วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:
๑.ทำไมจึงให้เจริญสมถะด้วย เจริญเฉพาะ "วิปัสนา" ไม่ได้หรือ
เพราะได้ยินมาว่าสมถะนั้นไม่ช่วยให้บรรลุมรรคผลได้

๒. ได้ยินมาว่า "สมถะ" นี้เป็นการปฏิบัติของพวก ฤาษี โยคี เท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาที่ชื่อว่า เจริญเฉพาะปัญญาเท่านั้น ใช่ไหมคะ

๓. ที่ท่านกล่าวว่า สมถะและวิปัสนา ต้องไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันนั้น
สภาวะธรรมเช่นใดจึงเป็นเช่นนี้คะ


ขอบพระคุณมากค่ะ



สวัสดีครับคุณกระบี่ไร้เงา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตที่คุณกระบี่ไร้เงาสนใจศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านะครับ




๑.ทำไมจึงให้เจริญสมถะด้วย เจริญเฉพาะ "วิปัสนา" ไม่ได้หรือ
เพราะได้ยินมาว่าสมถะนั้นไม่ช่วยให้บรรลุมรรคผลได้


เรื่องสมถะนี้ผมมีความรู้ความเข้าตามพระไตรปิฎกดังนี้ครับ
สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ

ยกเว้นสมถะไม่มีในอกุศลจิตดวงที่ 11 ชนิดที่ประกอบกับความลังเลหรือวิจิกิจฉาครับ
จิตที่ลังเลสงสัยไม่มีสมถะ
ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต



๒. ได้ยินมาว่า "สมถะ" นี้เป็นการปฏิบัติของพวก ฤาษี โยคี เท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาที่ชื่อว่า เจริญเฉพาะปัญญาเท่านั้น ใช่ไหมคะ


เท่าที่ผมศึกษาและปฏิบัติมานะครับ
สมถะ คือความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต หรือองค์ธรรมที่เป็นสมาธิในจิตครับ จิตเป็นสิ่งสาธารณะมีในสัตว์โลกทุกผู้คนครับ คนทุกศาสนามีจิตกันทั้งนั้นครับ คนศาสนาอื่นก็มีจิต คนนับถือศาสนาพุทธก็มีจิต ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน น่าจะมาจากการนิยามคำศัพท์ที่ชื่อว่า สมถะ ผิดไปจากศัพท์ในพระไตรปิฎกกระมังครับ

สภาวะธรรมที่ชื่อว่า สมถะ คือสภาวะธรรมอย่างเดียวกับคำว่าสมาธิที่มีในจิตทุกดวงครับ

[๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.
[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน
ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.


๓. ที่ท่านกล่าวว่า สมถะและวิปัสนา ต้องไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันนั้น
สภาวะธรรมเช่นใดจึงเป็นเช่นนี้คะ


คนดีในโลกนี้เห็นสมณะมาบิณฑบาตร หรือคนเข็ญใจ หรือสัตว์ที่หิวโหย จิตเดิมเสียดายทรัพย์หวงแหนทรัพย์ แต่ด้วยการอบรมปัญญามาดี รู้จักสละปัน เห็นแล้วย่อมน้อมใจที่จะให้ทาน ถ้าตัดสินใจให้ทานได้สำเร็จ ยินดีในการให้ทานทั้งก่อนให้ กำลังให้ และภายหลังให้แล้ว จิตมีการละความตระหนี่ อย่างนี้เรียกว่า มีวิปัสสนาเกิดขึ้น การจดจ่อยินดีตั้งมั่นในทานนั้นเรียกว่า มีสมถะ เกิดขึ้นครับ

ตัวอย่างกามาวจรกุศลจิตที่มีสมถะและวิปัสสนาเกิดพร้อมกัน


กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิกายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตาจิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ
สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

กุศลจิตทั้งหลายทั้งกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต ต่างก็มี
สมถะ วิปัสสนา เกิดในจิตดวงเดียวกันเสมอครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:25, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




11.jpg
11.jpg [ 16.08 KiB | เปิดดู 3484 ครั้ง ]
tongue
มหาราชันย์ เขียน:
สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ
ยกเว้นสมถะไม่มีในอกุศลจิตดวงที่ 11 ชนิดที่ประกอบกับความลังเลหรือวิจิกิจฉาครับ
จิตที่ลังเลสงสัยไม่มีสมถะ
ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ
หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ
ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ของโลกุตตระกุศลจิต


สาธุ :b8: ...ค่ะ คุณมหาราชันย์

คำตอบของคุณครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ดิฉัันได้เห็น สภาวธรรม ของสมถะ ซึ่งมีสภาวะได้ถึงโลกุตตระ

ต้องบอกว่า
แปลก..แต่จริง มองได้ครอบคลุมเลยนะคะแยกให้เห็นเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ อกุศล : สมถะในอกุศลจิต

ส่วนที่ ๒ กุศล : สมถะในกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต และ อรูปาวจรกุศลจิต

ส่วนที่ ๓ โลกุตระ : โลกุตระกุศลจิต

:b48: :b48: :b48: ขอบคุณค่ะ :b48: :b48: :b8:



รูปภาพ


มหาราชันย์ เขียน:
[๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด
ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด
ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน
ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา
ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.



อ่านนิยามของ สมถะ และ วิปัสสนา ที่นำมาขยายความ จะเห็นถึงความสำคัญของสมถะ และสภาวะ
ที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติ
เพราะถ้าตราบใดจิตตั้งมั่นไม่ได้ ซัดส่ายไป ไฉนเลยจะมีกำลังปัญญา
ที่จะทำลายกิเลสได้
ทำให้มองเห็นค่ะว่า สมถะ และ วิปัสสนา นั้นต้องไปด้วยกันจริงๆ :b48: :b48: สาธุ :b8:

มหาราชันย์ เขียน:
กุศลจิตทั้งหลายทั้งกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต ต่างก็มีสมถะ วิปัสสนา เกิดในจิตดวงเดียวกันเสมอครับ



เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 13:00, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:


เรื่องสมถะนี้ผมมีความรู้ความเข้าตามพระไตรปิฎกดังนี้ครับ
สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ

ยกเว้นไม่มีในอกุศลจิตชนิดที่ประกอบกับความฟุ้งซ่านครับ
จิตที่ฟุ้งซ่านไม่มีสมถะ
ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต






ตรงจุดนี้ น่าสนใจมากครับ

อยากอ่าน ต้นฉบับ จากพระไตรปิฎก โดยตรง ครับ

รบกวน ขอช่วยบอกด้วยครับ ว่า อยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก ...เป็นจากพระอภิธรรม ก็ได้น่ะครับ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:


อ่านนิยามของ สมถะ และ วิปัสสนา ที่นำมาขยายความ จะเห็นถึงความสำคัญของสมถะ และสภาวะ
ที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติ
เพราะถ้าตราบใดจิตตั้งมั่นไม่ได้ ซัดส่ายไป ไฉนเลยจะมีกำลังปัญญา
ที่จะทำลายกิเลสได้
ทำให้มองเห็นค่ะว่า สมถะ และ วิปัสสนา นั้นต้องไปด้วยกันจริงๆ :b48: :b48: สาธุ :b8:





เสนอ อ่าน อานันตริกสมาธิ


จาก

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=152028


[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ๆลๆ


[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ





ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ


อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิต ที่ หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การเจริญธรรม ๒ อย่างให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถือ สมถะ กับวิปัสสนานั้น พระพุทธองค์ให้เจริญหลังจากละสัญโยชญ์ ๓ ได้แล้ว



เรื่องเดิม ๆ...เอาอีกแล้ว... :b13: :b13: :b13:

จะละสังโยชน์..ไม่ต้องถึง 3 หรอก..เอาแค่ข้อแรกก็พอ..จะละยังงัยถ้าไม่ภาวนา..

หลาย ๆ คนก็รู้นี้..ว่า..คนเราต้องตาย..กายนี้ไม่ใช่เรา..แล้วละได้แล้วหรือยัง?..ที่ได้ได้จริงมัย?
จะได้จริง..เพราะรู้จริงเห็นจริงแล้วยอมรับว่าจริง..
แล้วไปรู้ไปเห็นไปยอมรับด้วยอะไร..ก็มีแต่ใจที่ไปรู้ไปเห็นไปยอมรับ..
แต่ใจที่ฉลาดแต่เรื่องโง่ ๆ นี้..มันยอมรับได้ง่าย ๆ ที่ไหน..ต้องคอยให้เหตุให้ผลอบรมมัน..บ่อย ๆ

การให้เหตุให้ผลอบรมมัน..บ่อย ๆ..นี้ไม่เรียกว่า..ภาวนา..แล้วจะไปเรียกว่าอะไร..ฮือ

ทุกวันนี้..ก็เห็นแต่..คนจำพวกเนยยะ..ซะมาก..มีแต่ต้องพากต้องเพียร..ต้องบุกต้องบั่น..ต้องขยันภาวนา..ส่วนพวกปทปรมะคงไม่ต้องพูดถึง..

ส่วนคนจำพวก..อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู ..ที่รู้ธรรมเห็นธรรมได้รวดเร็ว..ที่เห็นได้ในสมัยพุทธกาลนั้น...ไม่ต้องมีญาณอะไรก็เดาออก..ว่า..สั่งสมมาจนจะเต็มแล้ว..เหมือนตุ่มน้ำที่ขาดเพียงแค่หยดเดียว..จึงจะเต็มปริม..ตอนที่เขากำลังสั่งสม..เขาก็มีการภาวนากันมาทั้งนั้นแหละ..

ที่ผมว่ามาทั้งหมดนี้...ใคร ๆ จะไม่เชื่อ..ก็ได้

แต่ขอให้รู้ว่า..ข้อความข้างล่างนี้..

การเจริญธรรม ๒ อย่างให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถือ สมถะ กับวิปัสสนานั้น พระพุทธองค์ให้เจริญหลังจากละสัญโยชญ์ ๓ ได้แล้ว

เชื่อไม่ได้

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


(มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร)

ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว.กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิดดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้..ท่านวัจฉโคตรจะอุปสมบทได้กึ่งเดือน..กึ่งเดือนของท่าน..ท่านอยู่เฉย ๆ หรืองัย?

Onion_L

อ้างคำพูด:
ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิดดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ


ขอบคุณ..หลักฐานที่ท่านนำมา..ยิ่งแสดงใว้ชัด ๆ เลย

ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด...เจริญให้ยิ่งขึ้นไป..

คือ..ทำให้มาก..มากกว่าเดิม..

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

อีกอย่าง..

ยังไม่ตอบผมเลยว่า..ละสังโยชน์ยังงัย..ถ้าไม่ภาวนา


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 22:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ตรงจุดนี้ น่าสนใจมากครับ

อยากอ่าน ต้นฉบับ จากพระไตรปิฎก โดยตรง ครับ

รบกวน ขอช่วยบอกด้วยครับ ว่า อยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก ...เป็นจากพระอภิธรรม ก็ได้น่ะครับ



สวัสดีครับคุณตรงประเด็น

ผมจะแสดงองค์ธรรมในจิต 2 ประเภทให้คุณสังเกตองค์ธรรมชื่อสมถะในจิตนะครับ
ส่วนในรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตระกุศล จิต 3 ประเภทนี้มีสมถะอยู่แล้วดังที่ทราบกัน ผมไม่เอามาแสดง




มหาราชันย์ เขียน:
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ


อกุศลธรรม
อกุศลจิต ๑๒
-----------------------
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละโลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ
สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.



[๓๐๕] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.




มหาราชันย์ เขียน:
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้



กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิกายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตาจิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ
สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



[๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

tongue
อ้างคำพูด:

[๒๑๑]ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


:b8: :b48: :b48: ขอบคุณ คุณตรงประเด็นค่ะ ที่ยกพระไตรปิฎกมาประกอบ :b8: สาธุ...ค่ะ

Quote Tipitaka:
จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เป็นญานที่ ๓๒ จาก ๗๓ ญาณ

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ อันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ
ญาณ เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น
สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ

[๒๑๒] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ เหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ


ฯลฯ


[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน

อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=31&item=211&items=4



ขอเสนออีกเว็ปหนึ่งค่ะ ที่อธิบาย ได้ละเอียด และชัดเจนค่ะ


รูปภาพ


อาสวะ ๔ เป็นไฉน ?????

…..อาสวะ ๔ ได้แก่ ………….

๑. กามาสวะ (อาสวะ คือ กาม)
๒. ภวาสวะ (อาวสวะ คือ ภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะ คือ ทิฏฐิ)
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะ คือ อวิชชา)


กามาสวะ เป็นไฉน…….

…..ความพอใจในกาม
…..ความยินดีในกาม
…..ความเพลิดเพลินในกาม
…..ความ ปรารถนาในกาม
…..ความเยื่อใยในกาม
…..ความเร่าร้อนในกาม
…..ความสยบในกาม
…..ความ หมกมุ่นในกาม


ภวาสวะ เป็นไฉน…….

…..ความพอใจในภพ
…..ความยินดีในภพ
…..ความเพลิดเพลินในภพ
…..ความ ปรารถนาในภพ
…..ความเยื่อใยในภพ
…..ความเร่าร้อนในภพ
…..ความสยบในภพ
…..ความ หมกมุ่นในภพ

ฯลฯ




http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=388

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ละสังโยชน์ยังงัย.

(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค)

สังโยชนสูตรที่ ๑

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ

สังโยชนสูตรที่ ๒

ภ.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน ฯ

พ.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตาสังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ฯ

*** ภาวนา แปลว่า เสพให้มาก ทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


(มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร)


ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว.กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด

ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ



.........................................



ประเด็นนี้ เคยเห็นท่านผู้รู้ ท่านกล่าวว่า ท่านวัจฉโคตรซึ่งในขณะนั้น บรรลุอนาคามีผลแล้ว .....

ตามหลักแล้ว พระอนาคามีถือว่า มีสมาธิสัมปทา(สมาธิบริบูรณ์แล้ว) คือ ท่านต้องได้บรรลุสมถะระดับสูงมาแล้ว เพราะ พระอนาคามีเมื่อถึงกาละท่านจะเกิดอีกเฉพาะในสุทธาวาสพรหมโลก ซึ่ง เป็น รูปโลก เท่านั้น

แต่ ท่านยังไม่ประจักษ์ซึ่ง อกุปปาเจโตวิมุติ(เจโตวิมุตติที่ไม่กลับกำเริบ หรือ เจโตวิมุตติที่กำกับด้วยปัญญาวิมุตติ) ซึ่ง จะต้องบรรลุอรหัตตผลแล้วเท่านั้น จึงจะบรรลุอกุปาเจโตวิมุตติ



เสนอต่อ ในเรื่อง เจโตวิมุตติ(ผลของสมถะ)


จากพจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจโตวิมุต&detail=on

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ
เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป;
เทียบ เจโตวิมุตติ



เจโตวิมุตติ นั้น
จึงมีทั้ง เจโตวิมุตติที่ยังกลับกำเริบได้(กุปปาเจโตวิมุตติ)
และ เจโตวิมุตติที่ไม่กลับกำเริบ(อกุปปาเจโตวิมุตติ)


จาก พุทธธรรม

พึงสังเกต คำ “อกุปปา” ที่ท่านเติมเข้าข้างหน้าวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ให้เป็นอกุปปาวิมุตติ และอกุปปาเจโตวิมุตตินั้น ก็เพื่อเน้นความให้ชัดว่าเป็นวิมุตติขึ้นสุดท้ายที่เด็ดขาด

ทั้งนี้เพราะคำว่าวิมุตติ บางคราวไม่แน่นอน ท่านใช้ในความหมายหลวม ๆ หมายถึง ความหลุดพ้นขั้นต่ำลงไปก็มีบ้าง

ส่วนคำว่าเจโตวิมุตติยิ่งเบาลงไปกว่านั้นอีก เพราะเจโตวิมุตติอย่างเดียวจะหมายถึงวิมุตติขั้นเด็ดขาดไม่ได้เลย การเติมคำว่าอกุปปาลงไปให้แปลว่า เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ ก็เท่ากับพูดว่า เจโตวิมุตติในที่นี้ หมายถึง เจโตวิมุตติขั้นเด็ดขาดที่มีปัญญาวิมุตติเกิดขึ้นด้วยแล้ว จึงเป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กลับเสื่อมได้อีก

ดังนั้น แม้จะไม่ระบุคำว่าปัญญาวิมุตติไว้ ก็พึงทราบว่าคลุมความถึงปัญญาวิมุตติรวมอยู่ด้วย แม้คำว่าอสามายิก ในอสามายิกเจโตวิมุตติ ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกัน



และ

รวมความว่า วิมุตติที่จะเป็นความหลุดพ้นเด็ดขาด ให้เข้าถึงนิพพานอย่างแท้จริง ต้องจบลงด้วย ปัญญาวิมุตติ จึงจะทำให้เจโตวิมุตติ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดมีมาก่อนนานแล้วก็ดี เกิดขึ้นแล้วแต่กลับเสื่อมไปและกลับได้ใหม่อีกแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ดี หรือเจโตวิมุตติที่ได้พร้อม ๆ กับปัญญาวิมุตตินั้น โดยฐานเป็นบาทให้แก่ปัญญาวิมุตติก็ดี กลายเป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กลับเสื่อมได้อีก หรือเรียกสั้น ๆ ก็ได้ว่า อกุปปาวิมุตติ วิมุตติที่ไม่กำเริบ เพราะกำจัดเหตุปัจจัยที่จะทำให้กำเริบคืออาสวะทั้งหลายได้แล้ว นอกจากจะไม่กำเริบแล้ว ยังไม่เปิดช่องให้เกิดโทษข้อเสียหายทั้งแก่ตนและคนอื่นอีกด้วย คือจะไม่เกิดการติดหรือหลงเพลินอย่างหนึ่ง และจะไม่นำเอาผลพลอยได้ที่พวงมากับเจโตวิมุตติ คือ โลกียอภิญญา ไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อสนองความต้องการของตน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากเจโตวิมุตติอย่างดีที่สุด ภาวะอย่างนี้คือ การมีทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติเป็นคู่กัน ซึ่งท่านกล่าวถึงอยู่เสมอว่า “เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย (ที่เกิดขึ้นแล้ว) ดับไปหมดไม่เหลือเลย” และอกุปปาเจโตวิมุตติอย่างนี้นี่เอง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นแก่นและเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา

ดังพุทธพจน์ว่า

“...ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น เป็นไปไม่ได้ ไม่มีโอกาสเลย (อฐานะ อนวกาส)”

“ภิกษุทั้งหลาย

โดยนัยฉะนี้แล พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้
มิใช่มีลาภสักการะและชื่อเสียงเป็นอานิสงส์
มิใช่มีศีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)เป็นอานิสงส์
มิใช่มีสมาธิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งสมาธิ)เป็นอานิสงส์
มิใช่มีญาณทัศนะ เป็นอานิสงส์

แต่ พรหมจรรย์นี้มีอกุปปาเจโตวิมุตติเป็นผลประโยชน์ เป็นแก่น เป็นจุดหมาย





ปล... พึงสังเกตุว่า สมาธิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งสมาธิ) ยังไม่ใช่ความหมายเดียวกันกับ อกุปปาเจโตวิมุตติ

ดังนั้น กิจที่พระอนาคามียังต้องเจริญต่อคือ เพื่อบรรลุซึ่งอกุปปาเจโตวิมุตติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านวัจฉโคตรซึ่งในขณะนั้น บรรลุอนาคามีผลแล้ว .....

ท่านวัจฉะ เป็นปริพาชก (นักบวชนอกศาสนา) เมื่อปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา พระพุทธองค์ตอบว่า

ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

หากท่านวัจฉะบรรลุอนาคามีแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำเป็นเวลาครึ่งเดือน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

ท่านวัจฉะ เป็นปริพาชก (นักบวชนอกศาสนา) เมื่อปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา พระพุทธองค์ตอบว่า

ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

หากท่านวัจฉะบรรลุอนาคามีแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำเป็นเวลาครึ่งเดือน




จากพระสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 441&Z=4660

ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้น
จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชา
อุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์เมื่อหวังจะบรรพชาอุปสมบท
ในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว
จึงจงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสให้ครบสี่ปี โดยล่วง
สี่ปีไป ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด
วัจฉโคตตปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

สมถวิปัสสนา

[๒๖๐] ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน


หมายถึงว่า หลังจากอุปสมบทแล้ว กึ่งเดือน ท่านก็บรรลุอนาคามีผล

หาใช่ว่า ท่านบรรลุอนาคามีผลแล้ว ค่อยมาภาวนาเพื่อ"ละสังโยชน์เบื้องต่ำ"(???)



จากพระสูตร

ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว

ตรงจุดนี้ ในอรรถกถา อธิบายว่า ท่านวัจฉโคตร บรรลุอนาคามีผล แล้ว ดังนี้

บทว่า เสกฺขาย วิชฺชาย ปตฺตพฺพํ พึงบรรลุวิชชาของเสกขะ คือบรรลุผล ๓ เบื้องต่ำ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าทั้งหมดนั้นเราบรรลุแล้ว.

ๆลๆ

จริงอยู่ พระอนาคามีบุคคลเป็นพระเสกขะบริบูรณ์โดยส่วนเดียว. วัจฉะกล่าวว่า พึงบรรลุวิชชาของพระเสกขะ หมายถึงพระอนาคามีบุคคลนั้น.







Supareak Mulpong เขียน:

หากท่านวัจฉะบรรลุอนาคามีแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำเป็นเวลาครึ่งเดือน




ท่านใช้คำว่า บรรลุ(อริย)ผล๓เบื้องต่ำ หมายถึงบรรลุอนาคามีผล.... ไม่ได้ใช้คำว่า ละสังโยชน์๓เบื้องต่ำ ซึ่งเป็นความหมายของบรรลุโสดาปัตติผล ครับ

ความหมายไม่เหมือนกัน... อ่านดีๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 07:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ท่านวัจฉะ เป็นปริพาชก (นักบวชนอกศาสนา) เมื่อปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา พระพุทธองค์ตอบว่า

ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

หากท่านวัจฉะบรรลุอนาคามีแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำเป็นเวลาครึ่งเดือน


ตกลง..คุณก็สรุป..แล้วใช่มัย..ว่า

..ต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ..

ที..ตอนตอบผม..ไม่ยักกะยอมรับแฮ่..
กลัวอะไรหนอ..
กลัว..ยศ..กลัวสรรเสริญ..เสื่อม..หรือเปล่าหนอ
ต้องปรับปรุง..ตัวแล้วนะครับ..อย่าไปกลัวเลย
เพราะแค่..สรรเสริญ..ของภายนอกยังกลัวว่าจะเสื่อม..แล้วจะไปละสักกายทิฏฐิได้ยังงัย..

ต้องขอบคุณ..คุณตรงประเด็น..ที่ไปล่อให้ผึ่งทิ้งรัง..จึงได้เห็นว่ารังผึ่งมีน้ำหวานหรือเปล่า..
ผึ่งมันทำงานไม่เป็น..นะซี..มันสับสน..

อีกอย่าง..ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว
ความเห็นของคุณในกระทู้..การฝึกสมาธิมีข้อเสียอย่างไร?..ล่าสุด..ที่ว่าดังนี้

Supareak Mulpong เขียน:
"ภาวนายมปัญญา" คือปัญญาใดๆ ที่เกิดจากฌานสมาบัติ ปัญญานี้ไม่มีอะไรจะสามารถปหานกิเสล แต่เป็นเครื่องมือในการพิสูจณ์ธรรม
พระพุทธองค์พิสูจณ์ธรรมและประกาศแล้ว หากต้องการรู้เหมือนที่พระพุทธองค์รู้ ก็ให้ได้อย่างน้อยโสดาปัตติผลก่อน สมาธิขั้นอัปปนาที่เกิดก่อนโสดาปัตติมรรค เป็นมิจฉาสมาธิ หากไปติดตาข่ายดักพรมณ์เสียก่อน ก็หมดโอกาสถึงมรรคผล

"ธรรมอันใดเกิดแต่เหตุ" ศีล สมาธิ ปัญญา มิได้จะสร้างอะไรขึ้นมาก่อนก็ได้ ผิดหลักสัจจะธรรม ตรงนี้ก็เป็นจุดที่ท่านเห็นไม่ตรง องค์ธรรมในมรรค ๘ ก็เกิดตามเหตุตามปัจจัย มิใช่อะไรเกิดก่อนก็ได้อย่างที่ท่านกำลังเข้าใจ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะนั้นมิได้เกิดมาได้ง่ายๆ หากท่านไม่รู้อุบายในการก้าวออกจากกิเลสแล้ว โอกาสที่ท่านจะเจริญจนได้มรรคผลนั้นไม่มี


ดูเอาเองเถอะ..ว่า

ระหว่าง..ต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์..กับ..ภาวนามยปัญญา..ปัญญานี้ไม่มีอะไรจะสามารถปหานกิเสล

สับสนแค่ไหน

น่าเสียดายนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอยย่อมไม่บริบูรณ์

อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด
ละบุญและบาปได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ”



ภิกษุพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ งดเว้นเสีย
ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก
ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่ ฯ



บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว
ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร