วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 08:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2016, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล หนุน พ.ร.บ.นมัสการ 4 สังเวชนียสถาน วอนรัฐบาลผลักดัน-ช่วยคนไทยปรองดอง

http://www.matichon.co.th/wp-content/up ... 8%B0-1.jpg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2016, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระครูปริยัติโพธิวิเทศ (คมสรณ์ คุตฺตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดไทยเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ประเทศอินเดีย ในฐานะโฆษกพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดีย-เนปาล เปิดเผยกรณีที่สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์และกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน พ.ศ. … ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มหาเถรสมาคม (มส.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อผลักดันให้มีกฎหมายรองรับ และงบประมาณสนับสนุนผู้แสวงบุญที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ว่า

ก่อนอื่นต้องชี้แจงถึงความจำเป็นของชาวพุทธที่ต้องมาแสวงบุญที่สังเวชียสถาน สืบเนื่องมาจากพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสไว้ก่อนปรินิพพานว่า สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง เป็นสถานที่แทนพระองค์ และเป็นมรดกสุดท้ายที่พระองค์ทิ้งไว้ให้ลูกหลานชาวพุทธ ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกต้องมานมัสการสังเวชนียสถาน หรือมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า


พระครูปริยัติโพธิวิเทศกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาชาวพุทธต่างตะเกียกตะกายมาแสวงบุญด้วยตนเอง บางคนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ ก็ต้องยอมจ่ายค่าเดินทางกับคณะทัวร์เป็นงวดก็มี แต่เมื่อมาถึงอินเดียแล้วยังต้องประสบปัญหาเรื่องที่พัก อาหาร รวมถึง ปัญหาการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย และหนักที่สุดคือเสียชีวิต เฉลี่ยแล้วมี 2-3 ศพต่อปี

ทั้งนี้

เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น จะติดต่อหน่วยงานต่างๆ ก็ลำบากมาก เพราะที่อินเดียไม่มีศูนย์ประสานงานดูแลชาวพุทธ ทำให้พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทธฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “ศูนย์อำนวยความสะดวกผู้เดินทางประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล” ร่วมกับกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในปี 2558 โดยก่อตั้งศูนย์ฯ 9 แห่ง อาทิ ศูนย์ดูแลผู้แสวงบุญวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร วัดธรรมิกราช เมืองราชคฤห์ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ เป็นต้น โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่มี 600,000 บาทต่อปีเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เนื่องจากศูนย์ฯ

พระครูปริยัติโพธิวิเทศกล่าว กล่าวอีกว่า

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ทั้ง 9 แห่ง จะดูแลผู้แสวงบุญทั่วโลกในเรื่องที่พัก อาหาร การพยาบาลรักษาโรค และดูแลรักษาความปลอดภัย ให้เกิดความอบอุ่นใจขณะพักในวัดด้วย ซึ่งผู้แสวงบุญจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยอาศัยแล้วแต่จะทำบุญกับทางวัดตามกำลังทรัพทย์ และศรัทธาเท่านั้น เพราะวัดไม่ได้ตั้งราคาค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนด้านการแพทย์นั้น ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนทีมแพทย์ จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปีละ 7 ทีมๆ ละ 3 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม -มีนาคม ของทุกปี ให้ช่วยดูแลชาวพุทธผู้เจ็บป่วยระหว่างมาแสวงบุญ ซึ่งช่วยได้ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ทั่วถึง

ดังนั้น หากมี พ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน พ.ศ. … จะช่วยเรื่องงบประมาณ กองทุนสนับสนุน และช่วยยกระดับการแสวงบุญของคนไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“อาตมามองว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการช่วยผลักดันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ผ่าน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยเกิดความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ซึ่งสอดคล้องกับการมาแสวงบุญที่สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เพราะชาวพุทธทุกคน เมื่อมาแสวงบุญที่อินเดีย จะได้รับอานิสงส์บุญจนเกิดสภาวะธรรม เปลี่ยนทัศนคติกลายเป็นคนที่มีคุณธรรมในสังคม ส่งผลให้ประเทศชาติมีปรองดองสมานฉันท์ตามนโยบายของรัฐบาล

นอกจากนี้ สังเวชนียสถานยังเป็นสถานที่ฟื้นฟูศรัทธาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดีด้วย จึงเป็นเหตุผลให้ผู้ที่มาแล้วอยากกลับมาอีก” พระครูปริยัติโพธิวิเทศกล่าว

http://www.matichon.co.th/news/274028

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2016, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มติ สนช.ผ่าน กม.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ มท.ดูแลพาไปประกอบพิธีแทนกรมการศาสนา

ประชุม สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ ปรับให้ มท.ดูแลแทนกรมการศาสนาเพื่ออำนวยความสะดวก เพราะมีผู้ให้ความสนใจเดินทางจำนวนมาก ให้ มท.1 นั่ง ปธ.คกก.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ เพิ่มปลัด วธ.ร่วมด้วย “ครูหยุย” หวั่นผู้ประกอบการนั่ง กก.มีผลประโยชน์ทับซ้อน กมธ.รับปากเขียนกันไว้ให้รอบคอบกันมีส่วนได้เสีย ก่อนมีมติเห็นชอบผ่านเป็น กม.


วันนี้ (2 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 เป็นประธานเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. 2524

เนื่องจากปัจจุบันผู้นับถือศาสนาอิสลามให้ความสนใจเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการแก้ไข ปรับเปลี่ยนให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่มีหน่วยงานราชการในภูมิภาคสามารถใกล้ชิดประชาชนในทุกพื้นที่ ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการฮัจญ์แทนกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์

รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ และให้มีกรรมการโดยตำแหน่ง 11 คนจากเดิม 10 คน โดยเพิ่มปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมทั้งให้คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ฯ ตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการ มีส่วนร่วมในกิจการฮัจญ์ไม่เกิน 7 คนเพื่อทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางและมาตรการเพื่อคุ้มครองอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์


จากนั้นได้พิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยนายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ สนช.อภิปรายว่าไม่ติดใจที่ กมธ.ได้แก้ไขเพิ่มปลัดวัฒนธรรมเป็นกรรมการ เพราะมีความเกี่ยวข้อง แต่ที่มีความกังวลในเรื่องของการตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมฯ ที่กำหนดให้มีผู้ประกอบการเกี่ยวกับกิจการฮัจญ์มาเป็นคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งคนเหล่านี้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลประโยชน์ทับซ้อนกับการนำประชาชนไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่กรุงเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย


นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า คนที่จะมาเป็นคณะอนุกรรมการฯ จะต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เกี่ยวกับกิจการฮัจญ์มีหน้าที่เพียงเสนอแนะ เสนอมาตรการคุ้มครองแก่ผู้เดินทางไปประกอบ พิธีฮัจญ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสมาชิกมีความกังวล ทาง กมธ.ก็จะรับข้อสังเกตดังกล่าวไปเขียนไว้ท้ายร่าง พ.ร.บ.เพื่อให้การตั้งอนุกรรมการฯมีความรอบคอบป้องกันไม่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปเป็นคณะอนุกรรมการฯ


ภายหลังอภิปรายเสร็จสิ้นที่ประชุม ได้ลงมติเห็นชอบวาระ 3 ด้วยคะแนน 161 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

http://www.manager.co.th/Politics/ViewN ... 0000088220

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2016, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวฮินดู เมืองกุสินารา นิมนต์พระไทย ทำพิธีฌาปนกิจริมแม่น้ำหิรัญญวดี

รูปภาพ

ชาวฮินดู ในประเทศอินเดีย ชื่นชมพระธรรมทูตและคณะสงฆ์ไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นิมนต์พระสงฆ์ไทยไปสวดมนต์ส่งดวงวิญญาณผู้เป็นพ่อ พร้อมประกอบพิธีฌาปนกิจให้ที่ริมแม่น้ำหิรัญญวดี เมืองกุสินารา อินเดีย...

มีรายงานว่า จากการที่คณะสงฆ์ไทยทุกวัดในแดนพุทธภูมิ ที่นำโดย พระเทพโพธิวิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้รวมพลังกันสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธองค์ ทั้งให้เกิดขึ้นแก่ชาวพุทธไทยและให้เกิดขึ้นกับชาวอินเดีย-เนปาล เพื่อให้พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองเฉกเช่นอดีต โดยเฉพาะบนแผ่นดินแห่งการเกิดของพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ปัจจุบันนอกจากชาวอินเดีย และเนปาล จะเริ่มให้ความศรัทธาแล้ว ชาวพุทธไทยเองยังเดินหน้าสู่แดนพุทธภูมิเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด เมื่อเวลา 08.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 31 ก.ค. พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงษ์) พร้อมคณะสงฆ์ จากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย ได้รับนิมนต์จากชาวฮินดู หมู่บ้านอนิรุธวา ที่อยู่หลังวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ให้ไปประกอบพิธีสวดมนต์เพื่อส่งดวงวิญญาณของบิดาของชาวฮินดูคนหนึ่ง ที่เพิ่งเสียชีวิตไปที่ริมฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี โดยคณะสงฆ์ไทยได้ประกอบพิธีสวดมนต์ทั้งพุทธและพราหมณ์ ตามประเพณีอินเดียที่เกิดมาจากธรรมชาติ และกลับคืนสู่ธรรมชาติ

http://www.thairath.co.th/content/678032

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2016, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หิรัญญวดี แม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม เมื่อเสด็จไปเมืองกุสินารา ในวันที่จะปรินิพพานสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนี้

ปัจจุบันเรียกแม่น้ำคัณฑักน้อย (Little Gandak) อยู่ห่างจากแม่น้ำคัณฑักใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๓ กม. และไหลลงไปบรรจบแม่น้ำสรภู ซึ่งปัจจุบันเรียก Gogra

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2016, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรภู แม่น้ำใหญ่สายสำคัญลำดับที่ ๔ ในมหานที ๕ ของชมพูทวีป ไหลผ่านเมืองสำคัญ คือสาเกต ปัจจุบันสรภูไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป มีชื่อในภาษาสันสกฤตว่า สรยู และไหลเข้าไปรวมกับแม่น้ำ Ghaghara ซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคา จึงเรียกชื่อรวมเป็น Ghaghara ไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2016, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงคา แม่น้ำใหญ่สายสำคัญลำดับที่ ๑ ในมหานที ๕ ของชมพูทวีป และเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์อันดับที่ ๑ ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งศาสนิกปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้ไปอาบน้ำล้างบาป อีกทั้งในพิธีราชาภิเษกกษัตริย์ ในชมพูทวีป และกษัตริย์แห่งลังกาทวีป ก็ใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคานี้ด้วย, แม่น้ำคงคามีความยาว ๒,๕๑๐ กม. ตามที่บันทึกไว้ในอรรถกถาว่า มีต้นกำเนิดจากสระอโนดาต ในแดนหิมพานต์ ไหลไปสู่มหาสมุทร จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ผ่านเมืองสำคัญมากแห่ง เช่น สังกัสสะ ปยาคะ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ประยาด ปัจจุบัน คือ เมือง Allahabad เป็นที่บรรจบของแม่น้ำคงคา กับ ยมุนา)

พาราณสี

อุกกาเวลา (อุกกเจลา ก็ว่า)

ปาตลีบุตร (เมืองหลวงของมคธ ยุคหลังราชคฤห์)

จัมปา (เมืองหลวงของแคว้นอังคะ) และในที่สุดออกทะเลที่อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) ปัจจุบัน คนทั่วไปรู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า Ganges


วิถีชีวิตผู้คนริมฝั่งแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์


http://www.clipmass.com/story/99856

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2016, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา (ในอินเดีย) อ.เสถียร โพธินันทะ :b8:

https://www.youtube.com/watch?v=OjRd1f_U1yY

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2016, 18:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2016, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุกมธ.ศาสนาค้านร่างพ.ร.บ.สังเวชนียสถาน

คณะอนุกรรมาธิการศาสนา ค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน ชี้ไม่จำเป็นต้องมีชาวพุทธก็ไปได้ พร้อมระบุ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินไม่มีอำนาจพิจารณา

ขณะที่ "พระใบฎีกาคทาวุธ" วอนเห็นใจชาวพุทธ

http://www.dailynews.co.th/education/525242

วอนเห็นใจชาวพุทธ ฟังๆดูเป็นถ้อยคำที่น่าสงสารนะคนพุทธ :b1: เทียบกับข้างบนแล้วยิ่งน่าสงสาร

อ้างคำพูด:
ภายหลังอภิปรายเสร็จสิ้นที่ประชุม ได้ลงมติเห็นชอบวาระ 3 ด้วยคะแนน 161 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธผิดหวังอย่างแรง!! "พรบ.นมัสการฯ"... อ่านต่อที่ :

http://www.dailynews.co.th/article/526553

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ ทั้ง ๔ นี้แล เป็นทัศนียสถาน เป็นสังเวชนียสถาน ของกุลบุตรผู้มีศรัทธา....ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสกา ผู้มีศรัทธา จักเดินทางมาโดยระลึกว่า พระตถาคต ประสูติ ณ ที่นี้... ตรัสรู้...ยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไป...เสด็จปรินิพพาน ณ ที่นี้...ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตามผู้เที่ยวจารึกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว ... จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

......

สังเวช ในความหมาย เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจให้เกิดศรัทธา และปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังปู่สมพร แจง :b1:

...........

ปธ.อนุ กมธ.ศาสนาฯ สนช.แจงสาเหตุไม่ผ่าน พ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน

นายสมพร เทพสิทธา ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า กรณีพระใบฎีกาคฑาวุธ คเวสกธมฺโม หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้ยื่นหนังสือถึงประธาน สนช.เสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน พ.ศ. … ซึ่งได้มอบให้คณะอนุกรรมาธิการที่มีตนเป็นประธานพิจารณา แต่คณะอนุกรรมาธิการไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เนื่องจากเป็น พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน เพราะมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 14 ให้เสนอได้แต่โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น คณะอนุกรรมาธิการไม่มีอำนาจพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ และได้แนะนำพระใบฎีกาคฑาวุธให้ดำเนินการให้ถูกต้อง คือเสนอสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอต่อมหาเถรสมาคม (มส.) หาก มส.เห็นชอบจึงเสนอ ครม.อีกทั้ง มาตรา 6 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนนมัสการสังเวชนียสถาน จึงต้องพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ จึงควรให้ มส.พิจารณาก่อน

นายสมพรกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม อาจให้ พศ.ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ครม.เห็นชอบ โดยไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.นมัสการสังเวชนียสถาน ซึ่งไม่เหมือนกับ พ.ร.บ.การไปประกอบพิธีฮัจย์ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องตรากฎหมาย เพราะรัฐบาลซาอุดีอาระเบียกำหนดโควต้าคนไทยที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์ในแต่ละปี และจะต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาล

http://www.matichon.co.th/news/311258

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2016, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปสังเวชนียสถานปีละ 7 หมื่นคน แต่ไร้ระบบดูแล

วอนคสช.- รัฐบาลหนุน ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถานได้ไปต่อ เผยสถิติชาวพุทธไทยไปแสวงบุญไม่ต่ำกว่า 70,000 คนต่อปี ยังไร้ระบบดูแลอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย สุขอนามัย ชี้พระไตรปิฎกระบุชัดสถานที่นี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า


6 ต.ค.พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ กล่าวว่า ตามที่คณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา โดยมีนายสมพร เทพสิทธา เป็นประธาน ได้มีมติค้านร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน เนื่องจากเห็นว่าชาวพุทธไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถเดินทางไปกันเองได้นั้น

ในเร็วๆ นี้ ตนจะไปขอยื่นข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่คณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนาได้รับทราบ โดยเฉพาะข้อมูลในพระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ 10 ข้อ 202 หน้า 150-151 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์เกี่ยวกับเรื่องสังเวชนียสถานไว้ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว สังเวชนียสถานคือสถานที่เป็นตัวแทนของพระองค์ เป็นสถานที่ชาวพุทธควรไป ใครจาริกไปยังสังเวชนียสถานโดยมีจิตเลื่อมใส เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

พระใบฎีกาคฑาวุธ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ตนจะนำข้อมูลที่พระครูปริยัติโพธิวิเทศ โฆษกพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดีย-เนปาล และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา สนับสนุนและให้เหตุผลที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้รวบรวมสถิติชาวพุทธที่เดินทางไปสังเวชนียสถาน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี กระทรวงการต่างประเทศ พบว่า มีปีละไม่ต่ำกว่า 70,000 คน ที่สำคัญยังที่ไม่มีหน่วยงานที่มาดูแลอย่างเป็นระบบ ในด้านความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง เพราะไม่มีระเบียบหรือกฎหมายรองรับ

“อาตมาในฐานะตัวแทนของชาวพุทธ อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาล ช่วยผลักดันกฎหมายฉบับนี้ และฝากไปถึงคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ให้เข้าใจร่วมกันว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นเจตจํานงของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงขอความเห็นใจให้ได้ดำเนินการต่อไปเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้” หัวหน้าฝ่ายวิชาการฯ กล่าว

http://www.dailynews.co.th/education/528496

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2016, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

https://www.facebook.com/bpct2556/photo ... =3&theater

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร