ที่ท่านมีสร้างบุญเพื่อการศึกษาแก่เด็กกันเถอะ
089-8523498


ผ้าป่าโครงการบูรณะกุฏิ 9 วัด (29 กรกฎาคม 55)
โทร. 081-8696068


เปิดอบรม หลักสูตรครูสมาธิ รุ่นที่ 31 โดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธฺโร
085-1452590


ร่วมสร้างบุญเป็นธรรมทานรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกแห่งการสร้างธรรมทานครั้งนี้
________________________________________
โทร. 089-8523498



ด่วน.วอนผู้ใจบุญเป็นเจ้าภาพหนังสือเรียนธรรมศึกษา
โทร 0862602702


เทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ขอเชิญปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่ วัดบางพาน อ. เมือง จ.สิงห์บุรี ( ตามเขตปกครองสงฆ์ ขึ้นกับ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ) ffice ffice" /><O ></O >
<O ></O >
ดูรายละเอียดได้ที่ http://watbangphan.org โทร 086 - 3077955<O ></O >


เข้าพรรษานี้ เชิญ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ วิทยาลัยทองสุข เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ทุกวันเสาร์ เวลา 18.00 -20.00 น.
สนใจติดต่อ 081-936-1106



ขอเชิญร่วมทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษา วันที่ 3 ส.ค.55 เวลา 06.00 น. วัดพิชัยญาติการาม คลองสาน
02-861-4319



ขอความเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือร่วมทำบุญถวายค่าน้ำค่าไฟค่าภัตตาหารแก่วัดขาดแคลน
โทร.089-9555-870


ร่วมกันช่วยเหลือสนัข
http://youtu.be/mRiMr1DGu98


ขอเชิญร่วมบุญมหากุศลครั้งใหญ่ปล่อยสัตว์น้ำ(ที่จะถูกฆ่า) 1 ตัน กลับคืนสู่ธรรมชาติ
โทร 088-4972263


ผ้าป่าสามัคคีเพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด
ในวันที่ 9 สิงหาคม 2555
ณ วัดชากลูกหญ้า ต ห้วยโปร่ง อ เมือง จ ระยอง หรือท่านสามารถร่วมกุศลได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้

ชื่อบัญชี
สมาคมส่งเสริมและพัีฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดไทย
ธนาคาร กรุงไทย ออมทรัพย์
สาขา ย่อยเซ็นจูรี่
เลขที่บัญชี 481-0-12902-2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 08:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:

อนุโมทนาแ้ล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2012, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


พระราชาตรัสต่อไปว่า "ปัญญาย่อมแปรถึงความแก่รอบด้วยเหตุแปด
ประการ, ด้วยเหตุแปดประการนั้นเป็นไฉน ?
๑. ด้วยความแปรแห่งวัย
๒. ด้วยความแปรแห่งยศ
๓. ด้วยการไต่ถาม
๔. ด้วยการอยู่ในสถานที่เป็นท่า คือ ทำเล
๕. ด้วยโยนิโสมนสิการ คือ ความกระทำในใจโดยอุบายที่ชอบ
๖. ด้วยความสังสนทนากัน
๗. ด้วยอำนาจความเข้าไปเสพ
๘. ด้วยสามารถแห่งความรัก
๙. ด้วยความอยู่ในประเทศอันสมควร."
พระราชาตรัสต่อไปว่า "ภูมิภาคนี้ เว้นแล้วจากโทษแห่งการหารือแปด
ประการ, และข้าพเจ้าก็เป็นยอดสหายคู่ปรึกษาในโลก, และข้าพเจ้าเป็นคน
รักษาความลับไว้ได้ด้วย ข้าพเจ้าจักมีชีวิตอยู่เพียงใด ข้าพเจ้าจักรักษาความ
ลับไว้เพียงนั้น, และปัญญาของข้าพเจ้าถึงความแปรมาด้วยเหตุแปดประการ,
เดี๋ยวนี้อันเตวาสิกเช่นข้าพเจ้าหาได้เป็นอันยาก.
อาจารย์พึงปฏิบัติชอบในอันเตวาสิกผู้ปฏิบัติชอบ ด้วยคุณของ
อาจารย์ยี่สิบห้าประการ, คุณยี่สิบห้าประการเป็นไฉน ?
๑. อาจารย์พึงเอาใจใส่จัดความพิทักษ์รักษาอันเตวาสิกเป็นนิตย์
๒. พึงรู้ความภักดีหรือไม่ภักดีของอันเตวาสิก
๓. พึงรู้ความที่อันเตวาสิกเป็นผู้ประมาทหรือไม่ประมาท
๔. พึงรู้โอกาสเป็นที่นอนของอันเตวาสิก
๕. พึงรู้ความที่อันเตวาสิกเป็นผู้เจ็บไข้
๖. พึงรู้โภชนาหารว่าอันเตวาสิกได้แล้ว หรือยังไม่ได้แล้ว
๗. พึงรู้วิเศษ
๘. พึงแบ่งของอยู่ในบาตรให้
๙. พึงปลอบให้อุ่นใจว่า อย่าวิตกไปเลย ประโยชน์ของเจ้ากำลังเดิน
ขึ้นอยู่
๑๐. พึงรู้ความเที่ยวของอันเตวาสิกว่า เที่ยวอยู่กับบุคคลผู้นี้ ๆ
๑๑. พึงรู้ความเที่ยวอยู่ในบ้าน
๑๒. พึงรู้ความเที่ยวอยู่ในวิหาร
๑๓. ไม่พึงกระทำการเจรจากับอันเตวาสิกนั้นพร่ำเพรื่อ
๑๔. เห็นช่อง คือ การกระทำผิดของอันเตวาสิกแล้ว พึงอดไว้
๑๕. พึงเป็นผู้กระทำอะไร ๆ โดยเอื้อเฟื้อ
๑๖. พึงเป็นผู้กระทำอะไร ๆ ไม่ให้ขาด
๑๗. พึงเป็นผู้กระทำอะไร ๆ ไม่ซ่อนเร้น
๑๘. พึงเป็นผู้กระทำอะไร ๆ ให้หมดไม่มีเหลือ
๑๙. พึงตั้งจิตว่าเป็นชนก โดยอธิบายว่า ตนยังเขาให้เกิดในศิลปทั้ง
หลาย
๒๐. พึงตั้งจิตคิดหาความเจริญให้ว่า ไฉนอันเตวาสิกผู้นี้จะไม่พึงเสื่อม
เลย
๒๑. พึงตั้งจิตไว้ว่า เราจะกระทำอันเตวาสิกผู้นี้ให้แข็งแรงด้วยกำลัง
ศึกษา
๒๒. พึงตั้งเมตตาจิต
๒๓. ไม่พึงละทิ้งเสียในเวลามีอันตราย
๒๔. ไม่พึงประมาทในกิจที่จะต้องกระทำ
๒๕. เมื่ออันเตวาสิกพลั้งพลาด พึงปลอบเอาใจโดยทางที่ถูกเหล่านี้แล
คุณของอาจารย์ยี่สิบห้าประการ, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงปฏิบัติชอบในข้าพเจ้า
ด้วยคุณเหล่านี้เถิด. ความสงสัยเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า, เมณฑกะปัญหาที่พระชิน
พุทธเจ้าทรงภาสิตไว้มีอยู่ ในอนาคตกลางไกลจักเกิดความเข้าใจผิดในเมฆฑ
กะปัญหานั้นแล้วเถียงกันขึ้น, และในอนาคตกาลไกลโน้น ท่านผู้มีปัญญา
เหมือนพระผู้เป็นเจ้า จักหาได้เป็นอันยาก, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดวงจักษุใน
ปัญหาเหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า สำหรับข่มถ้อยคำของผู้อื่นเสีย."
พระเถรเจ้ารับว่าสาธุแล้ว ได้แสดงองคคุณของอุบาสกสิบประการว่า
"ขอถวายพระพร นี้องคคุณของอุบาสกสิบประการ, องคคุณของอุบาสกสิบ
ประการนั้นเป็นไฉน: องคคุณของอุบาสกสิบประการนั้น คือ
๑. อุบาสกในพระศาสนานี้ เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์กับสงฆ์
๒. เมื่อประพฤติอะไร ย่อมถือธรรมเป็นใหญ่
๓. เป็นผู้ยินดีในการแบ่งปันให้แก่กันตามสมควรแก่กำลัง
๔. เห็นความเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมพยายามเพื่อความ
เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๕. เป็นผู้มีความเห็นชอบ
๖. ปราศจากการถือมงคลตื่นข่าว แม้ถึงกับจะต้องเสียชีวิตก็ไม่ถือ
ท่านผู้อื่นเป็นศาสดา
๗. มีกายกรรมและวจีกรรมอันรักษาดีแล้ว
๘. เป็นผู้มีสามัคคีธรรมเป็นที่มายินดี และยินดีแล้วในสามัคคีธรรม
๙. เป็นผู้ไม่อิสสาต่อผู้อื่น และไม่ประพฤติในพระศาสนานี้ ด้วย
สามารถความล่อลวงไม่ซื่อตรง
๑๐. เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ. ขอถวายพระ
พร นี้แลองคคุณของอุบาสกสิบประการ, คุณเหล่านี้มีอยู่ในสมเด็จบรมบพิตร
พระราชสมภารเจ้าครบทุกประการ, การที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความ
เสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว มีพระประสงค์จะให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปนั้น เป็น
การควรแล้ว ชอบแล้ว เหมาะแล้ว สมแล้วแก่พระองค์. อาตมภาพถวาย
โอกาส พระองค์จงตรัสถามอาตมภาพตามพระราชอัธยาศัยเถิด."



เมณฑกปัญหา
วรรคที่หนึ่ง
๑. วัชฌาวัชฌปัญหา ๑

ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ ครั้งได้โอกาสที่พระเถรเจ้าถวายแล้ว ดังนั้น
ทรงถวายนมัสการแทบบาทแห่งพระอาจารย์แล้ว ประฌมพระหัตถ์ ตรัสว่าดัง
นี้ "พระผู้เป็นเจ้า เดียรถีย์เหล่านี้พูดอยู่ว่า 'ถ้าพระพุทธเจ้าทรงยินดีบูชาอยู่ ได้
ชื่อว่าไม่ปรินิพพานแล้ว ยังเกี่ยวข้องด้วยโลกอยู่ ยังเป็นผู้จะต้องเวียนอยู่ใน
ภายในแห่งพิภพ เสมอสัตว์โลกในโลก, เหตุนั้น การบูชาที่ทายกกระทำแล้ว
แด่พระพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นหมันไม่มีผล, ถ้าพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่
เกี่ยวข้องด้วยโลก ออกไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาพระองค์หาควรไม่
เพราะท่านผู้ปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่ยินดีอะไร การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแก่
ท่านผู้ไม่ยินดีอะไร ย่อมเป็นหมันไม่มีผลเหมือนกัน' ดังนี้. นี่ปัญหาสองเงื่อน
ไม่เป็นวิสัยของคนผู้ไม่ได้บรรลุพระอรหัตต์ เป็นวิสัยของท่านผู้ใหญ่เท่านั้น ขอ
พระผู้เป็นเจ้าจงทำลายข่าย คือ ทิฏฐิเสีย ตั้งไว้ในส่วนอันเดียว, นี่ปัญหามา
ถึงพระผู้เป็นเจ้าเข้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้ดวงจักษุแก่พุทธโอรสทั้งหลาย
อันมีในอนาคตกาลไว้สำหรับข่มถ้อยคำแห่งผู้อื่น."
พระเถรเจ้าถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว และไม่ทรงยินดีบูชา, ความยินดีพระตถาคตเจ้าทรงละเสียได้
แล้วที่ควงพระศรีมหาโพธิ์, จักกล่าวอะไรถึงเมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว
ด้วนอนุปาทิเสสนิพพานธาตุเล่า. ข้อนี้มีที่อ้างให้เห็นจริง คำนี้พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวว่า "พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ทรงพระคุณเสมอ
ด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ หมู่มนุษย์พร้อมทั้งหมู่เทวดาพากันบูชา พระ
องค์ไม่ทรงยินดีสักการบูชา, นี่เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาบุตรย่อมกล่าวยกคุณบิดาบ้าง บิดาย่อม
กล่าวยกคุณบุตรบ้าง, ข้อนี้ไม่ใช่เหตุสำหรับข่มวาทะผู้อื่น, ข้อนี้ชื่อว่าเป็น
เครื่องประกาศความเลื่อมใส, ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้ากล่าวเหตุในข้อ
ปัญหานั้นให้ชอบ เพื่อแก้ข่าย คือ ทิฏฐิออกเสีย เพื่อตั้งวาทะของตนไว้."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว และ
พระองค์มิได้ทรงยินดีบูชา, เทวดามนุษย์ทั้งหลายกระทำรัตน คือ พระธาตุ
ของพระตถาคตเจ้า ผู้ไม่ยินดีโดยแท้ให้เป็นที่ตั้งแล้ว เสพสัมมาปฏิบัติด้วย
อารมณ์อันมุ่งอยู่ในรัตน คือ พระญาณของพระตถาคตเจ้า ย่อมได้สมบัติสาม
ประการ, เหมือนอย่างว่า กองไฟใหญ่ลุกโพลงแล้วจะดับไป, กองไฟนั้น ยินดี
เชื้อคือหญ้าและไม้บ้างหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "กองไฟใหญ่ ถึงกำลังลุกอยู่ ก็ย่อมไม่ยินดีเชื้อ คือ หญ้าและไม้, ก็
กองไฟใหญ่นั้นดับสงบแล้ว หาเจตนามิได้ จักยินดีด้วยเหตุอะไรเล่า พระผู้
เป็นเจ้า ?"
ถ. "ก็เมื่อกองไฟนั้นดับสงบแล้ว ไฟในโลกชื่อว่าสูญหรือ ขอถวายพระ
พร ?"
ร. "หาเป็นดังนั้นไม่ ไม้เป็นวัตถุเป็นเชื้อของไฟ. มนุษย์จำพวกไหน
ต้องการไฟ เขาสีไม้ด้วยเรี่ยวแรงกำลังพยายาม ด้วยความกระทำของบุรุษ
เฉพาะตัวของเขาแล้ว ยังไฟให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำกิจที่จะต้องกระทำด้วย
ไฟได้ด้วยไฟนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำของพวกเดียรถีย์ว่า 'การบูชาที่
ทายกกระทำแล้วแก่ท่านผู้ไม่ยินดีอะไร ย่อมเป็นหมันไม่มีผล' ดังนี้ ย่อมเป็น
ผิด. ขอถวายพระพร กองไฟใหญ่ลุกโพลงอยู่ ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รุ่งเรืองอยู่ในหมื่นโลกธาตุด้วยพระพุทธสิริ ก็ฉันนั้น; กองไฟใหญ่นั้น ครั้นลุก
โพลงแล้วก็ดับไป ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงรุ่งเรืองในหมื่นโลกธาตุ
ด้วยพระพุทธสิริแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ฉันนั้น;
กองไฟที่ดับแล้วไม่ยินดีเชื้อ คือ หญ้าและไม้ ฉันใด, การยินดีเกื้อกูลของโลก
พระองค์ละเสียแล้ว สงบแล้ว ก็ฉันนั้น; มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อกองไฟดับแล้วไม่
มีเชื้อ สีไม้ด้วยเรี่ยวแรงกำลังพยายามด้วยความกระทำของบุรุษเฉพาะตัว
ของเขาแล้ว ยังไฟให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำกิจที่จะต้องกระทำด้วยไฟได้ด้วย
ไฟนั้น ฉันใด; เทวดามนุษย์ทั้งหลาย กระทำรัตน คือ พระธาตุของพระตถาคต
เจ้าผู้ไม่ยินดีโดยแท้ให้เป็นที่ตั้งแล้ว เสพสัมมาปฏิบัติ ด้วยอารมณ์อันมุ่งอยู่ใน
รัตน คือ พระญาณ ของพระตถาคตเจ้า ย่อมได้สมบัติสามประการ ก็ฉันนั้น.
ขอถวายพระพร แม้เพราะเหตุนี้ การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคต
เจ้าผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ จึงชื่อว่า มีผลไม่เป็นหมัน."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นยิ่งขึ้นเป็นเครื่องให้
เห็นว่า การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรง
ยินดีอยู่โดยแท้ มีผลไม่เป็นหมัน: เหมือนอย่างว่า พายุใหญ่พัดแล้วจะสงบไป,
ลมที่สงบไปแล้วนั้น ยินดีการให้เกิดอีกบ้างหรือขอถวายพระ ?"
ร. "หามิได้ ความคำนึงก็ดี ความกระทำในใจก็ดี ของลมที่สงบไปแล้ว
เพื่อการกระทำให้เกิดอีก ไม่มี, เหตุอะไรเล่า เหตุว่าวาโยธาตุนั้นไม่มีเจตนา."
ถ. "เออก็ ชื่อของลมที่สงบไปแล้วนั้นว่า 'ลม' ดังนี้ ยังเป็นไปบ้างหรือ
ขอถวายพระพร ?"
ร. "หามิได้" พัดใบตาลและพัดโบกเป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งลม,
มนุษย์จำพวกไหน ต้องร้อนเผาแล้ว ต้องความกระวนกระวายบีบคั้นแล้ว เขา
ยังลมให้เกิดขึ้น ด้วยพัดใบตาลหรือด้วยพัดโบกตามกำลังเรี่ยวแรงพยายาม
ตามความกระทำของบุรุษเฉพาะตัวของเขาแล้ว ยังความร้อนให้ดับ ยังความ
กระวนกระวายให้สงบ ด้วยลมนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำของพวกเดียรถีย์ว่า 'การบูชาที่
ทายกกระทำแล้วแก่ท่านผู้ไม่ยินดีอะไร ย่อมเป็นหมันไม่มีผล' ดังนี้ ย่อมเป็น
ผิด. ขอถวายพระพร พายุใหญ่พัดแล้ว ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระพือ
ในหมื่นโลกธาตุ ด้วยลม คือ พระเมตตาอันเย็นชื่นใจละเอียดสุขุมแล้ว ก็ฉัน
นั้น; พายุใหญ่ครั้นพัดแล้ว สงบไปแล้วฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรง
กระพือในหมื่นโลกธาตุ ด้วยลม คือ พระเมตตาอันเย็นชื่นใจละเอียดสุขุมแล้ว
เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ฉันนั้น; ลมอันสงบไปแล้ว
ย่อมไม่ยินดีความให้เกิดขึ้นอีก ฉันใด การยินดีเกื้อกูลของโลก พระองค์ละเสีย
แล้ว สงบแล้ว ก็ฉันนั้น; มนุษย์ทั้งหลายนั้น ต้องร้อนเผาแล้ว ต้องความกระวน
กระวายบีบคั้นแล้ว ฉันใด, เทวดามนุษย์ทั้งหลาย ต้องความร้อนกระวน
กระวายเหตุไฟสามประการบีบคั้นแล้ว ก็ฉันนั้น;พัดใบตาลและพัดโบกเป็น
ปัจจัย เพื่อความเกิดแห่งลม ฉันใด, พระธาตุและพระญาณรัตนของพระ
ตถาคตเจ้าเป็นปัจจัย เพื่อความได้สมบัติสามประการ ก็ฉันนั้น; มนุษย์ทั้ง
หลาย ต้องร้อนเผาแล้ว ต้องความกระวนกระวายบีบคั้นแล้ว ยังลมให้เกิดขึ้น
ด้วยพัดใบตาลหรือด้วยพัดโบกแล้ว ยังความร้อนให้ดับ ยังความกระวน
กระวายให้สงบด้วยลมนั้น ฉันใด, เทวดามนุษย์ทั้งหลาย บูชาพระธาตุและ
พระญาณรัตนของพระตถาคตเจ้า ผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีโดยแท้
แล้ว ยังกุศลให้เกิดขึ้นแล้ว ยังความร้อนความกระวนกระวายเหตุไฟสาม
ประการให้ดับ ให้สงบด้วยกุศลนั้นฉันนั้น. ขอถวายพระพร แม้เพราะเหตุนี้
การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรง
ยินดีอยู่โดยแท้ จึงชื่อว่า มีผลไม่เป็นหมัน."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อ
ข่มวาทะผู้อื่นเสีย: เหมือนอย่างว่า บุรุษตีกลอง ยังเสียงให้เกิดขึ้น และเสียง
กลองอันบุรุษให้เกิดขึ้นนั้น แล้วก็อันตรธานหายไป, เออก็ เสียงนั้น ยินดีความ
ให้เกิดขึ้นอีกบ้างหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "หามิได้ เสียงนั้นอันตรธานไปแล้ว, ความคำนึงก็ดี ความกระทำใน
ใจก็ดี ของเสียงนั้น เพื่ออันเกิดขึ้นอีกมิได้มี, ครั้นเมื่อเสียงกลองเกิดขึ้นคราว
เดียวแล้ว อันตรธานไปแล้ว เสียงกลองนั้นก็ขาดสูญไป, ส่วนกลองเป็นปัจจัย
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งเสียง, ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษเมื่อปัจจัยมีอยู่ ตีกลอง
ด้วยพยายามอันเกิดแต่ตนแล้ว ยังเสียงให้เกิดขึ้นได้."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระธาตุรัตนอันพระ
องค์อบรมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ ทัสสนะ กับพระ
ธรรมวินัยคำสอน ให้เป็นต่างพระศาสดาแล้ว ส่วนพระองค์เสด็จปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน
แล้ว ความได้สมบัติขาดสูญไปตามแล้วก็หาไม่, สัตว์ทั้งหลายต้องทุกข์ในภพ
บีบคั้นแล้วกระทำพระธาตุรัตนกับพระธรรมวินัยคำสอนให้เป็นปัจจัย แล้ว
อยากได้สมบัติ ก็ย่อมได้ฉันเดียวกัน. ขอถวายพระพร แม้เพราะเหตุนี้ การ
บูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดี
อยู่โดยแท้ จึงชื่อว่า มีผลไม่เป็นหมัน. ขอถวายพระพร ข้อนี้พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงเห็นและตรัสบอกล่วงหน้าไว้นานแล้วว่า "อานนท์ สักหน่อยความวิตก
จะมีแก่ท่านทั้งหลายว่า 'พระศาสนามีพระศาสดาล่วงไปเสียแล้ว พระศาสดา
ของเราทั้งหลายไม่มี' ดังนี้, ข้อนี้ท่านทั้งหลายอย่าเห็นไปอย่างนั้น, ธรรม
และวนัยอันเราแสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลายโดยกาลที่ล่วงไป
แล้วแห่งเรา จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายแทน" ดังนี้. คำของพวกเดียรถีย์
ว่า 'การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดี
อยู่ เป็นหมันไม่มีผล' ดังนี้นั้น ผิด ไม่จริง เท็จ สับปลับ พิรุธ วิปริต ให้ทุกข์เป็น
ผล มีทุกข์เป็นวิบาก ยังผู้พูดและผู้เชื่อถือให้ไปสู่อบาย."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นให้ยิ่งขึ้นไป เป็น
เครื่องให้เห็นว่า 'การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ มีผลไม่เป็นหมัน: มหาปฐพีนี้ยินดีบ้าง
หรือหนอแลว่า 'ขอสรรพพืชจงงอกขึ้นบนเรา' ดังนี้."
ร. "หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็เหตุไฉนพืชทั้งหลายเหล่านั้น งอกขึ้นบนมหา
ปฐพีอันไม่ยินดีอยู่แล้ว ตั้งมั่นด้วยรากอันรึงรัดกันแน่นแข็งแรงด้วยแกนในลำ
ต้นและกิ่ง ทรงดอกออกผลเล่า ?"
ร. "มหาปฐพีแม้ไม่ยินดีอยู่ ก็เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งพืชทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมให้ปัจจัยเพื่องอกขึ้น, พืชทั้งหลายนั้นอาศัยมหาปฐพีนั้นเป็นวัตถุแล้ว
งอกขึ้นด้วยปัจจัยนั้นแล้ว ตั้งมั่นด้วยรากอันรึงรัดกันแน่น แข็งแรงด้วยแก่นใน
ลำต้นและกิ่ง ทรงดอกออกผลได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น พวกเดียรถึย์ฉิบหาย ต้องถูกกำจัด
เป็นพิรุธในถ้อยคำของตัว, ถ้าเขาขืนกล่าวว่า 'การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแก
ท่านผู้ไม่ยินดี เป็นหมันไม่มีผล' ดังนี้. ขอถวายพระพร มหาปฐพีนี้ ฉันใด, พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้น; มหาปฐพีไม่ยินดีอะไร ๆ ฉันใด,
พระตถาคตเจ้าไม่ทรงยินดีอะไร ๆ ก็ฉันนั้น; พืชเหล่านั้นอาศัยปฐพี งอกขึ้น
แล้ว ตั้งมั่นด้วยรากอันรึงรัดกันแน่นแข็งแรงด้วยแก่นในลำต้นและกิ่ง ทรงดอก
ออกผลได้ฉันใด, เทวดามนุษย์ทั้งหลาย อาศัยพระธาตุและพระญาณรัตนข
องพระตถาคตเจ้าผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ ตั้งมั่นด้วย
กุศลมูลอันแน่นหนาแล้ว แข็งแรงด้วยแก่น คือ พระธรรม ในลำต้น คือ สมาธิ
และกิ่ง คือ ศีล ทรงดอก คือ วิมุตติ ออกผล คือ สามัญผล ก็ฉันนั้น. ขอถวาย
พระพร แม้เพราะเหตุนี้ การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ จึงชื่อว่า มีผลไม่เป็นหมันแล."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไป เป็น
เครื่องให้เป็นว่า การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ มีผลไม่เป็นหมัน: สัตว์ที่เขาเลี้ยง คือ
อูฐ โค ลา แพะ และหมู่มนุษย์เหล่านี้ ยินดีให้หมู่หนอนเกิดในท้องบ้างหรือ
ขอถวายพระ."
ร. "หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็เหตุไฉน หนอนเหล่านั้นจึงเกิดในท้องของมนุษย์
และดิรัจฉานเหล่านั้นผู้ไม่ยินดีอยู่แล้ว มีลูกหลานเป็นอันมาก ถึงความ
ไพบูลย์ขั้นเล่า ?"
ร. "เพราะบาปกรรมมีกำลังซิ พระผู้เป็นเจ้า ถึงสัตว์เหล่านั้นไม่ยินดีอยู่
หมู่หนอนเกิดขึ้นภายในท้องแล้ว มีลูกหลายมาก ถึงความไพบูลย์ขึ้น."
ถ. "เพราะพระธาตุและพระญาณรัตนของพระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้มีกำลัง การบูชาที่ทายกกระทำแล้วใน
พระตถาคตเจ้า จึงมีผลไม่เป็นหมัน ฉันเดียวกันแล ขอถวายพระพร."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไปอีก
เป็นเครื่องให้เห็นว่า การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ มีผลไม่เป็นหมัน: หมู่มนุษย์เหล่านี้ยินดี
อยู่ว่า 'ขอโรคเก้าสิบแปดเหล่านี้ จงเกิดในกายเถิด' ดังนี้ บ้างหรือ ขอถวาย
พระพร."
ร. "หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็เหตุไฉน โรคเหล่านั้นจึงเกิดในกายของหมู่
มนุษย์ผู้ไม่ยินดีอยู่เล่า ?"
ร. "ขอถวายพระ ถ้าว่าอกุศลที่เขากระทำไว้ในกาลก่อนเป็นกรรมที่จะ
ต้องเสวยในภพนี้, ถ้าอย่างนั้น กุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ที่เขากระทำไว้
แล้วในภพก่อนก็ดี ในภพนี้ก็ดี ย่อมมีผลไม่เป็นหมัน. ขอถวายพระพร แม้
เพราะเหตุนี้ การบูชาที่ทายกกระทำแล้ว แด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จ
ปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ ย่อมมีผลไม่เป็นหมัน. ขอถวายพระพร
พระองค์ได้เคยทรงสดับบ้างหรือว่านันทกยักษ์ประทุษร้ายพระสารีบุตรเถรเจ้า
แล้ว เข้าไปสู่แผ่นดินแล้ว."
ร. "ข้าพเจ้าเคยได้ฟัง เรื่องนี้ปรากฏแล้วในโลก."
ถ. "เออก็ พระสารีบุตรเถรเจ้ายินดีการที่มหาปฐพีกลืนนันทกยักษ์เข้า
ไปไว้ด้วยหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "แม้โลกนี้กับทั้งเทวโลกเพิกถอนไปอยู่ แม้ดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ตกลงมาที่แผ่นดินอยู่ แม้พญาเขาสิเนรุบรรพตแตกกระจายอยู่ พระ
สารีบุตรเถรเจ้าก็ไม่ยินดีทุกข์ของผู้อื่น, ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ? เป็น
เพราะเหตุเครื่องที่พระสารีบุตรเถรเจ้าจะโกรธก็ดี จะประทุษร้ายก็ดี ท่านถอน
เสียแล้ว ท่านตัดขาดเสียแล้ว, เพราะท่านถอนเหตุเสียได้แล้ว พระสารีบุตรเถร
เจ้าไม่พึงกระทำความโกรธ แม้ในผู้จะผลาญชีวิตของท่านเสีย."
ถ. "ถ้าว่า พระสารีบุตรเถรเจ้าไม่ยินดีการที่มหาปฐพีกลืนนันทกยักษ์
เข้าไปไว้แล้ว เหตุไฉน นันทกยักษ์จึงได้เข้าไปสู่แผ่นดินเล่าขอถวายพระพร ?"
ร. "เพราะเหตุอกุศลกรรมเป็นโทษมีกำลังนะซิ."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าหากนันทกยักษ์เข้าไปสู่แผ่นดินแล้ว เพราะ
อกุศลกรรมเป็นโทษแรง, ความผิดที่เขากระทำแล้วต่อท่านผู้ไม่ยินดีอยู่ ก็มีผล
ไม่เป็นหมัน, ถ้าอย่างนั้น การบูชาที่ทายกระทำแล้วแก่ท่านผู้ไม่ยินดีอยู่ ก็
ย่อมมีผลไม่เป็นหมัน เพราะกุศลกรรมเป็นคุณแรงกล้า. ขอถวายพระพร แม้
เพราะเหตุนี้ การบูชาที่ทายกกระทำแล้วแด่พระตถาคตเจ้าผู้เสด็จปรินิพพาน
แล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ ย่อมมีผลไม่เป็นหมัน. ขอถวายพระพร เดี๋ยวนี้
มนุษย์ผู้เข้าไปสู่แผ่นดินมีผลเท่าไรแล้ว, พระองค์ได้เคยสดับเรื่องนี้บ้างหรือ ?"
ร. "เคยได้ฟัง"
ถ. "ขอถวายพระพร เชิญพระองค์ตรัสให้อาตมภาพฟัง."
ร. "ข้าพเจ้าได้ฟังว่า มนุษย์ผู้เข้าไปสู่แผ่นดินแล้วนี้ห้าคน คือ : นาง
จิญจมาณวิกาหนึ่ง สุปปพุทธะสักกะหนึ่ง เทวทัตตเถระหนึ่ง นันทกยักษ์หนึ่ง
นันทมาณพหนึ่ง."
ถ. "เขาผิดในใคร ขอถวายพระพร."
ร. "ในพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ในพระสาวกบ้าง."
ถ. "เออก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี พระสาวกก็ดี ยินดีการที่คนเหล่านี้
เข้าไปสู่แผ่นดินแล้วหรือ ขอถวายพระพร ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น การบูชาที่ทายกกระทำแล้ว แด่พระ
ตถาคตเจ้าผู้เสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงยินดีอยู่โดยแท้ ย่อมมีผลไม่เป็น
หมัน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาให้เข้าใจได้ดีแล้ว ข้อที่ลึกกระทำให้ตื้นแล้ว
ที่กำบังพังเสียแล้ว ขอดทำลายเสียแล้ว ชัฏกระทำไม่ให้เป็นชัฏแล้ว วาทะของ
คนพวกอื่นฉิบหายแล้ว ทิฏฐิอันน่าชังหักเสียได้แล้ว พวกเดียรถีย์ผู้น่าเกลียด
มาจดพระผู้เป็นเจ้าผู้ประเสริฐกว่าคณาจารย์ที่ประเสริฐเข้าแล้ว ย่อมสิ้น
รัศมี."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2012, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สัพพัญญูภาวปัญหา ๒

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูหรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสัพพัญญู, ก็แต่พระ
ญาณที่เป็นเหตุรู้เห็น หาปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าฉับไวทันทีไม่, พระสัพ
พัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเนื่องด้วยการนึก พระองค์ทรงนึกแล้ว
ย่อมรู้ได้ตามพระพุทธประสงค์."
ร. "ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่สัพพัญญูซิ, ถ้าพระสัพพัญญุต
ญาณของพระองค์ย่อมมีได้ด้วยการค้นหา."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้าวเปลือกร้อยวาหะ กับกึ่งจุฬา เจ็ดอัมมณะ
สองตุมพะ ข้าวเปลือกมีประมาณถึงเพียงนี้ คนมีจิตเป็นไปในขณะเพียงแต่
อัจฉระ คือชั่วดีดนิ้วมือครั้งเดียว ยังสามารถตั้งเป็นคะแนนนับให้ถึงความสิ้น
ไปหมดไปได้. นี้จิตเจ็ดอย่างเป็นไปอยู่ในขณะชั่วอัจฉระเดียวนั้น: ขอถวาย
พระพร คนจำพวกใด มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีกิเลส มีกายไม่ได้อบรมแล้ว มี
ศีลไม่ได้อบรมแล้ว มีจิตไม่ได้อบรมแล้ว มีปัญญาไม่ได้อบรมแล้ว จิตของเขา
นั้นเกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะจิตเป็นสภาพไม่ได้อบ
รมแล้ว. ขอถวายพระพร มีอุปมาว่า ลำไม้ไผ่อันสูงดวดลำอวบแข็งแรง เกี่ยว
พันกันเป็นสุมทุมด้วยเซิงกิ่ง คนฉุดลากมา ก็ค่อยมาช้า ๆ ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ
? เพราะกิ่งเป็นของเกี่ยวพันกัน ฉันใด, คนจำพวกใด มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ
มีกิเลส มีกายไม่ได้อบรมแล้ว มีศีลไม่ได้อบรมแล้ว มีจิตไม่ได้อบรมแล้ว มี
ปัญญาไม่ได้อบรมแล้ว จิตของเขานั้นเกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย, ข้อนี้มีอะไรเป็น
เหตุ ? เพราะจิตเป็นสภาพอันกิเลสทั้งหลายเกี่ยวพันแล้ว ฉันนั้น. นี้จิตที่หนึ่ง."
ในจิตเจ็ดอย่างนั้น จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่สอง. คนจำพวกใด
เป็นพระโสดาบันผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีอบายอันละเสียได้แล้ว พร้อม
มูลแล้วด้วยความเห็นชอบ มีคำสอนของพระศาสดาอันรู้แจ้งแล้ว จิตของท่าน
นั้นเกิดขึ้นไว เป็นไปไว ในสามสถาน เกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย ในภูมิเบื้องบน
ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะจิตเป็นสภาพบริสุทธิ์ในสามสถาน และเพราะ
กิเลสทั้งหลายในเบื้องบนเป็นสภาพอันท่านยังละไม่ได้แล้ว. มีอุปมาเหมือน
ลำไม้ไผ่โล่งหมดจากการเกี่ยวพันกันเพียงสามปล้อง แต่ข้างบนยังเป็นสุมทุม
ด้วยเซิงกิ่งคนฉุดลากมา ย่อมคล่องเพียงสามปล้อง สูงขึ้นไปจากนั้นย่อมขัด
ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะข้างล่างโล่งหมด และเพราะข้างบนยังเป็นสุมทุม
ด้วยเซิงกิ่ง ฉะนั้น. นี้จิตที่สอง
จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่สาม. คนจำพวกใด เป็นพระสกทาคามี
มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จิตของท่านนั้น เกิดขึ้นไว เป็นไปไว ในที่ห้าสถาน
เกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย ในภูมิเบื้องบน, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะจิตเป็น
สภาพบริสุทธิ์ในที่ห้าสถาน และเพราะกิเลสเบื้องบนเป็นสภาพอันท่านยังละ
ไม่ได้แล้ว. มีอุปมาเหมือนลำไม้ไผ่โล่งหมดจากการเกี่ยวพันกันเพียงห้าปล้อง
แต่ข้างบนยังเป็นสุมทุมด้วยเซิงกิ่ง คนฉุดลากมา ย่อมมาคล่องเพียงห้าปล้อง
สูงขึ้นไปจากนั้น ย่อมขัด, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะข้างล่างโล่งหมด และ
เพราะข้างบนยังเป็นสุมทุมด้วยเซิงกิ่ง ฉะนั้น. นี้จิตที่สาม.
จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่สี่. คนจำพวกใด เป็นพระอนาคามีมี
สังโยชน์เบื้องต่ำห้าประการละได้แล้ว จิตของท่านนั้น เกิดขึ้นไว เป็นไปไว ใน
ที่สิบสถาน เกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย ในภูมิเบื้องบน, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ?
เพราะจิตเป็นสภาพบริสุทธิ์ในที่สิบสถาน และเพราะกิเลสเบื้องบนเป็นสภาพ
อันท่านยังละไม่ได้แล้ว. มีอุปมาเหมือนลำไม้ไผ่โล่งหมดจากการเกี่ยวพันกัน
เพียงสิบปล้อง แต่ข้างบนยังเป็นสุมทุมด้วยเซิงกิ่ง คนฉุดลากมา ย่อมมา
คล่องเพียงสิบปล้อง สูงขึ้นไปจากนั้น ย่อมขัด, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะ
ข้างล่างโล่งหมด และเพราะข้างบนยังเป็นสุมทุมด้วยเซิงกิ่ง ฉะนั้น. นี้จิตที่สี่.
จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่ครบห้า. คนจำพวกใด เป็ฯพระอรหันต์
สิ้นอาสวะแล้ว ชำระมลทินหมดแล้ว ฟอกกิเลสแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มี
กิจที่จะต้องทำอันได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียได้แล้ว มีประโยชน์ตนได้บรรลุ
ถึงแล้ว มีธรรมอันจะประกอบไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว มีพระปฏิสัมภิทาได้บรรลุ
แล้ว บริสุทธิ์แล้วในภูมิแห่งพระสาวก, จิตของท่านนั้น เกิดขึ้นไว เป็นไปไว ใน
ธรรมเป็นวิสัยของพระสาวก เกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย ในภูมิแห่งพระปัจเจก
พุทธะ และในภูมิแห่งพระสัพพัญญูพุทธะ, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะท่าน
บริสุทธิ์แล้วเพียงในภูมิแห่งพระสาวก และเพราะไม่บริสุทธิ์แล้วในปัจเจกพุทธ
ภูมิและสัพพัญญูพุทธภูมิ. มีอุปมาเหมือนลำไม้ไผ่มีปล้องโล่งหมดจากการ
เกี่ยวพันกันทุกปล้อง คนฉุดลากมา ก็มาได้คล่อง ไม่ช้า, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ?
เพราะไม้ไผ่นั้นโล่งหมดจากการเกี่ยวพันกันทุกปล้อง และเพราะไม่เป็นสุมทุม
ฉะนั้น. นี้จิตที่ครบห้า.
จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่ครบหก. คนจำพวกใด เป็นพระปัจเจก
พุทธะ คือตรัสรู้จำเพาะตัว เป็นพระสยัมภู คือ ผู้เป็นเองในทางตรัสรู้ ไม่มีใคร
เป็นอาจารย์ ประพฤติอยู่แต่ผู้เดียว มีอาการควรกำหนดเปรียบด้วยนอแรด มี
จิตบริสุทธิ์ปราศจากมลทินในธรรมเป็นวิสัยของท่าน, จิตของท่านนั้น เกิดขึ้น
ไว เป็นไปไว ในธรรมเป็นวิสัยของท่าน เกิดขึ้นช้า เป็นไปเนือย ในภูมิของพระ
สัพพพัญญูพุทธะ, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะท่านบริสุทธิ์แต่ในวิสัยของ
ท่าน และเพราะพระสัพพัญญูพุทธวิสัย เป็นคุณอันใหญ่ยิ่ง, มีอุมาเหมือน
บุรุษผู้เคยไม่พึงคร้าม จะลงลำน้ำน้อยอันเป็นวิสัยของตัว ในคืนก็ได้ ในวันก็
ได้ ตามปรารถนา, ครั้นเห็นมหาสมุทรทั้งลึกหยั่งไม่ถึง ทั้งกว้างไม่มีฝั่งในที่
ตำบลอื่นแล้ว จะกลัวย่อท้อไม่อาจลง, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะวิสัยของ
เขา ๆ ได้เคยประพฤติแล้ว และเพราะมหาสมุทรเป็นชลาลัยอันใหญ่ ฉะนั้น.
นี้เป็นจิตที่ครบหก.
จิตนี้ถึงความจำแนกเป็นจิตที่เจ็ด. คนจำพวกใด เป็นพระสัมมาสัม
พุทธคือตรัสรู้ชอบเอง เป็นสัพพัญญูคือรู้ธรรมทั้งปวง ทรงญาณอันเป็นกำลัง
สิบประการ กล้าหาญปราศจากครั่นคร้าม เพราะเวสารัชชธรรมสี่ประการ
พร้อมมูลด้วยธรรมของพระพุทธบุคคลสิบแปดประการมีชัยชนะหาที่สุดมิได้
มีญาณหาเครื่องขัดขวางมิได้, จิตของท่านนั้นเกิดขึ้นไว เป็นไปไว ในที่ทุก
สถาน, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะท่านบริสุทธิ์แล้วในที่ทุกสถาน.
ขอถวายพระพร พระแสงศรที่ชำระดีแล้ว ปราศจากมลทินหาสนิมมิได้
คมกริบ ตรงแน่ว ไม่คด ไม่งอ ไม่โกง ขึ้นบนแล่ง อันมั่นแข็งแรง แผลงให้ตกลง
เต็มแรง ที่ผ้าโขมพัสตร์อันละเอียดก็ดี ที่ผ้ากัปปาสิกพัสตร์อันละเอียดก็ดี ที่
ผ้ากัมพลอันละเอียดก็ดี จะไปช้าไม่สะดวกหรือติดขัดมีบ้างหรือ ?"
ร. "หาเป็นเช่นนั้นไม่, ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะผ้าเป็นของละเอียด
ศรก็ชำระดีแล้ว และการแผลงให้ตกก็เต็มแรง."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น คนจำพวกใด เป็นพระสัมมา
สัมพุทธะ ฯลฯ จิตของท่านนั้น เกิดขึ้นไว เป็นไปไว ในที่ทุกสถาน. นี้จิตที่เจ็ด.
ขอถวายพระพร ในจิตเจ็ดอย่างนั้น จิตของพระสัพพัญญูพุทธะทั้ง
หลายบริสุทธิ์และไวโดยคุณที่นับไม่ได้ ล่วงคณนาแห่งจิตแม้ทั้งหกอย่าง. ขอ
ถวายพระพร เหตุใด จิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์และไว เหตุนั้น พระ
องค์จึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ได้, ในยมกปาฏิหาริย์นั้น พระองค์พึงทรง
ทราบเถิดว่า 'จิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเป็นไปไวถึงอย่างนั้น,' อา
ตมภาพไม่สามารถกล่าวเหตุในข้อนั้นให้ยิ่งขึ้นไปได้. แม้ปาฏิหาริย์เหล่านั้น
เข้าไปเปรียบจิตของพระสัพพัญญูพุทธะทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่ถึงการคณานา
นับสักเสี้ยวก็ดี สักส่วนของเสี้ยวก็ดี พระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเนื่องด้วยการนึก, พระองค์ทรงนึกแล้วก็รู้ได้ตามพระพุทธประสงค์.
ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษจะวางของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งวางอยู่ในมือ
ข้างหนึ่ง ไว้ในมืออีกข้างหนึ่งก็ดี, จะอ้าปากขึ้นเปล่งวาจาก็ดี, จะกลืนโภชนะ
ซึ่งเข้าไปแล้วในปากก็ดี, ลืมอยู่แล้วและจะหลับจักษุลง หรือหลับอยู่แล้วจะ
ลืมจักษุขึ้นก็ดี, จะเหยียดแขนที่คู้แล้วออกหรือจะคู้แขนที่เหยียดแล้วเช้าก็ดี,
กาลนั้นช้ากว่า, พระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไวกว่า, ความ
นึกของพระองค์ไวกว่า, พระองค์ทรงนึกแล้วย่อมรู้ได้ตามพระพุทธประสงค์,
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายได้ชื่อว่าไม่ใช่สัพพัญญู ด้วยสักว่าความบก
พร่อง เพราะต้องนึกเพียงเท่านั้น ก็หามิได้."
ร. "แม้ความนึกก็ต้องทำด้วยความเลือกหา, ขออาราธนาพระผู้เป็น
เจ้า อธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจในข้อนั้นโดยเหตุเถิด."
ถ. "ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มั่งมี มีทรัพย์มาก มีสมบัติ
มาก มีทองเงินและเครื่องมืออันเป็นอุปการแก่ทรัพย์มาก มีข้าวเปลือกไว้เป็น
ทรัพย์มาก และข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวสาร งา ถั่วเขียว ถั่วขาว บุพ
พัณณชาติและอปรัณณชาติอื่น ๆ เนยใส เนยข้น นมสด นมส้ม น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำตาล น้ำอ้อย ของเขาก็มีพร้อมอยู่ในไห ในหม้อ ในกระถาง ในยุ้ง และใน
ภาชนะอื่น ๆ, และจะมีแขกมาหาเขา ซึ่งควรจะเลี้ยงดู และต้องการจะบริโภค
อาหารอยู่ด้วยล ก็แต่โภชนะที่ทำสุกแล้วในเรือนของเขา หมดเสียแล้ว เขาจึง
นำเอาข้าวสารออกจากหม้อแล้วและหุงให้เป็นโภชนะ; บุรุษผู้นั้น จะได้ชื่อว่า
คนขัดสนไม่มีทรัพย์ ด้วยสักว่าความบกพร่องแห่งโภชนะเพียงเท่านั้น ได้บ้าง
หรือ ?"
ร. "หาอย่างนั้นไม่ แม้ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ความ
บกพร่องแห่งโภชนะ ในสมัยซึ่งมิใช่เวลาก็ยังมี, เหตุอะไรในเรือนของคฤหบดี
จักไม่มีบ้างเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น พระสัพพัญญุตญาณของพระ
ตถาคตเจ้า บกพร่องเพราะต้องนึก, แต่ครั้นทรงนึกแล้ว ก็รู้ได้ตามพระพุทธ
ประสงค์. ขอถวายพระพร อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ต้นไม้จะเผล็ดผล เต็มด้วย
พวงผลอันหนักถ่วงห้อยย้อย, แต่ในที่นั้น ไม่มีผลอันหล่นแล้วสักน้อยหนึ่ง; ต้น
ไม้นั้น จะควรได้ชื่อว่าหาผลมิได้ ด้วยความบกพร่องเพราะผลที่ยังไม่หล่นแล้ว
เพียงเท่านั้น ได้บ้างหรือ ?"
ร. "หาอย่างนั้นไม่ เพราะผลไม้เหล่านั้นเนื่องด้วยการหล่น, เมื่อหล่น
แล้ว คนก็ย่อมได้ตามปรารถนา."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น, พระสัพพัญญุตญาณของพระ
ตถาคตเจ้า บกพร่องเพราะต้องนึก, แต่ครั้นทรงนึกแล้ว ก็รู้ได้ตามพุทธ
ประสงค์."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าทรงนึกแล้ว ๆ รู้ได้ตามพระพุทธ
ประสงค์หรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนึกแล้ว ๆ รู้ได้ตามพระ
พุทธประสงค์; เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงระลึกถึงจักรรัตนขึ้น
เมื่อใดว่า 'จักรรัตนจงเข้ามาหาเรา' ดังนี้ พอทรงนึกขึ้นแล้ว จักรรัตนก็เข้าไป
ถึง ข้อนี้ฉันใด; พระตถาคตเจ้าทรงนึกแล้ว ๆ ก็รู้ได้ตามพระพุทธประสงค์ ฉัน
นั้น."
ร. "เหตุมั่นพอแล้ว, พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูแท้, ข้าพเจ้ายอมรับว่า
'พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูจริง."

๓. เทวทัตตปัพพาชิตปัญหา ๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตอันใครบวชให้แล้ว."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร ขัตติยกุมารหกพระองค์
ทรงพระนามว่า ภัททิยกุมารหนึ่ง อนุรุทธกุมารหนึ่ง อานันทกุมารหนึ่ง ภัคคุ
กุมารหนึ่ง กิมพิลกุมารหนึ่ง เทวทัตตกุมารหนึ่ง นี้มีนายอุบาลิชาวภูษามาลา
เป็นที่เจ็ด, ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเจ้าตรัสรู้พระอภิสัมโพธิญาณแล้ว
ยังความยินดีให้บังเกิดแก่ศากยตระกูลได้, ต่างองค์ต่างออกทรงผนวชตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า; พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้ทรงผนวชแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตบวชแล้วทำลายสงฆ์แล้ว มิใช่หรือ ?"
ถ. "ขอถวายพระพร พระเทวทัตบวชแล้ว ทำลายสงฆ์แล้ว. คฤหัสถ์
ทำลายสงฆ์มิได้ ภิกษุณีก็ทำลายสงฆ์มิได้ สิกขมานาก็ทำลายสงฆ์มิได้
สามเณรก็ทำลายสงฆ์มิได้ สามเณรีก็ทำลายสงฆ์มิได้, ภิกษุมีตนเป็นปกติ
ร่วมสังวาสเดียวกัน ร่วมสีมาเดียวกัน ย่อมทำลายสงฆ์ได้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ ย่อมต้องกรรมอะไร ?"
ถ. "ขอถวายพระพร บุคคลผู้ทำลายสงฆ์นั้น ย่อมต้องกรรมอันจะให้
ตกนรกสิ้นกัปป์หนึ่ง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอยู่หรือว่า 'พระเทวทัตบวช
แล้วจักทำลายสงฆ์ ครั้นทำลายสงฆ์แล้ว จักไหม้อยู่ในนรกสิ้นกัปป์หนึ่ง."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าทรงทราบอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้าทรงทราบอยู่ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำว่า
'พระพุทธเจ้าประกอบด้วยพระกรุณาเอ็นดูสัตว์ ทรงแสวงหาธรรมที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ นำสิ่งซึ่งมิใช่ประโยชน์เสีย ตั้งสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ไว้แก่
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น' ดังนี้ ผิด. ถ้าและพระองค์ไม่ทรงทราบเหตุอันนั้นแล้ว ให้
บวชเล่าไซร้, เมื่อเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระสัพพัญญูนะซิ. ปัญหา
สองเงื่อนแม้นี้มาถึงท่านแล้ว ขอท่านจงสะสางเงื่อนอันยุ่งใหญ่นั้นเสีย ขอ
ท่านจงทำลายปรับปปวาทเสีย, ในอนาคตกาลไกล ภิกษุทั้งหลายผู้มีปัญญา
เช่นท่าน จักหาได้ยาก, ขอท่านจงประกาศกำลังปัญญาของท่านในปัญญาข้อ
นี้."
ถ. "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบด้วยพระกรุณา ทั้ง
เป็นพระสัพพัญญูด้วย. ขอถวายพระพร เพราะความที่พระองค์ทรงพระกรุณา
พระองค์ทรงพิจารณาดูคติของพระเทวทัต ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ทอด
พระเนตรเห็นพระเทวทัต ผู้จะสะสมกรรมอันจะให้ผลในภพสืบ ๆ ไปไม่สิ้นสุด
หลุดจากนรกไปสู่นรก หลุดจากวินิบาตไปสู่วินิบาต สิ้นเสนโกฏิแห่งกัปป์เป็น
อันมาก, พระองค์ทรงทราบเหตุนั้นแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ทรงพระ
ดำริว่า 'กรรมของเทวทัตผู้นี้ เจ้าตัวทำแล้วหามีที่สุดลงไม่ เมื่อเธอบวชแล้วใน
ศาสนาแห่งเรา จักทำให้มีที่สุดลงได้, เทียบกรรมก่อนเข้าแล้ว ทุกข์ยังจักทำให้
มีที่สุดลงได้, โมฆบุรุษผู้นี้ ถ้าบวชแล้ว จักสะสมกรรมอันจะให้ตกนรกสิ้นกัปป์
หนึ่ง' ดังนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัตบวชแล้ว ด้วยพระกรุณา."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น พระตถาคตเจ้าได้ชื่อว่าทรงตีแล้วทาให้
ด้วยน้ำมัน, ทรงทำให้ตกเหวแล้วยื่นพระหัตถ์ประทานให้, ทรงฆ่าให้ตายแล้ว
แสวงหาชีวิตให้, เพราะทรงก่อทุกข์ให้ก่อนแล้ว จึงจัดสุขไว้ให้ต่อภายหลัง."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตได้ชื่อว่าทรงตีบ้าง ได้ชื่อว่าทรงทำให้
ตกเหวบ้าง ได้ชื่อว่าทรงฆ่าให้ตายบ้าง ด้วยอำนาจทรงเห็นแก่ประโยชน์แห่ง
สัตว์ทั้งหลายอย่างเดียว, อนึ่ง ได้ชื่อว่าทรงตีก่อนบ้าง ทรงทำให้ตกเหวก่อน
บ้าง ทรงฆ่าให้ตายก่อนบ้าง แล้วจึงจัดประโยชน์ให้อย่างเดียว, เหมือนมารดา
บิดาตีก่อนบ้าง ให้ล้มก่อนบ้าง แล้วจึงจัดประโยชน์ให้แก่บุตรทั้งหลายอย่าง
เดียวฉะนั้น. ความเจริญแห่งคุณจะพึงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยความประกอบ
อย่างใด ๆ, ย่อมทรงจัดสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ไว้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น ด้วยนั้น
ๆ.
ขอถวายพระพร ถ้าพระเทวทัตนี้ไม่บวชแล้ว เป็นคฤหัสถ์อยู่จะกระทำ
บาปกรรมอันให้ไปเกิดในนรกเป็นอันมาก แล้วจะไปจากนรกสู่นรก ไปจาก
วินิบาตสู่วินิบาต เสวยทุกข์เป็นอันมาก สิ้นแสนโกฏิแห่งกัปป์เป็นอันมาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุอันนั้นอยู่ ด้วยกำลังพระกรุณา ทรงพระดำริ
เห็นว่า 'เมื่อพระเทวทัตบวชแล้วในพระศาสนาของเรา ทุกข์จักเป็นผลอันเจ้า
ตัวกระทำให้มีที่สุดลงได้' ดังนี้แล้ว ได้โปรดพระเทวทัตให้บวชแล้ว ได้ทรง
กระทำทุกข์ของพระเทวทัตอันหนักนั้นให้เบาลงได้แล้ว.
ขอถวายพระพร เหมือนหนึ่งบุรุษมีกำลังทั้งทรัพย์สมบัติอิสสริยยศสิริ
และเครือญาติ รู้ว่าญาติหรือมิตรสหายของตนจะต้องรับพระราชอาชญาอัน
หนักแล้ว ด้วยความที่ตนเป็นผู้สามารถ โดยความคุ้นเคยกับคนเป็นอันมาก
ได้กระทำโทษอันหนักนั้นให้เบาลงได้ ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้พระ
เทวทัต ผู้จะต้องเสวยทุกข์สิ้นแสนโกฏิแห่งกัปป์เป็นอันมากให้บวชแล้ว ด้วย
ความที่พระองค์เป็นผู้สามารถด้วยพระกำลัง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ
วิมุตติ ทรงกระทำทุกข์ของพระเทวทัตอันหนักนั้นให้เบาได้ ฉันนั้น.
ขอถวายพระพร อนึ่ง เหมือนหมอบาดแผล ย่อมกระทำพยาธิอันหนัก
ให้เขาได้ด้วยอำนาจโอสถมีกำลัง ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทว
ทัตผู้จะต้องเสวยทุกข์สิ้นแสนโกฏิแห่งกัปป์เป็นอันมากให้บวชแล้ว ความที่
พระองค์ทราบเหตุเครื่องประกอบแก้ แล้วทรงกระทำทุกข์อันหนักให้เบาได้
ด้วยกำลังโอสถคือธรรมอันเข้มแข็งด้วยกำลังพระกรุณา ฉันนั้นแล. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงกระทำพระเทวทัตผู้จะต้องเสวยทุกข์มากให้ได้เสวยแต่น้อย
จะต้องอกุศลอะไร ๆ บ้างหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "ไม่ต้องเลย แม้โดยที่สุดสักว่าจะติเตียนด้วยวาจา."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงทรงรับรองเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวชนี้ โดยข้อความเหล่านี้แล.
ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุอื่นอีกยิ่งกว่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวช. เหมือนหนึ่งว่า ราชบุรุษจับโจรผู้กระทำความผิดได้แล้ว จะพึงกราบทูลแด่พระเจ้าแผ่นดินว่า 'โจรผู้นี้กระทำความผิดอย่างนี้ ๆ พระองค์จงลงพระราชอาญาแก่โจรนั้นตามพระราชประสงค์' ดังนี้, พระเจ้าแผ่นดินจะพึงรับสั่งให้ลงโทษโจรผู้นั้นว่า 'ถ้าอย่างนั้น ออเจ้าทั้งหลายจงนำโจรนี้ออกไปนอกเมือง จงตัดศีรษะมันเสียในที่ฆ่าโจร;' ราชบุรุษเหล่านั้นจะพึงรับ ๆ สั่งอย่างนั้นแล้วนำโจรนั้นออกนอกเมืองไปสู่ที่ฆ่าโจร, ยังมีบุรุษข้าราชการผู้หนึ่ง อันได้รับพระราชทานพระไว้แต่ราชสำนักแล้ว ได้รับพระราชทานฐานันดรยศ เงินประจำตำแหน่งและเครื่องอุปโภค เป็นผู้มีวาจาควรเชื่อถือ มีอำนาจทำได้ตามปรารถนา, เขาจะพึงทำความกรุณาแก่โจรนั้น แล้วกล่าวกะราชบุรุษเหล่านั้นว่า 'อย่าเลยนาย, ประโยชน์อะไรของท่านทั้งหลายด้วยการตัดศีรษะเขา, อย่ากระนั้นเลย ท่านจงตัดแต่มือหรือเท้าของเขา รักษาชีวิตไว้เถิด, เราจักไปเฝ้าทูลทัดทานด้วยเหตุโจรผู้นี้เอง' เขาจะพึงตัดแต่มือหรือเท้าของโจรและรักษาชีวิตไว้ ตามถ้อยคำของราชบุรุษผู้มีอำนาจนั้น; บุรุษผู้กระทำอย่างนี้นั้น จะพึงชื่อว่ากระทำกิจการโดยเห็นแก่โจรนั้นบ้างหรือ ขอถวายพระ."
ร. "บุรุษผู้นั้น ชื่อว่าให้ชีวิตแก่เขาน่ะซี เมื่อให้ชีวิตแก่เขาแล้ว มีกิจการอะไรเล่าได้ชื่อว่าบุรุษนั้นไม่ได้กระทำแล้วโดยเห็นแก่เขา."
ถ. "ขอถวายพระพร ด้วยทุกขเวทนาในเพราะให้ตัดมือและเท้าเขานั้น ผู้บังคับนั้นจะพึงต้องอกุศลอะไรด้วยหรือ ?"
ร. "โจรนั้นย่อมเสวยทุกขเวทนา ด้วยกรรมอันตนกระทำแล้ว, ส่วนบุรุษผู้ให้ชีวิตไม่ควรต้องอกุศลอะไรเลย."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระเทวทัตให้บวชแล้วด้วยทรงเห็นว่า 'เมื่อพระเทวทัตบวชในศาสนาของเราแล้ว ทุกข์จักเป็นผลอันเจ้าตัวกระทำให้มีที่สุดลงได้' ฉันนั้น.
ขอถวายพระพร ทุกข์ของพระเทวทัตอันเจ้าตัวกระทำให้มีที่สุดลงได้แล้ว, พระเทวทัต ในเวลาเมื่อจะตาย ได้เปล่งวาจาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะตราบเท่าสิ้นชีวิต ดังนี้ว่า 'ข้าพเจ้าทั้งกระดูกทั้งชีวิตทั้งหลายนี้ ขอถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดบุรุษ เป็นเทวดาเลิศล่วงเทวดา เป็นผู้ฝึกบุคคลควรฝึก ทรงพระญาณจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะกำหนดด้วยบุญร้อยหนึ่ง พระองค์นั้น เป็นสรณะ."
ขอถวายพระพร พระเทวทัต เมื่อภัททกัปป์แบ่งแล้วเป็นหกส่วนส่วนที่ล่วงไปแล้ว ได้ทำลายสงฆ์แล้ว จักไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลประมาณห้าส่วน แล้วจักพ้นจากนรกนั้นมาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอัฏฐิสสระ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอย่างนี้ พึงชื่อว่ากระทำกิจการโดยเห็นแก่พระเทวทัตบ้างหรือ ขอถวายพระพร."
ร. "พระตถาคตเจ้าได้ชื่อว่าประทานคุณอันเป็นที่ปรารถนาของเทวตามนุษย์ทั้งปวงแก่พระเทวทัต, เพราะพระองค์ทรงกระทำพระเทวทัตให้สำเร็จความเป็นเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้, มีอะไรได้ชื่อว่าพระองค์ไม่ได้กระทำโดยเห็นแก่พระเทวทัตเล่า."
ถ. "ขอถวายพระพร ด้วยการที่พระเทวทัตทำลายสงฆ์ แล้วเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้น พระตถาคตเจ้าจะต้องอกุศลอะไรบ้างหรือ ?"
ร. "ไม่ต้องเลย พระเทวทัตไหม้อยู่ในนรกกัปป์เดียว เพราะกรรมอันตนเองกระทำแล้ว, พระศาสดาผู้กระทำให้ถึงที่สุดทุกข์ จะพึงต้องอกุศลอะไรหามิได้."
ถ. "ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงรับรองเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวชแล้วแม้นี้ ด้วยข้อความนี้เถิด.
ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุแม้อื่นอีกยิ่งกว่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้พระเทวทัตบวชแล้ว. เหมือนหนึ่งหมอบาดแผล เมื่อจะรักษาแผลอันเกิดเพราะ ลม ดี เสมหะ แต่ละอย่างก็ดี เจือกันก็ดี ฤดูแปรก็ดี รักษาอิริยาบถไม่เสมอก็ดี เกิดเพราะพยายามแห่งผู้อื่น (มีต้องประหารเป็นต้น) ก็ดี อากูลด้วยกลิ่นเหม็น ดุจกลิ่นแห่งศพกำลังเน่า ให้ปวดดุจแผลอันต้องลูกศร เข้าไปติดอยู่ข้าใน อันน้ำเหลืองนั้นชอนไปให้เป็นโพลง เต็มไปด้วยบุพโพและโลหิต เขาย่อมพอกปากแผลด้วยยากัดอันแรงกล้าแสบร้อน เพื่อจะบ่มแผลก่อน, พอแผลน่วม เขาก็เชือดด้วยศัสตราแล้ว นาบด้วยซี่เหล็ก, พอเนื้อสุกแล้ว ก็ล้างด้วยน้ำด่างแล้วพอกยา เพื่อให้แผลงอกเนื้อ ให้คนไข้ได้ความสุขโดยลำดับ ดังนี้; จะว่าหมอนั้นคิดร้าย พอกยา เชือดด้วยศัสตรา นาบด้วยซี่เหล็ก ล้างด้วยน้ำด่าง ได้บ้างหรือ ?"
ร. "หามิได้ หมอเขามีจิตคิดเกื้อกูลหวังให้หาย จึงทำเช่นนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร หมอนั้นจะต้องอกุศลอะไร เพราะทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแก่คนไข้ ด้วยเหตุทำการรักษาของเขาด้วยหรือ ?"
ร. "หมอเขามีจิตเกื้อกูลหวังจะให้หาย จึงทำเช่นนั้น, ไฉนจะต้องอกุศลเพราะข้อนั้นเป็นเหตุเล่า, เขากลับจะไปสวรรค์อีก."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวชแล้ว เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ด้วยกำลังพระกรุณา ก็ฉันนั้นแล.
ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงสดับเหตุอื่นอีกอันยิ่งกว่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวชแล้ว. เหมือนหนึ่งบุรุษผู้ต้องหนามเข้าแล้ว, ทีนั้น บุรุษอื่นมีจิตคิดเกื้อกูลจะให้หาย จึงเอาหนามแหลมหรือปลายมีดกรีดตัดแผลโดยรอบแล้ว นำหนามนั้นออกด้วยทั้งโลหิตไหล; ขอถวายพระพร บุรุษผู้นั้นชื่อว่าคิดร้ายจึงนำหนามนั้นออกบ้างหรือ ?"
ร. "หามิได้ เขามีจิตคิดเกื้อกูลหวังจะให้หาย จึงนำหนามนั้นออก, ถ้าเขาไม่ช่วยนำหนามนั้นออก บางทีผู้ต้องหนามนั้นก็จะถึงความตายหรือได้ทุกข์ปางตาย."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด, พระตถาคตเจ้าโปรดพระเทวทัตให้บวชแล้ว เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ด้วยกำลังพระกรุณา, ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้โปรดพระเทวทัตให้บวช เธอก็จักไหม้อยู่ในนรกโดยลำดับ ๆ ขุม แม้ตลอดแสนโกฏิแห่งกัปป์ ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเจ้าได้ชื่อว่าให้พระเทวทัตผู้ตกไปตามกระแสขึ้นสู่ที่ทวนกระแสได้แล้ว, ให้พระเทวทัตผู้เดินผิดทางขึ้นในทางได้แล้ว, ได้ประทานวัตถุเป็นที่ยึดเหนี่ยวแก่พระเทวทัตผู้ตกลงในเหวแล้ว, ให้พระเทวทัตผู้เดินในทางไม่สม่ำเสมอขึ้นสู่ทางที่สม่ำเสมอได้แล้ว. พระผู้เป็นเจ้า เหตุการณ์อันนี้ ผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญาเช่นท่าน ไม่อาจแสดงได้."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 12:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร