วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 3038

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


" .. ฆารวาสผู้ใดกลุ่มใด ยุยงปลุกปั่น สนับสนุนให้เกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์

ถ้าพระสงฆ์แตกสามัคคีกันเอง แบ่งเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย
ตั้งแต่ฝ่ายละ ๔ รูปขึ้นไป นั่นเป็น "สังฆเภท" เป็น "อนันตริยกรรม" .. "

โปรดใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ


:b8: :b53:


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=49525

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงฆ์ หมู่, ชุมนุม 1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกษุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ
ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ 2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรค บ้าง ปัญจวรรค บ้าง ทศวรรค บ้าง วีสติวรรค บ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ถ้ามีภิกษุรูปเดียว เป็นบุคคล

สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูป ขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด


สังฆกรรม งานของสงฆ์, กรรมที่สงฆ์พึงทำ, กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์ มี ๔ คือ

1. อปโลกนกรรม กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ

2. ญัตติกรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถ และปวารณา

3. ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน
4. ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทำด้วยการตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต


สังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์, การทำให้สงฆ์แตกกัน กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมด้วยกัน เทียบสังฆราชี ดูสามัคคี


สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณา และสังฆกรรมต่างหากกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สามัคคี ความพร้อมเพรียง, ความกลมเกลียว, ความมีจุดรวมตัวเข้าด้วยกันหรือมุ่งไปด้วยกัน (โดยมีวิเคราะห์ว่า อคฺเคน สิขเรน สงฺคตํ สมคฺคํ สมคฺคภาโว สามคฺคี)

คำเสริมที่มักมาด้วยกับสามัคคี คือ สังคหะ (ความยึดเหนี่ยวใจให้รวมกัน)

อวิวาท (ความไม่วิวาทถือต่าง) และ

เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

เมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้อมาร่วมประชุมพรักพร้อมกัน เรียกว่า กายสามัคคี (สามัคคีด้วยกาย)

เมื่อบุคคลเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีเห็นชอบร่วมกัน พอใจรวมเป็นอย่างเดียวกัน หรืออย่างภิกษุ แม้มิได้ไปร่วมประชุมทำสังฆกรรม แต่มอบให้ฉันทะ เรียก จิตสามัคคี (สามัคคีด้วยใจ)

ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ คือ สังฆสามัคคี เป็นหลักการสำคัญยิ่งในพระวินัย ที่จะดำรงพระพุทธศาสนา จึงมีพุทธบัญญัติหลายอย่างเพื่อให้สงฆ์มีวิธีปฏิบัติในการรักษาสังฆสามัคคี

ส่วนการทำให้สงฆ์แตกแยก ก็คือการทำลายสงฆ์ เรียกว่า สังฆเภท ถือว่าเป็นกรรมชั่วร้ายแรง ถึงขั้นเป็นอนันตริยกรรม

(ถ้ามีการทะเลาะวิวาทบาดหมาง กีดกั้นกัน ไม่เอื้อเฟื้อกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ปฏิบัติข้อวัตรต่อกัน ยังไม่ถือว่าสงฆ์แตกกัน แต่เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ เรียกว่า สังฆราชี แต่เมื่อใดภิกษุทั้งหลาย แตกแยกกันถึงขั้นคุมกันเป็นคณะ แยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม แยกทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมา เมื่อนั้นเป็นสังฆเภท)

หลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อให้สงฆ์มีสามัคคีเป็นแบบอย่าง ได้แก่ สาราณียธรรม ๖ ส่วนหลักธรรมสำคัญสำหรับเสริมสร้างสามัคคีในสังคมทั่วไป ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔


สามัคคีปวารณา กรณีอย่างสามัคคีอุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่า สามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วันสามัคคี


สามัคคีอุโบสถ อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เมื่อสงฆ์สองฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้ สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2017, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดให้คิดให้ไปค้นดู

คือภิกษุสงฆ์ในประเทศไทยปัจจุบัน พูดง่ายๆว่า แบ่งมีสองนิกาย เมื่อไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา
แล้วสองนิกายนั่น ยังทำอุโบสถร่วมกันได้ไหม ทำปวารณาร่วมกันได้ไหม ทำสังฆกรรมร่วมกันได้ไหม ทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมาเดียวกันได้ไหม ...ยังทำร่วมกันได้ ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ถ้าแยกกันทำ ร่วมกันทำไม่ได้ น่าจะเป็นสังฆเภทตามหลักการนั่นแต่บัดนั้นแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร