วันเวลาปัจจุบัน 15 ต.ค. 2024, 23:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็นต้น

ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริง คือ ปรมัตถะ แปลว่า “ประโยชน์อย่างยิ่ง” เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์ปัจจุบัน” และสัมปรายิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์เบื้องหน้า” ก็เรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์

ปรมัตถ์, ปรมัตถะ ๑ ประโยขน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ๒ (ก) ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ (ข) สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม

บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก ตามปกติในใช้ในความหมายนัยที่ ๑ คือ จุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ นิพพาน

แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่ ๒ บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้ (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเคน ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งถึงมือ, องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ

๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้

๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง

๓. เข้าน้อมของนั้นเข้ามาให้

๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้

๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม ธรรมที่เป็นปรมัตถ์, ธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด, สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด, สภาวธรรม,

นิยมพูดกันมาเป็นหลักทางพระอภิธรรมว่ามี ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน


พึงสังเกตเค้าความที่เป็นมาว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" (บาลี ปรมตฺถธมฺม) นี้ ไม่พบที่ใช้ในพระไตรปิฎกมาแต่เดิม (ในพระไตรปิฎก ใช้เพียงว่า "ปรมตฺถ" หรือรวมกับคำอื่น มีคำว่าปรมัตถธรรม ซึ่งท่านผู้แปลใส่หรือเติมเข้ามาตามคำอธิบายของอรรถกถาบ้าง ตามที่เห็นเหมาะบ้าง

ต่อมาในชั้นอรรถกา "ปรมัตถธรรม" จึงปรากฎบ้าง ๒-๓ แห่ง แต่หมายถึงเฉพาะนิพพาน หรือไม่ก็ใช้อย่างกว้างๆ ทำนองว่าเป็นธรรมอันให้ลุถึงนิพพาน ดังเช่น สติปัฏฐาน ก็เป็นตัวอย่างของปรมัตถธรรม ทั้งนี้ เห็นได้ว่าท่านมุ่งความหมายในแง่ว่าประโยชน์สูงสุด

ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นฎีกาลงมา มีการใช้คำว่าปรมัตถธรรมบ่อยครั้งขึ้นบ้าง (ไม่บ่อยมาก) และใช้ในความหมายว่า เป็นธรรมตามความหมายอย่างสูงสุด คือ ในความหมายที่แท้จริง มีจริง เป็นจริง ซึ่งตรงกับคำว่าสภาวธรรม ยิ่งเมื่อคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะเกิดขึ้นแล้ว และมีการศึกษาพระอภิธรรมตามแนวของอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ก็มีการพูดกันทั่วไป ถึงหลักปรมัตถธรรม ๔ จนกล่าวได้ว่าอภิธัมมัตถสังคหะเป็นแหล่งเริ่มต้นหรือเป็นที่มาของเรื่อง ปรมัตถธรรม ๔


อย่างไรก็ดี ถ้าพูดอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษร ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้นเอง ท่านไม่ใช้คำว่า "ปรมัตถธรรม" เลย แม้แต่ในคาถาสำคัญเริ่มปกรณ์หรือต้นคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทตั้งหลักที่ถือว่าจัดประมวลปรมัตถธรรม ๔ ขึ้นมาให้ศึกษานั้น แท้จริงก็ไม่มีคำว่า "ปรมตฺถธรรม" แต่อย่างใด ดังคำของท่านเองว่า

ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพุถา

แปล: "อรรถแห่งอภิธรรม ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑"

(นี้เป็นการแปลกันตามคำอธิบายของอภิธัมมัตถวิภาวินี แต่มีอีกฎีกาหนึ่งในยุคหลังค้านว่าอภิธัมมัตถวิภาวินี บอกผิด ที่ถูก ต้องแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่ข้าพเจ้าคือพระอนุรุทธาจารย์กล่าว ในคำว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น....")

ท้ายปริเฉทที่ ๖ คือรูปสังคหวิภาค ซึ่งเป็นบทที่แสดงปรมัตถ์มาครบ ๔ ถึงนิพพาน ก็มีคาถาคล้ายกัน ดังนี้


อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ

ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา


แปล: "พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงประกาศปรมัตถ์ไว้เพียง ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ด้วยประการฉะนี้"


เมื่อพินิจดูก็จะเห็นได้ที่นี่ว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" เกิดขึ้นจาก ประการแรก ผู้จัดรูปคัมภีร์ (อย่างที่ปัจจุบันเรียกว่า บรรณกร) จับใจความตอนนั้นๆ ตั้งขึ้นเป็นหัวข้อ เหมือนอย่างในกรณีนี้ ในคัมภีร์บางฉบับ ตั้งเป็นหัวข้อขึ้นเหนือคาถานั้นว่า "จตุปรมตฺถธมฺโม" (มีในฉบับอักษรพม่า, ฉบับไทยไม่มี) และประการที่สอง ผู้แปลเติมหรือใส่เพิ่มเข้ามา เช่น คำบาลีว่า "ปรมตฺถ" ก็แปลเป็นไทยว่า ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นกันทั่วไป

ในคัมภีร์รุ่นต่อมาที่อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี มีการใช้คำบาลีเป็น "ปรมตฺถธมฺม" บ้าง แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่มีที่ใดระบุจำนวนว่าปรมัตถธรรมสี่

จนกระทั่งในสมัยหลังมาก มีคัมภีร์บาลีแต่ในพม่าบอกจำนวน ก็บอกเพียงว่า "ปรมัตถ์ ๔" (จตฺตาโร ปรมตฺเถ, ปรมตฺถทีปนี สงฺคหมหาฎีกาปาฐ, 331) แล้ว


ก็มีอีกคัมภีร์หนึ่ง แต่งในพม่ายุคไม่นานนี้ ใช้คำว่าปรมัตถธรรมโดยระบุว่า สังขารและนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม (นมกฺการฎีกา 45) ยิ่งกว่านั้น ย้อนกลับไปยุคเก่า อาจจะก่อนพระอนุรุทธาจารย์ แต่งอภิธััมมัตถสังคหะเสียอีก

คัมภีร์ฎีกาแห่งอรรถกถาของสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก ซึ่งถือว่ารจนาโดยพระธรรมปาละ ผู้เป็นอรรถกถาจารย์ในท่านหนึ่ง ใช้คำปรมัตถธรรม ในข้อความที่ระบุว่า "ปรมัตถธรรมอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาท" (สํ.ฎี.2/3303/651) นี่ก็คือบอกว่า ปรมัตถธรรม ได้แก่ ประดาธรรม ชุดที่เรียกกันว่า ปัญญาภูมิ หรือวิปัสสนาภูมิ นั่นเอง

ตามข้อสังเกตและความที่กล่าวมา พึงทราบว่า


๑. การแปลขยายศัพท์อย่างที่แปลปรมัตถะว่า ปรมัตถธรรมนี้ มิใช่เป็นความผิดพลาดเสียหาย แต่เป็นเรื่องทั่วไปที่ควรรู้เท่าทันไว้ อันจะเป็นประโยชน์ในบางแง่บางโอกาส

(เหมือนในการอ่านพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ผู้อ่านก็ควรทราบเป็นพื้่นไว้ว่า คำแปลอาจจะไม่ตรงตามพระบาลีเดิมก็ได้ เช่น ในพระไตรปิฎกบาลีเดิมว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร (คือที่ประทับ) แต่ในฉบับแปล บางทีท่านแปลผ่านคำอธิบายของอรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี)

๒. การประมวลอรรถแห่งอภิธรรม (โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการประมวลธรรมทั้งหมดทั้งปวงนั่นเอง) จัดเป็นปรมัตถ์ ๔ (ที่เรียกกันมาว่า ปรมัตถธรรม ๔) ตามนัยของอภิธัมมัตถสังคหะนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบอันเยี่ยม ซึ่งเกื้อกูลต่อการศึกษาธรรมอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นแนวอภิธรรม แต่ถ้าพบการจัดอย่างอื่น ดังที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง (เป็นสังขาร และนิพพาน บ้าง เป็นอย่างที่เรียกว่า ปัญญาภูมิ บ้าง) ก็ไม่ควรแปลกใจ พึงทราบว่าต่างกันโดยวิธีจัดเท่านั้น

ส่วนสาระก็ลงเป็นอันเดียวกัน เหมือนจะว่า เบญขันธ์ หรือว่านามรูป กายมโน ก็อันเดียวกัน ก็ดูแต่ว่าวิธีจัดแบบไหนจะง่ายต่อการศึกษาหรือเอื้อประโยชน์ที่มุ่งหมายมากกว่ากัน

๓. ในคาถาเริ่มปกรณ์ (ในฉบับอักษรไทย ผู้ชำระ คือผู้จัดรูปคัมภีร์ ตั้งชื่อให้ว่า "ปกรณารมฺภคาถา" แต่

ฉบับอักษรพม่าตั้งชื่อว่า "คนฺถารมฺภกถา" ) มีข้อความที่เป็นบทตั้ง ซึ่งบอกใจความทั้งหมดของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ คาถานี้จึงสำคัญมาก ควรตั้งอยู่ในความเข้าใจที่ชัดเจนประจำใจของผู้ศึกษาเลยทีเดียว

ในกรณีนี้ การแปลโดยรักษารูปศัพท์ อาจช่วยให้ชัดขึ้น เช่นอาจแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่กล่าวในคำว่า "อภิธัมมัตถสังคหะ" นั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน"

(พึงสังเกตว่า ถ้าถือเคร่งตามตัวอักษร ในคาถาเริ่มปกรณนี้ ท่านว่ามีอภิธัมมัตถะ ๔ ส่วนในคาถาท้ายปริจเฉทที่หก ท่านกล่าวถึงปรมัตถะ ๔ แต่โดยอรรถ ทั้งสองนั้น ก็อย่างเดียวกัน)

โดยเฉพาะคำว่า อภิธัมมัตถะ จะช่วยโยงพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดเข้ามาสู่เรื่องที่ศึกษา เพราะท่านมุ่งว่าสาระในอภิธรรมปิฎกทั้งหมดนั่นเอง ประมวลเข้ามาเป็น ๔ อย่างนี้ ดังจะเห็นชัดตั้งแต่พระอภิธรรมปิฎกคัมภีร์แรก คือธัมมสังคณีตลอดหมดทั้ง ๒๕๘ หน้า ที่แจงกุสลัตติกะ อันเป็นปฐมอภิธัมมมาติกา ก็ปรากฎออกมาชัดเจนว่าเป็นการแจงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน นี่เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้มีอาตมัน คืออัตตา หรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวร เป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง

เมื่อคนตาย อาตมันนี้ ออกจากร่างไปสิงอยู่ร่างอื่นต่อไป เหมือนออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ปรมาตมันนี้ก็คือ พรหม หรือพรหมัน นั่นเอง

ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า “กระจาด” หรือ “ตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ” เอามาใช้ในความหมายเป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่ แล้ว มี ๓ คือ

๑. วินัยปิฎก - รวบรวมพระวินัย

๒. สุตตันตปิฎก - รวบรวมพระสูตร

๓. อภิธรรมปิฎก - รวบรวมพระอภิธรรม

รวมกันเรียกว่าพระไตรปิฎก (ปิฏก ๓)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ

๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้ได้เร็ว

๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์


ปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่


ปกครอง คุ้มครอง ดูแล รักษา ควบคุม


ปุตตะ เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม "ปุตตะ" ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชายสืบมา แปลว่า "ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรกปุตตะ"


ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐวีี ดิน, แผ่นดิน, ปถวี ก็เขียน


ปฐวีธาตุ ธาตุดิน, สภาวะที่มีลักษณะแข้นแข็ง, ในร่าง่กายที่ใช้เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ได้แก่ ผม ชน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า, อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส, ปถวีธาตุ ก็เขียน


ปทปรมะ "ผู้มีบท" (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม


ปรินิพพาน การดับรอบ, การดับสนิท ๑. ดับกิเลสและทุกข์สิ้นเชิง, บรรลุอรหัตผล (ได้แก่ กิเลสปรินิพพาน) ๒. ตาย (ได้แก่ ขันธปรินิพพาน) , ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์,

ในภาษาไทย บางทีแยก ให้ใช้แก่พระพุทธเจ้าว่า ปรินิพพาน และให้ใช้แก่พระอรหันต์ทั่วไปว่า นิพพาน แต่ในภาษาบาลี ไม่มีการแยกเช่นนั้น)


ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน, โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลี คือ พระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย) การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเข้าใจภาษาธรรม ควรวางภาษาไทยก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง

(ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๓ ข้อ ๕ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐)


ปัญญา ๓ คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา หรือทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญานั่นแหละ ขมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย)



ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ในที่นี้ เรียงลำดับตามพระบาลีในพระไตรปิฏก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.11/228/231) และอภิธรรม (อภิ.วิ.35/797/422) เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก

การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาก่อน หรือสุตมยปัญญาก่อนนั้น พอจับได้ว่า ท่านมองที่บุคคลเป็นหลัก คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน ว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบ และเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ก็สามารถเรียงต่อไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอดหยั่ง เห็นความจริงได้ ท่านจึงเริ่มด้วยจินตามยปัญญา แล้วต่อเข้าภาวนามยปัญญไปเลย

แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า

บุคคลเล่าเรียนสดับฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา นำไปใคร่ครวญตรวจสอบพิจารณา เกิดเป็นสุตมยีปัญญา อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป เกิดเป็นจินตามยีปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย แล้วเกิดญาณเป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยีปัญญา, น่าสังเกตว่า

ในคัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมปิฎก ท่านอธิบายภาวนามยปัญญาว่า ได้แก่ "สมาปนฺนสฺส ปญฺญา" (ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติ) แต่มีคำอธิบายของคัมภีร์ต่างๆ เช่น ปรมัตถมัญชุสา ว่า คำอธิบายดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยสาระก็มุ่งเอาการเห็นแจ้งความจริงที่เป็นมัคคปัญญานั่นเอง


ปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง ที่น่ารู้ ได้แก่ ปัญญาที่มีชื่อว่า โกศล คือความฉลาด ๓ อย่าง

โกศล, โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ

๑. อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ

๒. อปายโกศล ความฉลาดในทางเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความความเสื่อม

๓. อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปธาน ความเพียร, ความเพียรชอบ, ที่เป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ

๑. สังวรปธาน - เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒. ปหานปธาน - เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน - เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. อนุรักขนาปธาน - เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์

สัมมัปปธาน ก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจฉิมาชนตา ชุมชนที่มีในภายหลัง, หมู่ชนที่จะเกิดตามมาภายหลัง, คนรุ่นหลัง,

โดยทั่วไป มาในข้อความเกี่ยวกับจริยาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ที่คำนึงถึงประโยชน์ของคนรุ่นหลัง หรือปฏิบัติเพื่อให้คนรุ่นหลังมีแบบอย่างที่จะยึดถือ เช่น ที่ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เรามองเห็นอำนาจ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว กล่าวคือ มองเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง" (องฺ.ทุก.20/274/77) และ

ที่พระมหากัสสปะกราบทูลพระพุทธเจ้าถึงเหตุผลที่ว่า ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้เฒ่าชราลงแล้ว ก็ยังขอถือธุดงค์ต่อไป ดังนี้ว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ ... กล่าวคือ เล็งเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์ชนในภายหลัง ด้วยหมายว่า ชุมชนในภายหลังจะพึงถึงทิฏฐานุคติ" (สํ.นิ.16/481/239)

คำบาลีเดิมเป็น ปจฺฉิมา ชนตา


ประเทศบัญญัติ บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย


สมัย คราว, เวลา, ลัทธิ, การประชุม การตรัสรู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิสันถาร การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ

๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ

๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม

อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานของแขก มีการลุกรับ เป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อคิดติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง


ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในอรรถ

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในธรรม

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในทางนิรุกติคือภาษา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา - ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจครบถ้วน มี ๓ คือ


๑. ญาตปริญญา - กำหนดรู้ขั้นรู้จัก

๒. ตีรณปริญญา - กำหนดรู้ขั้นพิจารณา

๓. ปหานปริญญา - กำหนดรู้ถึงขั้นละได้


ประสบ พบ, พบเห็น, เจอะ, เจอ


ประสพ ก่อ, ทำให้เกิด, เผล็ดผล, ได้รับเป็นผลตอบแทน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา

(ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตตะ ๔)


ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขา


ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ , บำรุง, เลี้ยงดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ อย่าง

๑. ขุททกาปีติ - ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล

๒. ขณิกปีิต - ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ

๓. โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นระลอกรุู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่อนกระทบฝั่ง

๔. อุพเพคาปีติ - ปีติโลตลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา

๕. ผรณาปีิติ - ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ เป็นของประกอบกบัสมาธิ

(ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)


ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ

(ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร