วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 14:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ท่าน จขกท. เหมือนจะสรุปว่า ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนา คือ ผู้ที่เจริญแต่สมถะเพียงอย่างเดียว??? ไม่มีการเจริญวิปัสสนาด้วยเลย???

ความจริงแล้ว พระสุปฏิปันโนของไทยในอดีตท่านก็เจริญวิปัสสนาเช่นกัน ท่านไม่ได้เจริญแต่พุทธานุสติ(สมถะกรรมฐาน) อย่างเดียว น่ะครับ





Supareak Mulpong เขียน:

ตรงนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะไม่ได้ศึกษาการปฏิบัติของพระเถระทั้งหลายมาก่อน





ก็ ถ้า ท่าน จขกท. ไม่ได้ศึกษาลงรายละเอียด ของ พระเถระทั้งหลายมาก่อน ก็ อย่าเพิ่งไปแสดงความเห็น ในลักษณะนี้

อ้างคำพูด:
การที่มีการเข้าใจว่า ภาวนา คือ สมถะภาวนา และพากันไปนั่งสมาธิ จึงเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้อง ผิดหลักเหตุปัจจัย





ก่อนที่ เราจะวิจารณ์ หรือ ตำหนิ แนวทางการปฏิบัติของผู้อื่น เราควรที่จะศึกษาวิธีปฏิบัติของผู้อื่นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แนวคิด สุทธวิปัสสนายานิก มีแนวคิดของ "วิปัสสนาล้วน"

แนวคิดนี้ สืบเนื่อง มาจากคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล



อ.แนบ มหานีรานนท์ ท่านเคยห้ามไม่ให้ลูกศิษย์ท่าน เจริญสมาธิภาวนาก่อนที่จะเกิดปัญญา(สัมมาญาณะ)!!!


อ้างคำพูด:
ที่ ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ เพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง



สมาธิ ที่กำลังกล่าวถึงว่า เป็นสมาธิซึ่ง"เป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ"นี้ เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ครับ

ไม่ใช่ สัมมาสมาธิในองค์มรรค ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

เพราะ สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นสมาธิซึ่ง"ไม่เป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ" เนื่องด้วย มีสัมมาสติ เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบนำหน้านั่นเอง

คือ ถ้าไม่แยกระหว่าง มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ออกจากกันเสียก่อน... แล้ว กล่าวแบบรวมๆ เช่นนี้ จะสร้างความสับสนได้



ตรงจุดนี้ ขอเสนอเปรียบเทียบ กับ ในระดับพระสูตร ที่แสดงบุคคล๔ประเภท


สมาธิสูตรที่ ๓

[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบุคคลเหล่านั้น
บุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงเห็นสังขารอย่างไรหนอ พึงพิจารณาสังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้งสังขารได้อย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงเห็นสังขารได้อย่างนี้แล พึงพิจารณาสังขารอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งสังขารอย่างนี้
สมัยต่อมา เขาเป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไร พึงน้อมจิตไปอย่างไร พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้พึงน้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ สมัยต่อมาเขาเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงเข้าไป
หาบุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไรหนอ พึงน้อมจิตไปอย่างไรพึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไรพึงเห็นสังขารนั้นได้อย่างไร พึงพิจารณาสังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้งสังขารอย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้อย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ ฯลฯพึงเห็นแจ้งสังขารอย่างนี้
สมัยต่อมา เขาเป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีปกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ใน
กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความเพียรให้ยิ่ง เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ




ใน ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้าม ไม่ให้เจริญสมาธิภาวนาก่อนปัญญาญาณเกิดแน่นอน

เพราะ ถ้าพระพุทธเจ้าท่านตรัสห้ามเอาไว้ในลักษณะนั้น
ก็ จะต้องไม่มีบุคคลประเภทที่ " มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม" อยู่ ใน พระสูตรนี้

นอกจากไม่ได้ตรัสห้ามแล้ว ท่าน ยังแนะนำด้วยว่า ถ้าท่านผู้ใดที่เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบดีแล้ว แต่ ยังไม่เกิดปัญญา พึงเข้าไปหาและศึกษากับผู้ที่เกิดปัญญาแล้ว ตนเองจะได้มีครบ ทั้ง จิตที่สงบ และ ปัญญาญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่เคยไปวิพากวิจารณ์ปฏิปทาของพระเถระรูปใหนเลยนะครับ ยิ่งเวลามีการเสวนาไปเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ ๓ ผมจะหลีกเลี่ยงไม่ต่อความยาว เพราะจะหนีไม่พ้นการทะเลาะวิวาท

คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ก็ไม่เคยอ่าน อรรถกถาเองก็ยังไม่ได้อ่าน วิสุทธมรรคก็ไม่ได้อ่าน หนังสือของสำนักต่างๆ ก็ไม่ได้อ่าน อาจจะดูผ่านๆ บ้าง บางประเด็น พอเห็นว่าขัดต่อพระสูตร ก็ทิ้ง

อ่านอยู่ ๓ เล่ม คือ พระไตรปิฎก พระอภิธรรมสังคหะ กับมิลินปัญญหา

อ้างคำพูด:
อ.แนบ มหานีรานนท์ ท่านเคยห้ามไม่ให้ลูกศิษย์ท่าน เจริญสมาธิภาวนาก่อนที่จะเกิดปัญญา

พวกผมก็ห้าม เหตุผลก็ตามที่ได้เคยอธิบายไปแล้ว

ที่ผมตั้งกระทู้นี้ ก็เพราะต้องการให้คนที่ทำสมาธิรู้แยกระหว่างสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิได้ชัดเจน

ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา กับปัญญาที่เกิดกับสมาธิ ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ตัวเดียวกัน หากจะแสดงให้เข้าใจง่ายเข้า วิปัสสนาปัญญา ก็คือ ความรู้ความคิดเห็นที่มีต่อสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯ ส่วนปัญญาที่เกิดจากสมาธิ คือการรู้การเห็นที่เหนือความสามารถของมนุษย์ มันเป็นปัญญาที่รู้กันคนละเรื่อง

ในสมาธิสูตร เป็นการแสดงข้อเท็จจริงเรื่องประเภทของบุคคล และแสดงว่าบุคคลแต่ละประเภทสามารถสำเร็จทั้งความสงบและอภิญญาได้อย่างไร ไม่ได้มีการแนะนำหรือการห้ามใดๆ จะนำมาแสดงและลงความเห็นว่าพระพุทธองค์ห้ามหรือไม่ห้ามก็ยังไม่ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา


กรัชกายว่า เราควรรู้จักศัพท์และความหมายทั้งสองนั้นก่อน

วิปัสสนาเป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา

ปัญญามีหลายระดับหลายขั้น มีชื่อเรียกต่างๆตามขั้นของความเจริญบ้าง

ตามทางที่เกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้นๆบ้าง

จะยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง ต่อไปจะได้ไม่งง เช่น ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา

อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ วิปัสสนา เป็นต้น

ที่คุณ Supareak Mulpong มาพูดเสียว่า "ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา" มันจึงขัดแย้งกันอยู่ใน

ประโยคที่พูดนั้น :b1:


ขออนุญาตเสริมอีกนิดหนึ่ง เพื่อการเข้าใจไปเสียคราวเดียวกันนั่นก็คือ "สัมปชัญญะ"

ที่มักมาคู่กับ สติ

ในหมวดธรรม เปิดไปหน้าแรกก็พบ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง คือ

สติ ความระลึกได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

สัมปชัญญะ ตัวนี้ก็คือปัญญา แต่ยังเป็นขั้นอ่อนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 19:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยความยินดีครับคุณกรัชกาย ขอบพระคุณที่แนะนำ บางทีพอพิมพ์มากๆ ไป ก็จะเริ่มย่นย่อ ประโยคไม่ค่อยสมบูรณ์ :b12: อย่างที่บอกว่า "ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา" ก็หมายถึง "ปัญญาที่ได้จากการวิปัสสนาภาวนา" อย่างไรก็จะพยายามระวังเรื่องการใช้ศัพท์ครับผม

ในพระไตรปิฎกก็เจอหลายตอน เช่น เขียนว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ปรรลุปฐมฌาน เกิดปิดติ สุข เพราะอาศัยวิเวกอยู่ พออ่านๆ ไป ถึงรู้ว่า วิเวก มันย่อมาจากคำว่า อุปธิวิเวก ถึงมาเข้าใจว่า เหตุมาจาก อุปธิวิเวก ที่เหลือเป็นผลทั้งหมด ตอนแรกนึกว่าต้องไปอยู่ป่าหาที่สงบๆ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ก็ไม่เคยอ่าน อรรถกถาเองก็ยังไม่ได้อ่าน วิสุทธมรรคก็ไม่ได้อ่าน หนังสือของสำนักต่างๆ ก็ไม่ได้อ่าน อาจจะดูผ่านๆ บ้าง บางประเด็น พอเห็นว่าขัดต่อพระสูตร ก็ทิ้ง

อ่านอยู่ ๓ เล่ม คือ พระไตรปิฎก พระอภิธรรมสังคหะ กับ มิลินปัญญหา



ขออนุญาตเสวนา ตรงจุดนี้ น่าสนใจครับ


พระไตรปิฎก มี ประวัติ และ พัฒนาการ เช่นใด

เสนออ่าน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5399

๏ พระไตรปิฎกเกิดขึ้นเมื่อไร

ถ้าอ่านประวัติการทำสังคายนามาตั้งแต่ต้น จะสังเกตได้ว่าสังคายนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เท่านั้น มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก คือมีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 ข้อ 614-664 หน้า 379-423 วินัยปิฎก จุลวรรค นอกนั้นไม่มีกล่าวถึง

และ การพูดถึงสังคายนาทั้ง 2 ครั้งนี้ไม่ได้พูดถึง "พระไตรปิฎก" ใช้คำว่า ธมฺมวินยสงฺคีติ (การสังคายนาพระธรรมและวินัย) แสดงว่า พระพุทธวจนะ นั้นยังไม่มีการจัดแบ่งเป็น "ปิฎก" หากเรียกรวมๆ ว่า "ธรรมวินัย" เท่านั้น

ต่อมาธรรมวินัยได้แยกออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนเรียกกันว่า "ปิฎก" คือ ธรรม แยกเป็น สุตตันตปิฎก กับอภิธรรมปิฎก ส่วนวินัยคงเป็น วินัยปิฎก

คำถามต่อมาก็คือ พระพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัยถูกจัดเป็นรูปแบบ และประเภทดังกล่าวนี้เมื่อใด

------- ๆลๆ ------------>

จากหลักฐานทั้งสองแห่งนี้ พอสรุปได้คร่าวๆ ว่า หลังจากสังคายนาครั้งที่สองเป็นต้นมา พระพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัยถูกจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ในชื่อว่า "ปิฎก" และ "นิกายทั้งห้า" (ทีฆนิกาย) มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย) แล้ว ระยะแห่งพัฒนาการของพระไตรปิฎกคงกินเวลายาวนานเกือบศตวรรษกว่าจะลงตัวเป็นพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ และเชื่อว่า พอตกถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศก พระไตรปิฎกคงสมบูรณ์ทุกคัมภีร์แล้ว ด้วยปรากฏหลักฐานบางแห่ง (อาทิ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก) บอกว่าคัมภีร์ กถาวัตถุ หนึ่งในจำนวน พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ได้ถูกรจนาและผนวกเข้าไว้ในอภิธรรมปิฎก โดยพระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ เมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่สาม เหตุผลสนับสนุนอีกประการหนึ่งคือ ในพระไตรปิฎกไม่มีข้อความใดกล่าวถึงพระเจ้าอโศกเลย แสดงว่า พระไตรปิฎกสำเร็จเป็นรูปร่างสมบูรณ์แล้วก่อนสมัยพระเจ้าอโศก





พระอภิธรรมสังคหะ เป็นคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลครับ

http://www.buddhism-online.org/Section01_07.htm

อ้างคำพูด:
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาว กาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย





มิลินทปัญหา

ก็เป็นคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ครับ



ผมไม่ได้ปฏิเสธขาด ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลน่ะครับ

เพียงแต่ ผมจะให้ความสำคัญกับ พระพุทธพจน์โดยตรงเป็นอันดับหนึ่ง . (คำกล่าวของพระมหาสาวก เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ หรือ พระมหาสาวกท่านอื่นๆ ในสมัยพุทธกาล ก็มีความน่าเชื่อถือสูงน่ะครับ)

ผมเห็นด้วยกับแนวคิด ที่เน้นพระพุทธวจนะ เพราะ จะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตัดสิน

อย่างเช่น กรณีที่ว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค นับว่าเป็นสมถะไหม? สนับสนุนการเกิดปัญญาไหม?

ดูดีๆ ที่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล กล่าวไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไม? ต้องพุทธวัจน์

http://www.watnapahpong.net/web/?page_id=2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่างที่บอกว่า "ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา" ก็หมายถึง "ปัญญาที่ได้จากการวิปัสสนาภาวนา"




กรัชกายว่า คุณ Supareak Mulpong เข้าใจความหมายหรือคำแปลวิปัสสนาผิด

ก็อย่างที่บอกตอนต้นว่า วิปัสสนา เป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา

เอาง่ายๆเลย วิปัสสนาก็คือปัญญา :b16:

ในเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจะนำเอาศัพท์วิปัสสนาไปสมาสกับศัพท์อื่น วิปัสสนาภาวนา

วิปัสสนากรรมฐาน ความหมายของศัพท์วิปัสสนาก็ไม่เปลี่ยน ก็ยังเป็นปัญญาอยู่นั่นเอง

เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปแบบสำหรับใช้ปฏิบัติ


ที่คุณยักเยื้องพูดใหม่ว่า "ปัญญาที่ได้จากการวิปัสสนาภาวนา"

โดยสาระไม่ต่างจาก => "ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา" เลย


ขอถามเพื่อความเข้าใจ

ถามว่า คำว่า " วิปัสสนา" ในความเข้าใจของคุณคือ.....

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 08:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ท่านกรัชกายมาติงเรื่องศัพท์นี่ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยครับ ในพระไตรปิฎก ใช้ศัพท์เทคนิคเยอะมาก หากไม่รู้จักมาตราฐานภาษาในพระไตรปิฎกแล้ว (protocol) อ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง พอเข้าใจการใช้ศัพท์ วันหนึ่งอ่านรวดเดียว ๓ เล่มก็ยังได้

วิปัสสนา = ปัญญารู้จริง
ภาวนา = ทำให้มาก เจริญให้มาก หรือฝึกฝน

วิปัสสนา เป็นคำนาม ภาวนาเป็นกริยา เอามารวมกัน ก็คือ การสร้างปัญญารู้จริง เพราะฉะนั้น คำทั้งสองนี้จึงมีความหมายไม่เหมือนกัน :b1:

ปัญญารู้จริงนี้ เป็นเครื่องขัดเกลาเปลี่ยนนิสัย เพียงขั้นการรับรู้ ยังไม่ถือว่าได้วิปัสสนาญาน เพราะต้องถือเป็นนิสัย(สันดาร) ถ้าไม่ใช่นิสัยแล้ว ก็ถือว่ายังไม่ได้ปัญญา หรือปัญญินทรีย์ยังไม่แข็งกล้า ก็เหมือนที่ผมพยายามเปรียกับกับเรื่องนกเลงการพนัน

เรื่องการสงสัยในพระไตรปิฎกของท่านตรงประเด็น ไม่ใช่ว่าพวกผมจะไม่มีข้อสงสัยอะไรเลยเกี่ยวกับตัวพระไตรปิฎกนะครับ แต่ว่ามันเกินวิสัยที่จะตรวจสอบ การสวดปาติโมกข์ในช่วงระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนการสังคยนาครั้งที่ ๓ ทำโดยพระอรหันต์ ดังนั้น หากไม่เชื่อว่าไม่มีการผิดพลาดแล้ว ก็แสดงว่า ยังมีความสงสัยในความเป็นอรหันต์อยู่ ช่างหลังๆ ที่มหายานเจริญรุ่งเรืองนี้ไม่แน่ ยิ่งช่วงมหายานถูกตันตระครอบแล้ว ยิ่งน่าสงสัยใหญ่ พอจะทราบมาว่ามหายานหรือตันตระพยายามส่งบัณฑิตทางโลกปลอมเข้ามาบวชเพื่อกลืนพุทธอยู่ด้วย เข้าขั้นน่าเป็นห่วง

การสวดปาติโมกข์เป็นเรื่องใหญ่ ครั้งหนึ่งมีพระที่มีทิฏฐิลามก มีใจไม่บริสุทธิเข้ามาร่วมในการสวดปาติโมกข์ด้วย พระพุทธองค์ไม่ยอมออกมา และบอกว่า มีพระที่ไม่บริสุทธิปนอยู่ด้วย เดือดร้อนพระมหาโมคคัลลานะต้องใช้ฌานทัสสนะค้นหา เชิญออกก็ไม่ออก จนต้องหิ้วปีกออกไป

ส่วนอภิธรรมสังคหะ เขียนโดยพระอนุรุทจารย์ เป็นพระฝ่ายเถรวาท เป็นพระอรหันต์ เนื่องจากอภิธรรมเป็น FACT เป็นภาควิทยาศาสตร์ ดังนั้น จึงตรวจสอบง่าย

ส่วนมิลินปัญญหา เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องการถามตอบ หากจะจับผิดพระนาคเสน ก็ต้องอ่านพระไตรปิฎกสัก ๕-๖ รอบ เผื่อจะเจอสักข้อ

เนื่องจากผมไม่ได้ศึกษาพระธรรมจากพระเถระรูปใดเลย เริ่มต้นที่พระไตรปิฎก ดังนั้น จึงไม่มีความรู้เดิมเป็นเหตุให้เกิดความสับสน เมื่อมีพระไตรปิฎกเป็นฐานดีแล้ว ก็จึงเริ่มศึกษาตำราประกอบ เมื่ออ่านไปพบอะไรที่ขัดกับพระธรรมวินัย ก็เลยรู้ได้ชัด ก็เพราะเหตุมันเป็นเช่นนี้แล ... ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์สินธพ ที่เป็นผู้ชี้ทางให้

ความรู้สำคัญที่สุดของ "พุทธ" หรือ "อภิธรรมชาติวิทยา" ก็คือ "พระอภิธรรม" ส่วนพระสูตร เป็นการสอนโดยมีอภิธรรมเป็นฐาน เป็นการแสดงในรูปแบบที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ เหมือนช่างสร้างบ้าน ก็ไม่ต้องเรียนจนจบ physics แต่คนเขียนตำราให้ช่างเรียนเป็นนัก physics ถามอะไรจากช่างอาจจะได้อะไรมั่วๆ มาได้ เพราะจดเพราะจำเอา แต่ถามจากนักฟิสิกไม่มีมั่ว เพราะมัน drive มาจากกฎ

Physic เป็น FACT ต่อให้โลกแตก เกิดโลกใหม่ เกิดมนุษย์ขึ้นมาใหม่ E=MC^2 ก็ยังกลับมาเหมือนเดิม พระอภิธรรมก็เหมือนกัน ของมันมีอยู่ อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น พันล้านปีผ่านไป ไม่มีไครรู้เรื่อง ต่อมาเกิดพระสัพพสัญญูพุทธเจ้าขึ้นมาอีก ก็พบอภิธรรมอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยไป

อภิธรรมมันละเอียดกว่า quantum physics เสียอีก ถ้าไม่มี อภิญญา+ปัญญา ก็เรียนรู้ไม่ได้ทะลุปรุโปร่ง ทุกวันนี้เรียนกันได้เฉพาะบางส่วน เป็นเพียงการถ่ายทอดความรู้ของพระอรหันต์ทั้งหลายหรือสิ่งที่พระอรหันต์รู้พระอรหันต์เห็นให้ทราบต่อๆ กันมา แต่หากศึษาธรรมโดยไม่มีฐานอภิธรรมบ้างแล้ว ก็เป็นการยากที่จะเข้าใจกระบวนการวิธีการ เหมือนวิชาเคมี ที่เริ่มจากโครงสร้างอะตอม เหมือนวิชาฟิสิกส์ที่เริ่มจาก อิเลคตรอน+โปรตรอน+นิวตรอน+พลังงาน ถือเป็นการเรียนจากเหตุไปหาผล

แต่หากผู้เรียนยังไม่สามารถรับรู้เรื่องที่ละเอียดได้ ก็ต้องเรียนจากผลไปหาเหตุ การเรียนธรรมะเป็นเรื่องละเอียด การที่จะเข้าใจสภาวะทุกสภาวะที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ กระบวนการ วิธีการ เหตุและผล เป็นเรื่องที่ละเอียดนุ่มลึก จึงมีคนจำนวนไม่มากที่จะเข้าใจอภิธรรมได้ ดังนั้น การสอนธรรมะทั่วไป จึงเริ่มจากผลก่อนเสมอ เป็นวิสัยปกติของสาวก

แม้กระทั่งพระพุทธองค์เองก็เริ่มสอนจาก ทาน ศีล สัคค เนกขัมม หากกิเลสลดลง พระพุทธองค์จึงจะสอนเรื่องอริยสัจ ๔ หากไม่พร้อมที่จะบรรลุธรรมพระพุทธองค์ก็ไม่สอน เพราะฉะนั้น ปัจจุบันการที่เราเริ่มสอนอริยสัจจ ๔ โดยไม่ปูพื้นฐานเลย ก็ไม่ถูกต้อง พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่มีกิเลสหนา ปัญญาทราม จะเข้าถึงพระสัททธรรมได้นั้นแสนยาก

พระธรรมนั้นเป็นเรื่องละเอียดนุ่มลึกเป็นอณู รู้ได้เฉพาะบัญฑิต ปฏิบัติได้เฉพาะตน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 18 ต.ค. 2009, 13:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

ในพระไตรปิฎกก็เจอหลายตอน เช่น เขียนว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ปรรลุปฐมฌาน เกิดปิดติ สุข เพราะอาศัยวิเวกอยู่ พออ่านๆ ไป ถึงรู้ว่า วิเวก มันย่อมาจากคำว่า อุปธิวิเวก ถึงมาเข้าใจว่า เหตุมาจาก อุปธิวิเวก ที่เหลือเป็นผลทั้งหมด ตอนแรกนึกว่าต้องไปอยู่ป่าหาที่สงบๆ





ขออภัย ขออนุญาตทักท้วง น่ะครับ

เพราะ ปราถนาจะให้ความหมายของธรรมดั้งเดิม ไม่คลาดเคลื่อน



วิเวก ที่บรรยาย ในฌานขั้นต่างๆ(รวมทั้ง อริยมรรค-อริยผลขั้นต่างๆ ทุกขั้น) คือความหมายของ จิตวิเวก ครับ.... ไม่ใช่การย่อมาจาก อุปธิวิเวก ครับ

คำว่า อุปธิวิเวก หมายถึง พระนิพพาน



วิเวก มี ๓ อย่างครับ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


อ้างคำพูด:
วิเวก ความสงัด มี ๓ คือ

อยู่ในที่สงัดเป็น กายวิเวก

จิตสงบเป็น จิตวิเวก

หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก




ในพระไตรปิฎก คำว่า วิเวก(สงัด)

ลองอ่าน

http://www.84000.org/tipitaka/read/?29/33/29

ในพระสูตรนี้

จิตตวิเวก ครอบคลุมทั้ง ความสงบของจิตที่เกิดจากสมาธิฌานขั้นต่างๆ และ ครอบคลุมถึงอริยะมรรคผล ทุกระดับด้วย


จิตตวิเวกเป็นไฉน?

ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบเป็นต้นนั้น
เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-
*สังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น
เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก

นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.



คำว่า อุปธิวิเวก นั้น หมายเอา ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง หรือ พระนิพพาน นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องการสงสัยในพระไตรปิฎกของท่านตรงประเด็น




ผมไม่สงสัย ในพระไตรปิฎกครับ :b8:


ผมมั่นใจว่า ในพระสูตร ทั้งที่เป็นพระพุทธพจน์ และ ที่เป็นสาวกภาษิตของอัครสาวกและมหาสาวกในสมัยพุทธกาล เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง

พระวินัย ส่วนใหญ่ ก็มีเค้าโครงมาจากสมัยพุทธกาล เช่นกัน

พระอภิธรรม(ปิฎก)นั้น มีการdebateกันมาก ตามเว็บต่างๆ ว่า มีมาสมัยใดกันแน่...ลองหาอ่านดู

อรรถกถา(รจนาโดยอรรถกถาจารย์หลังพุทธกาล) หลายแห่งที่มีปัญหา





ตัวอย่างที่ชัดเจน

อรรถกถา ที่เกิดจากอาจารย์รุ่นหลัง อธิบายขยายความ เรื่อง ที่ตั้งของจิตในร่างกาย. มีการกล่าวแบบชัดเจนว่า จิตตั้งอยู่ในรูปปรมาณู(ตาเปล่ามองไม่เห็น)ที่เรียกว่า หทัยวัตถุ

และ หทัยวัตถุ ตั้งอยู่ใน”หทยัง”หรือหัวใจเนื้ออีกที โดยระบุว่าเนื้อหัวใจส่วนที่เป็นที่ตั้งของหทัยวัตถุนั้น มีลักษณะเป็นหลุมขนาดเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค


จาก หทยํ (เนื้อหัวใจ)
อรรถกา เล่ม๗๕ พระอภิธรรมปิฎก วิภวังค์ปกรณ์

คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ
ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้นเป็นหลุมมีประมาณจุเมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ
ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท .





มี ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า แม้นจะเอาหัวใจจักกรกล เช่น AbioCor ซึ่งเป็นหัวใจจักรกลทั้งดวงเปลี่ยนแทนของเก่า ความจำ และความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยก็ยังคงเหมือนเดิมทุกประการ….. ซึ่งเป็นการค้านสมมติฐานที่ว่าจิตตั้งอยู่ในหัวใจห้องขวาบนตรงตำแหน่งSA node

ดูรูป AbioCor และการติดตั้งในร่างกายคน

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/ ... p?Pid=5764






สุดท้ายนี้ ก็ต้อง ไม่ลืม เกสปุตตสูคร หรือกาลามสูตรที่ว่า

“……ท่านทั้งหลาย
อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้
อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา..."





ผม จัดแบ่งระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลออกเป็น

1.พระไตรปิฎก ได้แก่
1.1 พระสูตร และ พระวินัย
1.2 พระอภิธรรมปิฎก

2.อรรถกถา ที่เกิดจากอาจารย์รุ่นหลัง อธิบายขยายความข้อ1อีกที

3.คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ทั้ง อภิธัมมัตถะสังคหะ อภิธรรมวาตาร วิสุทธิมรรค วิมุตติมรรค มิลินทปัญหา




เพราะจำเป็นต้องให้ผู้ที่อ่านจะได้แยกได้ว่า ที่กำลังกล่าวถึงนั้น มีระดับความน่าเชื่อถือเพียงใด

ประเด็นของหทัยวัตถุ ที่ว่าจิตตั้งอยู่ในหัวใจเนื้อนี้ มี สาระส่วนใหญ่อยู่ในข้อ2 และข้อ3



ผมมั่นใจว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสิ่งใดเลยที่ขัดกับความจริงที่โลกวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเขาค้นพบ...... มีแต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คนในยุคปัจจุบันยังพิสูจน์ได้ไม่หมดต่างหาก

ประเด็นของหทัยวัตถุ ที่ว่าจิตตั้งอยู่ในหัวใจเนื้อนี้..... ต้องทำให้ชัดเจนว่า เป็นความเห็นของอรรถกถาจารย์รุ่นหลัง ที่บันทึกไว้ในอรรถกถา ไม่ใช่พระพุทธพจน์โดยตรง. เพราะ ถ้าไม่แยกให้ชัดเจน คนรุ่นใหม่ที่เรียนทางวิทยาศาสตร์ จะ มองพระไตรปิฎกด้วยความไม่ลงใจได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วน อภิธรรมสังคหะ เขียนโดยพระอนุรุทจารย์ เป็นพระฝ่ายเถรวาท เป็นพระอรหันต์ เนื่องจากอภิธรรมเป็น FACT เป็นภาควิทยาศาสตร์ ดังนั้น จึงตรวจสอบง่าย




คำสอนใน อภิธัมมัตถะสังคหะ เป็นรากแห่งความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่อง สมถะ!!!


http://www.buddhism-online.org/Section01_07.htm

อ้างคำพูด:
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึง ความแตกต่างของ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐาน หรือการทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติ เพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำ สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้น เป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะ เท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐาน ถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น



การบรรยาย ในอภิธัมมัตถสังคหะ คำว่า สมถะกรรมฐาน ครอบคลุมเฉพาะ การที่ทำให้จิตสงบสุข(สมาธิภาวนาประเภทที่๑ ใน พระบาลีโรหิตัสสวรรค) และ การที่ทำให้บังเกิดญาณทัศนะและอภิญญา(สมาธิภาวนาประเภทที่๒ ใน พระบาลีโรหิตัสสวรรค) เท่านั้น ....



สังเกตุดีๆน่ะครับ

ถ้า ใช้คำจำกัดความของ คำว่า สมถะกรรมฐาน ตามอภิธัมมัตถะสังคหะ ...จะ ไม่ครอบคลุมไปถึงสมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๓ ใน พระบาลีโรหิตัสสวรรค) และ ไม่ครอบคลุมไปถึงสมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ใน พระบาลีโรหิตัสสวรรค หรือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค นั่นเอง)



ปล...


ผมอ่าน คห ของท่าน จขกท. เกี่ยวกับ ความหมายของ สมถะ สมถะกรรมฐาน สมาธิภาวนา ....แค่ชั่วครู่เดียว ผมก็สังเกตุทราบทันทีว่า ท่าน จขกท. ถือตาม พระอภิธัมมัตถะสังคหะ...ไม่ใช่ จากพระพุทธพจน์ดั้งเดิม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร มัคคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ….


อ้างคำพูด:
พระอภิธรรม(ปิฎก)นั้น มีการdebateกันมาก ตามเว็บต่างๆ ว่า มีมาสมัยใดกันแน่...ลองหาอ่านดู

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ ก็คือ สิ่งที่เราเรียกว่าอภิธรรม หากต้องการผู้ที่จะมาชี้ชัด ก็ต้องมีถึงพระอรหันต์ผู้สำเร็จอุภโตภาควิมุต ซึ่งปัจจุบันไม่มี อย่างไรก็ดี พวกผมถือ อภิธรรมเป็นหลักฐานขั้นที่ ๑ เพราะประกอบด้วยข้อเท็จจริงขั้นกฎและหลักการ ส่วนพระสูตรนั้นเป็นการสอนเชิงประยุกต์ ถ้าศึกษาได้ทั้ง ๒ ส่วนแล้ว จะพบว่าไม่มีอะไรขัดแย้งกัน นอกจากจะมีเรื่องที่พวกเราเข้าใจผิดกันไปเอง ซึ่งเกิดขึ้นได้

อภิธรรมสังคหะ พวกผมยังไม่เห็นว่าจะมีอะไรแตกต่างจากพระไตรปิฎก การเริ่มศึกษาพระอภิธรรมจากอภิธรรมสังคหะ ก็เพราะพระอภิธรรมเข้าใจยาก เมื่อศึกษาพอได้หลักการแล้ว ก็ตามมาศึกษาในพระอภิธรรมภายหลัง เพราะฉะนั้น ที่ยึดถือกันจริงๆ ก็คือ พระอภิธรรมในพระไตรปิฎก

ในสมัยพุทธกาล หากใครมีปัญหาอะไรยังมีพระพุทธองค์คอยเป็นผู้ตัดสิน หนังสือมิลินปัญญหา จึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการตอบคำถามในสมัยที่พระพุทธองค์ดับขันฯ ไปแล้ว จึงควรศึกษาไว้

นอกนั้น ก็พบว่า มีความเห็นปนมาอยู่มาก ก็เลยขอยกไว้ก่อน

Quote Tipitaka:
สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ใน พระบาลีโรหิตัสสวรรค

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ...

อ่านแล้วเหมือนการวิปัสสนามากกว่าจะเป็นการเจริฐสมถะนะครับ :b12:

ก็ตรงจุดนี้ประเด็นนี้แหละ ที่ผมพยายามจะบอกว่า ถ้าปรกติไม่ได้พิจารณาธรรมอะไรแล้ว (สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะ) ก็เป็นการเจริญสมถะโดยไม่มีปัญญาอะไรเลยก็ได้แต่สงบ เพราะฉะนั้น สมาธิสูตรที่ยกมานี้ พอจะบอกได้ว่า พระพุทธองค์แสดงให้กับพระอริยะที่มีปัญญาอยู่แล้วปฏิบัติ หรือถือเป็นมรรคเบื้องสูง

อดีต มีพระสุปฏิปันโนหลายรูป ที่ไปนั่งสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ เป็นสมาธิที่เกิดกับมหากุศลจิตแต่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ใช้เวลาไปทั้งชีวิต พอดีไม่มีเวลาเหลือพอที่จะมาปฏิบัติวิปัสสนา ถึงท่านทั้งหลายจะทราบ ก็สายไปแล้ว เพราะการมีชีวติอยู่ในพรหมโลกนั้นยาวนาน อย่างน้อยๆ ก็ ๕,๐๐๐ ปีมนุษย์ จะกลับมาเกิดเป็นคนอีก ก็ไม่ได้พบพระศาสนาอีก จะกลับมาสอนลูกศิษย์ก็ไม่ได้ เพราะผู้ที่จะเสวนากับพรหมได้ ก็ต้องได้ถึงสมาบัติ ๕-๘

ก็ขอสรุปสมาธิที่จะเกิดได้เป็น ๓ แบบ

๑) เป็นโลภะ ร่วมกันกับ เอกกัคคตา หรืออุเบกขา สมาธิแบบนี้ ไม่สามารถพัฒนาจนไปถึงรูปฌาน หรืออรูปฌานได้ เป็นการสะสมบาปให้กับผู้ปฏิบัติ เปิดทางให้เปรตอสูรกาย เทวปุตมารเข้ามาครอบ มีที่หมายเดียว คือ นรก มีอาการไม่ต่างกับคนนั่งตกปลา
๒) เป็นมหากุศลจิต ร่วมกันกับ เอกกัคคตา หรืออุเบกขา สามารถพัฒนาจนไปถึงรูปฌาน หรืออรูปฌานได้ สมาธิแบบนี้เกิดขึ้นยากมาก เพราะโลภะเป็นกิเลสอันนอนเนื่อง มิใช่ว่าคนปกติจะเอาชนะได้ง่ายๆ
๓) เป็นมหากุศลจิต ร่วมกันกับ ปัญญา และ เอกกัคคตา หรืออุเบกขา สามารถพัฒนาจนไปถึงโลกุตตรฌาน ก็คือ การวิปัสสนาทั้ง ๓ แบบ (รวมถึงสิ่งที่ท่านตรงประเด็นบอกว่าเป็นสัมมาสมาธิด้วย)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 09:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1479_resize.JPG
100_1479_resize.JPG [ 62.4 KiB | เปิดดู 3789 ครั้ง ]
tongue
ได้ติดตามอ่านตั้งแต่ คห.ที่ 1 จนถึงสุดท้าย จึงขออนุโมทนา สาธุ กับทุกๆท่านที่มาแสดงความเห็นอันเป็นประโยชน์ยิ่งในกระทู้นี้

สัมมาสมาธิ คือสมาธิที่มีปัญญาประกอบด้วย

สัมมาสมาธิ เป็นความตั้งมั่นของจิต อยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 ไปจนกว่าจะเกิด โสดาปัตติมรรค หรือมรรคอื่นๆที่สูงกว่า

:b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จาก ที่ท่าน จขกท.กล่าว

อ้างคำพูด:
ในพระไตรปิฎกก็เจอหลายตอน เช่น เขียนว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ปรรลุปฐมฌาน เกิดปิดติ สุข เพราะอาศัยวิเวกอยู่ พออ่านๆ ไป ถึงรู้ว่า วิเวก มันย่อมาจากคำว่า อุปธิวิเวก

ถึงมาเข้าใจว่า เหตุมาจาก อุปธิวิเวก ที่เหลือเป็นผลทั้งหมด

ตอนแรกนึกว่าต้องไปอยู่ป่าหาที่สงบๆ




ท่าน จขกท. เหมือนจะเข้าใจในคำว่า วิเวกที่บรรยายสภาวะแห่งฌานในพระสูตรทั่วๆไป ย่อมาจาก อุปธิวิเวก???


อุปธิวิเวกนั้น หมายถึง นิพพานธาตุ ครับ

จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อ้างคำพูด:
วิเวก ความสงัด มี ๓ คือ
อยู่ในที่สงัดเป็น กายวิเวก
จิตสงบเป็น จิตวิเวก
หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก





ส่วนประเด็น จาก

Supareak Mulpong เขียน:
Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร มัคคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ….






การอ่านพระสูตร ควรอ่านให้จบตลอดพระสูตร จะได้ สาระครบถ้วน และ ไม่คลาดเคลื่อน


ขออนุญาต นำพระสูตร ตรงส่วนนี้ แบบเต็มข้อความ มาลง นะครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

มหามาลุงโกยวาทสูตร

รูปฌาน ๔

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์
ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ ๑- จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกร-
*อานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.
ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ
เพื่อละสังโยชน์



พระสูตรนี้ กล่าวถึง มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ผู้ที่ ดำเนินตามมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้ ถ้าสำเร็จ จะบรรลุอนาคามีผล หรือ อรหัตตผล

สังเกตุอย่างหนึ่ง พระสูตรนี้แสดงถึง " สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละ
กุศลธรรมได้ " คือ ไม่ใช่สงัดจากอกุศลเท่านั้น แม้นแต่กุศลธรรมก็ละด้วย

การละกุศลธรรมคืออะไร???

การละกุศลธรรม ก็คือ การพิจารณาที่ว่า

เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น


คือ ละทั้งอกุศล(อกุศลละได้เมื่อบรรลุปฐมฌานแล้ว) และ ละทั้งกุศล ละความอาลัยยินดีในฌานด้วย





คำว่า อุปธิวิเวก ในพระสูตรนี้ เป็นคนล่ะความหมายกับ คำว่า วิเวกทั่วๆไป ที่บรรยายสภาวะแห่งฌาน(จิตวิเวก)

คำว่า อุปธิวิเวก ในพระสูตรนี้ หมายถึง อมตธาตุ ที่ พึงน้อมจิตไปถึง อันเป็นที่สลัดคืนอุปธิทั้งปวง(อุปธิวิเวก)

จาก

"ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์"





อ้างคำพูด:
ถึงมาเข้าใจว่า เหตุมาจาก อุปธิวิเวก ที่เหลือเป็นผลทั้งหมด


การพิจารณาองค์แห่งฌานต่างๆว่า "เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน"

แล้ว น้อมจิตไปยัง อมตะธาตุ(อุปธิวิเวก) นั้น เป็นเหตุให้บรรลุมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

จะไปแปลว่า อุปธิวิเวกเป็นเหตุ คงไม่ถูก... ด้วยว่า อุปธิวิเวก เป็น อสังขตธรรม ที่ไม่ใช่ทั้งเหตุหรือผล




อ้างคำพูด:
ตอนแรกนึกว่าต้องไปอยู่ป่าหาที่สงบๆ


การอยู่ในที่สงัด เป็น กายวิเวก ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร