วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley tongue
ครึกครืนดีจังครับ อบอุ่น ไม่ต้องทนหนาว ทนเปียก อยู่คนเดียวครับ มีกัลยาณมิตร เข้าร่วมสนทนากันมากมายครับ

จากหัวใจของมหาสติ 4 ขยายต่อออกไปเป็นฌาน เป็นวิปัสสนา ไม่เป็นไรครับ ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงต่อเนื่อง นับเนือง เกี่ยวเนื่อง กันอยู่แล้วละครับ

จากหัวใจของมหาสติ 4 อรรถว่า ตั้งมั่น ท่านทั้งหลายก็ขยายความกันมาว่าเป็น ปัญญาอุเบกขา แล้ว ท่านมหาราชันย์ แสดงให้เห็น ปัญญาในวิปัสสนา ว่าเหตุอย่างหนึ่งก็สร้างปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นลำดับขั้น ต่อเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านตรงประเด็น กับ ท่านกบนอกกะลา ท่าน Supareak Mulpong ก็แลกเปลี่ยนกันอย่างครึกครืน ชัดเจนครับ

อ้างถึง:- คุณภาพของจิตนี่พอจะเอาอะไรมาวัดได้บ้างละครับ จิตทำงานเป็นอัตโนมัติ ทำงานตามหน้าที่ ทำงานที่ความถี่ 1 ล้านล้าน Hz

ขอโทษครับ ท่าน Supareak Mulpong ก่อนตอบคำถามท่าน ผมขอถามอีกว่า ท่านปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลาจิต ละกิเลส ตัณหา ของท่านใช่หรือเปล่าครับ และก็ไม่ให้เสียเวลานะครับ

ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่าสภาพจิตปัจจุบัน กับ สภาพจิตที่ท่านต้องการ ไม่เหมือนกัน อันนี้จะเรียกว่าคุณภาพได้ไหมครับ

ถ้าตอบว่าไม่ใช่ คิดกัลยามิตรทุกท่านคงทราบแหละครับ ว่าคุณภาพของจิตท่านคืออะไร ด้วยความเป็นกัลยานมิตรนะครับ


เหล่าบัณฑิต ณ ลานแห่งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ทรงความรู้ เป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสสนทนาธรรม โคตรภู ขออุโมทนกับกุศลจิตของทุกท่าน และในความมีเมตตา โคตรภู ขอจบด้วย ธรรมบทของท่านมหาราชันย์ ซึ่งคิดว่าชัดเจนและเป็นบทสรุปที่ดีในครั้งนี้ครับ

:b4: :b4: :b16: :b16: :b27: :b27: :b3: :b3: :b18: :b18: :b53: :b53:

มหาราชันย์ เขียน:
“ ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอยย่อมไม่บริบูรณ์

อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด
ละบุญและบาปได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ”

ภิกษุพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ งดเว้นเสีย
ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก
ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่ ฯ

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว
ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 12:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.. คุณภาพของจิตท่านคืออะไร ...

ก็ยังงงๆ อยู่ ตัวชี้วัดยังไม่ค่อยชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ :b6:

อ้างคำพูด:
บรรลุ(อริย)ผล ๓ เบื้องต่ำ หมายถึงบรรลุอนาคามีผล.

ท่านก็ไม่ได้ระบุว่าก่อนหรือหลังบวชนี่ :b4: จริงอย่างที่ท่านว่า ... การเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นกิจของพระเสขะพระอเสขะ เพื่อความรู้ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป

อ้างคำพูด:
ต้องภาวนาเพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ..

ภาวนา เป็นคำย่อๆ ของคำว่าวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่สมถะภาวนา หรือไปท่องบทสวดมนต์

ภาวนามยปัญญา กับ วิปัสสนาปัญญา ก็เป็นปัญญาคนละอย่างกัน มีเหตุเกิดที่ต่างกัน

วิปัสสนาญาณเ ไม่ได้เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบที่หลายคนมีความเข้าใจกัน ฐานของวิปัสสนาญาณจะต้องเริ่มจาก สุตมยปัญญา เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบในภาคการศึกษา

ภาวนามยปัญญา มาจาก ภาวนา (การทำสมาธิภาวนา) + มย (สำเร็จด้วย) + ปญฺญา (ปัญญา) เป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็น คือ เห็นด้วยญาณทัสนะ หรือรู้แจ้ง

เหมือนเราส่องกล้องจุลทัศน์ เห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ได้ หากเราไม่คิดพิจารณาตาม ก็ไม่ได้ความรู้อะไร ได้แต่เห็น (เห็นจริงๆ ไม่ได้นึกเอาหรือเอามาจากตำรา)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อื้อหือ ฝุ่นตลบทีเดียวเชียว
อ่านๆไปอ่านมา :b23: :b23:

:b32:


โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบนี้..ถึงได้เป็นโสดาบันทั้งกลุ่มทั้งคณะ...
คิดง่ายๆ..ทำง่ายๆ..ถึงได้เป็นโสดาบันง่ายๆ..
บรรลุด้วยการอ่าน ท่อง จำ...
วัดผลด้วยเครื่องมือวัดทางคลื่นไฟฟ้าเป็นความถี่..ด้วยกล้องจุลทัศน์
หลงทางคนเดียว..ยังจะชวนให้คนอื่นหลงทางตามไปด้วย

หลักสูตรใหม่..น่าขำ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 20:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 20:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง..โสดาบันเป็นของใกล้..ของง่าย..ไม่ยากจริง ๆ นั้นแหละ

แต่หากหลงเดินไปอีกทาง..ของใกล้แค่ไหนก็ไปไม่ถึง..

กัลยาณมิตร..บอก..ก็ไม่เข้าหู..

จึงไม่แปลกใจเลย..ว่าทำไม..ความอ่อนน้อมถ่อมตน..จึงมีกุศลมาก..เมื่อเทียบกับทาน..ศีล..ภาวนา

ไม่แปลกใจ..จริง ๆ


โพสต์ เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณโคตรภู



คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตนพึงกำจัดความรำพัน
ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน
พึงถอนลูกศร คือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว
อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยแล้ว
ถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกย่อมจักเยือกเย็น ฉะนี้แลฯ ”


เจริญในธรรมครับ


โพสต์ เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ครูบาอาจารย์ที่ผมนับถือท่านพูดบ่อยว่า

"ความพยามอยู่ที่ไหน ความล้มเหลวก็อยู่ตรงนั้นแหละ"


โพสต์ เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 22:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าตราบใดยังอยู่ในวัฏฏสงสารนี้..สองสิ่งมีพร้อมกันเสมอ

เกิด-ดับ

สุข-ทุกข์

มี-ไม่มี


โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจของ สติปัฏฐาน4 คือ โพฌชงค์ทั้ง7ประการ
ที่จะต้องไปทำหน้าที่ อยู่บนฐานทั้ง4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม

เมื่อมี สติ ธัมมวิจย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ไปตั้งอยู่ที่กาย เวทนา จิต และธรรม
กระบวนการแห่งวิปัสสนา ที่แท้จริงจึงเกิดขึ้น ระบบการสร้างญาณทัสสนะ
หรือศึกษาเพ่งค้นคว้าเพื่อความรู้แจ้งต่อ กาย เวทนา จิต ธรรม จึงเกิดขึ้น

หากเป็นแต่เพียง การอาศัยแค่สติ สัมปชัญญะ ในการไปกำหนดตั้งอยู่
เพื่อรู้ต่อ กาย เวทนา จิต ธรรม
การกระทำอย่างนี้ ก็จะเป็นแค่เพียงการเจริญสติ สัมปชัญญะ ไม่ใช่สติปัฏฐาน4
เพราะไม่ทำให้เกิดความรู้แจ้ง ต่อ ตัวชีวิตตามที่เป็นจริงขึ้นได้


ถ้าจะย่อให้สั้นเข้าไปอีก ว่าอะไรคือหัวใจของสติปักฐาน
ผมคิดว่า คือ ธัมมวิจยะ
ถ้าไม่มีธัมมวิจยะ การพิจารณา ด้วยอาการแห่งการเรียนรู้ต่อตัวสภาวะก็จะไม่เกิดขึ้น


การเจริญสติ ที่ปราศจากองค์ประกอบของโพฌชงค์7ประการ
จะเป็นการเจริญวิปัสสนาไม่ได้ เป็นแต่เพียงการอบรมสมถะวิธีประเภทหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดได้เพียงความสงบ และควบคุมความปกติของจิตได้เท่านั้น

เพราะระบบสติปัฏฐาน4 เป็นระบบของวิปัสสนาแท้ ที่มีผลในทางสร้าง
ญาณทัสสนะให้เกิดขึ้น ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า
เมื่อสติปัฏฐาน4 สมบูรณ์ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ก็จะสมบูรณ์

ความที่สติปัฏฐาน4 เป็นระบบในการสร้างญาณทัสสนะให้เกิด
สติปัฏฐาน4 จึงต้องมี ธัมมวิจยะ

ถ้าปราศจากธัมมวิจยะ การปฏิบัติ ก็จะเป็นเพียงการเจริญ สมถะไปทันที

ดังนั้นหัวใจในการทำให้ระบบปฏิบัติ กลายมาเป็นสติปัฏฐาน4 ซึ่งเป็นระบบวิปัสสนาแท้
ก็คือ.................โพฌชงค์7ประการ ต้องมีโพฌชงค์7ไปทำหน้าที่ร่วมด้วย
จึงจะเป็นสติปัฏฐาน4 ที่แท้จริง

หรือหากจะให้สั้นลงอีก ก็คือ ต้องมี ธัมมวิจยะ
การเจริญสติ จึงจะเป็น วิปัสสนาได้


ผมมีความเห็นส่วนตัวอย่างนี้ครับ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาตมาพระอาจารย์แสนปราชญ์ ขอเจริญพรตอบคำถาม "หัวใจของมหาสติ(ปัฏฐาน)4" ดังนี้

หัวใจของมหาสติ 4 ขออนุญาตเติมคำว่า "ปัฏฐาน" เป็น"หัวใจของมหาสติ(ปัฏฐาน) ๔ " สรุปสั้นๆคือ "หลักการและวิธีการปฏิบัติทางเดียวของพระพุทธศาสนาที่ทำให้ถึงซึ่งความดับทุกข์(นิพพาน)" ดังพระดำรัสที่ทรงตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ (ภาษาบาลี) ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร เล่มที่ ๑๐ วรรค ๓๗๓ หน้า ๒๔๘, และ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสน์ เล่มที่ ๑๒ วรรค ๑๐๖ หน้า ๗๗ และในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ภาษาไทย) ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร เล่มที่ ๑๐ วรรค ๓๗๓ หน้า ๓๑๐, และ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสน์ เล่มที่ ๑๒ วรรค ๑๐๖ หน้า ๑๐๑ ดังนี้

“เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา.”
แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้ เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”

เพื่อขยายความการตอบคำว่า "หัวใจของมหาสติ(ปัฏฐาน) ๔ " ขอโอกาส ใช้พื้นที่มากหน่อยในการทำหน้าที่ของ "พุทธบุตร" ตามพุทธปณิธานให้เราทั้งหลาย ศึกษาให้เข้าใจ ตั้งใจปฏิบัติให้ เข้าถึง และเผยแผ่ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม ดังนี้

เนื้อหาเรียบเรียงจาก
ผลงานวิชาการ “วิทยานิพนธ์ดีเด่น”
การศึกษาเชิงวิเคราะห์สติปัฏฐานกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
(การปฏิบัติวิปัสสนาของพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตร)

ของพระอาจารย์แสนปราชญ์ ฐิตสัทโธ/เสาศิริ

มหาสติปัฏฐาน ๔ คือ หลักการและวิธีการปฏิบัติทางเดียวของพระพุทธศาสนาที่ทำให้ถึงซึ่งความดับทุกข์(นิพพาน)" หลักการวิธีการที่ว่านี้ก็คือ สมถะและวิปัสสนา มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักการที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนา และที่สำคัญคือ "ไม่มีสมถะล้วน" การปฏิบัติให้พิจารณา ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยใช้สมถะนำวิปัสสนา หมายถึง ทำให้จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ สงบ ตั้งมั่น มีพลัง แล้วใช้จิตที่เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ สงบ ตั้งมั่น มีพลัง (เรียกจิตลักษณะนี้ว่า นุ่มนวล ควรแก่งาน) ไปพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
“วิปัสสนา” เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังกันมาก และใช้กันมากจนเกิดปัญหาสำหรับผู้ปฏิบัติหรือ ผู้ศึกษาที่มาใหม่ สำนักแต่ละสำนักต่างยืนยันหลักการและวิธีการของตนเองว่าถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ผู้ที่สามารถแสดงหลักการวิปัสสนาที่เป็นเนื้อแท้ ตรงแท้ ตามหลักการและวิธีการของพระพุทธเจ้าได้ดีที่สุดคือ “พระสารีบุตร” และพระสารีบุตรท่านแสดงได้อย่างจะแจ้งชัดเจนว่า หลักการปฏิบัติวิปัสสนาของพระพุทธเจ้ามีเพียง ๔ อย่าง คือ (๑) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (๒) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (๓) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันหรือพร้อมกัน (๔) เมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ หรือ จิตฟุ้งด้วยวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีแสงสว่าง เป็นต้น

ท่านชี้ชัดว่าวิปัสสนาคือ การยกจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยหลักการและวิธีการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงวิปัสสนาไว้สมบูรณ์ที่สุดอยู่ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” เป็นหลักการวิธีการปฏิบัติวิปัสสนามีสมถะนำหน้า ยกตัวอย่าง การตามดูลมหายใจเข้า-ออก ในตอนแรก เป็นสมถะ และเมื่อมีสติพิจารณาเห็นธรรม(ลมหายใจ)ที่เกิดในกาย เห็นธรรม(ลมหายใจ)ที่ดับในกาย เห็นธรรมทั้งที่เกิดและที่ดับในกาย เห็นเพียงแต่ว่าเป็นกาย ที่ใช้เจริญสติเท่านั้น มีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า กายมีอยู่ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก สภาวะอย่างนี้จึงเป็นวิปัสสนา

ผู้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา อุปมาเหมือนนักมวยสากลสมัครเล่น ที่มีกฎกติกาการให้คะแนน ถ้าชกโดยส่งกำลังออกจากหัวใหล่ แล้วใช้ส่วนหน้าของหมัด(ที่เป็นสีขาวที่อยู่บริเวณหน้านวม) ชกโดนคู่ต่อสู้จะเป็นหน้า ลำตัว หรือส่วนไหน ๆ ก็จะได้คะแนน ถ้าเป็นสันมือ หรือการชกในลักษณะเหวี่ยงหมัดจะไม่ได้คะแนน วิปัสสนาในพระพุทธศาสนามีคะแนนการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติที่ฉลาดต้องรู้ด้วยตนเองว่าได้คะแนนหรือไม่ ซึ่งการได้คะแนนก็คือการกำหนดยกจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ได้อาจจะเห็นอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร เกิดลักษณะอาการคลายกำหนัด อาการราคะดับ สุดท้ายมีสภาวะไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ เรียกว่าได้คะแนน แต่ถ้าเพียงบริกรรมเฉย ๆ แล้วใจสงบ สบาย ไม่เห็นไตรลักษณ์อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้คะแนน เหมือนนักมวยสากลที่ชกไม่โดน หรือชกไม่ถูกตามกฎการให้คะแนน เหวี่ยงหมัดบ้าง ขว้างหมัดบ้าง ซึ่งมีประโยชน์เพียงการป้องกันคู่ต่อสู่ไว้ไม่ให้บุกเข้ามา คะแนนจากการกำหนดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะกัดกร่อนกิเลสทีละเล็กทีละน้อยจนในที่สุดทำไปด้วยวิระยะ(ความเพียร) ก็สามารถน็อคกิเลสได้ ดับทุกข์ พ้นทุกข์ได้จริง สติปัฏฐานมีลักษณะการทำงาน หรือหน้าที่ตามสภาพกำลังของสติได้ ๔ อย่าง คือ

๑. สติที่มีกำลังหน้าที่ “กั้น” ความชั่ว กั้นอกุศล (สมถะ)

๒. สติที่มีกำลังหน้าที่ “เจริญ” ความดี พัฒนากุศล

๓. สติที่มีกำลังหน้าที่ “ฆ่า” ความชั่ว ปหานอกุศล (วิปัสสนา)

๔. สติที่มีกำลังหน้าที่ “รักษา” ความดี รักษากุศล

เมื่อความมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การดับทุกข์ หรือการพ้นจากทุกข์ ซึ่งมีพระพุทธพจน์ที่ระบุชี้ชัดว่าหลักการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ หรือพ้นจากทุกข์ คือ “สติปัฏฐาน” ซึ่งเป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เป็นการยืนยันถึงหลักการและวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนของพุทธธรรม “สติปัฏฐาน” จึงเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวพุทธที่ถูกรักษาถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมา แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง
“สติปัฏฐาน” ก็เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกนำมาอธิบายขยายความวิพากษ์วิจารณ์ตีความไปในลักษณะต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้แสดงสติปัฏฐานด้วยพระองค์เองซึ่งปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกพบว่า พระองค์ทรงได้อธิบายขยายความของสติปัฏฐานในหลากหลายรูปแบบหลายลักษณะ ครอบคลุมหลักพุทธธรรมและหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทรงแสดงตั้งแต่หลักพื้นฐาน ทั่ว ๆ ไปจนไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ “ความดับทุกข์” ทรงตรัสแสดงในฐานะเป็นพุทธบัญญัติบ้าง ในฐานะหลักธรรมคำสอนบ้าง ทรงแสดงเต็มรูปแบบบ้าง ทรงแสดงเพียงบางส่วนบ้าง ทรงแสดงไว้เป็นการเฉพาะและทรงแสดงไว้ในชื่อกัมมัฏฐานอื่นบ้าง และทรงตรัสแสดงเพื่อเชื่อมโยงหรือขยายไปสู่หลักธรรมอื่น ๆ ซึ่งมีคำอธิบายทั้งในด้านหลักการและวิธีปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนโดยเฉพาะใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” มีรายละเอียดสมบูรณ์เต็มรูปแบบเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติกัมมัฏฐานได้ด้วยตนเอง

ในสมัยเดียวกันนั้น “พระสารีบุตร” อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้มีปัญญามากสามารถอธิบายธรรมะได้อย่างแตกฉานพิสดาร ซึ่งท่านได้อธิบายสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้หลากหลายนั้นด้วยการสรุปลงที่หลักการของ “ปัญญา” หรือ “วิปัสสนา” เป็น “วิปัสสนาล้วน” ว่าด้วยการกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ราคะดับ ไม่ยึดมั่นถือมั่น สติปัฏฐานที่ท่านอธิบายมีชื่อว่า “สติปัฏฐานกถา” [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ไทย) ฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๕๙๒-๕๙๖.] อยู่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ ถือกันว่าเป็นปกรณ์ทางกัมมัฏฐานเล่มแรกของพระพุทธศาสนา[ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ไทย) ฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้า บทนำ [๗]. ] เป็นคัมภีร์แนวอภิธรรมชั้นต้น ๆ[ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ไทย) ฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้า [๑๑].] ที่สำคัญคือเป็นผลงานของพระสารีบุตรผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีที่มีปัญญาล้ำเลิศ ด้วยเหตุนี้สติปัฏฐานกถาจึงเปรียบดั่งเพชรเม็ดงามที่ถูกเจียรนัยแล้วเพื่อประกาศสัทธรรมจักร ดังคำกล่าวยกย่องท่านไว้ว่า

ท่านเป็นสัทธรรมเสนาบดี คือผู้ประกาศพระสัทธรรมจักร ผู้เข้าใจความแจ่มแจ้งในอรรถตามความเป็นจริงของพระสูตรทั้งหลายที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว ผู้นำในการยังธรรมประทีปให้โชติช่วง อธิบายความได้อย่างลึกซึ้ง มีความลุ่มลึกดุจสาคร กว้างขวางดุจท้องฟ้านภากาศที่ดารดาษด้วยหมู่ดาว
ที่มา : [อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑ หน้า ๒, ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าบทนำ [๙], อ้างใน เสนาะ ผดุงฉัตร, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์อานาปานัสสติกถา ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต, (บัณฑิตวิยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙), หน้า ๗๗.

เนื้อหาที่กล่าวมาเป็นเพียงการสรุปจาก “วิทยานิพนธ์การศึกษาเชิงวิเคราะห์สติปัฏฐานกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค” ซึ่งถูกคัดเลือกตัดสินให้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น ๒๕๕๑ ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้วิจัยมีซีดีในรูปแบบ word และ pdf พร้อมหนังสือเก็บเพชรจากวิทยานิพนธ์ดีเด่น จำนวนจำกัดเพื่อแจกฟรี หรือผู้ใดสงสัยการปฏิบัติ หรือครูบาอาจารย์ท่านใดที่ต้องการจะแนะนำเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์สามารถติดต่อผู้วิจัยได้ที่ ๐๘๓๑๒๕๖๓๗๕


โพสต์ เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2998_resize.JPG
100_2998_resize.JPG [ 79.49 KiB | เปิดดู 4492 ครั้ง ]
tongue เจริญในธรรมครับคุณโคตรภู ลองฟังหัวใจมหาสติ 4 อีกนัยยะหนึ่งนะครับ เป็นธรรมทัศนะ

สติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม
สติจะเป็นมหา เมื่ออยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ต่อเนื่องตลอดเวลา
ส่วนสติปัฏฐาน 4 นั้น ประเด็นหรือหัวใจอยู่ที่ี่


1.ให้เอาสติ(สติมา)และปัญญา(สัมปะชาโน) มาเฝ้าพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อยู่เสมอๆ
*****การเห็นกายในกายก็คือเห็นธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ซึ่งจะเกิดเป็นผัสสะ และเวทนาอยู่ตลอดเวลา ที่สุดก็จะไปรวมรู้ลงที่เวทนาทั้ง 3 อันรวมเป็นผลสุดท้ายคือ ยินดี ยินร้าย และเฉยๆ ซึ่งก็คือ อภิชฌาและโทมนัสสังนั่นเอง
***** ยินดี ยินร้ายนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดตัณหา สติปัฏฐานทั้ง 4 จึงลงท้ายด้วยคำว่า
"วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" แปลว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในสัมผัสทั้ง 6


ใน 3 ฐานที่เหลือก็ดุจเดียวกัน ที่สุดของการเอาสติ ปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ก็จะไปสิ้นสุดที่ยินดี ยินร้าย หรือ อภิชฌา และ โทมนัสสัง เช่นกัน

2.ประเด็นสำคัญที่สุด ของสติปัฏฐาน 4 คือ จะทำอย่างไร จึงจะเอา ยินดี กับยินร้ายออกเสียได้

โดยการปฏิบัติจริง ยินดี ยินร้าย จะหมดไปได้โดยเด็ดขาดจริงๆ ก็คือ ต้องสังเกต พิจารณาเข้าไปให้ละเอียดถี่ถ้วนเป็นพิเศษ ที่ว่าเป็นมหาสติ มหาปัญญานั่นแหละ เมื่อความสังเกต พิจารณา ถึงที่ดีแล้วก็จะได้เห็นตัวผู้ที่มายินดี ยินร้าย คือมิจฉาทิฐิ อุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็น ตัวกู ของกู นั่นเอง กู นั่นแหละที่ไปยินดี ยินร้าย

เอาสติ ปัญญา นิ่งดู นิ่งสังเกตพิจารณา ที่จิตอุปาทานว่าเป็นกู ซึ่งจะสั่งการให้จิตและกายทำตามที่มันเคยสั่งได้ ถ้า กู สั่งได้ ตัณหาก็จะเกิดขึ้นทันที

แต่ถ้าสติ ปัญญา อันมีวิริยะ ตบะ ขันติ สมาธิ หรือสัจจะ อธิษฐานมาช่วยกันสู้กู ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมทำตามที่ กู สั่ง ถ้าทนได้ ไม่ช้า จะได้เห็นอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ดับสลาย หายไปต่อหน้าต่อตา

จิตไม่มี กู คือจิตเป็น อนัตตา ก็จะปรากฏชัดขึ้นมา หมดกู ก็หมดทุกข์ทางจิต เพราะไม่มีผู้มายินดียินร้าย
ผู้ปฏิบัติจะได้พบว่า อนัตตา หรือความหมดกู นี่เอง คือทางรอดสู่สุขที่แท้จริง

การวิเนยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง จึงเกิดได้ด้วยประการฉะนี้


เอวัง ครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสต์ เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Supareak Mulpong เขียน:
"ภาวนายมปัญญา" คือปัญญาใดๆ ที่เกิดจากฌานสมาบัติ ปัญญานี้ไม่มีอะไรจะสามารถปหานกิเสล แต่เป็นเครื่องมือในการพิสูจณ์ธรรม
พระ พุทธองค์พิสูจณ์ธรรมและประกาศแล้ว หากต้องการรู้เหมือนที่พระพุทธองค์รู้ ก็ให้ได้อย่างน้อยโสดาปัตติผลก่อน สมาธิขั้นอัปปนาที่เกิดก่อนโสดาปัตติมรรค เป็นมิจฉาสมาธิ หากไปติดตาข่ายดักพรมณ์เสียก่อน ก็หมดโอกาสถึงมรรคผล

"ธรรมอันใดเกิด แต่เหตุ" ศีล สมาธิ ปัญญา มิได้จะสร้างอะไรขึ้นมาก่อนก็ได้ ผิดหลักสัจจะธรรม ตรงนี้ก็เป็นจุดที่ท่านเห็นไม่ตรง องค์ธรรมในมรรค ๘ ก็เกิดตามเหตุตามปัจจัย มิใช่อะไรเกิดก่อนก็ได้อย่างที่ท่านกำลังเข้าใจ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะนั้นมิได้เกิดมาได้ง่ายๆ หากท่านไม่รู้อุบายในการก้าวออกจากกิเลสแล้ว โอกาสที่ท่านจะเจริญจนได้มรรคผลนั้นไม่มี


ภาวนามยปัญญา..เป็นขั้นมหาสติ มหาปัญญา
เป็นมหาสติปัญญาขั้นอัตโนมัติ หมุนทันฟาดฟันกิเลสทุกชนิด

มั่วมากๆ เข้าไปอ่านธรรมของหลวงตามหาบัว จะได้เลิกคิดไปเองตามประสาบัวใต้น้ำ
ท่่็านยกย่องในภาวนามยปัญญามาก เพราะเป็นเรื่องมหาสติ มหาปัญญา
ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ปัญญาของคนกิเลสหนาปัญญาหยาบ


โพสต์ เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดในสมาบัติ ได้แก่ญานทัสสนะหรืออภิญญาทั้งหลาย ที่ท่านพูดถึงปัญญาที่ต่อสู้กับกิเลส น่าจะเป็น ชวนปัญญา(ปัญญาเร็ว) นิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ปุถุปัญญา (ปัญญาแน่นหนา) พวกนี้มากกว่ามั้งครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับความคิดส่วนตัวของผม เสนอว่า

ไม่ใช่ชวนปัญญา(ปัญญาเร็ว) และปุถุปัญญา (ปัญญาแน่นหนา)

น่าจะเป็นนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) มากกว่า

เพราะปัญญาเร็วและแน่นหนา เป็นคุณลักษณะ ที่เร็วและมั่นคงเท่านั้น เป็นปัญญาปุถุชนไม่ใช่อริยะ

แต่ปัญญาทำลายกิเลสและคมกล้า เป็นชนิดและคุณสมบัติที่มีความคมกล้าฟากฟันประหารและ

ทำลายกิเลสให้สิ้นซาก เป็นปัญญาอริยะไม่ใช่ปุถุชน


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 21:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะปัญญาที่ใช้ดับทุกข์

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัดความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป กำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัดปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค

จะเรียก วิปัสสนาญาน ปัญญารู้แจ้ง สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ ก็ได้ หมายถึงสิ่งเดี่ยวกัน

ทีนี้ จะไปเกี่ยวกับ ปัญญาในสมาบัติ ๙ ตรงใหนละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร