วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 02:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208718.jpg
208718.jpg [ 39.88 KiB | เปิดดู 4201 ครั้ง ]

สังเกตผลของจงกรมข้อที่ ๕ ท่านกล่าวถึงสมาธิที่เกิดขณะเดินจงกรมไว้ด้วย

ทีนี้เดินยังไงกันล่ะสมาธิจึงจะเกิด เดินประคองฌานสมาธิเกิด

เดินผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ หลังจากนั่งมานานแล้วเมื่อยเหลือทนลุกขึ้นเดินสมาธิเกิด

หรือ ปฏิเสธพุทธพจน์ข้อนี้เสีย




อานิสงส์ ๕ อย่าง ดังเช่น พุทธพจน์ที่ว่า

“.....ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการ

๕ ประการอะไรบ้าง ?

-เป็นผู้อดทนต่อการเดินทาง ๑

-เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร

-เป็นผู้มีโรคน้อย ๑

-อาหารที่กินเข้าไปย่อมย่อยง่าย ๑

- สมาธิที่เกิดขณะจงกรมตั้งอยู่ได้นาน ๑

จังกมสูตร ป. อํ. (๒๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 21:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ได้ฟังเทศนา จากท่านมหาบัว แล้วน้อมจิตตามไปในเทศนานั้น จนเกิดปิติ สุขขึ้นมา ขณะนั้นจิตคุณแทนขวัญก็ตั้งอยู่ในปฐมฌานแล้วครับ เพราะเป็นปิติ สุขอันเกิดจากธรรมปิติ อธิบายง่ายๆ แบบนี้ พอเข้าใจน๊ะครับ จากนั้น คุณแทนขวัญก็น้อมจิตในเทศนานั้น และตั้งอยู่ในปิติ สุขนั้น แล้วก็เดินรักษา ประคองจิตนั้นไว้ ก็เรียกว่า เดินจงกรม มีจิตตั้งอยู่ในวิหารธรรม คือ ปฐมฌานสมาบัติ เป็นต้นครับ


นิทานเรื่อง “ยายเฉิ่มประคองฌาน”


สนุกดีจังกรัชกายซัง ได้อ่านเรื่องยายเฉิ่ม แล้วก็ดีมากมาย เลยครับ ทำให้รู้ว่า แม้แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ อย่างยายเฉิ่ม ก็ยังประคองฌานเป็น และยังรับรู้ถึง ธรรมปิติอันเกิดจากการฟังธรรม ขนาดได้รับคำชมจากหลวงพ่อเลยครับ ว่า "โยมเฉิ่ม โยมได้ฌานแล้ว ติดฌานแล้ว ประคองดีๆนะ ประคองไว้ให้นานที่สุด เดินกลับบ้านระวังด้วยนะประคองไว้เดี๋ยวฌานเสื่อม"

เพราะฌาน หรือจิตที่เป็นกุศลเป็นสิ่งมีค่า ปฏิบัติธรรมได้สมาบัติระดับไหน ก็มีค่าควรเมือง
แต่เสียดาย วิบากกรรมเก่าให้ผลกับยาย เกิดก้าวตกคันนาไป ฌานที่อุตส่าห์รักษาไว้ ก็พลันเสื่อม แต่เรื่องก็ไม่ได้เล่าต่อไปครับ ยายอาจจะน้อมระลึกถึงเทศนาของหลวงตาต่อ และเกิดธรรมปิติ อีกหรือไม่ อันนี้ก็ไม่ทราบ เพราะเรื่องราว จบแต่เพียงเท่านั้น

นิทานเรื่องนี้ดีมากครับ แสดงถึงคุณของฌาน การได้ฌานไม่ยากเหมือนที่คิด และการเดินประคองฌานก็ไม่ยากเหมือนที่คิดกันครับ แม้แต่ยายบ้านนอกคอกนา ก็ยังทำได้เลยครับ ไม่ต้องคอยยกย่างหนอ ให้เป็นกังวล จนเครียด แถมยังไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสกับสุขอันเกิดจากฌานเลย คุณกรัชกายซัง มีเรื่องแบบนี้ ดีๆ ก็เล่าให้มากๆ นะครับ

สาธุ ๆ ยายเฉิ่มทำได้ดีจริงๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 01:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ ปฏิเสธสติปัฏฐาน โดยเฉพาะข้อกายานุปัสสนา


โอ๊ะโอ๋ กรัชกายซัง มั่วนิ่มๆ เลยน๊ะครับ เช่นนั้น ไม่ได้ปฏิเสธ สัมมาสติที่กรัชกายซังยกมาหรอกครับ
แต่ปฏิเสธ ยกย่างเหยียบ ที่กรัชกายซังนำมาสวมเข้ากับสติปัฏฐาน 4

น่าเกลียดจริงๆ นิ กรัชกายซัง แม้แต่ พระสูตรก็ยัง ถูกบิดเบือนด้วยมือของกรัชกายซังเอง

คำจำกัดความสัมมาสติ
สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา
มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส
ในโลกเสียได้
2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้
3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส
ในโลกเสียได้
4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้
(ที.ม. 10/299/349ฯลฯ )


สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า
สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง


หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม


ตามดูรู้ทันกาย เวทนา จิต ธรรม โผล่มาจากไหนครับ แต่งเองแปะเอง หรือครับ ยกมาจากไหนครับ พระพุทธองค์ไม่สอนแบบนี้หรอกครับ ต้นกะท้ายไม่ตรงกัน กรัชกายซังเอาสิ่งถูกมาอธิบายสิ่งผิดอยู่ครับ น่าเกลียดมาก

แล้วอีกประการหนึ่งครับ กรัชกายซัง มองขึ้นไปข้างบนน๊ะครับ
หัวข้อกระทู้เขียนว่าอะไรครับ อุบาย หรือวิธีเดินจงกรม ครับ ไม่ใช่อุบาย หรือวิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน
กรัชกายซัง โพสต์ ผิดงานหรือเปล่าครับ :b17: :b17:

ยายเฉิ่ม มาถูกงาน กรัชกายซังจูงยายเฉิ่มมา แต่กรัชกายซัง คงมึน กะยกย่างเหยียบ
เด๋วเช่นนั้น จะโพสต์ วิธีการที่พระพุทธองค์ทรงสอน และพระสูตรที่เกี่ยวข้อง
กรัชกายซัง จะได้แยกออก การเจริญสติปัฏฐานที่เป็นเหตุก็มี การรักษาสติปัฏฐานที่เป็นผลก็มี
ในส่วนจงกรม กล่าวถึงการรักษาผลโดยปรกติ ยกเว้นบางกรณี แต่ในกระทู้นี้ ก็จะกล่าวแต่ปรกติปฏิบัติครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแทนขวัญ ทำความเข้าใจกับ จงกรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
เช่นนั้น จะรวบรวมให้เป็นกลุ่มธรรม เพื่อให้เ้ข้าใจง่ายขึ้น

Quote Tipitaka:
[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


ฌาน จึงเป็นคุณภาพของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิในระดับ ต่างๆ กัน

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๖. อากังเขยยสูตร
....[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะ
จิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด
ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.


แม้แต่ ฌาน ทั้ง 4 ในพระธรรมวินัยนี้ ก็ต้องประกอบด้วย วิปัสสนา ไม่ใช่ฌาน นิ่งๆ เพียว อย่างที่เข้าใจกันครับ
วิปัสสนาในทีนี้ คือปัญญาในการเฟ้นธรรมอันเป็นเครื่องระงับจิต และปัญญาในการระงับจิตของตนครับ

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
.....

[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้
ด้วยอาการนี้แล เป็น
อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ
ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา
ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ
ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ
ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

(อาการการเดิน การนั่ง การยืน การนอน จงกรม พึงอ่านเพิ่มเติมที่จารสูตร และศีลสูตร)

สำรวมอินทรีย์ให้เป็นศีล ทำจิตให้เป็นสัมมาสมาธิ ใส่ใจอย่างเดียวคือการอบรมจิตครับ "ละอภิชฌา โทมนัส" ครับ

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ศีลสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์
สมบูรณ์ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมในปาติโมกข์สังวร
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า

ถ้าแม้ภิกษุกำลังเดินไป อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร
อันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ถ้าแม้ภิกษุยืนอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุ
นั่งอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุนอนตื่นอยู่ อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว
ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ
เพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร
มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ

ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง
นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด
คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ และพิจารณา
ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์
ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก
เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจเด็ดเดี่ยว ฯ


แล้วเดินสบาย แบบยาย เฉิ่ม ครับ แต่ตอนตกคันนา ไม่เอาครับ :b17: :b1: :b16: :b4: :b4:

Quote Tipitaka:
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ
อ.ปัญจ. จังกมสูตร ๒๒/๒๙


พระพุทธองค์ ตรัสถึงอานิสงส์ จากการเดินจงกรมตามที่พระพุทธองค์ ตรัสสอน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ก.ย. 2009, 02:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายซัง
อ้างคำพูด:
จงกรมมี 6 ระยะ (๖ ระยะพอแล้ว - บางแห่งไปสร้างเป็น ๗ ระยะ เพิ่มไม่คิด..เข้ามาอีก)
ดังนี้
ระยะที่ 1
ขวา … (เท้าข้างไหนก้าวก่อนก็ได้ไม่ตายตัว)
ย่าง … (ก้าวเดินรู้ตัว)
หนอ … (ถึงพื้น)
ซ้าย …(สติจับที่เท้าซ้าย...พร้อมยกขึ้น)
ย่าง ... (รู้สึกตัวว่ากำลังก้าวเดิน)
หนอ ...(ถึงพื้น)....
...

วิธีการแบบนี้ พระพุทธองค์ ตรัสสอนในพระสูตรไหน ที่อ้างอิงได้

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้


สิ่งที่พระองค์ตรัสสอน คือ พิจารณากายในกาย โดยอาการดังนี้ เป็นผู้ที่ประกอบแล้ว จึงเรียกว่า "เป็นผู้มี"

มีความเพียร
[๔๓๗] บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามา
ถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ
[๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

มีสติ
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้
เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว
เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
[๔๔๐] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า
โลก เป็นไฉน
กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด
นี้เรียกว่า อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น
ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป
ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว
ในโลกนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก



อ้างคำพูด:
กำหนด เวทนา เป็นต้นว่า สุขหนอ ทุกข์หนอ
กำหนด (จิต)ความคิด คิดหนอ
กำหนด ธรรม ฟุ้งซ่านหนอ เป็นต้น สภาวะใดเกิดก็กำหนดสภาวะนั้น ตามที่เป็น รู้สึกอย่างไร กำหนดตามนั้น


กำหนดตามที่ว่านี้ ขัดกับพุทธพจน์ หรือไม่?
1.ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
2.เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม

กรัชกายซัง จะแสดงธรรม ก็อย่าบิดเบือนพระธรรม
กรัชกายซัง รักกามสัญญา อยากเดินฟุ้งโดยเจตนา ก็อย่าแสดงธรรมผิด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




007.jpg
007.jpg [ 40.7 KiB | เปิดดู 4415 ครั้ง ]
" บุคคลฟังพระธรรมเทศนาของพระอรหันต์แล้ว
เห็นคนผู้ล่วงลับ ทำกาละแล้ว
กำหนดรู้อยู่ว่า บุคคลผู้ล่วงลับทำกาละแล้วนั้น
เราไม่พึงได้ว่า จงเป็นอยู่อีกเถิด ดังนี้
พึงกำจัดความรำพันเสีย
บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ ฉันใด
นรชนผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เฉลียวฉลาด
พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสีย
โดยฉับพลันเหมือนลมพัดนุ่น ฉะนั้น

คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตน
พึงกำจัดความรำพัน
ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน พึงถอนลูกศร คือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว
อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยแล้ว
ถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็น ฉะนี้แล ฯ ”



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ พูดย้ำๆซ้ำๆ "กามสัญญาๆ" บ่อยๆ

ถามว่า รู้เข้าใจความหมายของศัพท์นั้นๆยังไงครับ

ไหนลองสำแดง ความรู้เกี่ยวกับศัพท์นี้ กามสํญญาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา สาธุชนทั้งหลาย

หน่อยดิขอรับ

เอาครับวางท่อนซุงลงก่อน :b32:




อ้อ แล้วอีกอย่างเคยเห็นพุทธนี้ไหมครับ

ญาณก็ต้องอาศัยสัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังบาลีว่า

“นี่แน่ะโปฏฐบาท สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง และเพราะสัญญาเกิดขึ้น

ญาณจึงเกิดขึ้น”


(ที.สี.9/288/230)


คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ เข้าใจความหมายสัญญาแค่ไหน สัญญามีกี่อย่างไรบ้าง พอเข้าใจไหมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ก.ย. 2009, 19:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




kapook-8886-5834.jpg
kapook-8886-5834.jpg [ 48.55 KiB | เปิดดู 4366 ครั้ง ]
tongue สวัสดีท่านกรัชกายและท่านผู้เจริญทุกๆท่านเจ้าค่ะ

ท่านกรัชกายกล่าวมาเช่นนี้ ท่านคิดว่าถูกควรแล้วหรือเจ้าคะ?
อ้างคำพูด:
อ้อ แล้วอีกอย่างเคยเห็นพุทธนี้ไหมครับ

ญาณก็ต้องอาศัยสัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังบาลีว่า

“นี่แน่ะโปฏฐบาท สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง และเพราะสัญญาเกิดขึ้น

ญาณจึงเกิดขึ้น”


(ที.สี.9/288/230)


คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ เข้าใจความหมายสัญญาแค่ไหน สัญญามีกี่อย่างไรบ้าง พอเข้าใจไหมครับ



ญานที่เกิดจากเหตุปัจจัยที่ประกอบด้วยสัญญานั้นจะเกิดได้ด้วย สัญญาจากกุศลธรรมเท่านั้นนี่เจ้าคะ
กามสัญญาไม่ได้มีคุณที่จะทำให้เกิดญานได้เลย ท่านย่อมรู้อยู่เจ้าค่ะ
ขออนุญาติยกพระพุทธพจน์มาแสดงเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8:
Quote Tipitaka:
[๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อม
เที่ยวไปในโลก ความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา กล่าวคือ พวกชน
ที่ยังถือสัญญา แม้เป็นพระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ย่อมวิวาทกับพวก
กษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็นคฤหบดีก็ย่อมวิวาทกับพวกคฤหบดี
แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร
ก็ย่อมวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับสหาย. ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน
ย่อมทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตรา ในเพราะ
วิวาทกันนั้น. ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะการทำร้ายกัน
นั้น. ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วย
สามารถแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบกระทั่งการบอก
ธรรมแต่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อม
กระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0

และนี่คือธรรมฝ่ายอกุศลที่ไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดญานใดๆได้เลย มีแต่ให้โทษซึ่งควรละ :b8:

Quote Tipitaka:
:b8: :b8: :b8:
[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ
ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส
ทั้งปวง ฯ
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด
ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=10975

พระธรรมบทนี้ต่างหากที่เป็นสัญญาฝ่ายกุศลที่ควรเจริญจนเกิดญานทัสสนะ :b8: :b8:


สาธุ...การแสดงธรรมเพื่อเป็นธรรมทานแด่ผู้ที่หันหน้าเข้าหาพระธรรมทั้งหลาย
มิควรใช้มิจฉาทิฐิเข้าหากันเลยนะเจ้าคะ
( ที่ท่านกรัชกาย ไปกล่าวโทษว่า ท่านเช่นนั้นวางซุงลงก่อน สมควรแล้วหรือเจ้าคะ? )
ควรสนทนาธรรมกันด้วยพรหมวิหาร 4 จึงจะถูกต้องเจ้าค่ะ
สัมมาวาจา ควรใช้ปิยะวาจาสนทนาธรรมกันเห็นควรกว่าไหมเจ้าค่ะ ?
หากดิฉันสนทนาส่วนใดทำให้ท่านหนึ่งท่านใดขุ่นเคืองใจโดยมิได้เจตนา
ขออโหสิกรรมไว้ณ.ที่นี้ด้วยเจ้าค่ะ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chefin เขียน:
tongue สวัสดีท่านกรัชกายและท่านผู้เจริญทุกๆท่านเจ้าค่ะ

ท่านกรัชกายกล่าวมาเช่นนี้ ท่านคิดว่าถูกควรแล้วหรือเจ้าคะ?
อ้างคำพูด:
อ้อ แล้วอีกอย่างเคยเห็นพุทธนี้ไหมครับ

ญาณก็ต้องอาศัยสัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังบาลีว่า

“นี่แน่ะโปฏฐบาท สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง และเพราะสัญญาเกิดขึ้น

ญาณจึงเกิดขึ้น”


(ที.สี.9/288/230)


คุณเช่นนั้นอะโป๊ะ เข้าใจความหมายสัญญาแค่ไหน สัญญามีกี่อย่างไรบ้าง พอเข้าใจไหมครับ



ญานที่เกิดจากเหตุปัจจัยที่ประกอบด้วยสัญญานั้นจะเกิดได้ด้วย สัญญาจากกุศลธรรมเท่านั้นนี่เจ้าคะ
กามสัญญาไม่ได้มีคุณที่จะทำให้เกิดญานได้เลย ท่านย่อมรู้อยู่เจ้าค่ะ
ขออนุญาติยกพระพุทธพจน์มาแสดงเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8:
Quote Tipitaka:
[๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อม
เที่ยวไปในโลก ความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา กล่าวคือ พวกชน
ที่ยังถือสัญญา แม้เป็นพระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ย่อมวิวาทกับพวก
กษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็นคฤหบดีก็ย่อมวิวาทกับพวกคฤหบดี
แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร
ก็ย่อมวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาท
กับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับสหาย. ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน
ย่อมทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตรา ในเพราะ
วิวาทกันนั้น. ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะการทำร้ายกัน
นั้น. ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วย
สามารถแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบกระทั่งการบอก
ธรรมแต่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อม
กระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0

และนี่คือธรรมฝ่ายอกุศลที่ไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดญานใดๆได้เลย มีแต่ให้โทษซึ่งควรละ :b8:

Quote Tipitaka:
:b8: :b8: :b8:
[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ
ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส
ทั้งปวง ฯ
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด
ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=10975

พระธรรมบทนี้ต่างหากที่เป็นสัญญาฝ่ายกุศลที่ควรเจริญจนเกิดญานทัสสนะ :b8: :b8:


สาธุ...การแสดงธรรมเพื่อเป็นธรรมทานแด่ผู้ที่หันหน้าเข้าหาพระธรรมทั้งหลาย
มิควรใช้มิจฉาทิฐิเข้าหากันเลยนะเจ้าคะ
( ที่ท่านกรัชกาย ไปกล่าวโทษว่า ท่านเช่นนั้นวางซุงลงก่อน สมควรแล้วหรือเจ้าคะ? )
ควรสนทนาธรรมกันด้วยพรหมวิหาร 4 จึงจะถูกต้องเจ้าค่ะ
สัมมาวาจา ควรใช้ปิยะวาจาสนทนาธรรมกันเห็นควรกว่าไหมเจ้าค่ะ ?
หากดิฉันสนทนาส่วนใดทำให้ท่านหนึ่งท่านใดขุ่นเคืองใจโดยมิได้เจตนา
ขออโหสิกรรมไว้ณ.ที่นี้ด้วยเจ้าค่ะ




คุณ chefin cool

รู้สึกว่าคุณจะกล่าวผิดคนแล้วนะคะ คำพูดนี้ควรนำไปกล่าวกับคุณเช่นนั้นนะคะ

คุณเช่นนั้นเป็นคนพูดเรื่องกามสัญญา คุณกรัชกายเลยถามกลับ

สองคนนี่เขาถกธรรมกันมานานแล้ว

ถ้าคุณจะเข้ามีส่วนร่วมในการสนทนา ควรย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดนะคะ
ไม่งั้นกลับกลายเป็นว่า คุณกำลังเพ่งโทษผิดคนนะคะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
แทนขวัญ เขียน:
ซ้าย ขวา ซ้าย ซ้าย ขวา ซ้าย ...
นึกถึงตอนเดินพาเรดสมัยเด็กๆเหมือนกันนะคะ

แทนขวัญภาวนาไม่สัมพันธ์กับการเดินจริงๆค่ะ
เพราะพอก้าวเท้าซ้ายเหยียบพื้น
เท้าขวามันก็จะตามมาด้วยแล้ว
เช่นพอเราก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตัวเราก็ต้องโยกเดินไปข้างหน้า
พอเหยียบพื้นเต็มเท้าซ้าย เท้าขวามันก็ต้องยกมาแล้วนิดนึง
เหยียบพื้นไว้ได้ไม่เต็มเท้า ก็จะงงๆ จะพะวงว่า ขวา ย่าง ยก อันไหนกันแน่

พอลองเดินใหม่ ก้าวซ้ายเหยียบพื้น แล้วยังคงที่เท้าขวาไว้
จะได้นับสเตปขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
ท่าเดินมันก็ดูปะหลาดๆ ถึงได้งกๆเงิ่นๆอย่างที่บอกค่ะ :b9:
ดูเผินๆเหมือนจะง่าย แต่ยากมากๆ
หมายความว่าทุกๆการเคลื่อนไหวของกาย แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆ
อย่างเดิน ก็ยังมี ยก ย่าง เหยียบ กินข้าวก็ ตักข้าว อ้าปาก เคี้ยวข้าว กลืน
ประมาณนี้รึปล่าวคะ

ถ้าเราจับได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกความคิด จะเป็นยังไงนะ


อนุโมทนาด้วยนะครับ คุณแทนขวัญ ที่มีจิตใฝ่ใจในธรรม

ก็น่าเห็นใจอย่างยิ่งครับคุณแทนขวัญ ที่พยายามเดินย่าง ซ้าย ย่างขวา นะครับ
แต่พระพุทธองค์ ทรงสอนให้ เราเดินตามสบายนะครับ เดินเหมือนคนปรกตินี่แหละครับ ท่านไม่ได้สอนให้เราเดินฟุ้ง ครับ หรือว่าฟุ้งไปเดินไปครับ

แต่มีข้อแม้นิดเดียวเองครับ
แล้วก็ทำได้ง่ายมากด้วยครับ สำหรับผู้เริ่มต้น
จิตต้องตั้งอยู่ในวิหารธรรม ก่อนครับ แล้วค่อยเดินสบายๆ การเดินจงกรมไม่ต้องไปซีเรียสอะไรมากมายหรอกครับ แค่เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ แล้วก็ทรงฌาน รักษาฌานไว้ การรักษาฌานที่ไ้ด้ไว้ นั่นแหละครับเรียกว่า อยู่ในวิหารธรรม

ก็คือ ทำจิตเป็นสัมมาสมาธิก่อนครับ ระงับความฟุ้งซ่านทั้งหลายทั้งปวง จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้อารมณ์ภายนอกมารบกวนจิตใจ
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา
น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"

เมื่อทำได้อย่างนี้ ค่อยเดินครับ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าจะ ก้าวขาไหน ยกย่างขาไหน คุณแทนขวัญ สนใจแต่พระธรรมเทศนา ฟุ้งเมื่อไหร่ ก็หยุดเดิน แล้วก็น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนาใหม่ ก็เพียงพอแล้วครับ ลองดูครับ ง่ายมาก แล้วก็สบายๆ จิตใจสดใสแช่มชื่น เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว

“ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคงไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ”



Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
น้อม ไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ



เจริญธรรม





ทำไมชอบนำพระไตรปิฎกมาตัดแปะกันแบบไม่สมบูรณ์
การเดินจงกรมก็เป็นหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน


ก็คือ ทำจิตเป็นสัมมาสมาธิก่อนครับ ระงับความฟุ้งซ่านทั้งหลายทั้งปวง จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้อารมณ์ภายนอกมารบกวนจิตใจ
คุณแทนขวัญ อาจจะพิจารณา บทพระธรรมเทศนา สักบทหนึ่งให้เกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติในธรรม
ตั้งใจว่า ละความยินดี ความพอใจ ละความไม่ยินดี ไม่พอใจ สนใจอย่างเดียวคือ บทพระธรรมเทศนา
น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนา บทที่เลือกไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก ก็บริกรรม เพียงแค่ "ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่ออารมณ์"

เมื่อทำได้อย่างนี้ ค่อยเดินครับ ไม่ต้องไปใส่ใจว่าจะ ก้าวขาไหน ยกย่างขาไหน คุณแทนขวัญ สนใจแต่พระธรรมเทศนา ฟุ้งเมื่อไหร่ ก็หยุดเดิน แล้วก็น้อมจิตไปตามพระธรรมเทศนาใหม่ ก็เพียงพอแล้วครับ ลองดูครับ ง่ายมาก แล้วก็สบายๆ จิตใจสดใสแช่มชื่น เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว



นี่อีกคิดได้งัยคะเนี่ย ... ทำจิตให้เป็นสมาธิก่อนเดินจงกรม
งั้นถ้าคนไหนทำสมาธิไม่ได้ แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเดินจงกรมได้ล่ะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าลบคห.เมื่อกี้ทิ้งก็อาจจะมีคนเข้าใจผิด

เอาเป็นว่า ใครจะถกกันต่อก็ตามสบาย
ส่วนใครที่เข้ามาอ่านแล้วจะเชื่อใคร แล้วทำตามใครนั้น
ก็อยู่ที่ว่าใครเคยสร้างเหตุมาร่วมกันเท่านั้นเอง

การเดินจงกรมเดินยังไงก็ได้ให้รู้สึกตัวในขณะที่เดิน
การกำหนดบางครั้งก็เหมาะสำหรับคนบางคน
แต่คนบางคนไม่เคยเข้าใจเรื่องการกำหนด เลยมีการมากล่าวโจมตีเรื่องการกำหนด
การกำหนดคือการให้เอาจิตผูกติดอยู่กับกัมมัฏฐาน ให้รู้อยู่กับการเดิน ( กาย )
เพราะผู้ปฏิบัติบางคนชอบฟุ้ง คิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอดเวลา

จะให้เดินสบายๆก็ได้ เดินแล้วรู้สึกตัวก็ถือว่าใช้ได้
มันไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว
เพียงแต่ว่า คนไหนเขาทำได้แบบไหน เขาก็แนะนำแบบนั้น

แต่คนที่ยังไม่เข้าใจยังไม่พอ ...
น่ากลัวจริงๆ .... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่พูดไปแล้วว่า
ใครเชื่อใครก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาเคยสร้างเหตุมาร่วมกันเท่านั้นเอง

สติเป็นตัวระลึก ระลึกอะไร ระลึกว่ากำลังจะเดิน
สัมปชัญญะเป็นตัวรู้ รู้อะไร รู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน

ส่วนอุบายน่ะ .... มันหลากหลาย ...
มันต้องพลิกแพลงตามสภาวะของผู้ปฏิบัติ
ไม่ใช่มาตามใจผู้แนะนำ
ผู้ปฏิบัติเขาย่อมรู้ดีว่าเขาทำแบบไหนแล้วถนัด
บางคนใช้กำหนดขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ แล้วถนัดก็ใช้กำหนดไป
บางคนถนัดรู้ลงไปในขณะที่เดิน ก็ใช้รู้ลงไป
บางคนใช้ทั้งกำหนด ใช้ทั้งรู้ลงไป ทั้งสองแบบเลยก็มี
มันอยู่ที่สภาวะของแต่ละคน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ก.ย. 2009, 22:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 25.86 KiB | เปิดดู 4317 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
walaiporn
คุณ chefin

รู้สึกว่าคุณจะกล่าวผิดคนแล้วนะคะ คำพูดนี้ควรนำไปกล่าวกับคุณเช่นนั้นนะคะ

คุณเช่นนั้นเป็นคนพูดเรื่องกามสัญญา คุณกรัชกายเลยถามกลับ

สองคนนี่เขาถกธรรมกันมานานแล้ว

ถ้าคุณจะเข้ามีส่วนร่วมในการสนทนา ควรย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดนะคะ
ไม่งั้นกลับกลายเป็นว่า คุณกำลังเพ่งโทษผิดคนนะคะ :b12:



ขออภัยเจ้าค่ะคุณวไลพร
คุณทราบได้เช่นไรเจ้าคะว่าดิฉันมิได้ติดตามอ่านมาตั้งแต่ต้น
คุณเล่นคิดเอง เออเอง แบบนี้ถูกควรแล้วหรือเจ้าคะ?
แบบนี้เขาเรียกว่า จิตฟุ้ง แล้วเจ้าค่ะ :b14:
การเพ่งโทษเป็นสิ่งที่ผู้มีอกุศลจิตพึงกระทำเจ้าค่ะ
เพราะพระศาสดาสอนว่า สิ่งใดเป็นโทษสิ่งนั้นควรละ
ดิฉันจึงมิบังอาจไปเพ่งโทษใครได้หรอกเจ้าค่ะ
ไม่ต้องการอยู่ในวงจรลามกในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรอกเจ้าค่ะ
เพราะเป็นข้อห้ามในการขัดเกลากิเลส
คุณคงมิลืมว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมน๊ะเจ้าคะ
ใครคิดทำเช่นไรย่อมได้ผลเยี่ยงนั้นเจ้าค่ะ

ดิฉันเองได้ชี้แจงไปแล้วดังนี้ว่า..........


อ้างคำพูด:
chefin
สาธุ...การแสดงธรรมเพื่อเป็นธรรมทานแด่ผู้ที่หันหน้าเข้าหาพระธรรมทั้งหลาย
มิควรใช้มิจฉาทิฐิเข้าหากันเลยนะเจ้าคะ
( ที่ท่านกรัชกาย ไปกล่าวโทษว่า ท่านเช่นนั้นวางซุงลงก่อน สมควรแล้วหรือเจ้าคะ? )
ควรสนทนาธรรมกันด้วยพรหมวิหาร 4 จึงจะถูกต้องเจ้าค่ะ
สัมมาวาจา ควรใช้ปิยะวาจาสนทนาธรรมกันเห็นควรกว่าไหมเจ้าค่ะ ?
หากดิฉันสนทนาส่วนใดทำให้ท่านหนึ่งท่านใดขุ่นเคืองใจโดยมิได้เจตนา
ขออโหสิกรรมไว้ณ.ที่นี้ด้วยเจ้าค่ะ


สุจริตชนย่อมอ่านด้วยโยนิโสมนสิการเข้าใจเจ้าค่ะ :b13: สาธุ
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นเจ้าค่ะ :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
walaiporn
ทำไมชอบนำพระไตรปิฎกมาตัดแปะกันแบบไม่สมบูรณ์
การเดินจงกรมก็เป็นหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน




1.ทำไมชอบนำพระไตรปิฎกมาตัดแปะกันแบบไม่สมบูรณ์ --- คุณหมายความเช่นไรเจ้าคะ? :b10:


2.การเดินจงกรมก็เป็นหนึ่งในการเจริญสติปัฏฐาน----ขอความเมตตาช่วยแสดงธรรมให้ดูหน่อยเจ้าค่ะ
แล้วอยู่ในพระสูตรไหน? เล่มใดเจ้าคะ? :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:

หุหุ ... ตามสบายนะจ้าคะ cool

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาครับวางท่อนซุงลงก่อน


กรัชกายซัง ไม่กลัวนรกจะกินหัว ฮริ ฮริ พระไตรปิฏก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวม พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ และรับรองโดยพระอรหันต์มาแต่ครั้นทำสังคยนา ไม่ใช่คัมภีร์ ที่ท่านคิดว่าเป็นการแต่งเรียบเรียงขึ้นเอาเอง .
พระอรหันต์ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการรวบรวมพุทธพจน์ให้เป็นหมวดหมู่นะครับ ไม่ใช่ใส่ความคิดความเห็นลงไปแล้วเรียบเรียงใหม่ ให้ตรงตามทิฏฐิของตนเหมือนกับ ตำราในปัจจุบันครับ
ดังนั้นการที่ท่านเรียกว่าท่อนซุง ท่านกำลังดูหมิ่นพระไตรปิฏกนะครับ นรกจะกินกะบาลท่านนะครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร