วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 07:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท


อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก
ปฏิจฺจสมุปฺปาทญฺเญว สาธุกํโยนิโส มนสิกโรติ


ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า


อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี


อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น


อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี


อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป




ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ


อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย


สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ


วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป


นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ


สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ


ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร


สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ


วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป


นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ


สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ


ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา


เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา


ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน


อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ


ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ


ชาตินิโรธา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 ธ.ค. 2016, 14:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจสี่ - ปฏิจจสมุปบาท



ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์


การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น
ก็เป็นทุกข์


กล่าวโดยย่อ
ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย


เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ


เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป


เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ


เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ


เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร


เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ


เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป


เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ


เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ


เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา


เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา


เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน


เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ


เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ


เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น


ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


มรรคอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ


( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ


อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย
ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้
ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้


อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น
เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 06:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความปรารถณา...นี้แหละตัวดีเลย

ปรารถณา...ให้สิ่งที่ภัยกับรูปให้...หายไป..หมดไป...ทั้งๆที่..ทุกสิ่งทุกอย่าง..เมื่อเกิดแล้วมันต้องดับไป..สลายไป...เป็นธรรมดาอยู่แล้ว...แต่ใจก็ปรารถณาให้ดับไปโดยเร็ว...ดับไปโดยไว..รอไม่ได้...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์

[๑๕๒] ดูกรมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล
เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์
โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์

และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์
โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์

ดูกรมาลุงกยบุตร
ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้
เราไม่พยากรณ์.

ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์

เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น.


ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่า ที่เราพยากรณ์

ดูกรมาลุงกยบุตร ความเห็นว่า
นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้
เราพยากรณ์.


ก็เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น
เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น.


เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์
โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์

และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์
โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 01:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติ การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ




walaiporn เขียน:

ปฏิจจสมุปบาท



อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย


สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ


วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป


นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ


สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ


ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร


สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ


วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป


นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ


สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ


ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา


เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา


ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน


อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ


ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ


ชาตินิโรธา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ธ.ค. 2016, 02:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2016, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติ การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ




walaiporn เขียน:

อริยสัจสี่ - ปฏิจจสมุปบาท



ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์


การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น
ก็เป็นทุกข์


กล่าวโดยย่อ
ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย


เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ


เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป


เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ


เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ


เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา


เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา


เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน


เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ


เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ


เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน


ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว
จึงมีความดับแห่งสังขาร


เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ


เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป


เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ


เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ


เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา


เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา


เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน


เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ


เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ


เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น


ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


มรรคอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ


( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ


ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ


อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย
ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้
ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้


อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น
เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติ การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ


๑. สมถะ(สัมมาสมาธิ)

สัมมาสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)


กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง(ญาณ 16)


รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

ฌานสมาบัติ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)
มีเกิดขึ้น และดับไป

นิโรธสมาบัติ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)
มีเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้น และดับไปในที่สุด







๒. โยนิโสมนสิการ

การกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)





๓. วิปัสสนา

อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา

สุญญตวิโมกขมุข อนิมิตตวิโมกขมุข อัปปณิหิตวิโมกขมุข

สุญญตานุปัสสนา อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา







๔. วิโมกข์ ๘(เจโตวิมุติ)




[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ


๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ



ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง
เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ
ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ








๕. ปัญญาวิมุติ


[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗
เป็นไฉน คือ-



๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์
และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑


๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง
ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒


๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓


๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔


๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕



๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖


๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗


ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑)
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ


ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น

วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มีว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวกพวกวินิบาตบางพวก

ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น

เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ

ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ ฯลฯ




วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น

เขายังจะควรเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ





ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า
ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น

เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ

ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ






ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ

ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ

ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ






ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น

อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร