วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณรินดูหลักครับ =>



กายกับจิตสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลกัน
แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต



ขั้นต่ำสุด ผลต่อกาย กระทบจิตด้วย คือ เมื่อไม่สบายกาย จิตพลอยไม่สบายด้วย ซ้ำเติมตนเอง
ให้หนักขึ้น

ขั้นกลาง จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ คือ ความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน
ก็รับรู้ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม

ขั้นสูง จิตช่วยกาย คือ เมื่อร่างกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว
ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข็มแข็งและคุณภาพที่ดีงามของจิต ส่งผลกลับมาช่วยกายได้อีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คห. นี้ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติของคุณรินนะขอรับ แต่ลงให้อ่าน (คุณรินไม่อ่านก็ได้) เพื่อให้เห็นมุมกว้างระหว่าง
จิตที่ฝึกอบรมแล้วกับที่ยังไม่ได้ฝึกอบรม




คนบางคนอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อย หรือ มีคนอื่นเดินผ่านไปผ่านมา
จะทำอะไรใช้ความคิดไม่ได้เลย ที่จะใช้ปัญญาพิจารณาอะไรอย่างลึกซึ้งเป็นอันไม่ต้องพูดถึง

แต่คนบางคนมีจิตแน่วแน่มั่นคงดีกว่า แม้จะมีเสียงต่างๆรบกวนรอบด้าน มีคนพลุกพล่านจอแจ
ก็สามารถใช้ความคิดพิจารณาทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาได้อย่างปกติ

บางคนมีกำลังจิตเข้มแข็งมาก แม้อยู่ในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นหวาดกลัวก็ไม่หวั่นไหว สามารถใช้ปัญญา
คิดการณ์ต่างๆ อย่างได้ผลดี ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ


ดังมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้านะโปเลียนที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส มีพลังจิตสูง ประสงค์คิดเรื่องไหนเวลาใดก็คิดเรื่อง
นั้นเวลานั้น ไม่ประสงค์คิดเรื่องใด ก็ไม่คิดเรื่องนั้น เปรียบสมองเหมือนมีลิ้นชักจัดแยกเก็บ
เรื่องต่างๆ ไว้เป็นพวกๆ อย่างมมีระเบียบ ชักออกมาใช้ได้ตามต้องการ
แม้ทรงอยู่ในสนามรบ ท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิดกึกก้อง เสียงคนเสียงม้าศึกวุ่นวายสับสน ก็มีกิริยา
อาการสงบ คิดการณ์ได้เฉียบแหลมเหมือนในสถานการณ์ปกติ
หากประสงค์จะพักผ่อน ก็บรรทมหลับได้ทันที
ต่างจากคนสามัญจำนวนมากที่ไม่ได้ฝึก เมื่อตกอู่ในสถานการณ์เช่นนั้น อย่าว่าแต่คิดการใดๆเลย
แม้แต่เพียงจะควบคุมจิตใจให้อยู่ที่ก็ไม่ได้ มักจะขวัญบิน ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ตื่นเต้นไม่เป็นกระบวน


เรื่องเล่านี้ แม้จะยังไม่พบหลักฐานยืนยัน แต่ในกรณีทั่วไป ทุกคนก็คงพอจะมองเห็นได้ถึงความ
แตกต่างระหว่างคนที่มีกำลังจิตเข้มแข็ง กับคนที่มีกำลังจิตอ่อนแอ

เรื่องพระเจ้านะโปเลียนที่เล่ากันมานั้น ก็นับว่าไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์เลย
หากเทียบกับตัวอย่างในคัมภีร์ เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร ระหว่างเดินทางไกล
นั่งพักกลางวันอยู่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง มีกองเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม วิ่งผ่านไปใกล้ๆ
ท่านก็มิได้เห็น ไม่ได้ยินเสียงกองเกวียนนั้นเลย และ

พระพุทธเจ้า คราวหนึ่งขณะประทับอยู่ ณ เมืองอาตุมา มีฝนตกหนักมาก ฟ้าคะนอง เสียงฟ้าผ่า
ครื้นครั่นสนั่นไหว ชาวนาสองพี่น้องและโคสี่ตัวถูกสายฟ้าฟาดสิ้นชีวิตใกล้ที่ประทับพักอยู่นั่นเอง
พระพุทธเจ้าทรงอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบ ไม่ทรงได้ยินเสียงทั้งหมดนั้นเลย-
(ที.ม.10 /120-1/152-3) และ มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งตรัสว่า ผู้ที่ฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง
ก็มีแต่พระอรหันตขีณาสพ ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย และพญาสีหราช
(องฺ.ทุก.20/302-4/97)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะคุณกรัชกาย :b8:

เย็นวันนี้ ตอนเดินจรงกรม รู้สึกว่าขาก้าวออกไปก่อนที่จะเดินจริง ๆ และตัวก็เคลื่อนไปก่อนด้วยค่ะ เป็นบ่อ ยมากเลยค่ะ

ส่วนตอนนั่งทีแรกไม่แน่ใจว่าตัวเองหายใจแบบสั้น ๆ หรือไม่หายใจกันแน่ เลยกำหนดพอง+ยุบ+นั่ง 3 รอบ พอแน่ใจว่าเหมือนไม่หายใจเลยกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้องว่าพองยุบจะคืนเมื่อไหร่ พอพองยุบคืนก็กำหนดพอง+ยุบ+นั่ง (เพราะมีแต่หายใจแบบสั้น ๆ ค่ะ) กำหนดได้ 2-3 รอบ ก็เหมือนไม่หายใจอีกเลยกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้อง แต่ละรอบ ๆ ก็สั้น ๆ อย่างงี้จนหมดเวลาค่ะ และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่รู้สึกว่าเรากำหนดพอง+ยุบ+นั่งแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้กำหนดเลยค่ะ แต่วันนี้ตอนกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้อง ไม่เห็นอะไรเลยค่ะ

เมื่อวานไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งเดินและนั่ง มันส่งผลมาวันนี้หรือเปล่าคะ :b10: เร็วและสั้นจนตกใจค่ะ

ทั้งตอนเดินและตอนนั่งถ้ามีเสียงรถ เสียงคน จะไม่รำคาญค่ะ แต่ถ้าเสียงดังมาก ๆ ก็ตกใจค่ะ (กำหนดว่าตกใจหนอ) ถ้าฟุ้งซ่าน กำหนดคิดหนอ 1-2 ครั้งก็หายค่ะ (ยกเว้น 2 วันที่บอกว่าฟุ้งซ่านมากค่ะ)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 15 ส.ค. 2009, 20:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
รินรส เขียน:
ขอบพระคุณค่ะคุณกรัชกาย :b8:
เรื่องแว้บความคิด วันที่คุณกรัชกายปิดกระทู้ "อิริยาบถนั่งสำหรับฝึกอบรมจิต" ขณะที่หนูกำลังพิมพ์ขอบคุณคุณกรัชกายกับคุณวลัยพรอยู่ รู้สึกใจหายและคิดว่ากระทู้ก็มีวันปิดเนาะ





ไม่มีอะไรหรอกค่ะคุณริน ส่วนมากพอกระทู้ยาวเกิน คุณกรัชกายก็จะปิดกระทู้นั้นๆค่ะ

ที่มาช่วยตอบให้แบบนี้ เพราะส่วนมากจะเห็นคุณกรัชกายทำแบบนั้นจริงๆ :b9:

หากคุณรินยังมีข้อสงสัยตรงไหนอยู่ คุณก็เพียงตั้งกระทู้ขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

ว่าสนทนากับคุณกรัชกาย เท่านี้เองค่ะ :b12:

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ :b8:



ขอบพระคุณค่ะคุณวลัยพร tongue

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 18 ส.ค. 2009, 22:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เย็นวันนี้ ตอนเดินจรงกรม รู้สึกว่าขาก้าวออกไปก่อนที่จะเดินจริง ๆ และตัวก็เคลื่อนไปก่อนด้วยค่ะ เป็นบ่อ ยมากเลยค่ะ


ตอนเดินรู้สึกเนื้อตัวจะเบาๆใช่ไหมครับ

ดูตัวอย่าง

ซ้าย สติสัมปชัญญะเกาะจับที่ขาซ้าย
ย่าง ก้าวเท้าเดิน
หนอ, ถึงพื้น
ขวา สติสัมปชัญญะเกาะจับที่ขาขวา
ย่าง ก้าวเท้าเดิน
หนอ ถึงพื้น

ฯลฯ

เดินสุดพื้นที่แล้ว ยืนพิจารณารูปที่ยืนอยู่รวมๆ (ไม่ใช่ดูลึกถึงข้างใน) ยืนหนอ ๆๆ
เมื่อคิดจะกลับหลังหัน (รู้ว่าคิด) ขณะหมุนกลับตัว กลับหนอๆๆ
แล้วก็เดินต่อไป

บริกรรมภาวนาไปพร้อมๆกับการเคลื่อนไหวของกาย ไม่ก่อนไม่หลัง


อ้างคำพูด:
ส่วนตอนนั่งทีแรกไม่แน่ใจว่าตัวเองหายใจแบบสั้น ๆ หรือไม่หายใจกันแน่ เลยกำหนดพอง+ยุบ+นั่ง 3 รอบ พอแน่ใจว่าเหมือนไม่หายใจเลยกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้องว่าพองยุบจะคืนเมื่อไหร่ พอพองยุบคืนก็กำหนดพอง+ยุบ+นั่ง (เพราะมีแต่หายใจแบบสั้น ๆ ค่ะ) กำหนดได้ 2-3 รอบ ก็เหมือนไม่หายใจอีกเลยกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้อง แต่ละรอบ ๆ ก็สั้น ๆ อย่างงี้จนหมดเวลาค่ะ
และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่รู้สึกว่า เรากำหนดพอง+ยุบ+นั่งแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้กำหนดเลยค่ะ แต่วันนี้ตอนกำหนดนั่งหนอพร้อมกับสังเกตที่ท้อง ไม่เห็นอะไรเลยค่ะ


ระยะนี้รูป (พอง ยุบ) นาม (ความคิด) เกิดดับเร็ว
ในเมื่อมันเป็นอย่างนี้ เราก็กำหนดรู้ตามที่มันเป็น ไม่ต้องตกอกตอใจ มันเป็นยังไงก็ยังงั้น รู้ตาสมที่
เค้าเป็น เมื่อพองยุบเร็วสั้นมากๆ จนกำหนด พอง+ยุบ+นั่ง ยังไม่ทัน ก็กำหนดเพียง พอง+ยุบ,
พอง+ยุบ, พอง+ยุบ ฯลฯ เท่านี้ก็ได้ ตามมันไป พองยุบ ๆๆๆๆๆ

จำไว้ว่า พอง ยุบ เป็นอย่างไงก็ยังงั้น หน้าที่ของเราคือรู้ตามที่มันเป็น


อ้างคำพูด:
เมื่อวานไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งเดินและนั่ง มันส่งผลมาวันนี้หรือเปล่าคะ เร็วและสั้นจนตกใจค่ะ


ไม่หรอกครับ มันเป็นอย่างนั้นเอง ดังกล่าว ธรรมชาติเป็นอย่างไรก็กำหนดไปตามนั้น ตามที่มันเป็น


อ้างคำพูด:
ทั้งตอนเดินและตอนนั่งถ้ามีเสียงรถ เสียงคน จะไม่รำคาญค่ะ ความจริงไม่รำคาญมาหลายวันแล้ว แต่ถ้าเสียงดังมาก ๆ ก็ตกใจค่ะ (กำหนดว่าตกใจหนอ) ถ้าฟุ้งซ่าน กำหนดคิดหนอ 1-2 ครั้งก็หายค่ะ


ปฏิบัติถูกแล้วครับ รู้สึกรำคาญ กำหนดไปตามที่รู้สึก ตกใจก็เช่นกัน ฟุ้งซ่านก็ฟู้งซ่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
เย็นวันนี้ ตอนเดินจรงกรม รู้สึกว่าขาก้าวออกไปก่อนที่จะเดินจริง ๆ และตัวก็เคลื่อนไปก่อนด้วยค่ะ เป็นบ่อยมากเลยค่ะ


ตอนเดินรู้สึกเนื้อตัวจะเบาๆใช่ไหมครับ

ดูตัวอย่าง

ซ้าย สติสัมปชัญญะเกาะจับที่ขาซ้าย
ย่าง ก้าวเท้าเดิน
หนอ, ถึงพื้น
ขวา สติสัมปชัญญะเกาะจับที่ขาขวา
ย่าง ก้าวเท้าเดิน
หนอ ถึงพื้น

ฯลฯ

เดินสุดพื้นที่แล้ว ยืนพิจารณารูปที่ยืนอยู่รวมๆ (ไม่ใช่ดูลึกถึงข้างใน) ยืนหนอ ๆๆ
เมื่อคิดจะกลับหลังหัน (รู้ว่าคิด) ขณะหมุนกลับตัว กลับหนอๆๆ
แล้วก็เดินต่อไป

บริกรรมภาวนาไปพร้อมๆกับการเคลื่อนไหวของกาย ไม่ก่อนไม่หลัง



ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ คือทำตามนี้เลยค่ะ เพราะอ่านกระทู้การเดินจงกรมของคุณแล้ว

ไม่รู้สึกว่าตัวเบานะคะ ปกติค่ะ แต่เหมือนมีตัวเราอีกคนทำไปก่อนแล้วอย่างเงี้ยค่ะ

ตอนกำหนดพอง+ยุบ+นั่ง ก็เป็นค่ะ คือยังไม่ได้กำหนด แต่มีตัวเราอีกคนกำหนดไปก่อนแล้วค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ คือทำตามนี้เลยค่ะ เพราะอ่านกระทู้การเดินจงกรมของคุณแล้ว

ไม่รู้สึกว่าตัวเบานะคะ ปกติค่ะ แต่เหมือนมีตัวเราอีกคนทำไปก่อนแล้วอย่างเงี้ยค่ะ

ตอนกำหนดพอง+ยุบ+นั่ง ก็เป็นค่ะ คือยังไม่ได้กำหนด แต่มีตัวเราอีกคนกำหนดไปก่อนแล้วค่ะ



สติสัมปชัญญะยังไม่หนักแน่นต่ออารมณ์ที่กำหนดแต่ละชณะๆ
แต่ไม่เสียหายอะไร ต่อไปก็จะดีขึ้นเอง เมื่อกำหนดอารมณ์ต่างๆชัดขึ้น หนักแน่นขึ้น

ระยะนี้ถ้าเป็นไปได้ คุณรินควรทำความรู้สึกตัวขณะใช้ชิวิตประจำวันร่วมด้วยก็จะดี เพื่อให้ช่องว่างแคบลง
เริ่มตั้งแต่ลืมตาจากที่นอนเรื่อยไป ฯลฯ ได้แค่ไหนก้ไหนก็แค่นั้น ค่อยๆฝึกไป ไม่ต้องเร่งรีบ

คุณยังเดินจงกรมระยะที่ ๑ อยู่นะครับ

ต่อไปเพิ่มจงกรมเป็นระยะที่ ๒

ยกหนอ
เหยียบหนอ
ยกหนอ
เหยียบหนอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
กรัชกาย เขียน:
ระยะนี้ถ้าเป็นไปได้ คุณรินควรทำความรู้สึกตัวขณะใช้ชิวิตประจำวันร่วมด้วยก็จะดี เพื่อให้ช่องว่างแคบลง
เริ่มตั้งแต่ลืมตาจากที่นอนเรื่อยไป ฯลฯ ได้แค่ไหนก้ไหนก็แค่นั้น ค่อยๆฝึกไป ไม่ต้องเร่งรีบ

คุณยังเดินจงกรมระยะที่ ๑ อยู่นะครับ

ต่อไปเพิ่มจงกรมเป็นระยะที่ ๒

ยกหนอ
เหยียบหนอ
ยกหนอ
เหยียบหนอ



:b10: การผูกใจเจ็บกับคนที่ทำให้เราเดือดร้อนตั้งแต่ก่อนเริ่มฝึกสมาธิ ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น เราจะนึกถึงคน ๆ นั้นน้อยลง การผูกใจเจ็บก็น้อยลง จะรู้ได้อย่างไรคะว่าเป็นผลของการฝึกสมาธิหรือเป็นเพราะเวลาผ่านไป


:b10: เดินจงกรมระยะที่ 2 อย่างเดียวหรือทั้งระยะที่ 1 และ 2 คะ


คนสอนกรรมฐานนี่เหมือนคุณหมอเลยนะคะ :b1: :b8:


เคยอ่านเจอใน 2 กระทู้ที่โพสต์ประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว กับเดือนพฤษภาคมปีนี้ เห็นคุณกรัชกายบอกว่าจะอำลาวงการ ถ้าคุณจะไปจริง ๆ ขอความกรุณาแนะนำว่าหนูควรทำอย่างไรต่อไป ควรไปปรึกษาใคร ที่ไหน ไม่รู้ว่าจะทำได้แค่ไหนนะคะ แต่ก็ไม่อยากเลิก พักนี้เห็นคุณไม่ค่อยโพสต์ (ไม่ว่าบอร์ดไหน) มากเท่าเมื่อก่อน เกรงใจค่ะ หนูเองเป็นคนชอบซักซะด้วย

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การผูกใจเจ็บกับคนที่ทำให้เราเดือดร้อนตั้งแต่ก่อนเริ่มฝึกสมาธิ ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น เราจะนึกถึงคน ๆ นั้นน้อยลง การผูกใจเจ็บก็น้อยลง จะรู้ได้อย่างไรคะว่าเป็นผลของการฝึกสมาธิหรือเป็นเพราะเวลาผ่านไป



ดูหน้าที่ของกุศลธรรมที่เจริญขึ้นๆ ตามลำดับจากการภาวนาก่อน
นำมาให้ดูพอเป็นแนวทางดังนี้

วิริยะ มีหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศลคือความเกียจคร้าน
สติ มีหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศลคือความประมาท
สมาธิ มีหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศลคือความฟุ้งซ่าน
ปัญญา มีหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศลคืออวิชชา


ประสบการณ์ชีวิตในอดีด (ที่แรงเข้ม) ยากจะลืมไปจากความทรงจำ
แต่วันเวลา จากวัน/เป็นเดือน/เป็นปี....ทำให้ประสบการณ์เก่าก่อน
ถูกประสบการณ์ใหม่ ที่รับเข้ามาทางตา ทางหู เป็นต้น ในแต่ละวันๆ
ทั้งเบาทั้งแรงเข้ม กลบทับประสบการณ์เก่าก่อนให้ดูเหมือนเจือจางได้

ถึงอย่างนั้น หากวันหนึ่งวันใด ตนได้พบเห็นเหตุการณ์/เรื่องราวเฉพาะหน้าที่ใกล้เคียงประสบการณ์เก่า
ของตน จากการเห็น ได้ยิน ได้อ่าน ฯลฯ ความทรงจำนั้นจะผุดขึ้นมา

(มีความต่างกันระหว่างผู้ฝึกจิตกับผู้ไม่ได้ฝึก)

ผู้ซึ่งไม่เคยฝึกฝนอบรมจิตมาเลย ก็ยากที่จะควบคุมความรู้สึกตนให้สงบในเวลาอันสั้น ทำให้เกิดทุกข์ใจ
ไปนาน

มีตัวอย่างประกอบ


จะพยายาม.. แต่สิ่งที่ทำได้ยากมากคือ ภาพที่เค้าเสียชีวิตต่อหน้า...
มันเป็นอะไรที่ฝังใจ เมื่อภาพนั้นมันปรากฏขึ้นมาทุกครั้ง จะรู้สึกใจสั่น และจะร้องไห้ + กลัว
เวลานั่งสมาธิถ้าภาพนั้นปรากฏขึ้นมา จะนั่งต่อไม่ได้แล้วค่ะ ... หรือเวลาทำอะไรอยู่
รู้สึกว่าตัวเองช่วยอะไรเค้าไม่ได้เลย รู้สึกผิดอยู่ลึกๆๆ



แต่กับผู้ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจิตมาก่อน จะตัดความคิดนั้นๆ ได้เร็ว พอรู้สึกตัวก็ดับ
อนึ่ง หากผู้เช่นนี้ต้องการนึกลำดับประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ได้
อุปมาเหมือนคน เปิด/ปิดลิ้นชัก ต้องการคิดก็เปิด ไม่ต้องการคิดก็ปิด

พูดส้นๆก็ว่า เขาควบคุมตนได้ เล่นกับความคิดตนเองได้ ไม่หวาดกลัวความคิดเหมือนก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เดินจงกรมระยะที่ 2 อย่างเดียวหรือทั้งระยะที่ 1 และ 2 คะ


ตอนนี้เดินระยะที่ ๒ อย่างเดียวก่อน แต่ต่อไปเดินทั้งสองระยะไปด้วยกัน
แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ตายตัว ต้องสังเกตอินทรีย์อีกด้วยครับ


อ้างคำพูด:
คนสอนกรรมฐานนี่เหมือนคุณหมอเลยนะคะ



เหมือนหมอยังไงขอรับ :b10:


คำปรารภนั้น ตอบตามหลักดังนี้ =>


การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐาน
ได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติ
เพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย



ส่วนหนึ่งจากลิงค์สติปัฏฐาน=>

viewtopic.php?f=2&t=21861&st=0&sk=t&sd=a&start=15


อ้างคำพูด:
เคยอ่านเจอใน 2 กระทู้ที่โพสต์ประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว กับเดือนพฤษภาคมปีนี้ เห็นคุณกรัชกายบอกว่าจะอำลาวงการ ถ้าคุณจะไปจริง ๆ ขอความกรุณาแนะนำว่าหนูควรทำอย่างไรต่อไป ควรไปปรึกษาใคร ที่ไหน ไม่รู้ว่า จะทำได้แค่ไหนนะคะ แต่ก็ไม่อยากเลิก



ไม่กล้าแนะนำที่ไหนให้หรอกครับ :b21:

อย่ากังวลล่วงหน้าไปเลยขอรับ เราพบกันอาจเป็นวาสนา หมดวาสนาต่อกันแล้วเราก็ไปจากกัน
ไม่มีอะไรแน่นอนขอรับ


อ้างคำพูด:
พักนี้เห็นคุณไม่ค่อยโพสต์ (ไม่ว่าบอร์ดไหน) มากเท่าเมื่อก่อน


จริงครับ ทุกวันนี้ ไม่ค่อยได้โพสต์มากนัก เพราะเห็นแล้วก็งั้นๆ แหละ ขนไม่ลุกเหมือนก่อน :b1:


อ้างคำพูด:
เกรงใจค่ะ หนูเองเป็นคนชอบซักซะด้วย



ชอบซักก็ดีนะขอรับจะได้สะอาดๆ ( แหะๆ แกล้งโง่) ไม่เป็นไรหรอกครับ ซักได้ แต่จะตอบหรือไม่
เป็นสิทธิของผู้ถูกซัก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามก่อนหน้ากรัชกายก๊อบไว้ แต่คุณลบไปเสียก่อน เห็นว่ามีสาระจึงตอบดังนี้


อ้างคำพูด:
เรื่องฟุ้งซ่านมีวิธีแก้ไหมคะ




หากให้พูดก็ง่ายนิดเดียว (แต่ทำต้องให้เวลาบ้าง ใจเย็นถึงเร็ว ใจร้อนถึงช้า)

ที่ฟุ้งซ่าน ก็เพราะจิตไม่เกาะหลักหรือเกาะอยู่กับกรรมฐาน
หากจิตได้หลักยึดแล้วจะไม่ฟุ้งซ่าน หลักก็คือพองยุบ ลมหายใจ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่กับสิ่งที่ทำเฉพาะหน้านั่นเอง
ในชีวิตประจำวัน ก็อยู่กับงานที่กำลังทำ

ยกตัวอย่างงานเฉพาะหน้า ขณะนี้เรากำลังพิมพ์ข้อความอยู่อยู่ ก็ควบคุมจิตใจให้อยู่กับมือกับนิ้วที่
เคลื่อนไหว อยู่กับสิ่งที่ทำตรงหน้า ทีนี้จิต (นามธรรม) ก็ง่วนอยู่กับงาน ก็จะไม่ฟุ้งซ่านคิดเรื่องอื่น


ดูการฝึกอิทธิบาทด้วยการใช้งานที่ทำเป็นอารมณ์
ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พอฝึกทำสมาธิ จะนึกถึง 2 คนนี้น้อยลง ระยะเวลาที่นึกถึงก็สั้นลง หัวใจก็เต้นไม่แรงเท่าเดิม



กรรมฐานที่ปฏิบัติถูกวิธี มีผลดีต่อโยคีทั้งร่างกายและจิตใจดังปรากฏแล้ว


อ้างคำพูด:
ปกติในชีวิตจะมีเรื่องหนึ่งให้หงุดหงิดเป็นประจำ พอฝึกทำสมาธิจะหงุดหงิดน้อยลง อย่างนี้เป็น
เพราะผลของการฝึกสมาธิหรือเปล่าคะ



ผลจากการเจริญสติสัมปชัญญะสมาธิเป็นต้น วัดได้จากที่คุณรินไม่หงุดหงิด
ไม่รำคาญเสียงรอบข้างขณะกำลังทำสมาธิอยู่ เป็นเครื่องยืนยัน
ดังกล่าวก่อนหน้าว่า ขณะฝึกจิตอยู่ก็ดี ออกมาใช้ชีวิตตามปกติก็ดี
ก็คือคนๆเดียวกัน ฝึกได้ผลไม่ได้ผล เครื่องทดสอบอารมณ์กรรมฐานว่าก้าวหน้าหรือไม่ ก็คือการดำรงชีวิต
ในแต่ละวันๆ ที่สัมพันธ์กับบุคคลสภาพแวดล้อม ที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณที่ให้คำแนะนำและตอบคำถามค่ะ tongue


ที่จริงเข้ามาดูเมื่อวาน ตอนที่คุณกรัชกายกำลังโพสต์ครั้งหนึ่งแล้วค่ะ


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ต้องเดินจงกรมระยะที่ 2 อย่างเดียวหรือทั้งระยะที่ 1 และ 2 คะ
ตอนนี้เดินระยะที่ ๒ อย่างเดียวก่อน แต่ต่อไปเดินทั้งสองระยะไปด้วยกัน
แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ตายตัว ต้องสังเกตอินทรีย์อีกด้วยครับ



โชคดีที่เมื่อวานเดินเฉพาะระยะที่ 2 ค่ะ :b1: เดี๋ยวนี้เปลี่ยนมาทำตอนเย็นค่ะ
ตอนเดินมีบางครั้งทีรู้สึกว่ามีตัวเราอีกคนเดินพร้อม ๆ กันไป ประมาณ 4-5 ครั้ง
ตอนเริ่มนั่งหายใจยาว 3 ครั้ง กำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ ต่อมาหายใจสั้นกำหนดเฉพาะพอง+ยุบ ไม่ได้กำหนดนั่งเพราะไม่ทันค่ะ พอรู้สึกว่าไม่หายใจจึงกำหนดนั่งหนออย่างเดียวพร้อมกับสังเกตพองยุบ เป็นอย่างนี้ 3-4 รอบ รู้สึกง่วงก็กำหนดง่วงหนอ 3 ครั้ง ตัวเอียงลงทางขวาจนลงไปนอนตะแคงขวาค่ะ ตอนกำลังเอียงกำหนดเอียงหนอ ตอนนอนกำหนดนอนหนอพร้อมสังเกตพองยุบ พอพองยุบคืนก็กำหนดพอง+ยุบ+นอน แต่ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น ไม่คืนกลับมานั่งจนกระทั่งหมดเวลาค่ะ การนอนน้อยทำให้ง่วง มีผลทำให้เป็นอย่างนี้ไหมคะ :b5:


กรัชกาย เขียน:
เหมือนหมอยังไงขอรับ :b10:


คำปรารภนั้น ตอบตามหลักดังนี้ =>


การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐาน
ได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติ
เพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย



ส่วนหนึ่งจากลิงค์สติปัฏฐาน=>

viewtopic.php?f=2&t=21861&st=0&sk=t&sd=a&start=15



ไม่ได้คิดขนาดนี้หรอกค่ะ แต่คิดว่าเหมือนคุณหมอก็ตรงที่ต้องวินิจฉัยว่าสภาวะนี้เกิดจากอะไร และต้องแก้ยังไง แต่คนไข้คนนี้ดูจะป่วยเรื้อรังนะคะ :b12:

คำกล่าวที่คุณกรัชกายยกมาเหมือนเป็นคุณของพระธรรมใช่ไหมคะ :b6:


กรัชกาย เขียน:
อย่ากังวลล่วงหน้าไปเลยขอรับ เราพบกันอาจเป็นวาสนา หมดวาสนาต่อกันแล้วเราก็ไปจากกัน ไม่มีอะไรแน่นอนขอรับ


คือคิดว่าถ้ามีโอกาสฝึกกรรมฐานแค่นี้ คงเป็นเพราะเคยทำกรรมหนักเอาไว้ในอดีตชาติน่ะค่ะ เพราะตอ นนี้ไม่มีความคิดที่จะเลิก อยากปฏิบัติต่อไปตลอดชีวิต แบบนี้หนูกับคุณคงหมดวาสนาต่อกันจริง ๆ แต่ตลอดชีวิตก็ไม่ได้หมายความว่าจะอายุจะยืนยาวจนถึงแก่ชราใช่ไหมคะ (อันนี้เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบค่ะ) :b1:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 24 ส.ค. 2009, 22:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โชคดีที่เมื่อวานเดินเฉพาะระยะที่ 2 ค่ะ เดี๋ยวนี้เปลี่ยนมาทำตอนเย็นค่ะ
ตอนเดินมีบางครั้งทีรู้สึกว่ามีตัวเราอีกคนเดินพร้อม ๆ กันไป ประมาณ 4-5 ครั้ง


จะทำตอนไหนแวลาใดก็ได้ไม่มีปัญหาครับ ว่างๆไม่ออกไปไหนทำทั้งวันก็ย่อมได้

ดังกล่าวไว้บ้างแล้วเดินจงกรมไม่ตายตัวว่า ต้องระยะนั้นระยะนี้ คือเราต้องสังเกตด้วยว่า อินทรีย์ใดตึง/
หย่อน แล้วใช้จงกรมช่วย


อ้างคำพูด:
ตอนเดินมีบางครั้งทีรู้สึกว่ามีตัวเราอีกคนเดินพร้อม ๆ กันไป ประมาณ 4-5 ครั้ง



นี่ก็สาเหตุหนึ่งที่ให้คุณเดินจงกรมระยะที่สูงขึ้นไป ด้วยว่ากำหนดอารมณ์ยังมีน้ำหนักไม่พอ
จึงให้เดินระยะที่ ๒ เพิ่มอีก


อ้างคำพูด:
ตอนเริ่มนั่งหายใจยาว 3 ครั้ง กำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ ต่อมาหายใจสั้นกำหนดเฉพาะพอง+ยุบ ไม่ได้กำหนดนั่งเพราะไม่ทันค่ะ พอรู้สึกว่าไม่หายใจจึงกำหนดนั่งหนออย่างเดียวพร้อมกับสังเกตพองยุบ เป็นอย่างนี้ 3-4 รอบ

รู้สึกง่วงก็กำหนดง่วงหนอ 3 ครั้ง ตัวเอียงลงทางขวาจนลงไปนอนตะแคงขวาค่ะ ตอนกำลังเอียงกำหนดเอียงหนอ ตอนนอนกำหนดนอนหนอพร้อมสังเกตพองยุบ
พอพองยุบคืนก็กำหนดพอง+ยุบ+นอน แต่ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น ไม่คืนกลับมานั่งจนกระทั่งหมดเวลาค่ะ การนอนน้อยทำให้ง่วง มีผลทำให้เป็นอย่างนี้ไหมคะ


คุณนอนกี่ชั่วโมงครับ

ไม่น่าจะเกิดจากการนอนน้อย สังเกตดูดิ ลงนอนแล้ว คุณยังกำหนด พอง ยุบ นอนได้

แต่เกิดจากถีนมิทธะนิวรณ์มากกว่า เป็นกิเลสตัวหนึ่ง

เอาใหม่ครับ เมื่อประสบสถานการณ์ดังกล่าวอีก รู้สึกง่วง “ง่วงหนอๆๆๆๆ” กำหนดปล่อยเลย

มาเกาะจับรูปนั่ง นั่งหนอๆๆ (เมื่อพองยุบหาย) นั่งหนอ อย่างเดียวไม่พอแล้ว
เพิ่มจุดกำหนดอีก (ถูกหนอ)
ตรงก้นกบที่กดทับพื้นรู้สึก จุดนั้นแหละ “ถูกหนอ” นั่งหนอ ถูกหนอ (สองจุด) นั่งหนอ ถูกหนอ

รู้สึกตัวเอียงๆ “เอียงหนอๆ” กำหนดรู้ตามนั้นแล้วปล่อย (ไม่ใช่กำหนดแล้วลงนอนให้มัน)
แต่กลับมาเกาะจับรูปนั่งไปใหม่ ภาวนาไป นั่งหนอ ถูกหนอ นั่งหนอ ถูกหนอไปเรื่อยๆ

ครั้นพองยุบคืนแล้ว ก็พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ (วิธีก็เหมือนที่เคยทำมา)



การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐาน
ได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติ เพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย



อ้างคำพูด:
คำกล่าวที่คุณกรัชกายยกมาเหมือนเป็นคุณของพระธรรมใช่ไหมคะ


เมื่อเข้าใจสติปัฏฐานแล้วปฏิบัติได้ถูกต้อง ผู้เช่นนั้นก็เหมือนมีจิตแพทย์ประจำตัว


อ้างคำพูด:
คือคิดว่าถ้ามีโอกาสฝึกกรรมฐานแค่นี้ คงเป็นเพราะเคยทำกรรมหนักเอาไว้ในอดีตชาติน่ะค่ะ เพราะตอนนี้ไม่มี
ความคิดที่จะเลิก อยากปฏิบัติต่อไปตลอดชีวิต แบบนี้หนูกับคุณคงหมดวาสนาต่อกันจริง ๆ แต่ตลอดชีวิต
ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอายุจะยืนยาวจนถึงแก่ชราใช่ไหมคะ (อันนี้เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบค่ะ)



อย่าคิดล่วงหน้าไปไกลเลยขอรับ ทำปัจจุบันวันนี้ให้ดีที่สุด ทั้งด้านการเรียนการศึกษาการงาน
พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มะเรื่องนี้ ฯลฯ ใครจักรู้ว่า ชีวิตจะเป็นอย่างไร จักเกิดอะไรขึ้น
ยิ่งพูดอดีตชาติ ยิ่งแล้วเข้าไปใหญ่ไกลเกินวิสัยเข้าไปอีก

คุณต้องการจะปฏิบัติจนตายก็ดีแล้วขอรับ สาธุ ทำไปเรื่อยๆ หยุดหายใจเมื่อไหร่ก็หยุดปฏิบัติเมื่อนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:
มีอาการใหม่อีกแล้วค่ะ :b6:

วันนี้ตอนเดินจงกรมก็ยังมีความรู้สึกว่ามีตัวเราอีกคนเดินไปพร้อมกัน 5-6 ครั้ง บางทีก็เดินไปก่อน 5-6 ครั้ง มีกำหนดผิดประมาณ 5-6 ครั้ง แต่บางช่วงรู้สึกว่ารอบตัวไม่มีอะไรเลย มีแต่เราเดินอยู่ค่ะ

ตอนนั่งก็เหมือนเมื่อวานเลยค่ะ แต่แก้ตามที่คุณบอกคือเมื่อรู้สึกง่วง กำหนด "ง่วงหนอๆ" แล้วปล่อยเลย ตอนพองยุบหาย กำหนด "นั่งหนอ" และ "ถูกหนอ" เมื่อรู้สึกตัวเอียง กำหนด "เอียงหนอๆ” แล้วปล่อย ไม่ลงนอน และกลับมาเกาะจับรูปนั่งใหม่ เมื่อพองยุบคืนแล้ว ก็พองหนอ ยุบหนอ จนหมดเวลา ตอนง่วงคิดว่าง่วงจริงนะคะ เพราะปวดหัว (เพราะนอนน้อย) และสัปหงกด้วยค่ะ (เฉพาะตอนนั่ง ตอนเดินไม่เป็น)

พอหมดเวลานั่งเลยนอนหลับตาเฉย ๆ ประมาณ 20 นาที พยายามไม่ให้หลับค่ะ พอให้เคลิ้ม ๆ และหายง่วง แล้วลองกลับมานั่งใหม่อีก ผลก็คือพองยุบไวมากจนตามแทบไม่ทันและพองยุบเกิดนานด้วย พอพองยุบหาย ส่วนใหญ่จะกำหนด "นั่งหนอ" "ถูกหนอ" รอบเดียว พองยุบก็คืน หรือยังไม่ทันกำหนดอะไรเลยพองยุบก็คืนมาแล้ว แต่เพราะพองยุบคืนไว จึงยังกำหนด "นั่งหนอ" "ถูกหนอ" อีกตั้ง 4-5 รอบ กว่าจะรู้ตัวว่าพองยุบคืนค่ะ เป็นอย่างนี้จนหมดเวลานั่ง ทุกครั้งที่กำหนด "พอง" เหมือนเห็นอวัยวะหนึ่ง (ตอนนี้ยังนึกชื่อไม่ออกค่ะ) เปิดให้อากาศเข้าไป เมื่อกำหนด "ยุบ" อวัยวะนั้นก็ปิด และเห็นลมหายใจเป็นสายชัดมาก และรู้สึกว่านั่งตัวตรงและนิ่งอย่างที่ไม่เคยเป็นในขณะปฏิบัติมาก่อน แต่ตอนกำหนด "นั่งหนอ" "ถูกหนอ" รู้สึกว่าตัวอยู่ตรงและนิ่งน้อยกว่าเล็กน้อยและเห็นลมหายใจเป็นสายระหว่างท้องกับก้นกบชัดเหมือนกัน ระหว่างนี้มี 3-4 ครั้งที่ได้ยินเสียงข้างนอกห้อง รู้สึกว่าเรากำหนด "เสียงหนอ" ได้เอง กำหนดครั้งเดียวแล้วปล่อยทั้ง ๆ ที่ยังกำหนด "พอง" "ยุบ" หรือ "นั่งหนอ" "ถูกหนอ" อยู่ คือกำหนด 2 อย่างได้ในเวลาเดียวกันค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 18 ส.ค. 2009, 09:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร