วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางสภาวะแห่งความชะงักงันในการปฏิบัติ ไม่ทราบว่าท่านทั้งหลายมีทางออกอย่างไร

เป็นสภาวะที่ไม่ได้ถอยลง จิตก็มีความสุขตามอัตถภาพ แต่กำลังสมาธิยากที่จะรวมเป็นหนึ่ง

แต่เวลาเจอทุกข์ปัญญาก็ทำงานรักษาตนผ่านพ้นมาได้ แต่ไม่ค่อยมีกำลังข้ามความคิด

ความเพียรเพิ่มมากก็ฟุ้งซ่าน


แต่บัดนี้ผมเริ่มเห็นทางออกรำไร โดยใช้วิธี ดูกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ที่อยู่เื้องหน้า เช่นความอยาก ไม่อยากต่างๆ

แล้วหักถางสวนกระแสอารมณ์ ออกมา เหมือนใช้กิเลสเป็นเครื่องนำทาง หักล้างออกมาสู่ความสิ้นกิเลส

ล้างทำลายความสกปรก เพื่อสู่ความสะอาด

เพราะบางเวลานั้นตำราธรรมขั้นสูงต่างๆ ไมสามารถนำมาใช้ได้จริงๆ

ต้องใช้ความรู้พื้นฐานว่าทำลายความมืดบอด(กิเลส)ที่อยู่ตรงหน้านี่แหละ

แล้วความสว่าง(สิ้นกิเลส)ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เฮ้อ ค่อยยังชั่ว :b5:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนการที่จะเดินตามทางไปสู่เป้าหมายที่เห็นอยู่ไกลโพ้นเบื้องหน้า

ก็ต้องถากถางเดินข้ามก้อนหินและพงหญ้าใหญ่น้อยที่อยู่หน้าเท้าเสียก่อน

อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ จริงๆ :b26:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 09:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley :b27: :b27: smiley

เป็นกระทู้ที่ดี

:b20: :b20: :b20:

บางครั้ง
อัตตามันมักจะแสดงตน ข่ม ไปทุกสิ่ง
แต่มันก็มีแง่ ที่จะทำให้เราได้เห็นว่า อัตตา ไม่ได้ใหญ่เหนือทุกสิ่ง
โดยการเห็น อัตตา ถูกข่ม ด้วย ธรรม

อัตตา ไม่ได้ถูกข่มได้ด้วย อัตตา
แต่ อัตตา มันถูกข่มได้ด้วย ธรรม

:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2012, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพิจารณาดูแล้ว สภาวะแห่งการชะงักงันนี้ เป็นเพราะการติดเวทนา

โดยเฉพาะสุขเวทนา จิตคิดว่ามีความสุขดีพอแล้ว เพลิดเพลินอยู่

แต่ความจริงยังมีสภาวะกิเลส ที่ใหญ่กว่าเดิมเข้ามากระทบข่มใจ

มีตัณหา ความน่ารักน่าใคร่ที่ละเอียดลึกซึ้งเข้ามาย่ำยีจิตเสมอ

เหมือนบ้านหลังน้อย ถูกระรานด้วยพายุฝนห่าใหญ่ ก็ถึงความลำบากตั้งอยู่ไม่ได้

จิตจึงต้องดิ้นรนกลับมาสู่ธรรมอีกครั้ง ขอบคุณความทุกข์ที่มาเตือนสติ


จิตจึงต้องแหวกออกมาทางต้นตอของปัญหา คือความสุข

จึงเห็นว่าความสุขที่ยึดติด(สุขเวทนา)เป็นความสุขที่ลวงล่อ

จิตหลงยึดติดไม่ยอมคลาย ต้องใช้สติ ปัญญาประคับประคองให้เห็น

ว่ามันเป็นมายา เหมือนทุกข์ที่เราหลงเกลียดโดยเท่ากัน

จิตจึงเริ่มรู้เท่าทันและเริ่มปฏิบัติต่อไปโดยเดินตรงกลางระหว่างหุบเหวทั้งสอง :b55:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร