วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรมอย่างนี้แล้ว ย่อมมีอายมุข (ช่องทางเพิ่มพูน)

๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี สหายดี

ใฝ่ใจในกัลยาณชน

เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง

หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้

อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น ก็เป็นอันหวังได้ แต่ความเพิ่มพูนขึ้นอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...

ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร”



จากนั้นตรัสแสดงธรรม ๔ ประการ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขเบื้องหน้า (สัมปรายิกัตถะ)

คือ สัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา


องฺ.อฏฺฐก.23/145/249)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุญาตนะคะท่านอาจารย์
เห็นหัวข้อกระทู้ว่าข้อธรรมระดับพื้นฐาน แบบชาวบ้านๆ ควรรู้
จึงไม่อยากไปโพสต์กระทู้ใหม่ค่ะ
และไม่กล้าไปโพสต์ในกระทู้ฮอตประเภทอ่านแล้วคันรูหูนะคะ

การจะปฏิบัติธรรมได้นั้น ดิฉันได้ทราบมาว่า
จะต้องถือศีลอย่างน้อย ศีล๕ ต้องครบบริบูรณ์
ศีลก็คือศีล หากถือได้ครบ ๕ ข้อนี่ก็ยอดแล้ว
ไม่ต้องมาจำเพาะเจาะจงว่าเป็นข้อไหนๆ จึงจะใกล้นิพพาน
ถ้าใจไม่สะอาด ก็ป่วยการคุยเรื่องนิพพาน ใช่ป่าวคะอาจารย์
รบกวนอาจารย์ให้คำอรรถาธิบายอย่างง่ายๆ ได้มั้ยคะ

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:
ถ้า "อัตตา" ดับไปโดยสิ้นเชิง บุคคลนั้นย่อมถึงความเป็นพระอรหันต์ดังนั้นในกรณีแห่งพระโสดาบันนี้ ย่อมหมายความว่าความดับไปแห่ง "อัตตา"เป็นเพียงบางส่วน "โสตาปนฺน" แยกศัพท์เป็น "โสต" กับ "อาปนฺน" โสต แปลว่า กระแสอาปนฺน แปลว่า ทั่วถึง สิ่งที่เรียกว่ากระแสในที่นี้หมายถึงทางที่ไปสู่นิพพานถ้าเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ อริยมรรคมีองค์แปดซึ่งมีองค์สำคัญอยู่ที่ความรู้อันถูกต้องหรือสัมมาทิฏฐิที่ทำให้รู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงว่าไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็น "ตัวตน" หรือ "ของตน" นั่นเอง

พระโสดาบันนั้นเป็นผู้ครองเรือนก็มี เป็นนักบวชก็มีแล้วอะไรเล่าที่ทำให้คน ๒ พวกนี้เข้าถึงกระแสนิพพานโดยเสมอกันคำตอบก็คือการละเสียได้ซึ่งสังโยชน์ ๓ ประการดังกล่าววแล้วนั่นเองการละสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการนั้น เป็นสิ่งซึ่งมีได้ก่อนที่จะละกามโดยสิ้นเชิงคือฆราวาส ทั้งๆ ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามอยู่ก็ยังสามารถละสังโยชน์ทั้ง ๓ นั้นได้แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผู้หมกมุ่นหรือมัวเมาในกามอย่างมาก

มันเป็นที่แน่นอนว่า พระโสดาบันจะต้องมีโลภะโทสะโมหะหรือราคะโกธะโมหะเบาบางกว่าคนสามัญเป็นธรรมดา แต่มิได้หมายความว่าเป็นผู้หมดราคะโทสะโมหะโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น เป็นอันถือได้ว่าการละราคะโทสะโมหะเพียงบางส่วนนั้นเป็นสิ่งที่ฆราวาสมีได้ เป็นได้เพราะสังโยชน์ทั้ง ๓ หมดสิ้นไป (สังโยชน์ ทั้ง ๓ ประการนี้ก็คือราคะโทสะโมหะในรูปลักษณะหนึ่งๆ) และสังโยชน์ชนิดไหนก็ตาม ย่อมเป็นความรู้สึกที่เป็น "ตัวตน-ของตน" อยู่ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่เราไปกล่าวกันไว้ในชื่ออีกอย่างหนึ่งความรู้สึกที่เป็น "อัตตา" ที่รวบรัดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาหาตัวเพราะความอยากได้นั้น คือ ราคะหรือโลภะ ความรู้สึกที่เป็น "อัตตา"ที่ผลักดันสิ่งใดออกไป เพราะความเกลียดนั้น ก็คือ โทสะ ส่วนความรู้สึกเป็น "อัตตา"ที่วนเวียนพัวพันอยู่รอบ สิ่งที่ตัวสงสัยไม่เข้าใจนั้น ก็คือโมหะอาการของราคะโทสะโมหะ จึงเป็นอาการของ "อัตตา" อยู่ด้วยกันทั้งนั้นเมื่อพระโสดาบันไม่อยู่ในฐานะที่จะละกิเลสได้โดยสิ้นเชิงซึ่งหมายถึงการลุถึงนิพพานโดยสมบูรณ์ พระโสดาบันจึงละได้แต่เพียงในลักษณะของผู้ที่กำลังเดินอยู่ในหนทางอันถูกต้อง และจะลุถึงนิพพานโดยแน่นอนและในระยะกาลอันใกล้เท่านั้นเอง

สังโยชน์ทั้ง ๓ ประการนี้มีอยู่อย่างหนาแน่นในปุถุชน (ซึ่งแปลว่า "คนหนา") คนชนิดนี้จึงไม่อาจจะเข้าใจพระอริยเจ้าพระอริยเจ้าก็ไม่พอใจความเป็นอยู่ของคนชนิดนี้เพราะท่านมีความหนาลดน้อยลงจนมองเห็นสิ่งต่างๆ ถูกต้องตามที่เป็นจริงแล้วก็ไปดำรงตนอยู่ในสภาพที่กล่าวได้ว่าพ้นอันตราย พ้นจากการเสียหายเช่นไม่ตกอบายโดยแน่นอน เส้นขีดแบ่งปันกันระหว่างคน ๒ พวกนี้ก็คือ การละสังโยชน์ ๓ประการ และเมื่อละสังโยชน์ ๓ ประการนั้นได้แล้ว จึงเรียกว่าเดินอยู่ในทางหรือถึงแล้วซึ่งกระแสของนิพพาน และได้นามใหม่ว่า อริยชนซึ่งตามตัวพยัญชนะแปลว่า ผู้ไปแล้วจากข้าศึกคือกิเลส (อริ=ข้าศึก + ยะ n= ไป)พระโสดาบันยังได้นามว่า "จักขุมา" คือผู้มีดวงตาเป็นธรรมเมื่อพระโสดาบันได้นามว่าเป็นผู้มีตาเป็นพวกแรกดังนี้แล้วพระอริยเจ้าในอันดับที่สูงขึ้นไปก็ต้องเป็นผู้มีตาเห็นธรรมมากขึ้นโดยแน่นอนและสิ่งที่ทำให้ตาบอดหรือมีอาการเหมือนกับไม่มีตานั้น ก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ตัวเรา-ของเรา"

http://board.agalico.com/showthread.php?t=30753

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงศีลอย่างเดียว ส่งให้ถึงนิพพานไม่ได้ :b16:

หมายความว่า การเดินทางให้ถึงจุดหมายนั้น มิใช่มีเพียงศีลแล้วจะถึงได้
เพราะอะไร
เพราะศีล ก็มีขอบเขตของมัน

เปรียบศีลเหมือนบันไดขั้นที่หนึ่ง หรือรถคันที่หนึ่งเท่านั้น แล้วรถคือศีลก็วิ่งส่งถึงแดนของศีล
วิ่งเลยไปไม่ได้แล้ว เพราะน้ำมันหมด ยางหัวโล้น พวงมาลัยหลุด หมดสภาพแล้ว :b32:
ก็จอดอยู่แค่นั้น

ก็ถ่ายรถคันใหม่เดินทางต่อไป คือ รถ สมาธิ รถคือสมาธินี้ ก็นำเราต่อไปสุดเขตแดน
ของมัน วิ่งต่อไปไม่ได้อีกแล้ว หมดสมรรถภาพของมัน ส่งเราถึงแค่นั้น เราก็ลงรถคือสมาธิไปขึ้นรถคันใหม่คือปัญญา รถคือปัญญาก็พาเราเดินทางต่อไปอีก ส่งถึงเขตแดนวิมุต (ความหลุดพ้น)

เขียนให้เห็นภาพ
ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุต (สีล => สมาธิ => ปัญญา => วิมุตติ)
ส่งกันเป็นทอดๆ ไป (หลักวิสุทธิ ๗ ท่านเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด)


แม่มดศึกษา
ลิงค์เหล่านี้

ความเข้าใจไขว่เขว...

viewtopic.php?f=2&t=23043

องค์คุณเครื่องบรรลุโสดาบัน

viewtopic.php?f=2&t=21271&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ส.ค. 2009, 08:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณค่ะ...กรัชกายและคุณBwitch

ตามมาเข้าชั้นเรียนด้วยนะคะ...กลัวจะสอบตกชั้นอนุบาล...แย่เลยค่ะ
คุณครู...อย่าเพิ่งปิดห้องนะคะ...ขอเรียนด้วยคนค่ะ...
ไปด้วยคนนะคะ

ธรรมะสวัสดีตอนเช้าค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพรูปภาพ รูปภาพ
อนุบาลหมีน้อย...นักเรียนมาเข้าชั้นเรียนแล้วค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็พูดถึงศีลแล้ว มาดูความสัมพันธ์ระหว่าง ศีล สมาธิ ปัญญา ต่ออีกนิดหนึ่ง เพื่อให้พอมองเห็นแนว
ทางดังกล่าวแล้ว เพราะเกี่ยวกับศีลเอง ก็มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก

อ่านเต็มๆลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=22337&p=109888#p109888

แต่ตัดมาให้ดูเป็นแนวทางตรงนั้นิดหน่อยดังนี้ =>


ถ้าปฏิบัติศีลขาดเป้าหมาย ก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริม

อัตตกิลมถานุโยค


ถ้าบำเพ็ญสมาธิโดยไม่คำนึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริม

มิจฉาทิฏฐิบางอย่าง หรือ ส่งเสริมดิรัจฉานวิชาบางประเภท


ถ้าเจริญปัญญาชนิดที่ไม่เป็นไปเพื่อ วิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอก

มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา

อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือ ติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง


โดยนัยนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ขาดโยนิโสมนสิการ จึงอาจปฏิบัติผิดพลาดไขว้เขวได้ทุกขั้นตอน เช่น

ในขั้นต้น คือ

ระดับศีล มีหลักทั่วไปอยู่ว่า การรักษาศีล เคร่งครัด บริสุทธิ์ ตามบทบัญญัติ เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้

ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติพึงตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องให้ความสำคัญอย่างมากแก่ศีล

อย่างไรก็ตาม ทั้งที่เป็นผู้เคร่งครัดในศีล และ ให้ความสำคัญแก่ศีลเป็นอย่างมากนี่แหละ

ถ้าขาดความตระหนักในด้านอรรถ ธรรม สัมพันธ์ ขึ้นมาเมื่อใด คือ

ลืมนึกถึงความหมาย และ ความมุ่งหมายของศีลที่เป็นเครื่องชี้บอกขอบเขตคุณค่า และ ตำแหน่งเชื่อมโยง

กับหลักธรรมอื่นๆ

ความเผลอพลาด ในการปฏิบัติก็เกิดขึ้นได้ทันที

ผู้ปฏิบัติ อาจมองศีลเป็นสภาวะสมบูรณ์ในตัว ซึ่งตั้งอยู่โดดๆ ลอยๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวน

การปฏิบัติธรรม


หรือ ไม่อีกอย่างหนึ่ง ความไม่คอยคำนึงถึงความหมาย และ ความมุ่งหมายของศีลนั้น ก็นำไปสู่ความยึดติด

ถือมั่นในรูปแบบ ทำให้เกิดการกระทำที่สักว่า ปฏิบัติสืบๆกันไป โดยไม่เข้าใจเหตุผล ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร

ไม่มองศีลในฐานะข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี



หลักต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ ประการ

ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า


“ดูกรคฤบดี ความสุข ๔ ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามกาล

ตามสมัย ความสุข ๔ ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข


๑.อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นได้ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหลื่อต่างน้ำ

เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นได้

ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหลื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

นี้เรียกว่า อัตถิสุข


๒.โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงามเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร

อันสะสมขึ้นมา ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหลื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า ด้วยทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร...

ได้มาโดยธรรม เราก็ได้กินใช้และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย

นี้เรียกว่า โภคสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อนณสุข (สุขเกิดจากไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆ ของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก

เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า ไม่ติดหนี้สินไรๆ ของใครๆ เลย ไม่ว่าน้อยหรือมาก

นี้เรียกว่า อนณสุข


๔.อนวัชชสุข (สุขเกิดจากประพฤติสุจริตไร้โทษ) เป็นไฉน ? คือ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม

ไม่มีโทษ

เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรม

ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมไม่มีโทษ

นี้เรียกว่า อนวัชชสุข



“เมื่อตระหนักถึงความสุข จากความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุข ที่เกิดจากความมีทรัพย์

เมื่อกินใช้ ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญาถึงโภคสุข เมื่อเห็นแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจ

ทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง ๓ อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของความสุข

ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ”


(องฺ.จตุกฺก.21/62/90)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พอจะเข้าใจค่ะ แต่ยังไม่ถ่องแท้ จึงยังไม่มีคำถามในตอนนี้
พูดง่ายๆ คือ ไม่ทราบว่าจะุถามว่าอะไร :b8:

งั้นขั้นต้นผู้ปฏิบัติจึงต้องเคร่งครัดในศีลบริสุทธิ์ก่อน
พร้อมกันนั้นจะต้องศึกษาความหมายและวัตถุประสงค์อันแท้จริงของศีลข้อเหล่านั้นให้ถ่องแท้

ศีลจึงเป็นเครื่องมือรักษากาย วาจา และใจ ของผู้ปฏิบัติ
เมื่อตั้งมั่นดีอยู่แล้ว จึงพร้อมสำหรับบันไดขั้นต่อไป คือ สมาธิ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ใกล้จะได้ฝึกวิทยายุทธละยังค่ะเนี่ย :b9:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



แม่มด ดูหลักนี่ก่อน อาจมีคำถาม หรือ อาจมองเห็นอะไรอีกบ้าง

แต่บอกล่วงหน้าว่า เรานั่งถือศีลรักษาศีลเฉยๆ กิเลสไม่ร่อนหรอกครับ เพราะว่ากิเลสมีหลายชั้น

พิจารณาดู



๑. ศีล เป็นวีติกกมปหาน (เป็นเครื่องละวีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบที่เป็นเหตุให้ล่วง

ละเมิดออกมาถึงกายวาจา)

๒. สมาธิ เป็นปริยุฏฐานปหาน (เป็นเครื่องละปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลางที่

เร้ารุมอยู่ในจิตใจ ซึ่งบางท่านระบุว่า ได้แก่ นิวรณ์ ๕ )

๓. ปัญญา เป็นอนุสยปหาน (เป็นเครื่องละอนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด

ที่แอบแนบนอนคอยอยู่ในสันดานรอแสดงตัวในเมื่อได้เหตุกระตุ้น ได้แก่ อนุสัย ๗ )



ท่านยังได้แสดงในแง่อื่นๆอีก เช่น

ศีล เป็นตทังคปหาน

สมาธิ เป็นวิกขัมภนปหาน

ปัญญา เป็นสมุจเฉทปหาน



ศีล เป็นเครื่องละทุจริต

สมาธิ เป็นเครื่องละตัณหา

ปัญญา เป็นเครื่องละทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูอีกหลายๆมุม


ศรัทธา กำจัดอกุศล คือ ความไม่เชื่อ

วิริยะ กำจัดอกุศล คือ ความเกียจคร้าน

สติ กำจัดอกุศล คือ ความประมาท

สมาธิ กำจัดอกุศล คือ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

ปัญญา กำจัดอกุศล คือ อวิชชา (ความไม่รู้รูปนามตามสภาวะของมัน)




เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว
ทีนี้ก็ถึงปัญหาว่า จะทำกันยังไง เพื่อให้กุศลธรรมเหล่านั้นเจริญขึ้นๆ กำจัดกวาดล้างกิเลสตามหน้าที่ของมัน
รักษาศีลหรอ
ทำวัตรสวดมนต์หรอ
อ่านหนังสือธรรมะหรอ
อ่านพระไตรปิฎกหรอ
พูดคุยสนทนาธรรมกันหรอ
พูดศัทพ์ธรรมหรอ

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว




42-69.jpg
42-69.jpg [ 45.9 KiB | เปิดดู 2782 ครั้ง ]
:b8: นักเรียนมาเข้าชั้นเรียนค่ะอาจารย์ :b8:

ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

ไตรสิกขา?

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1.คนกับสังคม
2.คนกับชีวิต
3.คนกับคน
4.คนกับมรรคา

ขออนุโมทนาบุญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ส่งการบ้านก่อนชั้นเรียนค่ะอาจารย์
ให้เพื่อนช่วยหา ก็นาย Google นั่นแหละ อิอิ.. :b9:

ความหมายและความสำคัญของไตรสิกขา

ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546:484) ได้ให้ความหมายของไตรสิกขาว่า
"...ไตรสิกขา หมายถึง สิกขา 3 คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่าปัญญาสิกขา..."

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร