วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด....

ทำก็ให้รู้ว่า..แค่ทำ..อย่าเอามาเป็นอารมณ์...อย่าเอามาเป็นสรณะ...

ให้รู้สึกว่า...ตายแล้วก็จบกัน...ไม่มีอะไรติดค้าง...เพราะเราทำดีที่สุดแล้วเมื่อยามมีชีวิต...สรณะเรามีเพียงพระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์..เท่านั้น..
.

หน้าที่...เราจะรู้ได้งัยว่า..เรามีหน้าที่อะไร???

หน้าที่...เท่าที่ผมรู้สึก..แยกง่ายๆ...มี2ประเภท..

1..หน้าที่ที่เราคิดตามความอยากของเรา...ก็ประเภท..อยากจะเป็นอย่างนั้น..อยากจะทำแบบนี้..เพราะเห็นว่ามันดี...ฝันว่าเป็นอย่างนั้นดีกว่าอย่างนี้..เป็นต้น..หน้าที่ประเภทเราอยาก...นี้...หากยังอยาก..กระสัน...อยู่ละก้อ...ท่องจำใว้เลยว่า...."ไอ้โง่เอ่ย..เรามันโง่แท้ๆ"

2..หน้าที่...ตามธรรม(ชาติ)ของเรา..(ที่จริง...ไม่รู้จะใช้คำพูดไหนดี...??)..เป็นครูก็ทำหน้าที่ครู...เป็นพระก็ทำหน้าที่พระ..เป็นเด็กวัดก็อย่าบ่นที่ต้องไปถือปิ้นโตตามพระบิณฑบาต...เป็นต้น..ประมาณว่า..สวมบทเป็นอะไรก็ทำให้ดีที่สุดในบทนั้นๆ..

หน้าที่ประเภทตามธรรมชาติของเรานี้แหละ.....ทำให้ดีที่สุด...ล้วนเป็นปัจจัยถึงธรรมได้ทั้งนั้น..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตระกูลอันมั่งคั่ง จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว

๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า

๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ

๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการจำแนกผู้ครองเรือน หรือชาวบ้าน เป็น ๑๐ ประเภท พระพุทธเจ้าทรงแสดงผู้ครองเรือนประเภทที่ ๑๐ ว่าเป็นผู้ครองเรือนที่ประเสริฐเลิศสูงสุด จากคุณสมบัติของผู้ครองเรือนอย่างเลิศนั้น จะเห็นหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ ที่ถูกต้องตามหลักธรรม สรุปได้ดังนี้ (องฺ.ทสก.24/91/194)

๑) การหา แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ข่มเหงเบียดเบียน

๒) การใช้ (ขั้นนี้มีการวางแผน ซึ่งถือว่ารวมทั้งการเก็บรักษา และการเป็นอยู่พอดีไว้ด้วยในตัว)

ก. เลี้ยงตน (และคนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ) ให้เป็นสุข

ข. เผื่อแผ่แบ่งปัน

ค. ใช้ทรัพย์ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์เป็นบุญ (รวมทั้งใช้เผยแผ่ส่งเสริมธรรม)

๓) การมีปัญญาที่ทำให้เป็นอิสระ ไม่ลุ่มหลงหมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์อย่างรู้เท่าทันเห็นคุณ โทษ มีจิตใจเป็นอิสระด้วยนิสสรณปัญญา และอาศัยทรัพย์ได้โอกาสที่จะพัฒนาจิตปัญญายิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ที่ตรัสสอนในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์เป็นตัวอย่าง


“ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก สามจำพวกไหน ? คือคนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา”

“บุคคลตาบอดเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน กับทั้งไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด


“บุคคลตาเดียวเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว


“บุคคลสองตาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน อีกทั้งมีดวงตาชนิดที่ช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา


“คนตาบอด ตาเสีย มีแต่กาลีเคราะห์ร้ายทั้งสองทาง คือโภคทรัพย์อย่างที่ว่า ก็ไม่มี คุณความดี ก็ไม่ทำ


“อีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่าตาเดียว เที่ยวเสวงหาแต่ทรัพย์ถูกธรรมก็เอา ผิดธรรมก็เอา ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมยคดโกง หรือโกหกหลอกลวงก็ได้ เขาเป็นคนเสวยกามที่ฉลาดสะสมทรัพย์ แต่จากนี้ ไปนรก คนตาเดียวย่อมเดือดร้อน

“ส่วนคนที่เรียกว่าสองตา เป็นคนประเสริฐ ย่อมแบ่งปันทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยความขยัน จากกองโภคะที่ได้มาโดยชอบธรรม ออกเผือแผ่ มีความคิดสูง ประเสริฐ มีจิตใจแน่วแน่ ย่อมเข้าถึงสถานะดีงาม ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก

“พึงหลีกเว้นคนตาบอดและคนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบหาแต่คนสองตา ผู้ประเสริฐ”

(องฺ.ติก.20/468/162)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี

หลักการนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

“ดูกรคหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามสมัย ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) เป็นไฉน? คือกุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี่เรียกว่า อัตถิสุข

2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน? คือกุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงามอันเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรอัน เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรมเธอ ย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดย ธรรม เราก็ได้กิน ใช้ และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่า โภคสุข

3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน? คือกุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ เลยไม่ว่าน้อยหรือมาก นี้เรียกว่า อนณสุข

4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากกรรมดีงามไร้โทษ) เป็นไฉน? คืออริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข

“เมื่อตระหนักถึงความสุขจากความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา ถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุข ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ”
(องฺ.จตุกฺก.21/62/90)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เตรียมปัญญาไว้ ถึงหาทรัพย์ได้ อิสรภาพต้องไม่เสีย

นอกจากพึงรู้ว่า การมีทรัพย์มิใช่เป็นจุดหมายในตัว แต่เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับสนับสนุนการทำสิ่งดีงามเพื่อชีวิตตนและผู้อื่น แล้ว พึงทราบขอบเขตแห่งคุณค่าของทรัพย์สมบัติ และการที่จะต้องแสวงสิ่งอื่นที่มีคุณค่าสูงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย เช่น


"การงาน วิชชา ธรรม ศีล และชีวิตอุดม สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยสิ่งที่กล่าวมานี้ หาใช่ด้วยโคตร หรือทรัพย์ไม่"


"ข้าพเจ้า มองเห็นคนทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์สินแล้ว ไม่ให้ปัน เพราะความลุ่มหลง โลภทรัพย์ เอาแต่สั่งสมไว้ และปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป....


“ราชารุกรานมีชัยทั้งแผ่นดิน ครอบครองปฐพีจรดสาคร ไม่อิ่มแค่ฝั่งสมุทรข้างนี้ ยังปรารถนา ฝั่งสมุทรข้างโน้น ทั้งพระราชาและเหล่ามนุษย์ทั้งหลายอื่นเป็นอันมาก ยังมิทันสิ้นความทะยานอยาก ก็เข้าถึงความตาย ทั้งยังพร่องอยู่นั่นเอง ก็พากันละทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีในโลกเลย


“ญาติทั้งหลาย พากันสยายผมร่ำไห้ถึงผู้นั้น กล่าวรำพันว่า โอ้ (ที่รัก) ของพวกเรา มาจากลับไปเสียแล้วหนอ แล้วเอาผ้าห่อห่มเขา นำเอาไปขึ้นเชิงตะกอน จัดการเผา เขาถูกสัปเหร่อเอาหลาวทิ่มแทงไป ไหม้ไฟหมดไป มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัว ละทิ้งทรัพย์สมบัติไป


“เมื่อจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายทั้งหลาย จะเป็นที่ต้านทานไว้ได้ ก็ไม่มี ทรัพย์สินของเขา พวกที่รับมรดกก็ขนเอาไป ส่วนสัตว์ก็ไปตามกรรม เมื่อตาย ทรัพย์สักหน่อยก็ติดตามไปไม่ได้ บุตร ภรรยา ทรัพย์ และแว่นแคว้น ก็เช่นกัน คนจะได้อายุยืนเพราะทรัพย์ ก็หาไม่ จะกำจัดชราด้วยทรัพย์ก็หาไม่ ปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิตนี้ว่า น้อยนัก ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรานเป็นธรรมดา


"ทั้งคนมี ทั้งคนจน ต่างก็กระทบผัสสะ ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็ถูกกระทบเหมือนกัน แต่คนพาล เพราะความที่อ่อนปัญญา ย่อมนอนผวาหวาด ส่วนผู้เป็นปราชญ์ ถึงถูกผัสสะกระทบ ก็หาสะท้านไม่ เพราะฉะนั้น ปัญญานั่นแหละ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์ ด้วยเป็นเหตุให้บรรลุจุดหมายสูงสุดได้ในโลกนี้"

(ม.มู.13/451/411 ขุ.เถร. 26/388/377)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2017, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อุปกรณ์สำคัญของการประกอบสัมมาอาชีวะ ก็คือศิลปวิทยา หรือสิปปะ (วิชาชีพ ฝีมือ ความจัดเจนงาน) ดังนั้น ท่านจึงเตือนให้ขวนขวายศึกษาศิลปวิทยา และให้บิดามารดาถือเป็นหน้าที่ ที่จะให้บุตรศึกษาเล่าเรียน


แต่ความรู้วิชาชีพ หรือความชำนาญงานอย่างเดียว ก็แคบไป ท่านจึงให้มีพาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ได้สดับมาก หรือศึกษาเล่าเรียนกว้างขวางประกอบด้วย เพื่อช่วยให้เห็นช่องทางในการประกอบสิปปะกว้างขวางออกไป สามารถบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น และมีความคิดความเข้าใจมองเห็นอะไรๆกว้างขวางลึกซึ้ง โดยเฉพาะความรู้ความสดับ ที่ช่วยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวแท้เริ่มแรกของการศึกษา


พร้อมกันนั้น ก็ให้ฝึกอบรมระเบียบวินัย เพื่อพร้อมที่จะนำสิปปะไปใช้ในทางที่ถูกต้อง และมีความประพฤติทั่วไปที่ดีงาม เกื้อกูลแก่ความอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือแก่สังคม กับทั้งฝึกฝนให้รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี เป็นการขยายช่องทางดำเนินชีวิต และบำเพ็ญประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

หลักการขั้นศีลที่กล่าวมานี้ ดำเนินตามพุทธพจน์ว่า


"พาหุสัจจะ ๑ สิปปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว หรือฝึกอบรมเป็นอย่างดีแล้ว ๑ วาจาที่กล่าวได้ดี ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงานไม่คั่งค้างอากูล นี่ก็เป็นอุดมมงคล.... กิจกรรมที่ไร้โทษ นี่ก็เป็นอุดมมงคล"


นอกจากนี้ มีบาลีภาษิตเตือนให้ศึกษาศิลปวิทยาอีกมาก เช่น

"คนไม่มีศิลปวิทยา เลี้ยงชีวิตอยู่ได้ยาก" (ขุ.ชา. 27/1651/330)

"จงให้บุตรเรียนรู้วิทยา" (ขุ.ชา. 27/2141/434)


"อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด" (ขุ.ชา.27/108/35)


"ขึ้นชื่อว่า ศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น" (ขุ.ชา.27/107/35)

"อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ ว่าสูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมายเข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลา ที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์"

(ขุ.ชา.27/817/184)


ฯลฯ

มีข้อความแทรกเข้ามา เกี่ยวกับอุดมมงคลระดับนี้ว่า พาหุสัจจะ ความชำชองเชิงวิชาการ ควรมาพร้อมกับ สิปปะ ความชำนาญในเชิงปฏิบัติ คือ ดีทั้งวิชา และฝีมือ ถ้าทั้งสองอย่างนี้มาเข้าคู่กันครบ ก็หวังได้ ซึ่งความเป็นเลิศแห่งงาน

ยิ่งเป็นคนมีวินัย ที่ได้ฝึกมาอย่างดี และเป็นคนที่พูดเป็น คือรู้จักพูดจาให้ได้ผลดี สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจหรือเห็นตามได้ ชวนให้เกิดความร่วมมือและสามัคคี ก็ยิ่งหวังได้ว่ากิจการจะประสบความสำเร็จ

ครั้นสำทับเข้าด้วยการปฏิบัติงาน ที่เรียบร้อย ฉับไว ไม่คั่งค้างอากูล และเสริมด้วยการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ก็ยิ่งเป็นเครื่องประกันถึงความสำเร็จบริบูรณ์แห่งชีวิตด้านการงาน


แต่เพื่อป้องกันมิให้มีช่องว่าง ที่บุคคลนั้นจะมัวหลงเพลิดเพลินแต่วิทยาและการงาน จนลืมหน้าที่ต่อบุคคลใกล้ชิดภายในความรับผิดชอบที่บ้าน ท่านจึงแทรกมงคลอีก ๒ อย่างเข้ามาในช่องว่างแรกที่เว้นไว้ คือ การบำรุงมารดาบิดา และการสงเคราะห์บุตรภรรยา


ครั้นภาระด้านส่วนตัวครบครันแล้ว ท่านจะให้บุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น คำนึงถึงความรับผิดชอบที่ตนจะพึงเกื้อกูลแก่คนอื่นขยายกว้างออกไป ตลอดถึงเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ให้ชีวิตของตนก้าวหน้าไปในความดีงามและได้ชื่อว่า มีส่วนร่วมในการผดุงธรรมของมนุษยชาติ ท่านจึงเสริมมงคลอีก ๓ อย่าง เข้ามาในช่องว่างหลัง คือ ญาติสังคหะ การสงเคราะห์ญาติ ทาน การให้ปันเกื้อกูลกว้างออกไป และธรรมจริยา การประพฤติธรรม

เมื่อประพฤติตนได้เพียงนี้ ก็นับว่าเพียงพอ สำหรับจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ครองชีวิตที่ดีงามในโลก

เรื่องอาชีวะนี้ เห็นควรพูดสรุปไว้อีก ว่าพระพุทธศาสนายอมรับ และยืนยันความจำเป็นทางวัตถุ โดยเฉพาะปัจจัย ๔ ดังเช่น พุทธพจน์ที่ตรัสบ่อยว่า

"สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา" สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร

(ที.ปา.11/226/226; 375/289)


ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก

ความจนเป็นทุกข์ ในโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย เศรษฐกิจพาวิบัติ เมื่อมันถูกจัดเป็นจุดหมาย


พระพุทธศาสนาก็ให้ความสำคัญแก่วัตถุ ให้ความสำคัญแก่ปัจจัย ๔ ให้ความสำคัญแก่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจแก่สังคม โดยมีความหมายโยงไปหาธรรม ไม่ใช่มีความสำคัญในตัวของมันเอง โดยเฉพาะมันไม่ใช่จุดหมาย เดี๋ยวจะเข้าใจผิดอีกว่าเศรษฐกิจสำคัญ แล้วหยุดอยู่แค่นั้น

เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องวัตถุ เรื่องปัจจัย ๔ เรื่องสังคม ก็มีความสำคัญ โดยที่ว่าเมื่อทำให้ถูกต้อง มันจะเป็นตัวเอื้อต่อธรรม ความสำคัญก็อยู่ที่ตอนโยงนี้แหละ ถ้าไม่โยงก็จะพลาดอีก


ถ้าแยกเดี่ยววินัยออกไป เหมือนอย่างคนที่บอกว่า วัตถุสำคัญแล้วไปหยุดอยู่แค่นั้น ก็ผิด เราพูดว่าวัตถุสำคัญ ต้องจัดสรรให้ดี เพราะมันเป็นฐานที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ธรรมได้

พูดมาถึงตอนนี้ ก็คงจับได้ชัดแล้วว่า ความสำคัญของวัตถุหรือเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่จะต้องเอาไปโยงสัมพันธ์กับธรรม


ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุปัจจัย ๔ หรือเศรษฐกิจ กับ ธรรม ก็คือ มันเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่ธรรม หมายความว่า คุณค่าของมันอยู่ที่การที่มันจะช่วยให้ธรรมเจริญงอกงาม เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์ หรือช่วยให้คนพัฒนายิ่งขึ้นไปในธรรมนั้นเอง

ความสัมพันธ์ของวัตถุที่เอื้อต่อธรรมนั้น ก็คือความหมายของคำที่เราใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งเป็นคำง่ายๆ คือคำว่า “ปัจจัย” นั่นเอง

หมายความว่า วัตถุ ปัจจัย เรื่องเศรษฐกิจ มีความหมายที่แท้จริง คือเป็นปัจจัย ที่จะเกื้อหนุนให้มนุษย์พัฒนายิ่งขึ้นไป ในการสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีงามมีสันติสุข นี้คือฐานะของทรัพย์สินเงินทอง และอำนาจ

คำว่า “ปัจจัย” นี้ เราใช้กันอยู่แล้ว แต่บางทีก็ใช้เพลินๆ ไปโดยไม่รู้ตระหนักถึงความหมาย จึงต้องยกขึ้นมาทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตลอดสาย ตั้งแต่ธรรมต่อวัตถุ เป็นต้นไป

เมื่อเอาวัตถุเป็นปัจจัย ก็จะเจริญงอกงามในธรรมได้ แต่ถ้ากลับกัน ยึดเอาวัตถุเป็นจุดหมาย ชีวิตและสังคมก็จะต้องแปรปรวนวิปลาสเพราะกลับเอายอดเป็นฐาน และเอาฐานเป็นยอด

น่าสังเกตว่า เวลานี้สังคมไทย และทั้งโลก ดูเหมือนจะยึดเอาวัตถุเสพหรืออามิสเป็นจุดหมาย ไม่ได้มองมันอย่างถูกต้องในฐานะเป็นปัจจัย

เมื่อจัดสรรวัตถุ จัดสรรปัจจัย ๔ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมให้เรียบร้อย เข้าสู่วินัยแล้ว ก็เกื้อกูลต่อการก้าวไปในความดีงามและประโยชน์สุข ช่วยให้การพัฒนาชีวิตและสังคมดำเนินไปในวิถีแห่งสุขสันติและอิสรภาพ นี่คือธรรมมาแล้ว

เป็นอันว่า ธรรม กับ วินัย ก็คู่กัน ถ้าเราสามารถใช้หลักการนี้ถูกต้อง เราก็จะมีความเจริญงอกงามในพระศาสนา และพระศาสนาจะเกิดประโยชน์แก่เราอย่างแท้จริง

สรุปว่า จะต้องจับหลักให้ครบ มองดูพุทธศาสนาอย่าให้เว้าๆแหว่งๆ เวลานี้ น่ากลัวมาก เรื่องมองดูพระพุทธศาสนาอย่าให้เว้าๆแหว่งๆ ได้ด้าน เสียแง่ ก็เลยไม่เกิดมัชฌิมา

มัชฌิมา คือ พอดี ความเป็นทางสายกลาง คือพอดีนี้ เอามาโยงกับความไม่ประมาท คือความไม่ประมาทจะเป็นตัวปรับให้มัชฌิมาดำรงอยู่ได้

เรื่องธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ก็มาบรรจบกับเรื่องความไม่ประมาท ที่ตรัสไว้เป็นปัจฉิมวาจา ในวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่กุสินารา

........

จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 419

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน


อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย, ประโยชน์ร่วมกัน, สิ่งที่เกื้อกูลแก่ส่วนรวมเป็นคุณแก่ชีวิตทั้งของตนและของผู้อื่น ช่วยให้เป็นอยู่กันด้วยดีพากันประสบทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ยิ่งขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2017, 06:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 750

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร