วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2014, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งนั้นแล พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่ง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระองค์ย่อมตรัสว่า ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะ

พึงเห็นเอง ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

ธรรมจึงเป็นคุณชาติ อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ดูกร พราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด

ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่น

ทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว

ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียน

คนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่

เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต
ดูกร พราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมพระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริต

ด้วยใจ เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่

ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว

แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัด

ตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อ

ละราคะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็รู้ชัดตามความเป็นจริง

แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัด

ตามความเป็นจริง

ดูกร พราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้

ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา

อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
ดูกร พราหมณ์ บุคคลที่โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความโกรธ

กลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

ที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียน

ตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียน

ตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต ...ฯลฯ...
ดูกร พราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อ

เบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทาง

จิตบ้าง เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย

ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและ

คนอื่นทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต
ดูกร พราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว

ย่อมพระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมพระพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริต

ด้วยใจ เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่พระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่

ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว

แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัด

ตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อ

ละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์

ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัดตามความเป็นจริง
ดูกรพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้

บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน

พึงรู้เฉพาะตน.
พราหมณ์ปริพาชก นั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะ

ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า

คนมีจักษุ จักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มี

พระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์

ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ ได้ความรู้มาพิจารณา "ทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นทางจิต"
ขอบคุณครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คือผมเข้าใจอย่างนี้ว่า

ทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นทางจิต เป็นทุกข์ที่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจ แต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นทางรูปขันธ์เป็นทุกข์อริยสัจแต่

ความไม่เที่ยงของนามขันธ์ (จิตและเจตสิก) เป็นทุกข์อริยสัจ

เช่น บางทีจิตมาอยู่ที่มือบ้าง บางทีจิตมาอยู่ที่อาการบ้าง เป็นทุกข์อริยสัจ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
คือผมเข้าใจอย่างนี้ว่า

ทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นทางจิต เป็นทุกข์ที่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจ แต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นทางรูปขันธ์เป็นทุกข์อริยสัจแต่

ความไม่เที่ยงของนามขันธ์ (จิตและเจตสิก) เป็นทุกข์อริยสัจ

เช่น บางทีจิตมาอยู่ที่มือบ้าง บางทีจิตมาอยู่ที่อาการบ้าง เป็นทุกข์อริยสัจ





ทุกขอริยสัจ



ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์,
ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็น ทุกข์ ;

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ (ขันธ์ห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) เป็นตัวทุกข์ ;

นี้ เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์.
- ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.




ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์,
แม้โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ :

กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.




ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,
ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์,

กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.






ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การบังเกิด
การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย
การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย ในจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความเกิด.





ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความแก่.





ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ
การแตกแห่งขันธ์ การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ,

นี้เราเรียกว่าความตาย.





ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด
ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันความทุกข์ ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว ;

นี้ เรียกว่า ความโศก.
- มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความโศก การโศก ภาวะแห่งการโศก ความโศกในภายใน
ความโศกทั่วในภายใน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว,

นี้เราเรียกว่าความโศก.




ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน
ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญ ภาวะแห่งผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคลผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว.

นี้เราเรียกว่าความร่ำไรรำพัน.





ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางกาย
การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดี อันเกิดแต่ความกระทบทางกายใดๆ,

นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย.





ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางใจ ความทนได้ยาก
ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ ;

นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ.
- มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.






ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ
ภาวะแห่งผู้คับแค้นใจ ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย ความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคลผู้อันทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบแล้ว,

นี้เราเรียกว่าความคับแค้นใจ.






ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น
อันเป็นที่ไม่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์
ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา.

การที่ไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความปะปนกันกับด้วยอารมณ์
หรือบุคคลเหล่านั้น,

นี้เราเรียกว่า ความระคน ด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.






ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็ นที่รักเป็ นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น
อันเป็นที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ ของผู้ใด

หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก
หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาคือมารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม,

การที่ไม่ได้ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับด้วยอารมณ์
หรือบุคคลเหล่านั้น,

นี้เราเรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.






ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

“โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,”

ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

“โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,”

ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา….
มีความตายเป็นธรรมดา…. มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา….

…. ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็ นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

นี้คือ ขันธ์เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือได้แก่ รูป,
ขันธ์เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือได้แก่ เวทนา,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ สัญญา,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ สังขาร,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือได้แก่ วิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุ เป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จัก ความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,

ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่
เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก
ความรํ่าไรรํ่าพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข ;

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่,
ที่คลายช้า มีอยู่, และที่คลายเร็ว มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์
รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ;

หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัด
แล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า

“ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็ นผล
หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.





ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.

ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,

ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ….

ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น,

เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.
- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.






ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า.

อุปาทานขันธ์ห้า อย่างไรเล่า ?

อุปาทานขันธ์ห้าคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาญูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๗๙.






ความเป็นทุกข์สามลักษณะ

ภิกษุ ท. ! ความเป็นทุกข์ มีสามลักษณะเหล่านี้.
สามลักษณะ เหล่าไหนเล่า ? สามลักษณะคือ :-

๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก,
๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่น พร้อมกันไปในตัว,
๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ความเป็นทุกข์สามลักษณะ.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๑๙.







ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ

ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป
บันเทิงแล้วในรูป ย่อม อยู่เป็ นทุกข์ เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้
รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ตามเป็นจริง
ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิงในรูป ยังคงอยู่เป็นสุขแม้
เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป.
(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖.








อายตนะหกเป็นทุกขอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อายตนะภายในหก.

อายตนะภายในหกเหล่าไหนเล่า ?
หกคือ จักขุอายตนะ โสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือ ทุกข์.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๕.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณวลัยพร พูดถึง สัจจะ สัจจะ ดูเหมือนจะค้านกับที่เช่นนั้นพูดนะ อ้าวจริงๆ ไปดูได้ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=47986&start=105

ไปตกลงกันเองนะ กรัชกายเพียงคนถือข่าวสารมาบอก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณวลัยพร พูดถึง สัจจะ สัจจะ ดูเหมือนจะค้านกับที่เช่นนั้นพูดนะ อ้าวจริงๆ ไปดูได้ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=47986&start=105

ไปตกลงกันเองนะ กรัชกายเพียงคนถือข่าวสารมาบอก :b32:







กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วย ความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว,
เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใด ๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม,
เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้น ๆ.

เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น, ความเพลิน(นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น.
ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่,

ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน.

เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ;

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ;

เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.

ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
- มู. ม. ๑๒/๔๘๗-๔๘๘/๔๕๒-๔๕๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณวลัยพร พูดถึง สัจจะ สัจจะ ดูเหมือนจะค้านกับที่เช่นนั้นพูดนะ อ้าวจริงๆ ไปดูได้ :b1:

viewtopic.php?f=1&t=47986&start=105

ไปตกลงกันเองนะ กรัชกายเพียงคนถือข่าวสารมาบอก :b32:



กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วย ความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว,
เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใด ๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม,
เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้น ๆ.

เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น, ความเพลิน(นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น.
ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่,

ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน.

เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ;

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ;

เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.

ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
- มู. ม. ๑๒/๔๘๗-๔๘๘/๔๕๒-๔๕๓



เราเหมือนพูดคนละเรื่องเดียวกันน๊อ มาบอกว่า สัจจะ ของเช่นนั้น กับ วลัยพร เหมือนๆแย้งๆกันอยู่ เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรไปคุยให้ตรงกันเสีย กรัชกายจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้ให้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เราเหมือนพูดคนละเรื่องเดียวกันน๊อ มาบอกว่า สัจจะ ของเช่นนั้น กับ วลัยพร เหมือนๆแย้งๆกันอยู่ เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรไปคุยให้ตรงกันเสีย กรัชกายจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้ให้ :b1:


โง่ ยังอวดโง่กรัชกาย :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เราเหมือนพูดคนละเรื่องเดียวกันน๊อ มาบอกว่า สัจจะ ของเช่นนั้น กับ วลัยพร เหมือนๆแย้งๆกันอยู่ เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรไปคุยให้ตรงกันเสีย กรัชกายจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้ให้ :b1:


โง่ ยังอวดโง่กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



รู้ว่าโง่ก็ค่อยๆบอกค่อยๆสอนกันสิขอรัับ จึงจะเรียกว่า กัลยาณมิตร นี่อะไรกัน พูดว่า โง่ๆ แล้วก็โง่ แต่ไม่บอกว่า โง่ยังไง โง่ยังไงขอรับ บอกชัดๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4079&Z=4116&pagebreak=0
พระสูตรนี้ ปรากฏอยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พราหมณสูตร

พราหมณ์ ถามพระพุทธองค์ ถึง โลกุตตรธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศว่าเป็นธรรมซึ่งบุคคลพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เหล่านั้นมีคุณประโยชน์ ก่อคุณประโยชน์ แก่ผู้ปฏิบัติอย่างไร.....

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติ และบุคคลผู้ปฏิบัติ.

เพราะความไม่รู้ ในอริยสัจจธัมม์ กิเลศทั้งหลายทั้งปวงที่ครอบงำจิต เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านั้นเสวยเวทนาทั้งทางกายทางใจด้วยความทุกข์ คือมีความยึดความถือเวทนานั้นว่ามีตัวเราเป็นผู้เสวยเวทนานั้น อย่างปราศจากหนทางดับความทุกข์นั้นได้ และบุคคลเหล่านั้นก็ไม่อาจแนะนำชี้แนะบุคคลอื่นให้พ้นจากทุกข์นั้นเช่นกัน.

ความไม่รู้ในอริยสัจจ์ ย่อมกล่าวได้ว่านำมาซึ่งความเบียดเบียนตนเอง ;การกระทำล่วงกุศลกรรมบถ หรือการชักชวนบุคคลอื่นอย่างผิดๆ จนเป็นการทับถมทุกข์ที่มีอยู่ ก็เรียกได้ว่าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น.
เมื่อเบียดเบียนตนเอง จึงไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สำหรับตน
เมื่อเบียดเบียนผู้อื่น จึงไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

พระธรรมที่พระองค์แสดง จึงให้บุคคลผู้ปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ในปัญญา เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นการเพิกถอนการถือว่ามีเราเป็นเรานั้นเสีย ให้บุคคลผู้ปฏิบัติเห็นสัจจะความจริงต่อสิ่งต่างๆ
เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติแม้เสวยเวทนาทางกายหรือทางใจขึ้นก็ตาม ก็ปราศจากตัวเราเข้าไปยึดถือว่าเป็นผู้เสวยเวทนานั้น กล่าวคือเวทนานั้นไม่อาจครอบงำจิตได้ ทุกข์จึงดับไป.
บุคคลผู้ปฏิบัติได้อย่างนี้ย่อมเป็นผู้ไม่เบียดเบียนตนเอง; ไม่ล่วงกุศลกรรมบถ สามารถชักชวนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ได้ จึงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น.
เมื่อไม่เบียดเบียนตนเอง จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะตน
เมื่อไม่เบียดเบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

การไม่เบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะตน และการไม่เบียดเบียนผู้อื่นเป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น จึงเป็นคุณชาติแห่งธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน อันเป็นคุณชาติที่เห็นได้ด้วยตนเอง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 มิ.ย. 2014, 10:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เราเหมือนพูดคนละเรื่องเดียวกันน๊อ มาบอกว่า สัจจะ ของเช่นนั้น กับ วลัยพร เหมือนๆแย้งๆกันอยู่ เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรไปคุยให้ตรงกันเสีย กรัชกายจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้ให้ :b1:


โง่ ยังอวดโง่กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



รู้ว่าโง่ก็ค่อยๆบอกค่อยๆสอนกันสิขอรัับ จึงจะเรียกว่า กัลยาณมิตร นี่อะไรกัน พูดว่า โง่ๆ แล้วก็โง่ แต่ไม่บอกว่า โง่ยังไง โง่ยังไงขอรับ บอกชัดๆ :b1:

โง่ เพราะไม่รู้ สัจจะ
โง่ เพราะอวดดี คอยเสี้ยม เข้าใจไหมกรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
คือผมเข้าใจอย่างนี้ว่า

ทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นทางจิต เป็นทุกข์ที่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจ แต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นทางรูปขันธ์เป็นทุกข์อริยสัจแต่

ความไม่เที่ยงของนามขันธ์ (จิตและเจตสิก) เป็นทุกข์อริยสัจ

เช่น บางทีจิตมาอยู่ที่มือบ้าง บางทีจิตมาอยู่ที่อาการบ้าง เป็นทุกข์อริยสัจ

เมื่อจิตรู้ทุกข์ทางกาย หรือโทมนัสเวทนาทางจิต
จิตก่ออุปธิคือเอาความทุกข์ทางกาย หรือโทมนัสเวทนาทางจิตมาครอบงำจิต
ครอบงำอย่างไร
ครอบงำโดยมีตัวเราของเราเกิดขึ้นพัวพันอยู่ในเวทนาทางกายทางจิตนั้น
ด้วยลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า ทุกขสัจจ์

ความไม่เที่ยงของนามขันธ์ ....เป็นสัจจะความจริงอันปรากฏแก่นามขันธ์(สิ่งอันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
ไม่ใช่ทุกขอริยสัจจ์

การมีจิตมาอยู่ที่มือบ้าง มาอยู่ที่อาการบ้าง ไม่ใช่ทุกขอริยสัจจ์
แต่เป็นสภาพปรกติของจิตทีรู้อารมณ์ ซึ่งมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงโดยความเป็นอย่างนั้น.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกคำตอบ. ดีจริงๆครับที่มาร่วมชี้แจงให้เห็น :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เราเหมือนพูดคนละเรื่องเดียวกันน๊อ มาบอกว่า สัจจะ ของเช่นนั้น กับ วลัยพร เหมือนๆแย้งๆกันอยู่ เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรไปคุยให้ตรงกันเสีย กรัชกายจะเป็นเจ้าภาพในงานนี้ให้ :b1:


โง่ ยังอวดโง่กรัชกาย :b17: :b17: :b17:



รู้ว่าโง่ก็ค่อยๆบอกค่อยๆสอนกันสิขอรัับ จึงจะเรียกว่า กัลยาณมิตร นี่อะไรกัน พูดว่า โง่ๆ แล้วก็โง่ แต่ไม่บอกว่า โง่ยังไง โง่ยังไงขอรับ บอกชัดๆ :b1:

โง่ เพราะไม่รู้ สัจจะ
โง่ เพราะอวดดี คอยเสี้ยม เข้าใจไหมกรัชกาย


เออแน่ะ ทั้งๆที่เราต้องการให้ทั้งสองคนทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก็ว่าโง่ว่าเสี้ยม งง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร