วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 05:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติเพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร

เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจรด้วยประการดังนี้

สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร

ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ


             ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกันและอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คังคาสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร
บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริย-
*มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.




"หลักการสำคัญของการตรัสรู้"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 22:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




redbaby.gif
redbaby.gif [ 26.19 KiB | เปิดดู 2841 ครั้ง ]
ถามว่าดูรู้เรืองบ้างไหม ไม่ตอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
....

[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้

ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา

โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์

เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ


[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตาโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อม
เกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ

จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล

จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย


ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัดแกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 22:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ประการฉะนี้แล


"ประการฉะนี้แล" ตัดออกได้มะไม่ต้องไส่เข้ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน

เรียกเต็มเพื่อย้ำความหมายให้หนักแน่นว่า สุทธวิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ เป็นยาน

หมายถึง ผู้ที่เริ่มปฏิบัติด้วยเจริญวิปัสสนาทีเดียว โดยไม่เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใดๆมาก่อนเลย แต่เมื่อเจริญ

วิปัสสนาคือใช้ปัญญาพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกทางแล้ว จิตก็จะสงบขึ้น

เกิดมีสมาธิตามมาเอง

ในตอนแรกสมาธิที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้วิปัสสนา

ดำเนินต่อไปได้

ดังที่ท่านกล่าวว่า “ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไมได้”

(วิสุทธิ.ฎีกา 1/15,21 ฯลฯ)

เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิก เจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย

ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนแน่วแน่หรือสมาธิจวนจะถึงฌาน) ก็ได้ *

จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นจะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปนาสมาธิ **

อย่างน้อย ถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ หรือ รูปฌานที่ ๑) *** เป็นอันสอดคล้อง กับหลักที่แสดงไว้แล้ว

ว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความคห.บนที่มี * ตามลำดับ)


* วิสุทธิ.ฎีกา 3/576 กล่าวถึงสุทธวิปัสสนายานิก ผู้ไม่ได้ฌานซึ่งหมายความว่า

อาจได้ขณิกสมาธิหรืออุปจารสมาธิ;

พึงโยงสมถยานิก และวิปัสสนายานิก กับอัปปนากรรมฐาน และ อุปจารกรรมฐาน

ในการเจริญสติปัฏฐาน คือ ที.อ.2/468 ฯลฯ ;

เพื่อย้ำความที่ว่า ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องได้ฌานก่อน คือ ใช้สมาธิระดับต่ำกว่าฌานก็ได้

พึงดูพจน์พจน์ที่จำกัดความสมาธินทรีย์ใน สํ. ม.19/874/261 ฯลฯ


** สมาธิ ๓ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เป็นคำรุ่นอรรถกถาฏีกาทั้งสิ้น (ที่มาร่วม

กันครบชุดคือ นิทฺ.อ.1/158 ปฏิสํ.อ.221 ฯลฯ) บางทีมาในชุดซึ่งมีเพียง ๒ คือ อุปจารสมาธิ

และอัปปนาสมาธิ (วิสุทธิ.1/105,160, 2/194) บางทีเรียกอุปจารฌานและอัปปนาฌาน

(เช่น สุตฺต.อ.2/390 สงฺคณี อ. 336 ฯลฯ)

คำว่า “อัปปนา” แม้จะมาในบาลีบ้าง แต่ก็มาในฐานะเป็นไวพจน์ของวิตก และ

สัมมาสังกัปปะเท่านั้น (อภิ.สํ.34/22/11 ฯลฯ)


*** ปฏิสํ.อ.235สงฺคณี อ.336,355,358 ฯลฯ (ท่านว่า ฌานเช่นนี้ มีขณะจิตเดียวเท่านั้น

แต่หลังจากนั้น ก็สามารถเข้าผลสมาบัติเสวยอริยโลกุตรสุข เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารได้ต่อไปเรื่อยๆ

ด้วยฌานระดับเดียวกันนั้นตามปรารถนา -วิสุทธิ.3/358-9

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสมถยานิก * เมื่อสำเร็จอรหันผลเป็นพระอรหันต์แล้วท่านจัดแยกเป็น ๒ ประเภทคือ

พระปัญญาวิมุต และพระอุภโตภาควิมุต

ท่านที่ได้ฌานสมาบัติเพียงขั้นรูปฌาน คือไม่เกินจตุตถฌาน เป็นปัญญาวิมุต

ท่านที่ได้อรูปฌานขั้นใดขั้นหนึ่งตลอดถึงได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอุภโตภาควิมุต

ส่วนวิปัสสนายานิก เป็นพระอรหันต์ได้แต่ประเภทปัญญาวิมุตอย่างเดียว และในขั้นอรรถกถา ท่านบัญญัติชื่อ

ให้เป็นพิเศษ เรียกว่าพระสุกขวิปัสสกะ เป็นอันดับสุดท้ายในหมู่พระปัญญาวิมุต

โดยนัยนี้ พระอรรถกถาจารย์ จัดแบ่งพระอรหันต์ออกไปเป็น ๑๐ ประเภท เป็นพระอุภโตภาควิมุต ๕

จัดเรียงจากสูงลงไป -(ที.อ.2/143-6 ; 3/79 ฯลฯ)

ดังนี้

(อันดับ 1-9 เป็นสมถยานิก อันดับที่ ๑๐ เป็นวิปัสสนายานิก หรือ สุทธวิปัสสนายานิก)


ก. พระอุภโตภาควิมุต


๑.พระอุภโตภาควิมุต -ผู้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ

๒.พระอุภโตภาควิมุต - ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

๓. พระอุภโตภาควิมุต-ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ

๔. พระอุภโตภาควิมุต -ผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ

๕. พระอุภโตภาควิมุต – ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ


ข. พระปัญญาวิมุต


๖. พระปัญญาวิมุต -ผู้ได้จตุตถฌาน

๗. พระปัญญาวิมุต – ผู้ได้ตติยฌาน

๘. พระปัญญาวิมุต -ผู้ได้ทุติยฌาน

๙.พระปัญญาวิมุต -ผู้ได้ปฐมฌาน (ได้ก่อนทำวิปัสสนา)

๑๐. พระปัญญาวิมุต- ผู้เป็นสุกขวิปัสสก (พระวิปัสสนายานิก)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* คำว่า สมถยานิก วิปัสสนายานิก สุทธวิปัสสนายานิก สุกขวิปัสสก (แปลว่า ผู้เห็นแจ้งอย่าง

แห้งแล้ง เพราะไม่ได้ฌานมาก่อนเจริญวิปัสสนา) เป็นคำในชั้นอรรถกถาทั้งสิ้น;

สมถยานิก มากับวิปัสสนายานิก และสุทธวิปัสสนายานิก เช่น ที.อ.2/468; ม.อ.1/329

ฯลฯ

สมถยานิก มากับสุกขวิปัสสก เช่น องฺ.อ.2/446 ฯลฯ

สุกขวิปัสสนก มาเดี่ยวๆ เช่น ที.อ.3/292 ฯลฯ


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

(หลักการสำคัญของการตรัสรู้ บรรจบกับลิงค์พอดี)

viewtopic.php?f=2&t=26376#

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 23:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร