วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ย. 2024, 13:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2014, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ต้องเริ่มด้วยพระสูตรนี้
๕. ชีวกสูตร
เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เขตพระนคร
ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระ
สมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดม
ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าว
ตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยัน
ธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรม จะไม่ถึงข้อติเตียนละหรือ?
เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง
[๕๗] พ. ดูกรชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้
ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูกรชีวก
เรากล่าวเนื้อว่า ไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน
เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ นี้แล
ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น
เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูกรชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค
ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.
การแผ่เมตตา
[๕๘] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจ
ประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปใน
ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉัน
ในวันรุ่งขึ้น ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้น
นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริ
ว่า ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มี
แก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอัน
ประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น
มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า
ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียน
ทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมี
ปกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาคเป็นองค์พยาน
ปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา.
ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ
โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิด
ต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้
เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นต้นนี้.
การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา
[๕๙] ดูกรชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจ
ประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขา
อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน คฤหบดีหรือ
บุตรคฤหบดีเข้าไปหาเธอ แล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ดูกรชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่
ย่อมรับนิมนต์ พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.
คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า ดีหนอ
คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้
ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตนี้
แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ
มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูกรชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า ในสมัยนั้น
ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ?
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูกรชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ?
อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหม
มีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาคเป็นองค์พยาน
ปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา.
ดูกรชีวก บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระทบกระทั่งเพราะราคะ
โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ
โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้.
ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ
[๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป
มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์
ชื่อโน้นมา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้ สัตว์นั้น
เมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย
เหตุประการที่ ๒ นี้ ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้ สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า
ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้ ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวก
ตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ
ประการที่ ๕ นี้ ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป
มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันไม่มีโทษหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป
ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ดังนี้แล.
จบ ชีวกสูตร ที่ ๕.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขยายความเพิ่มตรง "เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ" ก็เข้าใจว่าหมายถึงเนื้อที่กินนั้นพระต้องไม่ไปเห็น ไม่ไปได้ยินว่ามันถูกฆ่ามาถวายพระ คล้ายๆว่าพระต้องไม่มีส่วนรับรู้กับการฆ่านั้นเลย ถ้าพระบังเอิญผ่านไปเห็นหรือได้ยินเข้าว่ามีการฆ่าเพื่อเอามาถวาย พระก็ฉันเนื้อนั้นไม่ได้แล้ว ส่วนไม่ได้รังเกียจก็เข้าใจว่า ถ้าจิตคิดถึงการฆ่าให้ได้มาซึ่งเนื้อนั้นๆ ก็ฉันไม่ได้อีกเหมือนกัน
อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าก็ขยายความเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ ดังย่อหน้าต่อๆมาว่า ฉันแบบนี้ นั้นไม่บาป
สำคัญๆก็คือ พระรูปนั้นมีใจประกอบด้วยใจทีมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน และ ไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่

ก็ถามฆราวาสอย่างเราๆ เวลาที่พวกเรากินกัน ประกอบด้วยพวกนี้หรือ? เวลากินก็สั่งเลย เช่น ไก่ย่างตัว (แล้วไม่ฆ่าไก่แล้วมันจะมาให้ย่างอย่างไร?) พระเขาไม่ได้สั่งนะ เวลาบิณฆบาตท่านไม่ได้สั่งนะ (จุดนี้สำคัญ) เวลาพวกเรากินกันก็เต็มไปด้วยความเอร็ดอร่อยในรสชาติ อย่างี้ก็เต็มไปด้วยความกำหนัด แล้วก็สั่งเพิ่มอีก ปลาทอดอีกตัว อร่อยจัง งั้นเอา คอหมูย่าง... มากันเต็มโต๊ะ กินกันอย่างคึกคะนองหรรษา

เวลาจะกินพระท่านบิณฑบาตไม่ได้สั่งเอาเนื้อโน่นเนื้อนี่ แต่ฆราวาสอย่างเราๆนั้น มีปรกติสั่งเช่น ข้าวผัดหมู ข้าวผัดปู เราสั่งเอาหมู เอาเนื้อ แล้วเขาไม่ฆ่ามาให้ แล้วมันจะถูกเสกขึ้นมาได้เองเหรอ? วันต่อๆมาร้านก็ต้องเตรียมไว้เลยด้วย เพราะก็มีลุกค้ามาสั่งแบบนี้ทุกๆวัน เราก็เป็นหนึ่งในลูกค้านั้น ซี้อเสร็จก็ให้ตังพ่อค้าแม่ค้าแสดงถึงความพอใจที่เขาหามาให้
ดังนั้นเราจึงมีส่วนต่อบาปกรรมนี้กันทั้งนั้น แต่อย่างที่บอก บาปมันคงไม่เท่ากับการไปฆ่ามันเอง หรือ สั่งคนอื่นไปฆ่า
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำเป็นประจำ บาปกรรมก็สะสมให้มากขึ้นๆๆๆ

ก็ลองพิจารณากันเยอะๆครับ สำหรับท่านที่คิดว่ากินเนื้อสัตว์ไม่บาป กินกันแบบนี้มันจะไม่บาปเลยสักนิดดด..จริงๆเหรอ?

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2014, 11:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
ถ้าเว้นเนื้อ 3 อย่างดังที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว ที่เหลือจากนั้นถ้าคิดมาก ก็บาป ถ้าไม่คิดมากก็ไม่บาปครับ
:b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2014, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังคิดว่าที่ผ่านมาอาจจะมองผ่านบางจุดที่สำคัญกันไปนั่นคือพระสูตรนี้ท่านสอนพระ และพระท่านใช้การบิณฑบาต พระไม่สั่งอย่างฆราวาส ฆราวาสเราสั่งเอาเนื้อนั่นเนื้อนี่เป็นปรกติ เช่น ข้าวผัดหมู ปลาทอดราดพริก ฯลฯ ในเมื่อสั่งเอาเนื้อนั่นเนื้อนี่กันแบบนี้ แล้วจะว่าไม่มีส่วนในการฆ่าสัตว์ได้อย่างไร พวกท่านมีส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นก็ต้องรับผลกรรมของการมีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์นั้นๆด้วย
ส่วนจะมากจะน้อยแล้วแต่ เช่น อาจไม่ต้องเกิดชดใช้กรรมเป็นหมูเป็นควายเป็ดไก่หลายๆชาติอย่างคนที่ลงมือฆ่าจริงๆหรือสั่ง/จ้างเขาฆ่า แต่อาจเป็นคนขี้โรค อาจต้องเป็นมะเร็ง(ที่กำลังฮิตอยู่ในปัจจุบันนี้) อะไรอย่างนั้น ก็เป็นได้!?
ยังแน่ใจกันอยู่จริงๆหรือว่า สักนิดก็ไม่บาป พฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์แบบเนี๊ย!?

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2014, 19:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
คุณ WAKEUP อาจคิดมากเกินไป จนอาจทำให้ศีลกลายเป็นพรต

พระพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องนี้ไว้ชัดเจนแล้วว่า

เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ

มีเจตนา จึงจะเป็นกรรม

ท่านตรัสว่า มีขั้นตอนของกรรมเป็นลำดับไว้ ถ้าครบองค์กรรมนั้นจึงจะสำเร็จผลคือ

1.เห็นสัตว์นั้นมีชีวิต

2.จิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น

3.ลงมือฆ่าสัตว์นั้น

4.สัตว์นั้นตายเพราะการฆ่านั้น

ถ้าครบองค์อย่างนี้ต้องรับผลคือวิบากกรรมเต็มๆ ถือเป็นจำเลยที่ 1

การไปสั่งข้าวผัดหมู ต้มยำกุ้งในร้านอาหารถ้าไม่ใช้ปัญญาก็อาจตกเป็นจำเลยที่ 1 ถ้ามีปัญญา ก็อาจเป็นแค่จำเลยที่ 3 ท่ี่ 4 หรือไม่ต้องคดี

อย่าคิดมาก ถ้าจะคิดมากให้คิดถึงท่านอหิงสกะ องคุลีมาลเข้าไว้
จะได้ไม่ถูกนิวรณ์เรื่องศีลข้อที่ 1 มากั้น มรรค ผล นิพพาน นะครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2014, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศก ตัวเองพูดสะเปะสะปะเรื่องศีล มั่วไปเรื่อยจนไม่รู้ว่าพูดยังไงไว้ที่ไหนบ้าง ระวังจะไปขัดแย้งกับหัวข้อศีล ที่ตนเองพูดไว้ที่หัวข้อนี่นะขอรับ :b13: viewtopic.php?f=1&t=47661

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณasoka อย่างที่คุณบอกว่า "ก็อาจเป็นแค่จำเลยที่ 3 ท่ี่ 4"
ก็นั่นแหล่ะครับ คือมีส่วนในการทำบาป ใช่ไหมหล่ะ?
เพราะผมก็บอกว่า "บาปมันคงไม่เท่ากับการไปฆ่ามันเอง หรือ สั่งคนอื่นไปฆ่า" เพราะคนสั่งเอาเนื้อเพื่อกิน ไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่คุณมีส่วน
ดังนั้นก็ต้องรับผลของกรรมนั้น
ผมไม่ได้ว่ามันผิดศิลข้อ1 นะครับ
ผิดศิล กับ การทำบาป มันอาจจะเหมือนคล้ายๆกัน แต่ทั้งสองเรื่องมันแยกกันนะครับ

บาปหมายถึงสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่ควรกระทำ ไม่ว่าด้วยทาง กาย วาจา หรือใจ เพราะเป็นสิ่งที่พึงจะนำทุกข์ มาแก่ตนและผู้อื่น

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 20:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อโศก ตัวเองพูดสะเปะสะปะเรื่องศีล มั่วไปเรื่อยจนไม่รู้ว่าพูดยังไงไว้ที่ไหนบ้าง ระวังจะไปขัดแย้งกับหัวข้อศีล ที่ตนเองพูดไว้ที่หัวข้อนี่นะขอรับ :b13: viewtopic.php?f=1&t=47661

:b12:
ตีรวนไปทั่วเลยนะกรัชกาย พิจารณาให้ดีๆก่อนพูด เคยไปลดค่าของอานาปานสติสูตร 16 ขั้นตอนมาแล้ว แล้วยังจะไปเที่ยวลดค่าคำสอนดีๆของท่านผู้อื่นไปทั่วด้วยความสำคัญตัวผิด ต้องระวังให้มากๆนะ

ไม่ต้องระวังอะไรมากมายจนเกรงไปหมดในเรื่องศีลจนกลายเป็นพรตไป ชีวิตจะห่างไกลธรรมชาติ

หลักการรักษาศีลคือไม่ตึงไปเป็นพรต หรือย่อนไปจนเป็นปรามาส

การรักษาศีลต้องประกอบด้วยปัญญาจึงจะได้ความพอดี เป็นกลางและเป็นปกติ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อโศก ตัวเองพูดสะเปะสะปะเรื่องศีล มั่วไปเรื่อยจนไม่รู้ว่าพูดยังไงไว้ที่ไหนบ้าง ระวังจะไปขัดแย้งกับหัวข้อศีล ที่ตนเองพูดไว้ที่หัวข้อนี่นะขอรับ :b13: viewtopic.php?f=1&t=47661

:b12:
ตีรวนไปทั่วเลยนะกรัชกาย พิจารณาให้ดีๆก่อนพูด เคยไปลดค่าของอานาปานสติสูตร 16 ขั้นตอนมาแล้ว แล้วยังจะไปเที่ยวลดค่าคำสอนดีๆของท่านผู้อื่นไปทั่วด้วยความสำคัญตัวผิด ต้องระวังให้มากๆนะ

ไม่ต้องระวังอะไรมากมายจนเกรงไปหมดในเรื่องศีลจนกลายเป็นพรตไป ชีวิตจะห่างไกลธรรมชาติ

หลักการรักษาศีลคือไม่ตึงไปเป็นพรต หรือย่อนไปจนเป็นปรามาส

การรักษาศีลต้องประกอบด้วยปัญญาจึงจะได้ความพอดี เป็นกลางและเป็นปกติ
:b8:



เอาอีกพูดโดยไม่รู้อีกแระ พรต ได้แก่อะไรอโศก แล้วต่างจากศีลยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 00:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


wakeup เขียน:
กำลังคิดว่าที่ผ่านมาอาจจะมองผ่านบางจุดที่สำคัญกันไปนั่นคือพระสูตรนี้ท่านสอนพระ และพระท่านใช้การบิณฑบาต พระไม่สั่งอย่างฆราวาส ฆราวาสเราสั่งเอาเนื้อนั่นเนื้อนี่เป็นปรกติ เช่น ข้าวผัดหมู ปลาทอดราดพริก ฯลฯ ในเมื่อสั่งเอาเนื้อนั่นเนื้อนี่กันแบบนี้ แล้วจะว่าไม่มีส่วนในการฆ่าสัตว์ได้อย่างไร พวกท่านมีส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นก็ต้องรับผลกรรมของการมีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์นั้นๆด้วย
ส่วนจะมากจะน้อยแล้วแต่ เช่น อาจไม่ต้องเกิดชดใช้กรรมเป็นหมูเป็นควายเป็ดไก่หลายๆชาติอย่างคนที่ลงมือฆ่าจริงๆหรือสั่ง/จ้างเขาฆ่า แต่อาจเป็นคนขี้โรค อาจต้องเป็นมะเร็ง(ที่กำลังฮิตอยู่ในปัจจุบันนี้) อะไรอย่างนั้น ก็เป็นได้!?
ยังแน่ใจกันอยู่จริงๆหรือว่า สักนิดก็ไม่บาป พฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์แบบเนี๊ย!?


เราไปซื้อเนื้อที่ขายในตลาดสด...เพื่อมาปรุงอาหารทาน....
ในทางโลก..ทางการตลาด....ผู้ซื้อมีส่วนในการตายของสัตว์...เพราะเป้นอุปสงค์อุปทานในทางการตลาด
ในทางศีล5 ไม่ผิดศีลข้อปานาติบาต....เพราะไม่ได้สั่งว่าจะเอาตัวนั้นตัวนี้...
ในเรื่องบาปบุญ...ก็ไม่เป็นบุญ..ไม่เป้นบาป....
ในเรื่อง..กุศลหรืออกุศล....ก็ต้องดูว่า..บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า

ส่วน..ทานแล้วเกิดโรค....ก็ไม่ใช่เครื่องบงชี้ว่า...เป็นเพราะบาปกรรมที่เกิดจากการทานเนื้อนั้น....อาจเป็นบาปกรรมจากอันอื่น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดเป็นสัตว์กินพืช กับเกิดเป็นมนุษย์ อย่างไหนดีกว่ากันหน้ออ :b6: :b6: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เกิดเป็นสัตว์กินพืช กับเกิดเป็นมนุษย์ อย่างไหนดีกว่ากันหน้ออ :b6: :b6: :b10:

เกิดเป็นมหาสัตว์ดีกว่าค่ะ เพราะมีปัญญาคิดใคร่ครวญได้ด้วยตนเอง ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี ไม่จำเป็นต้องถามใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 15:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อโศก ตัวเองพูดสะเปะสะปะเรื่องศีล มั่วไปเรื่อยจนไม่รู้ว่าพูดยังไงไว้ที่ไหนบ้าง ระวังจะไปขัดแย้งกับหัวข้อศีล ที่ตนเองพูดไว้ที่หัวข้อนี่นะขอรับ :b13: viewtopic.php?f=1&t=47661

:b12:
ตีรวนไปทั่วเลยนะกรัชกาย พิจารณาให้ดีๆก่อนพูด เคยไปลดค่าของอานาปานสติสูตร 16 ขั้นตอนมาแล้ว แล้วยังจะไปเที่ยวลดค่าคำสอนดีๆของท่านผู้อื่นไปทั่วด้วยความสำคัญตัวผิด ต้องระวังให้มากๆนะ

ไม่ต้องระวังอะไรมากมายจนเกรงไปหมดในเรื่องศีลจนกลายเป็นพรตไป ชีวิตจะห่างไกลธรรมชาติ

หลักการรักษาศีลคือไม่ตึงไปเป็นพรต หรือย่อนไปจนเป็นปรามาส

การรักษาศีลต้องประกอบด้วยปัญญาจึงจะได้ความพอดี เป็นกลางและเป็นปกติ
:b8:



เอาอีกพูดโดยไม่รู้อีกแระ พรต ได้แก่อะไรอโศก แล้วต่างจากศีลยังไง :b1:

:b12:
พรต .........เคร่งจัด ผิดสัจจะไม่ได้ ผูกมัดตนไว้ ตัวอย่างเช่นคนอธิษฐานกินเจตลอดชีวิต

พวกอเจลกะ อธิษฐานยืนขาเดียว พวกชีเปลือย อธิษฐานกินข้าวในกะลา ไม่นุ่งเสื้อผ้า

พระเผลอเด็ดใบไม้ตายไปเกิดเป็นสัตว์ นักการเมืองอธิษฐานอาบน้ำขันเดียว ฯลฯ

:b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ไม่ต้องระวังอะไรมากมาย จนเกรงไปหมดในเรื่องศีลจนกลายเป็นพรตไป ชีวิตจะห่างไกลธรรมชาติ

หลักการรักษาศีลคือไม่ตึงไปเป็นพรต หรือย่อนไปจนเป็นปรามาส


การรักษาศีลต้องประกอบด้วยปัญญาจึงจะได้ความพอดี เป็นกลางและเป็นปกติ
:b8:


อโสกะ...นี้ชอบสร้างคำธรรมะเองตามอารมณ์จริงๆเลยนะครับ....เล่นเอาคนอ่านเกือบเคลิมตาม...นี้ถ้าคนไม่รู้..แล้วเข้าใจตามอโสกะว่ามานี้จริงๆ....แล้วเอาไปบอกต่อๆกันไป.....ทำให้ผู้ฟังทีหลังปักใจเชื่ออย่างนี้จริงๆ...เข้าข่ายความผิดฐานสัทธรรมปฏิรูป.....หรือแม้ไม่มีคนเชื่อตาม...ก็เข้าข่ายกล่าวตู่พระธรรมได้เลยนะครับ

สัทธรรมปฏิรูป...สอนบิดเบือนไปจากพระสัทธรรม
การกล่าวตู่....คือ...กล่าว่าพระธรรม.ไม่ใช่พระธรรม....ไม่ใช่พระธรรมกล่าวว่าเป็นพระธรรม..ฯลฯ..

สีลัพพตปรามาส 
(บาลี
: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท
 หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น

พรต....คือการปฏิบัติ
ปรามาส...หากเป็นคำกิริยา...คือการดูถูก....หากเป็นคำนาม..คือการลูบคลำ..ไม่เข้าถึงแก่นแท้(ในทางพุทธ..ก็คือไม่เข้าถึงการละกิเลสได้...นั้นเอง)

ไม่มีตรงไหน..บอกว่า...พรตคือเคร่งเกิน..ปรามาสคือหย่อนเกิน...อย่างอารมณ์ของอโสกะพาไปเลย...นะ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 29 เม.ย. 2014, 23:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เราไปซื้อเนื้อที่ขายในตลาดสด...เพื่อมาปรุงอาหารทาน....
ในทางโลก..ทางการตลาด....ผู้ซื้อมีส่วนในการตายของสัตว์...เพราะเป้นอุปสงค์อุปทานในทางการตลาด
ในทางศีล5 ไม่ผิดศีลข้อปานาติบาต....เพราะไม่ได้สั่งว่าจะเอาตัวนั้นตัวนี้...
ในเรื่องบาปบุญ...ก็ไม่เป็นบุญ..ไม่เป้นบาป....
ในเรื่อง..กุศลหรืออกุศล....ก็ต้องดูว่า.. บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า

ส่วน..ทานแล้วเกิดโรค....ก็ไม่ใช่เครื่องบงชี้ว่า...เป็นเพราะบาปกรรมที่เกิดจากการทานเนื้อนั้น....อาจเป็นบาปกรรมจากอันอื่น...

ก็ยังดีที่คุณกบนอกกะลา มีส่วนสนับสนุนว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นเป็นบาป เพราะที่ว่า "บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า"
ก็ปุถุชน(คนที่มีกิเลสหนา)โดยทั่วไปเขาก็กินด้วยความอยากกันทั้งนั้น เขาก็ต้องสั่งตามความอยาก ไม่อยากแล้วจะสั่งที่สั่งทำไมหล่ะเนอะ และปุถุชนโดยทั่วไปเขาก็ไม่พิจารณาอะไรแบบนั้นหรอกครับ ก็หมดอร่อยหมดซิ
หลายท่านเข้าใจผิดกันเยอะกันมานานมากเป็น 100 เป็น 1000 ปีแล้วมั๊งเนี๊ย!
ที่คิดว่า กินเนื้อสัตว์ไม่บาป
แค่บอกว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ก็สวาปามกันไม่อันยะอันยังกันเลย
เพราะเล่นหยิบยกมาเฉพาะบางจุดของพระสูตรนี้ ชีวกสูตร

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 23:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บาป....กับ...อกุศล...
บุญ...กับ..กุศล.

...นี้...อันเดียวกันมั้ยครับคุณwakeup...เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร