วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 18:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า  จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือ จิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี จิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ที่มา http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... %C3%D9%E9..
ฉะนั้น จิตและความคิดไวมากจนละเอียดเป็นอณู เราต้องรู้ทันจิตและความคิดทุกอย่าง เมื่อเรารู้ทันจิตและความคิด กำหนดจะคิดดับๆๆ ตลอดเวลา เราก็จะรู้การเกิดดับของจิตและความคิดตลอดเวลาและสามารถรู้เองเห็นเองได้ว่าจิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับไปเป็นธรรมดา แล้วเราจะเลิกสงสัยในความวุ่นวายของจิตตลอดเวลาทั้งวันและทั้งคืน และตัวสงสัยก็จะไม่เกิดขึ้นอีกตลอดไปขณะที่เรากำหนดการเกิดดับของจิตและความคิด... แล้วก็จะเป็นปัญญาที่แท้จริงตลอดกาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
จะเอาอะไรบ้างไปรู้ทันจิตและความคิดดีครับ ทำยังไงด้วย
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. แนะนำเจริญสติปัฎฐาน ในหมวดของ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐานของจิต เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิก
ที่เป็นสังขารปรุงแต่งจิต ที่เป็นการนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นไปในทางกุศลและอกุศลต่างๆ
สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตาไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวตน เพื่อให้เห็นความจริงที่เป็นธรรมชาติจิต
พูดตามหลักที่พอจะเข้าใจกันก็คือจิตดูจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 16:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะยกตัวอย่างว่า
เมื่อก่อนเห็นพระเดินข้างทาง ,เข้ามารอขอบิณฑบาตร,หรือทำไม่เหมาะสม
มักคิดขึ้นมาทันที พระแท้,พระปลอม,ท่านทำไม่ถูกไม่ควร
คือ หยุดพูดได้แล้ว..ด้วยรู้ว่าเป็นการที่ เราไม่ควรคิดเช่นกัน :b5: :b5:
แต่ข้างใน..มันยังคิดไปเรื่อยเอง เหมือนเป็นไปเอง หยุดก็ไม่ได้ :b9:

จนเมื่อปฏิบัติ..เริ่มรู้ทัน เห็นความคิดไม่ดี..นี้ ชัดเจนขึ้น :b27:
เหมือนแยกให้เห็น..เป็นเพียง อารมณ์หนึ่ง
คือ คิดอยู่ชั่วครู่...แล้วหยุด ยังพะวงมาแวบๆ
คิดชั่ววินาที...แล้วปล่อย ตัดทิ้งไปเลย
คิดปุ๊บ..ดับไปเลย
คิด..ดับ คิด..ดับๆๆๆๆๆ
แต่แล้วก็ต้องมาถึง คิดไม่มีแล้ว ดับไปเลย ไม่คิดเลย ไม่เกิดอีกเลย ไม่มีเข้ามาเลย
ใช่หรือเปล่าคะ..เจ้าของกระทู้คงผ่านการมองเห็น ทุกข์ ,เหตุ,และเข้าใจวิธีดับทุกข์ วิธีหนึ่งนี้ หรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 03:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
คิดปุ๊บ ดับปั๊บ นี่คือการระงับด้วยสติที่มีกำลังมาก แต่รากเหง้าของกิเลสยังไม่ถูกขุดถอน

ต่อเมื่อเอาชนะนิวรณ์ได้ แล้วปล่อยให้กิเลสตัณหาแสดงปฏิกิริยาตามธรรม มนสิการคือ เอาสติปัญญา มานำ โยนิโสคือนิ่งรู้นิ่งสังเกตไป จนสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกิเลสตัณหาทั้งหลายนั้นดับไปต่อหน้าต่อตาโดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆทั้งในทางลบและบวก หรือชอบใจไม่ชอบใจ กิเลสร้ายและตัณหาเหล่านั้นจะถูกขุดถอนทิ้งทั้งรากทั้งโคน ความหลุดพ้นอย่างแท้จริงจึงจะเกิดตามมาเป็นผล กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา" อันเป็นเอกวิชามีในเฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ถ้าจะยกตัวอย่างว่า
เมื่อก่อนเห็นพระเดินข้างทาง ,เข้ามารอขอบิณฑบาตร,หรือทำไม่เหมาะสม
มักคิดขึ้นมาทันที พระแท้,พระปลอม,ท่านทำไม่ถูกไม่ควร
คือ หยุดพูดได้แล้ว..ด้วยรู้ว่าเป็นการที่ เราไม่ควรคิดเช่นกัน :b5: :b5:
แต่ข้างใน..มันยังคิดไปเรื่อยเอง เหมือนเป็นไปเอง หยุดก็ไม่ได้ :b9:

จนเมื่อปฏิบัติ..เริ่มรู้ทัน เห็นความคิดไม่ดี..นี้ ชัดเจนขึ้น :b27:
เหมือนแยกให้เห็น..เป็นเพียง อารมณ์หนึ่ง
คือ คิดอยู่ชั่วครู่...แล้วหยุด ยังพะวงมาแวบๆ
คิดชั่ววินาที...แล้วปล่อย ตัดทิ้งไปเลย
คิดปุ๊บ..ดับไปเลย
คิด..ดับ คิด..ดับๆๆๆๆๆ
แต่แล้วก็ต้องมาถึง คิดไม่มีแล้ว ดับไปเลย ไม่คิดเลย ไม่เกิดอีกเลย ไม่มีเข้ามาเลย
ใช่หรือเปล่าคะ..เจ้าของกระทู้คงผ่านการมองเห็น ทุกข์ ,เหตุ,และเข้าใจวิธีดับทุกข์ วิธีหนึ่งนี้ หรือเปล่า


ความเห็นผม เป็นนิวรณ์ครับ ยังไม่รู้เหตุเกิดของทุกข์ อีกประการหนึ่ง ยึดถือในรูป ด้วยเหตุของอวิชชาคือความไม่รู้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต จึงเป็นเสมือน ความเห็นบังเกิดขึ้นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ซึ่งก็คือ ขาดการตั้งใจพิจารณาเหตุเกิดตั้งแต่แรก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 03:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ด้วยการยุดยั้งความคิดจึงจัดเป็นกุศลธรรม มีผลคือการหยุดเหตุของกาย วาจา ใจ จึงเป็นสภาวะการทำตัวให้พร้อม เป็นเหตุไกล สมาธิเป็นเหตุใกล้อีกที ของวิปัสนาภาวนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 11:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นผม เป็นนิวรณ์ครับ ยังไม่รู้เหตุเกิดของทุกข์ อีกประการหนึ่ง ยึดถือในรูป ด้วยเหตุของอวิชชาคือความไม่รู้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต จึงเป็นเสมือน ความเห็นบังเกิดขึ้นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ซึ่งก็คือ ขาดการตั้งใจพิจารณาเหตุเกิดตั้งแต่แรก
:b8: :b8:
คุณstudent
ยึดถือในรูป
ตรงนี้ หมายถึง ...... :b9: :b9: :b9:
คือ รูปที่ว่าคือ การไม่มีความคิด นี่เป็นสิ่งที่ดี..จึงพยายามให้มันไม่เกิดขึ้น
และเข้าใจว่าคือการพ้นทุกข์ จึงให้คิดดับๆๆๆ
ซึ่งก็จะเหมือนโยนของไม่ดีเข้าห้องเก็บของในบ้าน..แล้วปิดประตู
มันจึงมีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่มองไม่เห็นแค่นั้น

ถ้าชาตินี้ทั้งชาติที่เราเกิดมา..ใช้แต่วิธีนี้ทุกเรื่องในความคิด..ผลก็คือการหลงผิดไปอย่างเดียวเลยหรือ
และคนที่คิดแบบนี้..ก็ต้องเข้าใจว่า..จิตนี้ว่างเป็นสุขในความไม่มีอะไร..นี่คือพ้นทุกข์แล้ว
ตรงนี้..คือ ออกนอกแนวทางพุทธศาสนาเลยรึเปล่า..หรือยังอยู่

:b55: :b55: ไม่รู้เข้าใจถูกรึเปล่าค่ะ:b9:
แต่ทำให้คิดถึง..วิปัสสนา
คือต้องหยิบมาพิจารณา..เหตุที่เราไม่อยากได้ไม่อยากเอา จนต้องโยนไปเก็บไว้ในห้องเก็บของเพราะอะไร

:b51: มันจะได้เห็นมากกว่าว่าของมันพังเสียแล้ว...ก็เพราะของนั้นไม่เที่ยง
จะไปหาอะไรๆๆเข้ามาอีกมันก็จะมีความเป็นไปอย่างนี้

:b53: มันจะได้เห็นมากกว่าว่าของมันเก่าเสียแล้ว...เพราะใจเราก็ไม่เที่ยง มีเบื่อหน่าย ที่เคยคิดว่าใช่
เดี๋ยวมันก็ไม่ใช่อีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 11:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดปุ๊บ ดับปั๊บ นี่คือการระงับด้วยสติที่มีกำลังมาก แต่รากเหง้าของกิเลสยังไม่ถูกขุดถอน

ต่อเมื่อเอาชนะนิวรณ์ได้ แล้วปล่อยให้กิเลสตัณหาแสดงปฏิกิริยาตามธรรม มนสิการคือ เอาสติปัญญา มานำ โยนิโสคือนิ่งรู้นิ่งสังเกตไป จนสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกิเลสตัณหาทั้งหลายนั้นดับไปต่อหน้าต่อตาโดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆทั้งในทางลบและบวก หรือชอบใจไม่ชอบใจ กิเลสร้ายและตัณหาเหล่านั้นจะถูกขุดถอนทิ้งทั้งรากทั้งโคน ความหลุดพ้นอย่างแท้จริงจึงจะเกิดตามมาเป็นผล กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา" อันเป็นเอกวิชามีในเฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น


:b8: คุณอโศกะ
เข้าใจตามนั้นเลยค่ะ ผลที่ได้มันต่างกันมากเลย

ขอคำแนะนำหน่อยนะคะ
ถ้าหากไปเจริญสติปัฏฐานวิปัสสนาซึ่งส่วนมากเป็นคอรสต่อเนื่อง
แล้วกลับมาบ้าน มีเวลาไม่มาก..เพราะวุ่นวาย
กำลังใจไม่ถึงที่จะ..เจริญสติต่อเนื่อง
ก็เลยเอา สมถะ..แบบที่ชอบ เป็นตัวช่วยเสริม ให้ไม่ห่างไปซะทีเดียว
ผลจะขาดช่วงกันใหม..ทำสลับไปมา :b9:
เพราะวิปัสสนา..คือรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน
สมถะ..คือเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้สมาธิเร็วและง่ายดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:
คุณไอเดียรู้วิธีปฏิบัติอันถูกต้องแล้ว สมถะกับวิปัสสนาต้องพึ่งอิงกันไปมาตลอดทางจะไปยึดแน่นอันใดอันหนึ่งก็ไม่ได้

การปฏิธรรมในชีวิตจริงใหม่ๆก็ค่อนข้างยาก แต่ถ้าทำสม่ำเสมอวันละชั่วโมง เอาจริงเอาจัง ที่เหลือทั้งวันทำไปเท่าที่เหตุปัจจัยอำนวยให้ ไม่ช้าจะปฏิบัติธรรมในชีวิตจริงได้สะดวกง่ายดายเองครับ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปจนปิดประตูอบายได้ทันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:

เพราะวิปัสสนา..คือรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน
สมถะ..คือเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้สมาธิเร็วและง่ายดีกว่า


เกี่ยวกับคำเรียกสภาพธรรมต่างๆ
หากต้องการศึกษาคำเรียกนั้นๆ ควรศึกษาจากพระธรรมคำสอน ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสไว้

คำเรียก วิปัสสนา ความหมายของคำเรียกนี้ ที่มีปรากฏในปัจจุบัน
อย่างที่คุณนำมากล่าว"รู้อารมณ์ปัจจุบัน"

ความหมายนี้ เป็นการแต่งเติมขึ้นมาใหม่ ที่มีใช้ในปัจจุบัน กับกลุ่มคนบางกลุ่ม
ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ตามพระธรรมคำสอน

เกี่ยวกับสมาธิ

สมาธิ ที่เรียกว่า สมถะ
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
บางที่นิยมใช้คำว่า ขาดธาตุรู้

สมาธิ ที่เรียกว่า วิปัสสนา
มีลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้นร่วมด้วย ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
ไม่ว่าสมาธิที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ มีกำลังมากแค่ไหนก็ตาม(ฌานทั้ง 8)

จึงต้องมีการสอบอารมณ์ เพื่อดูความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ จึงเป็นที่มาของคำเรียก ญาณ 16


คำเรียก วิปัสสนา ที่มีใช้สอนในสำนักต่างๆ
ล้วนใช้เป็นอุบาย ในการปฏิบัติ


หากต้องการรู้ว่า คำเรียก วิปัสสนา ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน รากเหง้าแท้จริง มาจากไหน
ควรศึกษาตำราจากพม่า มูลเหตุทั้งหมด เกิดจาก ความหวังดี ของครูอาจารย์ในสมัยก่อน

เมื่อเห็นว่า สมถะ-วิปัสสสนา ถ้าให้จิตเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ(ฌาน)
พร้อมทั้งให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้นร่วมด้วยนั้น(จึงต้องมีการปรับอินทรีย์ ให้เดินก่อนนั่ง)

ค่อนข้างจะยุ่งยากสำหรับผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ที่ชอบนั่ง มากกว่าเดิน
จึงนำอุบายเรื่อง ขณิกสมาธิ มาใช้สอน

ก็ในเมื่อ ให้ทำความเพียรถึงขั้น สมถะ-วิปัสสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
เป็นเรื่องที่อาจดูหนักหนาสาหัส สำหรับบางคน

จึงใช้อุบาย ขณิกสมาธิ มาสอน
นำเรื่องเกี่ยวกับ รูป-นาม มาสอน



ญาณ 16 มาจากไหน ก็มาจาก สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(ฌาน 8)
เกี่ยวกับเรื่อง ญาณ 16 ก็มีที่มาจากพม่า ทั้งนั้น


เมื่อยังไม่รู้ ย่อมสนใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดา
พอรู้ถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะรู้เองว่า
ที่แท้ เป็นสภาพธรรม ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ ขณะจิตเป็นสมาธิเท่านั้นเอง

ก็จะเลิกตื่นเต้น ติดใจ จนสำคัญว่า ได้อะไร เป็นอะไร
ซึ่งมีแต่การสร้างเหตุของการเกิด มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด

ตราบใดที่ยังมีการพร่ำเรื่อง ญาณต่างๆ
พร่ำเรื่อง สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก(นี่ก็เป็นความปกติของสภาพธรรม)
พร่ำกับคำเรียกที่สร้างขึ้นใหม่ ดัดแปลงจากพระธรรมคำสอน(ที่คิดเอาเองว่า ใช่)

บ่งบอกถึง ความติดใจ(นิกันติ) ในสภาพธรรมนั้นๆ

การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับเหตุ(การกระทำ)
และปัจจัย(ตัวที่ก่อให้เกิดการกระทำ)ของแต่ละคน


ส่วนการศึกษาปริยัติต่างๆ
รู้ไว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหาม

ถ้าเรียนเพื่อศึกษา เรียนเพื่อรู้ ไม่ใช่นำมาเทียบเคียงสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นกับตน
เรียนแบบนี้ ไม่เป็นไร เป็นสัญญาติดไว้

หากเรียนรู้ ให้ความสำคัญมั่นหมายสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นในตน
คิดเอาเองว่า น่าจะเรียกแบบนั้น แบบนี้
สำคัญมั่นหมายว่า ได้อะไร เป็นอะไร

มีแต่การนำสิ่งที่เรียนรู้ มาสร้างเหตุภพชาติของการเกิด
เรียนแบบนี้ มีแต่เกิดกับเกิด

เรียนทั้งสองแบบ ถ้าชอบเรียน เรียนไปเถอะ
จงดูสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนชีพอยู่แท้ๆ

คนในสมัยนั้น ปฏิเสธรรมพระธรรมคำสอน สร้างรูปแบบการสอนขึ้นมาใหม่ ก็มีอยู่
แล้วสมัยนี้ จะไปเหลืออะไร

พระพุทธเจ้า จึงทรงเน้นการเรียนรู้ภายในกาย-ใจ เป็นหลัก
โดยให้มุ่งกระทำความเพียรอยู่ภายในกาย-จิต

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 12:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปจนปิดประตูอบายได้ทันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
:b8: :b8:
คำว่าเจริญในธรรม มีความหมายลึกซึ้งมากค่ะ คุณอโศกะ
คำว่าคงที่..คงเป็นไปไม่ได้..ตลอดไป
หากไม่เร่งความเพียรต่อไป..ความเสื่อมคงมากขึ้นเรื่อยๆ :b9: :b9:
หวังผล..แต่ลังเลที่จะสร้างเหตุ แย่จัง :b15: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




เมื่อยังไม่รู้ ย่อมสนใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดา
พอรู้ถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะรู้เองว่า 
ที่แท้ เป็นสภาพธรรม ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ ขณะจิตเป็นสมาธิเท่านั้นเอง

ก็จะเลิกตื่นเต้น ติดใจ จนสำคัญว่า ได้อะไร เป็นอะไร 
ซึ่งมีแต่การสร้างเหตุของการเกิด มากกว่า การกระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด

ตราบใดที่ยังมีการพร่ำเรื่อง ญาณต่างๆ
พร่ำเรื่อง สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก(นี่ก็เป็นความปกติของสภาพธรรม)
พร่ำกับคำเรียกที่สร้างขึ้นใหม่ ดัดแปลงจากพระธรรมคำสอน(ที่คิดเอาเองว่า ใช่)

บ่งบอกถึง ความติดใจ(นิกันติ) ในสภาพธรรมนั้นๆ

การปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับเหตุ(การกระทำ)
และปัจจัย(ตัวที่ก่อให้เกิดการกระทำ)ของแต่ละคน


:b8: :b8:
ขอบคุณพี่วราพร ที่คอยติดตาม และให้คำตักเตือน ชี้แนะ :b27:
น้อมรับฟังค่ะ :b9:
:b41: :b41:
ขอบคุณลานธรรมที่ให้ที่แสดงความคิดเห็น
ย้อนมาให้ได้เห็น..ตัวตนของตัวเองชัดดีค่ะ
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร