วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2017, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

เป็นวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ที่มีเกิดขึ้นร่วมกับ ขณะจิตเป็นสมาธิ(สมถะ)
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ



[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ


ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑
ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 564&Z=7861



เป็นที่มาของ ญาณ ๔ ภังคญาณ จนถึง สังขารุเปกขาญาณ
เป็นสภาวะปรมัตถ์ มีรูปนามเป็นอารมณ์ ตามความเป็นจริง
อารมณ์บัญญัติละขาดแล้ว

อารมณ์บัญญติ หมายถึง การใช้คำบริกรรมต่างๆ เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอฯลฯ



แม้มีเหตุปัจจัยให้ สมาธิเสื่อม(ฌาน)
แต่ญาณ ไม่เสื่อม

เมื่อเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ ยังคงมีรูปนามเป็นอารมณ์
ไม่หวนกลับไปหาอารมณ์บัญญัติอีก


ภังคญาณจนถึงโคตรภูญาณ ที่มีเกิดขึ้นจาก
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน

เป็นวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ที่มีเกิดขึ้นร่วมกับ ขณะจิตเป็นสมาธิ(สมถะ)
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ





ถ้ากล่าวสภาวะปรมัตถ์ ดูที่ภังคญาณ จนถึงสังขารุเปกขาญาณ

ส่วนโคตรภูญาณ มีข้อยกเว้น
ไม่จำเป็นต้องมีเกิดขึ้นเฉพาะการเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป



บางคนเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โคตรภูญาณ สามารถมีเกิดขึ้นได้
บางคนเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น โคตรภูญาณ สามารถมีเกิดขึ้นได้


ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนา โคตรภูญาณจึงจะสามารถมีเกิดขึ้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2017, 11:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงหรือที่ว่าเจริญสมถะกับวิปัสสนาต้องคู่กันไป

เจริญสมถะอารมณ์เป็นบัญญัติได้อย่างเดียว

เจริญวิปัสสนา อารมณ์เป็นปรมัติได้อย่างเดียว

อย่างนี้จะคู่กันไปได้อย่างไงน่ะ เพราะมันคนละอารมณ์นะ ป้าวลัยพร

ป้าจะเอาทั้ง 2 อารมณ์คู่กันไปได้ยังในทีเดียวกัน คำสอนอย่างนี้เสียหายนะป้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2017, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
จริงหรือที่ว่าเจริญสมถะกับวิปัสสนาต้องคู่กันไป

เจริญสมถะอารมณ์เป็นบัญญัติได้อย่างเดียว

เจริญวิปัสสนา อารมณ์เป็นปรมัติได้อย่างเดียว

อย่างนี้จะคู่กันไปได้อย่างไงน่ะ เพราะมันคนละอารมณ์นะ ป้าวลัยพร

ป้าจะเอาทั้ง 2 อารมณ์คู่กันไปได้ยังในทีเดียวกัน คำสอนอย่างนี้เสียหายนะป้า







ผู้ที่ไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในสัมมาสมาธิ
ย่อมไม่รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า เจริญสมถะกับวิปัสสนาคู่กันไป


จะมีทิฏฐิเยี่ยงนี้

เจริญสมถะอารมณ์เป็นบัญญัติได้อย่างเดียว
เจริญวิปัสสนา อารมณ์เป็นปรมัติได้อย่างเดียว




นี่แหละความไม่รู้ชัดในผัสสะ
จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สมถะ มี ๒ ชนิด


๑. มีเป็นบัญญัติเป็นอารมณ์

๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์


ไม่ต้องมาถามอะไรต่อนะ
หากรู้แค่ว่า สมถะมีแค่บัญญัติเป็นอารมณ์

อะไรที่ยังไม่รู้ พูดให้ฟังยังไงก็ไม่รู้ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2017, 19:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ป้าพูดไปน่ะเป็นงงกะตัวเองไหมน่ะ
ผมเห็นป้าพูดผมงงแทน...สรุปเลยไม่ให้ถาม

เมื่อไม่ให้ถามแล้วจะมาเขียนทำไม ?
งงเข้าไปใหญ่เรียกว่าสมาธิ(หัวดอ)ไม่เคยได้ยิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2017, 22:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคุณธรรมาตอบแล้ว...

ตกลง..คุณธรรมาจะแย้งป้าแก่มั้ยละคับ..

เพราะ..คุณธรรมา..ว่า..มีอารมณ์เดียว..


ธรรมมา เขียน:
จริงหรือที่ว่าเจริญสมถะกับวิปัสสนาต้องคู่กันไป

เจริญสมถะอารมณ์เป็นบัญญัติได้อย่างเดียว

เจริญวิปัสสนา อารมณ์เป็นปรมัติได้อย่างเดียว


แต่..ป้า..ว่ามี2..

walaiporn เขียน:


นี่แหละความไม่รู้ชัดในผัสสะ
จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สมถะ มี ๒ ชนิด


๑. มีเป็นบัญญัติเป็นอารมณ์

๒. มีรูปนามเป็นอารมณ์




ตกลง..คุณธรรมายอมรับว่า..ที่ป้าว่ามา..ถูกต้อง...แล้วใช่มั้ยคับ?..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 06:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอางี้นะคุณกบ ผมจะไม่แย้งป้าหรอกนะ กลัวอารมณ์ป้าแกขึ้น ปล่อยให้แกดองอารมณ์ของแกไป
แต่จะพูดกับคุณกบว่าจริงไหม

สมถะมีอารมณ์อยู่ 40 อย่าง ที่เรียกกันจนคุ้นมากว่ากรรมฐาน 40
ที่ลองไปดูนะว่า ทั้ง 40 เหล่านั้นตรงไหนบ้างว่าที่เป็นปรมัตถ์ถ้วนแล้วเป็นบัญญัติทั้งสิ้น
และอารมณ์บัญญัติ ทั้ง 40 นั้นเจริญวิปัสสนาไม่ได้เลย
วิปัสสนาเขามีอารมณ์ของเขาเป็นปรมัตถ์ หรือเรียกว่ารูปนาม

ที่นี้ป้าแกเอาปนกันไปหมด มันก็ไม่ถูกต้อง มันไปแย้งกับที่พระพุทธเจ้าสอน

หนำซ้ำแกว่าสมถะมี 2 อย่างอีก สมาธิ(หัวดอ)ไม่รู้แกไปจำใครมาพูด
แล้วต้องรู้ผัสสะอะไรของแกนั่นน่ะ

ผมลองไไปอ่านกระทู้ที่ป้าแกเขียนมีแต่พูดเรื่องผัสสะเยอะเเยะไปหมดแต่ไม่เคยขยายความเรื่องผัสสะให้ชัดเจนเลยสักที่หนึ่ง

ทำอมภูมิเหมือนว่าเป็นของที่รู้ได้ยากต้องคนที่มีปัญญาหลักแหลมเท่านั้นจึงจะรู้ได้

ดูๆไปแล้วก็เท่ากับการยกตนข่มผู้อื่นด้วยที่ไม่อธิบายผัสสะนั้นมีแต่คนโง่ๆ อธิบายไปก็ไม่เข้าใจว่างั้นเถอะ

คอยดูเถอะเดี๋ยวป้าแก ปรี๊ดดดดแตก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 09:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue กราบนมัสการท่านธรรมมา กราบสาธุ สาธุ สาธุ น้อมกราบท่านวลัยพร ท่านกบนอกกะลา และ
ขออนุโมทนาสาธุทุกท่านด้วยค่ะ

พระสูตร ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

“...ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง…”

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป …”


เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

“...ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
*ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย
โสดาปัตติมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
หยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วน
ละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อม
สิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ…”


เมื่อพิจารณาจากพระสูตรจะเห็นว่าการที่บุคคลจะเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปได้นั้นต้องเป็นผู้ที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยมรรคหลายมรรคมิใช่เพียงมรรคเดียว อย่างน้อยๆ ท่านต้องเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นมาแล้ว
ท่านต้องผ่านศีลที่มีความสะอาดทางกาย วาจา ใจ อันนับว่าเป็นของสะอาด และมีหิริและโอตตัปปะ ศีลก็ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่
ฌานที่สหรคตด้วยศีล สัมปยุตด้วยศีลย่อมมีเกิดขึ้นแล้ว เป็นอริยศีลขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 09:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นผู้มีปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ คือสมถพละ และวิปัสสนาพละ

สมถพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวทั้งนิวรณ์ ๕บางส่วนแล้ว สมาบัติทั้ง ๘
และเจริญถึงไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์

วิปัสสนาพละ
เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญา
ด้วยอนิจจานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสนา ไม่หวั่นไหว
เพราะอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความเพลิดเพลิน ด้วย
นิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว
เพราะสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุ-
*ปัสนา ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะกิเลส
อันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์...”



เจริญสมาธิจนเกิด วสี ๕
“...อาวัชชนาวสี๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิษฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวกขณวสี ๑ ฯ

สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการ
อธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะ
ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี

สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออก
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณาเพราะเหตุนั้นจึงชื่อปัจจเวกขณวสี...”



“...ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ...ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
...ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒
ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙
เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ ฯ”
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ณ. ส่วนนี้ขออธิบายสมาปัชชนาวสีที่ สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการเข้า ขอนำสภาวะมาอธิบายเพื่ออาจจะมีประโยชน์ต่อพระธรรม
เพราะบางครั้งเราอ่านพระไตรปิฎกแล้วเราไม่เข้าใจพระสูตรบางพระสูตรนั้นๆ เลย
ผู้เขียนเองก็ตามขณะยังไม่มีวสีในสมาธิสมาบัติก็ไม่เข้าใจจนกระทั่งเมื่อมาปฎิบัติเจอสภาวะที่ทำให้เข้าใจสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ยิ่งขึ้น เช่น

อาพาธสูตร ที่กล่าวว่า “...ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเขาไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่
อาพาธของคิริมานันทภิกษุ จะพึงสงบโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้...”

มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนปวดไปทั้งตัว ปวดมาก ปวดจนถึงกระดูก พอสติรู้และจับไปที่ปวดที่เข้าไปจนถึงกระดูก
และพิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา สังขารธาตุเหล่านี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
การจับด้วยการปฎิบัติสมาธิจนมีสมาปัชชนาวสี ด้วยความคุ้นเคยในการเข้าสมาธิแค่สติจับก็เข้าปฐมฌานเลย
พลิบตาเดียวที่สติรู้ความปวดในกระดูกอันเป็นธาตุดินแข็งๆ นั้น อยู่ๆ ความปวดในความแข็งของกระดูก
อยู่ๆ ความปวดก็มีสภาพละลายไปเป็นน้ำเลือดอุ่นๆ (ธาตุน้ำ + ธาตุไฟ) ไหลเข้าท่วมกระดูกซึมเข้าไปในกระดูก
ทำให้หายปวดไปเลย เวทนาหายไปอย่างปลิดทิ้ง

อีกครั้งหนึ่งเย็บแผลที่นิ้วกลับมาปวดแผล จึงมองที่นิ้วมือและคิดว่านิ้วมือนั้นร่างกายนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ถึงห้านาทีรู้สึกชาตั้งแต่ข้อศอกไปจนถึงปลายนิ้ว ชาอย่างนั้นหลายชั่วโมง
ทั้งสองกรณีเกิดจากความไม่ตั้งใจแค่พิจารณาเท่านั้นผลก็เป็นอย่างที่อธิบายค่ะทำให้เข้าใจพระสูตรที่อ่านมามากยิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 10:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


และเรื่องนางอุลตราถูกน้ำมันเดือดราดศีรษะ เพราะนางอธิฐานอุโบสถ จึงไปว่าจ้างนางสิริมาให้บำรุงบำเรอสามีแทนนาง
พอครบ 15 วัน วันสุดท้ายนางสิริมาจะทำร้ายนางอุลตรา แม้นางอุลตราเห็นกิริยาอาการของนางสิริมานั้นแล้วก็ทราบดีว่าจะเกิดอะไรขึ้น นางจึงเข้าฌานทั้งๆ ที่กำลังยืนอยู่เจริญเมตตาจิตเป็นอารมณ์แผ่เมตตาไปยังนางสิริมานั้น
นางสิริมาได้จับกระบวยตักน้ำมันที่กำลังเดือดอยู่ในกระทะแล้วเทราดลงบนศีรษะนางอุลตรา ที่กำลังเข้าฌานและแผ่เมตตาจิตอยู่
ด้วยอำนาจแห่งเมตตาเนบันดาลให้น้ำมันที่กำลังร้อนจัดนั้นปราศจากความร้อน
และไหลตกไปประหนึ่งน้ำตกจากใบบัว

ครั้งแรกที่ผู้เขียนอ่าน ผู้เขียนไม่เข้าใจเลยว่า จะเป็นไปได้อย่างไรพระสูตรนี้เชื่อยากจังคิดเช่นนั้น จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งในห้องครัวน้ำมันตั้งบนไฟเดือดๆ กระเด็นหกรดตัวผู้เขียน ตาผู้เขียนจับที่น้ำมันเดือดๆ นั้นปรากฏว่าพอตาจับที่น้ำมันร้อนๆ เดือดๆ
น้ำมันมันปรากฏเหมือนขี้ผึ้งเหลวข้น เหมือนต้มเทียนข้นๆ และเกือบเย็นแล้ว อุ่นๆ เป็นขี้ผึ้งเหลวๆ ข้นขึ้นมา
น้ำมันที่กระเด็นขึ้นมาถูกร่างกายทำไมมันไม่ร้อนเลยก็ไม่รู้
พอตาที่จับมองตรงกระทะน้ำมันคลายออกไป น้ำมันก็กลับสู่สภาพเดือดๆ เช่นเดิม
ผู้เขียนมีแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น น้ำมันเดือดๆ ทำไมมันไม่ร้อนเลย จึงทำให้เข้าใจเรื่องนางอุลตราในพระสูตรเพิ่มมากขึ้น

ผู้เขียนอธิบายสมาธิที่เป็นวสีแล้วนี้เพื่อประโยชน์ให้ทุกท่านเข้าใจพระสูตรบางพระสูตรมากขึ้น และเพื่อที่จะอธิบายนิโรธสมาปัติฌานที่ สมถและวิปัสสนาเจริญคู่กันไปได้นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไปนี้เป็นไปด้วย นิโรธสมาปัตติญาณ
ขอเวลารวบรวมสักระยะหนึ่งแล้วจะเข้ามาอธิบายในรายละเอียดสภาวะให้
เพราะนิโรธธรรมอันเป็นการดับกิเลสและขันธ์ทั้งปวงละเอียดและประณีต

อนุโมทนาสาธุทุกท่านที่ปฎิบัติธรรม ๒ คือสมถและวิปัสสนาค่ะ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2017, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาที่จะกล่าวอะไร ต้องระวังคำเรียกต่างๆ
ที่อาจทำให้ผู้ที่ไม่รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกต่างๆ
ติดอุปกิเลสได้ กลายเป็นอุปสรรคต่อการทำความเพียร

เป็นปัจจัยให้ เวลาทำความเพียร มักจะนำไปเปรียบเทียบ
กับสิ่งที่เคยอ่านหรือเคยได้ยินมา


เรื่องสมาบัติต่างๆ แม้กระทั่งนิโรธสมาบัติ
ต้องแยกให้เห็นชัดถึง รูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติและนิโรธสมาบัติ
ที่เป็นมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกันเยี่ยงไร

ในสมัยพุทธกาลก็มีมาแล้ว ผู้ที่ได้ รูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติและนิโรธสมาบัติ
แต่ไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

อีกอย่าง ผู้ที่จะเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปได้นั้น
จะต้องผ่านเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นมาก่อน
หรือต้องผ่านเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้นมาก่อน

พูดตรงๆ เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เป็นผลของเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
หรือเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง


ที่จริงแล้ว มีรายละเอียดมากกว่านี้
เกี่ยวกับเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
ที่เป็นผลของเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป




ตรงนี้นำมาฝากคุณแก้วเก้า
เป็นสมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ


หากวิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้นแล้ว
จะสามารถรู้ชัดทุกรายละเอียดที่มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

การเข้านิโรธสมาบัติ
ผู้ที่ได้ทั้งรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงเนวสัญญฯ
สมาธิที่มีกำลังมากกว่าเนวสัญญาฯ
เป็นเหตุปัจจัย นิโรธสมาบัติมีเกิดขึ้น

โดยไม่มีการคิดว่า จะเข้านิโรธสมาบัติ
เพราะสภาวะนิโรธสมาบัติ มีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

หากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นไม่มากพอ
นิโรธสมาบัติ ไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
บางคนอ่านแล้วอาจจะท้อ ต้องให้ได้นิโรธสมาบัติเชียวหรือ

คำตอบ ไม่จำเป็น
เพราะเหตุปัจจัยสร้างมาไม่เหมือนกัน
ขอให้เป็นสมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นพอ




ลักษณะจิตเป็นสมาธิ หรือสมถะ ที่เป็นสัมาสมาธิ
ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ มีเกิดขึ้น
หรือคำที่เรียกว่า ธรรมเอกผุด

เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้ชัดในรายละเอียดต่างๆ
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ



......

วิหารสูตรที่ ๒

[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้
เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการเป็นไฉน

เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ ในที่นั้น
ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่

ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ไหน
และใครดับกามทั้งหลายได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้

เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับกามได้แล้วๆ อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ


เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับวิตกวิจาร
ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว
ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับ
ในที่ไหน และใครดับวิตกวิจารแล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอ
ทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌานนี้
และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจารได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่
โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการ
กระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้แล้วๆ อยู่
ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌาน
นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้วๆ อยู่
เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติ
ได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่น
ชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขา
และสุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้าม
ได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขา
และสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้
เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์
ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว
พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญาได้
แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่ง
แล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหน
และใครดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย
พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
อากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญา
ย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว
ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว
ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า
อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้
แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด
อากาสานัญจายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน-
*สัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็น
แน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้า
ไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
วิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า
วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ
อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี
วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญ-
*จายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา
เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า
อากิญจัญญาตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ
อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่าน
เหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่
โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการ
กระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่า
ใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว
ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตน
สัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่าง
นี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ดับในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 775&Z=8869


....


และเป็นที่มาของปัญญาวิมุติในส่วนของ
ผู้ที่ได้วิโมกข์ ๘ ที่เป็นสัมมาสมาธิ

....


[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗
เป็นไฉน คือ-
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพ
บางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง
ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ
ฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี
ว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ
และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ ฯลฯ
วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ
ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด
วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควร
เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญี-
*สัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ
และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้น
อีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา-
*สัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา-
*สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น
จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ปัญญาวิมุตติ ฯ


.....

หมายเหตุ;

คำว่า "ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น"


รูปภพ อรูปภพ ละขาดแล้ว
เพราะละความถือมั่นที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ (สมถะที่เป็นสัมมมาสมาธิ)
ตั้งแต่โสดาปัตติผลจนถึงอรหันต์ ที่ได้วิโมกข์ ๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 3035

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"กรรมฐาน" แบ่งได้ ๒ อย่างคือ ..

- สมถะกรรมฐาน
- วิปัสสนากรรมฐาน

"สมถะ" หมายถึง "การทำใจให้สงบ เป็นสมาธิ"
"วิปัสสนา" หมายถึง "การพิจารณารูปและนาม ได้แก่ขันธ์ห้า"(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ให้เป็นไปใน "ไตรลักษณ์" คือ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

"กรรมฐาน ๔๐" ได้แก่ ..

- กสิณ ๑๐ (การทำสมาธิโดยการเพ่ง)
- อสุภกรรมฐาน ๑๐ (การพิจารณารูปกาย มีความสกปรก น่าเกลียด ไม่งดงาม)
- อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ (การระลึกถึงคุณ ๑๐ อย่าง)
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ (การพิจารณาอาหาร เป็นของปฏิกูล)
- จตุธาตุววัฏฐาน ๑ (การพิจารณากาย ประกอบด้วย ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ)
- พรหมวิหาร ๔ (การพิจารณาคุณธรรม ๔ ประการ)
- อรูปฌาณ ๔ (การกำหนดความว่างของอารมณ์)

กสิณ ๑๐ และ อรูปฌาณ ๔ จัดเป็นสมถะกรรมฐาน นอกนั้น เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
"กรรมฐาน ๔๐ จึงประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา"

"ผู้ปฏิบัติธรรมในกรรมฐาน ๔๐ จึงปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมกัน"
เหมือนการเดิน "เมื่อก้าวขาขวาแล้วต้องก้าวขาซ้าย ไม่งั้นก็ไปต่อไม่ได้" ดังนี้ ..


:b8: :b1:

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมโฆษ เขียน:

"กรรมฐาน" แบ่งได้ ๒ อย่างคือ ..

- สมถะกรรมฐาน
- วิปัสสนากรรมฐาน

"สมถะ" หมายถึง "การทำใจให้สงบ เป็นสมาธิ"
"วิปัสสนา" หมายถึง "การพิจารณารูปและนาม ได้แก่ขันธ์ห้า"(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ให้เป็นไปใน "ไตรลักษณ์" คือ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

"กรรมฐาน ๔๐" ได้แก่ ..

- กสิณ ๑๐ (การทำสมาธิโดยการเพ่ง)
- อสุภกรรมฐาน ๑๐ (การพิจารณารูปกาย มีความสกปรก น่าเกลียด ไม่งดงาม)
- อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ (การระลึกถึงคุณ ๑๐ อย่าง)
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ (การพิจารณาอาหาร เป็นของปฏิกูล)
- จตุธาตุววัฏฐาน ๑ (การพิจารณากาย ประกอบด้วย ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ)
- พรหมวิหาร ๔ (การพิจารณาคุณธรรม ๔ ประการ)
- อรูปฌาณ ๔ (การกำหนดความว่างของอารมณ์)

กสิณ ๑๐ และ อรูปฌาณ ๔ จัดเป็นสมถะกรรมฐาน นอกนั้น เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
"กรรมฐาน ๔๐ จึงประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา"

"ผู้ปฏิบัติธรรมในกรรมฐาน ๔๐ จึงปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมกัน"
เหมือนการเดิน "เมื่อก้าวขาขวาแล้วต้องก้าวขาซ้าย ไม่งั้นก็ไปต่อไม่ได้" ดังนี้ ..


:b8: :b1:


ที่คุณธรรมโฆษ พูดถูกทุกอย่าง
แต่จะให้เป็นไปพร้อมกันมันเป็นไปไม่ได้
ทางใครทางมัน การบรรลุก็ไม่เหมือนกัน

สมถะ เส้นทางบรรลุถึงฌาน อภิญญา
วิปัสสนา เส้นทางบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

เส้นทางของสมถะจะไม่มี มรรค ผล นิพพาน
จะมาคิดว่าสมถะที วิปัสสนาที ถ้าคิดแบบนี้ก็จะไปกันใหญ่
อย่างที่คุณยกตัวอย่างขาซ้ายกับขาขวานั่นแหละ มันผิดเต็มๆ

ดูตัวอย่างเจ้าชายสิทธัตถะได้ฌานถึงอรูปฌาน ทำไมจึงต้องละทิ้งฌานเสียเล่า เพื่อไปค้นหาทางใหม่
คือการเจริญวิปัสสนา เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ก็แสดงว่า ในสมถะไม่มี มรรค ผล นิพพานอยู่จริง

ถ้าคิดว่าเจ้าชายสิทธัตถะเอาสมถะไปต่อยอดในการเจริญวิปัสสนานั้นก็ไม่จริง
เพราะเหตุว่าถ้าเอาไปต่อยอดการบรรลุ มรรค ผล นิพพานก็แสดงว่า การบรรลุสัมโพธิญานนั้นก็ยังต้องอาศัย
ครูทั้ง ๒ คือ อาฬารดาบส และอุทธกดาบส เป็นครูใช่ไหมล่ะ ซึ่งจะไปขัดกับคำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรูเองโดยชอบ

เอาเป็นข้อคิดหาเหตุผลเอาเองครับ อธิบายเรื่องก็ยืดยาวเปล่าๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าลืมคำนี้นะครับ..

มิจฉาสมาธิ...กับ..สัมมาสมาธิ...

แล้วก้อ. .

โลกียฌาน...กับ..โลกุตรฌาน

นี้แหละคับที่ว่า...อาจารย์ทั้ง2ท่าน...ไม่ได้เป็นผู้สอนความเป็นพุทธะ....


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร