วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะจิตดวงสุดท้าย

อวิชชา
สังขาร
วิญญาณ



แบ่งออกเป็น ๒

๑. อวิชชาที่มีอยู่

๒. อวิชชาที่ถูกทำลาย(วิชชาเกิด)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จากระทู้นี้

แก่น(สุขาปฏิปาท)

viewtopic.php?f=1&t=54131




ความตาย(ทุกขาปฏิปทา)

viewtopic.php?f=1&t=54135

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ส.ค. 2017, 21:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะจิตดวงสุดท้าย

อวิชชา
สังขาร
วิญญาณ



แบ่งออกเป็น ๒

๑. อวิชชาที่มีอยู่

๒. อวิชชาที่ถูกทำลาย(วิชชาเกิด)






เป็นเรื่องของ อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขณะลมหายใจเฮือกสุดท้าย(ตาย)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะจิตดวงสุดท้าย

อวิชชา
สังขาร
วิญญาณ




๑. อวิชชาที่มีอยู่








๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง


[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
รูปของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป

เพราะรูปของเขาแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป
วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูปความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป
ย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่

เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว
มีความลำบากใจมีความห่วงใย และสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น.



ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑
ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑
ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑
เวทนาของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ

ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑
ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑
ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑
สัญญาของเขานั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ

ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑
ย่อมเห็นสังขารในตน ๑
ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑
สังขารของเขานั้น ย่อมแปรปรวนย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ

ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑
วิญญาณของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป

เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป
วิญญาณจึงมีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้ง
และความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ
ย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่

เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว
มีความลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล.




http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=340&Z=390

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สภาวะจิตดวงสุดท้าย

อวิชชา
สังขาร
วิญญาณ


๒. อวิชชาที่ถูกทำลาย(วิชชาเกิด)








๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง


[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็น พระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาด
ในธรรมวินัยของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑
ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑
รูปของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป

เพราะรูปแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มี
ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง

และความบังเกิดขึ้นแห่งธรรม
ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ย่อมไม่ครอบงำ
จิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ

อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว
ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น.


ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑
ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑
เวทนาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...

ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑
ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑
สัญญาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...

ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑
ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑
ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑
สังขารของอริยสาวกนั้นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...


ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑
วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป

เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป
วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ

ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้นแห่งธรรม
ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำ
จิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่

เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความหวาดเสียว
ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้ง
เพราะความไม่ถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล.





http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=340&Z=390

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2017, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ผัสสะ


การทำความเพียร
อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ ถูกฝึกให้ละมาตลอด
เพียงแต่จะรู้ชัดด้วยตนเองหรือยัง

ผู้ที่รู้ชัดด้วยตนเอง
ย่อมสำรวม สังวร ระวัง
มากกว่าปล่อยให้ก้าวล่วง ออกมาทางกายวาจา
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้น

ผู้ที่ยังไม่รู้ชัดด้วยตนเอง
ย่อมตกอยู่ในวังวนของโลกธรรม ๘
หลงสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีกเนืองๆ
โดยปล่อยใจ ให้กระทำตามโลภะ โทสะ โมหะ ที่มีเกิดขึ้น
โดยมีตัณหา เป็นแรงขับเคลื่อน

จึงกลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
กรรมซ้ำ กรรมซ้อน เป็นงูกินหาง

ของเก่าไม่ยอมละ
(ผลของกรรมที่เคยกระทำไว้ ส่งมาให้รับผลในรูปแบบของ ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด)

ของใหม่ ก็สร้างให้มีเกิดขึ้นอีก
(กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา)












[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้

ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ







[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง

เป็นผู้ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง
เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าพอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน ฯ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ... ฟังเสียงด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ...
ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก... วิหิงสาวิตก ...
ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป
กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร