วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านไม่ให้เชื่อเพราะ ..

- เป็นคำสอนของครูบาอาจารย์ที่นับถือของเรา
- เป็นการอ้างอิงจากหนังสือ ตำรา คำภีร์ ฯลฯ

"ศรัทธา" ที่ถูกต้อง ต้องประกอบไปด้วย "ปัญญา"
ซึ่งต้องสมดุลเหมาะสมกัน ..

ศรัทธา มากเกินไปขาดปัญญา ก็กลายเป็นคนงมงาย
ปัญญา มากเกินไปขาดศรัทธา ก็กลายเป็นทิฏฐิมานะ

:b38: :b38:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 17:21 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2950


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 18:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา..มาก...นั้นดีไม่มีเสียแน่....แต่ต้องเป็นปัญญารู้จริง...รู้แจ้ง....รู้แล้ว..จะตื่น....จะเบิกบาน...เป้นสัมภาระธรรม...

แต่ที่เป็นปัญหา....นั้นเป็นเพราะหลงสัญญา..ซะมากกว่า....จัดอยู่ในกลุ่มงมงาย....เช่นเดียวกับกลุ่มที่เชื่อแบบไม่คิดจะพิสูจน์

หากเป็นปัญญา....ในข่ายสัมมาทิฏฐิแล้ว...องค์ธรรมอื่น ๆ...ไม่ว่าอุเบกขาธรรมในพรหมวิหาร...ความเข้าใจในการเวียนว่ายตายเกิด....เรื่องกรรม....เป็นต้น....จะประมวลรวม ๆ ออกมาเป็นการตัดสินใจต่อ..เหตุการณ์หนึ่ง ๆ...ผัสสะหนึ่ง...ๆ.
แล้วจะแสดงออกมา..ทาง...กาย..วาจา...จะไม่ผิดไปจากธรรมคือ มรรค 8 ได้เลย....

สรุปว่า..ปัญญามาก....ดี....แต่ต้องเป็นปัญญาจริง ๆ นะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:



:b16:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ปัญญา..มาก...นั้นดีไม่มีเสียแน่....แต่ต้องเป็นปัญญารู้จริง...รู้แจ้ง....รู้แล้ว..จะตื่น....จะเบิกบาน...เป้นสัมภาระธรรม...

แต่ที่เป็นปัญหา....นั้นเป็นเพราะหลงสัญญา..ซะมากกว่า....จัดอยู่ในกลุ่มงมงาย....เช่นเดียวกับกลุ่มที่เชื่อแบบไม่คิดจะพิสูจน์

หากเป็นปัญญา....ในข่ายสัมมาทิฏฐิแล้ว...องค์ธรรมอื่น ๆ...ไม่ว่าอุเบกขาธรรมในพรหมวิหาร...ความเข้าใจในการเวียนว่ายตายเกิด....เรื่องกรรม....เป็นต้น....จะประมวลรวม ๆ ออกมาเป็นการตัดสินใจต่อ..เหตุการณ์หนึ่ง ๆ...ผัสสะหนึ่ง...ๆ.
แล้วจะแสดงออกมา..ทาง...กาย..วาจา...จะไม่ผิดไปจากธรรมคือ มรรค 8 ได้เลย....

สรุปว่า..ปัญญามาก....ดี....แต่ต้องเป็นปัญญาจริง ๆ นะ...


ก็เล่าให้อ่านหน่อยสิคะว่า ปัญญาจริงๆ ของคุณเป็นอย่างไร เล่าสภาวะตอนปฏิบัติมาด้วยก็ดีค่ะ

แต่เท่าที่อ่านมานี้ บอกว่าปัญญานั้นมากยิ่งดีไม่มีเสีย เข้าใจผิดแล้วค่ะมีเสียกิจนะถ้าปัญญามากเกิน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 14:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คิดว่าปัญญามากไปก็เป็นปัญหา....นั้นเพราะเข้าใจว่าสัญญาเป็นปัญญา....จึงละเลยที่จะเปลี่ยนสัญญาให้เป็นปัญญา...ปัญหาจึงตามมา..

ลักษณะปัญญาคือรู้แล้ว....จะตื่น...จะเบิกบาน....ไม่ถอยหลังกลับเป็นไม่รู้(ในเรื่องนั้น)อีก..เป็นต้น

เช่น..ศีล....ถ้ารู้ว่าผิดศีลมันไม่ดี...ถ้ารู้จริง..จะไม่มีวันทำผิดศีลอีก....หากรู้ไม่จริง...ก็จะรักษาศีลโดยเอาอามิสมาล่อ...เอาสวรรค์บ้าง...เอานิพพานบ้าง..มาล่อให้รักษาศีล....วันไหนกดกิเลสด้วยอามิสไม่อยู่...ศีลก็ขาด...

คนรู้จริง....จะเห็นความสั่นไหวของจิตเป็นทุกข์....ละเหตุนั้นเพราะเกลียดทุกข์....ผลพลอยได้กลายเป็นว่าไม่ผิดศีล...ไปเอง
นี้...ปัญญาระดับศีล..นะครับ.อย่างอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน..เช่น..ถ้ารู้ว่าโกรธไม่ดี....หากรู้จริง....จะไม่โกรธอีกเลย...ถ้ายังโกรธอยู่...ก็แสดงว่ายังรู้ไม่จริง....

เหมือนที่หลายท่านชอบยกตัวอย่างว่า....ถ้าเรารู้ว่าเรากำอุจจาระอยู่...รู้เมื่อไรก็ขว้างทิ้งเมื่อนั้น...

ตรงนี้..ขอให้เข้าใจตรงกันก่อน...นะครับ.....ไม่งั้น..จะไปต่อไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"ปัญญา" แบ่งได้สาม คือ ..

สุตมยปัญญา ๑
จินตามยปัญญา ๑
ภาวนามยปัญญา ๑

"สุตมยปัญญาและจินตามยปัญา" เป็นปัญญาในระดับ "โลกียะปัญญา"
ปัญญาขั้นนี้ มักหยิ่งทะนงตน มีอัตตามานะทิฏฐิสูง ชอบข่มผู้อื่น ..

"ภาวนามยปัญญาหรือวิปัสสนาปัญญา" เป็นปัญญาในระดับ "โลกุตระปัญญา"
ปัญญาขั้นนี้ สามารถ ละ วาง กิเลสตัณหา ละอัตตามานะทิฏฐิให้น้อยลงได้ ..

วิริยะ เขียน:
ศรัทธา มากเกินไปขาดปัญญา ก็กลายเป็นคนงมงาย
ปัญญา มากเกินไปขาดศรัทธา ก็กลายเป็นทิฏฐิมานะ

ปัญญาส่วนนี้ หมายถึง "โลกียะปัญญา" ..

ส่วน "ปัญญาจริง ๆ " ของท่าน โอ๊บ
น่าจะหมายถึง "โลกุตระปัญญา" .. แม่นบ่อฮึ :b11: :b13:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39: :b39:

วิมุตติจิต

:b39: :b39: :b39:
››››
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จิตนี้เป็นศูนย์กลางแห่งกรรม คือการงานที่กระทำทุกอย่าง และแห่งสุขและทุกข์ กับทั้งเป็นที่ตั้งแห่งทั้งส่วนดีอันเรียกว่า บารมี ทั้งส่วนชั่วอันเรียกว่า อาสวะ เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในบุคคลทุกๆ คน เป็นที่เก็บแห่งสิ่งที่ประสบพบพานมาในอดีตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจิตตภาวนาการอบรมจิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญ จะทำให้ปรากฏคุณค่าของจิตยิ่งขึ้นๆ

สมาธิของพระพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อความตรัสรู้ ก็ได้ทรงทำจิตตภาวนา อบรมจิตนี้ให้เป็นสมาธิอันบริสุทธิ์ และวิธีที่ทรงได้สมาธิอันบริสุทธิ์นั้น ก็มิใช่ทรงได้จากคณาจารย์ที่ได้ทรงศึกษาโดยเฉพาะ

คือมิใช่ทรงได้จากท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านอุทกดาบสรามบุตร แม้ว่าขั้นของสมาธิที่ทรงศึกษาได้ในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสองนั้น จะเป็นขั้นฌานสมาบัติก็ตาม

แต่ว่ามิใช่ฌานสมาบัติสำหรับที่จะให้ตรัสรู้พระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า แต่ว่าเป็นฌานสมาบัติเพื่อที่จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นรูปพรหม อรูปพรหม แต่ว่าทรงได้หลักการปฏิบัติสมาธิอันบริสุทธิ์ เพื่อพระโพธิญาณนั้นจากเด็กๆ นั้นเอง และเด็กที่ได้สมาธิอันเป็นแบบให้ทรงถือเอามาปฏิบัติต่อนั้นก็มิใช่เด็กอื่นไกล แต่ว่าเป็นเด็กคือว่าพระองค์เองเมื่อเป็นพระกุมาร ตามเสด็จพระราชบิดาไปในพิธีแรกนาขวัญ ในขณะที่พระบิดาทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น พระองค์เองซึ่งเป็นพระราชกุมารเด็กก็ได้ประทับนั่ง ณ ภายใต้ร่มหว้า จิตของพระองค์รวมเข้ามากำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทรงได้สมาธิที่บริสุทธิ์ อันนับว่าเป็นขั้นปฐมฌาน

ที่ว่าเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์นั้นก็เพราะว่ารวมเข้ามาโดยที่มิได้มุ่งหวังอะไร จิตรวมเข้ามาอย่างไม่มุ่งหวังอะไร จึงเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์ และการได้สมาธิที่บริสุทธิ์ของพระองค์เมื่อเป็นพระราชกุมารเด็กนั้น ก็ไม่มีวิธีปฏิบัติอย่างโน้นอย่างนี้อะไรมากมาย จิตรวมเข้ามากำหนดลมหายใจเข้าออกของพระองค์เอง เพราะว่าทุกคนก็ต้องหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จะไปข้างไหนก็ต้องหายใจเข้าหายใจออก ไม่ว่าจะเดินยืนนั่งนอน เพราะฉะนั้น เมื่อนั่งสงบอยู่เฉยๆ ลมหายใจเข้าออกก็ปรากฏเพราะว่าไม่ได้ไปนึกอะไรที่อื่น ก็จับลมหายใจเข้าออกที่ปรากฏนั้นกำหนด จิตกำหนดก็ได้สมาธิ

และจิตของเด็กนั้นยังไม่มีนิวรณ์อะไรมาก ยังไม่มีกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอะไรมาก หรือเกือบจะไม่มี

และก็ไม่ได้มุ่งหวังอะไร ไม่ได้มุ่งจะไปเป็นเทวดาเป็นพรหม เป็นอะไรทั้งหมด ไม่มีตัณหาในกามในภพอะไรเข้ามาเจือปน จึงเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์ ก็เป็นอันว่าเหมือนอย่างทรงเรียนสมาธิได้จากแบบของเด็ก ซึ่งเป็นจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีนิวรณ์ ก็ทรงจับเอาแบบสมาธิที่บริสุทธิ์นี้มาทรงปฏิบัติต่อ โดยทำจิตให้สงบกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่มุ่งหวังอะไร มุ่งให้จิตสงบเข้ามา จิตจึงสงบจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีนิวรณ์ ก็เริ่มเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์


ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

และก็ทรงน้อมจิตที่บริสุทธิ์นี้เพื่อรู้ ท่านก็แสดงว่าทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้ระลึกชาติได้ ย้อนหลังไปชาติหนึ่ง สองชาติสามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติเป็นต้นไปมากมาย อันเรียกว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณคือความหยั่งรู้ระลึกนิวาส ซึ่งในที่นี้แปลกันว่าขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ คำว่านิวาสนี้มาใช้เป็นชื่อของบ้าน เช่นใช้ในภาษาไทยว่าสวางคนิวาส แปลว่าสำหรับในพระญาณนี้มุ่งถึงขันธ์ รูปขันธ์นามขันธ์

คือขันธ์ ๕ นี้ ได้ชื่อว่าเป็นนิวาส คือเป็นที่อาศัยอยู่ หรือเป็นบ้านของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ก็คือผู้ที่ยังมีความข้องอยู่ ยังต้องแล่นไปอยู่ตามอำนาจของตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ ชื่อว่าสัตว์ และก็เป็นโลกอย่างหนึ่งเรียกว่า สัตวโลก ก็หมายถึงสัตว์คือผู้ที่ยังมีความข้องอยู่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา มาร พรหม ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต อสุรกาย เมื่อยังมีความข้องอยู่ หรือกิเลสเป็นเครื่องข้องอยู่ ก็เรียกว่าเป็นสัตว์ทั้งนั้น คือสัตวโลก ตั้งอยู่ภายในจิตนี้เอง ก็มีนิวาสคือมีบ้านเป็นที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นๆ ก็คือขันธ์ รูปขันธ์นามขันธ์นี้แหละ ก็ทรงระลึกถึงพระองค์เองซึ่งอาศัยอยู่ในนิวาส คือบ้านอันได้แก่ขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ดังกล่าว ย้อนหลังไปได้ ตลอดจนถึงรายละเอียดต่างๆ เช่นชื่อโคตรคือสกุล สุขทุกข์อะไรต่างๆ ในชาตินั้นๆ


ญาณที่เป็นอนุสสติ

อันความระลึกชาติหนหลังได้ดั่งนี้เรียกว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณที่เป็นอนุสสติ คือระลึกย้อนหลังได้ถึงขันธ์เป็นที่อาศัยอยู่ในปางก่อน คราวนี้ก็ต้องพิจารณาว่าจิตนี้เองเก็บเรื่องที่ผ่านๆ ไป ซึ่งได้ประสบพบพานแล้วไว้ได้ทั้งหมด ไม่มีบกพร่อง และเมื่อได้สมาธิดีจนถึงฌานสมาบัติก็สามารถที่จะระลึกลงไปถึงจิตที่บริสุทธิ์นั้น อันยังเก็บเรื่องที่ผ่านไว้ได้ทั้งหมด เรื่องที่ผ่านไว้ได้ทั้งหมดจึงปรากฏขึ้นมาเป็นความรู้ ซึ่งเรียกว่าญาณ รู้ที่ระลึกย้อนหลังไปได้

อาการที่ระลึกย้อนหลังไปได้นี้แหละเรียกว่าเป็นตัวสติ คืออนุสสติที่ใช้ในที่นี้ ก็เป็นความหมายเช่นเดียวกับสติคือความระลึกได้ที่เป็นธรรมะที่เป็นกำลังของทุกๆ คน ที่ท่านอธิบายว่าระลึกถึงการงานที่ทำคำที่พูดแล้วไว้แม้นานได้ ซึ่งเป็นสติในปัจจุบันชาตินี้ เมื่อใครมีสติดีก็ระลึกได้ถึงการงานที่ทำคำที่พูดไว้เมื่อวานนี้ได้ดี เมื่อวานซืนนี้ได้ดี เมื่อเดือนที่แล้วได้ดี เมื่อปีที่แล้วได้ดี ดั่งนี้เป็นต้นย้อนหลังไปได้ แต่ว่าเรื่องที่ระลึกนั้นก็มิใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ที่ยังเก็บไว้ในจิตส่วนที่บริสุทธิ์อย่างยิ่งนั้นเอง


จุตูปปาตญาณ

เพราะฉะนั้นเมื่อตั้งใจทำสมาธิให้ดี ได้สมาธิดีแล้วก็สามารถที่จะระลึกย้อนหลังไปได้ ตามสมควรแก่กำลังของสติ อันเกิดจากสมาธิที่ดิ่งลง เป็นความรู้ขึ้นมาทันที ซึ่งเป็นพระญาณข้อนี้ และต่อจากนั้นก็ทรงได้พระญาณที่หยั่งรู้ว่าสัตว์ทั้งหลาย ต้องเป็นไปตามกรรม ทำกรรมชั่วก็ต้องไปเกิดในชาติที่ชั่ว มีความทุกข์ต่างๆ ทำกรรมดีก็ให้ไปเกิดในชาติที่ดีมีความสุขต่างๆ เป็นไปตามกรรม (เริ่ม ๑๑/๒) ก็เป็นอันว่าทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้สูงขึ้นไปอีก

อันเรียกว่า จุตูปปาตญาณ ความหยั่งรู้ถึง จุติ คือความเคลื่อน อุปบัติ คือความเข้าถึงในชาติภพนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ของพระองค์เองด้วย และของผู้อื่นอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นอันว่าได้ตรัสรู้เรื่องกรรม ตั้งแต่ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันนับว่าเป็นพระญาณที่ ๒


อาสวักขยญาณ

และต่อจากนั้นก็ทรงจับได้ถึงต้นเหตุ ก็คืออาสวะกิเลส กิเลสที่ดองจิตสันดาน ตรัสรู้เข้าไปถึงอาสวะกิเลส กิเลสที่ดองจิตสันดาน อันทำให้ได้ทรงพบ อริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อาสวะกิเลสที่ดองจิตสันดาน เหตุเกิดอาสวะ ความดับอาสวะ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ซึ่งพระญาณที่ ๓ นี้ เรียกว่า อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ

พุทธภาวะ-สัตตภาวะ

และเมื่อทรงพบต้นเหตุดั่งนี้แล้ว วิชชาความรู้แจ่มแจ้งตามเป็นจริงก็บังเกิดขึ้น อวิชชาคือความไม่รู้ก็ดับไปหมด อาสวะทั้งหลายก็ดับไปหมด เพราะฉะนั้นจึงทรงพบความดับทุกข์ เมื่อทรงได้พระญาณที่ ๓ นี้ จึงได้ทรงเป็นพุทโธ คือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว สัตตภาวะ ภาวะเป็นสัตว์คือผู้ข้องก็สิ้นไปหมดไป ปรากฏเป็น พุทธภาวะ ความเป็นพระพุทธเจ้า คือเป็นผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ ผู้พ้น พระพุทธเจ้า พระพุทธะ พระผู้ตรัสรู้นั้น กล่าวสั้นก็คือรู้พ้นไม่ใช่รู้ติดรู้ยึด รู้สิ่งใดยึดสิ่งนั้นติดสิ่งนั้น นั่นคือ สัตตะ ผู้ข้อง แต่ว่ารู้สิ่งใดพ้นสิ่งนั้นวางสิ่งนั้นก็เป็นพุทธะ คือเป็นผู้รู้ เป็นพระพุทธะคือเป็นพระผู้ตรัสรู้

เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากจิตนี้เอง ทำจิตตภาวนา ฝึกจิตให้เป็นศีล ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และฝึกจิตให้เป็นปัญญาขึ้นมา

เมื่อเป็นดั่งนี้ศีลก็ตั้งขึ้นที่จิต และเป็นจิต จิตก็เป็นศีล สมาธิก็ตั้งขึ้นที่จิต เป็นจิต จิตก็เป็นสมาธิ ปัญญาก็ตั้งขึ้นที่จิต จิตก็เป็นปัญญาเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา

เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญานี้ จึงเป็นวิมุตติจิต จิตที่พ้นแล้ว ทั้งหมดนี้ก็ต้องเกิดจากความที่เริ่มปฏิบัติมาโดยลำดับอันเป็นจิตตภาวนาตั้งแต่ในเบื้องต้น


ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


:b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 15:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b14: :b14: :b14:

อุ๊ย...โพสผิดกระทู้...หง่ะ

:b3: :b3: :b3:

เลยตามเลย...ละกัน...เน๊อะ

และขอผิดอีกสักครั้ง... :b3: :b3: ...จะเป็นไรไหม... :b12: :b12: :b12:



:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ครั้งที่ ๑๒ ลักษณะพุทธศาสนา - สังสารวัฏ (๒)


ลักษณะพุทธศาสนา
ธรรมบรรยายของสมเด็จพระญาณสังวร
ในการอบรมนวกภิกษุพรรษา ๒๕๒๖
ณ สว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร


--------------------------------------------------------------

แสดงลักษณะพุทธศาสนามาถึงพุทธวาทะ
ไม่รับรองสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ จึงจะกล่าวอธิบายสืบต่อไป


ทิฏฐิคือความเห็นที่ถือกันมาตั้งแต่เก่าก่อนพุทธศาสนา เรื่องตายเกิดตายสูญ
ฝ่ายที่มีความเห็นยึดถือว่าตายเกิดเรียกว่าสัสสตทิฏฐิ แปลว่าความเห็นเที่ยง
คือมีความเห็นว่าในชาตินี้ก็มีอัตตาหรืออาตมันตัวตน และเมื่อตายไป
อัตตาหรืออาตมันตัวตนก็ไปถือภพชาติใหม่เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด
เรียกสั้นๆ ก็คือว่าตายเกิด ก็เกิดกันเรื่อยๆ ไป
อีกฝ่ายหนึ่งตายสูญที่เป็นพวกอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ
ก็คือมีความเห็นว่ามีอัตตาหรืออาตมันตัวตนอยู่ในชาตินี้เท่านั้น ตายไปแล้วก็สูญ
ไม่มีอัตตาหรืออาตมันตัวตนสืบต่อไปอีก ส่วนพุทธวาทะ
วาทะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่รับรองทิฏฐิทั้ง ๒ นี้
และก็ถือว่าทิฏฐิทั้ง ๒ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด
โดยที่วาทะของพระพุทธเจ้านั้นแสดงว่าเป็นไปตามเหตุผล คือเมื่อยังมีเหตุให้เกิดก็เกิด
เมื่อสิ้นเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด แต่ว่าก็ไม่สูญ ฉะนั้นจึงจะต้องอ้างพุทธวาทะว่าตรัสไว้ที่ไหนอย่างนี้


กิเลส กรรม วิบาก

วาทะของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้อย่างนี้ โดยตรงก็คืออริยสัจทั้ง ๔
และปฏิจจสมุปบาท อริยสัจทั้ง ๔ นั้นคือสภาพที่จริงคือทุกข์
เราทั้งหลายก็ได้สวดกันอยู่ทุกวันแล้วว่า ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์เป็นต้น
คือว่าทรงชี้ตัวทุกข์ตั้งแต่ชาติคือความเกิดเป็นต้นไป มาถึงสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ก็ทรงชี้เอาตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก ฉะนั้นเมื่อยังมีสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์คือตัณหาอยู่
ก็ยังต้องมีทุกข์ อันเป็นส่วนผล ตั้งต้นแต่ชาติคือความเกิด ตามหลักอริยสัจนี้
จึงกล่าวได้ว่าวาทะของพระพุทธเจ้านี้ทรงแสดงว่าเมื่อยังมีตัณหาเป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์อยู่
ก็ยังต้องมีชาติคือความเกิด ก็หมายความว่าเมื่อขันธ์ ๕ นี้แตกหรือว่าบ้านนี้พัง
สัตว์ก็ต้องจุติคือเคลื่อนจากชาตินี้หรือว่าเคลื่อนออกจากบ้านที่พังนี้
ไปเข้าบ้านใหม่คือชาติภพใหม่หรือขันธ์เป็นที่ยึดถือใหม่ต่อไป เมื่อยังมีตัณหาอยู่
ขันธ์ ๕ นี้แตกสลาย จึงต้องไปถือชาติภพสืบต่อไป คราวนี้มาถึงทุกขนิโรธคือความดับทุกข์
ก็คือดับตัณหา เมื่อดับตัณหาเสียได้ อันเป็นส่วนเหตุก็ดับทุกข์เสียได้
ก็คือดับตั้งแต่ชาติคือความเกิด ไม่ไปเกิดอีก แต่ว่าก็ไม่สูญ อย่างไรจึงว่าไม่สูญนั้น
ก็จะต้องอธิบายต่อไป แต่มากล่าวถึงตอนนี้ก่อน เมื่อวาทะของพระพุทธเจ้าแสดงไว้ดังนี้
จึงกล่าวได้ว่าลักษณะของพุทธศาสนาที่แสดงเรื่องนี้ไม่แสดงว่าตายเกิด
ไม่แสดงว่าตายสูญเพียงส่วนเดียว แต่แสดงว่าเมื่อยังมีกิเลสมีตัณหาเป็นต้นก็ต้องเกิด
เมื่อสิ้นตัณหาสิ้นกิเลสก็ไม่เกิด แสดงตามเหตุผลดังนี้ และการที่เกิดนั้นก็เกิดตามกรรม
พระพุทธเจ้าทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้ในเรื่องนี้ ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้ทรง
ได้พระญาณที่ ๑ คือบุพเพนิวาสญาณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ซึ่งได้ทรงระลึกรู้หรือว่ารู้ระลึกถึงบ้านหนหลังได้ คือระลึกชาติหนหลังได้มีจำนวนมาก
ว่าเราเข้าถึงชาตินี้ เคลื่อนจากชาตินี้ก็เข้าถึงชาตินั้นต่อๆ กันมา
พร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ ของชาตินั้นๆ มาถึงญาณที่ ๒
ก็ทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้ ว่าสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงชาติหนึ่งๆ ตามกรรมที่ได้กระทำไว้
ทำกรรมชั่วก็เข้าถึงชาติที่ชั่วมีทุกข์ ทำกรรมดีก็เข้าถึงชาติที่ดีมีสุขดั่งนี้
พร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ จนถึงญาณที่ ๓ ที่เรียกว่าอาสวักขยญาณ
คือความหยั่งรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ กิเลสที่ดองจิตสันดาน
คือได้ตรัสรู้เข้าไปถึงว่าที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปในชาติทั้งหลายตามกรรมซึ่ง
ได้กระทำไว้นั้น ก็เพราะยังมีกิเลสอันเป็นเหตุให้กระทำกรรม กิเลสที่ดองสันดานก็เรียกว่าอาสวะ
คือมีกิเลสที่ดองสันดานอยู่ จึงเป็นเหตุให้กระทำกรรม เมื่อกระทำกรรม
กรรมก็ส่งวิบากคือผล ตั้งต้นแต่ให้ไปถือชาติภพได้วิบากขันธ์ คือกายใจที่เป็นส่วนวิบากคือผลของกรรม
ดังที่ทุกคนได้อยู่นี้

เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีกิเลสที่ดองสันดานอยู่ก็ต้องประกอบกรรม กรรมก็ส่งผลตั้งแต่ให้ไปเกิดถือชาติภพ
เกิดแล้วก็ต้องแก่ต้องตาย คือขันธ์เป็นที่ยึดถือได้แก่ตัววิบากขันธ์นี้เป็นสิ่งที่ต้องแก่ต้องตาย
และขันธ์อันเป็นวิบากขันธ์นั้นก็เท่ากับเป็นตัวบ้านอันเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตที่เป็นตัวเดิม
หรือว่าอหภาวะคือตัวเรา หรือที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตน หรือที่เรียกว่าสัตว์คือเป็นผู้ที่ยังข้องติดอยู่นี้
และเพราะกิเลสนี้เองจึงทำให้จิตที่เป็นตัวเดิมนี้เป็นจิตที่แปลว่าคิดนึกรู้ ที่แปลว่าเก็บสั่งสม
ที่แปลว่าวิจิตรหลายหลากต่างๆ ดังที่ได้แสดงอธิบายแล้ว และก็ทำให้มีอหภาวะคือความเป็นเรา
ตลอดจนเป็นอหังการมมังการ อหังการก็คือว่าเครื่องกระทำให้เป็นเรา
มมังการก็แปลว่าเครื่องกระทำให้เป็นของเรา หรือว่ามีตัวเราของเรา
หรือว่ามีสัตตภาวะคือความเป็นผู้ข้องเป็นผู้ติดอยู่ และสภาพที่เรียกว่าจิตอันเป็นตัวเดิม
สภาพที่เรียกว่าอหภาวะความเป็นเรา หรือสภาพที่เรียกว่าสัตว์ หรือสัตตภาวะความเป็นสัตว์ผู้ข้องผู้ติดนี้
ก็เป็นคำที่สมมติบัญญัติเรียกขึ้นมาถึงสภาพอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ในบุคคลทุกๆ คนนี้
อันไม่มีสรีรสัณฐาน อาศัยอยู่ในกายซึ่งเหมือนกับเป็นตัวบ้าน กายสร้างขึ้นก่อขึ้นก็เข้าอาศัย
กายพังบ้านพังก็เคลื่อนออก แล้วก็ไปถือเอากายใหม่บ้านใหม่ตราบเท่าที่ยังมีกิเลส
ที่เป็นอาสวะดองจิตสันดานอยู่ ก็แปลว่าสภาพที่กล่าวมานี้ไม่ตาย
ส่วนที่ตายนั้นก็คือตัวกายหรือตัวขันธ์รูปขันธ์นามขันธ์กายใจ
ซึ่งเหมือนอย่างตัวบ้านดังที่กล่าวมานั้นสร้างขึ้นแล้วในที่สุดก็พัง แล้วสร้างขึ้นใหม่เป็นบ้านใหม่
แล้วบ้านใหม่นั้นก็เก่าไปๆ แล้วก็พัง แล้วก็สร้างบ้านขึ้นใหม่อีก แล้วเก่าไปๆ แล้วก็พัง
และบ้านที่สร้างขึ้นนี้ บางคราวก็ลักษณะเป็นมนุษย์ก็เรียกว่ามนุษยโลก
บางคราวก็ลักษณะเป็นเดียรัจฉาน เป็นช้างเป็นม้าเป็นวัวเป็นควาย ก็เรียกว่าเดียรัจฉานโลก
ก็เป็นอบายอันหนึ่ง บางคราวก็เป็นพวกโอปปาติกะพวกลอยเกิด
เช่นเป็นเปรตเป็นอสุรกายเป็นผีเป็นสัตว์นรกซึ่งเป็นอบาย เป็นฝ่ายดีก็เป็นเทพพวกกายทิพย์
หรือเป็นพรหม บ้านก็มีต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นชนิดไหนก็ตามกรรม ถ้าทำชั่วไว้บ้านก็เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
เป็นช้างเป็นม้าเป็นวัวเป็นควายเป็นต้น หรือว่าเป็นเปรตเป็นอสุรกาย
ถ้าทำกรรมดีก็เป็นบ้านมนุษย์ ก็มีหน้ามีตาเป็นมนุษย์อย่างนี้ หรือมีกายทิพย์เป็นเทพเป็นพรหม
ซึ่งคติทางพุทธศาสนานั้น จะเป็นเทพเป็นพรหมเป็นมนุษย์หรือเป็นพวกอบายต่างๆ ก็ต้องมีชาติ
เมื่อมีชาติความเกิดก็จะต้องมีความตายในที่สุด ต้องแตกสลายทั้งนั้น ไม่มีที่จะยั่งยืนตลอดไป

เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชาติมีภพอยู่ คติทางพุทธศาสนาจึงแสดงว่ายังมีกิเลสมีตัณหายังเป็นสัตว์โลก
ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อพระญาณของพระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นปรุโปร่งดั่งนี้ก่อนตรัสรู้
จึงได้ทรงมองเห็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ชัดเจน ว่าบรรดาชาติภพทั้งหลายนับไม่ถ้วน
ที่พระองค์เองก็ได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ จะเลวที่สุดหรือเลวปานกลางหรือเลวน้อย
หรือดีน้อยดีปานกลางดีที่สุดก็ตาม ก็ล้วนอนิจจะคือไม่เที่ยง ต้องเกิดต้องดับ
ทุกขะเป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทนอยู่คงที่ไม่ได้ เป็นอนัตตามิใช่อัตตาตัวตนแท้จริง
ล้วนไปยึดถือทั้งนั้น เพราะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ เพราะฉะนั้นจึงทรงหน่ายในทุกข์
คือหน่ายในชาติภพทั้งหมด ไม่ว่าจะมีชาติภพเป็นมนุษย์เป็นเทพเป็นพรหม
ซึ่งยึดถือกันว่ามีความสุขน้อยมีความสุขปานกลางมีความสุขมากก็ตาม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดดับทั้งนั้น
ต้องวนเวียนไปตามกรรมที่ตนเองได้กระทำนั้น ทำกรรมดีก็ต้องไปเข้าถึงชาติภพที่ดี
ทำกรรมชั่วก็ต้องไปเข้าถึงชาติภพที่ชั่ว กรรมจึงเท่ากับเป็นผู้สร้าง เรียกว่าชนกกรรม
กรรมที่ให้เกิด ไม่มีอะไรมาสร้างให้เกิด แต่กรรมนี้เองเป็นผู้สร้างให้เกิด
และกรรมนั้นก็ตนเองเป็นผู้กระทำไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ กรรมดีก็ตนเองกระทำ กรรมชั่วก็ตนเองกระทำ
ไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ เพราะฉะนั้นตัวเองจึงเป็นผู้กระทำสร้างกรรมให้สร้างตัวเองขึ้นมาอีกในชาติภพต่อไป
เพราะฉะนั้นตัวเองจึงเท่ากับเป็นผู้สร้างตัวเอง เพราะสร้างกรรมขึ้นให้เป็นผู้สร้างตัวเองต่อไป
ไม่ใช่ผู้อื่น แต่ว่าญาณที่ทรงระลึกได้ถึงชาติหนหลังและถึงกรรมที่ได้กระทำไว้
อันเป็นเหตุให้เข้าถึงชาติทั้งหลาย ของพระองค์เองด้วย และของสัตว์ทั้งหลายด้วยก็เช่นเดียวกัน
ยาวนักหนา เรียกว่าระลึกย้อนหลังขึ้นไปๆ ก็ไม่รู้จักจบจึงเรียกว่าอนมตัคคะ
ที่แปลว่ามียอดหรือเบื้องต้นที่ไม่ตามไปรู้แล้ว คำว่าไม่ตามไปรู้แล้วนี้ ไม่ใช่หมายความว่าตามไปรู้ไม่ได้
แต่ว่าตามไปรู้ได้ คราวนี้เมื่อตามไปรู้แล้วก็ไม่รู้สิ้นสุด เพราะว่าเบื้องต้นอันเป็นส่วนอดีตนั้นยาวไกล
และมากมายนักหนา เพราะฉะนั้นเมื่อทรงระลึกได้มีจำนวนมากนักหนาแล้วแต่ยังไม่หมด
ก็เป็นอันว่ายุติได้ เพราะว่าได้ความรู้ที่เป็นสัจจะจริงแท้แล้วว่ามีความเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมมาแล้ว
นานนักหนา แล้วก็เป็นความเวียนว่ายตายเกิดจริงๆ ตามกรรมจริงๆ


ดับตัณหา ดับทุกข์

และก็สรุปได้แล้ว ว่าความที่เวียนว่ายตายเกิดตามกรรมไปนานนักหนานั้น
รวมกันเข้าคำเดียวว่าเป็นตัวทุกข์ คือเป็นสิ่งที่ไม่ดำรงอยู่คงที่ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ซึ่งเมื่อแยกทุกข์ออกไปแล้ว
ย่อมจะได้ลักษณะเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง ต้องเกิดดับ และลักษณะที่เป็นตัวทุกข์เอง
คือเป็นทั้งสิ่งที่ทนอยู่คงที่ไม่ได้ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
เหมือนอย่างถูกความเกิดความดับบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเป็นสัตว์บุคคล
ก็เหมือนอย่างเป็นของร้อนอยู่ตลอดเวลา ต้องถูกเผาอยู่ตลอดเวลา
สรุปเข้าก็รวมอยู่ในคำเดียวว่าทุกข์ ทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์
และที่มีทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์อยู่ดั่งนี้ เพราะมีสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์
คือยังมีตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากนี้เองที่จับพิจารณาดูได้ที่จิตใจ
มีลักษณะที่เป็นความอยากความดิ้นรน ที่ปรากฏออกมาเป็นราคะหรือโลภะ เป็นโทสะเป็นโมหะ
แต่ก็รวมอยู่ในลักษณะที่เป็นความดิ้นรนเป็นความอยาก ราคะเองก็เป็นตัวดิ้นรน
โทสะก็ดิ้นรน โมหะก็ดิ้นรน ไม่สงบทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงยกเอาตัณหาขึ้นเป็นตัวสมุทัย
แต่ในปฏิจจสมุปบาทธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้นนั้น ได้ทรงพิจารณาจับตั้งแต่ทุกข์ทั้งหลาย
มีชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้นที่เราสวดกันทุกวันอยู่ จับเหตุปัจจัยย้อนขึ้นไป
ก็ได้ทรงพบเหตุปัจจัยขึ้นไปโดยลำดับ ซึ่งรวมทั้งตัวตัณหานั้นด้วยขึ้นไปถึงอวิชชา
คือความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง คือจิตนี้เองที่เป็นธาตุรู้
แต่ยังมีอวิชชาคือความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาเป็นต้นเรื่อยไป
จนถึงชาติชราโสกะปริเทวะเป็นต้น นี้เป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ จึงทำให้เกิดความหน่าย
หน่ายในทุกข์ด้วย หน่ายในสมุทัยในตัวตัณหาทั้งปวงด้วย ก็แปลว่าเกิดคลายความติดใจยินดี
คลายความรักในตัวทุกข์ คือหน่ายในชาติภพทั้งหลาย คลายความรักในสมุทัยในตัณหาอวิชชา
ก็เปลี่ยนเป็นวิชชาคือความรู้ขึ้น เมื่อเป็นดั่งนี้ตัณหาก็ดับ เมื่อตัณหาดับทุกข์ก็ดับ
ความดับทุกข์ก็ปรากฏขึ้น ตัววิชชานี้เองซึ่งเมื่อเกิดขึ้นทำให้อวิชชาดับ
ก็เพราะเหตุว่าทรงได้มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่เป็นหนทางกลางดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เพราะฉะนั้นรวมเข้าแล้วจึงเป็นตัวอวิชชา เมื่อวิชชาเกิดขึ้นอวิชชาก็ดับ
กิเลสก็ดับหมดพร้อมทั้งตัณหา ทุกข์ก็ดับ จึงทรงเป็นพุทโธ ผู้ตรัสรู้แล้วผู้ตื่นแล้ว
ดังที่ตรัสเล่าไว้ในปฐมเทศนา ว่าเมื่อญาณความหยั่งรู้ผุดขึ้นในธรรมที่มิได้สดับฟังมาก่อนคืออริยสัจทั้ง ๔
ก็ทรงปฏิญญาพระองค์ได้ว่าตรัสรู้ยิ่งแล้วซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก ดั่งนี้


เมื่อพุทธภาวะปรากฏสัตตภาวะก็ดับ

เพราะฉะนั้น ภาวะเป็นสัตว์ซึ่งเป็นผู้ข้องติดจึงได้หายไปดับไป
ปรากฏเป็นพุทธภาวะ ภาวะเป็นพุทธะคือผู้ตรัสรู้
แม้เมื่อเป็นพระพุทธะขึ้นแล้วก็ยังต้องทรงใช้สมบัติของโลก
ว่าเราว่าเขาหรือว่าตัวว่าตน ตลอดจนถึงว่าจิตใจวิญญาณมโนเป็นต้น
แต่ว่าคำเหล่านี้เป็นสมมติบัญญัติสมมติธรรมบัญญัติธรรมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือว่าพระพุทธสรีระซึ่งเป็นวิบากขันธ์ดับคือแตก
ที่คนสามัญเรียกกันว่าตาย จึงไม่เกิดอีกตามที่ตรัสเอาไว้ และสิ่งที่เรียกว่าจิตตัวเดิมก็ดี
ตัวเราก็ดี อัตตาตัวตนก็ดี หรือสัตตภาวะคือภาวะเป็นสัตว์ ก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ทั้งหมดนี้ก็เป็นอันว่าเลิกพูดกัน เพราะเมื่อไม่เกิดอีกก็สิ้นสมมติบัญญัติ
สมมติบัญญัติว่าเป็นจิตเป็นบุคคลเป็นเทพเป็นมารเป็นพรหมหรืออะไรก็ไม่มีทั้งนั้น เลิกพูดถึง
แต่ว่าแม้จะเลิกพูดถึงก็ไม่ใช่หมายความว่าสูญ



๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๖

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b14: :b14: :b14:

อุ๊ย...โพสผิดกระทู้...หง่ะ

:b3: :b3: :b3:

เลยตามเลย...ละกัน...เน๊อะ

:b9: :b9: :b9:

และขอผิดอีกสักครั้ง... :b3: :b3: ...จะเป็นไรไหม... :b12: :b12: :b12:

ไม่ผิดกระทู้หรอก ถูกแล้วละ อิอิ สาธุ .. :b8:

:b13: :b13: :b11:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ที่คิดว่าปัญญามากไปก็เป็นปัญหา....นั้นเพราะเข้าใจว่าสัญญาเป็นปัญญา....จึงละเลยที่จะเปลี่ยนสัญญาให้เป็นปัญญา...ปัญหาจึงตามมา..

ลักษณะปัญญาคือรู้แล้ว....จะตื่น...จะเบิกบาน....ไม่ถอยหลังกลับเป็นไม่รู้(ในเรื่องนั้น)อีก..เป็นต้น

เช่น..ศีล....ถ้ารู้ว่าผิดศีลมันไม่ดี...ถ้ารู้จริง..จะไม่มีวันทำผิดศีลอีก....หากรู้ไม่จริง...ก็จะรักษาศีลโดยเอาอามิสมาล่อ...เอาสวรรค์บ้าง...เอานิพพานบ้าง..มาล่อให้รักษาศีล....วันไหนกดกิเลสด้วยอามิสไม่อยู่...ศีลก็ขาด...

คนรู้จริง....จะเห็นความสั่นไหวของจิตเป็นทุกข์....ละเหตุนั้นเพราะเกลียดทุกข์....ผลพลอยได้กลายเป็นว่าไม่ผิดศีล...ไปเอง
นี้...ปัญญาระดับศีล..นะครับ.อย่างอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน..เช่น..ถ้ารู้ว่าโกรธไม่ดี....หากรู้จริง....จะไม่โกรธอีกเลย...ถ้ายังโกรธอยู่...ก็แสดงว่ายังรู้ไม่จริง....

เหมือนที่หลายท่านชอบยกตัวอย่างว่า....ถ้าเรารู้ว่าเรากำอุจจาระอยู่...รู้เมื่อไรก็ขว้างทิ้งเมื่อนั้น...

ตรงนี้..ขอให้เข้าใจตรงกันก่อน...นะครับ.....ไม่งั้น..จะไปต่อไม่ได้


ความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนาญาณ 16 โพธิปักขิยธรรม 37 คำตอบอยู่ในเนื้อหานี้ค่ะ
หาอ่านเอาเองค่ะ

เอาแค่ปัญญาระดับโลกียะ ถ้าเคยรู้สภาวะมาแล้วจะเข้าใจสภาวะของปัญญาได้ตามความเป็นจริง
จะพูดบอกออกมาได้ค่ะ แบบที่เค้าเรียกว่าสอบอารมณ์ ไม่ใช่วิปัสสนึกค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา...คือ..ความรู้....รู้เพื่อแก้กิเลส...

ขอความรู้เพิ่มหน่อยซิว่า....วิปัสสนาญาณ16....ตัวไหนบ้างที่เป็นปัญญา...เป็นอย่างไร....แก้กิเลสชื่อว่าอะไร

แล้วทำอย่างไรจะได้มา

โพธิปักขิยธรรม 37 ...ตัวไหนเป็นปัญญา....เป็นอย่างไร...แต่ละตัวแก้กิเลสชื่อว่าอะไร....ทำอย่างไรจะได้มา...??

ปัญญา..มันต้องแก้กิเลสได้ซิ....แก้ไม่ได้...จะเรียกปัญญาได้..นี้

ที่พูดนี้.ใช้เหตุผลมั้ย...ไม่ใช่ตรงไหน...ชี้แจงมา...พร้อมจะน้อมรับฟัง...ขอให้มีเหตุผลเถอะนา..

ผมคิดว่า....คุยกับคนมีเหตุผลนะ...ถ้าไม่ใช่ก็แล้วไป

คิดแฉลบไปถึงคนมีลูก....คนมีลูก..เขาก็ต้องวัดกันที่มีลูกออกมาแล้ว

คนตั้งท้อง..9. เดือน...ระหว่างนั้น...ก็มีอาการแพ้ท้อง...ไปหาหมอ...ไปฝากท้อง...ไปตามหมอนัด....อาการเหล่านี้เป็นอาการคนตั้งท้อง....คนตั้งท้องนี้เป็นคนมีลูกแล้วรึยัง?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ปัญญา..มาก...นั้นดีไม่มีเสียแน่....แต่ต้องเป็นปัญญารู้จริง...รู้แจ้ง....รู้แล้ว..จะตื่น....จะเบิกบาน...เป้นสัมภาระธรรม...

แต่ที่เป็นปัญหา....นั้นเป็นเพราะหลงสัญญา..ซะมากกว่า....จัดอยู่ในกลุ่มงมงาย....เช่นเดียวกับกลุ่มที่เชื่อแบบไม่คิดจะพิสูจน์


ดิฉันเห็นว่าคุยเรื่อง พิสูจน์ ก็เลยชวนคุยกันเรื่องที่เป็นสภาวะขณะปฏิบัติที่คุณเคยพิสูจน์มาก็เท่านั้นแหล่ะค่ะ
เพราะถ้าไม่เคยเจอสภาวะของปัญญามา ก็คงไม่พูดออกมาเช่นนี้ ก็เลยถามไถ่กันเป็นประสบการณ์ค่ะ

แต่ถ้าจะคุยแบบสุตะ นั้นก็แนะนำว่าหาอ่านเอาเองค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 08:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านจบ....รับรองมั่ยว่า...ผมจะมีปัญญา...เลย

ถ้าไม่....เพราะอะไร....และต้อง.ทำงั่ย?

บอกหน่อย....

ทีคุณซามัวส่า....ผมยังเข็นปัญญาที่ไม่ค่อยจะมี...ตอบเลย...

อยากรู้...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 08:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ปัญญา...คือ..ความรู้....รู้เพื่อแก้กิเลส...

ขอความรู้เพิ่มหน่อยซิว่า....วิปัสสนาญาณ16....ตัวไหนบ้างที่เป็นปัญญา...เป็นอย่างไร....แก้กิเลสชื่อว่าอะไร

แล้วทำอย่างไรจะได้มา

โพธิปักขิยธรรม 37 ...ตัวไหนเป็นปัญญา....เป็นอย่างไร...แต่ละตัวแก้กิเลสชื่อว่าอะไร....ทำอย่างไรจะได้มา...??

ปัญญา..มันต้องแก้กิเลสได้ซิ....แก้ไม่ได้...จะเรียกปัญญาได้..นี้

ที่พูดนี้.ใช้เหตุผลมั้ย...ไม่ใช่ตรงไหน...ชี้แจงมา...พร้อมจะน้อมรับฟัง...ขอให้มีเหตุผลเถอะนา..

ผมคิดว่า....คุยกับคนมีเหตุผลนะ...ถ้าไม่ใช่ก็แล้วไป

?


ไม่ใช่การท้าทาย..นะครับ....ต้องการความเห็น...จริง..จริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร