วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 23:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของโทษของกามนั้น

ไม่ใช่ สำหรับ กลุ่ม บุคคล ประเภท สุขนิยม...

ถ้าท่าน รู้สึกว่า ตัว เอง เป็น ผู้ มี ความเชื่อ ใน สุขนิยม ก็ อ่าน แบบ ไม่ต้องใส่ใจ...

------------------
ส่วน กลุ่มพวก มีปัญญา บารมี พอ ที่จะ เห็น ไตรลักษณ์ ได้ ก็ ค่อนข้างจะ เอนไปทาง ทุกข..ทัศนะ คือ
มองเห็น ว่า ที่ เราเรียก ว่า สุขนั้น แท้จริง อาจจะ มีทุกขมากกว่า
----------------

1. กฎข้อที่ 1 ..กามนั้นสุขน้อย..ทุกข์มาก จึงมีโทษ

-----------------


อธิบาย
ต.ย คนที่เขา ใช้ยาโคเคน เขาใช้ เพราะ อะไร... อาจจะเพราะหนี ทุกข์ หรือ อาจจะ เพราะ เพิ่มความสุข

กามนั้น ก็มีส่วน คล้ายๆ กามนั้น มี มากับมนุษย์ มาแสน นาน ....

เมื่อจักษุ เราเห็น ภาพ สวย สัมผัส อัน เป็นที่น่า รัก ใคร่ เราก็เกิดสุข

แต่.....ที่สุดแล้ว พิจาราณาโดยแยบ คาบแล้ว

" ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว
พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต
นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด
พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหลออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง"


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 02:58, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย หรือนกตะรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลายจะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไปฉันใด.....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่ายเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ มีแก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญบุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึงนำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ฉันใด....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ต้นไม่ ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงมาเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่าต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม่นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เราขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่มและห่อพกไว้ ลำดับนั้นบุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แค่โคนต้นแล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นนั้นแค่โคนต้น ฉันใด....
“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

:b41: กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง.
....”


โปตลิยสูตร ม. ม. (๔๘-๕๓)


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 02:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โทษของกาม
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย.
กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

คะแนนก็ดี ด้วยการคำนวนก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วย
การค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษ
ก็ดี ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตราก
ตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เลื้อยคลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า ก็เป็น
โทษของกามทั้งหลาย
เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่า
นั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความ
หลงเลือนว่าความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็น
กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้
โภคะเหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะ
เหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่า
นั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาท
อัปรีย์พึงนำไปไม่ได้. เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา
ทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสีย
ก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก
รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเล่าเคยเป็นของเรา
แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าเป็นโทษของกาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม
เป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า
มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลาย
ก็วิวาทกันกับพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวก
พราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี
แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร
แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชาย
ก็วิวาทกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย
ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้น ๆ ทำร้ายซึ่งกัน
และกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง
ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า
ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกาม
เป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า
มีกามเป็นด้วยบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและ
โล่สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อลูกศรทั้งหลาย
ถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกวัดแกว่งอยู่
บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบ
ตัดศีรษะเสียบ้างในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็น
กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้น
เค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและ
โล่สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปลือกตมร้อน เมื่อลูกศร
ถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง ชนเหล่านั้น
ต่างถูกลูกศรเสียบบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้ายโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับด้วย
คราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง
ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย
เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่
ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำให้เป็นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักทางบ้าง
สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลายจับคนนั้น ๆ ได้แล้ว ให้กระทำกรรม
กรณ์ต่าง ๆ เฆียนด้วยแซ่บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง ตัดมือ
เสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง ตัดจมูกเสีย
บ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกเสียบ้าง กระทำกรรมกรณ์ ชื่อพิลังคถาลิกะ [หม้อเคี่ยว
น้ำส้ม] บ้าง ชื่อสังขมุณฑกะ [ขอดสังข์] บ้าง ชื่อราหูมุข [ปากราหู]
บ้าง ชื่อโชติมาลิกะ [พุ่มเพลิง] บ้าง ชื่อหัตถปัชโชติกะ [มือไฟ] บ้าง ชื่อ
เอรกวัตติกะ [นุ่งหนังช้าง] บ้าง ชื่อจีรกวาสิกะ [นุ่งสาหร่าย] บ้าง ชื่อเอ-
เณยยกะ [ยืนกวาง] บ้าง ชื่อพลิสมังสิกะ [กระชากเนื้อด้วยเบ็ด] บ้าง
ชื่อกหาปณกะ [ควักเนื้อทีละกหาปณะ] บ้าง ชื่อขาราปฏิจฉกะ [แปรงแสบ]
บ้าง ชื่อปลิฆปริวัตตีกะ [วนลิ่ม] บ้าง ชื่อปลาลปีฐกะ [ตั่งฟาง] บ้าง
รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกินบ้าง เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง ใช้ดาบตัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า
ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกัน
อยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง
กามทั้งหลายทั้งนั้น.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้น
เค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล ฝูงชนต่างประ
พฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น
ครั้นประพฤติกาย
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกาม
ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มี
กามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 07:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรมหานาม
ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า

กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง

ดังนี้ แต่อริยสาวก
นั้นเว้นจากกาม
เว้นจากอกุศลธรรม
ยังไม่บรรลุปีติและสุข
หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น
เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน

แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ
ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

กามให้ความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก
โทษในกามนี้ยิ่ง

ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม
เว้นจากอกุศลธรรม
บรรลุปีติและสุข
หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้.


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 07:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิครนถ์ // ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะ ประสพสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม.

พระผู้มีพระภาค // เป็นการแน่นอน ที่พวกท่านนิครนถ์ทั้งหลายหุนหัน ไม่ทันพิจารณาจึงพูดว่า ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็น สุขยิ่งกว่าท่านโคดม เออก็เราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักไซร้ไล่เลียงในเรื่องสุข เรื่องทุกข์นั้นสิว่า ใครเล่าหนอจะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง.

นิครนถ์ // ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ เป็นการแน่นอนที่พวกข้าพเจ้าหุนหันไม่ทันพิจารณา จึงพูดว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็น สุขยิ่งกว่าท่านพระโคดม เอาละ หยุดไว้เพียงเท่านี้ บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจะต้องถามท่านพระโคดม ดูบ้างว่า ใครเล่าหนอ จะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่าน พระโคดมเอง?

พระผู้มีพระภาค // ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น เราจะต้องถามพวกท่าน ในเรื่องสุขเรื่องทุกข์นั้น ดูบ้าง ท่านเข้าใจอย่างใด ก็พึงแถลงอย่างนั้น ดูกรท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจงเข้าใจความ ข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหว พระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๗ คืน ๗ วัน ได้หรือ?

นิครนถ์ // ไม่ไหวละท่าน.

พระผู้มีพระภาค // ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหวพระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวย พระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง ได้หรือ?

นิครนถ์ // ไม่ไหวละท่าน.

พระผู้มีพระภาค // ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เราแหละสามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง สามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ ๒ คืน ๒ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน ดูกรนิครนถ์ ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะอยู่สบายกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธหรือเราเอง?

นิครนถ์ // เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมสิ อยู่สบายกว่าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว เจ้าศากยมหานามทรงมีพระทัยชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ
กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


# กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
# ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน
บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


# ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี
# ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้บริโภคกามเป็นอันมาก ไม่สิ้นทะเยอทะยาน เป็นผู้พร่อง อยู่เทียว ละร่างกายไปแท้ (ตายไปทั้งที่หื่นกระหายกาม)


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะฝนคือ กหาปณะ (คือกามไม่มีที่สิ้นสุด)


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามาทีนพ

ต่อจากนั้นก็ตรัสกามาทีนพคือโทษของกามว่า

สวรรค์นั้นกล่าวคือ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ตลอดถึงเรื่องราวทั้งหลายที่น่ารักใคร่พอใจทำให้เกิดความสุขนั้น
ถ้าหากว่าจิตใจไปติดเข้าก็เป็นกาม

และเมื่อเป็นกามขึ้นมาก็ย่อมบังเกิดทุกข์โทษ
ทุกข์โทษที่ได้รับนั้นย่อมมีอยู่เป็นอันมาก

แต่ว่าสุขโสมนัสที่ได้รับนั้นมีอยู่เป็นส่วนน้อย

เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสชี้ให้มองเห็นว่า บรรดาผลทั้งหลาย
ที่ดีที่ชอบที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจเหล่านั้น

ก็ไม่พ้นไป จากรูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยินเป็นต้น
อันเป็นที่น่ารักใคร่ ปรารถนาพอใจ

แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์
ดำรงคงที่อยู่ไม่ได้
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไป



เมื่อเป็นดั่งนี้จึงไม่มีใครสามารถที่จะยึดถือเอาไว้ได้ว่าจะต้องเป็นของของ เรา
จะต้องเป็นเราอยู่อย่างนั้นตลอดไป
คือจะต้องเป็นเราผู้เสวยสวรรค์อยู่อย่างนั้นตลอดไป
และสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจเหล่านั้นก็จะต้องเป็นของของเราอยู่ตลอดไป
ไม่สามารถที่จะไปปรารถนายึดถือให้เป็นอย่างนั้นได้
เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
เป็นสิ่งที่ต้องเกิดดับ



ฉะนั้น จึงได้รับสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเท่าที่สิ่งเหล่านั้นยังดำรงอยู่
หรือเท่าที่ชีวิตของตนยังดำรงอยู่เท่านั้น
แต่แล้วครั้นความไม่เที่ยงมาถึง
ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงมาถึงเข้า
สิ่งเหล่านั้นก็จะต้องจากไป
หรือตัวเราเองก็จะต้องจากสิ่งเหล่านั้นไป
เมื่อเป็นดั่งนี้
โทษต่างๆก็ปรากฏขึ้นคือความทุกข์ต่างๆ


จึงได้ตรัสชี้ให้มองเห็นโทษดั่งนี้ที่เรียกว่า

“กามาทีนพ” โทษของกาม ก็คือโทษที่ไปรักใคร่ยึดถือว่าจะต้องเป็นของเรา จะต้องเป็นเราเอง
... :b53: :b51:


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 07:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มา
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1050

๗ วันที่บวชอยู่ไม่ได้มีความสุขเลย โฮ...คนกำลังจะเข้าเรือนหอลากไปบวช ...(หัวเราะ)... เป็นเราก็กลุ้มใช่ไหม คราวนี้พระพุทธเจ้าท่านรู้อยู่ ท่านเลยตรัสเรียกพระนันทะไปด้วยกัน

ไปก็ชี้ให้ดูลิงตัวเมียแก่ ๆ ตัวหนึ่ง หางก็ด้วน หูก็แหว่ง ขนก็หลุดนั่งอยู่บนตอไม้ที่ไฟไหม้

บอกว่า ...นันทะ ภรรยาในอนาคตของเธอ งามกว่าลิงแก่ตัวนี้หรือว่าลิงแก่ตัวนี้งามกว่า ?
พระนันทะเถระบอกว่า นางชนบทกัลยาณี งามกว่าจนเปรียบไม่ถูกพระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้าบอกว่าดี เดี๋ยวจะพาไปดูอะไร จับมือพระนันทะได้ก็พรึบขึ้นดาวดึงส์ไปเลย ไปถึงเทวดานางฟ้าก็มากันเพียบ พระพุทธเจ้าก็ชี้ให้พระนันทะดูบอกว่า

แล้วเธอเห็นเหล่านางสวรรค์เหล่านี้ เมื่อเปรียบกับชนบทกัลยาณีแล้วเป็นอย่างไร ?
{ :b31: ชนบทกัลยาณี...ในที่นี้ หมายถึง ภรรยาในอนาคตที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงานในเรื่องนี้}
พระนันทะบอกว่า
นางชนบทกัลยาณี
เมื่อเปรียบเทียบกับนางฟ้าเหล่านี้
ก็เหมือนลิงแก่หางด้วนขนหลุดตัวนั้น


{ :b31: แสดงว่า ความงานเป็นแค่ การเปรียบเทียบ ความประณีต เป็นแค่สัมผัส ทางตา}



พระพุทธเจ้าเลยถามว่า แล้วถ้าหากว่าเธออยู่ปฏิบัติต่อไป
แล้วตถาคตรับปากว่าจะให้นางฟ้าเหล่านี้แก่เธอ ๆ จะรับไหม ?
พระนันทะก็ตกลง

พระพุทธเจ้าท่านก็เลยสอนกรรมฐานให้กลายเป็นพระอรหันต์ไป
ตกลงพระนันทะบวชเพราะอยากได้เมียเป็นนางฟ้า

พอท่านบรรลุมรรคผลแล้วท่านก็รู้ว่า ที่แล้ว ๆ มาท่านเห็น
โทษของการไม่สำรวมอินทรีย์
คำว่าอินทรีย์ คือการเป็นใหญ่
คือตาเป็นใหญ่ในการเห็น
หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน
จมูกเป็นใหญ่ในการได้กลิ่น
ลิ้นเป็นใหญ่ในการได้รส
กายเป็นใหญ่ในการสัมผัส
แล้วก็ใจเป็นใหญ่ในการรับอารมณ์ทั้งมวล

การไม่สำรวมอินทรีย์ทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ามาทางตา กระทบตา ชอบใจ ถูกใจเสร็จแล้ว
โดนมันตีบ้านตีเมืองยึดไปเรียบร้อยแล้ว
กระทบหูได้ยินแล้วชอบใจหรือไม่ชอบใจ
ก็เสร็จแล้ว โดนมันยึดบ้านยึดเมืองไปเรียบร้อย
ดังนั้นพอท่านเห็นโทษในตรงจุดนี้

ก่อนหน้านี้ท่านเป็นเจ้าชา
ได้รูป
รส
กลิ่น
เสียง สัมผัสต่าง ๆ ที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านได้รับเป็นปกติ

เมื่อเป็นพระอรหันต์ ท่านก็เลยระมัดระวังเรื่องทั้งหลายเหล่านี้
จนกระทั่งพระพุทธเจ้าตั้งไว้เป็นเอตทัคคะ
คือผู้เป็นเลิศกว่าคนอื่นในทางสำรวมอินทรีย์ รู้จักระมัดระวังอยู่ตลอด


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 07:45, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แนบไฟล์:
1.jpg
1.jpg [ 192.72 KiB | เปิดดู 8037 ครั้ง ]


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 07:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มา

http://sites.google.com/site/sphrathrrmthassi/-62

พระนางรูปนันทา มองไปก็แปลกใจว่าตามข่าวที่ชาวบ้านเขาเล่าลือกันว่า
พระเจ้าพี่ติในรูป
ติในความสวยสดงดงามของคน
รวมความว่าไม่ชอบใจคนที่มีรูปสวย
แต่ทำไมหญิงสาวคนนี้
สาวกว่าเรา และก็สาว{ :b31: สวย}กว่าเรา
ยืนถวายงานพัดคือโบกพัดให้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


คือพระเจ้าพี่ได้
แสดงว่าข่าวเล่าลือนี้
ไม่เป็นความจริง เมื่อความดำริอย่างนี้เกิดขึ้น
ทำให้เจ้าหญิงผู้เลอโฉมคลาย
มานะทิฎฐิลง คลายความไม่พอใจลง
ที่เขาลือว่าพระเจ้าพี่เป็นอย่างนั้น
ความจริงไม่ใช่
เนื้อแท้จริง ๆ หญิงคนนี้ สวยกว่าเรา ท่านก็ไม่รังเกียจ

:b35:
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่า
พระน้องนางคลายมานะทิฎฐิแบบนี้แล้ว
องคสมเด็จพระประทีปแก้วเมื่อเวลาจะเทศน์ก็พรรณาถึงร่างกายของคน

ว่าร่างกายของคนเป็นอนิจจัง
หาความเที่ยงไม่ได้
เกิดจากมาใหม่ ๆ เป็นเด็ก
แล้วก็เติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
หลังจากความเป็นหนุ่มเป็นสาว พร้อมมูล บริบูรณ์แล้วเต็มอัตรา
ร่างกายก็ค่อย ๆ ร่วงโรยลง
ตอนนี้ก็ปรากฎว่าภาพของหญิงสาวคนนั้นก็ร่วงโรยลง
ค่อย ๆ เศร้าหมองลงทีละเล็กละน้อย

ตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเทศน์ต่อไป
เมื่อร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ถึงวัยกลางคน ความ สวยสดงดงามก็สลายตัวไป
เหลือแต่ความเศร้าหมอง

หญิงคนนั้นก็กลายเป็นหญิงกลางคน
ต่อไปองค์สมเด็จพระทศพลก็กล่าวว่า
จากวัยกลางคนก็เริ่มเป็นคนแก่
ผมแสดงอาการก่อน นั่นคือผมจากดำสนิทเริ่มค่อยๆ ขาว บางเส้น
หญิงนั้นก็มีภาพอย่างนั้น
ในที่สุดก็มีสีดอกเลา แก่มาก
หญิงคนนั้นผมขาวโพลนหมด
ต่อไปหนังก็เหี่ยว
หน้าหย่อน หลังก็ค้อม
เอาอะไรดีไม่ได้
หญิงคนนั้นก็เลยแก่ไปตามนั้น { :b31: หญิงแก่}

พระนางรูปนันทา ดูไปก็แปลกใจว่า
หญิงคนนี้เมื่อมาใหม่ๆ เธอสาวกว่าเรา
และก็สวยกว่าเรา

เวลานี้กลายเป็นคนแก่ ความสวยย่อมสลายตัว
คนแก่หาความสวยไม่ได้

เลยมานึกถึงร่างกายของพระนางบ้าง
เมื่อหญิงคนนี้อายุน้อยกว่าเรา
วัยเปลี่ยนเร็วขนาดนี้
ร่างกายของเรานี้ก็มีสภาพเหมือนเธอ

ต่อไปเบื้องหน้า เรากฌ { :b31: เราก็ต้อง}
ต้องแก่เช่นนี้เหมือนกัน
ไม่ใช่สวยเสียลืมแก่

หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระภควันต์เห็นว่าจิตของพระน้องหญิงคลายมานะ
คลายติดในรูปโฉม

รู้สึกตัวว่าจะทรุดตัวตามนั้นตามกฎธรรมดา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเทศน์ว่าต่อไป

จากความแก่ก็คือความตาย

เมื่อพูดถึงความตายหญิงคนนั้นก็ล้มผึ่งลงมาตายสนิท
พระนางเห็นก็แปลกใจว่านี่มันยังไงกัน
เมื่อกี้ยังเป็นสาว ยังดีอยู่ ต่อไปแก่
แก่แล้วก็ตาย ตายแล้วหมดสิ้นลมปราณ

หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ตรัสว่า
เมื่อตายแล้วร่างกายก็คลายความทรงตัว
ธาตุลม หมดไป
ธาตุไฟดับ
เหลือแต่ธาตุน้ำและธาตุดิน
ดินก็สู้น้ำไม่ได้
น้ำละลายดิน ความเปื่อยเน่าก็ปรากฎ

หญิงคนนั้นก็ขึ้นอืด
มีความเปื่อยเน่าปรากฎ
น้ำเหลืองไหล


พระนางดูแล้วตกใจว่าร่างกายของคนเป็นอย่างนี้
เราก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน และองค์สมเด็จพระภควันต์ก็ตรัสว่า
หลังจากนั้นน้ำแห้งไปเหลือแต่หนัง
หุ้มกระดูก ภาพของหญิงนั้นก็เป็นอย่างนั้น
ต่อไปหนังหายไปเหลือแต่กระดูก หญิงคนนั้นเหลือแต่โครงกระดูก
ต่อไปโครงกระดูกที่เกาะกันก็หลุดจากกันเป็ท่อน { :b31: เป็นท่อน}

เป็นตอน
ก็หลุดอีก และต่อไปกระดูกทั้งหลายก็แตกละเอียดเรี่ยรายจมดินจมทรายไป


พระนางรูปนันทา พิจารณาตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา และดูภาพของหญิงนั้น

มีความรูสึกว่า
ร่างกายของเรานี้เป็นอนิจจัง
มันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้
เมื่อทรงสภาพอยู่ความแก่คืบคลานเข้ามา
มันก็เป็นทุกข์

ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่าเหมือนเดิม
ทำทุกอย่างก็ยาก กำลังก็น้อย
หูก็ฝ้า ตาก็ฟาง และในที่สุด
ถ้าความป่วยไข้ไม่สบายเกิดกับเรา
เราก็มีแต่ความทุกข์ ตัวทุกข์จากความแก่
ทุกข์จากความป่วย มันก็เกิดขึ้น { :b31: เห็นไตรลักษณ์}

ในที่สุดสภาพชีวิตของเรานั้นก็จะตายเหมือนหญิงคนนั้น
ฉะนั้นการทรงชีวิตนี่ไม่ใช่ขอดี { :b31: ของดี}

การเกิดมาเป็นคนคิดว่าเป็นของดี
แต่ความจริงไม่ใช่
มันไม่ใช่ของดี มันกลายเป็นปัจจัยหาความทุกข์

พระนางพิจารณาตามนี้แล้ว
จิตก็พ้นจากอาสวะ
เมื่อคิดว่าการเกิดเป็นของไม่ดีแน่
ทางที่ดีก็ตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา
ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรุปตอนท้ายว่ส{

คนถ้าเรายังเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะก็เอาแน่นอนไม่ได้

ชาตินี้เป็นคน ชาติหน้าอาจจะเป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้
ถ้าจิตดี จิตสะอาดจากกิเลส อารมณ์ผ่องใส น้อมอยู่ในกุศลอยู่เสมอ
ถ้ากำลังใจของคนน้อมไปในอกุศล
อาจจะเป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย
เป็นสัตว์เดียรัจฉานก็ได้
ถ้ามาเป็นคนอาจจะเป็นคนชั้นเลว
มีความลำลากมากกว่าเวลานี้ก็ได้
จุดหมายปลายทางที่มีความสุขจริงนั้นคือ พระนิพพาน

เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสอย่างนี้ พระนางรูปนันทา ก็มีจิตปรารถนาอยากจะได้นิพพาน
กำลังใจเวลานั้นตัดความพอใจในร่างกายเด็ดขาด

องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงทราบว่า
เวลานี้ พระนางรูปนันทา เป็นพระอรหันต์แล้ว { :b31: สาธุๆๆๆๆ}

สมเด็จพระประทีปแก้วก็จัดการโมทนา คือว่าโมทนาคลุมไปทุกคน ทุกคนก็มีความชื่นใจ
องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเทศน์จบ ชาวบ้านก็ลากลับ กราบถวายบังคมลากลับ
พระก็กลับเข้าที่ ชาวบ้านก็กลับบ้าน
แต่พระนางรูปนันทา นั่งเฉยๆ ไม่กลับบ้าน ไม่ชวนพระราชากลับพระราชฐาน
กลับเข้าไปใกล้องค์พระพิชิตมาร ถวายบังคมแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
พระราชาคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเตือน สมเด็จพระนางคือพระโฉมตรู ว่าเวลานี้คนเขาไปหมดแล้ว ขอน้องแก้วกลับพระราชนิเวศน์เถิด พระนางรูปนันทา ก็นิ่งแล้วมองหน้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสกับ พระเจ้าปเสนทิโกศล ว่า มหาราชะ ขอถวายพระพร พระมหาบพิตรพระราชสมภาร เวลานี้พระนางรูปนันทาเป็นพระอรหันต์เสียแล้ว

ตถาคตอยากจะทราบว่าพระองค์ต้องการให้พระนางรูปนันทา นิพพานวันนี้
หรือจะให้ทรงมีชีวิตต่อไป
ถ้าต้องการให้นิพพานวันนี้ก็ให้พระนางรูปนันทา กลับพระราชนิเวศน์ ยังไง ๆ ก็ต้องนิพพานวันนี้แน่

ถ้าหากว่าต้องการให้ พระนางรูปนันทา มีชีวิตต่อไป แต่ต้องอยู่กันอย่างพระกับคน
คือพระนางรูปนันทา จะต้องบวชเป็นพระ คือเป็นภิกษุณี จึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 08:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร