วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2013, 18:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครตอบได้บ้าง สาธุ ให้หายสงสัย

"อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2013, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
มีใครตอบได้บ้าง สาธุ ให้หายสงสัย

"อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย"


ไม่ไ้ด้มาตอบปัญหานะครับ แต่อยากถามว่า จขกท. พอเข้าใจความหมายศัพท์เหล่านั้นไหมครับ อกิริยา แปลว่าอะไร

ส่วนตัวกรัชกายเอง อกิริยา แปลว่า ไม่กระทำ อ+กิริยา = อกิริยา ไม่ทำ ไม่กระทำ

มีคำถามต่ออีกว่า (อกิริยา) > เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม

ฐีิติจิต แปลว่า จิตที่ตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นของจิต (ฐีติจิต)

ฐีติธรรม สิ่งที่ตั้งมั่น ธรรมที่ตั้งมั่น (ฐีิติธรรม)


อ้างคำพูด:
ทำไม ฐีติจิต ฐีติธรรม ไม่รู้จักตาย ในนิพพาน


ตรงนี้ควรทำความเข้าใจคำวา่ นิพพาน

ตามที่ว่า "ฐีติจิต ฐีติธรรม ไม่รู้จักตาย ในนิพพาน" เหมือนเข้าใจว่า นิพพานเป็นเมืองใดเมืองหนึ่ง สถานที่ใดทีหนึ่ง ใครไปถึงที่นั่นแล้วไม่ตาย

ถ้าเข้าใจนิพพพานว่าเป็นเมือง เป็นสถานที่ ก็เป็นนิพพานแนวมหายาน

ถ้านิพพานของเถรวาทเดิม แปลว่า ดับกิเลสตัณหาอุปาทาน เมื่อดับกิเลส เป็นต้น แล้ว จิตใจก็เย็นสบายมีความสุข (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) ก็ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ในปัจจุบันนี่เอง ในความหมายปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร (อวิชชาดับ ฯลฯ ชาติ ชรามรณะ ดับ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ (ทุกข์ดับ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
มีใครตอบได้บ้าง สาธุ ให้หายสงสัย

"อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย"

Deecup
ต้องยกมาทั้ง หมดว่า
อาจารย์ท่านใดกล่าว
กล่าวในบริบทใด....

ด้วยเหตุว่า
ต้องทราบ เนื้อหาของบท ที่ท่านอาจารย์นั้นกล่าว

แต่ถ้าปรากฏในพุทธวจนะแล้ว
อกิริยา มีการแสดงในรูปของ ความเห็นของพวกนิครนถ์ก็มี
หรือ อกิริยาที่พระพุทธองค์แสดงว่า เป็นการไม่กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์ ก็มี

และเท่าที่ทราบมา
อกิริยา ในลักษณะของ ฐิติจิต ฐิติธรรม ในคำสอนของหลวงปู่มั่นก็มี

อกิริยา ซึ่ง Deecup ยกมา ยกมาจากไหน?????

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 17:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
deecup เขียน:
มีใครตอบได้บ้าง สาธุ ให้หายสงสัย

"อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย"

Deecup
ต้องยกมาทั้ง หมดว่า
อาจารย์ท่านใดกล่าว
กล่าวในบริบทใด....

ด้วยเหตุว่า
ต้องทราบ เนื้อหาของบท ที่ท่านอาจารย์นั้นกล่าว

แต่ถ้าปรากฏในพุทธวจนะแล้ว
อกิริยา มีการแสดงในรูปของ ความเห็นของพวกนิครนถ์ก็มี
หรือ อกิริยาที่พระพุทธองค์แสดงว่า เป็นการไม่กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์ ก็มี

และเท่าที่ทราบมา
อกิริยา ในลักษณะของ ฐิติจิต ฐิติธรรม ในคำสอนของหลวงปู่มั่นก็มี

อกิริยา ซึ่ง Deecup ยกมา ยกมาจากไหน?????

http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005191.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2014, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Deecup
"อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย"
ในความเห็นความรู้ส่วนตัวของหลวงปู่มั่น
คือ
ท่านใช้ อกิริยา ว่าเป็น ไวพจน์เดียว กับ "อกิจ"
คือจบกิจพรหมจรรย์
เมื่อจบกิจพรหรมจรรย์
จิตก็ไม่ต้องทำกิจอื่นใด ตั้งอยู่ในนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ เข้าถึงอมตะธาตุ
จิตไม่ต้องทำกิจอื่นใด คืออกิริยาในความหมายของ หลวงปู่มั่น

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2014, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยแท้แล้วความหมายของ........อกิริยา มีเป็นสองนัย
นัยหนึ่งเป็นสมมติบัญญัติและอีกนัยเป็นปรมัตถบัญญัติ

ถ้าเอาอกิริยามาใช้กับสมมติ อกิริยาจะมีความหมายว่า....ไม่สมควรกระทำ
ตัวอย่างเช่น....อกิริยาวาทะ หมายความว่า คำพูดที่ไม่ควรกล่าว ฯลฯ

ประเด็นที่ทำให้สับสน มันอยู่ตรงอกิริยาในสภาวปรมัตถ์
อกิริยาในสภาวปรมัตถ์ มันมีด้วยหรือ


ในความหมายของ กิริยาจิต นั้นก็คือการขึ้นวิถีของจิต
ถ้าจิตไม่ขึ้นวิถีท่านเรียกว่า.....ภวังคจิต

การขึ้นวิถีจิตของบุคคล ยังแบ่งเป็น จิตพระอรหันต์(นิพพาน)และจิตของเสขะกับปุถุชน
ความแตกต่างกันก็คือ.......พระอรหันต์ท่านมีวิถีจิตที่ปราศจาก...เจตนา
วิถีจิตของท่านจึงเป็นเพียง.....กิริยาจิต

เสขะและปุถุชน วิถีจิตยังประกอบด้วยเจตนา ท่านเรียกวิถีจิตนี้ว่า.........กรรม

ความเห็นนี้ไม่ได้ลบลู่ครูบาอาจารย์ จึงพูดส่งเดชไปเท่านั้น
เพียงแต่วิจารย์ตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยที่ว่าก็คือ....
ผู้ที่เอาคำสอนของครูบาอาจารย์มาโพสและผู้ที่มาแสดงความเห็นในคำสอนนั้น
:b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: รสมน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร