วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2013, 12:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 17:07
โพสต์: 39

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b55: :b55: :b55: เรื่องของอารมณ์กับความคิดเป็นเรื่องที่แนบชิดติดกันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน เพียงแต่มีอยู่ตัวหนึ่งที่ร้ายกาจมาก นั่นคือความอยาก ความอยากที่เหมือนมีที่สิ้นสุดและไม่มีที่สิ้นสุด ที่เราว่ามันร้ายกาจเพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ตั้งสติไว้ที่ปัจจุบันขณะ ความคิดมันก็มา ในความคิดถึงแม้จะไม่ได้พูดทางปาก แต่ทางจิตมันก็พูด แม้การพูดนั้นจะไม่มีใครรับฟัง แต่จิตมันมีความอยาก ความอยากที่จะระบายออก เราว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นตลกร้าย ที่เราพ้ำเพ้อ ฟุ้งซ่าน อยู่ในความคิดในอารมณ์ แถมเราไม่รู้สึกตัวด้วยว่าเรามีความอยากแบบนี้อยู่ในตัวตลอดเวลา ถึงโยนมันทิ้งได้แต่เดี๋ยวเราก็วิ่งไปตามเก็บขึ้นมาอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2013, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่พี่เต้คิดว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์หรือความอยาก
มันร้ายทั้ง2ตัวนั่นแหละค่ะ แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง
มันมีทางละได้ทั้งนั้นล่ะค่ะ ถ้าผู้นั้นคิดจะละ :b1: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2013, 14:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4:
เพราะไปพยายามต่อสู้กับความอยาก มันจึงยาก
ความอยากไม่ใช่ตัวเหตุที่แท้จริง เพราะเรายังสามารถค้นลึกลงไปอีกด้วยคำถามง่ายๆ ว่า "ใครอยาก"

เหตุอยู่ที่ ......."ใคร".........นั่นเอง

ถ้าเอา....."ใคร".......นี้ออกเสียได้ ความอยากก็ไม่รึ้จะไปเกิดกับอะไร

เอาใครออก ง่ายกว่าเอาชนะความอยากครับ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2013, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบื้องต้น เอาง่ายๆก่อน คือ แยกความคิดออกเป็นสองกลุ่ม เช่น ความคิดนึกความรู้สึกดีๆ (บุญ, กุศลจิต ) กับ ความคิดไม่ดี (บาป, อกุศลจิต, ความคิดทำสิ่งที่ผิดกฎเกณฑ์กติกาสังคม ผิดกฎหมาย) เมื่อแยกไ้ด้แล้วก็ละความคิดที่จะทำให้สังคมเพื่อนมนุษย์เืดือดร้อนวุ่นวายเสีย คือทำให้มันดับไป ส่วนความคิดนึกที่เป็นบุญเป็นกุศล คิดทำในสิ่งที่เป็นมงคลความคิดสร้างสรรตนและสังคมมนุษย์ ลงมือทำเลย กระตุ้นปลุกเร้าความคิดอย่างนี้ให้เจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้น

เท่ากับ ละชั่้ว-ทำดี (สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง กุสสูปสัมปะทา)


แรงจูงใจในการทำของมนุษย์ มี 2 อย่าง ได้แก่ แรงจูงใจในการทำที่เรียกว่าตํณหา กับ แรงจูงใจในการทำที่เรียกว่า ฉันทะ

ความอยาก ความปรารถนา หรือความต้องการ มี 2 อย่าง คือ

1. ความอยาก ความต้องการที่ไม่ดี เป็นอกุศล เรียก ตัณหา (อยากเสพ อยากได้ อยากเอา)
2. ความอยาก ความต้องการที่ดี เป็นกุศล เรียก ฉันทะ (อยากทำ คืออยากทำให้ดีงามสมบูรณ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2013, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความอยากที่จะให้มี ให้เกิด และความอยากที่จะให้ไม่มี ไม่เกิด อยากจะไม่มอง ไม่เห็นอะไรที่ไม่งามตา อยากจะมองอยากจะเห็นในสิ่งที่คิดว่างามตา เป็นความอยากที่ทำให้ดับลงยากจริงๆ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2013, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาตัณหาไปแปลความว่า......ความอยาก มันไม่ถูกต้องตามธรรม

ตัณหาไม่ใช่ความอยาก แต่ตัณหาเป็นเหตุให้เกิด....ความยินดีหรือยินร้าย

ถ้าเหตุแห่งตัณหาเป็นความยินร้าย......ตัณหาแห่งความยินร้าย จะเป็นเหตุให้จิต
มีอาการของความไม่อยาก เราเรียกอาการของจิตนั้นว่า ...โทสะ


ถ้าเหตุแห่งตัณหาเป็นความยินดี.....ตัณหาแห่งความยินดี จะเป็นเหตุให้จิต
มีอาการของความอยาก เราเรียกอาการของจิตนั้นว่า.....โลภะ


สรุปให้ฟังสั้นๆว่า......อย่าเอาคำที่ตัวไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้มาใช้
เพราะมันจะทำให้เกิดความสับสนต่อตัวเองและผู้อื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2013, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เบื้องต้น เอาง่ายๆก่อน คือ แยกความคิดออกเป็นสองกลุ่ม เช่น ความคิดนึกความรู้สึกดีๆ (บุญ, กุศลจิต ) กับ ความคิดไม่ดี (บาป, อกุศลจิต, ความคิดทำสิ่งที่ผิดกฎเกณฑ์กติกาสังคม ผิดกฎหมาย) เมื่อแยกไ้ด้แล้วก็ละความคิดที่จะทำให้สังคมเพื่อนมนุษย์เืดือดร้อนวุ่นวายเสีย คือทำให้มันดับไป ส่วนความคิดนึกที่เป็นบุญเป็นกุศล คิดทำในสิ่งที่เป็นมงคลความคิดสร้างสรรตนและสังคมมนุษย์ ลงมือทำเลย กระตุ้นปลุกเร้าความคิดอย่างนี้ให้เจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้น

เท่ากับ ละชั่้ว-ทำดี (สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง กุสสูปสัมปะทา)


กุศลหรืออกุศล ไม่ใช่ความดีความชั่ว
ความดีความชั่วเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเอง จะว่ากันตามตรงแล้วก็คือมันก็คือกิเลสนั้นเอง

กุศลและอกุศล เป็นธรรมที่เกิดตามเหตุปัจจัยของจิต เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันมีเหตุเป็นเช่นไร ย่อมต้องมีอาการของจิตเป็นเช่นนั้น

อยากให้พิจารณาระหว่างใจหรืออาการของจิต และความดีความชั่ว
มันเอามาเป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้เลย อย่างเช่น พ่อแม่เกิดโทสะเลยลงมือตีสั่งสอนลูก
แบบนี้เราจะเรียก พ่อแม่ทำชั่วได้หรือไม่ หรือเวลาทำบุญอย่างเช่น เห็นข่าวว่ามีคนจับสุนัข
ไปขาย ท่านเกิดอยากทำบุญช่วยสุนัขและท่านก็สาปแช่งคนจับสุนัขไปพร้อมกัน
นี้มันเรียกว่า จิตเป็นโทสะในขณะทำบุญ


เหตุนี้จึงอย่าเอา เรื่องความเป็นกุศลและอกุศลมาโยงเป็นเรื่อง
ความดีความชั่ว มันเป็นคนล่ะเรื่อง เข้าใจมั้ย


กรัชกาย เขียน:
แรงจูงใจในการทำของมนุษย์ มี 2 อย่าง ได้แก่ แรงจูงใจในการทำที่เรียกว่าตํณหา กับ แรงจูงใจในการทำที่เรียกว่า ฉันทะ


ตัณหาไม่ใช่แรงจูงใจ ตัณหาเป็นธรรมที่เป็นธรรมชาติ มันตั้งอยู่ของมัน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
สังขารก็เช่นกัน มันก็ตั้งอยู่ของมัน แต่มันเป็นไตรลักษณ์
เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎแห่ง...ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
ดังนั้นตัณหาจึงไม่ใช่แรงจูงใจ

ตัณหาไม่ได้ทำให้เกิดแรงจูงใจ แต่แรงจูงใจต่างหากที่ทำให้เกิดตัณหา
แรงจูงใจนั้นเกิดจาก สัญญาหรือความพอใจในอดีต เมื่อเกิดการกระทบขึ้นที่ทวาร
จิตย่อมต้องการสิ่งที่ตนพอใจ อันเป็นสัญญาความจำได้หมายรู้อดีต เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงเกิดตัณหาขึ้นที่จิต ถ้าการกระทบนั้นเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสัญญาในอดีต ก็คือความไม่พอใจ
จิตจะเกิดความยินร้าย ทำให้เกิดเป็นอาการของจิตที่เรียกว่า...โทสะ

แต่ถ้าการกระทบเป็นความพอใจอย่างเดียวกับสัญญาที่จิตหมายรู้ไว้ ตัณหาก็จะเป็นความยินดี
อาการของจิตจะเป็น......โลภะ


กรัชกาย เขียน:
ความอยาก ความปรารถนา หรือความต้องการ มี 2 อย่าง คือ

1. ความอยาก ความต้องการที่ไม่ดี เป็นอกุศล เรียก ตัณหา (อยากเสพ อยากได้ อยากเอา)
2. ความอยาก ความต้องการที่ดี เป็นกุศล เรียก ฉันทะ (อยากทำ คืออยากทำให้ดีงามสมบูรณ์)


จะความอยากหรือความปรารถนา ถ้าเป็นเรื่องของจิตแล้วมันเป็นอย่างเดียวตามสภาวะของปรมัตถ์ธรรม
การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่ศึกษาแปลความคำศัพท์
มิเช่นนั้น จะทำให้สภาวะธรรมซึ่งเป็นสภาวะเดียว แต่ถูกทำให้เป็นหลายสภาวะ
ทำให้ผิดจากความเป็นจริงของสภาวะนั้น

๑. ตัณหาไม่ใช่ ความอยากหรือความต้องการที่ไม่ดี ตัณหาเป็นธรรมชาติ
กุศลอกุศลก็เป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ความดี ความชั่ว

๒. ฉันทะ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยแรกเป็นเจตสิกอกุศล
ฉันทะก็เป็นเจตสิกอกุศล ถ้าปัจจัยแรกเป็นเจตสิกกุศล ฉันทะก็เป็นเจตสิกกุศล

สรุปให้ฟัง.....ความอยาก ฉันทะและตัณหา เป็นธรรมคนล่ะธรรมกัน
อย่าเอาผสมปนเปกัน ไม่งั้นมันจะเละยิ่งกว่าโจ๊กค้างคืน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2013, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามโฮฮับนะง่ายๆ

กุศลจิต กับ อกุศลจิต เหมือนหรือต่างกัน ถ้าเหมือนกันก็แล้วไป ถ้ากันต่าง่กันยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2013, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


๑. ตัณหาไม่ใช่ ความอยากหรือความต้องการที่ไม่ดี ตัณหาเป็นธรรมชาติ
กุศลอกุศลก็เป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ความดี ความชั่ว

๒. ฉันทะ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยแรกเป็นเจตสิกอกุศล
ฉันทะก็เป็นเจตสิกอกุศล ถ้าปัจจัยแรกเป็นเจตสิกกุศล ฉันทะก็เป็นเจตสิกกุศล

สรุปให้ฟัง.....ความอยาก ฉันทะและตัณหา เป็นธรรมคนล่ะธรรมกัน
อย่าเอาผสมปนเปกัน ไม่งั้นมันจะเละยิ่งกว่าโจ๊กค้างคืน :b32:


อ่านแล้วรู้สึกงงมักๆ
ที่พูดเนี่ย เอาหลักฐานมาจากไหนหรอเนี่ย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:


๑. ตัณหาไม่ใช่ ความอยากหรือความต้องการที่ไม่ดี ตัณหาเป็นธรรมชาติ
กุศลอกุศลก็เป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ความดี ความชั่ว

๒. ฉันทะ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยแรกเป็นเจตสิกอกุศล
ฉันทะก็เป็นเจตสิกอกุศล ถ้าปัจจัยแรกเป็นเจตสิกกุศล ฉันทะก็เป็นเจตสิกกุศล

สรุปให้ฟัง.....ความอยาก ฉันทะและตัณหา เป็นธรรมคนล่ะธรรมกัน
อย่าเอาผสมปนเปกัน ไม่งั้นมันจะเละยิ่งกว่าโจ๊กค้างคืน :b32:


อ่านแล้วรู้สึกงงมักๆ
ที่พูดเนี่ย เอาหลักฐานมาจากไหนหรอเนี่ย


หลักฐานมันอยู่ในปฏิจจสมุบาทและกระบวนการขันธ์ห้า(จิต เจตสิก)

ตัณหาเป็นธรรมในปฏิจจสมุบาท ส่วนความอยากเป็นสังขารขันธ์ เป็นสังขารหนึ่งในขันธ์ห้า

การพิจารณาเราต้องพิจารณาว่า....อะไรเป็นความอยากและผู้อยากเป็นอะไร
เพราะความอยากมันเกิดที่กายใจเรา
พูดให้ตรงก็คือ มันเป็นกระบวนการขันธ์ห้าหรือเป็นจิต เจตสิกของบุคคล

หลักการศึกษาพระธรรม จะต้องใช้ปัญญาลงไปพิจารณาธรรม
จึงจะตรงกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงชี้นำ ที่เรียกว่า......สุตตมยปัญญา
การเปิดตำราหรือการอ้างอิงพระไตรปิฎกโดยเห็นแต่เพียงว่า
มีบัญญัติหรือตัวอักษรที่คล้ายกัน แบบนี้มันใช้ไม่ได้ มันไม่ใช่การปฏิบัติตามแนวทาง
ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน


เมื่อเป็นดังนี้ จึงควรหมั่นปฏิบัติให้เกิดปัญญาเสียก่อน
ปัญญาที่ว่าก็คือ.......การได้เห็นสภาวะธรรมของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แบบนี้จึงจะเรียกว่า ได้เกิดปัญญาแล้ว


ขอเตือนอย่าได้แต่นั่งท่องตำราหรืออ่านพระไตรปิฎก มันเสียเวลาปล่า
เพราะพระไตรปิฎก จะต้องอาศัยปัญญาไปพิจารณา
ไม่ใช่สักแต่จะท่องหรืออ่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามโฮฮับนะง่ายๆ

กุศลจิต กับ อกุศลจิต เหมือนหรือต่างกัน ถ้าเหมือนกันก็แล้วไป ถ้ากันต่าง่กันยังไง


พูดถึงเรื่องนี้ จะต้องพูดในแง่ของสภาวธรรม
เชื่อได้ว่า อธิบายไปก็เหมือนสีซออูให้คนหูหนวกฟัง
แล้วคนหูหนวก ก็จะย้อนว่า....สีซอปะสาอะไรฟังไม่รู้เรื่อง :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถามโฮฮับนะง่ายๆ

กุศลจิต กับ อกุศลจิต เหมือนหรือต่างกัน ถ้าเหมือนกันก็แล้วไป ถ้ากันต่าง่กันยังไง


พูดถึงเรื่องนี้ จะต้องพูดในแง่ของสภาวธรรม
เชื่อได้ว่า อธิบายไปก็เหมือนสีซออูให้คนหูหนวกฟัง
แล้วคนหูหนวก ก็จะย้อนว่า....สีซอปะสาอะไรฟังไม่รู้เรื่อง :b17:



ไหนลองสีให้ฟังหน่อยดิ อยากฟัง สีซอๆๆ สีเป็นเป็นป่าวซอน่ะ :b9:

ตอบไม่ได้ก็แถไป :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:


๑. ตัณหาไม่ใช่ ความอยากหรือความต้องการที่ไม่ดี ตัณหาเป็นธรรมชาติ
กุศลอกุศลก็เป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ความดี ความชั่ว

๒. ฉันทะ เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยแรกเป็นเจตสิกอกุศล
ฉันทะก็เป็นเจตสิกอกุศล ถ้าปัจจัยแรกเป็นเจตสิกกุศล ฉันทะก็เป็นเจตสิกกุศล

สรุปให้ฟัง.....ความอยาก ฉันทะและตัณหา เป็นธรรมคนล่ะธรรมกัน
อย่าเอาผสมปนเปกัน ไม่งั้นมันจะเละยิ่งกว่าโจ๊กค้างคืน :b32:


อ่านแล้วรู้สึกงงมักๆ
ที่พูดเนี่ย เอาหลักฐานมาจากไหนหรอเนี่ย


หลักฐานมันอยู่ในปฏิจจสมุบาทและกระบวนการขันธ์ห้า(จิต เจตสิก)

ตัณหาเป็นธรรมในปฏิจจสมุบาท ส่วนความอยากเป็นสังขารขันธ์ เป็นสังขารหนึ่งในขันธ์ห้า

การพิจารณาเราต้องพิจารณาว่า....อะไรเป็นความอยากและผู้อยากเป็นอะไร
เพราะความอยากมันเกิดที่กายใจเรา
พูดให้ตรงก็คือ มันเป็นกระบวนการขันธ์ห้าหรือเป็นจิต เจตสิกของบุคคล

หลักการศึกษาพระธรรม จะต้องใช้ปัญญาลงไปพิจารณาธรรม
จึงจะตรงกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงชี้นำ ที่เรียกว่า......สุตตมยปัญญา
การเปิดตำราหรือการอ้างอิงพระไตรปิฎกโดยเห็นแต่เพียงว่า
มีบัญญัติหรือตัวอักษรที่คล้ายกัน แบบนี้มันใช้ไม่ได้ มันไม่ใช่การปฏิบัติตามแนวทาง
ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน


เมื่อเป็นดังนี้ จึงควรหมั่นปฏิบัติให้เกิดปัญญาเสียก่อน
ปัญญาที่ว่าก็คือ.......การได้เห็นสภาวะธรรมของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แบบนี้จึงจะเรียกว่า ได้เกิดปัญญาแล้ว


ขอเตือนอย่าได้แต่นั่งท่องตำราหรืออ่านพระไตรปิฎก มันเสียเวลาปล่า
เพราะพระไตรปิฎก จะต้องอาศัยปัญญาไปพิจารณา
ไม่ใช่สักแต่จะท่องหรืออ่าน


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก จะต้องอาศัยปัญญาไปพิจารณา


พระไตรปิฎก (ตะกร้าสามใบ) คือกระดาษที่ใช้บันทึกอักษรหรือคำสอน ที่แยกเป็นส่วนๆไป เป็นพระสูตร ส่วนหนึ่ง อภิธรรม ส่วนหนึ่ง วินัย ส่วนหนึ่ง ก็แค่นี้

ธรรมะอยู่ที่คน อยู่ในคน หรือคนนี่แหละธรรมะ ต้องพิจารณาที่นี่

ถามอีกหน่อย ตัณหาในปฏิจจสมุปบาท กับ ที่ในอริยสัจ 4 ข้อ 2 เหมือนกันหรือต่างกัน

เอาฉันทะบ้าง ฉันทะที่นิวรณ์ คือ กามฉันทะ กับ ฉันทะ ที่อิทธิบาท 4 ข้อ 1 เหมือนกันหรือต่างกัน เหมือนกันแล้วไป ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร อธิบาย :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พระไตรปิฎก (ตะกร้าสามใบ) คือกระดาษที่ใช้บันทึกอักษรหรือคำสอน ที่แยกเป็นส่วนๆไป เป็นพระสูตร ส่วนหนึ่ง อภิธรรม ส่วนหนึ่ง วินัย ส่วนหนึ่ง ก็แค่นี้ :


ถึงได้บอกให้เอาปัญญามาพิจารณาธรรม อย่าเอาความจำได้หมายรู้มาพูดธรรม
การไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญ หาเหตุผลก่อนที่จะตอบคำถาม
คำตอบก็จะเป็นอย่างที่กรัชกายกำลังตอบ นั้นก็คือตอบเหมือนกำปั่นทุบดิน
หาสาระในธรรมไม่ได้ ในหนังสือว่าอะไรก็ลอกเอามาตอบแบบส่งเดช

การกล่าวถึงพระไตรปิฎก จะต้องกล่าวถึงความหมายทางธรรม
และจะต้องกล่าวถึงที่มาของพระไตรปิฎก ไอ้ที่กรัชกายพูดมามันไม่ใช่
ความหมายของพระไตรปิฎก

ถ้าเป็นข้อสอบแบบอัตนัย กรัชกายได้ศูนย์ แถมถูกครูด่าด้วยว่า ไอ้นกแก้ว :b32:


กรัชกาย เขียน:
ธรรมะอยู่ที่คน อยู่ในคน หรือคนนี่แหละธรรมะ ต้องพิจารณาที่นี่


ธรรมะบ้าบอที่ไหนบอก คนคือธรรมะ ธรรมะแท้ๆมีแต่สัตว์โลก
และการพิจารณาธรรม ต้องพิจารณาที่กายใจของตนเอง
ไม่ใช่ไปพิจารณาคน หรือกายในผู้อื่น.....เข้าใจมั้ย
กรัชกาย เขียน:

ถามอีกหน่อย ตัณหาในปฏิจจสมุปบาท กับ ที่ในอริยสัจ 4 ข้อ 2 เหมือนกันหรือต่างกัน


ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน จะต้องอยู่ในหลักแห่งอริยสัจจ์
นั้นหมายความว่า อริยสัจจ์สี่เป็นหลักแห่งธรรมทั้งมวล ธรรมทุกบัญญัติต้องอยู่
ในกรอบของอริยสัจจ์สี่

ตัณหาในปฏิจจ์สมุบาท ถ้ากล่าวในหลักแห่งอริยสัจจ์สี่
ตัณหาในปฏิจจ์เป็น......ทุกข์ ในอริยสัจจ์สี่


ส่วนที่กรัชกายถามว่า เหมือนหรือแตกต่างกับอริยสัจจ์สี่ ข้อ๒อย่างไร
กรัชกายถามทั้งๆไม่มีความเข้าใจแต่ต้น ไม่เป็นไรจะอธิบายให้ฟัง......

อริยสัจจ์สี่ในข้อ๒ นั้นก็คือสมุทัย เมื่อตัณหาในปฏิจจ์เป็นทุกข์แล้ว
ย่อมต้องไม่ใช่สมุทัย

กล่าวโดยรวม ปฏิจจ์สมุบาทคือ............ทุกข์
สังขารที่เป็นขันธ์ห้าก็คือ.........สมุทัยเหตุแห่งทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2013, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาฉันทะบ้าง ฉันทะที่นิวรณ์ คือ กามฉันทะ กับ ฉันทะ ที่อิทธิบาท 4 ข้อ 1 เหมือนกันหรือต่างกัน เหมือนกันแล้วไป ถ้าต่างกัน ต่างกันอย่างไร อธิบาย :b10:


ฉันทะก็คือฉันทะ มันเป็นอาการของจิต เป็นหนึ่งในเจตสิก๕๒

ถ้าเป็นฉันทะสภาวะโดดๆมันจะไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างมันเป็นเพราะมีเหตุหรือเป็นเหตุปัจจัย
ที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น กามฉันทะ ...ก็คือ มีกามคุณห้าเป็นเหตุให้เกิดฉันทะ

ส่วนอิทธิบาทสี่ หมายถึง.....สภาพธรรมอันเป็นกุศล(งาน) เป็นเหตุให้เกิดฉันทะ

สังเกตุ มันมีธรรมตัวอื่นเป็นเหตุปัจจัย มันต่างกันที่เหตุปัจจัย ไม่ใช่ต่างกันที่ฉันทะ

สิ่งที่เกิดขึ้นภายในกายใจ มันเป็นสภาวะที่เรียกว่าสังขาร มันเกิดดับ

กามฉันทะ .......กามฉันทะไม่ได้เกิดพร้อมกัน มันมีธรรมตัวหนึ่งเกิดและดับไป
แล้วจึงเกิดธรรมอีกตัวขึ้น

ฉันทะในอิทธิบาทสี่ก็เช่นกัน เกิดการจำได้หมายรู้ในสภาพธรรมและดับไป
จึงเกิดสภาวะธรรมตัวใหม่ขึ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร