วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มาของคำที่เรียกว่า ญาณ ๑๖


จิตตวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณทัสสนวิสุทธิว่า
เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว


ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน
ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน

ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0










จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา

เมื่อโยคีบุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว
พระวิปัสสนาญาณจักเกิดขึ้นในขันธสันดานตามลำดับ
นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ จนถึงมรรคผลญาณ
และปัจจเวกขณญาณเป็นที่สุด




ญาณ ๑๖ โดยสภาวะตามความเป็นจริงแล้ว
เป็นเรื่องของ การเจริญสมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน



[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑
ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ



ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ



[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ

[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ



ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ



ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ


[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเริ่มต้นทำความเพียร


ในการทำความเพียร ทำไมจึงมีหลายรูปแบบ
หลากหลายวิธีการ ที่นำมาสอนกัน

เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่สร้างมาแตกต่างกัน

บางคนเริ่มต้นจากสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนา

บางคนเริ่มต้นจากคำที่เรียกว่า สมถะ



วิธีไหนทำแล้วถูกอก ถูกใจ ถูกจริตตัวเอง เลือกวิธีนั้นไว้ก่อน
สถานที่แบบไหน ทำแล้วสะดวกสบาย ปฏิบัติไม่ลำบาก ให้เลือกสถานที่นั้น

ไม่ว่าจะเริ่มต้นแบบไหน
ใช้ได้ทั้งหมด ไม่มีอะไรดีที่สุด

เพราะท้ายสุด ทุกรูปแบบของการทำความเพียร
มาบรรจบลงที่เดียวกัน การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน
กล่าวคือ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ


การปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้แล้ว

===================================

[๕๓๖] ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น


ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญ วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

============================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธิ



ขณะจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น
จึงมีลักษณะเด่น มีลัษณะเฉพาะ คือ ธรรมเอกผุด

ซึ่งหมายถึง วิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
ตั้งแต่รูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ


สัมมาสมาธิกับญาณ ๑๖
หรือมีชื่อเรียกตามพระธรรมคำสอนว่า การเจริญสมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน

ที่กล่าวว่า ญาณ ๑๖
สภาพธรรมตามความเป็นจริง มีไม่กี่ญาณ


หากนับตามลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ
เริ่มนับจาก ภังคญาณ


ภังคญาณ
เป็นสภาวะจิตทิ้งคำบริกรรม ที่เป็นอารมณ์บัญญัติ(ท่องจำ)
มารู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต กล่าวคือ มีรูปนามเป็นอารมณ์

การรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตได้นานแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับ กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
โดยหมายถึง อัปปนาสมาธิเป็นหลัก

สภาวะที่เหลือ เป็นเรื่องของ ไตรลักษณ์ล้วนๆ
ไม่แตกต่างกับสภาวะที่เริ่มต้นทำความเพียรใหม่ๆ
เหมือนกันเป๊ะๆ แตกต่างกันที่ จิตเป็นสมาธิกับจิตยังไม่เป็นสมาธิ



สังขารุเปกขาญาณ
สภาพธรรม ไม่เที่ยง(อนิจจานุปัสสนา)
เป็นทุกข์(ทุกขานุปัสสนา)
เป็นอนัตตา(อนัตตานุปัสสนา)
มีเกิดขึ้นเดิมๆซ้ำๆ

จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่าย
เป็นเหตุปัจจัยให้ จิตเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น

จึงได้ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ(อุเบกขา)
เพราะเหตุปัจจัยนี้

ที่เรียกว่า พื้นฐาณ ญาณ ๑๖ แท้จริงแล้ว มีแค่นี้

ส่วนวิโมกข์ต่างๆ
มีเกิดขึ้น หลังจากจิตเกิดการปล่อยวางตามความเป็นจริง(สังขารุเปกขาญาณ)

ถึงแม้ไม่ได้อยากรู้ อยากเห็น
ก็มีเกิดขึ้นอยุ่แล้ว โดยตัวสภาวะเอง
ก้ยังอยู่ในข่ายของ การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน


ส่วนที่หมายมั่นเอาเองว่า ได้อะไร เป็นอะไรนั้น
เกิดจาก ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้น
และเกิดจาก เพิ่งเคยพบเจอสภาพธรรมต่างๆเหล่านี้เป็นครั้งแรก


ในตำราที่แต่งขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับญาณ ๑๖ และวิโมกข์ต่างๆ
ผู้เขียน เคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านั้น มากน้อยแค่ไหน
ย่อมเขียนอธิบายความออกมาได้แค่นั้น


คำที่กล่าวทำนองว่า

สุญญตวิโมกขมุข หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ

อนิตตวิโมกขมุข หลุดพ้นด้วย ไม่มีนิมิตเป็นเครื่องหมาย

อัปปณิหิตวิโมกขมุข หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห้งตัณหาปณิธิ



สภาพธรรมต่ามความเป็นจริง คำว่า หลุดพ้น
หมายถึง หลุดพ้นจาก กิเลสตัณหา ที่มีเกิดขึ้นจาก ผัสสะ เป็นปัจจัย ณ ขณะนั้นๆ

แล้วคำกล่าวทำนองว่า เข้าสู่มรรค คือ ความเป็นนั่นเป็นนี่ ด้วยประตูนั้น
นี่ก็ไม่จริง เป็นเพียงสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ให้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ตามความเป็นจริง ของคำเรียกนั้นๆ

ที่กล่าวว่าไม่จริง
เพราะไม่สามารถนำสิ่งที่คิดว่า เป็นนั่นนี่ มากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้
กล่าวคือ ปัญญา ยังไม่เกิด


ญาณสุดท้าย ที่เป็นตัวบ่งบอกว่า
ผู้ปฏิบัตินั้น ติดอุปกิเลสหรือไม่
ปัจจเวกขณญาณ เป็นตัววัดผล


ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ ปัจจเวกขณญาณ คือ
ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ


ซึ่งตรงกับพระะรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้

=====================================

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่
ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้น
ได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

===========================================



ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖ ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
มีอยู่ ๕ คำเรียกเท่านั้นที่สำคัญ






๑. ภังคญาณ จิตทิ้งคำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ มีรูปนามตามความเป็นจริง เป็นอารมณ์

ที่เหลือจากนั้น เป็นเรื่องของไตรลักษณ์
ซึ่งมีเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากการเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ








๒. ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา








๓. สังขารุเปกขาญาณ(อุเบกขา)
เป็นเรื่องของ จิตเกิดการปล่อยวาง เหตุปัจจัยจาก
อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ










๔. วิโมกข์ ๓

สุญญตวิโมกขมุข
อนิตตวิโมกขมุข
อัปปณิหิตวิโมกขมุข



วิโมกขมุกข ๓


สุญญตานุปัสสนา
อนิมิตตานุปัสสนา
อัปปณิหิตานุปัสสนา





เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก
จิตที่ปล่อยวางจากความถือมั่น(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ) ตามความเป็นจริง

มีเกิดขึ้นในรูปของนิมิต เป็นการสอบอารมณ์โดยตัวสภาวะเอง
ไม่ต้องมีใครมาสอบอารมณ์ให้











๕. ปัจจเวกขณญาณ

เป็นตัวบ่งบอกถึง ผู้ปฏิบัติติดอุปกิเลส(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)หรือไม่ติดอุปกิเลส



โดยรู้ได้จาก

ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร