วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
คุณมหาราชันย์ มีเวลาได้พิสูจน์ธรรมที่กรอกใส่สัญญามาไว้มากมายเหล่านั้นหรือยังครับ พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสให้เชื่อตามธรรมในคัมภีร์ทั้งหมดนั้น พระองค์แนะนำให้พิสูจน์ก่อน พิสูจน์ได้ดีพอสมควรแล้ว บัญญัติอันฟุ้งเฟ้อทั้งหลายในสัญญา จะได้ควบรวม กระชับ ง่าย ลัดสั้นลงมากว่าที่เคยเห็นคุณมหาราชันย์ยกมา อีกเยอะเลยที่เดียว



สวัสดีครับคุณอโศกะ


คุณอย่าเพิ่งเหมารวมแล้วสรุปเอาง่าย ๆ ว่าคนที่รู้พระธรรมเทศนาจากพระไตรปิฎกแล้วไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ
ข้อนี้คุณเข้าใจผิดแล้วครับ
เพราะในสมัยนี้ของปลอมมีเยอะมาก การที่มีใครปฏิบัติไปด้วย ศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วย ไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ กลับเป็นการดีเสียอีกที่รอบรู้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ

ถ้าคูณอโศกะเข้าใจเอาเองว่าผู้รู้ทฤษฎี แล้วไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ นั่นคุณเป็นผู้ประมาทในธรรมแล้วครับ

ความรู้ในพระพุทธศาสนานั้นมีทั้ง
อรรถปฏิสัมภิทา
ธรรมปฏิสัมภิทา
นิรุติปฏิสัมภิทา
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาครับ

ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติให้ตรงกับพระพุทธพจน์ที่ศึกษา เป็นเรื่องที่บรรลุธรรมได้จริงครับ


ส่วนการศึกษามาผิดทาง รู้มาผิดทาง แล้วลงมือปฏิบัติ ผมไม่เชื่อว่าจะบรรลุธรรมได้จริงครับ



การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาไม่ใช่ของง่าย

ของง่ายไม่ใช่พระพุทธศาสนาครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
[๗๙๑] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ปรารภความเพียร
เพื่อถึงปรมัตถประโยชน์
มีจิตมิได้ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน
มีความพยายามมั่นคง เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.


[๗๙๒] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
ท่านกล่าวว่า
ปรมัตถประโยชน์ ในอุเทศว่า อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา ดังนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นปรารภความเพียร เพื่อถึง คือ เพื่อได้ เพื่อได้เฉพาะ เพื่อ
บรรลุ เพื่อถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งปรมัตถประโยชน์ มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง เพื่อ
ละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ปรารภความเพียรเพื่อถึงปรมัตถประโยชน์.




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
[๖๕๗] พ……..



อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจารวจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น
ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรมนั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง
เขาเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง
เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่
ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง
เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น
ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง
ครั้นเทียบเคียงแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เป็นผู้มีใจแน่วแน่
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกาย
และเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?

พยากรณ์การบรรลุสัจจะ
[๖๕๘] พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น
การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ
ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อเป้นดังนั้นคุณเช่นนั้นอะโป๊ะ พึงเรียนรู้ภาษาบาลีเสียด้วย จะได้วิเคราะห์วิจารณ์ศัพท์แสงบาลีซึ่งอาจารย์รุ่นต่อๆมาที่แก้มาตามลำดับ คือ บาลี อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เมื่อเราเข้าเข้าใจอย่างแล้วจะไม่คร่ำครึ จนถึงกับมีปัญหาว่าไปไหนมา ? สามวาสองศอก


สมแล้ว กรัชกายซัง ผู้รักษามาตรฐาน การไม่ศึกษาพระไตรปิฏก smiley

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
 [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ
เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา
บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต


             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า

ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม


เช่นนั้น คงไม่แต่งเติมสอดไส้ความเห็นผิดๆ ต่างออกไปจากพุทธพจน์ เช่นที่กรัชกายซังทำอยู่่หรอกน๊ะ
กรัชกายซัง น่าจะอ่านพระไตรปิฏก บ้าง น๊ะ :b4: :b4:

ภาษาชาวเมือง วาจาสละสวย ภาษาพื้นถิ่นที่กล่าวแสดงตรงตามอรรถตามธรรม พระพุทธองค์ก็ทรงสรรเสริญเช่นกัน กรัชกายซังเคยรู้บ้างไม้ หรือกอดแต่อสัทธรรมจนเคย :b19: :b19:

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

วิสาขสูตร
             [๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ได้ชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง
สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่
อิงวัฏฏะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่เร้นในสายัณห์สมัย เสด็จ
ไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครหนอ ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจา-
*ของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่อง
ในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
วิสาขปัญจาลิบุตร ชี้แจงภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านวิสาขปัญจาลิบุตรว่า ดีละ ดีละ
วิสาขะ เป็นการดีแล้ววิสาขะ ที่เธอชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันเป็นวาจาของชาวเมือง สละสลวย
ปราศจากโทษ ให้เข้าใจความได้แจ่มแจ้ง นับเนื่องในนิพพาน ไม่อิงวัฏฏะ ฯ
                          คนที่ไม่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ไม่ได้ว่า เป็นพาลหรือบัณฑิต
                          ส่วนคนที่พูด ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่า เป็นผู้แสดงอมตบท
                          บุคคลพึงยังธรรมให้สว่างแจ่มแจ้ง พึงยกย่องธงของฤาษี
                          ทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง เพราะว่าธรรมเป็น
                          ธงของพวกฤาษี

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




oba41.gif
oba41.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 4388 ครั้ง ]
เอาอีกแล้วท่อนซุง ไม่ได้ตรงกับเรื่องที่พูด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 18:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาอีกแล้วท่อนซุง ไม่ได้ตรงกับเรื่องที่พูด


ฮริ ฮริ กรัชกายซัง มาคราวนี้ จะแสดง อะไร มั่วๆ อีกล่ะ :b4: :b4:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2643605056711sb9.gif
2643605056711sb9.gif [ 3.96 KiB | เปิดดู 4327 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เอาอีกแล้วท่อนซุง ไม่ได้ตรงกับเรื่องที่พูด


ฮริ ฮริ กรัชกายซัง มาคราวนี้ จะแสดง อะไร มั่วๆ อีกล่ะ :b4: :b4:



เช่นนั้นอะโป๊ะ ช่ว่ยไปนำข้อความที่ว่ามั่วมาตรงนี้หน่อยดิขอรับ จะได้แก้ไข

เห็นชื่อ "เช่นนั้น" ฯลฯ แล้ว นึกถึงนิทานเรื่อง นกมัยหกะ อยากฟังไหมขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นอะโป๊ะ ช่ว่ยไปนำข้อความที่ว่ามั่วมาตรงนี้หน่อยดิขอรับ จะได้แก้ไข


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=20691

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=26376

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้นอะโป๊ะ ช่ว่ยไปนำข้อความที่ว่ามั่วมาตรงนี้หน่อยดิขอรับ จะได้แก้ไข


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=20691

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=26376



นำข้อความตรงนั้นมาดิขอรับ ปากอมอะไรไม่พูดไม่จา กลัวดอกพิกุลร่วงหรืออย่างไร :b16:

ท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ ฟังเพลงประจำตัวอีกสักรอบนะขอรับ

http://www.imeem.com/minimaru/music/089 ... nesianmp3/


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


viewtopic.php?f=2&t=26467#

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ต.ค. 2009, 05:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1%20(72).gif
1%20(72).gif [ 34.57 KiB | เปิดดู 4243 ครั้ง ]
รอแก้ไขข้อความที่ท่านเช่นนั้นว่ามั่วอยู่ ช่วยนำข้อความนั้นๆ ประโยคนั้นๆ มาที จะได้แก้เสียให้ถูกต้อง

หรือนำไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่ก็ได้นะขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ต.ค. 2009, 19:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2013, 15:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
นำกระทูเก่ากลับมาคุยกันต่อครับ
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 10:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg
ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg [ 43.75 KiB | เปิดดู 3691 ครั้ง ]
:b38:
สติ + สมาธิ ....กับ....ปัญญานี่เขาทำงานร่วมกัน เป็นคู่กันอยู่ตลอดเวลาอุปมาเหมือนวัวเทียมเกวียน

สติ+สมาธิเป็นวัวตัวซ้าย

ปัญญาเป็นวัวตัวขวา

จิต เป็นผู้ขับเกวียน

ถ้าเน้นสติ+สมาธิมาก เหมือนเร่งแต่วัวตัวซ้าย ถ้าวัวตัวขวาตามไม่ทัน เกวียนก็จะหมุนไปตกข้างทางด้านขวา

ในทำนองกลับกัน ถ้าเน้นปัญญามาก สติ+สมาธิตามไม่ทัน ก็เหมือนเร่งวัวตัวขวาจนวัวตัวซ้ายตามไม่ทัน ผลก็ทำให้เกวียนหมุนไปทางซ้าย เกวียนเลยวิ่งไม่ตรงทาง

ถ้าจะบังคับวัวให้ลากเกวียนขันธ์ 5 นี้ไปบนเส้นทางสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 ต้องฉลาดในการบังคับวัวที่เทียมเกวียน ให้เหมาะสมกับสภาพของทาง

รู้จักดึงและเร่งวัว ตัวขวาและซ้ายให้เลี้ยว ซ้าย ขวา หรือเดินตรง ให้พอเหมาะพอดี ได้สัดส่วน สมดุลย์ จึงจะพาเกวียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง

จึงขอให้เน้นทั้ง สติ+สมาธิ และ ปัญญาไปพร้อมๆกัน เด้อ บอกบอกต่อกันไปด้วยเน้อ

onion onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร