วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 23:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุ..กับคุณ บุญชัย ครับ..

แล้ว..คุณ Supareak Mulpong ละครับ..อ่าน ที่คุณบุญชัย โพสต์มา..แล้ว..คุณคิดอย่างไรครับ?


โพสต์ เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b23:
สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ...

ประมวลธรรมข้อนี้สำหรับภิกษุ ภิกษุเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออะไรก็หาๆ กันดูเอาเองนะครับ ส่วนสมาธิไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดับทุกข์นี่น่าจะเข้าใจผิดนะครับ ที่พยายามจะชี้เจงคือ สมาธิอย่างเดียวนั้นดับทุกข์ไม่ได้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่าไม่เกี่ยวข้อง และต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสมด้วย

ส่วนคำว่า นักวิปัสสนา คำนี้ไม่น่าจะบัญญัติออกมาเลยจริงๆ สร้างความร้าวฉานอย่างว่า ธรรมของพระพุทธองค์มีรสเดียว ไม่มีแบ่งแยก แสดงความจริงชัดเจน ดำเป็นดำ ขาวเป็นขาว ไม่มีเทา ไม่มีมัว ก็ค่อยๆ ตีความศึกษากันดู พวกผมไม่ได้ลงความเห็นว่าสมถะเป็นสิ่งที่น่าเหยีดหยามแต่อย่างใด ที่พยายามจะชี้แจงก็คือ ให้รู้เท่าทันสมถะอันเป็นเสมือนดาบสองคม รู้จักใช้เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงที่สุด

... ผมก็เริ่มจากนั่งสมาธินี่แหละ แต่พอดีพบคนที่บอกให้ไปอ่านพระไตรปิฎกให้จบก่อน ก็เลยหยุดทุกอย่างหันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเดียวราวๆ ครึ่งปี ที่จริงก็ยังอ่านข้ามไปหลายตอน หลังๆ มาศึกษาอธิกรรมเบื้องต้น ถึงเข้าใจสิ่งที่ท่านผู้นั้นได้บอกกล่าว ผมมาเริ่มจริงๆ จังๆ ประมาณหนึ่งปีนี่เอง ประสบการณ์ 27 ปีเป็นการรวบรวมจากผู้ศึกษาปฏิบัติมารุ่นก่อนๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 และปฏิบัติมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ และยังมีอีกหลายประเด็นที่นำมาชี้แจงไม่ได้ ที่นำมาแสดงเป็นบางส่วนที่อยากจะให้นำมาคิดทบทวนโดยเฉพาะการปฏิบัติ - ถาผมผิดกันไม่กี่คนพวกคุณก็ถูกหมด แต่ถ้าผมถูกพวกคุนก็ผิดหมด

คำถามอื่นๆ จะค่อยๆ หา evidence มา support ไม่งั้นคงไม่ได้ข้อสรุป...

... ลืมเรื่องสมถะ ลืมเรื่องวิปัสสนาไปก่อน อยากให้มา FOCUS ที่
1. เจตสิกกลุ่มโมหะ (โมหเจตสิก, อหิริกเจตสิก, อโนตตัปปเจตสิก, อุทธัจจเจตสิก)
- เกิดได้อย่างไร มีอะไรสนับสนุน มีอะไรเป็นอาหาร มีอะไรเป็นแดนเกิด?
- ระงับหรือดับได้อย่างไร มีอะไรเป็นอริ มีอะไรเป็นศัตรู?
- พวกนี้เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เราเกิดพฤติกรรมอย่างไร?
- บุคคลที่มีภาวะต่างๆ กัน การเกิด หรือการดับต่างกันอย่างไร?
2. ปัญญาเจตสิก
- เกิดได้อย่างไร มีอะไรสนับสนุน มีอะไรเป็นอาหาร มีอะไรเป็นแดนเกิด?
- ระงับหรือดับได้อย่างไร มีอะไรเป็นอริ มีอะไรเป็นศัตรู?
- เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เราเกิดพฤติกรรมอย่างไร?
- บุคคลที่มีภาวะต่างๆ กัน การเกิด หรือการดับต่างกันอย่างไร?

สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรค = ?
สัมมาทิฏฐิเป็นประธานของมรรค = ?

...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 01 ส.ค. 2009, 00:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองดูคำว่า "เบื้องหน้า" ที่ปรากฏในหัวข้อกระทู้น่ะครับ



จาก พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน

เบื้องหน้า ว. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคต



ดังนั้น จากหัวข้อกระทู้ที่ว่า

อ้างคำพูด:
การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้านั้น ไม่เหมาะสำหรับปุถุชน


:b6: การวิปัสสนาโดยมีสมถะอยู่เบื้องหน้า ย่อมเท่ากับ เจริญวิปัสสนาก่อนแล้วสมถะจึงเจริญต่อไป(ในอนาคต) !!!...ซึ่ง คุณบอกว่า นี่ไม่เหมาะกับปุถุชน



ส่วนที่คุณ บอกว่าเหมาะกับปุถุชน นั้นคือ

อ้างคำพูด:
๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า



คุณ จขกท ลองอ่านดูดีๆสิครับว่า นี่ก็คือ เจริญวิปัสสนาก่อน(นำหน้า)แล้วสมถะจึงเจริญต่อไป เช่นกันน่ะครับ



ขนาดตั้งหัวข้อกระทู้ ยังผิดเลย :b23:


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความที่คุณบุญชัยตัดมาลง เป็นการอธิบายขยายความการเจริญปัญญาหรือวิปัสสนาภาวนา น่าจะจากอาจารย์ปราโมชย์ฯ ซึ่งจะให้พิจารณาดูกายดูใจ ตามคำสอนหลวงปู่ดุลย์ และจะเน้นมากว่าอย่าให้ติดเป็นสมถะ แต่การติดตามจิตหรือเวทนานั้นบางก็ละเอียดเกินสำหรับคนดิบอยู่เหมือนกัน

ผู้ที่จะปฏิบัติตามจนได้ผลน่าจะต้องมีปัญญาติดตัวมาบ้าง มีพื้นฐานทางธรรมมาพอสมควร เพราะในระยะเริ่ม เชื่อว่าจะไม่เข้าใจเรื่องการติดตามดูจิตกันซักเท่าใหร่ ที่สำคัญคือ เมื่อติดตามดูก็อย่าได้ดูเฉยๆ ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย เพราะถ้าตามแต่อย่างเดียว ก็จะได้แค่สติกับสมาธิ ไม่เกิดปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้

นอกจากนั้นก็ไม่มีความเห็นเพิ่มเติมอะไรมากนัก ที่จริงก็เฝ้าดูการปฏิบัติของกลุ่มนี้อยู่เหมือนกัน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ไม่เกิน 7 ปี จะต้องมีอริยะบุคลแสดงออกมาให้เห็นเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขนาดตั้งหัวข้อกระทู้ ยังผิดเลย


ขอพระคุณที่กรุณาชี้แจงแก้ไขให้ครับ คราวหน้าจะระวังเรื่องการใช้ศัพท์มากกว่านี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
:b23:
สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ...

ประมวลธรรมข้อนี้สำหรับภิกษุ ภิกษุเจริญสมาธิภาวนา



ทำไมหรือครับ.... พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนี้ จำกัดเฉพาะภิกษุหรือ???

ห้าม ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ศึกษาและปฏิบัติหรือ???

โอยย... ถ้าเล่นมุขนี้ ก็เป็นอันว่า พระสูตรไหนที่ตรัสแสดงแก่ภิกษุ ...ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ต้องห้ามศึกษาและปฏิบัติกันหรืออย่างไรครับ???




ลองย้อนกลับไปยังประเด็นที่คุณกล่าว ถึง องค์แห่งอริยมรรคคืออริยะสัมมาสมาธิ ในลักษณะที่ว่าเป็นของพระอริยะ น่ะครับ

คำตอบสำหรับประเด็นที่คุณชี้นำนี้ ตอบลักษณะเดียวกันเลยครับ ว่า

พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามให้ผู้ที่ไม่เป็นอริยบุคคลศึกษาและปฏิบัติอริยมรรคฉันใด ...สมาธิภาวนา๔ประเภทที่ทรงแสดงแก่ภิกษุ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะภิกษุฉันนั้น



ขอตัวไปนอน พรุ่งนี้เช้ามาใหม่


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



นี่แหละอันตรายของผู้ปฏิบัติที่มีศรัทธาแต่ขาดปัญญา จนไม่รู้จักรับฟังผู้อื่น

น่าจะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น เปล่าเลย ถือทิฐิมานะจนสุดโต่ง

นี่แหละ กิเลสที่อยากเป็น อริยะ ตัวตัณหาความทะยานอยากนี่ช่างน่ากลัวซะจริงๆ

ใครหนอ!!!!! .. ที่พอจะเยียวยาให้เขาเห็นตามความเป็นจริงได้ ...

ใครหนอ!!!! .. ที่จะอดทนเมตตาช่วยแนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับเขาได้ ...

อริยะ อริยะ อริยะ บัญญัติหนอ .. มันก็แค่คำเรียกที่ใช้เรียกสภาวะเท่านั้นเอง

เขาให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้น เขาให้ดูกิเลสว่ามันเบาบางลงไปมากน้อยแค่ไหน

ไม่ได้ให้ไปยึดติดกับคำเรียก ไปยึดติดกับสมมุติ ...

เสร็จเลย โสดา โอ้โสดา ... โซดาหนออออออ ...

รู้ก็รู้ว่าเป็นวิบากกรรมของเขา เพราะตัณหาความทะยานอยากมันปิดบังดวงตาเสียแล้ว

ยากที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ในตอนนี้ ... :b30:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอยย... ถ้าเล่นมุขนี้ ก็เป็นอันว่า พระสูตรไหนที่ตรัสแสดงแก่ภิกษุ ...ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ต้องห้ามศึกษาและปฏิบัติกันหรืออย่างไรครับ???

ยังไงก็ลองทบทวนดูสักนิดนะครับ เวลาเล่นเทนนิสจะเล่นแบบพาราดอน ก็คงไม่ได้นะครับ ก็ประมาณตัวเรา ผมก็พยายามชี้แจงแล้วว่า บุคคลมีภาวะต่างกัน ปฏิบัติธรรม ก็ต้องให้ถูกบุคคลด้วย

พระพุทธองค์แทบจะไม่สอนการปฏิบัติให้คนธรรมดาเลยนะครับ ลองอ่านพระไตรปิฎกดีๆ อีกหลายๆ รอบแล้วบูรณาการองค์ความรู้ให้ได้ อย่าตัดมาแต่บางส่วน หรือบางสูตร

โดยปกติพระองค์จะแสดงสัจจะธรรมจนผู้นั้นเกิดมีดวงตาเห็นธรรมก่อน คือ ได้โสดาบันตอนนั้นเลย จึงจะบอกวิธีการปฏิบัติ ส่วนมาก็แสดงธรรมต่อหน้าอริยสาวกทั้งนั้น ถ้าคุณหยิบมาผิด คุณก็ปฏิบัติผิด อย่างไปเอาวิธีของพระอรหันต์มาปฏิบัติ หรือแม้แต่ของพระโสดาบันมาปฏิบัติ ผลไม่น่าจะออกมาดีนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


555
ตอนแรกกะจะไม่แซวแล้วนะครับ
ว่าผมไม่เคยเจอคุณหมอในลักษณะที่ปรากฏอยู่อย่างนี้เลยน่ะครับ
:b32: :b32:

(ฮาตรงที่แจกใบเหลืองด้วยน่ะครับ :b32: )


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
บทความที่คุณบุญชัยตัดมาลง เป็นการอธิบายขยายความการเจริญปัญญาหรือวิปัสสนาภาวนา น่าจะจากอาจารย์ปราโมชย์ฯ ซึ่งจะให้พิจารณาดูกายดูใจ ตามคำสอนหลวงปู่ดุลย์ และจะเน้นมากว่าอย่าให้ติดเป็นสมถะ แต่การติดตามจิตหรือเวทนานั้นบางก็ละเอียดเกินสำหรับคนดิบอยู่เหมือนกัน

ผู้ที่จะปฏิบัติตามจนได้ผลน่าจะต้องมีปัญญาติดตัวมาบ้าง มีพื้นฐานทางธรรมมาพอสมควร เพราะในระยะเริ่ม เชื่อว่าจะไม่เข้าใจเรื่องการติดตามดูจิตกันซักเท่าใหร่ ที่สำคัญคือ เมื่อติดตามดูก็อย่าได้ดูเฉยๆ ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย เพราะถ้าตามแต่อย่างเดียว ก็จะได้แค่สติกับสมาธิ ไม่เกิดปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้


ผมนี่แฟนพันธุ์แท้หลวงพ่อปราโมทย์เลยครับ
บอกได้เลยว่าคุณไม่เข้าใจอะไรหลวงพ่อเลย ดูจิตก็ไม่เป็น ภาวนาก็ไม่เป็น
สติคืออะไร สมาธิคืออะไร ปัญญาคืออะไร เกี่ยวกันยังไง ก็ไม่รู้เรื่องสักอย่างหนึ่งตีกันอีรุงตุงนังไปหมด

ปริยัติก็ใช้ไมไ่ด้เลย ปฏิบัติก็ไม่เป็น ไม่เป็นสักอย่างนึง แต่มาทำปฏิเวธอวดเขี้ยวอวดงงาอยู่

เรื่องที่หลวงพ่ออธิบายเรื่องสมถะ-วิปัสนานั้น
มันลึกซึ้งกว้างขวางเกินปัญญาคนประเภทคุณคุณจะเข้าใจ
แต่ถ้าใครภาวนาเป็น แล้วไปฟังท่านสอน ก็จะทราบว่าไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากครูบาร์อาจารย์ท่านอื่นที่เป็นอุชุปฏิปันโณ ท่านแค่มีสำนวนของท่าน
ไม่มีอะไรใหม่ เป็นของเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น ครุบาร์อาจารย์ก็ทำอย่างนี้ทั้งนั้น

เอามาพูดแบบนี้ คนก็จะไปโจมตีหลวงพ่อว่าสอนผิดๆ
ทั้งที่จริงต้องยกความผิดให้ความโง่ของคนฟังมากกว่า
ฟังไม่ไ่ด้ศัพท์แล้วก็เอามากระเดียด


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 01:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
:b23:

ที่พยายามจะชี้เจงคือ สมาธิอย่างเดียวนั้นดับทุกข์ไม่ได้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่าไม่เกี่ยวข้อง และต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสมด้วย

พวกผมไม่ได้ลงความเห็นว่าสมถะเป็นสิ่งที่น่าเหยีดหยามแต่อย่างใด ที่พยายามจะชี้แจงก็คือ ให้รู้เท่าทันสมถะอันเป็นเสมือนดาบสองคม รู้จักใช้เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงที่สุด

... ผมก็เริ่มจากนั่งสมาธินี่แหละ แต่พอดีพบคนที่บอกให้ไปอ่านพระไตรปิฎกให้จบก่อน ก็เลยหยุดทุกอย่างหันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเดียวราวๆ ครึ่งปี ที่จริงก็ยังอ่านข้ามไปหลายตอน หลังๆ มาศึกษาอธิกรรมเบื้องต้น ถึงเข้าใจสิ่งที่ท่านผู้นั้นได้บอกกล่าว ผมมาเริ่มจริงๆ จังๆ ประมาณหนึ่งปีนี่เอง ประสบการณ์ 27 ปีเป็นการรวบรวมจากผู้ศึกษาปฏิบัติมารุ่นก่อนๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 และปฏิบัติมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ และยังมีอีกหลายประเด็นที่นำมาชี้แจงไม่ได้ ที่นำมาแสดงเป็นบางส่วนที่อยากจะให้นำมาคิดทบทวนโดยเฉพาะการปฏิบัติ - ถาผมผิดกันไม่กี่คนพวกคุณก็ถูกหมด แต่ถ้าผมถูกพวกคนก็ผิดหมด

คำถามอื่นๆ จะค่อยๆ หา evidence มา support ไม่งั้นคงไม่ได้ข้อสรุป...

... ลืมเรื่องสมถะ ลืมเรื่องวิปัสสนาไปก่อน อยากให้มา FOCUS ที่
1. เจตสิกกลุ่มโมหะ (โมหเจตสิก, อหิริกเจตสิก, อโนตตัปปเจตสิก, อุทธัจจเจตสิก)
- เกิดได้อย่างไร มีอะไรสนับสนุน มีอะไรเป็นอาหาร มีอะไรเป็นแดนเกิด?
- ระงับหรือดับได้อย่างไร มีอะไรเป็นอริ มีอะไรเป็นศัตรู?
- พวกนี้เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เราเกิดพฤติกรรมอย่างไร?
- บุคคลที่มีภาวะต่างๆ กัน การเกิด หรือการดับต่างกันอย่างไร?
2. ปัญญาเจตสิก
- เกิดได้อย่างไร มีอะไรสนับสนุน มีอะไรเป็นอาหาร มีอะไรเป็นแดนเกิด?
- ระงับหรือดับได้อย่างไร มีอะไรเป็นอริ มีอะไรเป็นศัตรู?
- เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เราเกิดพฤติกรรมอย่างไร?
- บุคคลที่มีภาวะต่างๆ กัน การเกิด หรือการดับต่างกันอย่างไร?

สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรค = ?
สัมมาทิฏฐิเป็นประธานของมรรค = ?

...


อนุโมทนาด้วยครับ..ที่อ่านพระไตรปิฏก..ครับ

แสดงว่า.ปัญญาจากการอ่านการฟัง..มีแล้ว..และปัญญาจากการนึกคิด..มีแล้ว ( ดูจากที่โพสต์มา)
แต่ปัญญา จาก การภาวนา..ไม่ทราบเกิดแล้วยัง..และผลเป็นอย่างไร..

ผมชอบตัวอย่างเรื่อง..พระคุณบิดามารดา..

ตอนเด็ก ๆ ก็จะถูกสอนว่า..เราต้องรักพ่อแม่ให้มาก ๆ เพราะท่านมีพระคุณกับลูก ๆ อย่างหาที่เปรียบมิได้..ท่านเปรียบเสมือนพรหมของลูก ๆ เพราะมีแต่ความเมตตา กรุณา มุตติตา ต่อ ลูก ๆ ตลอด..ท่านเป็นครูคนแรกของลูก ๆ เป็นพระอรหันต์ในบ้านของลูก ๆ ...เพราะท่านสอนให้ลูก ๆ รู้ดีรู้ชั่ว..อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี..

ถ้ามีข้อสอบถามว่า..ทำไมต้องรักเคารพพ่อแม่..ก็ต้องตอบว่า..เพราะท่านเป็นพรหม..เป็นครู..เป็นอรหันต์ ของลูก..ตอบอย่างนี้..ไม่มีผิด..ครูสอนมาก็จำเอาใว้..ก็ตอบอย่างที่จำ..เอาคะแนน..แปลว่าคำตอบนี้มาจากความจำ..แต่ไม่ทราบว่าคนตอบ..จะรู้สึกอย่างที่เขียนตอบนั้นหรือไม่?

คำว่า...รู้สึก..นี้แหละ..เป็นรู้หรือปัญญา..ที่สำคัญที่สุด
และวิธีการที่จะไปให้ถึง..การรู้..นี้นะ..ก็มีแบบแปลนแผนผัง..คือพระไตรปิฏก..พร้อมอยู่แล้ว

ทีนี้..กลับมาที่..เรื่องของคุณ..คุณลองพิจารณา..คำถามผม..แล้วลองตอบดูนะครับ

เอาแค่...เจตสิกกลุ่มโมหะ
- เกิดได้อย่างไร ..ตำราว่าอย่างไร..และ คุณรู้ว่าอย่างไร ?
- มีอะไรสนับสนุน มีอะไรเป็นอาหาร มีอะไรเป็นแดนเกิด..ตำราว่าอย่างไร..และ คุณรู้ว่าอย่างไร ?
- ระงับหรือดับได้อย่างไร มีอะไรเป็นอริ มีอะไรเป็นศัตรู..ตำราว่าอย่างไร..และ คุณรู้ว่าอย่างไร ?
- พวกนี้เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เราเกิดพฤติกรรมอย่างไร..ตำราว่าอย่างไร..และ คุณรู้ว่าอย่างไร ?

และสิ่งที่คุณรู้..นั้น..รู้ได้จากอะไร..รู้ได้จากอาการอะไร..สังเกตุจากอะไร.?

นี้คือการหา evidence (ของจริง) มา support (ตำรา) ..

ขอแถมอีกนิด..นะครับ..ว่า

ก็เหมือนคำว่า..ทุกข์..ในอริยะสัจสี่..นั้นแหละครับ..

หลายท่านก็รู้..ว่า..ทุกข์..ในชีวิตก็คือ แก่ เจ็บ ตาย การไม่ได้อย่างหวัง..รู้แล้วก็เห็นยังเฉย ๆ ไม่เห็นทำอะไร..บ้างรู้จนถึงสมาธิอีกซะด้วย..ก็เห็นแต่ทำบุญหวังสวรรค์..แค่นี้เอง

บางท่าน..รู้ว่า..ทุกข์..คืออะไร..ปั๊ป..รีบหาทางแก้ทุกข์ทันที..เพราะอะไรละ..ก็เพราะท่านนั้น..รู้สึกว่า..มันทุกข์จริง ๆ นะซีครับ..เหมือนรู้ว่าถุงที่ตัวเองถืออยู่เป็นถุงขี้..ไม่เห็นต้องมีใครบอกให้โยนทิ้งเลย..

ขอสาธุล่วงหน้า..ที่คุณตอบมานะครับ..มาเป็นวิทยาทานแลกเปลี่ยนกันครับ


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 01:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
555
ตอนแรกกะจะไม่แซวแล้วนะครับ
ว่าผมไม่เคยเจอคุณหมอในลักษณะที่ปรากฏอยู่อย่างนี้เลยน่ะครับ
:b32: :b32:

(ฮาตรงที่แจกใบเหลืองด้วยน่ะครับ :b32: )


ใบแดง..หรือ..ใบเหลือง ..หนอ


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่พยายามจะชี้เจงคือ สมาธิอย่างเดียวนั้นดับทุกข์ไม่ได้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่าไม่เกี่ยวข้อง และต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสมด้วย


คงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ ผู้ที่ไม่ได้เข้าถึงสมาธิภาวนาอย่างถ่องแท้ จะไปแสดงอาการห่วงใยผู้ที่ยังคงเจริญสมาธิภาวนาอยู่ อย่างออกหน้าออกตา ถึงขนาดนั้น

เพราะ ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาเองนั้น ก็หาใช่ว่าเขาจะไม่ศึกษาพระไตรปิฎกกัน

ใน กระทู้นี้ ก็แสดงชัดเจนอยู่แล้ว
ที่ บางท่านที่เที่ยวคุยโม้โอ้อวด ว่าตนเองอ่านพระไตรปิฎกมามาก ก็หาใช่ว่าจะรู้ลึกรู้จริงอะไรในพุทธพจน์...มี แต่ราคาคุย กับ ความสำคัญตนด้วยมานะทิฏฐิปรากฏให้เห็น เท่านั้น...(ขนาดตั้งชื่อกระทู้ผิด ยังต้องทักท้วงถึง2ครั้ง ถึงออกมายอมรับว่า ตั้งชื่อกระทู้ผิด)

ท่าน จขกท. ไม่ควรจะไปแสดงความหวังดีในลักษณะนี้ จนระดมตั้งกระทู้ในลักษณะนี้ กลาดเกลื่อนส่วนแยก"สมาธิ สติ" อย่างที่ปรากฏ

อีกประการ เรื่อง การติดสุขในสมถะ นั้น... ครูบาอาจารย์ผู้สอนสมาธิภาวนาที่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงตามมหาบัว ท่านพุทธทาส และ ๆลๆ ท่านก็ล้วนแต่สอนในเรื่อง ไม่ให้ศิษย์ไปติดตันยินดีสุขในสมถะจนไม่เจริญปัญญา กันอยู่แล้ว... เพียงแต่ท่านจะสอนเมื่อถึงเวลาที่ควรสอน...

ท่าน จขกท ไม่จำเป็นต้องไปหวังดีต่อผู้ที่ยังเจริญสมาธิภาวนาอยู่ แล้วเที่ยวตระเวณไปสอนผู้ที่ยังคงเจริญสมาธิภาวนาอยู่ แซงหน้าพระสุปฏิปันโนเหล่านั้นหรอก



อ้างคำพูด:
ส่วนคำว่า นักวิปัสสนา คำนี้ไม่น่าจะบัญญัติออกมาเลยจริงๆ


คำว่า นักวิปัสสนา ...จะบัญญัติ หรือ ไม่บัญญัติ คงไม่ใช่สาระหรอก

เพราะ ตอนนี้ ผู้ที่เรียกแนวทางของตนเองว่า วิปัสสนา แล้ว แสดงอาการเหยียดสมถะ ก็ปรากฏให้เห็นกันชัดเจนอยู่แล้ว

แต่ ก็โอเค ครับ
ถ้าคำว่า นักวิปัสสนา ไม่เหมาะสม

ต่อไป ผมขอเปลี่ยนเป็น เรียกคนกลุ่มนี้ว่า นักเหยียดสมถะ แล้วกันน่ะครับ

(คล้ายๆ เหยียดสีผิว ในต่างประเทศ)




อ้างคำพูด:
ที่พยายามจะชี้แจงก็คือ ให้รู้เท่าทันสมถะอันเป็นเสมือนดาบสองคม รู้จักใช้เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงที่สุด


พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก แสดง เรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้ว
ครูบาอาจารย์ผู้สอนสมาธิภาวนาที่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงตามมหาบัว ท่านพุทธทาส และ ๆลๆ ท่านก็ล้วนแต่แสดงเรื่องนี้อยู่แล้ว

ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ นักเหยียดสมถะ จะต้องมาเที่ยวสอนผู้อื่นหรอก



อ้างคำพูด:
ผมก็เริ่มจากนั่งสมาธินี่แหละ แต่พอดีพบคนที่บอกให้ไปอ่านพระไตรปิฎกให้จบก่อน ก็เลยหยุดทุกอย่างหันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเดียวราวๆ ครึ่งปี ที่จริงก็ยังอ่านข้ามไปหลายตอน


เรื่องอ่านพระไตรปิฎก ที่คุณบอกอ่านได้มากในตอนแรก แต่ มาบอกว่าอ่านข้ามๆ ตอนนี้นั้น
คุณไม่ต้องบอก ผู้อื่นเขาก็รู้ครับ ว่าคุณอ่านข้ามๆ

นอกจากอ่านข้ามๆแล้ว ที่อ่าน(ไม่ข้าม) ก็ยังเข้าใจผิดเยอะแยะไปหมด



อ้างคำพูด:
หลังๆ มาศึกษาอธิกรรมเบื้องต้น


อ้อ...นักอภิธรรมนี่เอง...ถึงว่า

ที่บอกว่า ศึกษาพระอภิธรรมนี้
ถ้า ศึกษาพระอภิธรรมปิฎก ก็ โอ เค ครับ ...ถึงแม้น พระอภิธรรมปิฎกอาจจะไม่ใช่พระพุทธพจน์โดยตรง แต่ ก็มีคุณค่าน่าศึกษา
แต่ ถ้าเป็น พระอภิธัมมัตถะสังคหะ ที่ รจนาหลังพุทธกาล ... ผมเองก็ไม่แปลกใจเช่นกัน ที่ คุณจะมีทัศนะต่อคำว่า สมถะ สมาธิ ในลักษณะที่ปรากฏ (เห็นมาเยอะครับ)



อ้างคำพูด:
ถ้าผมผิดกันไม่กี่คนพวกคุณก็ถูกหมด แต่ถ้าผมถูกพวกคุนก็ผิดหมด


ใช่หลัก มหาปเทส คือ ถือ พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก วางเป็นหลักสิครับ

ความเห็นใครไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก ก็ คงต้องกลับไปทบทวนแก้ไขตนเอง...ไม่จำเป็นต้องไปหวังดี เที่ยว ชี้ผิด-ชี้ถูก ให้ผู้อื่นถึงขนาดนี้หรอก



อ้างคำพูด:
ลืมเรื่องสมถะ ลืมเรื่องวิปัสสนาไปก่อน


ก็ เล่นไประดมตั้งกระทู้เหยียดสมถะเกลื่อนเว็บไปหมด
พอโดนผู้อื่นเขาค้านหนักๆเข้า ...บอกว่า ลืมซ่ะเถิด เรื่อง สมถะ-วิปัสสนา???

เรื่อง ความขัดแย้งใน สมถะ-วิปัสสนา ไม่ใช่เรื่องที่จะลืมเวลาโดนผู้อื่นค้านเข้า น่ะครับ
แต่ ต้องนำพระพุทธพจน์ดั้งเดิมมาวาง แล้ว ใช้หลักมหาปเทส พิจารณา... อย่างที่ผมกำลังพยายามทำอยู่

และ จะทำต่อไปเรื่อยๆ ๆ ๆ ๆ




ขอตัวไปเคลียร์งาน
บ่ายๆ จะแวะเข้ามาใหม่


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กลองอานกะ

อันกลองเก่า ถูกเสริมไม้ ให้ดูใหม่
มีเพียงโครง ที่ใช้ ของกลองเก่า
เนื้อไม้ใหม่ ใช่ลิ่ม ทิ่มเพิ่มเอา
เห็นแล้วเศร้า กลองเพี้ยน เพราะเปลี่ยนแปลง

เข้าใจว่า กลองเดิมใช้ ไม่เหมาะสม
จึงทับถม กลองเดิม เพิ่มขัดแย้ง
แต่งเสริม เพิ่มสับสน ปนแสดง
ใช้ลิ่มแทง ธรรมจริง ยิ่งวุ่นวาย

ประเคนลิ่ม ทิ่มใส่ ให้แตกแยก
คมลิ่มแทรก แยกเคลื่อน ธรรมเลือนหาย
สัทธรรม ยุ่งนุงนัง พังทลาย
คมลิ่มร้าย กลองแตก แทรกเนื้อไม้

ตึงๆ ปึงปัง ฟังเสียงกลอง
ท่วงทำนอง โหยหวน ชวนสงสัย
เสียงแปร่งขัด โสตประสาท ประหลาดใจ
เหตุไฉน เสียงกลองดัง ฟังวังเวง

ตรงประเด็น


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์แทบจะไม่สอนการปฏิบัติให้คนธรรมดาเลยนะครับ



Onion_L

ไม่จริงหรอกครับ

มีพระสูตรตั้งหลายพระสูตร ที่แสดงต่อคนธรรมดา
เช่น ทรงแสดงต่อ ยสกุลบุตร ...สันตติมหาอำมาตย์....ท่านพาหิยะ....พระพุทธบิดา และ อีกสารพัดพระสูตร ๆลๆ... ผมนับไม่ไหว

หรือ ที่แบบชัดเจน ก็คือ มหาสติปัฏฐานสูตร
ที่ แม้นจะเป็นพระสูตรที่เป็นด้านการปฏิบัติโดยตรง แต่ ก็ทรงแสดงแบบไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็นการ
ปฏิบัติของบรรพชิตเท่านั้น


ลองอ่าน

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=1#มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

เล่ากันว่า ชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือฤดูเป็นที่สบาย เพราะแคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะเป็นต้น. ชาวกุรุนั้นมีกำลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัต ตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น. เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง.

ด้วยเหตุนั้นแล ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือมหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือสติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร.

อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย. ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จ๊ะ คุณแม่ใสใจสติปัฏฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง. แต่สตรีผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสมกับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ.



จาก หลักฐานในอรรถกถานี้

ชี้ชัดเจนว่า บริษัททั้ง๔(ไม่จำกัดเฉพาะบรรพชิต) ต่างล้วนได้มีโอกาสสดับพระพุทธพจน์สติปัฏฐาน และ ปฏิบัติตามอย่างดีเยี่ยมทุกๆบริษัท





อ้างคำพูด:
ลองอ่านพระไตรปิฎกดีๆ อีกหลายๆ รอบแล้วบูรณาการองค์ความรู้ให้ได้ อย่าตัดมาแต่บางส่วน หรือบางสูตร


คุณ กำลังกล่าวถึงตัวคุณเองอยู่น่ะครับ




อ้างคำพูด:
อย่างไปเอาวิธีของพระอรหันต์มาปฏิบัติ หรือแม้แต่ของพระโสดาบันมาปฏิบัติ ผลไม่น่าจะออกมาดีนะครับ


ถ้า ปุถุชนที่เห็นภัยในวัฏฏะสังสารมีความมุ่งมั่นจะพ้นทุกข์ ไม่พยายามสมาทานธรรมที่จะยังให้บรรลุเป็นพระโสดาบันมาปฏิบัติ(เพิ่มขั้น)

แล้ว จะให้ปุถุชนที่เห็นภัยในวัฏฏะสังสารมีความมุ่งมั่นจะพ้นทุกข์ หันไปสมาทานเอาธรรมของปุถุชนที่ยังเมามัวอยู่ในวัฏฏะสังสาร มาปฏิบัติกันหรือ?(ลดขั้น)

คุณลองไปหาอ่าน ที่พระสุปฏิปันโนทั้งหลาย ท่านสอนปุถุชนดูสิครับ
ท่านมักจะชี้ให้ปุถุชนพยายามเจริญธรรมที่จะให้บรรลุโสดาปัตติผลกันทั้งนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร