วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ข้อที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ - (ขุ.ปฏิ.31/535-6/433-8) อธิบายความหมายว่า (เบื้องแรก)

จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซ่านส่าย มีสมาธิเกิดขึ้น

ด้วยอำนาจเนกขัมมะ (ความคิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม) ก็ดี

ด้วยอำนาจอพยาบาท (คิดเมตตา)

อาโลกสัญญา (ทำใจนึกถึงแสงสว่าง ไม่ให้ง่วงเหงา)

อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่านปราศจากอุทธัจจะ)

ธรรมววัตถาน (การกำหนดข้อธรรม ซึ่งทำให้ไม่มีวิจิกิจฉา)

ญาณ (ความรู้)

ปราโมทย์ (ความแช่มชื่นใจ)ก็ดี * ด้วยอำนาจปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

จตุตถฌาน

ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจาจตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ดี

ด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ ก็ดี

อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ หรือ วิธีปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับอานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี **

ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม

ครั้นแล้ว เกิดปัญญามองเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่เกิดแล้วในสมาธินั้น ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา

อย่างนี้เรียกว่า สมถะมาก่อน วิปัสสนามาหลัง คือ เป็น สมถปุพพังคมวิปัสสนา




อรรถกถาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกว่า ตามวิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ นี้ ผู้ปฏิบัติทำสมถะ

คือ สมาธิ ให้เกิดขึ้นก่อน จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้

จากนั้น จึงพิจารณาสมถะ หรือ สมาธินั้น (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรือฌานสมาบัติขั้นใด

ก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่นๆทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้น ให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

จนถึงอริยมรรคเกิดขึ้น (ดู ม.อ.1/150; นิทฺ.อ.1/390)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


(ขยายความบนที่มี *)

* ธรรม ๗ ประการ ตั้งแต่เนกขัมมะ ถึงปราโมทย์นี้

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ใช้เป็นหลักสำหรับแสดงการเกิดขึ้นแห่งสมาธิระดับอุปจาระ

แก่พระสุกขวิปัสสกะ (ปฏิสํ.อ.366ฯลฯ)


** ความจริงยกมาแสดงเพียงแค่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้นก็เพียงพอ

เพราะฌานสมาบัติก็จบสูงสุดเพียงแค่ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

ยกมาแสดงในฐานะเป็นภาวะจิตที่เข้าถึง

ส่วนข้อธรรมต่อจากนั้น ยกมาแสดงในฐานเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงภาวะนั้นๆ

(ดูประกอบ ปฏิสํ.อ.367-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี
การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ

             หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
ธรรมาภิสมัยมีอยู่


เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย

ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น
กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย
ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้

เพราะเหตุแห่งความเป็นไป
เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต
เพราะเหตุแห่งกรรม กรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไป
ในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กิเลส
เหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ยังไม่เกิดขึ้น
แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย
เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ


ด้วยประการฉะนี้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบอภิสมยกถา ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปตั้งกระทู้ใหม่ท่านเช่นนั้น พูดภาษาคนไม่รู้เรืองหรืออย่างไร

ถ้ายังงั้นขอเชิญที่ลิงค์นี้ขอรับ

http://www.free-webboard.com/home.php?n ... hammachati

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 17:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ยุคนัทธวรรค วิราคกถา
             [๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล

วิราคะเป็นมรรคอย่างไร

ในขณะโสดาปัตติมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี
นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ
องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ

สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา

สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ

สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ

สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ

สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประ
ดิษฐานอยู่ในวิราคะ

วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ
นิพพาน เป็นวิราคะ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑
เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค
องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ

เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้


เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่า
มรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรค
จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

             [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา-
*สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
*สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์
ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

             [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา-
*สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตาม
มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์
มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ใน
วิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวง
ที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรค
จึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น
วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึง
นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้

เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน

สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง

สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา

สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ
วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น

อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้
สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน

สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวม
จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น

วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม

สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอัน
หยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด

วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 17:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


 [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร

ในขณะโสดาปัตติผล

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ
จากสรรพนิมิตภายนอก

วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ

วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล

สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯ
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะฯลฯ
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก

วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ
วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒คือ
นิพพานเป็นวิมุติ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ๑

เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา
สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ

             [๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา
สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กาม
ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิ
เป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติ
จึงเป็นผล ฯ


             [๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร
ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ
นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นวิมุติ
เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน

สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง

สัทธาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ
ปัญญาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา

สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น

อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออก
มรรคเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้
อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้
สมถะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
สมถวิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม
จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น
วิโมกข์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพ้น
วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด
วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสละ
ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าระงับ
ฉันทะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นมูล
มนสิการ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม
สมาธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ปัญญาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด

วิมุติเป็นผลอย่างนี้


วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบวิราคกถา ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 2607 ครั้ง ]
โอ...มัน ไปก๊อบเอามาเป็นดุ้นๆเลยวุ๊ย กรัชกายพิมพ์ไม่ทัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 18:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ด้วยประการฉะนี้ ฯ


ท่านเช่นนั้น อะโป๊ะ "ด้วยประการฉะนี้" ดัดออกได้ไหมขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 18:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 1.66 KiB | เปิดดู 2592 ครั้ง ]
อ้าว...ถามไม่ตอบ ปากอมอะไรอยู่ขอรับท่านเช่นนั้น

หรือว่าอมที่อยู่ในครก :b32: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 18:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCACT21XU.jpg
imagesCACT21XU.jpg [ 2.69 KiB | เปิดดู 2588 ครั้ง ]
เงียบไม่ตอบ อ้อ...ไม่ได้อมสาก อมเรือรบ แล้วก็ไม่บอก

คนอะไร อมสากเบือยันเรือรบ :b12:


กระทู้ชักเริ่มหนุกหนาน :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 19:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์(ขุ.ปฏิ.31/527/438)

อธิบายความหมายว่า เบื้องแรก วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา

ครั้นแล้ว จิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฏในวิปัสสนานั้น และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเอง

เป็นอารมณ์ จิตจึงมีภาวะอารมณ์หนึ่งเดียว ปราศจากความซัดส่าย มีสมาธิ

อย่างนี้ เรียกว่า วิปัสสนามาก่อน สมถะมาหลัง คือเป็น วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ



ขยายความตามอรรถกถาว่า ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย

แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น

อันนับว่าเป็นวิปัสสนา

พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี จิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว (= สมาธิ)ขึ้น โดยมีการปล่อยวางธรรมทั้งหลาย

ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ

เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน *



อย่างไรก็ตาม อรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า

หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น

ทั้งสมถะและวิปัสสนา จะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป **

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคนั่นเอง

วิปัสสนาได้แก่สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

สมถะได้แก่ องค์มรรคที่เหลือ อีก ๖ ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน

ในขณะบรรลุอริยภูมิ ***

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มี *ตามลำดับ)


* ดู ม.อ. 1/150 นิท.อ.1/390 องฺ.อ.2/447 อิติ.อ.69

บาลีใน องฺ.จตุกฺก.21/92-94/120-124 กล่าวถึงทั้งผู้ได้สมถะยังไม่ได้วิปัสสนา

และผู้ได้วิปัสสนายังไม่ได้สมถะ (ในบาลีนั้นเรียกเจโตสมถะ และอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา

ซึ่ง องฺ.อ.2/423 อธิบายว่าได้แก่อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาที่กำหนดพิจารณาสังขาร ตามลำดับ)

บาลีแห่งนี้ ทำให้ได้ข้อสังเกตด้วยว่า แม้จะได้วิปัสสนาแล้ว แต่สมถะก็อาจยังไม่เกิดตามมา

(หรือ พูดตามอรรถกถาว่า แม้จะได้วิปัสสนาแล้ว แต่สมถะก็อาจยังไม่สูงถึงขั้น

น่าพอใจ คือ ยังไม่ได้ฌาน)


ท่านจึงแนะนำให้ฝึกสมถะและวิปัสสนาได้พร้อมก่อนแล้ว จึงทำความเพียรเพื่อกำจัดอาสวะ

ในขั้นสุดท้ายต่อไป...(พึงดู บาลีคล้ายกันนี้ ใน องฺ.ทสก. 24/54/105

องฺ.นวก.23/208/373 บาลีเดียวกันนี้ มาใน อภิ.ปุ.36/10/136; 137/216 ด้วย

แต่อภิธรรมอธิบายสูงมาก โดยกล่าวว่า เจโตสมถะได้แก่รูปและอรูปสมาบัติ

อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ได้แก่ มรรคผล

ปญฺจ.อ. 127จึงสรุปว่า ผู้ได้เจโตสมถะไม่ได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้สมาบัติ ๘

ผู้ได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ได้แก่ อริยสาวกที่เป็นสุกขวิปัสสกะ

ผู้ได้ ทั้งสองอย่าง ได้แก่ อริยสาวกผู้ได้สมาบัติ ๘

ผู้ไม่ได้ทั้งสองอย่าง ได้แก่โลกียปุถุชน)



** ม.อ. 1 150 วิสุทธิ.3/333 ปฏิสํ.อ.337 กล่าวว่า สมถะและวิปัสสนาเป็นไป

อย่างเสมอภาคควบคู่กันทั้งในเวลามุ่งหน้าต่ออริยมรรค และในขณะแห่งมรรค

อุ.อ.221 ว่า สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันแม้ในผล เช่นเดียวกับในมรรค

นอกจากนี้พึงดู ขุ.ปฏิ.31/147/101 ปฏิสํ.อ.342 อุ.อ.503 อิติ.อ.273



*** สมถะวิปัสสนากับองค์มรรค ดู ปฏิสํ.อ.237 วิภงฺค.อ.157 วิสุทธิ.ฎีกา 3/214

องค์มรรค เกิดพร้อมกันในขณะแหงมรรคญาณ (ความจริงไม่เฉพาะองค์มรรคทั้ง ๘ เท่านั้น

โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ย่อมเกิดพร้อมกันหมดในจิตเดียวกันในขณะแห่งมรรคญาณ)

ดู ปฏิสํ.อ.236 วิภงฺค.อ.157 วิสุทธิ.3/330 ม.อ. 2/490

(พึงสังเกตว่า การกำหนดว่า องค์มรรค หรือข้อธรรมต่างๆ เหล่านี้

เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน หรือ ในขณะจิตเดียวกันอย่างนี้ เป็นการวิเคราะห์ตามแนวอภิธรรม

ซึ่งมีหลักอยู่ว่า ธรรม ทั้ง ๓๗ นี้ เป็นเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในจิตเดียวกัน

อีกประการหนึ่ง จำนวนองค์มรรคและธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมกันในขณะแห่งมรรคญาณ

อาจลดน้อยลงไปบ้าง โดยสัมพันธ์กับฌานที่ประกอบกับมรรคนั้น

ดู ปฏิสํ.อ.234 สงฺคณี อ. 355 วิสุทธิ.3/321 ที. อ.2/537 สงฺคห.ฎีกา 97)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร