วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 19:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2012, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคนสงสัยว่าทางสายกลางเป็นอย่างไร ทางสายกลางที่ถูกต้องที่สุดนั้นก็คืือ วินัยของพระสงค์นั้นแหล่ะครับคือทางสายกลางที่สุด ทางที่พระองค์เลือกที่จะทำนั้นแหล่ะชัดสุดๆอย่าตีความหมายเอาเองทำตามตัวอย่างพระองค์นะดีที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าใครจะเข้าสู่มทางสายกลางได้ได้อย่างสมบูรณ์หรอกนะครับ มันก็ต้องค่อยๆเดินเข้าหา เรียกว่าค่อยๆเข้าสู่ลู่ทางไปเรื่อยๆตามกำลัง แต่อย่าเข้าใจผิดคิดว่าทางสายกลางตามใจตนองนะครับ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ฟัง) เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

...ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่
ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตมั่นชอบ...

— ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง
ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" คือการหมกมุ่นอยู่ในกามศก และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
อริยสัจสี่ คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ปฏิปทาทางสายกลาง

ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด คือ
ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)
ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

อริยสัจสี่

อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ
ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด
กิจอริยสัจสี่
นี้ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย
ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2012, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยสัจข้อสุดท้าย คือ มรรค เป็นประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติ หรือระบบจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนภาคปฏิบัติที่จะช่วยให้การดำเนินสู่จุดหมายตามแนวทางของกระบวนธรรมที่รู้เข้าใจแล้วนั้น เป็นผลขึ้นมาในชีวิตจริง หรือเป็นวิธีใช้กฎเกณฑ์แห่งกระบวนการของธรรมชาติให้เกิดประโยชน์แกชีวิตจนถึงที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2012, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 13.06 KiB | เปิดดู 2602 ครั้ง ]
ทางสายกลางที่แท้จริง มีหลักที่แน่นอน ความแน่นอนของทางสายกลางนั้น อยู่ที่ความมีจุดหมาย หรือเป้าหมายที่แน่ชัด เมื่อมีเป้าหมายหรือจุดหมายที่แน่นอนแล้ว ทางที่นำไปสู่จุดหมายนั้น หรือการกระทำที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีจะให้ผลตามเป้าหมายนั้นแหละ คือ ทางสายกลาง

เปรียบเหมือนการยิงลูกศร หรือยิงปืนอย่างมีเป้าหมาย จำเป็นต้องมีจุดที่เป็นเป้า การยิงถูก คือการกระทำที่พอเหมาะพอดีให้ลูกศรหรือลูกปืนพุ่งไปสู่จุดที่เป็นเป้า ความเป็นทางสายกลางย่อมอยู่ที่การยิงตรงพอดีสู่จุดที่เป็นเป้านั้น การยิงที่เฉ คลาดพลาดออกไปข้างๆ ย่อมไม่ถูกต้องทั้งหมด

เมื่อเทียบกับการยิงทีผิดเฉคลาดพลาดออกไปข้างๆทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่า จุดหมายที่ถูกต้อง มีจุดเดียว และเป็นจุดกลาง เป็นจุดที่แน่นอน

ส่วนจุดที่ผิดพลาดมีมากมายและไม่แน่นอน ล้วนเขวออกไปเสียช้างๆและเส้นทางที่เข้าสู่จุดหมายนั้น ก็เป็นเส้นทางกลางเช่นเดียวกัน

ทางที่ถูกต้อง มีจุดหมาย มีหลักที่แน่นอนของมันเอง มิใช่คอยรอกำหนดวัดเอาจากที่ผิดพลาด ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์ หรือ ภาวะหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ปัญหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2012, 16:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2012, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


มรรค คือระบบความคิด และการกระทำ หรือการดำเนินชีวิต ที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือความดับทุกข์นี้ จึงเป็นทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

โดยเหตุที่ทางสายกลางเป็นทางที่มีจุดหมายแน่ชัด หรือ ความเป็นทางสายกลางขึ้นอยู่กับความมีเป้าหมายที่แน่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงต้องรู้จุดหมาย จึงจะเดินทางได้ คือ เมื่อจะเดินทาง ก็ต้องรู้ว่าตนจะไปไหน ด้วยเหตุผลนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งปัญญา และจึงเริ่มด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ เริ่มต้นด้วยความเข้าใจปัญหาของตน และรู้จุดหมายที่จะเดินไป โดยนัยนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งความรู้และความมีเหตุผล เป็นทางแห่งการรู้เข้าใจ ยอมรับ และกล้าเผชิญหน้ากับความจริง

เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจและกล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิตแล้ว มนุษย์จึงจะสามารถจัดการกับชีวิตด้วยมือของตนเอง หรือ สามารถดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงามกันได้เอง โดยไม่ต้องคอยหวังพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ฤทธานุภาพดลบันดาลจากภายนอก และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจด้วยอาศัยปัญญาเช่นนี้แล้ว มนุษย์ก็จะไม่ต้องไปหมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ห่วงกังวลว่าจะมีอยู่นอกเหนือวิสัยของมนุษย์ ท่าทีแห่งความมั่นใจเช่นนี้แหละ คือ ลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นสายกลาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2012, 16:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2012, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ผู้เดินทางสายกลาง เมื่อเข้าใจปัญหา และกำหนดรู้แนวแห่งจุดหมายแล้ว ก็จะมีความรู้ความเข้าใจตามมาอีกด้วยว่า ทางสายกลางสู่จุดหมายนั้น คือ ทางดำเนินชีวิตที่ไม่ตีราคาค่าตัวต่ำ ถึงกับยอมสยบจมลงในกระแสโลก ปล่อยชีวิตให้เป็นทาสแหงอามิสที่เป็นเหยื่อล่อของโลก เป็นอยู่ด้วยความหวังที่จะได้เสพรสอร่อยของโลกถ่ายเดียว โดยยอมให้สุขทุกข์ ความดีงาม และคุณค่าแห่งชีวิตของตนขึ้นต่อโลก และความผันผวนปรวนแปรของเหตุปัจจัยต่างๆ ในภายนอกอย่างสิ้นเชิง โดยไม่รู้จักพัฒนาชีวิตให้มีอิสรภาพ เป็นตัวของตัวเอง มีคุณค่าในตัวของมันเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อโลกร่ำไปเสียบ้างเลย

ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุหรือขึ้นต่อวัตถุสิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย คือ มิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผลสำเร็จทางจิตฝ่ายเดียว จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นกรประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

การดำเนินชีวิตนี้ มีลักษณะไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตามที่เป็นจริง ทั้งทางวัตถุ และทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความเท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้องพอเหมาะพอดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย
มิใช่ทำพอสักว่าจะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส หรือสักว่าถือตามๆกันมา โดยสำคัญมั่นหมายว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย

ทางสายกลาง มีลักษณะที่พึงทราบบางอย่างที่พึงทราบ ดังที่กล่าวมานี้ หากผู้ใดจะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือเดินทางสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถามท่านผู้นั้นว่า เขาได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่ และจุดหมายของทางสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2012, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักมัชฌิมาปฏิปทา ใช้ได้กับกิจการและกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่เป็นประเภทวิธีการ ตามปกติ ระบบ แบบแผน วิทยาการ สถาบัน หน้าที่การงานต่างๆ ตลอดจากการปฏิบัติกิจในชีวิตประจำวัน เช่น การศึกษา เล่าเรียน เป็นต้น ย่อมมีความมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา กำจัดทุกข์ ช่วยให้มนุษย์บรรลุความดีงามที่สูงขึ้นไป อย่างใดอย่างหนึ่ง การปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ การปฏิบัติชอบ ต่อระบบ แบบแผน เป็นต้นเหล่านั้น ก็คือ จะต้องกระทำด้วยความเข้าใจในจุดหมายของมัน ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำด้วยปัญญา หรือโดยมีสัมมาทิฏฐิ จึงจะนับว่าเป็นการดำเนินตามแนวทางของมัชฌิมาปฏิปทา

แต่จะเห็นได้ว่า ในทางปฏิบัติ มีอยู่เสมอ ที่มนุษย์ปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตรงตามจุดมุ่งหมาย ของระบบวิธีและกิจการเหล่านั้น การปฏิบัติผิดพลาดนี้ น่าจะเป็นไปในทางเอียงสุดสออย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ

พวกหนึ่งมุ่งใช้ระบบวิธี และกิจการเหล่านั้นเป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับแสวงหาสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน เช่น ใช้ระบบการเมือง ใช้สถาบัน เป็นช่องทางแสวงหา ลาภ ยศ อำนาจ ทำหน้าที่การงาน ศึกษาเล่าเรียน โดยมุ่งเป็นหนทางให้ได้เงินทาง ตำแหน่งใหญ่โต เพื่อบำรุงบำเรอตนให้มีความสุขสำราญได้เต็มที่ ไม่ทำเพื่อบรรลุจุดหมายของงานหรือวิทยาการนั้นๆ นับว่าเป็นการขาดสัมมาทิฏฐิ มีมิจฉาทิฏฐิแทนที่

ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ตั้งใจปฏิบัติกิจ ทำงาน ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น อย่างแข็งขันจริงจัง ระดมทุนระดมแรง อุทิศเวลาให้ ทำอย่างทุ่มเท แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมายของสิ่งที่กระทำนั้นว่า เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาอะไร เป็นต้น ทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และทุน ทำตนเองให้ลำบาก เหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นการขาดสัมมาทิฏฐิอีกแบบหนึ่ง
พวกแรกตั้งความมุ่งหมายของตนเองขึ้นใหม่เพื่อสนองตัณหาของตน ไม่เป็นไปเพื่อความมุ่งหมายที่แท้จริงของกิจกรรมหรือกิจการนั้นๆ

ส่วนพวกหลัง สักว่าทำโดยไม่รู้ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย ไปสู่ทางสุดต่างคนละสาย ไม่ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา มีแต่จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น

ต่อเมื่อใด ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นทางแห่งปัญหา ทำการด้วยความรู้ความเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของเรื่องนั้นๆ จึงจะแก้ปัญหากำจัดทุกข์ได้สำเร็จ

รวมความว่า ถ้าไม่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่มีมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าไม่ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ก็แก้ปัญหาดับทุกข์ไม่สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร