วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 22:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2015, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว




image.jpg
image.jpg [ 72.47 KiB | เปิดดู 4892 ครั้ง ]
image.jpg
image.jpg [ 59.88 KiB | เปิดดู 4890 ครั้ง ]
image.jpg
image.jpg [ 97.89 KiB | เปิดดู 4888 ครั้ง ]
สงบสบาย. มีแต่ธรรมบรรยายพระสูตร

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 05:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว




image.jpg
image.jpg [ 68.59 KiB | เปิดดู 4792 ครั้ง ]
มาทำบุญ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 07:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
อนุมทนาในบุญในกุศล...ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมพุทธบริษัทไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งได้
เพราะเกิดจากระบบการสอนที่ยึดติดกับตัวบุคคล
ความอยากเด่น ความยากดังของผู้สอน
จึงต้องสร้างความแตกต่าง ในความแตกต่างนั้น
ก็นำมาซึ่งความแตกแยก
ทั้งหมดนี้ล้วนขัดต่อจุดประสงค์การตั่งศาสนาของพุทธเจ้า
แม้ผู้เป็นเจ้าลัทธิจะมีคนเครารพนับถือมากแค่ใหน
นั่นไม่ใช่เป็นสิ่งยืนยันว่าผู้นั้นศักดิ์สิทธิ์จริงแต่หากเป็นแค่ความงมงาย
มากน้อยของคนที่นับถือเท่านั้น :b41:


สังคมไทยไม่ยอมรับคนอกตัญญูแต่บางครั้งก็หลงลืมไปว่าสิ่งที่พวกเขา
กำลังลุ่มหลงอยู่นั้นเกิดจากอะไร
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าใช้แต่คำตถาคตจะไม่เป็นหนึ่งได้อย่างไร. แต่มีใครยอมกันบ้างมั้ยที่จะหันกลับมาใช้แต่คำตถาคตแค่นี้ก็จบเรื่อง. คนที่เขารักคำตถาคตเขายอมรับไม่ได้หรอกที่จะทำในสิ่งที่ตถาคตห้าม. หรือว่ามีใครคนไหนยอมรับกับการกระทำที่ตถาคตห้ามไว้ได้บ้างลองยกมือหน่อยซิ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2015, 05:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เคล็ดลับวิปัสสนา_resize B.jpg
เคล็ดลับวิปัสสนา_resize B.jpg [ 87.95 KiB | เปิดดู 4744 ครั้ง ]
:b8:
การนำเอาคำสอนตรงๆที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้ามาสอนและถ่ายทอดต่อเป็นสิ่งที่ดี

การนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาษาบาลีมาแปล มาอรรถาธิบายให้เป็นภาษาที่ง่ายฟังแล้วรู้เข้าใจง่าย ปฏิบัติตามได้ง่าย และต้องเน้นให้มีความหมายถูกต้องตรงตามพุทธวัจจนะด้วย ยิ่งดีขึ้นไปอีก

แต่การปฏิบัติตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า จนเข้าถึงผลอย่างที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็นตามลำดับชั้น แล้วเอาความถึงธรรมที่ปรากฏในจิตนั้นมาสาธยายขยายความอรรถาธิบายแบ่งปันสู่กันฟังในภาษาของใครของมันนั้นยิ่งดีที่สุด

:b27:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2015, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การนำเอาคำสอนตรงๆที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้ามาสอนและถ่ายทอดต่อเป็นสิ่งที่ดี

การนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาษาบาลีมาแปล มาอรรถาธิบายให้เป็นภาษาที่ง่ายฟังแล้วรู้เข้าใจง่าย ปฏิบัติตามได้ง่าย และต้องเน้นให้มีความหมายถูกต้องตรงตามพุทธวัจจนะด้วย ยิ่งดีขึ้นไปอีก
:b8:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้พูดถึงเนื้อหาที่สอนแต่หมายผู้สอนสำคัญตนว่าวิเศษกว่าใคร
ต้องสอนแบบตนเท่านั้นถึงจะถูก ของคนอื่นผิดหมด ตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดความแตกแยก
ไปเอาพุทธวจนะจากพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่ยอมรับอรรถกถา
แบบนี้จะใช้คำว่าอกตัญญูได้ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆกระทู้นี้ก็เป็นกระทู้เกี่ยวกับวัดนาป่าพง..
จริงๆ คุนน้องไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับวัดนี้หรือเจ้าสำนักแห่งนี้..แต่เหมือนโลกมันกลม จะเข้าเว็ปก็เจอ(ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องศาสนาแต่ยังมีเหตุให้โยงไปเจอบุคคลที่สาม) หรือจะเข้ายูทูปมักจะมีเรื่องมากระทบหูกระทบตา ไม่รู้โผล่มาได้ไง ทั้งที่คุนน้องอยู่คนเดียวเงียบๆ แต่โลกไซเบอร์มันกว้างเกินที่จะปิดหูปิดตาเรื่องที่เราไม่อยากรู้ ดันมิวายต้องมาเจอเรื่องงสะกิดต่อมสงสัย..
พระพุทธองค์คงมิห้ามให้สาวกหรือลูกศิษย์สงสัยใช่ไหมเจ้าค่ะ..คุนน้องก็อยากเรียนถามว่า การทีวัดนี้ตัดศีลให้เหลือ 150 ข้อ มันผิดพระธรรมวินัยมั้ย แบบนี่เข้าข่ายทำ สังฆเภทใช่หรือไม่ค่ะ ในเมื่อพุทธเถวรวาท พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย 227 ข้อ แล้วทำไมถึงลดศีลลง..??แล้วทางคณะสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร? ใครเป็นผู้บัญญัติศีล 227?
ในฐานะชาวพุทธ เราทุกคนมักจะเชื่อมั่นว่าตนเอง
ปฏิบัติตามคำตถาคต และเชื่อมั่นทิฏฐิตนเองว่า สิ่งที่เราทำอยู่ถูกต้องตรงต่อคำสอนตถาคต..แต่อะไรๆมันก็ไม่แน่หรอก..แม้แต่ตัวคุนน้องเองยังไม่ยอมเชื่อความคิดตนเองข้างเดียว..จนกว่าจะได้รับฟังคำชี้แจงจากผู้อื่นเช่นกัน..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัด ให้ตรง

เท้าเรื่อง เท้าความเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 เกิดมีกรณีที่ทราบคร่าวๆ ว่า พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล วัดนาป่าพง ได้นำพระในวัดของท่านสวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อมา 8 ปีแล้ว

ในฐานะที่พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล อยู่ในสายของวัดหนองป่าพง พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพง เมื่อประชุมกันประจำปี ได้ทราบเรื่องนี้ ก็ได้มีมติให้พระคึกฤทธิ์ละเลิกการปฏิบัติของตน แต่พระคึกฤทธิ์ไม่ยอม แม้จะให้เวลา 1 ปี ที่จะกลับเข้ามาถือปฏิบัติตามมติสงฆ์ ก็ไม่ทำตาม จึงถูกตัดออกไปจากสายวัดหนองป่าพง ความที่ว่านี้ เล่าไปตามที่ทราบมา ถ้ามีอะไรไม่แม่นยำ ท่านที่เป็นเจ้าของเรื่อง หรืออยู่ในเรื่องโดยตรง อาจช่วยทำให้ชัดยิ่งขึ้น หลังจากเกิดกรณีนั้นในกลางปี 2552 แล้วราว 1 เดือน อาตมาได้ทราบเรื่องจากพระอาจารย์บางท่านในสายวัดหนองป่าพง

เมื่อได้อ่านเอกสารของทางวัดหนองป่าพง ก็เห็นว่า พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพงได้สืบค้นหลักฐานข้อมูลทางคัมภีร์ และตรวจสอบคำแปลมาอย่างเพียงพอและมั่นใจแล้วว่า พุทธพจน์ในพระไตรปิฎกมิใช่กล่าวว่าสิกขาบทในพระปาติโมกข์มีเพียง 150 ข้อ แต่มีเกินกว่านั้น ท่านจึงได้มีมติดังที่ว่าข้างต้น เมื่อเรื่องมีขึ้น ควรเข้าใจให้โล่ง การที่พระคึกฤทธิ์สวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อนั้น ท่านว่าเป็นพุทธวจนะ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้มาในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่ที่พระคึกฤทธิ์อ้างนั้น ที่จริงไม่ใช่พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่เป็นคำแปลภาษาไทย ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ที่แปลออกมาจากพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ อีกทอดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวจริงของเดิมในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

ถ้าพระคึกฤทธิ์บอกว่าไม่ยอมรับหรือไม่เอาอรรถกถา ท่านก็ต้องไม่ยอมรับ ต้องไม่เอาพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับใดทั้งสิ้น

ถ้าท่านตัดคัดทำหนังสือพุทธวจนะ จากพระไตรปิฎกภาษาไทย (ที่ท่านเรียกเอาเองว่าสยามรัฐโดยไม่เป็นจริง) พระคึกฤทธิ์ก็จะต้องปฏิเสธ ต้องไม่ยอมรับหนังสือ พุทธวจนะ ที่ท่านเองจัดทำขึ้นมานั้น

ถ้าไม่ยอมรับ ไม่เอาอรรถกถา และถ้าท่านยังจะทำหนังสือพุทธวจนะ เป็นภาษาไทย พระคึกฤทธิ์ก็ต้องแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทยขึ้นใหม่ ด้วยตัวท่านเอง

นอกจากไม่ใช้อรรถกถาแล้ว ก็ต้องไม่ใช้พจนานุกรมภาษาบาลีใดๆ ด้วย เพราะพจนานุกรมภาษาบาลีทั้งหลายจัดทำขึ้นมา โดยอาศัยอรรถกถาโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง


ต่อ
http://www.alittlebuddha.com/html/Speci ... ajana.html

ชัดเจนไม่ต้องเถียงอะไรอีก
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ไหนๆกระทู้นี้ก็เป็นกระทู้เกี่ยวกับวัดนาป่าพง..
จริงๆ คุนน้องไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับวัดนี้หรือเจ้าสำนักแห่งนี้..แต่เหมือนโลกมันกลม จะเข้าเว็ปก็เจอ(ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องศาสนาแต่ยังมีเหตุให้โยงไปเจอบุคคลที่สาม) หรือจะเข้ายูทูปมักจะมีเรื่องมากระทบหูกระทบตา ไม่รู้โผล่มาได้ไง ทั้งที่คุนน้องอยู่คนเดียวเงียบๆ แต่โลกไซเบอร์มันกว้างเกินที่จะปิดหูปิดตาเรื่องที่เราไม่อยากรู้ ดันมิวายต้องมาเจอเรื่องงสะกิดต่อมสงสัย..
พระพุทธองค์คงมิห้ามให้สาวกหรือลูกศิษย์สงสัยใช่ไหมเจ้าค่ะ..คุนน้องก็อยากเรียนถามว่า การทีวัดนี้ตัดศีลให้เหลือ 150 ข้อ มันผิดพระธรรมวินัยมั้ย แบบนี่เข้าข่ายทำ สังฆเภทใช่หรือไม่ค่ะ ในเมื่อพุทธเถวรวาท พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย 227 ข้อ แล้วทำไมถึงลดศีลลง..??แล้วทางคณะสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร? ใครเป็นผู้บัญญัติศีล 227?
ในฐานะชาวพุทธ เราทุกคนมักจะเชื่อมั่นว่าตนเอง
ปฏิบัติตามคำตถาคต และเชื่อมั่นทิฏฐิตนเองว่า สิ่งที่เราทำอยู่ถูกต้องตรงต่อคำสอนตถาคต..แต่อะไรๆมันก็ไม่แน่หรอก..แม้แต่ตัวคุนน้องเองยังไม่ยอมเชื่อความคิดตนเองข้างเดียว..จนกว่าจะได้รับฟังคำชี้แจงจากผู้อื่นเช่นกัน..

[๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศ

ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุ

ทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓

[๕๒๖] ๘๗ สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ

อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ยตฺถ อตฺถกามา กุลปุตฺตา สิกฺขนฺติ ฯ ติสฺโส

อิมา ภิกฺขเว สิกฺขา ยตฺเถตํ สพฺพํ สโมธานํ คจฺฉติ กตมา

ติสฺโส

[๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ

ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓

[๕๒๗] ๘๘ สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ

อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ยตฺถ อตฺถกามา กุลปุตฺตา สิกฺขนฺติ ฯ ติสฺโส

อิมา ภิกฺขเว สิกฺขา ยตฺเถตํ สพฺพํ สโมธานํ คจฺฉติ กตมา

ติสฺโส

นำมาแสดงทั้งบาลีแปล และบาลีอักษรไทย

จากข้อความในพระไตรปิฏกแปลไทยนั้นแสดงว่ามี 150 ถ้วน ตรวจสอบหลายฉบับ

ที่พิมพ์ก็แปลตรงกันเช่นฉบับบาลีสยามรัฐ ฉบับ มจร. ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2549 มหาเถรสมาคม

ที่นี่พระถือศิลสองพันกว่าข้อนะครับ ไม่ใช่227 เพราะศิลพระมีทั้งหมดสองพันกว่าข้อครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เอาแต่พุทธวจนนั้นคือการรักษาคำตถาคตไว้นั้นเป็นสิ่งประเสริฐสุดแล้ว. ส่วนเรื่องคำของอรรถกถาท่านใดจะศึกษาก็กระทำกันได้ตามสบาย แต่ที่นี่รักษาคำตถาตตเท่าที่ตำราจะมีประเสริฐสุด

ศึกษาดูว่าทำไมต้องพุทธวจน


ทำไมต้องพุทธวจน
คำนำ
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ก็เกิดมีหลายสำนัก
หลายครูบาอาจารย์ ทำให้มาตรฐานเริ่มมากในสังคม
เริ่มหามาตรฐานกลางไม่ได้ ต่างคนต่างใช้ความเห็นของหมู่คณะ
หรือความเห็นของผู้นำหมู่คณะของตน
เราต้องกลับมาถามว่าหมู่คณะนั้นใช้คำของพระตถาคต
เป็นมาตรฐานรึเปล่า พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นถึงปัญหานี้
และท่านได้ตรัสกำชับในหลายๆครั้ง
ซึ่งรวบรวมข้อความสำคัญได้ถึง ๑๐ พระสูตร
๑๐
พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษา
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต
ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย
ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม
ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล
(อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
(โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.
ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา
ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม
ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ
รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน
ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.
ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา
ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท
ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา
จิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย
ความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก
ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง
เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ
เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้
จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น
มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย
ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-
สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธ
วจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่
บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
(ในที่นี้ยกมาเพียง 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ของเหตุเจริญแห่งพระศาสนา)
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ
พระศาสดา”...
๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่
พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
คำสอนของพระศาสดา”...
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ
ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดา”...
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุ
นี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑
อริยวินัย น. ๓๙๙
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามี
พระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธอ
อย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตน
เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่ อานนท์! ภิกษุพวกใด
เป็นผู้ใคร่ ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย
อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
ม. ม. ๑๓ / ๔๒๗ / ๔๖๓.


ติดตามการเผยแผ่พระธรรม ตามหลักพุทธวจน
โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสต.ถิผโล วัดนาป่าพง คลอง ๑๐ ลำลูกกา ปทุมธานี
หรือที่ www.watnapp.com

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นจะรักษาคาตถาคต จะให้เอาอรรถกถาได้อย่างไร. งง. แม้แต่คำที่ท่านแสดงเมื่ออธิบายท่านก็บอกศิษย์ตลอดว่าอย่ายึด. ให้ศึกษารักษาไว้ซึ่งคำตถาคต. ส่วนเรื่องทำหนังสือ ประเด็นคือรวบรวมคำพระพุทธเจ้าล้วนๆเพื่อการศึกษาครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 310


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ประเด็นจะรักษาคาตถาคต จะให้เอาอรรถกถาได้อย่างไร. งง. แม้แต่คำที่ท่านแสดงเมื่ออธิบายท่านก็บอกศิษย์ตลอดว่าอย่ายึด. ให้ศึกษารักษาไว้ซึ่งคำตถาคต. ส่วนเรื่องทำหนังสือ ประเด็นคือรวบรวมคำพระพุทธเจ้าล้วนๆเพื่อการศึกษาครับ


ประเด็นที่เถียงกันไม่ใช่ว่าจะให้เอาอรรถกา ประเด็นอยู่ที่วิธีการของพระคึกฤทธิ์คือท่านไม่ยอมรับ
อรรถกถาแต่พระคึกฤทธิ์ดันไปขโมยผลงานของอรรถกามาแปลงเป็นผลของงานตัวเองนี้แหละคือประเด่น
เข้าใจไหม

จริงๆแล้วเป็นชอบอ่านพุทธวจนะโดยตรงอยู่แล้วในหนังสือพุทธวจนะของวัดนาป่าพงก็ซื้อมาเล่นหนึ่ง
คือสนับสนุนทำหนังสือและเผยแพร่แบบนี้แต่วิธีการที่ได้มามันไม่ถูกต้องอันนี้แหละรับไม่ได้
และไม่สนับสนุน Onion_R

พุทธวจนะเป็นสมบัติล้ำค่า เป็นคำตถาคตโดนตรง แต่คนที่นำมาเผยแพร่ดันไปขโมยมานิสิ

:b5:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร