วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ย. 2024, 10:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาธัมม์วันละคำ คำขึ้นต้นอักษร น

คัดศัพท์พร้อมความหมายที่ใช้ทางธัมม์
ซึ่งเคยได้ยินได้ฟัง ทั้งนำไปพูดกันบ่อยๆ แต่เข้าใจไขว่เขวให้ดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้, ๑. ในที่ทั่วไปหมายถึงรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๒. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั่น และ นิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ) ๓. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย, เทียบ รูป

นามกาย "กองแห่งนามธรรม" หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย, เทียบ รูปกาย

รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่ รูปขันธ์หรือร่างกาย

นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นามธรรม สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ

นามรูป นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ ทั้งหมด


นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่า สิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่า สิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)


นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณ กำหนดปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกสั้นๆวา ปริคคหญาณ

นมัสการ "การทำความนอบน้อม" การไหว้, การเคารพ, การนอบน้อม, ใช้เป็นคำขึ้นต้นและส่วนหนึ่งของคำลงท้ายจดหมายที่คฤหัสถ์มีไปถึงพระภิกษุ สามเณร

นิมนต์ เชิญ หมายถึงเชิญพระ เชิญนักบวช

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันนิยมใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน, นิพพานหรือนิพพานธาตุ ๒ คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


นิพพิทา "ความหน่าย" หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา, ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์


นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย


นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ


นิจศีล ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ, ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ ศีล ๕

นิบาต ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความหรือเสริมความ เป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง

นิปปริยาย ไม่อ้อมค้อม, ตรง, สิ้นเชิง (พจนานุกรมเขียน นิปริยาย)

นิทาน เหตุ, ที่มา, ต้นเรื่อง, ความเป็นมาแต่เดิม หรือเรื่องเดิมที่เป็นมา เช่น ในคำว่า "ให้ทาน ที่เป็นสุขนิทานของสรรพสัตว์" สุขนิทาน คือเหตุแห่งความสุข, ในภาษาไทย ความหมายได้เพี้ยนไป กลายเป็นว่า เรื่องที่เล่ากันมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นวกรรม การก่อสร้าง

นวกัมมาธิฏฐายี ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี

นวกัมมิกะ ผู้ดูแลนวกรรม, ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าทู่แลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ในอาราม, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการในอาราม

นวโกวาท คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี

นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนปะกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระเพุทธเจ้า คือ ๑. สุตตะ (พระสุตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)

๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)

๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือ ความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นต้น)

๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น

๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)

๖. อิติ วุตตกะ (พระสูตร ที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)

๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)

๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)

๙. เวทัลละ (พระสูตร แบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่งๆขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น)

เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์

นรก เหวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย, ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป (ข้อ ๑ ในทุคติ ๓ ข้อ ๑ ในอบาย ๔) ดูนิรยะ

นิรยะ นรก, ภพที่ไม่มีความเจริญ, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด (ข้อ ๑ ในทุคติ ๓ ข้อ ๑ ในอบาย ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7505

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
A nu mo ta na sa tu ka
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ต่อไป (ข้อ ๓ ในบุคคล ๔ เหล่า)

นัย อุบาย, อาการ, วิธี, ข้อสำคัญ, เค้าความ, เค้าเงื่อน, แง่ความหมาย

นาค งูใหญ่ในนิยาย, ช้าง, ผู้ประเสริฐ, ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย

นาคเสน พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละ ในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวท และต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหณะเป็นอุปัชฌาย์

มิลินท์ มหากษัตริย์เชื่อชาติกรีก ในชมพูทวีป ครองแคว้นโยนก ที่สาคนคร (ปัจจุบันเรียกว่า Sialkot อยู่ในแคว้นปัญจาบ ที่เป็นส่วนของปากีสถาน) ทรงมีชาติภูมิที่เกาะอลสันทะ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าตรงกับคำว่า Alexandria คือเป็นเมืองหนึ่งที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชสร้างขึ้นบนทางเดินทัพที่ทรง มีชัย ห่างจากสาคลนครประมาณ ๒๐๐ โยชน์ ทรงเป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ทรงเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนาและเป็นองค์อุปถัมภ์สำคัญ ชาวตะวันตกเรียกพระนามตามภาษากรีกว่า Menander ครองราชย์ พ.ศ. ๔๒๓ สวรรคต พ.ศ. ๔๕๓

มิลินทปัญหา คัมภีร์สำคัญ บันทึกคำสนทนาโต้ตอบปัญหาธรรม ระหว่างพระนาคเสน กับ พระยามิลินท์

นักษัตรฤกษ์ ดาวฤกษ์ ซึ่งอยู่บนท้องฟ้า มีชื่อต่างๆ กัน เช่น ดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวคางหมู ดาวจระเข้ ดาวคันฉัตร เป็นต้น

นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เช่น เห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง

นันทิ ความยินดี, ความติดใจเพลิดเพลิน, ความระเริง, ความสนุก, ความชื่นมื่น

นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือ รู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

นิปปริยาย ไม่อ้อมค้อม, ตรง, สิ้นเชิง (พจนานุกรมเขียน นิปริยาย)

นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิสัย ๑ ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือ กล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ ผู้ให้นิสัย เรียกว่า นิสสยาจารย์ (อาจารย์ ผู้รับที่จะเป็นที่พึ่งที่อาศัย ทำหน้าที่ปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) คำบาลีว่า "นิสสย" ในภาษาไทย เขียน นิสสัย หรือ นิสัย ก็ได้ ๒. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ๓. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย

นิสัยมุตตกะ ภิกษุผู้พ้นการถือนิสัย หมายถึงภิกษุมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว ไม่ต้องถือนิสัยในอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ต่อไป, เรียกง่ายว่า นิสัยมุตก์


นิสิต ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย


นาถกรณธรรม ธรรมที่ทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. ศีล มีความประพฤติดี

๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก

๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม

๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล

๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ

๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม

๗. วิริยะ ขยันหมั่นเพียร

๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ

๙. สติ มีสติ

๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

นาคาวโลก การเหลียวมองอย่างพญาช้าง, มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือ เหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด เป็นกิริยาของพระพุทธเจ้า ตามเรื่องในพุทธประวัติ ครั้งที่ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นปัจฉิมทัศน์ ก่อนเสด็จไปปรินิพพานที่เมืองกุสินารา, เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น

รูปภาพ


https://www.youtube.com/watch?v=QlRfNofhTTA

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2016, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นที แม่น้ำ ในพระวินัย หมายเอาแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลอยู่ ไม่ใช่แม่น้ำตัน

นัมมทา ชื่อแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลางของอินเดีย ไหลไปคล้ายจะเคียงคู่กับเทือกเขาวินธยะ ถือว่าเป็นเส้นแบ่งระหว่างอุตราบถ (ดินแดนแถบเหนือ) กับ ทักขิณาบถ (ดินแดนแถบใต้) ของชมพูทวีป, บัดนี้เรียกว่า Narmada แต่บางที เรียก Narbada หรือ Nerbudda ชาวฮินดูถือว่า เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รองจากแม่น้ำคงคา, แม่น้ำนัมมทายาว ประมาณ ๑,๓๐๐ กม. ไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ออกทะเลที่ใต้เมืองท่าภารุกัจฉะ (บัดนี้ เรียก Bharuch) สู่อ่าว Khambhat (Cambay)
อรรถกถาเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปสุนาปรันตรัฐตามคำอาราธนาของพระปุณณะผู้ เป็นชาวแคว้นนั้นแล้ว ระหว่างทางเสด็จกลับ ถึงแม่น้ำนัมมทา ได้แสดงธรรมโปรดนัมมทานาคราช ซึ่งได้ทูลขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาท ไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้น อันถือกันมาว่า เป็นพระพุทธบาทแห่งแรก

นิรามิษ, นิรามิส หาเหยื่อมิได้, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ

นิรามิสสุข สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่ สุขที่อิงเนกขัมมะ ดู สุข

สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ, มี ๒ คือ ๑. กายิกสุข สุขทางกาย ๒ เจตสิกสุข สุขทางใจ,

อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คือ อาศัยกามคุณ ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือ สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างอีกหลายหมด)


นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน, หรืออรูปภพที่ ๔

เนวสัญญีนาสัญญี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, อกุศลธรรมที่กดทับจิต ปิดกั้นปัญญา มี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันท์ พอใจใฝ่กามคุณ ๒. พยาบาท แค้นเคืองคิดร้ายเขา ๓. ถีนมิทธะ หดหู่ซึมเซา ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ๕. วิจิกิจฉา ลังเล สงสัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ. 2017, 10:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นกุลบิดา “พ่อของนกุล” คฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้งสองสามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น

พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้งสองท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืนตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า

เมื่อท่านนกุลเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย

ท่านนกุลบิดา ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ) ท่านนกุลมารดา ก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้สนิทสนมคุ้นเคยเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นวกภูมิ ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยังต้องถือนิสัย เป็นต้น


นิกเขปบท บทตั้ง, คำหรือข้อความที่ย่อจับเอาสาระมาวางตั้งลงเป็นแม่บท เพื่อจะขยายความหรือแจกแจงอธิบายต่อไป


เนตติ แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม (พจนานุกรม เขียน เนติ)


เนปาล ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีวัน เป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และทางใต้ของประเทศจีน
หนังสือเก่าเขียน เนปอล


เนรัญชรา ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาถวายในแม่น้ำนี้


นิครนถนาฏบุตร คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้นศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย


นิครนถ์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร, นักบวชในศาสนาเชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิต 4 ความหมาย

นิมิต 1. เครื่องหมาย ได้แก่ วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ

2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ

3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐานมี ๓. คือ

๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือ นิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือ กำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน

๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น

๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยายหรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา

4 . สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง

นิมิตขาด (ในคำว่า สีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน, ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิตไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นาถกรณธรรม ธรรมที่ทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. ศีล มีความประพฤติดี

๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก

๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม

๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล

๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ

๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม

๗. วิริยะ ขยันหมั่นเพียร

๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ

๙. สติ มีสติ

๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิยยานิกะ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์


นิโรธ ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน


นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงเข้านิโรธสมาบัติได้


นิโรธสัญญา ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิสสันท์, นิสสันทะ "สภาวะที่หลั่งไหลออก" สิ่งที่เกิดตามมา, สิ่งที่ออกมาเป็นผล, ผลสืบเนื่อง หรือผลต่อตาม เช่น แสงสว่างและควัน เป็นนิสสันท์ของไฟ, มูตรและคูถ เป็นต้น เป็นนิสสันท์ของสิ่งที่ได้ดื่มกิน, อุปาทายรูปเป็นนิสสันท์ของมหาภูตรูป, โทสะเป็นนิสสันท์ของโลภะ (เพราะโลภะถูกขัด โทสะจึงเกิด) อรูปฌานเป็นนิสสันท์ของกสิณ, นิโรธสมาบัติเป็นนิสสันท์ของสมถะและวิปัสสนา


นิสสันท์ ใช้กับผลดีหรือผลร้ายก็ได้ เช่นเดียวกับวิบาก แต่วิบากหมายถึงผลของกรรมที่เกิดขึ้นแก่กระแสสืบต่อแห่งชีวิตของผู้ทำกรรม นั้น (คือ แก่ชีวิตสันตติ หรือแก่เบญจขันธ์)

ส่วนนิสสันท์นี้ ใช้กับผลของกรรมก็ได้ ใช้กับผลของธรรม และเรื่องราวทั้งหลายได้ทั่วไป ถ้าใช้กับผลของกรรม นิสสันท์หมายถึงผลพ่วงพลอย ผลข้างเคียง หรือผลโดยอ้อม ซึ่งสืบเนื่องต่อออกไปจากวิบาก (คืออิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ที่เกิดพ่วงมาข้างนอก อันจะก่อให้เกิดความสุข หรือความทุกข์) เช่น

ทำดีแล้ว เกิดผลดีต่อชีวิต เป็นวิบาก จากนั้นพลอยมีลาภมีความสะดวกสบายเกิดตามมา เป็นนิสสันท์ หรือ

ทำกรรมชั่วแล้ว ชีวิตสืบต่อแปรเปลี่ยนไปในทางที่ไม่น่าปรารถนา เป็นวิบาก และเกิดความโศกเศร้าเสียใจ เป็นนิสสันท์ และนิสสันท์ หมายถึง ผลที่พลอยเกิดแก่คนอื่นด้วย เช่น บุคคลเสวยวิบากของกรรมชั่ว มีชีวิตไม่ดีแล้ว ครอบครัวญาติพี่น้องของเขาเกิดความเดือดร้อนเป็นอยู่ยากลำบาก เป็นนิสสันท์,

นิสสันท์ หมายถึงผลสืบเนื่องหรือผลพ่วงพลอยที่ดีหรือร้ายก็ได้ ต่างจากอานิสงส์ ซึ่งหมายถึงผลได้พิเศษในฝ่ายดีอย่างเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2017, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิกาย พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง 1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันติปิฎก ซึ่งแยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย 2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ

ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และเถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียกหีนยาน พวกหนึ่ง

ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และ คณะธรรมยุต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร