วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 09:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 13:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากศึกษาพระธรรม ควรเริ่มตรงไหน สมัครเข้าไปเรียนในห้องเรียน หรือหาหนังสือมาศึกษาเอง
แบบว่าเริ่มเรียนเต็มหลักสูตรตั้งแต่ป.1-ป.6 หรือมีแบบกศน. รวบรัด จบเหมือนกัน
หรือแบบเรียนภาษาอังกฤษเอาเฉพาะสนทนาไว้มาพูดประจำวันก็พอรู้เรื่อง
ส่วนตัว เวลาเห็นบทพระสูตรทีไร รู้สึกว่ายาก ไม่เข้าใจคำศัพท์เลย ไม่รู้เรื่อง
ก็จะเลี่ยงหรือข้ามมาดูบทสรุปเป็นคำพูดเอา :b9: ตรงนี้ก็ผ่านตามาไม่มาก ก็เห็นๆในเว็บนี้
ที่ผ่านมา เข้ามาปฏิบัติ และมีศรัทธาได้ก็เกิดจากฟังเทศฟังธรรม เป็นประโยคคำพูดง่ายๆ
และมักทบทวนบางประโยคแบบสั้นๆฟังแล้วเข้าใจง่ายมากกว่า
เช่น เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด,สิ่งใดเกิดแต่เหตุ ให้ดับที่เหตุนั้น ประมาณนี้ค่ะ
และไม่ค่อยมีเวลาเต็มที่ด้วย :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาในเวปมีเยอะแยะค่ะ ถ้าจะศึกษาแนวทางปฏิบัติ หรือลองถามลุงหมานดูนะค่ะ :b48: :b1:

จริงๆถ้าเราปฏิบัติจนเกิดผลคือ ปฏิเวธ จะทำให้เข้าใจตัวสภาวะธรรม ด้วยการเทียบเคียงกับตำรา
เมื่อปฏิเวธเกิด เราจะสามารถอธิบายเป็นภาษา
ง่ายๆด้วยตัวเราเอง สามารถแสดงธรรมด้วยตนเอง เหมือนหลวงปู่ หลวงตาเวลาท่านสอน
ท่านก็พูดให้เราเข้าใจง่ายๆ เพื่อนำไปปฏิบัติ

ยกตัวอย่างเช่นคำสอน
หลวงพ่อชา สุภัทโท


:b42: เธอจงระวังความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
อยากศึกษาพระธรรม ควรเริ่มตรงไหน สมัครเข้าไปเรียนในห้องเรียน หรือหาหนังสือมาศึกษาเอง
แบบว่าเริ่มเรียนเต็มหลักสูตรตั้งแต่ป.1-ป.6 หรือมีแบบกศน. รวบรัด จบเหมือนกัน
หรือแบบเรียนภาษาอังกฤษเอาเฉพาะสนทนาไว้มาพูดประจำวันก็พอรู้เรื่อง
ส่วนตัว เวลาเห็นบทพระสูตรทีไร รู้สึกว่ายาก ไม่เข้าใจคำศัพท์เลย ไม่รู้เรื่อง
ก็จะเลี่ยงหรือข้ามมาดูบทสรุปเป็นคำพูดเอา :b9: ตรงนี้ก็ผ่านตามาไม่มาก ก็เห็นๆในเว็บนี้
ที่ผ่านมา เข้ามาปฏิบัติ และมีศรัทธาได้ก็เกิดจากฟังเทศฟังธรรม เป็นประโยคคำพูดง่ายๆ
และมักทบทวนบางประโยคแบบสั้นๆฟังแล้วเข้าใจง่ายมากกว่า
เช่น เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด,สิ่งใดเกิดแต่เหตุ ให้ดับที่เหตุนั้น ประมาณนี้ค่ะ
และไม่ค่อยมีเวลาเต็มที่ด้วย :b8:


การศึกษาพระธรรมขอแนะนำควรเริ่มในห้องเรียนจะดีมาก
เพราะจะการเรียนเลื่อนระดับชั้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ชั้นจูฬตรี ถึง มหาเอก(อภิธรรมบัณฑิต)
ใช้เวลาเรียน ๗ ปีครึ่ง จบแล้วมีใบประกาศรับรองวุฒิการศึกษาเทียบกับชั้นปริญญาตรี
ของมหาจุฬาลงกรณ์มหาราชวิทยาลัย

การศึกษาธรรมไม่ใช่ที่จะเข้าใจแบบง่ายๆ อย่างเราท่านทั้งหลายเข้าใจกัน
ช่างสุขุมลุ่มเกินกว่าปัญญาที่เราจะรู้เองได้ ถ้ารู้จะเองได้ก็ต้องดูตัวอย่างพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี
มา ๔ อสงไขยแสนกัปป์จึงจะบรรลุธรรมได้ ฉะนั้นเราจะต้องอาศัยการเรียนรู้จากตำหรับตำราเป็นอย่างยิ่ง
การเรียนก็ใช่ว่าจะไปหาตำรามาอ่านเพื่อจะอ่านให้เข้าใจเพราะความสุขุมลุ่มลึกด้วยอรรถะและพยัญชนะ
ยากที่คนไม่ได้ศึกษามาบ้างแล้วอ่านเข้าใจได้

เหมือนคนทั่วไปไม่อาจเข้าใจความลึกซึ้งในข้อความในกฎหมาย ได้เท่ากับนักกฎหมาย
อย่าหมายเพียงหยิบมาอ่านแล้วจะเข้าใจในส่วนที่ลึกซึ้ง สภาวะที่แท้ของธรรมนั้นๆ เช่น ดิน น้ำไฟ ลม
สภาพธรรมเขาเป็นอย่างไร ดูเหมือนง่ายๆ ถ้าทุกคนอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายๆ ครูอาจารย์ก็หมดความจำเป็น

ขอถามสักนิดที่ว่าเข้าใจ
เช่น เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด,สิ่งใดเกิดแต่เหตุ ให้ดับที่เหตุนั้น
ช่วยอธิบายหน่อยว่าเข้าใจว่าอย่างไร เพื่อจะได้สนทนาธรรมกันต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาแบบเล่าประวัติส่วนตัวในทางธรรมเลยนะคะลุงหมาน
จุดเริ่มต้นของการทำสมาธิ ออกจะแปลกหน่อย ด้วยมีแรงบันดาลใจจากหนังสือนิยายเรื่อง ฌาน
ตัวเอกของเรื่องก็แบบทำสมาธิไปแล้วมีความสามารถนั่นนี่ ก็จะใช้สนุกแบบเด็กๆ ก็เลยทำตามค่ะ :b5:
ก็เพ่งนู่นนี่ไปหมด แต่ก็ได้ผล จำได้ตอนนั้นนั่งได้ยาวนานหลายชม. มีความสามารถพิเศษบ้าง
จนถึงสภาวะหนึ่ง มันว่างเปล่า ว่างแบบมากกว่า ที่ไม่ใช่แค่มีตัวรู้สว่างนิ่งอยู่อย่างนั้น พอสัมผัสก็หลุด
หลังจากนั้นพยายามทำให้ได้ จนหงุดหงิด ถอยออกมา ทิ้งห่างไป แต่ความสามารถพิเศษยังติดตัว หลายปี
แต่อ่อนลงๆจนจางหายไป จนโตขึ้นก็มีใจพยายามกลับมาทำสมาธิเรื่อยๆ ทำๆห่างๆ และชอบฟังธรรม
อ่านหนังสือธรรมะ เริ่มเข้าหาพระ เข้าวัด กราบไหว้ ปกติไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ คือนับถือพุทธ ก็แค่นั้น
สรุปทุกเรื่องคือความอยาก และสิ่งที่อยากก็พาโน้มน้าวเราให้เข้าถึง เหมือนดึงให้เข้ามาตรงนี้
จึงเริ่มเข้าใจเมื่อครั้งนั้น เราเริ่มต้นทำไปแค่นั้น ไม่ได้มีศรัทธาในพุทธศาสนาเลย
พอได้รู้พุทธประวัติก็ทึ่ง ถึงความเสียสละฯ อยากศึกษาคำสอน พระองค์สอนอะไรบ้าง
ทั้งหมดนี้ ก็แค่ฮึดเป็นพักๆ ห่างๆ :b9: ไม่ได้ค้นคว้าจริงๆเลย ก็แค่ฟังธรรม,อ่านธรรม เน้นปรับปรุงดูแลใจตนตาม
ได้บ้างไม่ได้บ้าง :b39:
*ก็เลยมีแบบคำประทับใจ แบบที่ได้ยินแล้วสะดุดใจ ซึ่งทุกคนอาจจะเหมือนกันเพราะเป็นคำพุทธองค์
จนเคยคิดจะจดบันทึกเพื่อจะได้จำ เอาแบบว่าเป็นประโยคสั้นๆ แบบที่ลุงหมานถามว่ามีความเข้าใจยังไงมานี้...
:b3: เราหยุดแล้วแต่ท่านยังไม่หยุด
ไม่ได้เอามาตีความหมายให้เข้าใจ ว่าท่านเอ่ยกับใคร ให้เขาเข้าใจความหมายยังไง
แต่ประทับใจ สะดุดใจ ติดในใจมาตลอด สุดๆก็คำนี้ค่ะ :b19:
ก็นำมาใช้เตือนตน ให้เหมือนประโยคนั่นท่านเอ่ยกับเรา
ปกติคือกหมั่นตรวจสอบใจเรา นี้ดี นี้ไม่ดี แต่ก็ไม่ใช่เลือกทำแต่ดีนะ ไม่ดีก็บ่อยๆ ตรงนี้คือเหตุ
แม้อารมณ์หนึ่งมันเหมือนเกิดได้เร็วมาก แต่มันก็เหมือนมีช่องว่างนิดหนึ่ง ให้รู้ทันว่ากำลังจะทำแล้วนะ
ทำแล้วผลมันจะเป็นอย่างนี้นะ แต่ก็ยังทำ ตรงนี้เกิดความละอาย ที่หลงตามความอยาก ทั้งเรื่องที่หนัก(ตรงนี้สำคัญกับประโยคนี้มากแต่ไม่ขอระบุค่ะ :b21: )มาจนถึงเรื่องธรรมดาส่วนตัวที่ไม่ไปเดือดร้อนใคร
สรุปก็คือ เมื่อศรัทธา เชื่อมั่น จะปฏิบัติตามพระองค์ ผู้หลุดพ้นจากวัฏฏะ ผู้ชี้ทางสว่างไว้แล้ว ผู้สิ้นแล้วปล่อยแล้วซึ่งกิเลส หยุดที่จะก่อการกระทำใดๆทางกาย วาจา ใจอันเป็นเหตุ ให้เกิดผลไม่มีที่สิ้นสุด เราก็ควรที่จะหยุด
และปฏิบัติตาม และเมื่อใดที่เกิดเรื่องเป็นการมัวเมาใจให้หลง จึงมักทบทวนประโยคนี้ :b8: แนะนำด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้องก้อง ขอบคุณค่ะ :b17:
ตอนไอเดียทำสมาธิ เรื่องปฏิบัติ เคยเปิดเว็บดู แต่มันดูนั่นนี่มากไปหน่อย :b9:
ก็ดีตรงจุดหนึ่ง แต่สำหรับไอเดีย ความอวดรู้มัน นำไปฟุ้งในสมาธิ สภาวะนี้มาแล้ว เดวถึงสภาวะนี้แล้ว
กว่าจะกำราบได้แทบแย่ ความจริงมันก็จะเป็นยังงั้นของมันอยู่แล้ว :b5:
ถึงแม้ตอนนี้ยังตามความสงสัย ให้ใจวุ่นวายอยู่บ้าง แต่ก็เพลาๆลงบ้างค่ะ :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 09:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ลุงหมานบอกว่าเรียน7ปีครึ่งนี่ ต้องเข้าเรียนเต็มวันเลยรึเปล่าคะ
เหมือนลุงบอกว่า นี่แบบเรียนเต็มที่ :b9: ถ้าแบบเรียนเสริม กว่าจะเข้าใจได้คงจะใช้ระยะเวลายาวเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ที่ลุงหมานบอกว่าเรียน7ปีครึ่งนี่ ต้องเข้าเรียนเต็มวันเลยรึเปล่าคะ
เหมือนลุงบอกว่า นี่แบบเรียนเต็มที่ :b9: ถ้าแบบเรียนเสริม กว่าจะเข้าใจได้คงจะใช้ระยะเวลายาวเลย


ใช้เวลาการเรียน ๗ ปีครึ่งหมายถึงว่าเราสอบผ่านตลอดจนจบชั้นมหาเอก
การเรียนเราก็ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมหรือสะดวกกับเรา ถ้าวันธรรมดาจะเริ่มเรียน
ตั้งแต่ ๑๓.๐๐ น.ถึง ๑๖.๓๐ น. แถมมีรอบค่ำอีก แล้วแต่ทางสำนักเขาจะกำหนดขึ้น
ถ้าเป็นเสาร์อาทิตย์บางที่ก็มี ๓ รอบ คือ เช้า บ่าย ค่ำ เราสะดวกในช่วงไหนก็เลือกเรียนเอาเองได้
แต่สำหรับลุงเรียน ๑๓ ปี เพราะบ้านอยู่ไกลสถานที่เรียนการเดินทางไม่สะดวก

ถ้าเราจะเรียนแบบเสริมความรู้ก็ได้ คือเราไม่ต้องสอบ แต่ถ้าเรียนเสริมก็ควรจะต้องไปให้ติดต่อ
ไม่งั้นมันจะขาดช่วงเรียนตามเขาไม่ทัน
และขอแนะกัลยามิตรที่อยูในลานธรรมจักรนี้ เธอชื่อ SOAMUSA สงสัยอะไรก็ถามเธอได้ หรือจะถามหาสำนักที่เรียนเธอจะบอกสถานที่เรียนให้ได้ครับ

ก็ขอให้โชคดีที่ได้พบกับกัลยามิตรใหม่ tongue tongue tongue

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 11:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะคุณลุงหมาน
ขอถามอีกข้อ สำนักเรียนน่าจะมีหลายที่ แต่ละที่จะสอนตรงกันใหม
คือได้ยินมาว่า มีการแปล ผิดๆถูกๆ ทำให้เข้าใจผิดเพี้ยน ตรงนี้เกี่ยวกะการที่จะเข้าไปเรียนใหม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
idea เขียน:
ขอบคุณค่ะคุณลุงหมาน
ขอถามอีกข้อ สำนักเรียนน่าจะมีหลายที่ แต่ละที่จะสอนตรงกันใหม
คือได้ยินมาว่า มีการแปล ผิดๆถูกๆ ทำให้เข้าใจผิดเพี้ยน ตรงนี้เกี่ยวกะการที่จะเข้าไปเรียนใหม :b8:

ไม่ว่าจะสำนักไหนจะสอนเหมือนกันหมด จะสอนเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นขั้นพื้นฐานก่อน จะอยู่ที่ว่าแต่ละอาจารย์จะสอนให้เข้าใจได้ดีแค่ไหนเท่านั้น ส่วนมากท่านอาจารย์จะเน้นกลัวการสอนผิด ลองไปเถอะแล้วจะรู้เองว่าเรียนพระอภิธรรมดีอย่างไร พอได้เรียนไปสักระยะหนึ่งจะนึกได้ว่ารู้อย่างนี้มาเสียตั้งนานแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


สำนักศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
๑. อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
๒. วัดระฆังโฆษิตาราม
๓. วัดบวรนิเวศวิหาร
๔. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๕. วัดบูรณศิริมาตยาราม
๖. วัดสังเวลวิศยาราม
๗. วัดธาตุทอง
๘. วัดเจริญธรรมาราม
๙. วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต
๑๐. วัดสุวรรประสิทธิ์

ภาคกลาง
๑. วัดสร้อยทอง จ.นนทบุรี
๒. วัดตะวันเรื่อง ต.คลองสี่ อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี
๓. วัดพืชอุดม ต.พืชอุดม อ.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี
๔. วัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
๕. วัดเพชรสมุทร จ. สมุทรสงคราม
๖. วัดมณีสรรค์ จ.สมุทรสงคราม
๗. วัดเขาวัง ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี
๘. วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
๙. วัดแหลมทอง ต.หัวโพ อ.บางแพ จ.ราชบุรี
๑๐. วัดชะอำ ต. ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
๑๑. วัดอุดมมงคล ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
๑๒. วัดกลาง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
๑๓. วัดปราสาททอง จ. สุพรรณบุรี
๑๔. สำนักสงฆ์สวนธรรมจักร ต.ตลิ่งชัน อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี
๑๕. วัดนาฬิกาวัน ต.หอรัตนชัย จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๖. วัดมเหยงคณ์ ต. หันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๗. วัดโกโรโกโส อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๘. วัดหาดสองแคว ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
๑๙. วัดเขาพระ ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
๒๐. วัดป่าธรรมโสภณ ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี
๒๑. วัดเขาสมโภชน์ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ. ลพบุรี
๒๒. วัดโคกโตนด ต.ห้วยเกรด อ.สวรรคบุรี จ.ชัยนาท

ภาคเหนือ
๑. วัดถ้ำพระธาตุเมืองเทพ ต. ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี
๒. วัดพรหมจริยาวาส ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
๓. วัดพระโบสถ์ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ. นครสวรรค์
๔. วัดใหม่เจริญผล ต.หนองจิก อ.คีริมาส จ.สุโขทัย
๕. วัดม่อนจำศีล ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
๖. วัดร่ำเปิง (ตโปธาราม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
๗. วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
๘. วัดเมืองมาง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑. วัดสะแกแสง ต.พะาด อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา
๒. วัดป่านิมิตมงคล ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
๓. วัดป่าสังฆพงษ์พิทักษ์ฯ ต.บ้านซบ อ.สังขะ จ.สุรินทร์
๔. วัดพรมศิลาแตล ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
๕. วัดโมฬีวงษา ต.ตรวจ กิ่ง อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
๖. วัดวารีหงษ์ทอง ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
๗. วัดกลาง ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
๘. วัดมหาวนาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
๙. วัดกลาง ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
๑๐. วัดบ้านไร่ขี อำนาจเจริญ
๑๑. วัดบ้านโคกก่อง จ.ยโสธร
๑๒. วัดอุดมไพรสณฑ์ ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
๑๓. วัดวิสุทธิมัคคาราม จ. อุดรธานี
๑๔. วัดพระบาทนาหงษ์ จ.หนองคาย

ภาคตะวันออก
๑. วัดเกาะแก้วคลองหลวง ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
๒. วัดเกาะจันทร์ ต.เกาะจันทร์ กิ่ง อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
๓. วัดเก่าโบราณ ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี
๔. วัดกุณฑีธาร ต.คลองกิ่ง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
๕. วัดเขาบ่อน้ำซับ ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
๖. วัดเขาพุทธโคดม ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
๗. วัดนาพร้าวเก่า ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
๘. สำนักสงฆ์หนองลำดวน ต.ท่าบุญมี กิ่ง อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
๙. สำนักสันตยสม จ.ชลบุรี
๑๐. วัดธรรมนิมิตต์ จ.ชลบุรี
๑๑. วัดพนมพนาวาส ต.คลองขุด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
๑๒. วัดสุนีย์ศรัทธาธรรม ต.พิมพา อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
๑๓. วัดชากพรวด ต.ห้วยยาง อ.แกลง จ.ระยอง
๑๔. วัดบ่อทอง ต. ชาดโดน อ.แกลง จ.ระยอง
๑๕. วัดหินโค้ง ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
๑๖. วัดสุทธิวารี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี

ภาคใต้
๑. วัดไตรวิทยาราม ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
๒. วัดคุณชี ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

สำนักศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
๑. มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม ตู้ปณ. ๔๕ ปณจ. ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทรศัพท์ : ๘๘๔ - ๕๐๙๑ - ๒
สำนักเรียนพระอภิธรรมน่าจะมีมากกว่านี้แต่จำไม่ได้หมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
อยากศึกษาพระธรรม ควรเริ่มตรงไหน สมัครเข้าไปเรียนในห้องเรียน หรือหาหนังสือมาศึกษาเอง
แบบว่าเริ่มเรียนเต็มหลักสูตรตั้งแต่ป.1-ป.6 หรือมีแบบกศน. รวบรัด จบเหมือนกัน
หรือแบบเรียนภาษาอังกฤษเอาเฉพาะสนทนาไว้มาพูดประจำวันก็พอรู้เรื่อง
ส่วนตัว เวลาเห็นบทพระสูตรทีไร รู้สึกว่ายาก ไม่เข้าใจคำศัพท์เลย ไม่รู้เรื่อง
ก็จะเลี่ยงหรือข้ามมาดูบทสรุปเป็นคำพูดเอา :b9: ตรงนี้ก็ผ่านตามาไม่มาก ก็เห็นๆในเว็บนี้
ที่ผ่านมา เข้ามาปฏิบัติ และมีศรัทธาได้ก็เกิดจากฟังเทศฟังธรรม เป็นประโยคคำพูดง่ายๆ
และมักทบทวนบางประโยคแบบสั้นๆฟังแล้วเข้าใจง่ายมากกว่า
เช่น เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด,สิ่งใดเกิดแต่เหตุ ให้ดับที่เหตุนั้น ประมาณนี้ค่ะ
และไม่ค่อยมีเวลาเต็มที่ด้วย :b8:

ศึกษาพระธรรม
เริ่มด้วยการฟังธรรม
ให้ทาน
รักษาศีล
เจริญจิตตภาวนา
เจริญปัญญา
หมั่นเข้าหาครูอาจารย์ เพื่อไต่ถามข้อปฏิบัติที่ไม่เข้าใจ

หากต้องการเรียนคำศัพท์ เพื่อสอนบุคคลอื่นต่อ ก็ให้เรียนอภิธรรม เสียเวลานานหน่อย อาจจะตายก่อนเรียนจบก็ได้ครับ

บางคนก็พกคำศัพท์อภิธรรมไว้ในสมองจนเฟ้อไปก็มีครับ เพราะคอยเช็คสภาวะกับอภิธรรมคำศัพท์ที่เรียนมา
อันนี้ก็ควรระมัดระวังให้มากครับ

การศึกษาอภิธรรม จึงต้องทราบว่า ศึกษาอภิธรรมใด
อภิธรรมคำศัพท์?
อภิธรรม ที่ให้คิดนึกเออออไปตาม?
อภิธรรม เพื่อมรรคผลนิพพาน?

วิธีการเรียนลัดสั้นที่สุดคือ เข้าหาครูอาจารย์ที่ผ่านสภาวะต่างๆ มาหมดแล้วครับ ดีที่สุด
ลัดสั้นที่สุด

สั้นๆ ง่ายๆ ครับ การปฏิบัติธรรม ก็เพื่อให้จิตเข้าถึงความสงบ ไม่พล่านไม่กำเริบกับความอยากกระทบใจ

อยากเสียเวลา ให้ศึกษาอภิธรรม
ต้องการลัดสั้น เข้าหาครูอาจารย์ที่เข้าถึงสภาวะนั้นแล้ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 14:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณลุงหมาน สำหรับคำชี้แนะค่ะ
อยู่เชียงใหม่ แต่ที่เรียนไกลไปหน่อย
แต่เรียนทางไปรษณีย์นี่ น่าสนใจมากค่ะ :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับนักศึกษาทางไปรษณีย์
นักศึกษาที่สมัครเรียนจะได้รับเอกสารประกอบการศึกษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (เรียนฟรี ตลอดหลักสูตร)
เอกสารประกอบการศึกษานี้ จะแจกให้ทีละชุด เมื่อนักศึกษาสมัครเรียนแล้วจะได้รับเอกสารบทเรียนชุดที่ 1 พร้อมคำถามชุดที่ 1 หลังจากที่ตอบคำถามชุดที่ 1 แล้ว ให้ส่งคำตอบไปยังมูลนิธิฯ เพื่อตรวจคำตอบ คำตอบที่ตรวจแล้วจะส่งคืนให้แก่นักศึกษาพร้อมกับบทเรียนชุดที่ 2 และคำถามชุดที่ 2 เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ 10 บทเรียน
นักศึกษาที่ตอบคำถามครบถ้วนตามหลักสูตร (10 บทเรียน) จะได้รับวุฒิบัตร "พระอภิธัมมัตถสังคหะ" ทางไปรษณีย์
ไม่จำกัดระยะเวลาในการศึกษา
สำหรับนักศึกษาที่มีข้อสงสัย หรือมีคำถามเกี่ยวกับบทเรียน นอกเหนือจากการ ถาม - ตอบ ปัญหาทางจดหมายแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังจัดบรรยายพิเศษเป็นประจำทุกวันเสาร์ ณ สำนักงานของมูลนิธิฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับพระอภิธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรม
จะทราบว่าหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาคืออะไร และหัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
จะทำให้เข้าใจธรรมชาติของร่างกายและจิตใจที่รวมกันเป็นชีวิต หรือ ขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ว่าแท้จริงแล้วเป็นแค่เพียงสภาวะที่ปรากฏขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น มิใช่เป็นสัตว์ มิใช่เป็นบุคคล มิใช่เป็นเรา มิใช่เป็นเขา ตามที่หลงผิดกัน
จะมีความเข้าใจเรื่องของบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรมอย่างชัดเจน
จะตัดสินได้ด้วยตนเองว่าอะไรเป็น "บุญ" อะไรเป็น "บาป"
จะมีความเข้าใจในเรื่องของการทำบุญมากขึ้น รู้ว่าจะต้องทำบุญอย่างไรจึงจะได้รับอานิสงส์สูงสุด
จะทราบว่า บุญ - บาป ที่ทำไปแล้ว กลับมาส่งผลได้อย่างไร ทำไมคนเราจึงเกิดมาแตกต่างกัน
จะทราบว่า ตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ อยู่ที่ไหน
จะเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม (วิบาก) เป็นอย่างดี
จะเข้าใจเรื่องการทำสมาธิ และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาณที่ถูกต้อง
จะเข้าใจเรื่อง มรรค ผล นิพพาน อย่างท่องแท้
จะได้รับความรู้ในสาระอื่นๆ อันเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอีกมากมาย ฯลฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลุงหมาน
มี10บทจบ ฟังแล้วง่ายจัง :b19: :b19:
แล้ว1บทนี่ ใช้เวลานานมั้ยหนอ s006


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร